RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312268
ทั่วไป:13903482
ทั้งหมด:14215750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 374, 375, 376 ... 416, 417, 418  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2023 10:47 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยันเบิกค่าก่อสร้างตามจริง! สร้างสะพานลอย-ลิฟต์สถานีเล็กไม่คุ้ม

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
22 ตุลาคม 2566 เวลา 17:30 น.

รฟท. แจงเหตุไม่สร้างสะพานลอย-ลิฟต์ในสถานีรถไฟทางคู่สายใต้ให้ครบ 58 สถานี ชี้ส่วนใหญ่เป็นสถานีไซส์เล็กใช้บริการวันละไม่ถึง 20 คน ไม่คุ้มค่าทั้งค่าก่อสร้าง-ค่าบำรุงรักษา ปรับใช้ทางข้ามทางรถไฟแทน ลุยติดตั้งแค่ 8 สถานีใหญ่ ช่วยเซฟงบ คุ้มค่า เหมาะแก่การใช้งาน ยันไม่มีการเบิกเงินในส่วนที่ไม่ได้ก่อสร้าง พร้อมให้ตรวจสอบได้


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)  ชี้แจงกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า รฟท. ไม่ก่อสร้างสะพานข้ามฟากชานชาลา และลิฟต์ในสถานีที่อยู่ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร ทำให้งบประมาณกว่า 1.7 พันล้านบาทหายไปเข้ากระเป๋าใครว่า สถานีรถไฟที่อยู่ในโครงการดังกล่าว มี 58 สถานี เป็นสถานีรถไฟขนาดเล็ก 41 สถานี สถานีรถไฟขนาดกลาง 12 สถานี สถานีรถไฟขนาดใหญ่ 5 สถานี และที่หยุดรถอีก 9 แห่ง ซึ่งตามสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างนั้น รูปแบบการก่อสร้างเดิมกำหนดให้มีสะพานลอยข้ามทางรถไฟชนิดติดตั้งลิฟต์โดยสาร 58 ชุด และสะพานลอยข้ามทางรถไฟชนิดไม่ติดตั้งลิฟต์โดยสาร 173 ชุด แต่เนื่องจากสถานีรถไฟส่วนใหญ่เป็นสถานีรถไฟขนาดเล็ก มีผู้โดยสารมาใช้บริการวันละไม่เกิน 20 คน และผู้โดยสารมาใช้บริการเกิน 100 คนต่อวันมีเพียงสถานีเดียว


นายเอกรัช กล่าวต่อว่า ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. จึงพิจารณากำหนดสร้างทางข้ามทางรถไฟโดยใช้หลักการคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของประชาชน และสามารถใช้งานได้จริงเป็นหลัก จึงพิจารณาให้จัดสร้างเป็นทางข้ามเสมอระดับ เพราะสามารถเดินข้ามในแนวราบได้อย่างสะดวก และสามารถประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับทางข้ามทางรถไฟในสถานีขนาดเล็กของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สัญญาอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างทางข้ามเสมอระดับในแบบเดียวกัน


นายเอกรัช กล่าวอีกว่า ในส่วนของการสร้างสะพานข้ามทางรถไฟชนิดติดตั้งลิฟต์ จะก่อสร้างภายในสถานีขนาดใหญ่และสถานีที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก รวม 8 แห่ง ประกอบด้วย 1.สถานีนครปฐม 2.บ้านโป่ง 3.ราชบุรี 4.เพชรบุรี5.ชะอำ 6.หัวหิน 7.ประจวบคีรีขันธ์ 8.ชุมพร ส่วนสถานีรถไฟขนาดเล็กที่มีจำนวนผู้โดยสารน้อย และมีรายได้จากการเก็บค่าโดยสารไม่มาก ได้มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ ทั้งในเชิงความคุ้มค่าของงบประมาณ การบำรุงรักษาในระยะยาว โดยเฉพาะหากมีการสร้างเป็นลิฟต์ จะทำให้เป็นภาระต่อค่าบำรุงรักษา และค่ากระแสไฟฟ้าในระยะยาว

อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบการใช้งบประมาณในการสร้างสะพานข้ามทางรถไฟชนิดติดตั้งลิฟต์ มีราคาค่าก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท ส่วนทางข้ามเสมอระดับทางรถไฟ มีราคาค่าก่อสร้างประมาณ 2.7 ล้านบาท รฟท. จึงพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว และได้เลือกก่อสร้างทางข้ามเสมอระดับ ที่ความเหมาะสมต่อการใช้งานของประชาชน และความคุ้มค่าของงบประมาณประเทศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามสำหรับงบประมาณการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟชนิดติดตั้งลิฟต์โดยสาร และสะพานลอยข้ามทางรถไฟชนิดไม่ติดตั้งลิฟต์โดยสารที่ยังไม่ได้มีการก่อสร้างนั้น รฟท. ขอยืนยันว่า ไม่มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างในส่วนที่ไม่ได้มีการก่อสร้างมาแต่อย่างใด สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารการเบิกเงินค่าจ้าง

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟท. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆ การตรวจรับมอบงาน และระเบียบที่ต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการนำเงินงบประมาณที่เหลืออยู่ไปใช้ในประโยชน์ส่วนตน อีกทั้งก่อนหน้านี้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ก็เคยมีหนังสือถึง รฟท. รายงานข้อมูลผลกระทบจากการสังเกตการณ์ และความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของการสร้างสะพานลอย โดยระบุว่า การสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามที่มีลิฟต์ ไม่คุ้มค่าการลงทุน อีกทั้งยังมีภาระในการซ่อมบำรุงรักษาต่อเนื่องตลอดการให้บริการ ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลการพิจารณารายได้จากการโดยสารของสถานีขนาดเล็ก ที่มีรายได้ไม่เกินหลักพันบาทต่อเดือน



ส่วนสถานีขนาดกลางที่มีผู้โดยสารมากกว่า 120 คนต่อวัน มีรายได้หลักหมื่นบาทต่อเดือน โดยต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบลิฟต์ แสงสว่าง ที่ต้องใช้ไม่น้อยกว่า 4 แสนบาทต่อปี หรือประมาณ 3.3 หมื่นบาทต่อเดือน จึงเห็นได้ชัดว่ารายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา ดังนั้นการเลือกก่อสร้างทางข้ามทางรถไฟเสมอระดับที่ชานชาลาสถานี โดยมีบันได และทางลาดสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถประหยัดงบประมาณได้ และใช้ประโยชน์ได้จริง ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานของทางข้ามทางรถไฟด้วย

นายเอกรัช กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินกิจกรรมตามนโยบายรัฐบาลในการสร้างความโปร่งใส ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ มีการวางระบบให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสู่สาธารณชน พร้อมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ อันแสดงถึงเจตนารมย์ในการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2023 5:11 pm    Post subject: Reply with quote


แม้ทางคู่ขอนแก่นไปหนองคายยังไม่ทำ แต่ รฟท. ก็เริ่มทำทางแยกเข้านิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=JYEX2tWkt0M
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2023 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

“เอกชน”ขานรับ รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังฯ ดึงนักท่องเที่ยวมาเลย์
ฐานเศรษฐกิจ 01 พฤศจิกายน 2566

ภาคเอกชนสงขลา ขานรับรัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ชี้ส่งผลดีท่องเที่ยวในพื้นที่ หากแล้วเสร็จเตรียมเสนอเปิดเดินรถประจำระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย

จากกรณีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับแผนการดำเนินโครงการทางคู่ระยะที่ 2 (เฟส2)โดยให้นำช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร วงเงิน 7,864 ล้านบาท มาดำเนินการลำดับแรก ๆ จากเดิมช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในอันดับสุดท้ายของแผนดำเนินงาน

ดร.ไพโรจน์ ชัยจีระธิกุล อุปนายกสมาคมโลจิสติกส์และขนส่งภาคใต้ กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ หากเกิดขึ้นจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะการขนส่งยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเข้าออกของรถขนส่ง ดังนั้นโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการท่องเที่ยว น่าจะช่วยให้ดึงนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย เดินทางตรงเข้ามาถึงอ.หาดใหญ่ได้สะดวกขึ้น

ดร.ไพโรจน์ กล่าวว่าสิ่งที่ต้องคิดต่อคือ เมื่อมีรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์แล้ว ทำอย่างไรให้จัดขบวนรถไฟจากมาเลเซียวิ่งเข้ามาถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ได้ เพราะการจัดขบวนรถไฟจากมาเลเซียเข้ามาหาดใหญ่ มีปริมาณคนมาเลเซียมาเที่ยว หรือมีคนไทยไปทำงานฝั่งมาเลเซียเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จึงถือว่าดี จากเดิมถูกจัดอันดับสุดท้าย แต่ถ้าขยับขึ้นเป็นลำดับต้นๆจะช่วยการท่องเที่ยวของหาดใหญ่-สงขลาได้มาก

โครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จะสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่วนเรื่องโลจิสติกส์ ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากปัจจุบันสถานีรถไฟชุมทางรถสินค้าเข้าออกได้ไม่กี่คัน ให้นึกภาพท่าเรือน้ำลึกสงขลา จะมีรถบรรทุกสินค้าเข้าออกตลอดเวลาในถนนเส้นใหญ่ แต่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ปัจจุบันถนนมี 2 เลนเท่านั้น รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาที่รถบรรทุกสินค้าห้ามเข้า โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน จึงเป็นอุปสรรคสำหรับรถบรรทุกสินค้า

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งผู้โดยสารจะอยู่ฝั่งหนึ่ง ส่วนตู้สินค้าคอนเทนเนอร์จะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งลานตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้ใหญ่มาก ฉะนั้นการขนส่งสินค้าผ่านขบวนรถไฟหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มีข้อจำกัดสำหรับพื้นที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ขณะที่ท่าเรือบกปาดังเบซาร์ ฝั่งประเทศมาเลเซีย จะสะดวกกว่า แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาสถานีรถไฟหาดใหญ่สะดวกขึ้น ไม่ต้องรอรถ จะช่วยหนุนในด้านการท่องเที่ยวหาดใหญ่-สงขลาได้
    "การบ้านของหาดใหญ่-สงขลาคือ จะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวอะไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสะดวก ประทับใจและอยากมาอีก เพราะแหล่งท่องเที่ยวเดิม ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวที่เคยเข้ามารู้จักแล้ว จึงต้องหาสินค้าใหม่ เพื่อความหลากหลายและเชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียง"
นายสมพล ชีววัฒนาพงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เป็นโครงการที่ดี ทำให้การคมนาคมดีขึ้น ถ้าปรับให้ขึ้นมาอยู่ในลำดับต้นจะเป็นผลดีกับหาดใหญ่-สงขลา เพราะระยะทาง 45 กิโลเมตร สามารถดึงนักท่องเที่ยว ตั้งแต่สิงคโปร์เข้ามาได้ จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของหาดใหญ่-สงขลา

เนื่องจากนักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางสะดวกขึ้น อีกทั้งการขนส่งสินค้าจะสะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นทางคู่ ในขณะที่อำเภอบางกล่ำ มีลานขึ้น-ลงตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าทางรถไฟด้วย

หากโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์แล้วเสร็จ จะเสนอให้จัดขบวนรถไฟโดยสารระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาทางประเทศมาเลเซีย จัดขบวนรถไฟโดยสารขบวนพิเศษนำนักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหาดใหญ่-สงขลาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการเดินทางเข้าแบบไม่ประจำ หากโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์แล้วเสร็จ น่าจะเปิดเดินรถไฟประจำระหว่างประเทศได้

นายณรงค์ฤทธิ์ การิกาญจน์ นายสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ กล่าวว่า วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ขบวนรถไฟขบวนพิเศษ มายสวัสดี ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย จะออกจากสถานี เคแอล เซ็นทรัล กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปลายทางที่สถานีรถชุมทางหาดใหญ่ พร้อมผู้โดยสาร 400 คน และเดินทางกลับเที่ยวสุดท้ายวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566
    "ช่วงเดือนธันวาคม 2566 จะเป็นช่วงที่ขบวนรถไฟขบวนพิเศษ มายสวัสดี ของมาเลเซีย เข้ามามากถึง 4เที่ยว และจะเดินทางกลับ ออกจากหาดใหญ่เที่ยวสุดท้าย วันที่ 1 มกราคม 2567 นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองหาดใหญ่และใกล้เคียงได้อย่างมาก"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2023 6:18 am    Post subject: Reply with quote

เปิดทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ
Source - เดลินิวส์
Thursday, November 02, 2023 04:26

40 กม.บ้านหมี่-ตาคลี ใช้สัญญาณโยนห่วง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางสายเหนือ ช่วงลพบุรี- ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. วงเงิน 2.15 หมื่นล้านบาท มีความคืบหน้าประมาณ 84.18% ล่าช้ากว่าแผน 7.95% โดยสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม 29 กม. วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คืบหน้า 88.45% ล่าช้ากว่าแผน 6.94% ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ 116 กม. วงเงินประมาณ 8.65 พันล้านบาท คืบหน้า 79.91% ล่าช้ากว่าแผน 8.96% ทั้ง 2 สัญญาใช้สิทธิมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการช่วงโควิด-19 กำหนดค่าปรับ 0% และขยายสัญญาถึงเดือน ก.ย. 67 คาดว่า จะเปิดบริการเต็มระบบตลอดสายได้ประมาณปี 68

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ปัญหาหลักของความล่าช้าอยู่ที่ผู้รับจ้าง ซึ่งทั้ง 2 สัญญาผู้รับจ้างทำงานกันอย่างเต็มที่แต่เนื่องจากมีแรงงานไม่เพียงพอ สืบเนื่องมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้งานยังตามหลังแผนงานอยู่มาก ที่ผ่านมาได้กำชับให้ผู้รับจ้างจัดหาแรงงานเข้ามาเพิ่มเติมอีก และเร่งรัดงาน แต่ยังมีจำนวนไม่มากพอ ที่จะทำให้งานก่อสร้างทันตามแผนที่วางไว้หากงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จะมีค่าปรับวันละ 0.1% ของค่าก่อสร้าง โดยสัญญาที่ 1 วันละประมาณ 10 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 วันละประมาณ 8 ล้านบาท

เบื้องต้น รฟท. มีแผนจะเปิดบริการทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ปลายปี 66 นำร่องระยะแรกประมาณ 40 กม. ก่อนช่วงบ้านหมี่ จ.ลพบุรี-บ้านตาคลี จ.นครสวรรค์ โดยใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดิมไปก่อนระหว่างรองานสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม วงเงิน 2.77 พันล้านบาท ที่จะติดตั้งแล้วเสร็จประมาณปี 68 ขณะนี้คืบหน้า 32.91% ล่าช้า 67.09% ทั้งนี้ระบบอาณัติสัญญาณฯ เดิม พนักงานขับรถไฟจะทำหน้าที่โยนห่วงและรับห่วงทุกสถานี เพื่อความปลอดภัย และจัดการเดินรถไฟ แต่หากเป็นระบบใหม่ จะเป็นระบบไฟสี ควบคุมระบบอาณัติสัญญาณด้วยระบบอัตโนมัติเป็นการขอทาง และให้ทางด้วยระบบคอมพิวเตอร์

โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ มีไฮไลต์อยู่ที่การก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ ในสัญญาที่ 1 ความยาว 19 กม. สูง 10-20 เมตร เริ่มตั้งแต่ออกจากสถานีบ้านกลับจ.สระบุรี และเริ่มลดระดับลงก่อนเข้าสู่บริเวณสถานีโคกกระเทียม จ.ลพบุรี ถือเป็นทางรถไฟยกระดับที่ยาวที่สุดในไทย โดยขณะนี้การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างวางราง คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 67 เมื่อแล้วเสร็จจะทำลายสถิติ ทางรถไฟยกระดับที่ยาวที่สุดในไทย ซึ่งอยู่ที่บริเวณมาบกะเบากลางดง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ระยะทางยาว 5 กม. ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 พ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2023 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้างานก่อสร้าง
👉สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล
ผู้รับจ้าง บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนี่ยริ่ง 1964 จำกัด
ผลงานถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 97.208 %
ช้ากว่าแผน = -2.792 %
👉สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน
ผู้รับจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
ผลงานถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 98.243 %
ช้ากว่าแผน = -1.757 %
👉สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ผลงานแล้วเสร็จ = 100.00 %
👉สัญญาที่ 4 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เคเอส-ซี
ผลงานถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2566
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 94.243 %
ช้ากว่าแผน = -5.757 %
👉สัญญาที่ 5 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เอสทีทีพี
ผลงานถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 97.754 %
ช้ากว่าแผน = -2.246 %
https://www.facebook.com/southernlinetrackdoublingproject/posts/814523520474572
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2023 6:46 am    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟทางคู่เชื่อม 5 ปท.
Source - ข่าวสด
Friday, November 03, 2023 04:50

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "โอกาสของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งภูมิภาคเชื่อมไทยเชื่อมโลก" ในงาน "4th iTIC FORUM 2023 : Power of Connectivity and Smart Mobility ว่า กระทรวงคมนาคมได้เร่งให้เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง ที่เชื่อมโยง 5 ประเทศระยะ4,500 กิโลเมตร (ก.ม.) ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ลาว และจีน เป็นทางคู่ให้ได้ในปี 2570

เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมระดับภูมิภาคจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเอเชียตะวันออก และเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารเดินให้สะดวก และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งยังส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือระหว่างปี 2561-2580 อีกด้วย

ปัจจุบันเส้นทางสิงคโปร์-คุนหมิง เหลือเพียงช่วงชุมพร-ปาดังเบซาร์ ที่ยังเป็นทางเดี่ยว ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้เสนอช่วง ดังกล่าว และดำเนินการโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การที่ไทยจะเป็นฮับด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคได้นั้น ต้องเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ซึ่งมี 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 ก.ม. วงเงิน 2.75 แสนล้านบาท เพราะจะทำให้เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง มีความสมบูรณ์มากขึ้น

และยังอยู่ระหว่างเตรียมก่อสร้างสะพานมิตรไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) แห่งใหม่ ซึ่งอยู่คู่ขนานและห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) 30 เมตร

ที่มา: นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 3 พ.ย. 2566


‘คมนาคม‘ เร่งเครื่องทางคู่เชื่อมรถไฟ 5 ประเทศหนุนไทยฮับขนส่งภูมิภาค
ไทยโพสต์ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:09 น.

‘คมนาคม’หนุนเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงเชื่อม 5 ประเทศ ‘สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-ลาว-จีน’ลุยเปลี่ยนทางคู่ภายในปี 70 ดันไทยเป็นฮับคมนาคมขนส่งของภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า-ผู้โดยสาร

3 พ.ย.2566-นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยภายหลังงานเสวนาหัวข้อ “โอกาสของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งภูมิภาคเชื่อมไทยเชื่อมโลก” ในงาน “4th iTIC FORUM 2023 : Power of Connectivity and Smart Mobility ว่า กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง ที่เชื่อมโยงทางรถไฟ 5 ประเทศ รวมระยะทางประมาณ 4,500 กิโลเมตร(กม.) ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ลาว และจีน จากปัจจุบันยังมีบางช่วงเป็นทางเดี่ยว เป็นทางคู่ให้ได้ในปี 2570 เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมระดับภูมิภาคจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเอเชียตะวันออก และเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารเดินให้สะดวก และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งยังส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(ปี 2561-2580) ด้วย

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเส้นทางสิงคโปร์-คุนหมิง เหลือเพียงช่วงชุมพร-ปาดังเบซาร์เท่านั้น ที่ยังเป็นทางเดี่ยวซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้เสนอช่วงดังกล่าว และดำเนินการโดยเร็วที่สุด โดยในช่วงนี้มีอยู่ 3 เส้นทางทางใต้ในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ(เฟส)ที่ 2 ได้แก่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท, ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเปซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 6.6 พันล้านบาท เบื้องต้นทราบว่าช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังฯรฟท.จะเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) พิจารณาในเดือน พ.ย.2566 และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในปี 2566

“การที่ไทยจะเป็นฮับด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคได้นั้น ต้องเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่เฟสที่ 2 ซึ่งมี 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กม. วงเงิน 2.75 แสนล้านบาทด้วย เพราะจะทำให้เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง มีความสมบูรณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงคมนาคม ยังอยู่ระหว่างเตรียมก่อสร้างสะพานมิตรไทย-ลาว(หนองคาย-เวียงจันทน์) แห่งใหม่ ซึ่งอยู่คู่ขนาน และห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ประมาณ 30 เมตร โดยปัจจุบันกรมทางหลวง(ทล.) ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และ รฟท. ได้ตั้งงบประมาณปี 2567 เตรียมออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างสะพานฯ พร้อมทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) แล้ว”นายพิเชฐ กล่าว

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า เบื้องต้นผลการศึกษาฯ ระบุว่า จะก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงก่อน ส่วนสะพานรถยนต์ไว้ทีหลัง เนื่องจากสะพานเดิมยังสามารถรองรับจำนวนรถยนต์ได้อยู่ ทั้งนี้คาดว่า รฟท. จะใช้เวลาดำเนินการออกแบบรายละเอียดฯ ประมาณ 1 ปี จากนั้นจะเสนอ ครม. พิจารณาในช่วงต้นปี 2568 เริ่มก่อสร้างประมาณปี 2568 ใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี จะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการปี 71

โดยเบื้องต้นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงวงเงินประมาณ 3 พันล้านบาท โดยจะมี 4 ทางวิ่ง เป็นทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 ทางวิ่ง เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง และทางรถไฟขนาด 1 เมตร 2 ทางวิ่ง เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยรองรับการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับลาว ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทางลาวได้รับทราบเบื้องต้นแล้ว

นอกจากนี้ รฟท. ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า(CY) สถานีนาทา เพื่ออำนวยความสะดวกระบบขนส่งโลจิสติกส์ รองรับการเติบโตทางการค้า การลงทุนของไทย และลาวในอนาคต โดยคาดว่าจะเปิดประกวดราคา(ประมูล) ต้นปี 2567

อย่างไรก็ตามการพัฒนารถไฟทางคู่กำลังเดินหน้าต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปจะเริ่มเห็นอิทธิฤทธิ์ของรถไฟทางคู่ ที่จะเริ่มผลิดอกออกผล ทำให้การเชื่อมต่อทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศสำเร็จเป็นจริง ปัจจุบันรถไฟทางคู่มีระยะทางประมาณ 627 กม. และตั้งแต่ปีหน้าเมื่อทางคู่เฟสที่ 1 เสร็จ จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณพันกิโลเมตร หลังจากทิ้งช่วงไม่ได้พัฒนามานาน ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาทางคู่ให้ได้ 3,400 กม.ต่อไปด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2023 9:53 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ ‘หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์’ จิ๊กซอว์สำคัญ เชื่อมขนส่ง 5 ประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ 04 พ.ย. 2566 เวลา 6:23 น.

เปิดรูทรถไฟทางคู่ สายหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ จิ๊กซอว์สำคัญเชื่อมขนส่ง 5 ประเทศ เส้นทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ – คุนหมิง คาดเสนอ ครม.ภายในปีนี้

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ประกาศเป้าหมายของการผลักดันโครงข่ายรถไฟทางคู่ของไทยเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ขนส่งในภูมิภาค สามารถเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าเชื่อม 5 ประเทศ ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ลาว และจีน โดยจิ๊กซอว์สำคัญของการผลักดันเป้าหมายนั้น คือการเร่งขับเคลื่อนโครงการรถไฟทางคู่ เพื่อรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าอย่างมีศักยภาพ

พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ฉายภาพของการผลักดันไทยเป็นฮับขนส่งเชื่อม 5 ประเทศ โดยระบุว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างผลักดันการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งทางรางให้เป็นระบบขนส่งหลัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 990 กิโลเมตร โดยโครงข่ายรถไฟทางคู่นี้จะทยอยแล้วเสร็จเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2567 ซึ่งจะส่งเสริมให้ไทยเป็นฮับของภูมิภาค

"ตอนนี้รถไฟทางคู่กำลังเร่งก่อสร้าง ซึ่งหลายฝ่ายอาจมองว่าภาครัฐพูดถึงเรื่องนี้มาตลอด ยังไม่เห็นผลอะไร แต่สิ่งเหล่านี้จะเริ่มเห็นผล แสดงอิทธิฤทธิ์ในปีหน้าเป็นต้นไป เราจะเริ่มเห็นผลพวงของการขนส่งสินค้าเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านสะดวกมากขึ้นจากการมีรถไฟทางคู่ในระยะทางเป็นพันกิโลเมตร ทำให้เนตเวิร์คเชื่อมประเทศสำเร็จ เป็นเส้นทางรถไฟสิงคโปร์ - คุนหมิง โดยมีไทยเป็นฮับ"

อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมฮับการขนส่งเชื่อม 5 ประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ โดยทราบว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในเดือน พ.ย.นี้ และทางกระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายผลักดันโครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปีนี้

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญของการสนับสนุนการค้าและการขนส่งเชื่อมระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทย เพื่อพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงประตูการค้า และเมืองหลักในภูมิภาค เชื่อมไปยังประเทศมาเลเซีย เนื่องจากดีมานด์การขนส่งระหว่างไทย - มาเลเซียมีเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าประเภทยางพารา

ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ สายหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ มีระยะทาง 45 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุน 7,864.49 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่จะพัฒนาไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่

สถานีชุมทางหาดใหญ่
สถานีศาลาทุ่งลุง
สถานีคลองแงะ
สถานีปาดังเบซาร์
และยังมีป้ายหยุดรถอีก 3 ป้าย คือ

บ้านพรุ
คลองรำ
ท่าข่อย
โดยก่อนหน้านี้โครงการรถไฟทางคู่ สายหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ถูกจัดอยู่ท้ายลำดับของการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ซึ่งประเมินว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2572 แต่ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายเร่งผลักดันโครงข่ายรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการเดินทางและการขนส่งสินค้า เพิ่มขีดความสามารถการเป็นฮับของประเทศไทย จึงมีนโยบายให้ ร.ฟ.ท.เร่งนำโครงการทางคู่สายนี้มาดำเนินการก่อน ซึ่งเชื่อว่าเมื่อเส้นทางรถไฟสายนี้เปิดบริการ จะทำให้โครงข่ายขนส่งทางรางของไทย และภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2023 11:14 am    Post subject: Reply with quote

#ประกาศจะปิดเบี่ยงจราจรในพื้นที่ก่อนร้างทางลอดแล้วนะ
.
แขวงทางหลวงนครราชสีมาขอประชาสัมพันธ์ “โครงการก่อสร้างทางลอดนครราชสีมา” บริเวณทางแยกนครราชสีมา โดยจะทำการปิดเบี่ยงจราจรในพื้นที่ก่อสร้างทางลอด (เกาะกลาง) ในวันพุธที่ 15 พ.ย. 2566 ทั้งนี้ในช่วงก่อนวันปิดเบี่ยงจราจรจะมีการเตรียมงานในพื้นที่ ดังนี้.-
1.ติดตั้งกล้องวงจรปิด และระบบตรวจนับรถ เพื่อใช้ในการวางแผนจราจรระหว่างก่อสร้าง
2.งานติดตั้งป้ายระหว่างก่อสร้าง (สีส้ม)
3.งานทาสีขาวแดงข้างทางเพื่อบังคับห้ามรถจอดข้างทาง
4.งานตีเส้นจราจรใหม่เพื่อกำหนดช่องจราจรเมื่อพร้อม
5.แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 จะหารือร่วมกับตำรวจจราจรในพื้นที่เพื่อบริหารการจราจรในช่วงปิดเบี่ยง
🚧ในระหว่างดำเนินการอาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวก ขอให้ประชาชนใช้เส้นทางอย่างระมัดระวัง และใคร่ขอความร่วมมือผู้ใช้เส้นทางได้โปรดเผื่อเวลาในการเดินทาง เพื่อป้องกันหากการจราจรติดขัด
https://www.facebook.com/koratgo.together/posts/655181846753632
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2023 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร เดือนตุลาคม 2566
The Big
Nov 4, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=LzuCFCUbCj8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2023 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

เจริญได้เจริญดี รถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย ปี 71 มีเฮ รายการ Update ประเทศไทย EP.4
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
Oct 29, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=pI5eq2ypXnw

รายการ Update ประเทศไทย EP. 4 ความคืบหน้าล่าสุด โครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 เริ่มแล้ว จากที่ ครม. อนุมัติก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ สายอีสานเหนือ ช่วง ขอนแก่น-หนองคาย

รับฟังได้ผ่านทาง FM 101, MAYA Channel PSI ช่อง 44
วันที่ 29/10/2566 เวลา 12:00 น.

เพื่อยกระดับการเดินทางระหว่างประเทศ โดยจุดนี้จะเป็นที่เชื่อมโยงกับโครงการรถไฟ ลาว-จีน เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 374, 375, 376 ... 416, 417, 418  Next
Page 375 of 418

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©