View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 07/11/2023 8:29 pm Post subject: |
|
|
ยุบ "ตำรวจรถไฟ" รฟท.-สตช.ตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ" รับช่วงต่อดูแลผู้โดยสาร
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 07:02 น.
ปรับปรุง: วันอาคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:36 น.
รฟท.ผนึก "ตำรวจ" ตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ" รับช่วงต่อหลังยุบ "ตำรวจรถไฟ" บทบาทหน้าที่ อำนาจจับกุมเหมือนเดิม ด้านบอร์ด รฟท.เคาะงบ 34 ล้านบาทจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมือนทุกปี เร่งส่งคืนบ้านพัก รถยนต์ เพื่อจัดสรรให้พนักงานรถไฟต่อไป
หลังจากที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กำหนดยุบเลิก กองบังคับการตำรวจรถไฟ ซึ่งมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมาโดยก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดยพลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ เพื่อดูแลยกระดับความปลอดภัย ป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศระยะเวลา 3 ปีแล้ว
ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)
รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบี้ยเลี้ยงทำขบวนแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟวงเงิน 34 ล้านบาท ในช่วงเดือน ต.ค. 66-ต.ค. 67
นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าฯรฟท.เปิดเผยว่า รฟท.ได้เตรียมความพร้อมแนวทางในการดำเนินงานหลังยุบตำรวจรถไฟ โดยขณะนี้ทางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จะมีการจัดตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ" โดยมีทีมงานสังกัดประมาณ 200 นาย ซึ่งขณะนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เห็นชอบในหลักการแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการด้านเอกสาร
และเมื่อได้รายชื่อตำรวจที่จะสังกัด ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟชัดเจนแล้ว การรถไฟฯ จะได้แต่งตั้งเป็นคณะทำงานปฏิบัติงานบนขบวนรถไฟ โดยมีการกำหนดตารางเวลาปฏิบัติงานความรับผิดชอบในแต่ละเดือนเพื่อทำรายงานการขอเบิกเบี้ยเลี้ยงขบวนรถและค่าที่พักไปตามแนวทางเดิม กรอบวงเงินประมาณ 34 ล้านบาท ตามที่ได้รับอนุมัติจากบอร์ด รฟท. ซึ่งเป็นกรอบวงเงินเดิมที่รฟท.จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ตำรวจรถไฟที่ผ่านมาทุกปี
โดยศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟฯ จะรวบรวมรายนามและ ตรวจสอบมิให้เบิกซ้ำซ้อนกับเวลาปฏิบัติราชการของตำรวจส่งมาให้การรถไฟฯ ตรวจสอบตั้งเบิกต่อไป
สำหรับขอบเขตดำเนินการบนขบวนรถไฟและแนวทางปฏิบัติงานยังเป็นไปเช่นเดิม เหมือนที่เคยมีกองบังคับการตำรวจรถไฟอยู่เดิม โดยประจำการบนขบวนรถไฟประมาณ 30 ขบวน ขบวนละ 2-3 นาย มีอำนาจดำเนินการจับกุมตามปกติ
ส่วนกรณีบ้านพักและที่ทำการตำรวจรถไฟเดิมฯ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น รถยนต์ ที่ตำรวจรถไฟเคยใช้ ต้องส่งคืนการรถไฟฯ ทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทยอยส่งคืน และตรวจสอบตรวจรับตามระเบียบ โดยการรถไฟฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อตรวจรับและตรวจสอบการรับมอบส่งคืนบ้านพัก ที่ทำการ และเครื่องมือเครื่องใช้ และตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรบ้านพักให้แก่พนักงานการรถไฟฯ ต่อไป
นายอวิรุทธ์กล่าวว่า แม้จะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องหน่วยงาน แต่การดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้โดยสารรถไฟยังคงเป็นไปตามปกติ รวมถึงเจ้าหน้าที่รถไฟได้เพิ่มความเข้มงวดอีกด้วย โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบรางมีระยะทางเพิ่มขึ้น มีขบวนรถเพิ่มขึ้น และมีระบบรถไฟความเร็วสูงบริการ อีกทั้งสถานีรถไฟในอนาคตจะเป็นรูปแบบสถานีปิด ซึ่งจะมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยการเข้าออกของบุคคลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการคัดกรองในระดับหนึ่ง คาดว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะมีการยกระดับ ส่วนงานที่จะดูแลด้านขนส่งทางราง ในอนาคตต่อไป
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 10/11/2023 11:30 am Post subject: |
|
|
รฟท. ชงของบปี 68 อุดหนุน PSO แตะ 5.3 พันล้าน ปั้นรายได้เพิ่ม
ฐานเศรษฐกิจ
09 พฤศจิกายน 2566
รฟท.เดินหน้าชงงบปี 68 อุดหนุนบริการเชิงสังคม PSO วงเงิน 5.3 พันล้านบาท เล็งศึกษาแผนหารายได้ขนส่งสินค้า หวังเพิ่มสัดส่วน 30% เตรียมชงคมนาคมไฟเขียวภายใน 2 เดือน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการเสนอขอความเห็นชอบการรับเงินอุดหนุนการเงิน การให้บริการเชิงสังคม (PSO) ประจำปีงบประมาณ 2568 ซึ่งเป็นการเสนอตามระเบียบเพื่อบรรจุไว้ในการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 โดยในปีงบประมาณนี้ รฟท.ศึกษากรอบวงเงินขอรับการอุดหนุน 5,301 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2567 ที่เสนอขอไป 8,450 ล้านบาท
สำหรับการจัดทำคำขอความเห็นชอบรับเงินอุดหนุน PSO นั้น รฟท.ได้เสนอขอรับต่อเนื่องเพื่อชดเชยกับรายได้จากการบริการรถไฟเชิงสังคม ซึ่งสถิติการขอรับเงินอุดหนุนที่ผ่านมา รฟท.ต้องทำคำขอและผ่านการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยวงเงินที่ได้รับอนุมัติส่วนใหญ่จะลดลงจากกรอบวงเงินคำขอ เพราะต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบมูลค่ายอดใช้จ่ายการเดินทางในหลายปัจจัย
ทั้งนี้จากสถิติคำขอที่ผ่านมา ประกอบด้วย ในปีงบประมาณ 2565 รฟท.ยื่นขอรับเงินอุดหนุน 7,587 ล้านบาท แต่ได้รับการอนุมัติจริงในวงเงิน 2,767 ล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2566 รฟท.ยื่นขอรับเงินอุดหนุน 7,823 ล้านบาท โดยปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาวงเงินอุดหนุน รฟท.จึงยังไม่ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าว และในปีงบประมาณ 2567 รฟท.ได้ยื่นขอรับเงินอุดหนุน 8,450 ล้านบาท สถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างรอพิจารณางบประมาณ
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า รฟท.ยังคงเดินหน้าจะให้บริการเชิงสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการยังกำหนดที่จะพัฒนาบริการเชิงสังคมด้วยรถไฟปรับอากาศ รวมไปถึงศึกษารูปแบบการรับเงินอุดหนุนจากบริการ PSO อาทิ หากผู้โดยสารที่เข้าข่ายในการรับเงินอุดหนุนการเดินทางจากรัฐบาล จะสามารถใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีวงเงินสนับสนุนอยู่แล้ว ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ รฟท.ไม่ต้องทำคำขอรับเงินสนับสนุนในปีงบประมาณ อีกทั้งยังทำให้ผู้โดยสารเดินทางสะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้รฟท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนจัดหารายได้จากบริการการขนส่งสินค้าให้เพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขณะนี้คณะทำงานศึกษารายได้รถโดยสารสินค้า อยู่ระหว่างจัดทำแผนดำเนินงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมภายใน 2 เดือนนี้
อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของการศึกษามุ่งเน้นเพิ่มสัดส่วนรายได้ขนส่งสินค้าจากปัจจุบัน 3% ให้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงเป้าหมาย ขณะนี้เริ่มเห็นดีมานด์ความต้องการของการขนส่งสินค้าผ่านรถไฟแล้ว แต่ต้องยอมรับว่ารฟท.ยังไม่มีซัพพลายเพียงพอที่จะรองรับ เพราะการรถไฟฯ มีจำนวนแคร่ และหัวรถจักรในจำนวนที่จำกัด อีกทั้งยังใช้เต็มขีดความสามารถแล้ว ดังนั้นหากจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ขนส่งสินค้าให้ถึงเป้าหมาย ก็มีความจำเป็นต้องเพิ่มการจัดหาแคร่ และหัวรถจักร |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/11/2023 6:54 pm Post subject: |
|
|
รฟท.ปลุก 5 โปรเจ็กต์ บูมทางรถไฟรุกนิคมอุตสาหกรรม
ฐานเศรษฐกิจ 10 พฤศจิกายน 2566
รฟท.เปิดแผน 5 โปรเจ็กต์ รุกทางรถไฟเชื่อมนิคมอุตสาหกรรม วงเงิน 3.2 พันล้านบาท ชงของบปี 67 เดินหน้าศึกษาต่อ คาดได้งบภายใน ก.พ. 67 ลุ้นตอกเสาเข็มเริ่มปี 68 หวังลดต้นทุนขนส่งสินค้า เพิ่มผู้ใช้บริการในอนาคต
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ปัจจุบันรฟท.มีแผนศึกษาโครงการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม ทั้งหมด 5 โครงการ โดยปีนี้รฟท.มีนโยบายพัฒนาระบบรางเพื่อตอบโจทย์ในการขนส่งสาธารณะด้วยระบบราง เนื่องจากปัญหาของระบบรางของไทยในปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้
ทั้งนี้กรมขนส่งทางราง (ขร.) และกระทรวงคมนาคมได้เสนอขออนุมัติงบประมาณเพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง วงเงิน 18 ล้านบาท โดยผ่านความเห็นชอบจากนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ ปี 2567 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรองบประมาณปี 2567 คาดว่าจะได้รับจัดสรรงบประมาณดังกล่าวภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ขณะเดียวกันหากได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2567 แล้ว หลังจากนั้นรฟท.จะเริ่มจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯทั้ง 5 แห่ง ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน และดำเนินการออกแบบรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการฯ (Detail Design) ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี คาดแล้วเสร็จภายในปี 2568 หลังจากนั้นจะขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2568 โดยโครงการนี้รฟท.จะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด เบื้องต้นการก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟจะเชื่อมต่อเขตนิคมอุตสาหกรรมได้โดยตรง
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมารฟท.ได้ดำเนินการศึกษาพลังงานทางเลือก เช่น ไฮโดรเจน, โซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่ โดยใช้สมาร์ทเทคโนโลยีจากพลังงานแบตเตอรี่มาทดสอบระบบรถไฟของรฟท.แทนการใช้น้ำมันดีเซล เพื่อลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า พลังงานทางเลือกที่สามารถทดสอบได้เร็วที่สุด คือ พลังงานแบตเตอรี่ สามารถลากจูงสินค้า น้ำหนัก 2,500 ตันต่อ 1 ขบวน ระยะทาง 120 กิโลเมตร (กม.) จากบริเวณพื้นที่ไอซีดี-ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งการทดสอบนี้ถือเป็นเป้าหมายที่ตรงตามความต้องการของรฟท.
ขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในไทย อีกทั้งไทยยังมีความสามารถในการผลิตรถยนต์สูงขึ้น โดยโครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา หากรฟท. สามารถผลักดันได้จะเป็นโมเดลแรก ที่จะช่วยพัฒนาระบบรางบนโครงสร้างพื้นฐานของรฟท.ที่ดำเนินการไว้อย่างต่อเนื่อง
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า โครงการนี้แตกต่างจากโครงการย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard :CY) เดิมของรฟท. เนื่องจากโครงการ CY สามารถนำตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งสินค้าเข้ามาตั้งในพื้นที่รถไฟได้ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาจากเอกชนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรฟท.คาดหวังว่านิคมอุตสาหกรรมน่าจะใช้สิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) ค่อนข้างมาก เช่น WHA มีโรงงานผลิตรถยนต์ หากอะไหล่ประกอบรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศจีนสามารถขนส่งผ่านระบบรางได้ถือเป็นเรื่องที่ดี
รฟท.ปลุก 5 โปรเจ็กต์ บูมทางรถไฟรุกนิคมอุตสาหกรรม
สำหรับโครงการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 5 แห่ง ระยะทางรวม 14.4 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวม 3,261 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.เขตอุตสาหกรรมเหล็กของกลุ่มสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ช่วงสถานีนาผักขวง และ SSIs Distribution Hub กับ SSIs Logistics Terminal. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 399 ล้านบาท
2.นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร กฟผ.แม่เมาะ ระยะที่ 1 : ช่วงสถานีแม่เมาะ-CY กฟผ.แม่เมาะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 80 ล้านบาท
3.นิคมอุตสาหกรรม WHA ตะวันออก จังหวัดระยอง ระยะทาง 3กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 690 ล้านบาท
4.นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1,071 ล้านบาท
5.นิคมอุตสาหกรรมเวิร์ล จังหวัดลำพูน ระยะทาง 2 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1,021 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามหากรฟท.สามารถดำเนินโครงการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 5 แห่ง แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางและผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าในอนาคตด้วย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 14/11/2023 10:08 am Post subject: |
|
|
รายงานข้อบกพร่องตู้โดยสาร BEYOND HORIZON
https://www.facebook.com/Kornwithoon2000/posts/1786024208493202
บพข. สจล. และ รฟท. ทดสอบเดินรถไฟ สุดขอบฟ้า (รถไฟไทยทำ) เตรียมพร้อมให้บริการคนไทยได้ใช้รถไฟสุดหรูฝีมือไทยทำ
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ทดสอบเดินรถไฟ สุดขอบฟ้า (รถไฟไทยทำ) จากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปยังที่หยุดรถพระจอมเกล้า เพื่อเตรียมพร้อมส่งมอบ รฟท. ให้คนไทยได้ใช้งาน
.
รถไฟ สุดขอบฟ้า เป็นรถไฟโดยสารต้นแบบ ผลงานจากการวิจัยและพัฒนาโดยทีมวิจัย สจล. ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ) ด้วยทุนสนับสนุนจาก บพข. ภายใต้แผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต ร่วมกับ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด โดยมี รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เป็นหัวหน้าโครงการ และมี รฟท. เป็นผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับการให้บริการทางรถไฟแก่ประชาชน ภายใต้เป้าหมายที่มีร่วมกันคือ ต้องการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตรถขนส่งทางรางด้วยหลักคิด การพึ่งพาตนเอง
.
รถไฟโดยสารต้นแบบนี้ได้รับการออกแบบและผลิตโดยคนไทย ใช้วัสดุและอุตสาหกรรมภายในประเทศ (local content) กว่า 44% ในการประกอบตู้รถไฟชนิด Luxury Class และ Super-Luxury ที่หรูหราและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ซึ่งได้รับแรงบรรดาลใจจากที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสบนเครื่องบิน เพื่อรองรับความต้องการใช้ตู้รถไฟโดยสารจากนี้ไปอีก 20 ปี ที่คาดว่าจะมีไม่น้อยกว่า 2,425 ตู้ จากการเพิ่มขึ้นของทางรถไฟที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารถไฟต่อตู้ เฉลี่ยตู้ละ 50 ล้านบาท รวมมูลค่าสำหรับตลาดการผลิตตู้รถไฟโดยสารประมาณ 100,000 ล้านบาท
.
รถไฟที่ทีมวิจัยพัฒนา ประกอบด้วยโครงสร้างตัวรถชนิดโครงข้อแข็งสามมิติ (Space Frame) ร่วมกับ โครงสร้างเปลือกบาง (Shell Elements) และระบบโครงสร้างเชื่อมต่อกับแคร่รถไฟ Bolster) โดยมีกระบวนการออกแบบตามมาตรฐานระดับสากล อาทิ EN, UIC, AAR และ ดำเนินการตามข้อกำหนดของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทีมวิจัยได้มีการทดสอบสมรรถนะ (Performance Tests) ของรถไฟอย่างต่อเนื่อง เช่น การทดสอบ Water Tightness Test และการ Running Test ในระยะทาง 700 กม. รวมถึงผ่านการทดสอบระบบหยุดรถฉุกเฉินที่ความเร็ว 94.1 กม./ชม. และผ่านการทดสอบการวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.
.
ซึ่งในอนาคต มีแผนการให้บริการรถไฟระยะกลางในแนวเส้นทางรถไฟรางคู่ระยะ 200-500 กิโลเมตร และรถไฟท่องเที่ยวในแนวเส้นทางของ รฟท. เพื่อแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำและรถยนต์ส่วนตัว โดยตู้รถไฟที่ทีมวิจัยผลิตใช้ต้นทุนอยู่ที่ 32 ล้านบาท ซึ่งมีความคุ้มค่ากว่าการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก สามารถช่วยประเทศลดต้นทุนการนำเข้าตู้รถไฟจากต่างชาติได้ไม่น้อยกว่า 30% ซึ่งนับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มหาศาล นอกจากนี้องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ในการประกอบตู้รถไฟที่ได้จากโครงการจะถูกถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการภายในประเทศ รวมทั้งนักศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมขนส่งทางรางของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
Cr. ภาพจาก บพข. และ สจล.
https://www.facebook.com/pmuc.researchfunding/posts/301549742777478
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/11/2023 3:38 pm Post subject: |
|
|
ทำความรู้จัก "สุดขอบฟ้า" ตู้รถไฟโดยสารระดับพรีเมียมฝีมือคนไทย
ผู้จัดการออนไลน์ 14 พ.ย. 2566 15:23 น.
เผยโฉมรถไฟไทยทำ รุ่น "สุดขอบฟ้า" ตู้รถไฟโดยสารระดับพรีเมียมฝีมือคนไทย พัฒนาโดยวิศวะพระจอมเกล้า ลาดกระบัง ออกแบบและผลิตขึ้นภายในประเทศ มีทั้งเบาะสุดหรู ติดจอความบันเทิง บอกข้อมูล และห้องน้ำระบบปิด พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอีกเพียบ
วันนี้ (14 พ.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า เฟซบุ๊ก KMITL ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เผยแพร่ภาพ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตู้รถไฟโดยสาร รุ่น สุดขอบฟ้า ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สจล. กับการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และบริษัทกิจการร่วมค้าไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ที่ป้ายหยุดรถไฟพระจอมเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ โดยมี ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ นายกสภาสถาบันฯ รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และหัวหน้าโครงการวิจัยโครงการรถไฟไทยทำ Thai Makes Train Beyond Horizon รวมทั้ง นายนิรุตต์ มณีพันธุ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้บริหารการรถไฟ รศ. ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
สำหรับตู้รถไฟโดยสาร รุ่น สุดขอบฟ้า เป็นการออกแบบและผลิตขึ้นภายในประเทศ และฝีมือคนไทยกว่า 40% เพื่อเป็นต้นแบบและลดงบประมาณในการนำเข้า ยกระดับการบริการ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัย ผู้พัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ เริ่มดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนามากว่า 2 ปี ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานของรถไฟแห่งประเทศไทย ผ่านการทดสอบ ตรวจสอบทุกระบบ ทุกขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อย จึงได้นำมาเปิดทดลองใช้เป็นครั้งแรก โดยพ่วงไปกับขบวนรถธรรมดาที่ 367 กรุงเทพ (หัวลำโพง) - ชุมทางฉะเชิงเทรา ก่อนส่งมอบให้การรถไฟฯ นำไปให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
ภายในตู้รถไฟโดยสาร ประกอบด้วย ประตูเปิด-ปิดด้วยระบบอัตโนมัติ ห้องโดยสารปรับอากาศ รวม 25 ที่นั่ง แบ่งเป็นชั้น Super Luxury Class จัดแถวแบบ 1-1 ที่นั่ง จำนวน 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury Class จัดแถวแบบ 2-1 ที่นั่ง จำนวน 17 ที่นั่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัย เบาะที่นั่งสามารถปรับระดับแบบไฟฟ้า ที่วางขวดน้ำ ที่ชาร์จมือถือแบบ USB ด้านหน้าที่นั่งมีจอแสดงผลสถานีที่ยังอยู่ อุณหภูมิภายนอก ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ความเร็วที่ใช้ และเมนูความบันเทิงบนจอ เช่น Youtube, Netflix พร้อมหูฟัง นอกจากนี้ยังมีที่เก็บกระเป๋าสัมภาระเหนือศีรษะ ที่เก็บสัมภาระขนาดใหญ่ ห้องน้ำระบบปิด และสุขภัณฑ์แบบรองนั่ง มีระบบฆ่าเชื้ออัตโนมัติ และสามารถใช้สัญญาณ 5G ได้ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/11/2023 7:15 pm Post subject: |
|
|
บพข. - สจล. และ รฟท. ทดสอบเดินรถไฟ สุดขอบฟ้า เที่ยวปฐมฤกษ์ เตรียมพร้อมให้บริการคนไทยได้ใช้รถไฟสุดหรูฝีมือไทยทำ
ผู้จัดการออนไลน์ 14 พ.ย. 2566 18:44 น.
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ทดสอบเดินรถไฟ สุดขอบฟ้า (รถไฟไทยทำ) เที่ยวปฐมฤกษ์ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปยังที่หยุดรถพระจอมเกล้า เตรียมพร้อมส่งมอบ รฟท. ให้คนได้ใช้งาน
รถไฟ สุดขอบฟ้า เป็นรถไฟต้นแบบ ผลงานจากการวิจัยและพัฒนาโดยทีมวิจัย สจล. ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ) ด้วยทุนสนับสนุนจาก บพข. ภายใต้แผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต ร่วมกับ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด โดยมี รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เป็นหัวหน้าโครงการ และมี รฟท. เป็นผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับการให้บริการทางรถไฟแก่ประชาชน ภายใต้เป้าหมายที่มีร่วมกันคือ ต้องการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตรถขนส่งทางรางด้วยหลักคิด การพึ่งพาตนเอง
รถไฟ สุดขอบฟ้า ได้รับการออกแบบและผลิตโดยคนไทย ใช้วัสดุและอุตสาหกรรมภายในประเทศ (local content) กว่า 44% ในการประกอบตู้รถไฟชนิด Luxury Class และ Super-Luxury ที่หรูหราและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ซึ่งได้รับแรงบรรดาลใจจากที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสบนเครื่องบิน เพื่อรองรับความต้องการใช้ตู้รถไฟโดยสารจากนี้ไปอีก 20 ปี ไม่น้อยกว่า 2,425 ตู้ จากการเพิ่มขึ้นของทางรถไฟที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารถไฟต่อตู้ เฉลี่ยตู้ละ 50 ล้านบาท รวมมูลค่าสำหรับตลาดการผลิตตู้รถไฟโดยสารประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยมีแผนการให้บริการรถไฟระยะกลางในแนวเส้นทางรถไฟรางคู่ระยะ 200-500 กิโลเมตร และรถไฟท่องเที่ยวในแนวเส้นทางของ รฟท. เพื่อแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำและรถยนต์ส่วนตัว โดยตู้รถไฟที่ทีมวิจัยผลิตใช้ต้นทุนอยู่ที่ 32 ล้านบาท ซึ่งมีความคุ้มค่ากว่าการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก สามารถช่วยประเทศลดต้นทุนการนำเข้าตู้รถไฟจากต่างชาติได้ไม่น้อยกว่า 30% ซึ่งนับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มหาศาล นอกจากนี้องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ในการประกอบตู้รถไฟยังจะได้รับการถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการภายในประเทศ รวมทั้งนักศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมขนส่งทางรางของไทยได้อย่างยั่งยืน (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของรถไฟสุดขอบฟ้าได้ที่ https://pmuc.or.th/beyond-horizon/)
รศ.ดร.สมยศ กล่าวว่า เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบด้วยการพึ่งพาอุตสาหกรรมในประเทศเป็นหลัก ตอบรับนโยบาย Thai First และนโยบายด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศ เราได้พัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ รถไฟสุดขอบฟ้า (Beyond Horizon) ประกอบด้วยโครงสร้างตัวรถชนิดโครงข้อแข็งสามมิติ (Space Frame) ร่วมกับ โครงสร้างเปลือกบาง (Shell Elements) และระบบโครงสร้างเชื่อมต่อกับแคร่รถไฟ Bolster) โดยมีกระบวนการออกแบบตามมาตรฐานระดับ
สากล อาทิ EN, UIC, AAR และ ดำเนินการตามข้อกำหนดของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทีมวิจัยได้มีการทดสมรรถนะ (Performance Tests) ของรถไฟอย่างต่อเนื่อง เช่น การทดสอบ Water Tightness Test และการ Running Test ในระยะทาง 700 กม. รวมถึงผ่านการทดสอบระบบหยุดรถฉุกเฉินที่ความเร็ว 94.1 กม./ชม. และผ่านการทดสอบการวิ่งที่ความเร้วสูงสุด 120 กม./ชม.
ด้าน รศ. ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. กล่าวว่า บพข. คาดหวังที่จะได้เห็นงานวิจัยและพัฒนาที่เราให้การสนุบสนุนนั้นได้สามารถออกไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ เราได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้มานานด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาโครงการนี้แบบ multiyear ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี เพราะเราทราบดีว่าการวิจัยและพัฒนาหลายอย่างนั้นไม่สามารถสำเร็จได้ในภายเดียว เราเห็นว่าโครงการนี้มีศักภาพที่จะสามารถสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างในแง่ของการพัฒนาอุตสากหรรมขนส่งระบบรางของประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยี และถ่ายทอดองค์รู้ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งสิ่งที่ประเทศจะได้กลับมาจากการลงทุนทำ R&D นั้นนอกจากเม็ดเงินที่ได้กลับมาในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ยังมีผลตอบแทนสูงในเชิงสังคม และที่สำคัญคือในเชิงองค์ความรู้ องค์ความรู้ของเราเกิดภายในประเทศ เราไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติตลอดไป ในช่วงเริ่มต้นของโครงการนี้ เราใช้ local content อยู่ที่ประมาณ 40% และเราคาดหวังที่จะขยับให้มีการใช้ local content ที่สูงขึ้นไปอีกในอนาคต นอกจากนี้ โครงการนี้ยังได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการที่เราผลิตได้เองในประเทศ สามารถใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำเข้าอย่างมหาศาล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้พิสูจน์ได้ชัดว่าเรากำลังลงทุนในสิ่งที่คุ้มค่าแก่การลงทุน และเราต้องการที่จะเห็นโครงการเช่นนี้เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก โดย บพข. มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และบริการ ของคนไทยที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า โครงการนี้นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ของไทย ทั้งสถาบันวิจัย ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มาร่วมกันทำงานเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง เราสามารถผลิตตู้รถไฟโดยสารได้เองโดยใช้วัสดุภายในประเทศของเรา รถไฟ สุดขอบฟ้า นี้มีความทันสมัย หรูหรา และอยู่เหนือความคาดหมายของใครหลายคน สามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยในการมองรถไฟไทยให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้ ซึ่งเราเชื่อเสมอมาว่าฝีมือและสมองของคนไทยนั้นไม่แพ้ชาติใดในโลก ซึ่งวันนี้ทีมวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเราสามารถทำได้ และสิ่งนี้จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถที่จะพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งต่อไปที่เราต้องทำคือการทดสอบตลาด และดูกระแสตอบรับของสังคม เพื่อนำมาพัฒนาแผนการให้บริการและการบริหารต้นทุนต่อไป
โครงการพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ) นับเป็นตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน R&D ด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ บพข. ให้การสนับสนุนและผลักดันให้โครงการนี้สามารถพัฒนาจากห้องปฏิบัติการไปสู่การทดสอบ รับรองมาตรฐาน จนไปสู่การนำไปโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้งบประมาณจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ คือ รฟท. ภาคเอกชนคือ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ที่เป็นผู้ร่วมลงทุน และสถาบันวิจัย ประกอบด้วย ทีมวิจัยจาก สจล. ที่ร่วมกับ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้โครงการนี้สามารถประสบความสำเร็จได้ และสามารถสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยได้มีการจดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากโครงการแล้วจำนวน 7 ผลงาน และองค์ความรู้ เทคโนโลยี เหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดไปผู้ประกอบการที่สามารถผลิตและประกอบได้ในประเทศมากกว่า 10 บริษัทเข้าร่วมในโครงการ ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
|