Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312268
ทั่วไป:13902225
ทั้งหมด:14214493
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 461, 462, 463 ... 495, 496, 497  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2023 1:57 am    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟอุบลราชธานีแนะผู้โดยสารซื้อตั๋วเดือน ไม่ต้องกังวลโดนปรับค่าธรรมเนียม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 ตุลาคม 2566 เวลา 08:17 น.
ปรับปรุง: 28 ตุลาคม 2566 เวลา 19:41 น.


สถานีรถไฟอุบลราชธานีประชาสัมพันธ์ผู้โดยสารที่เดินทางระยะสั้นเป็นประจำทุกวัน แนะนำให้ซื้อตั๋วเดือน ราคาถูกกว่าปกติ ไม่ต้องต่อแถวซื้อตั๋วทุกวัน ประหยัดเวลา และไม่ต้องกังวลจะซื้อตั๋วไม่ทัน และโดนปรับค่าธรรมเนียม

วันนี้ (28 ต.ค.) บนโซเชียลฯ แชร์ภาพจากเพจ "สถานีรถไฟอุบลราชธานี" ได้ประชาสัมพันธ์ว่า ไม่ต้องกังวลจะซื้อตั๋วไม่ทัน และโดนปรับค่าธรรมเนียมซื้อตั๋วบนขบวนรถอีกต่อไป สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางระยะสั้นเป็นประจำทุกวัน ขอแนะนำให้ซื้อบัตรโดยสารรายเดือน (ตั๋วเดือน) ซึ่งมีส่วนลดตามประเภทของผู้โดยสาร และมีราคาถูกกว่าตั๋วธรรมดารายวัน ซื้อได้ทั้งเที่ยวเดียว (คิดวันละ 1 เที่ยว) และไป-กลับ (คิดวันละ 2 เที่ยว) โดยได้ส่วนลดจากราคาตั๋วปกติ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้



1. ประชาชนทั่วไป คิดเพียง 24 วัน และคิดค่าโดยสารเพียง 75% (ลดให้ 25%)

2. ผู้มีสิทธิ์ลดราคา (นักเรียน นิสิต นักศึกษา ไป-กลับ ต้องมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษา) คิดเพียง 24 วัน และคิดค่าโดยสารเพียง 50% (ลดให้ 50%)

สามารถใช้ได้ทุกวัน นับตั้งแต่วันเริ่มใช้ จนถึงวันสุดท้าย ที่มาบรรจบกับวันเริ่มใช้ ไม่ต้องต่อแถวซื้อตั๋วทุกวัน ประหยัดเวลา สะดวก ซื้อได้ทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ควรเคลือบตั๋วเดือน เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา

พร้อมกันนี้ ยังได้ยกตัวอย่างตั๋วเดือน 420 (มาจากขบวนรถท้องถิ่นที่ 420 อุบลราชธานี-ลำชี) ชั้น 3 รถนั่งพัดลม จากสถานีอุบลราชธานี ปลายทางสถานีสุรินทร์ พบว่าค่าโดยสารผู้ใหญ่เพียง 558 บาท

Wisarut wrote:
ดราม่าสนั่น! สถานีรถไฟปิดช่องขายตั๋ว โขกค่าธรรมเนียมจุกๆ ก่อนชี้แจงแบบนี้
ทั่วไทย
25 ตุลาคม 2566 เวลา 11:38 น.


รฟท.แจงปมไล่ผู้โดยสารซื้อตั๋วบนขบวนรถ เหตุคิวที่สถานียาว ขออภัยเก็บค่าธรรมเนียม เหตุสื่อสารผิดพลาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 ตุลาคม 2566 เวลา 16:16 น.
ปรับปรุง: 25 ตุลาคม 2566 เวลา 19:58 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2023 8:16 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนพัฒนาการ 7 ปี ‘รถไฟไทย’ เกิดอะไรขึ้นถึงกลับมาได้รับความนิยมเกรียวกราว
posttoday
28 ตุลาคม 2566




รถไฟไทยเปิดให้จองแล้วกับขบวนท่องเที่ยว ‘เส้นทางรถไฟลอยน้ำ’ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ พร้อมใจกันจับจอง เป็นอีกการท่องเที่ยวหลักร้อย ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ .. แต่แค่นั้นหรือที่ทำให้รถไฟไทยได้รับ ‘มิตรภาพ’ ดีๆ กลับมาจากคนไทยอีกครั้ง
รถไฟไทย ถ้าเป็นเมื่อหลายปีก่อนก็มักจะได้ยินเสียงบ่นจากประชาชนหลายส่วน ถึงภาพลักษณ์ที่โบร่ำโบราณเสียหน่อย แต่ไม่กี่ปีให้หลังเราได้เห็นพัฒนาการของ ‘รถไฟไทย’ ที่กลับมาได้รับความนิยมอย่างพลิกฝ่ามือ และได้รับเสียงตอบรับที่ดี แม้แต่กระทั่งคนรุ่นใหม่ โพสต์ทูเดย์จึงขอย้อนกลับไปตั้งแต่ 7 ปีที่แล้วเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ‘รถไฟไทย’ ในวันนี้



ย้อนพัฒนาการ 7 ปี ‘รถไฟไทย’ เกิดอะไรขึ้นถึงกลับมาได้รับความนิยมเกรียวกราว



ปีแห่งการปฏิวัติโฉมใหม่รถไฟไทย



14 กรกฎาคม ปี 2559



หากใครติดตามข่าวมาตลอด ก็น่าจะพอเห็นว่าในปี 2559 นั้นมีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ เรียกเสียงฮือฮาว่า ‘รถไฟไทย’ มีแบบนี้ด้วยเหรอ? สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทยก็คงคิดเช่นเดียวกันบ้าง เพราะในรายงานสรุปปลายปีในปี 2559 ของทางองค์กรได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็น ‘ปีแห่งการปฏิวัติโฉมใหม่รถไฟไทย’



โดยทางการรถไฟฯ ได้เปิดตัวรถไฟใหม่จำนวน 115 คัน ที่เน้นความสะดวกสบายและความปลอดภัย ปรับรูปโฉมให้ทันสมัยมากขึ้น อาทิ ตู้ใหม่กับกระจกบานกว้างเห็นวิวทิวทัศน์ชัดเจน เบาะนอนที่สะอาดใหม่ กว้างขึ้น แถมมีปลั๊กไฟและโคมไฟอ่านหนังสือให้ทุกจุดที่นั่ง รวมไปถึงห้องน้ำในโบกี้ที่ก็ดีไม่ต่างจากบนเครื่องบิน มีอ่างล้างหน้าแปรงฟันให้อีกต่างหาก แถมยังมีที่เก็บสัมภาระอย่างชัดเจน นอกจากนี้ตามโบกี้ยังมีหน้าจอบอกว่ากำลังเดินทางถึงบริเวณไหนคอยแจ้ง รวมไปถึงบริการอาหาร ที่ตอนนี้ต้องขอบอกว่ามีการยกระดับ เพราะโบกี้เสบียงก็น่านั่งแถมยังมีอาหารเมนูเซ็ตน่าทานเยอะแยะ แต่อาจจะติดที่ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟแบบเก่า หรือใครไม่สะดวกจะติดอาหารไปกินบนรถไฟก็ไม่มีใครว่า แค่อย่ารบกวนคนอื่นเป็นพอ แถมยังมีตู้แยกสำหรับตู้สตรีอย่างชัดเจน ผู้หญิงเดินทางคนเดียวก็สบายใจ



โดยรถไฟตู้ใหม่นี้ประกอบด้วย 4 เส้นทางคือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-อุบลราชธานี กรุงเทพ-หนองคาย และกรุงเทพ-หาดใหญ่ .. ซึ่งทุกวันนี้มีแต่เสียงบ่น ไม่ใช่ที่บริการแต่ ถูกจองเต็มเร็วโดยเฉพาะช่วงเทศกาล!



จากการปรับโฉมรถไฟเส้นทางหลักครั้งนี้เอง ที่เรียกคนให้มาใช้บริการรถไฟกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่เคยติดว่าต้องเดินทางทั้งคืน แต่ที่นอนก็นอนไม่หลับ ปวดหลัง หรือใดๆ ก็ตาม ... เมื่อขจัดปัญหานี้ไปได้ การเดินทางด้วยรถไฟ ที่มีข้อดีคือผ่านสถานีในตัวอำเภอต่างๆ มากกว่าการเดินทางโดยวิธีแบบอื่น โดยที่คนในอำเภอนั้นๆ แทบไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้าไปในเมืองอีกเป็นหลายร้อย หลายสิบกิโล จึงสะดวกสบายดี แถมยังได้นอนพักบ้างตลอดคืนก็ทำได้แล้ว คนจึงไม่ได้มีอคติกับการเดินทางด้วยรถไฟอีกต่อไป รวมถึงคนที่อาจจะกลัวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน คนที่ไม่อยากนั่งหลังตรงตลอดเวลาของการเดินทาง รถไฟจึงตัวเลือกที่กลับมาในความคิดของคนไทยอีกครั้ง



ระบบการจองแบบออนไลน์เต็มระบบ



ในปี 2560 จากเดิมที่เป็นหน้าเว็ปไซต์สไตล์ราชการ ที่ใช้งานยากและไม่เป็นมิตรต่อการเข้าถึงเท่าไหร่นัก สู่การพัฒนาเว็ปไซต์ที่แสดงผลในรูปแบบของ Responsive Web Design จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาระบบ D-Ticket หรือการจองตั๋วรถไฟออนไลน์ ที่ต้องเข้าไปจองในเว็ปไซต์ ในปี 2563 ก่อนจะเปิดให้ใช้งานได้จริงในปี 2564 ซึ่งสามารถให้ผู้โดยสารเข้าไปสำรองที่นั่งได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังไม่ต้องออกตั๋วรถไฟแบบกระดาษแต่สามารถแสดงหลักฐานจากหน้าจอมือถือได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด หรือไปชำระเงินได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่ง โดยรหัสชำระเงินจะมีอายุ 24 ชั่วโมง



ต่อมาในปี 2565 ระบบการจองตั๋วรถไฟได้อัพเกรดเป็น SRT D-Ticket ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นจองตั๋วรถไฟออนไลน์ เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปมาไว้ในมือถือเท่านั้น โดยการชำระเงินยังคงเป็นการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ส่วนตั๋วจะส่งผ่านอีเมล ทำให้การเข้าถึงง่าย สะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น นอกจากนี้ใน SRT-DTicket ยังสามารถจองรถไฟขบวนท่องเที่ยวในราคาหลักร้อยได้อีกด้วย

รถไฟท่องเที่ยว ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ดึงภาพลักษณ์รถไฟ เที่ยวอย่างเป็นมิตร



บริการรถไฟนำเที่ยวของการรถไฟฯ มีหลายเส้นทางตลอดปี ทั้งแบบที่เป็นทริปการเดินทาง และเป็นการเดินทางที่สามารถทำได้ทุกสัปดาห์


สำหรับทริปการเดินทาง หากเป็นทริปยอดนิยม ก็คงหนีไม่พ้น ขบวนรถไฟลอยน้ำ หรือรถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ฮอตฮิตมาก เพราะได้นั่งรถไฟผ่านรางรถไฟที่ทอดตัวเหนือน้ำ เปิดให้บริการแบบไปเช้าเย็นกลับ ซึ่งในปีนี้กำหนดจัดในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 รวม 24 วัน โดยผู้ที่จองหากเลือกการนั่งแบบรถไฟปรับอากาศ จะสามารถได้มีโอกาสนั่งรถไฟตู้พิเศษ OTOP TRAIN ซึ่งเป็นรถไฟตู้พิเศษที่ถูกตกแต่งให้มีความสวยงาม ทันสมัย สะดวกสบาย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

หรือจะเป็นเส้นทางนำเที่ยวด้วยรถจักรไอน้ำตามเทศกาลสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง กรุงเทพ-อยุธยา ที่จะเปิดให้จองอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ หรือในโอกาสต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์ของไทย อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงการเดินรถไฟปฐมฤกษ์จากกรุงเทพ ไปยังอยุธยาเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งเส้นทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งใกล้ๆ นี้ก็จะเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ก็เป็นอีกเส้นทางการท่องเที่ยวที่น่าไปไม่แพ้กัน



ล่าสุดในปี 2566 หลังจากที่ รฟท.ได้เปิดตัว KIHA 183 ซึ่งเป็นรถไฟที่ได้รับการปรับปรุงจำนวน 17 คันโดยได้รับมอบจากบริษัท Hokkaido Railway Company ประเทศญี่ปุ่น เป็นรถที่ผลิตในปี 2525 และได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในปี 2535 โดยทางประเทศญี่ปุ่นได้ทำการปลดระวางและส่งมอบให้กับการรถไฟฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในปี 2560 ซึ่งทางรถไฟรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้าย และกลับมาปรับปรุงฟื้นฟูสภาพรถโดยช่างฝีมือภายในโรงงานมักกะสัน โดยมีการปรับขนาดความกว้างของล้อ เพื่อให้เหมาะสมกับรางรถไฟในประเทศไทย ฟื้นฟูระบบปรับอากาศ ทำความสะอาดภายในรถและดัดแปลงโคมไฟส่องทาง ซึ่งได้มีการทดลองใช้หลังการปรับปรุงในปี 2565 ก่อนที่จะนำมาเปิดเป็นเส้นทางรถไฟท่องเที่ยว จนใครๆ ก็อยากจะนั่งเจ้ารถไฟหน้าตาญี่ปุ่นขบวนนี้ ... สำหรับในปีนี้ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 KIHA 183 มีแพลนจะพาเที่ยวทั้งเส้นทางฉะเชิงเทรา , ปราจีนบุรี , ชลบุรี , มวกเหล็ก , อยุธยา ซึ่งจะมีทั้งทริปไปเช้าเย็นกลับ หรือไปค้างคืนได้อีกด้วย



นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังมีรถไฟแบบเช่าเหมาคันอย่าง SRT Prestige รถหรูสุดพรีเมียม ลุคฮอลลีวูด ที่จะให้บริการแบบเช่าเหมาเท่านั้น สำหรับใครอยากจะเช่าเหมาเดินทางไปไหน หรือเช่าเหมาสำหรับการประชุมก็ทำได้เช่นกัน


ส่วนเส้นทางท่องเที่ยวประจำสัปดาห์ การรถไฟฯก็ยังคงให้บริการอยู่ตลอด สำหรับเส้นทางที่น่าสนใจ เช่น เส้นทางไปพัทยา ตลาดน้ำสี่ภาค สวนนงนุช เส้นทางตลาดร่มหุบ จังหวัดสมุทรสงคราม เส้นทางเมืองราชบุรี และเส้นทางสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี



ระบบรางรถไฟที่ดีที่สุดในอาเซียน



เป็นเรื่องน่าประทับใจที่ประเทศญี่ปุ่น สามารถใช้การเดินทางโดยรถไฟเป็นการเดินทางหลัก และเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรและยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว แล้วประเทศไทยจะไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่?



ในปี 2563 การรถไฟฯ ได้เริ่มมีนโยบายหนึ่งที่น่าสนใจคือการยกระดับให้ ระบบรางรถไฟไทยเป็นระบบรางรถไฟที่ดีที่สุดในอาเซียน ตั้งเป้าไว้ในปี 2570 เมื่อพิจารณาจากโครงการต่างๆ ก็จะพบว่าการรถไฟฯ พยายามที่จะเชื่อมต่อการเดินทางในเส้นทางต่างๆ ผ่านระบบรางรถไฟของตัวเองมาโดยตลอด



ไม่ว่าจะเป็นในปี 2564 ที่ได้พัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าระบบชานเมืองเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครในสายสีแดง ที่ให้บริการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนมีแผนงานที่จะขยายไปสู่พื้นที่ต่อเนื่องคือฉะเชิงเทรา อยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร เพื่อให้ผู้โดยสารที่อยู่ในแถบชานเมืองเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ในปี 2566 ก็ได้มีการเปิดสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อดึงให้การเดินทางของขบวนรถไฟต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟสายเหนือ ใต้ ออก ตก ที่เดินทางออกต่างจังหวัด เชื่อมต่อกับรถไฟเขตชานเมือง และรถไฟฟ้ามหานครเพื่อเดินทางต่อยังกรุงเทพมหานคร ก็สามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว



ไม่นับกับโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมรถไฟทางคู่ ที่จะรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าคือทางรถไฟ และรองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์อย่าง ‘โครงการรถไฟความเร็วสูง’ ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหากดำเนินการเสร็จ โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งที่เชื่อมโยงตลาดการค้าในแถบลุ่มแม่น้ำโขง รวมไปถึงการเดินทางที่สะดวกสบายของประชาชนมากขึ้น ซึ่งในปี 2570 เราจะได้เห็นรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - นครราชสีมา เปิดใช้งานเป็นครั้งแรก ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางเหลือเพียง 90 นาทีเท่านั้น!!


ยังไม่นับรวม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ซึ่งจะช่วยเชื่อมการเดินทางของท่าอากาศยานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย



อีกทั้งยังเห็นถึงความคืบหน้าของการดำเนินนโยบาย EV on train โดยมีการพัฒนารถต้นแบบคันแรกที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เป็นความร่วมมือระหว่าง “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” กับ “สจล.-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” และ “EA-บริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน)” เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งทดสอบแล้วสามารถวิ่งได้ระยะทาง 150-200 กิโลเมตร และสามารถประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% ซึ่งน่าจะมีแผนการใช้งานในอนาคตอันใกล้





อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้เห็นพัฒนาการ และการเติบโตของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ดึงดูดและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รุ่นใหม่ รวมไปถึงนโยบายที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยการวางรากฐานทางการคมนาคมขนส่งของประเทศ ... ยังมีอีกสิ่งหนึ่งในฐานะที่เป็นผู้ใช้งานมองว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรแก่การรักษา คือ รถไฟไทยยังเป็นการเดินทางที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ทุกฐานะทางเศรษฐกิจในสังคมได้ ไม่ว่าจะจนหรือรวย ก็สามารถเลือกใช้บริการของการรถไฟฯ มีส่วนลดให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการ และอำนวยความสะดวกให้ทุกคนสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน ซึ่งไม่อยากให้สิ่งนี้ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่รัดโยงให้คนไทยผูกพันกับการรถไฟที่บริการ ในแบบที่การเดินทางอื่นมีไม่เท่า หายไปจากสังคม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2023 11:15 am    Post subject: Reply with quote

[เรากลับมาแล้ว!! วันนี้มาพร้วมข่าวล่ามาแรง]
ขบวนรถไฟจีนผลิตที่โลดแล่นบนผืนแผ่นดินสยาม
เดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปีนั้นจะเป็นฤดูกาลทุเรียนของประเทศไทย ซึ่งจะมีทุเรียนกว่า 200 สายพันธ์ออกผลผลิตในช่วงฤดูกาลนี้ แน่นอนว่าประเทศไทยนั้นให้ความสำคัญต่อการขนส่งผลไม้ชนิดนี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นเมื่อทางรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการจึงทำให้เวลาในการขนส่งทุเรียนจากไทย-จีนนั้นลดลงจากการขนส่งทางทะเลจากที่เคยใช้เวลาถึง 7 วันเหลือเพียง 4 วันเท่านั้น ณ จุดนี้เองถือว่าเป็นการขยายตลาดทุเรียนไทยในจีนได้เป็นอย่างดี
.
ตู้เก็บความเย็นที่เดินทางออกจากแหล่งผลิตนั้นเป็นเครื่องมือหลักในการส่งออกทุเรียนของไทย แน่นอนว่ามันต้องการพาหนะในการขนส่งซึ่งจะก็คือสองพี่น้องสายเลือดจีนอย่างพี่ใหญ่ “แพนด้ายักษ์” และน้องเล็ก “อุนตร้าแมน” นั่นเอง
.
ขบวนรถไฟที่โลดแล่นบนผืนแผ่นดินสยามอันกว้างใหญ่และเขียนขจี เราจะสามารถพบเห็นรถไฟที่สร้างขึ้นโดยฝีมือ CRRC ไม่ว่าจะเป็นรถไฟที่เชื่อมคนไกลมาอยู่ใกล้ หรือแม้กระทั่งขบวนรถไฟฟ้าในเมือง ซึ่งพวกมันได้มีส่วนร่วมเป็นกำลังในการนำพาคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขมาสู่สั่งคมไทย
.
.
หัวรถจักรรุ่นใหม่ กับการเป็น“ดาราดังที่ทุกคนอยากเจอ”
ไม่ว่าจะเป็นคนพี่อย่าง “แพนด้ายักษ์” หรือคนน้อง “อุนตร้าแมน” สองพี่น้องคู่นี้เรียกได้ว่าเป็นดาราดังประจำยุคในสายตาคนรักรถไฟไทย ขอท้าวความย้อนกลับไปปี 2013 ซึ่งเป็นปีที่รถไฟไทยต้องการจะยกระดับการขนส่งทางรางครั้งใหญ่ ในครั้งนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการสั่งซื้อรถจักรดีเซลเพื่อขนส่งสินค้าจำนวน 20 คัน การทำสัญญาในครั้งนั้นนับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาล้อเลื่อนของรถไฟไทยสู่ยุค Modern Railway ที่ใกล้เข้ามา
จะว่าไปแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของระบบรางที่ยาวนานทีเดียว ย้อนกลับไปเมื่อปี 1891 ไทยได้มีการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือขึ้น เมื่อกาลเวลาผ่านไประบบรถไฟไทยที่ขาดการดูแลไม่ว่าจะเป็นล้อเลื่อนและเครื่องมือ ฯลฯ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานจนนำมาซึ่งประสิทธิภาพและความเร็วในการขนส่งที่ต่ำ การจัดหาหัวรถจักรใหม่จึงเป็นสิ่งที่ปวงชนชาวไทยนั้นต่างเฝ้ารอ(อย่างมีความหวัง)
.
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความหวังนั้น ทางผู้ผลิตรถไฟอย่าง CRRC และนักออกแบบหัวรถจักรจึงได้ทำการออกแบบหัวรถจักรที่ไทยสั่งผลิตขึ้นเพื่อให้สามรถตอบสนองต่อการใช้งานบนทางรถไฟ Meter gauge ซึ่งมีช่วงโค้งแคบและมีสภาพแวดล้อที่ท้าทาย โดยหัวรถจักรคันใหม่นี้ได้เลือกใช้แคร่-อุปกรณ์ที่ตอบสนองต่อรัศมีโค้งแคบได้เป็นอย่างดี และติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลังสูง ทีมงานยังออกแบบห้องขับให้มีทัศนวิสัยที่ดีต่อผู้ใช้งาน สิ่งสำคัญคือห้องขับของรถจักรใหม่นี้ได้มีการติดตั้งระบบปรับอากาศเพื่อสภาพแวดล้อมในการนำงานที่ดีภายใต้อากาศภายนอกที่ร้อนชื้นของไทย
.
เมื่อรถใหม่ชุดแรกมาถึงท่าเรือไทยในปี 2015 สำนักข่าวจากทั่วประเทศไทยต่างประโคมข่าวการมาถึงของหัวรถจักรรุ่นใหม่ที่มีส่วนหัวสีเหลืองและลำตัวสีน้ำเงินซึ่งเป็นแม่สีที่คนไทยคุ้นเคยกันอย่างคึกคัก ด้วยว่าหัวรถจักรรุ่นใหม่นี้เป็นหัวรถจักรรุ่นแรกจากจีนที่มาประจำการในฝูงรถของการรถไฟฯ บรรดาคนรักรถไฟจึงได้ให้ชื่อเล่นกับของเล่นชิ้นใหม่นี้ว่า “แพนด้ายักษ์” ซึ่งเป็นเป็นสัตว์ประจำชาติของจีน
.
เมื่อแรกเข้าประจำการ “แพนด้ายักษ์” ได้รับมอบภารกิจสุดท้าทายจากการรถไฟฯ ซึ่งก็คือการขนส่งผลิตผลทางการเกษตรที่กำลังออกผลประจำฤดูกาลไปยังท่าเรือเพื่อส่งออกสู่โลกกว้าง ในเหตุการณ์ครั้งนั้นทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังอย่างคุณหลี่เหวินหลงได้ตัดสินใจเลื่อนการแต่งงานของเขากับว่าทีภรรยาออกไปก่อน เพื่อเขาและทีมงานจะได้นำพาและส่งมอบหัวรถจักรที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับประเทศไทยในเวลานั้น
.
ในครั้งนั้นผลิตภัณฑ์คุณภาพดีที่ทีมงานมืออาชีพตั้งใจรังสรรนั้นได้รับคำชมเชยจากการรถไฟฯเป็นอย่างดี ล่วงเข้าปี 2020 เป็นอีกครั้งที่การรถไฟฯทำการสั่งซื้อหัวรถจักรรุ่นใหม่จำนวน 50 คันเพื่อทดแทนหัวรถจักรรุ่นเก่าที่มีอายุการใช้งานว่า 40 ปี โดยในครั้งนี้ CRRC ได้เป็นผู้ชนะการประมูล หัวรถจักรรุ่นใหม่นี้จะสามารถทำความเร็วได้ถึง 120 กม/ชม. มีพละกำลังมากกว่าหัวรถจักรที่มีน้ำหนักกดเพลา(Axle load)เท่าๆกัน และต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยในการเดินรถเพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานของพนักงานรวมถึงความปลอดภัยในการโดยสารของประชาชนอีกขั้นหนึ่ง
.
ในวันที่หัวรถจักรรุ่นใหม่นี้ทำการทดสอบประสิทธิภาพ ได้มีกลุ่มก้อนคนรักรถไฟไทยมารอต้อนรับตลอดรายทาง-โดยเฉพาที่สถานีกรุงเทพนั้นได้มีผู้คนยืนรอการมาถึงของหัวรถจักรรุ่นใหม่กันอย่างเต็มความยาวชานชาลาสถานีฯ ช่างภาพสายรางทั้งขาจรและขาประจำต่างวิ่งไล่ตามเพื่อเก็บภาพประวัติศาสตร์ของหัวรถจักรรุ่นใหม่ที่เดินทางมาถึงใจกลางกรุงเทพเป็นครั้งแรกด้วยความเร็วดั่งนักวิ่งอาชีพ แน่นอนว่าสีแดง-เทาของตัวรถที่ผู้คนพบเห็นนั้นเป็นทีมาของชื่อเล่นที่ว่า “อุนตร้าแมน” บนสันรางทางรถไฟ
.
ล่วงมาถึงวันนี้สองพี่น้อง “แพนด้ายักษ์” และ “อุนตร้าแมน” มีระยะทางทำการอยู่ที่ 600-700 กม/วัน ซึ่งถือได้ว่าค่อนข้างสูงสำหรับหัวรถจักรที่มีประจำการในฝูงรถของการรถไฟฯ ทั้งยังเป็นดาราดังที่บรรดาคนใน-นอกวงการรถไฟต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี แน่นอนว่าเขาเหล่านั้นไม่พลาดที่จะเข้าไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเมื่อพบเจอ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่เราเห็นสองพี่น้องคู่นี่อยู่ในอัลบั้มแต่งงานของใครหลายคนฯ
.
น้องเล็กอย่าง “อุนตร้าแมน” รับหมดไม่ว่าจะงานเล็ก-ใหญ่ ทั้งรถด่วนเชียงใหม่, หนองคาย, อุบล ฯลฯ และยังเป็นหัวรถจักรประจำของขบวนรถยอดนิยม อย่างรถชุด 115 คันที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2016 ที่ผ่านมา ขบวนรถที่ทันสมัยเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นตัวเลือกต้นๆของนักเดินทางตั้งแต่แรกเข้าประจำการ-ปัจจุบัน
.
เรื่องของพลังงานสะอาดเป็นหัวข้อที่หลายภาคส่วนต่างพูดถึง-ผลักดันตลอดหลายปีมา CRRC เองเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทุ่มเทสรรพกำลังในการร่วมส่งเสริมพลังงานสีเขียวและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถไฟไทย ปัจจุบันจึงได้มีการวิจัย-พัฒนาหัวรถจักรที่ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ขึ้น โดยเป็นโครงการที่ คุณนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เขากล่าวว่าโครงการนี้จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพความและปลอดภัยของระบบรางที่สูงขึ้นในอนาคต
.
ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุค 1990 เป็น CRRC ได้มีความร่วมมือทางธุรกิจอย่างใกล้กับภาคเอกชนในด้านการขนส่งสินค้าทางรางในไทย ซึ่งหนึ่งในคู่ค้าสำคัญก็คือ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่วันนั้น-วันนี้ กว่า 30 ปีมีการสั่งซื้อหัวรถจักรจาก CRRC เข้าประจำการร่วม 20 คัน โดยการขนส่งสินค้าทางรางนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งเมื่อเทียบกับทางถนนถึง 40% สิ่งสำคัญคือมันมีประสิทธิภาพสูงถึง 97.32% ซึ่งสูงกว่าที่ลูกค้าประมาณการไว้ถึง 85% โดย CRRC จะยังเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญของ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จํากัด (มหาชน) ต่อไปในอนาคต
.
นอกจากรับเรื่องราว-ความชื่นชมจากประชาชนชาวไทยแล้ว ผลิตภัณฑ์-งานบริการคุณภาพดีจากจีนจะร่วมนำพาการขนส่งทางรางของไทยสู่หน้าประวัติศาสตร์ใหม่
.
.
“งานดี ต้องลองนั่ง”
เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือชื่นชมต่อผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขายของ CRRC เผยแพร่ทางสำนักข่าวต่างๆ เช่น 《世界日 报》《星暹日报》ฯลฯ เป็นของขวัญก่อนวันปีใหม่จีนให้กับทีมงาน CRRC โดยหวังว่าในอนาคตอันใกล้จะมีการลงทุนจากกลุ่มทุนจีนในประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรมระบบรางที่มากขึ้น
.
ถือเป็นครั้งแรกที่คู่ค้าออกปากชมผ่านสำนักข่าว เมื่อเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าในต่างแดนถึงขั้นนี้ CRRC ซึ่งเป็นคู่ค้าในระบบรางของไทยมากว่า 10 ปีจะตั้งใจและทุ่มเทเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยต่อไป
.
ปี 2007 เป็นปีแรกที่ CRRC ได้รับคำสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าในเมืองกรุงเทพฯ จาก BTS หรือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนทางรางรายใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยแบ่งเป็น A Car จำนวน 48 คัน โดยมีการส่งมอบขบวนรถชุดแรกตั้งแต่ปี 2009 และออกให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2010
.
ประสิทธิภาพ-ความน่าเชื่อถือของขบวนรถเป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวไทยนับแต่ออกให้บริการจวบจนถึงปัจจุบัน คุณคีรี กาญจนพาสน์ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่ม BTS กล่าวว่า “ขบวนรถที่ผลิตโดย CRRC นั้นมีคุณภาพเทียบเท่ากับขบวนรถที่ผลิตในประเทศชั้นนำ ตอบสนองต่อความต้องการของเราได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแล้วเราจึงทำการสั่งซื้อขบวนรถเข้ามาเพิ่มเติมและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจต่อกัน”
.
ตุลาคม ปี 2011 CRRC ได้รับคำสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพื่อใช้งานในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากกลุ่ม BTS อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการจัดซื้อทั้งหมด 20 คัน(แบ่งเป็น 5 ขบวน ขบวนละ 4 คัน) รวมเป็นสัญญาการจัดซื้อจำนวน 96 คัน (แบ่งเป็น 24 ขบวน ขบวนละ 4 คัน)
.
เช้าวันที่ 4 ธันวาคม ปี 2019 เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเที่ยวปฐมฤกษ์ออกให้บริการก็เป็นเวลาที่ขบวนรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ต้องออกทำหน้าที่รับใช้ชาวเมือง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้กล่าวในพิธีเปิดฯว่าทาง CRRC นี้ได้ทุ่มเทกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เป็นอย่างมาก และยังได้ทดลองโดยสารบนขบวนรถร่วมกับแขกผู้มีเกียรติ
.
นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา CRRC ได้มีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพระบบขนส่งทางรางให้กับประชาชนชาวไทย ในปี 2013 CRRC ได้มีการจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานกับคู่ค้าชาวไทยอย่างใกล้ชิดรวมถึงเป็นเป็นการยกระดับการให้บริการหลังการขายอีกด้วย
.
เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่คุณโจวเจียง ตัวแทนบริษัทลูกในไทยใช้ชีวิต-ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อม, วัฒนะธรรม ฯลฯ ตลาดการซื้อขายล้อเลื่อนของประเทศไทย เมื่อกลับมายังบ้ายเกิด เพื่อนร่วมงานต่างพูดติดตลกว่าตัวเขาเองนับวันยิ่งเหมือนคนไทยเข้าไปทุกที โจวเจียงกล่าวว่า“ใช่เลย เพราะการที่เข้าถึงท้องถิ่นจะทำให้สามารถบริการ, ป้องกันเหตุและช่วยเหลือลูกค้า ฯลฯ ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง”
.
ในขณะเดียวกันคุณกัวต้าเผิง พนักงานบริษัทลูกในไทยซึ่งดูแลขบวนรถไฟฟ้าของ BTS สายสีเขียวกว่า 9 ปี เล่าว่าเมื่อมาครั้งแรกมาเมืองไทยนั้นเขาพูดภาษาไทยไม่เลยสักคำ 9 ปีผ่านไปเขาสามารถพูดภาษาไทยเพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม กัวต้าเผิงได้ทุ่มเทแรงกาย-ใจในโครงการของ BTSเป็นอย่างมากจนยากที่จะหาคำใดมาเปรียบ จะว่าไปแล้วเมื่อเพื่อนร่วมงานจากจีนเดินทางมาไทยเพื่อพบลูกค้า แค่เอ่ยชื่อ“ต้าเผิง”ทุกคน(ในไทย)ก็รู้ในทันทีว่าเขาคือเพื่อนที่คุ้นเคยนั่นเอง
.
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาบริษัทลูกในไทยมีความพยายามที่จะสร้างแหล่งผลิต-แรงงานในประเทศ, บริการหลังการขาย, การดำเนินกิจการ, บริการจัดซื้อที่ดีและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานสนับสนุนด้านระบบรางในประเทศไทย และยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระดับหน่วยงานและประชาชนของสองประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
.
.
รถไฟเหมือนเชือกสาน ที่ร้อยใจคนสองชาติเข้าด้วยกัน
วันเวลาผ่านพ้นไปนานเท่าใดผลิตภัณฑ์ของ CRRC ที่เข้ามาส่งเสริมและร่วมพัฒนาระบบรางของประเทศไทยยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การสื่อสารระหว่าง CRRC กับพี่น้องชาวไทยก็ยิ่งแนบแน่นและอบอุ่นมากขึ้นด้วยเช่นกัน ราวกับว่าเราสองมีรถไฟเป็นดังเชือกสานที่ร้อยเรียงดวงใจและจิตวิญญาณเข้าไว้ใกล้กัน
.
ในกลางบรรยากาศของงาน Asia Pacific Rail 2023 (จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย) ที่ผ่านมา CRRC นั้นได้มีการสานสัมพันธ์กับพี่น้องคนรักรถไฟไทย
.
ท่ามกลางบรรยากาศนั้นเอง คุณณภัทร หนุ่มอายุ 29 ปีผู้เป็นคนไทยเชื้อสายจีน และยังจบการศึกษามาจากประเทศจีน ได้แสดงออกถึงความรัก-ความผู้พันธ์ที่เขามีต่อรถจีน ย้อนกลับไปเมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ในประเทศจีนเขาคนนี้เป็นผู้ที่เมื่อมีเวลาว่างจากการเรียนมักจะไปยืนดูรถไฟที่เขารักเป็นประจำ เมื่อครั้งทีมงานจาก CRRC เดินทางมาประเทศไทยเพื่อทดสอบ-ส่งมอบหัวรถจักรรุ่นใหม่ในปี 2015 ที่ผ่านมา เขารู้ทันทีว่ารถไฟคันใหม่นี้ไม่เหมือนกับรถไฟที่ไทยมีใช้งานอยู่เดิมอย่างเห็นได้ชัด จากการได้พูดคุยเรื่องเทคนิคกับทีมงานนำไปสู่การได้ร่วมเดินทางทดสอบรถ และสิ่งนี้เองคือรากแห่งความสัมพันธ์ระกว่างคนสร้าง-คนรักรถไฟอันยั่งยืนที่งอกเงยจากจากวันนั้นสู่วันนี้
.
เมื่อสำเร็จการศึกษากลับสู่ประเทศไทย ไม่ว่าเราสองชาติจะอยู่ห่างไกลเพียงใด ทะเลกว้างใหญ่ผืนนี้ก็ไม่สามารถที่จะหยุดรั้งความสัมพันธ์ระกว่างเขาและ CRRC ได้ เพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่วัฒนะธรรมของคนรักรถไฟ(Railway Culture) คุณณภัทรจึงประสานและรวบรวมกลุ่มคนรักรถไฟให้แนบแน่นบนสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกันตัวเขาเองมักจะนำกิจกรรมและเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันทุกครั้งที่มีโอกาส เขาเองยังได้ทำหน้าที่ผู้สื่อสาร-ส่งมอบเรื่องราวใหม่ๆจากผู้ผลิตรถไฟอย่าง CRRC สู่คนรักรถไฟอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เขาหวังเพียงว่าอยากให้คนไทยเข้าใจ-เข้าถึงความเป็นรถไฟได้ง่ายขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นสิ่งที่เขาลงมือทำได้ผลิดอกออกผลมาแล้วอย่างงดงาม
.
เมื่อทราบข่าวว่าทาง CRRC อยากจะจัดกิจกรรมเพื่อคนรักรถไฟขึ้นในประเทศไทย เขาไม่รอช้าที่จะช่วยเผยแพร่และแนะนำให้บรรดาพี่น้องคนรักรถไฟเดินทางมาร่วมกิจกรรม ในครั้งนั้นเองเขายังได้นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์คนรักรถไฟที่เขาได้ออกแบบขึ้น เช่น ชุดพวงกุญแจที่จัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษนี้ต่อสายตาของทุกๆคนในงาน ทั้งนี้ เขามีแนวคิดในการดำเนินงานที่ว่าอยาก “ให้รถไฟเป็นมากกว่าการเดินทาง แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและยั่งยืนสำหรับทุกคน” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ CRRC “链接世界,造福人类” ที่แปลเป็นภาษาไทยโดยคร่าวๆว่า “เชื่อมโยงโลก, สร้างสุขแก่มวลมนุษย์ฯ”
.
นอกจากนี้แล้วภายในงานยังมีการจัดแสดงรถไฟจำลองแบบต่างๆ พร้อมทั้งมีทีมงานเบื้องหลังการสร้างรถไฟให้คำอธิบายอย่างใกล้ชิด ชนิดที่เรียกได้ว่าคนรักรถไฟได้รับความรู้อย่างเต็มอิ่มเลยทีเดียว
.
(พนักงานขับรถไฟท่านหนึ่ง)เมื่อได้เห็นรถไฟจำลองซึ่งคือรถที่เขาขับอยู่เป็นประจำนั้นทำให้เขากล่าวออกมาอย่างภาคภูมิใจว่า “ผมนี่แหละที่ได้ร่วมทดสอบสมรรถณะของรถไฟรุ่นนี้ ซึ่งทำให้รับรู้ได้ถึงเทคโนโลยีรถไฟจีนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการเปิดมุมมองใหม่ต่อโลกของเขาอีกด้วย”
.
เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าผู้ผลิตและคนรักรถไฟ ทาง CRRC จึงได้มีการจัดประกวดผลงายภาพถ่ายขึ้นภายในงานครั้งนี้ โดยมีผลงานกว่า 150 ชิ้น จากคนรักรถไฟ 32 คนได้รับการคัดเลือกขึ้นจัดแสดง ซึ่งทุกผลงานล้วนแสดงให้เห็นถึงรถไฟ CRRC ที่โลดแล่นอยู่บนสันรางทางรถไฟแห่งสยามประเทศ ทั้งนี้ CRRC ยังได้เชิญชวนนักศึกษาไทยในประเทศจีนเข้าศึกษาดูงานโรงงานบ้านเกิดของรถไฟไทย ไม่ว่าจะเป็นพี่ใหญ่ “แพนด้ายักษ์” และน้องเล็กอย่าง “อุนตร้าแมน” เพื่อเรียนรู้กระบวนการสร้างรถไฟอย่างใกล้ชิด
.
เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมงานจากหน่วยงานด้านระบบรางของไทย 7 แห่ง จำนวน 32 คนเดินทางมาศึกษาดูงานที่ประเทศจีน โดยได้ทดลองโดยสารขบวนรถไฟความเร็วสูง “ฟู่ชิง” Smart EMU. และเยี่ยมชมโรงสร้างรถไฟความเร็วสูง เปิดมุมมองต่อรถไฟภายใต้หัวข้องานชุด “Discovering The World By Train”
.
“การมาประเทศจีนในครั้งนี้ พวกเราได้นั่งขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ความเร็ว 350 กม/ชม. โดยขณะที่ขบวนรถวิ่งในย่านความเร็วสูงอยู่นั้น กลับมีความเสถียรอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับกระสบการณ์โดยสารที่สะดวกสบาย และที่สำคัญพวกเราได้เรียนรู้ถึงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงแบบก้าวกระโดดของจีน” นี่เป็นความในใจจากตัวแทนคณะศึกษาดูงานที่นำมาเล่าสู่กันฟัง “พวกเราอยากให้ไทย-จีนมีความร่วมมือด้านระบบรางที่แนบแน่นยิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้-ความเข้าใจในเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงต่อประชาชน และเพื่อให้รถไฟเป็นจุดเชื่อมมิตรภาพของไทย-จีนอีกทางหนึ่ง”
.
.
จากหัวรถจักรสู่รถไฟฟ้าในเมือง, จากการเจรจาธุรกิจสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนะธรรมคนรักรถไฟ(Railway Culture) ขบวนรถไฟจีนในแดนสนามเปรียบได้ดั่งสื่อกลางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนให้แนบชิดยิ่งขึ้น เป็นปากกาเขียนแถบ B&R ที่จะร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคไปด้วยกัน
.
-
.
ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ People’s Daily เห็นความสำคัญและได้นำเรี่องราวดีๆเยื้องหลังการพัฒนาระบบรถไฟมาแบ่งปันให้บุคคลภายนอกได้รับรู้
.
ขอบคุณพี่ๆน้องๆจาก CRRC ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับโอกาสและมิตรภาพดีๆ ที่เรามีให้กันเสมอมา
.
เราสัญญาว่าจะนำเรื่องราวและกิจกรรมดีๆมาแบ่งปันทุกครั้งที่มีโอกาส
.
.
ขอบคุณทุกคนที่ตั้งใจอ่านจนจบ ข่าวนี้เราตั้งใจแปลมาทั้งคืน
.
มีเรื่องราวมากมายอยากให้ทุกคนรู้ ไว้มีโอกาสจะมาเขียนบทความให้อ่านกันอีกครั้งนะ ขอเวลาไปชุบตัวก่อน
.
สำหรับใครที่อยากอ่านข่าวต้นฉบับหรือฝึกภาษา เราจะทิ้งที่มาไว้ให้นะ หรือถ้าเราลืมก็เตือนเราได้นะ555
https://www.facebook.com/chtrainology/posts/639768945021607/?mibextid=01WlX5
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2023 8:08 am    Post subject: Reply with quote

คืนชีพตำรวจรถไฟจ่าย34ล้าน/ปี
Source - เดลินิวส์
Wednesday, November 01, 2023 05:19

'รฟท.'ให้ค่าเบี้ยเลี้ยง300นาย ดูแลความปลอดภัยผู้โดยสาร

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนาย จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 31 ต.ค. มีมติเห็นชอบจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบี้ยเลี้ยงทำขบวนแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟ 34 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค.66-ต.ค. 67 ภายหลังกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ถูกยุบตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ทั้งนี้เบื้องต้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้จัดเจ้าพนักงานตำรวจเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามอัตราเดิมประมาณ 200-300 นาย โดยจ่ายเบี้ยเลี้ยงตามจริง แต่ไม่เกินวงเงิน 34 ล้านบาท

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้าจะยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟทาง รฟท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 65 กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เพื่อส่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย บช.ก. จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบดูแลสถานีรถไฟ บนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่าง ๆ ของ รฟท. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ จึงขอให้ผู้โดยสารมั่นใจ และอุ่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟ ทั้งภายในขบวนรถทุกขบวน และสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศได้ โดยยืนยันว่าจะดูแลได้มาตรฐานเหมือนเดิม

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟนั้น ทาง บช.ก. และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเป็นผู้จัดสรร และ จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบว่าใครจะรับผิดชอบขบวนใด และพื้นที่ใด หลังจาก บก.รฟ. ได้ถูกยุติการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 17 ต.ค.66 ทางเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้เข้ามาปฏิบัติทดแทนทันที ไม่ให้มีช่องว่าง และขาดตอนเรื่องความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการบนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่าง ๆ วงเงินค่าเบี้ยเลี้ยงฯ 34 ล้านบาท เป็นวงเงินเดิมที่ รฟท. เคยจ่ายให้กับตำรวจรถไฟในแต่ละปีอยู่แล้ว

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า รฟท. จะร่วมมือกับตำรวจสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผน ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่ของ รฟท. ด้วย ทั้งในเรื่องของข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุ ผู้ต้องสงสัย ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่รถไฟทุกรูปแบบ ตลอดจนช่วยป้องกันปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. ด้วย

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังมอบให้ รฟท. พิจารณาจัดหามาตรการเสริมเรื่องการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารให้มากขึ้นด้วย เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุด อาทิ ติดตั้ง กล้อง CCTV ตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบนขบวนรถไฟให้ มากขึ้น และการติดกล้องที่หน้าอกของพนักงานตรวจตั๋วโดยสาร เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกล้อง CCTV และกล้องติดหน้าอกพนักงานตรวจตั๋ว ได้ในปี 67 แม้ รฟท. ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เรื่องความปลอดภัยเป็นนโยบายที่ รฟท. ให้ความสำคัญที่สุด จะไม่นำเรื่องขาดทุนมาเป็นอุปสรรค.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2023 11:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คืนชีพตำรวจรถไฟจ่าย34ล้าน/ปี
Source - เดลินิวส์
วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 05:19 น.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พ.ย. 2566


ลิงก์มาแล้วครับ
“บอร์ด รฟท.” เคาะค่าเบี้ยเลี้ยง 34 ล้าน ตำรวจดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารรถไฟ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์.
วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:44 น.

บอร์ด รฟท. เคาะงบ 34 ล้าน จ่ายเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารรถไฟ 200-300 นาย 1 ปี หลังตำรวจรถไฟถูกยุติบทบาท รฟท. การันตีผู้โดยสารอุ่นใจในการใช้บริการ ได้มาตรฐานเหมือนเดิม ลุยติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมจัดหากล้องติดหน้าอกพนักงานตรวจตั๋วเพิ่ม เสริมมาตรการดูแลความปลอดภัย


https://www.dailynews.co.th/news/2858250/



บอร์ดรฟท.ไฟเขียวจ่ายเบี้ยเลี้ยงตำรวจรถไฟ 34 ล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
01 พฤศจิกายน 2566

บอร์ด รฟท. เคาะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงตำรวจรถไฟ 34 ล้านบาท ดึงเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัย 200-300 นาย ระยะเวลา 1 ปี เล็งจัดซื้อกล้อง CCTV ติดหน้าอกพนักงาน ภายในปี 67 หวังอัพเกรดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบี้ยเลี้ยงทำขบวนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟ จำนวน 34 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค.66-ต.ค.67 ภายหลังจากกองบังคับการตำรวจรถไฟถูกยุบตามพระราชบัญญัติ(พรบ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565



ขณะเดียวกันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ได้จัดเจ้าพนักงานตำรวจเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามอัตราเดิมประมาณ 200-300 นาย โดยการจ่ายเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงิน 34 ล้านบาท


นอกจากนี้ที่ประชุมยังมอบให้ รฟท. พิจารณาจัดหามาตรการเสริมเรื่องการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารให้มากขึ้นด้วย เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุด อาทิ ติดตั้งกล้อง CCTV ตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะบนขบวนรถไฟให้มากขึ้น และการติดกล้องที่หน้าอกของพนักงานตรวจตั๋วโดยสาร เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกล้อง CCTV และกล้องติดหน้าอกพนักงานตรวจตั๋ว ได้ในปี 67 ซึ่งแม้ รฟท. ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เรื่องความปลอดภัยเป็นนโยบายที่ รฟท.ให้ความสำคัญที่สุด จะไม่นำเรื่องขาดทุนมาเป็นอุปสรรค

บอร์ดรฟท.ไฟเขียวจ่ายเบี้ยเลี้ยงตำรวจรถไฟ 34 ล้าน

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้มีการยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ(บก.รฟ.) ทาง รฟท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พ.ย.65 กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.) เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย บช.ก. จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบดูแลสถานีรถไฟ บนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ ของ รฟท. ในเขตกรุงเทพมหานคร


ส่วนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ จึงขอให้ผู้โดยสารมั่นใจ และอุ่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟ ทั้งภายในขบวนรถทุกขบวน และสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศได้ โดยยืนยันว่าจะมีการดูแลที่ได้มาตรฐานเหมือนเดิม

บอร์ดรฟท.ไฟเขียวจ่ายเบี้ยเลี้ยงตำรวจรถไฟ 34 ล้าน

ทั้งนี้เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟนั้น ทาง บช.ก และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเป็นผู้จัดสรร และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบว่าใครจะรับผิดชอบขบวนใด และพื้นที่ใด ซึ่งหลังจากที่ บก.รฟ. ได้ถูกยุติการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 17 ต.ค.66 ทางเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้เข้ามาปฏิบัติทดแทนทันที ไม่ให้มีช่องว่าง และขาดตอนเรื่องความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการบนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามวงเงินค่าเบี้ยเลี้ยงฯ 34 ล้านบาท เป็นวงเงินเดิมที่ รฟท. เคยจ่ายให้กับตำรวจรถไฟในแต่ละปีอยู่แล้ว



อย่างไรก็ตาม รฟท. จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผน ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่ของ รฟท. ด้วย ทั้งในเรื่องของข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุ ผู้ต้องสงสัย ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่รถไฟทุกรูปแบบ ตลอดจนช่วยป้องกันปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. ด้วย

ร.ฟ.ท.เคาะ 34 ล. เบี้ยเลี้ยงจนท. ดูแลผู้โดยสาร แทนตร.รถไฟ
วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 06.40 น.


บอร์ด ร.ฟ.ท. เคาะงบ 34 ล้าน จ่ายเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัย ผู้โดยสารรถไฟ หลัง‘ตำรวจรถไฟ’ถูกยุติบทบาท การันตี ผู้โดยสารอุ่นใจในการใช้บริการ-ได้มาตรฐานเหมือนเดิม ติดตั้งกล้องCCTV เสริมมาตรการดูแลความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ซึ่งมี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบี้ยเลี้ยงทำขบวนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟ จำนวน 34 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค.66-ต.ค.67 ภายหลังจากกองบังคับการตำรวจรถไฟ(บก.รฟ.) ถูกยุบตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 โดยในเบื้องต้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ได้จัดเจ้าพนักงานตำรวจเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามอัตราเดิมประมาณ 200-300 นาย โดยการจ่ายเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงิน 34 ล้านบาท



นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้าที่จะมีการยุบ บก.รฟ. นั้น ทาง รฟท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2565 กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.) เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย บช.ก. จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบดูแลสถานีรถไฟ บนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ ของ รฟท. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ จึงขอให้ผู้โดยสารมั่นใจ และอุ่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟ ทั้งภายในขบวนรถทุกขบวน และสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศได้ โดยยืนยันว่าจะมีการดูแลที่ได้มาตรฐานเหมือนเดิม

“เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟนั้นทาง บช.ก และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเป็นผู้จัดสรร และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบว่าใครจะรับผิดชอบขบวนใด และพื้นที่ใด ซึ่งหลังจากที่ บก.รฟ. ได้ถูกยุติการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2566 ทางเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้เข้ามาปฏิบัติทดแทนทันที ไม่ให้มีช่องว่าง และขาดตอนเรื่องความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการบนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามวงเงินค่าเบี้ยเลี้ยงฯ 34 ล้านบาท เป็นวงเงินเดิมที่ รฟท. เคยจ่ายให้กับตำรวจรถไฟในแต่ละปีอยู่แล้ว” ผู้ว่าการ รฟท. กล่าว

อย่างไรก็ตาม รฟท. จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่ของ รฟท. ด้วย ทั้งในเรื่องของข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุผู้ต้องสงสัย ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่รถไฟทุกรูปแบบ ตลอดจนช่วยป้องกันปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. ด้วย


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมอบให้ รฟท. พิจารณาจัดหามาตรการเสริมเรื่องการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารให้มากขึ้นด้วย เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุด อาทิ ติดตั้งกล้อง CCTV ตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะบนขบวนรถไฟให้มากขึ้น และการติดกล้องที่หน้าอกของพนักงานตรวจตั๋วโดยสาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกล้อง CCTV และกล้องติดหน้าอกพนักงานตรวจตั๋ว ได้ในปี 2567 ซึ่งแม้ รฟท. ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เรื่องความปลอดภัยเป็นนโยบายที่ รฟท. ให้ความสำคัญที่สุด จะไม่นำเรื่องขาดทุนมาเป็นอุปสรรค


Last edited by Wisarut on 02/11/2023 2:39 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2023 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

CCTV รายงานเกี่ยวกับ รถจักรของ CRRC ที่เดินในประเทศไทย โดยเฉพาะ เจ้ารถจักร 50 หลังใหม่

https://www.facebook.com/watch?v=1055803745599122

Wisarut wrote:
[เรากลับมาแล้ว!! วันนี้มาพร้วมข่าวล่ามาแรง]
ขบวนรถไฟจีนผลิตที่โลดแล่นบนผืนแผ่นดินสยาม
สำหรับใครที่อยากอ่านข่าวต้นฉบับหรือฝึกภาษา เราจะทิ้งที่มาไว้ให้นะ หรือถ้าเราลืมก็เตือนเราได้นะ555
https://www.facebook.com/chtrainology/posts/639768945021607/?mibextid=01WlX5
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2023 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจง ป.ป.ช. จัดซื้อหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค (UV-C) ตามระเบียบ ประสิทธิภาพใช้งานได้ตามเป้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 12:09 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 12:09 น.

การรถไฟฯ ชี้แจง ป.ป.ช.พร้อมสาธิตการใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค (UV-C) ยันจัดหาดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส สามารถใช้ปฏิบัติงานได้จริง ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งบนขบวนรถและสถานี

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมรับฟังข้อมูลและสังเกตการณ์การใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ โรงซ่อมประจำวัน สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยมีเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ดังกล่าวของ ป.ป.ช. เป็นการเข้ามาตรวจเยี่ยม เพื่อขอรับทราบข้อมูลและสังเกตการณ์ถึงการใช้งานของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ซึ่งการรถไฟฯ ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมสาธิตการใช้งานของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ ตลอดจนชี้แจงถึงข้อมูล เหตุผลความจำเป็นการดำเนินการจัดหาอย่างละเอียด ทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน การรถไฟฯ ยังมีการนำหุ่นยนต์ดังกล่าว ออกมาใช้งานฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ภายในขบวนรถโดยสาร และสถานีรถไฟอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการดูแลรักษาความสะอาด สร้างความปลอดภัย และเสริมศักยภาพในด้านการให้บริการ โดยนำออกมาใช้งานเวลากลางคืน หรือเวลาที่ไม่มีประชาชนหรือผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการใช้งาน ซึ่งก่อให้เกิดความสะอาด ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้รังสียูวีชี (UV-C) ที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ กระทบต่อผู้โดยสารและประชาชนผู้ใช้บริการ



สำหรับเหตุผลความจำเป็นของการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) นั้น เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรง แต่ขณะนั้นยังคงมีประชาชนที่มีความจำเป็นในการใช้รถไฟเพื่อเดินทาง ประกอบกับมีเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้รับเชื้อและอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง จนส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการ และดูแลความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุขแก่ผู้โดยสาร จึงนำไปสู่แนวทางการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค ซึ่งถือเป็นแนวทางมาตรฐานสากล ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

ส่วนสเป็กคุณสมบัติของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ที่การรถไฟฯดำเนินการจัดหา ถือเป็นหุ่นยนต์เทคโนโลยีขั้นสูง สามารถฆ่าเชื้อไวรัส/แบคทีเรียด้วยรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตชนิดเข้มข้น ประมวลผลการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองผ่านระบบไวไฟ 5G อีกทั้งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานโดย CE และ TUV Rheinland (UVDR/Ultra Violet Disinfection Robot, AGV/Autonomous Guide Vehicle) มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที จึงมีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคมากกว่าวิธีการฉีดพ่นสารเคมี และการเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ ไม่มีสารเคมีตกค้างหลังการใช้งาน

อย่างไรก็ตาม แม้การรถไฟฯ จะมีเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหา แต่การรถไฟฯ ยังคำนึงถึงความโปร่งใส และยึดหลักธรรมภิบาล ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) และคณะกรรมการดำเนินการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) พร้อมกับเปิดให้มีการเสนอราคาประมูลแข่งขันอย่างเป็นธรรม และมีการสอบราคาตามที่ถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน

ที่สำคัญการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) จำนวน 20 ตัว นอกจากจะเป็นการได้หุ่นยนต์กำจัดเชื้อโรคที่มีเทคโนโลยีทันสมัยแล้ว ยังได้รวมถึงการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และรับประกันตลอด 2 ปีเต็ม ตลอดจนการอบรมเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ จำนวน 30 คน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อฯ ได้จริง อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ภายหลังการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคมาใช้งานแล้ว การรถไฟฯ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อแสดงความโปร่งใส และการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพอีกด้วย



ปัจจุบัน การรถไฟฯ มีการนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) มาใช้งานกับขบวนรถโดยสาร และตามสถานีต้นทาง/ปลายทางต่างๆ ดังนี้
1. สถานีกรุงเทพ จำนวน 4 ตัว
2. สถานีเชียงใหม่ จำนวน 2 ตัว

X

3. สถานีหนองคาย จำนวน 2 ตัว
4. สถานีอุบลราชธานี จำนวน 2 ตัว
5. สถานีชุมทางหาดใหญ่ จำนวน 2 ตัว
6. สำนักงานและพื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟฯ จำนวน 2 ตัว
7. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 6 ตัว

สำหรับผลจากการจัดหาและนำหุ่นยนต์มาใช้ฆ่าเชื้อโรคภายในสถานี และบนขบวนรถโดยสาร สามารถได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ สร้างความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และผู้โดยสารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อนับจากสถิติการเดินทางของผู้โดยสาร 17 ล้านคน นับตั้งแต่มีการนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อมาใช้งาน ไม่พบผู้โดยสารติดเชื้อโควิด-19 หรือโรคระบาดต่างๆ จากการเดินทางโดยรถไฟหรือที่สถานีเลย ซึ่งถือเป็นความคุ้มค่าในการช่วยป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาด และลดความสูญเสียของพี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี

ท้ายนี้ การรถไฟฯ ขอยืนยันในความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการพัฒนาการให้บริการที่ดี เพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถใช้บริการสะดวกปลอดภัย โดยยึดหลักให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน พร้อมกับคำนึงถึงประโยชน์การให้บริการแก่ผู้โดยสารทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดในการใช้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2023 9:47 am    Post subject: Reply with quote

'เศรษฐา' นำ ขบวนรมต.ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ 995 ตรวจราชการชลบุรี-ระยอง
กรุงเทพธุรกิจ 04 พ.ย. 2566 เวลา 9:13 น.

“เศรษฐา” นำ ขบวนรมต.ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ 995 ตรวจราชการชลบุรี-ระยอง หารือรองรับสินค้าอุตสาหกรรมหนักในการนำเข้าและส่งออก

เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 4 พ.ย.ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง พร้อมคณะ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(อีอีซี )รมช.คมนาคม นายศุภนิจ จัยวัฒน์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี นายสนธยา คุณปลื้ม ประธานที่ปรึกษาเมืองพัทยา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการจ.ชลบุรี และระยอง

โดยเดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษ 995 ออกจากชานชลาที่5 สถานีหัวลำโพง เวลา 08.30 น.ไปลงที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง อ.ศรีราชา เพื่อตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบัง และพูดคุยประเด็นศักยภาพของพื้นที่สำหรับการรองรับสินค้าอุตสาหกรรมหนักในการนำเข้าและส่งออกของท่าเรือแหลมฉบัง

จากนั้นช่วงบ่าย ตรวจเยี่ยมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อติดตามระบบการบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำให้รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)ที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และเยี่ยมชมศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ ต.แม่น้ำคู้

และตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2(WHA ESIE2) ต.เขาคันทรง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี


🔴 LIVE! เศรษฐา นั่งรถไฟ เยี่ยมพื้นที่ EEC | สดสด | ข่าวช่อง8
ข่าวช่อง8


https://www.youtube.com/watch?v=wukKz91IUqw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2023 11:06 am    Post subject: Reply with quote

'สุรพงษ์'ห้ามรถบขส.เข้าเมืองเป็นฟีดเดอร์ใช้เชื่อมระบบราง
Source - เดลินิวส์
Sunday, November 05, 2023 06:56

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และผู้เกี่ยวข้องทำตามเป้าหมายไม่ให้รถโดยสารขนาดใหญ่ของ บขส. เข้ามาใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัดและ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.25 โดยให้ประสานการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) หาพื้นที่จุดจอดรอบนอกกรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้โดยสารเชื่อมต่อระบบรางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบราง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และ รถไฟฟ้า บขส. จำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงบทบาทให้บริการเชื่อมต่อการเดินทางอำนวยความสะดวกประชาชนไร้รอยต่อ โดยพิจารณาข้อดี ข้อเสียการเชื่อมต่อ ไม่ให้ค่าใช้จ่ายการเดินทางเพิ่มโดยให้ศึกษาแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ให้พิจารณาพื้นที่เหมาะสม และโครงข่ายเชื่อมโยง เบื้องต้นนำร่อง พื้นที่ 3 แห่ง สถานีรังสิต สถานีตลิ่งชัน และ สถานีคลองบางไผ่

ส่วนกรณีบขส. มีหนี้สินต้องจ่าย รฟท. ค่าเช่าพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 นั้น เป็นปัญหาภายใน ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม รฟท. ไม่มี บขส. เป็นลูกหนี้เจ้าเดียว ให้ทั้ง 2 หน่วยงานไปเจรจา หาทางออกร่วมกัน คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะได้ข้อสรุป ส่วนการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปที่ใหม่นั้น ขณะนี้มีแผนให้อยู่ที่เดิม ยังไม่เกิดในเร็ว ๆ นี้ เพราะกว่าระบบรถไฟสมบูรณ์ใช้เวลา 6 ปี และไม่ควรนำเม็ดเงินไปลงทุนสร้างตึกใหญ่ ๆ ควรนำเงินไปลงทุนทรัพย์สินที่ทำให้เกิดรายได้มากกว่า.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 พ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2023 11:19 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปรับภารกิจรองผู้ว่าฯ ใหม่ช่วงรอแต่งตั้ง “อวิรุทธ์” คุม กม.-เดินรถ “อนันต์” ดูช่างกลเพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 07:56 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 09:16 น.

บอร์ด รฟท.เคาะเกลี่ยภารกิจรองผู้ว่าฯ 5 คนช่วงรอสรรหาแทนคนเกษียณ "จเร" คุมงานก่อสร้างเหมือนเดิม “อวิรุทธ์” รับงานฝ่ายอนาบาล และยุทธศาสตร์เดินรถ ส่วน “อนันต์” ดูทรัพย์สินและช่างกล

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2566 ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานการมอบหมาย รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการปฏิบัติภารกิจรับผิดชอบในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานในฝ่ายและสำนักงานตามประสบการณ์และความเหมาะสม


โดยเป็นการมอบหมายภารกิจตามข้อบังคับการรถไฟฯ ให้เหมาะสมกับรองผู้ว่าฯ ที่มี 5 คน เป็นการชั่วคราวก่อน เนื่องจากมีรองผู้ว่าฯ รฟท. 2 คนที่ครบเกษียณอายุไปเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา คือ นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล และ นายวัชรชาญ สิริสุวรรณทัศน์ ส่วนการคัดสรรรองผู้ว่าฯ ใหม่ 2 คนนั้นจะมีการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับการรถไฟฯ ต่อไป

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ได้ลงนามในคำสั่งทั่วไปที่ ก.789/2566 เรื่อง มอบหมายให้รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กำกับดูแลการปฏิบัติงานในฝ่ายและสำนักงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 2566 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ เพื่อให้การมอบหมายให้รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยปฏิบัติภารกิจรับผิดชอบในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานในฝ่ายและสำนักงานสอดคล้องกับแผนวิสาหกิจการรถไฟฯ พ.ศ. 2566-2570 (แผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567 และเพื่อให้การบริหารจัดการฝ่าย สำนักงานศูนย์และกอง เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยยิ่งขึ้น


สำหรับคำสั่งการมอบหมายภารกิจความรับผิดชอบงานใหม่ให้รองผู้ว่าฯรฟท.จำนวน 5 คน มีดังนี้

1. นายจเร รุ่งฐานีย รับผิดชอบฝ่ายการช่างโยธา, ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง, ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (เป็นภารกิจเดิมทั้งหมด)

2. นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รับผิดชอบตามภารกิจเดิม คือ สำนักงานอาณาบาล และ ภารกิจใหม่ คือ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ, ฝ่ายบริการโดยสาร, ฝ่ายบริการสินค้า, สำนักงานยุทธศาสตร์ธุรกิจเดินรถ, กองควบคุมปฏิบัติการ (เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล)

3. นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รับผิดชอบตามภารกิจเดิม คือ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน, ฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน, สำนักงานจัดหาพัสดุซ่อมบำรุง และภารกิจใหม่ ฝ่ายการช่างกล (เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ วัชรชาญ สิริสุวรรณทัศน์)

X

4. นายสุชีพ สุขสว่าง รับผิดชอบตามภารกิจเดิม คือ สำนักงานบริการโครงการระบบรถไฟฟ้า, สำนักงานแพทย์ และ ภารกิจใหม่คือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล, สถาบันฝึกอบรมระบบราง (เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ นายอวิรุทธ์ ทองเนตร)

5. นายเอก สิทธิเวคิน รับผิดชอบตามภารกิจเดิม คือ สำนักงานนโยบาย แผนวิจัยและพัฒนา, ศูนย์บริหารความเสี่ยง) และภารกิจใหม่ คือ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายการพัสดุ (เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 461, 462, 463 ... 495, 496, 497  Next
Page 462 of 497

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©