View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 15/11/2023 10:53 am Post subject:
TRITN เฮ!! คว้างานทางรถไฟที่โคราช ตุน Backlog แน่น พร้อมเดินหน้าประมูลงานใหม่ ดันธุรกิจก่อสร้างเต็มกำลัง!!
15 พฤศจิกายน 2023 / เวลา 10:12 น.
มิติหุ้น TRITN ปลื้ม!! บริษัทย่อยในเครือ คว้างานประมูลโครงการรื้อทางรถไฟที่โคราช มูลค่าโครงการกว่า 110.57 ล้านบาท Backlog แน่นกว่า 2.6 พันล้านบาท สร้างรายได้ยาว 2-3 ปี พร้อมเดินหน้าเข้าประมูลโครงการใหม่ ผลักดันธุรกิจก่อสร้างแบบเฉพาะทาง (Specialize Engineering) แบบเต็มตัว มุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
นางสาวหลุยส์ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TRITN เปิดเผยว่า ผลประกอบการในงวด 9 เดือนปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 481.56 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.83% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2566 ของ TRITN มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีตามเป้าหมายที่วางไว้ บริษัท ไทรทัน เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรานส์ไทย เรลเวย์ จำกัด (บริษัทย่อยในเครือ) ได้ชนะการประมูลโครงการงานรื้อทางรถไฟและงานสร้างทดแทนใหม่ ที่จังหวัดนครราชสีมา มูลค่าโครงการประมาณ 110.57 ล้านบาท และพร้อมเริ่มดำเนินการก่อสร้างในไตรมาส 4/2566 นี้ ซึ่งเป็นงานที่ทางบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอยู่แล้ว
แม้ปรากฎผลขาดทุนรวม 81.66 ล้านบาท แต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในงบการเงินรวมจากการขายบริษัทย่อยเท่านั้น ไม่ส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อสถานะการเงินของบริษัท และแม้บริษัทรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าตาม TFRS 9 จํานวน 16.49 ล้านบาท ในอนาคตแต่จะสามารถ reverse รายได้กลับเข้าได้ในอนาคต
ปัจจุบัน TRITN มีมูลค่างานในมือ (Backlog) อยู่ที่ประมาณ 2,600 ล้านบาท โดยที่จำนวน 2 พันล้านยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้าง ส่วนอีกประมาณ 606 ล้านบาทจะมาจาก 2 โปรเจกต์ที่ได้งานมาแล้ว และคาดว่าจะสามารถเริ่มงานได้ในไตรมาส 1/2567 เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการเจรจาเข้าพื้นที่ของรัฐบาล หากงานทั้งหมดเริ่มดำเนินการได้ เชื่อว่ารายได้ของ TRITN ก็จะกลับมาทำกำไรได้ดีเหมือนเดิม
ในปี 2567 บริษัทฯ มีเป้าหมายโครงการที่จะลงนามข้อตกลง ในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2567 อีก 1.1พันล้านบาท และ 1.8 พันล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งบริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผน เพราะTRITN เองมีความพร้อมอย่างมากในการเตรียมจัดสรรทรัพยากร เครื่องจักร และ ทีมงานไว้รองรับอย่างเหมาะสม นางสาวหลุยส์กล่าวเสริม
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44625
Location: NECTEC
Posted: 15/11/2023 9:18 pm Post subject:
รฟท. จ่อถกเอกชน ลงทุนสร้างพื้นที่ทับซ้อน เคลียร์ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ฐานเศรษฐกิจ
13 พฤศจิกายน 2566
รฟท. เดินหน้าถกเอกชน ลงทุนสร้างไฮสปีดไทย-จีน หลังทับซ้อนร่วมไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เร่งปิดดีลข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ ลุ้นครม.เคาะเพิ่มวงเงินแก้สัญญาร่วมทุน เตรียมลงนามสัญญา 4-5 งานโยธา 1.03 หมื่นล้านบาท ตอกเสาเข็มทางวิ่งสถานีอยุธยาก่อน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร (กม.) ว่า ส่วนของสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 19,000 ล้านบาท ซึ่งยังมีประเด็นปัญหาการทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) นั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนผู้รับจ้าง จากนั้นจะเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี 2566
ล่าสุด มีแนวโน้มว่าพื้นที่บริเวณทับซ้อนร่วมกับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะให้ รฟท. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง เพื่อไม่ให้โครงการมีความล่าช้า ทั้งนี้ จากการหารือกับเอกชนในเบื้องต้น ถึงแนวทางดังกล่าว ทางภาคเอกชนไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนงบประมาณจะมากจากแหล่งใดนั้น จะต้องมาพิจารณาคำนวนอีกครั้ง อาทิ การใช้งบประมาณบางส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน หรือจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน หรือหากจะต้องใช้เงินกู้ และอาจจะต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินเพื่อให้ รฟท. นำมาดำเนินการ
ทั้งนี้การปรับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการต่อไป โดยคาดว่า จะเสนอ ครม. ได้ภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการเปิดให้บริการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 นั้น คาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2571 หรือเป็นไปตามแผนเดิมที่กำหนดไว้
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ส่วนของงานสัญญาที่ 4-5 งานโยธา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 10,325 ล้านบาท ขณะนี้ อยู่ระหว่างรอสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาตามที่มีการแก้ไขปรับปรุงไปแล้ว โดยคาดว่า จะสามารถลงนามสัญญากับบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ในฐานะผู้รับจ้างได้ภายใน พ.ย. 2566 ก่อนที่จะออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป
การก่อสร้างสถานีอยุธยานั้น ปัจจุบันการจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอรายงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศประมาณ 9 หน่วยงาน และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ปัญหาการก่อสร้างสถานีอยุธยายังไม่ได้ข้อยุติ รฟท. จะยังไม่ดำเนินการก่อสร้างสถานีอยุธยา แต่เมื่อ รฟท. ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว ก็จะให้ดำเนินการก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน
รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท มีความคืบหน้าประมาณ 27.39% ล่าช้ากว่าแผน 48.98% โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.2 กม. คืบหน้า 42.18%
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.1 กม. คืบหน้า 35.60%, สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.4 กม. คืบหน้า 67.32%, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. คืบหน้า5.30%
สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. คืบหน้า 0.24%, สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพระยะทาง 23 กม. คืบหน้า 21.30%, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย คืบหน้า 0.85% สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. คืบหน้า 0.38% และสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.9 กม. คืบหน้า 47.22% นอกจากนี้อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กม.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/11/2023 7:48 pm Post subject:
เล็งเสนอบอร์ดรถไฟ อนุมัติปรับแบบ ไฮสปีดไทยจีน ยกระดับผ่านโคราช สิ้นปี 66
วันศุกร์ ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16:07 น. isranewsรถไฟ จ่อเสนอบอร์ด รฟท. อนุมัติปรับแบบรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา หลังชาวบ้านค้านสร้างระดับดิน ดันยกระดับทั้งหมด คาดเสนอไม่เกินสิ้นปี 66 นี้ ก่อนวางไทม์ไลน์ดันปรับแบบทางคู่มาบกะเบา - จิระ สัญญา 2 คลองขนานจิตร-จิระ ต่อไป สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 แหล่งข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศราว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน เส้นทางมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงินโครงการ 23,910.58 ล้านบาท ซึ่งแบ่งก่อสร้าง 3 สัญญา
ขณะนี้ในส่วนสัญญาที่ก่อสร้างไปแล้วได้แก่ สัญญาที่ 1ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม.มูลค่าโครงการ 7,560 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นคู่สัญญา ความคืบหน้าของโครงการอยู่ที่ 96.31% ล่าช้ากว่าแผน 3.69% วางกำหนดแล้วเสร็จในเดือน มี.ค. 2568
และสัญญาที่ อุโมงค์รถไฟขนาดความยาว 5 กม. มูลค่าโครงการ 9,290 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที หรือ ITD-RT (มีบมจ. อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ ร่วมกับบจ. ไรท์ทันเน็ลลิ่ง) เป็นคู่สัญญา ความคืบหน้าของโครงการอยู่ที่ 98.188% ล่าช้ากว่าแผน 1.812% วางกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2567
ขณะที่ในส่วนของสัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิต - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม. มูลค่าโครงการ 7,060.58 ล้านบาท จากที่มีปัญหาประชาชนใน ต.โคกกรวด, บ้านใหม่ และในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เรียกร้องให้ปรับรูปแบบการก่อสร้างจากคันดินเป็นการยกระดับแบบตอม่อ ซึ่งตอนนี้ทาง รฟท.เห็นชอบตามที่ประชาชนเรียกร้องแล้ว
แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ขั้นตอนการเสนอปรับแบบ เนื่องจากสัญญา 2 อยู่ทับซ้อนกับแนวรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK (ประกอบด้วย ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร) เป็นคู่สัญญา มูลค่าโครงการ 7,750 ล้านบาท ดังนั้น จึงต้องขออนุมัติปรับแบบในส่วนรถไฟความเร็วสูงก่อน หากรถไฟความเร็วสูงได้รับอนุมัติจึงจะเสนอปรับแบบรถไฟทางคู่ตามไป โดยคาดว่าไม่เกินสิ้นปี 2566 นี้จะสามารถขออนุมัติปรับแบบรถไฟความเร็วสูงได้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44625
Location: NECTEC
Posted: 17/11/2023 8:37 pm Post subject:
วันนี้ได้ไปที่สถานนี้รถไฟอยุธยาได้สอบถามพี่น้องที่ขับรถตุกตุก วินมอเตอร์ไซค์ร้านค้าและผู้ใช้บริการรถไฟชาวบ้านที่หากินบริเวณสถานีรถไฟว่าอยากได้สถานีรถไฟอยู่ที่เดิมไหมส่วนมากทุกคนบอกอยากได้สถานนีที่เดิมสวยมากครับต่อไปอาจจะสวยเท่าสถานีหัวหินหรือสวยกว่าเลนมาค์กแห่งใหม่อยุธยาอยากขอให้พี่น้องชาวอยุธยารักษาโอกาศดีดีที่เราจะมีสถานีรถไฟความเร็วสูงครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=313156608187167&id=100084784893422
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/11/2023 11:37 am Post subject:
ชาวบ้านออกมาติดป้ายเรียกร้อง สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา(ที่เดิม) อัพเดต 17/11/66
Max Puttipong
Nov 18, 2023 #MaxPuttipong #รถไฟความเร็วสูง #รถไฟ
ชาวบ้านออกมาติดป้ายเรียกร้อง สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา(ที่เดิม) อัพเดต 17/11/66
https://www.youtube.com/watch?v=EBe188MgtW4
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/11/2023 7:41 pm Post subject:
10 พ.ย.66 อัปเดตทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช ช่วง สระบุรี-อยุธยา-บางชื่อ #รถไฟ #รถไฟความเร็วสูง
รถไฟไทย Train Thailand Speed
Nov 18, 2023
https://www.youtube.com/watch?v=oyWOLb0m8b0
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/11/2023 6:35 pm Post subject:
'นักโบราณคดี'แนะทางออก'รถไฟความเร็วสูง'ผ่านอยุธยา หลังเผชิญ'มรดกโลก'จนสะดุด
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 15.45 น.
นักโบราณคดี แนะทางออก รถไฟความเร็วสูง ผ่านอยุธยา หลังเผชิญ มรดกโลกจนสะดุด ชี้สร้างได้ แต่ต้องแก้โจทย์ผลกระทบ เผย ยูเนสโก ส่งใบเหลืองเตือนกรุงเก่า ก่อนผุดโครงการรถไฟความเร็วสูง เร่งรัฐบาลตัดสินใจก่อนถูกปรับ พร้อมยกโครงการอดีตเทียบชัด พัฒนา-อนุรักษ์ ไปด้วยกันได้
23 พ.ย.66 ผศ.ชวลิต ขาวเขียว รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึง ปัญหาในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (Hi Speed) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยยอมรับว่า โครงการฯ มีความล่าช่าไปมาก เพราะตามข้อเท็จจริงหลังจากผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และ รายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) แล้ว โครงการฯ จะต้องเดินหน้า เนื่องจากมีการลงนามในสัญญาไปแล้ว ไม่เช่นนั้นไทยจะเสียค่าปรับ แต่โครงการฯ ยังติดปัญหาที่สถานีอยุธยา ซึ่งมีความกังวลว่าโครงการฯ อาจจะกระทบกับแหล่งมรดกโลกภายในเกาะเมืองกว่า 1,800 ไร่ ทั้งที่รถไฟความเร็วสูงแล่นนอกเกาะเมือง หรือนอกเขตมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนกับยูเนสโก (UNESCO) แต่เนื่องจากอโยธยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์สำคัญ จึงต้องไปพิจารณาว่าจะกระทบอะไรบ้าง
ในฐานะนักวิชาการด้านโบราณคดี มองปัญหานี้อย่างไร ผศ.ชวลิต กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงสร้างได้ แต่ต้องดูเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ ต้องศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน เช่น ก่อนจะสร้างจะต้องมีการขุดค้นโบราณคดี ลดขนาดความสูงของการก่อสร้างรถไฟฯ ให้ต่ำลงมา ไม่ให้ไปสูงข่มโบราณสถาน หรือออกแบบป้ายสถานีสวยๆ ไม่ไปเบียดบังทัศนียภาพ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีหลายโครงการที่เป็นประเด็นคาบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เช่น สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย ที่แล่นผ่านเมืองเก่าของกรุงเทพมหานคร ก็มีการขุดย้ายโบราณคดี และนำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์มิวเซียม สยาม หรือโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มีการขุดกู้แหล่งโบราณคดีก่อนที่จะจมน้ำ รวมถึงโครงการก่อสร้างตึกศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ที่ขุดเจอเรือไม้โบราณ เจอกำแพงธนบุรี ก็ได้ยกเรือขึ้นไปทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการพัฒนากับการอนุรักษ์อยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงจะต้องมีการประเมินคุณค่าในพื้นที่ดังกล่าว
มันมีคีย์ เวิร์ส ที่ว่า ถอดถอนมรดกโลกอยุธยา หลังจากยูเนสโกมีใบเหลืองเตือนไทยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเตือนเรื่องไม่ควบคุมพื้นที่ ปล่อยให้มีการสร้างตึกสูง บางโรงแรมสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงด้วยซ้ำ ต่อมามีโครงการรถไฟความเร็วสูง เราก็เจอใบเหลืองซ้ำอีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอยุธยาโดนเตือนมาแล้วก่อนหน้านี้ ไม่ใช่พอรถไฟความเร็วสูงมาแล้วโดน ส่วนตัวเห็นว่าอยุธยาขาดการดูแลมานานแล้ว พื้นที่อื่นๆ ของอยุธยาด้วยที่ถูกปล่อยปละละเลยให้สร้างนั่น สร้างนี่ได้จนเละเทะ แต่พอมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ามา จึงกลายเป็นตัวเร่งทำให้คนตื่นตระหนกว่าทำไมต้องมาสร้างที่นี่ ผศ. ชวลิต กล่าวและว่า ตนเห็นด้วยกับการก่อสร้าง แต่ต้องสร้างแบบให้ทั้งสองส่วนอยู่ด้วยกันได้ อาจจะสร้างสถานีแบบสวยๆ ป้ายสถานีสวยๆ ซึ่งจะกลายเป็นตัวหนุนแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย
เมื่อถามว่า ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร นักวิชาการด้านโบราณคดี กล่าวว่า มี 2 แนวทาง คือ หากประเมินแล้วว่าสิ่งที่อาจจะไปกระทบเป็นสิ่งสำคัญและมีสิ่งเดียวในโลก ก็ต้องยุติการก่อสร้าง แต่หากชั่งน้ำหนักแล้วว่าประชาชนต้องการให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ ก็จะต้องไปพิจารณาผลกระทบในด้านต่างๆ ก่อนดำเนินการแก้ไข พร้อมมองว่า ปัจจุบันคนยังเข้าใจผิดระหว่างคำว่า การพัฒนา กับ การอนุรักษ์ ว่าสองคำนี้ขัดแย้งกัน แต่ความจริงเป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้ เพราะคำว่า อนุรักษ์ ไม่ใช่การถอยหลัง แต่เป็นคำที่ทำให้การพัฒนากับการเก็บรักษาไว้มีความสมดุลกัน ซึ่งต่างชาติ ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็ทำ แต่ปัจจุบันกรมศิลปากรก็พยายามทำเรื่องอาสาสมัครและเครือข่ายในการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเยอะ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48298
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top