Rotfaithai.Com :: View topic - อีกกี่ปีจะได้นั่งรถไฟเที่ยวภูเก็ต
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46977
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/11/2023 9:25 am Post subject:
หอฯ5ภาคจี้รัฐลุยบิ๊กโปรเจ็กต์ ใต้ดันรถไฟทางคู่-แลนด์บริดจ์
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, November 11, 2023 06:03
หอการค้า 5 ภาคจี้รัฐอัดงบฯลงทุน ภาคกลางดัน smart city นิคมเกษตรแห่งใหม่ ภาคเหนือชงแผนจัดการน้ำ-ล้างพิษ PM 2.5 หออีสานชงแผนยกระดับรายได้เกษตร หอตะวันออกเสนอวิจัยสมุนไพรทำเวชสำอาง ภาคใต้เร่งรถไฟทางคู่-แลนด์บริดจ์
ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 41 ที่จะจัดขึ้นวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 90 ปี หอการค้าไทยทางหอการค้าแต่ละจังหวัดได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสะท้อนปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละจังหวัด เพื่อผลักดันให้รัฐบาลเข้ามาช่วยส่งเสริม และแก้ไข
โดยยึดกรอบ 7 แนวทาง ใกล้เคียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน ระดับภูมิภาค ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ได้แก่
1.เกษตรกรรมและการผลิตอาหาร 2.ศูนย์กลางเศรษฐกิจ 3.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม และคุณภาพชีวิต 4.การค้า และการลงทุน 5.อุตสาหกรรม
6.โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ 7.การท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (global trends)
ภาคกลางมุ่งสู่ Smart City
นายธวัชชัย เศรษฐจินดา รองประธาน กรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคกลาง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หอการค้า 5 ภาคเตรียมยื่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจบรรจุในสมุดปกขาว เสนอต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในงานสัมมนาดังกล่าว
ภาคกลางเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน มีโครงการเสนอ เช่น โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยกระดับสนามบินนานาชาติเชื่อมขนส่งสินค้า, เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ smart city และศูนย์กลางนิคมอุตสาหกรรมเกษตรแห่งใหม่, เชื่อมงานวิจัยสู่ตลาดจริง และส่งเสริมความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน, ด้านเกษตรกรรมและการผลิตอาหาร, การท่องเที่ยวและทุนทางวัฒนธรรม หนุนเมืองสร้างสรรค์โลกด้านอาหาร, การค้าและการลงทุน ยกระดับจุดผ่อนปรนเป็นด่านค้าชายแดนถาวร
ส่วนภาครัฐมีประเด็นการพัฒนากระบวนการผลิตภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ด้วยระบบธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ ฯลฯ โครงการที่ กกร.รับผิดชอบ ได้แก่ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรม (แปรรูปเกษตร) มูลค่าสูง และ 12 อุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่แนบท้ายในผังเมือง
โครงการ RUN (reskill upskill newskill) ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ เพื่อยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากร และมีโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการบูรณาการเชื่อมโยงขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้าชานเมือง บูรณาการผังเมืองของกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม เพื่อส่งเสริมให้เป็น smart mobility และจัดทำแผน smart environment เป็นต้น
เหนือแก้น้ำท่วม-หมอกควัน
นายสมบัติ ชินสุขเสริม ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จะเสนอ 4 เรื่องคือ 1.แผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม หนักและแล้งจัดทุกปี ขอให้สร้างอ่างเก็บน้ำแต่ละพื้นที่ เพื่อกักเก็บน้ำไม่ให้ไหลลงสู่จังหวัดด้านล่าง
2.แก้ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ และผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเชียงใหม่โมเดลที่จัดตั้งคณะทำงาน 7 ป่าสำคัญ (ป่าอมก๋อย-ดอยหลวงเชียงดาว) โดยภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและสร้างแรงจูงใจลดการเผาทั้ง 7 ป่า และสนับสนุนภารกิจป้องกัน ควบคุมไฟป่าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้ งบประมาณรายจ่ายปี 2567
3.ส่งเสริมเศรษฐกิจมูลค่าสูง จะผลักดันจังหวัดตาก-ลำปาง-แพร่-น่าน ให้เป็นเส้นทางการปลูกกาแฟของภาคเหนือ พร้อมส่งเสริมการตลาด 4.เร่งรัดพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ เชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ อาทิ สนามบิน แห่งที่ 2 เชียงใหม่, มอเตอร์เวย์เชียงราย-เชียงใหม่, รถไฟทางคู่ภาคเหนือ ปากน้ำโพ (นครสวรรค์)-เด่นชัย และรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-แม่สอด
อีสานสร้างอาชีพดึงแรงงานกลับ
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาคอีสานมักถูกมองว่าขับเคลื่อนด้วยภาคเกษตรเป็นหลัก แต่ความเป็นจริงภาคธุรกิจที่สร้างรายได้มากสุดคือการค้าชายแดน มีสัดส่วน 35% ภาคบริการและท่องเที่ยว 27% ภาคเกษตรมีเพียง 9-10%
โดยมีแรงงานไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุด รัฐควรสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อดึงแรงงานให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด
นอกจากนี้ ได้เสนอให้ยกระดับรายได้ ของภาคเกษตรและประมง เช่น สนับสนุนเลี้ยงโคพรีเมี่ยม สร้างโรงเชือด มาตรฐาน, เลี้ยงกุ้งก้ามกามในจังหวัดกาฬสินธุ์, เลี้ยงปูเนื้อเพื่อส่งออก, ทดลองสร้างธนาคารน้ำในทุ่งกุลาร้องไห้ ให้ปลูกข้าวหอมมะลิได้ 2 รอบต่อปี, ขับเคลื่อนอุดรธานีให้เป็นจังหวัดชายแดน สนับสนุนเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดหนองคาย
หาก 2 จังหวัดนี้ผนึกกำลังกัน จะทำให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งขึ้น เป็นประตูการค้าสำคัญเชื่อม one belt one road สู่ประเทศจีน และยุโรปในอนาคต
"ผมคิดว่าปี 2567 จะเป็นปีทองของภาคอีสาน หากอุดรธานีกับหนองคายผนึกกำลัง ต่อไปขอนแก่นกับนครราชสีมาจะเชื่อมถึงกัน กลายเป็นแกนหลักในการพัฒนาและขยายพื้นที่ให้กับจังหวัด ข้างเคียง เป็นจังหวัดพี่จังหวัดน้องที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ยั่งยืน"
ตะวันออกเสนอ 5 เรื่อง
นายปรัชญา สมะลาภา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เตรียมประเด็น 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.เร่งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งล่าช้ากว่าแผนแล้ว 2.การเกษตรและผลไม้ ตั้งทีมเปิดตลาดใหม่ลดความเสี่ยงการส่งออกไปตลาดจีนถึง 90% ปัจจุบันมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเสนอให้รัฐบาลแต่งตั้ง คณะทำงานร่วมกัน
3.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จะนำไปทำ เวชสำอาง โดยเฉพาะปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ส่งออกพืชสมุนไพรไปยุโรปจำนวนมาก รวมถึงส่งออกสมุนไพรไปทำอาหารสัตว์เกรดพรีเมี่ยมให้สุนัขและแมว โดยให้ YEC ของหอการค้าร่วมกับเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC ) วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งมีทีมวิจัยสมุนไพรทำเวชสำอางมาทำงานร่วมกัน
4.ด่านทางทะเล ทางจังหวัดตราดเสนอท่าเรือคลองใหญ่ที่สร้างบนที่ดินของกรมธนารักษ์มูลค่า 1,300 ล้านบาท ที่ผ่านมาสร้างท่าเทียบเรือ อาคาร คลังสินค้าทัณฑ์บนไว้แล้ว แต่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อรองรับการตรวจเอกสารชาวต่างชาติที่ลงเรือมาจากเวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เพื่อมาท่องเที่ยวเกาะต่าง ๆ ในจังหวัดตราด ที่ผ่านมาต้องไปรับ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจากด่านคลองลึก นอกจากนี้ จะทำเป็นท่าเรือท่องเที่ยวและท่าเรือกีฬาทางน้ำ เช่น กีฬาเรือใบ เป็นต้น
5.โครงการงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง โดยหอการค้าจังหวัดชลบุรีจะนำงานวิจัยมาต่อยอดเชิงพาณิชย์
หอใต้ดันรถไฟ-แลนด์บริดจ์
นายวัฒนา ธนาศักดิ์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมเสนอเร่งรัดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วแต่ยังล่าช้ากว่าแผน 3 โครงการ ได้แก่ 1.รถไฟเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน มี 2 เส้นทางคือ สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี-ท่าเรือดอนสัก งบประมาณ 50,000 ล้านบาท หากโครงการแล้วเสร็จจะรองรับนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดฝั่งอันดามันได้มากขึ้น
2.โครงการแลนด์บริดจ์ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมท่าเรือ 2 แห่ง ถ้าทำสำเร็จจะสร้างรายได้มหาศาล
3.รถไฟทางคู่ นครปฐม-ปาดังเบซาร์ จะช่วยให้การค้าและการลงทุนดีขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรจะโดยสารส่งผ่านระบบรางได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ แต่ละโครงการบรรจุในแผนหมดแล้ว แต่ไม่ได้ใส่งบประมาณ ทำให้โครงการขยับออกไปเรื่อย ๆ
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 พ.ย. 2566
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46977
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 15/12/2023 10:14 pm Post subject:
คมนาคม เปิดแผนสร้างรถไฟสายใหม่ เชื่อมสนามบินกระบี่-ภูเก็ต 4.3 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
15 ธันวาคม 2566
คมนาคม เล็งศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมสนามบินกระบี่-ภูเก็ต วงเงิน 4.3 หมื่นล้านบาท ดันเขตทางรถไฟเดิมหวังลดระยะการเดินทาง 1 ชม. 20 นาที เตรียมแบ่งแผนก่อสร้าง 3 เส้นทาง ลุ้นเปิดประมูลภายในปี 68-69
ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศฯ (R-Map) โดย 1 ในนั้น คือ โครงการรถไฟสายใหม่ สนามบินนานาชาติกระบี่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งจะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่พาดผ่าน 4 จังหวัด ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีแผนขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีความสำคัญเชิงพื้นที่ระหว่างปี 2566-2570 พบว่ามีโครงการที่เร่งผลักดัน คือ โครงการรถไฟสายใหม่ สนามบินนานาชาติกระบี่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต ระยะทาง 149.50 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 43,511 ล้านบาท
ทั้งนี้การก่อสร้างของโครงการรถไฟสายใหม่ สนามบินนานาชาติกระบี่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางท่านุ่น-สนามบินนานาชาติภูเก็ต ระยะทาง 18 กม. วงเงินลงทุน 14,712 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 8.08% โดยจะศึกษาความเหมาะสมของโครงการและจัดทำอีไอเอภายในปี 2567 และเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมทั้งเสนอต่อครม.เห็นชอบภายในปี 2568
หลังจากนั้นจะดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้างภายในปี 2569 และเปิดประมูลประมาณกลางปี 2569 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณภายในปี 2570 จะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2573
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า 2.เส้นทางท่านุ่น-ทับปุด ระยะทาง 63.5กม. วงเงินลงทุน 11,598 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 17.14% โดยจะเสนอต่อสผ.พิจารณารายงานอีไอเอภายในปี 2567 และเสนอครม.อนุมัติโครงการภายในกลางปี 2567 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลไม่เกินกลางปี 2568 และดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้างภายในปี 2568 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณภายในกลางปี 2568 จะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2571
3.เส้นทางทับปุด-สนามบินนานาชาติกระบี่ ระยะทาง 68 กม. วงเงินลงทุน 17,201 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 9.78% ตมแผนจะศึกษาความเหมาะสมของโครงการและจัดทำอีไอเอภายในปี 2567 และเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมทั้งเสนอต่อครม.เห็นชอบภายในปี 2568 หลังจากนั้นจะดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้างภายในปี 2569 และเปิดประมูลประมาณกลางปี 2569 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณภายในปี 2570 จะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2573
ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-map) โดย 1 ในนั้นมีการเสนอเส้นทางโครงข่ายรถไฟสุราษฎร์ธานี-พังงา- กระบี่-ภูเก็ต โดยจะเป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเขตทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้โครงการรถไฟสายใหม่ สนามบินนานาชาติกระบี่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต จะเชื่อมท่าเรือดอนสัก ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใช้เดินทางไปเกาะสมุย กับสนามบินภูเก็ต โดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่บ้านท่าฉัตรไชย จ.ภูเก็ต และเส้นทางทับปุด-กระบี่ ซึ่งแยกจากเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ที่สถานีทับปุด ลงมาเชื่อมต่อกับสนามบินกระบี่ ครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดพังงา 1 อำเภอ คือ ทับปุด และกระบี่ 2 อำเภอ คือ อ่าวลึกและเมืองกระบี่
สำหรับแนวเส้นทางของโครงการฯ จำนวน 12 สถานี ประกอบด้วย 1.สถานีสนามบินภูเก็ต 2.สถานีท่านุ่น 3.สถานีท่าอยู่ 4.สถานีตะกั่วทุ่ง 5.สถานีพังงา 6.สถานีบ่อแสน 7.สถานีทับปุด 8.สถานีอ่าวลึก 9.สถานีคลองหิน 10.สถานีทับปริก 11.สถานีกระบี่น้อย และ 12.สถานีสนามบินกระบี่ โดยเป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร รองรับความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อย่างไรก็ตามหากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ ทำให้เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวผ่าน 4 จังหวัด สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต โดยเชื่อมสนามบินภูเก็ต กระบี่ และท่าเรือดอนสัก ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางเหลือ 1 ชั่วโมง 20 นาที
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46977
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46977
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 27/09/2024 11:01 am Post subject:
จังหวัดพังงา ประชุมรับฟังข้อมูลเบื้องต้นโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านุ่น-ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
Source - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Friday, September 27, 2024 10:16
นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานการประชุมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้นำท้องถิ่น เพื่อรับฟังข้อมูลเบื้องต้นและปรึกษาหารืองานศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านุ่น-ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต โดยมีนายสุวัฒน์ กันภูมิ หัวหน้ากองพัฒนาโครงการและควบคุมสิ่งแวดล้อม รฟท. และบริษัทที่ปรึกษา ร่วมนำเสนอข้อมูลโครงการฯ ณ ห้องประชุมภูผา ศาลากลางจังหวัดพังงา
ด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษางานศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านุ่น-ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร รางคู่ มี 4 สถานี คือ โคกกลอย ท่านุ่น ไม้ขาว และอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเข้าพื้นที่โครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่โครงการ โดยการนำเสนอข้อมูล รายละเอียดโครงการ ขอบเขตการศึกษาโครงการ การศึกษาสิ่งแวดล้อม และแผนงานการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นโครงการในพื้นที่ทั้งสองจังหวัด เพื่อเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในการนำเสนอโครงการต่อ ครม.พิจารณาต่อไป
Phang Nga Province holds a meeting to hear preliminary information on the construction project for the Thanoon-Phuket International Airport railway line.
Source: Public Relations Department News Agency
Friday, September 27, 2024, 10:16
Mr. Supoj Rodruang Na Nongkhai, Governor of Phang Nga Province, chaired a meeting with relevant government agencies and local leaders to listen to preliminary information and discuss the feasibility study of the Thanoon-Phuket International Airport railway construction project. Mr. Suwat Kanpumi, Head of the Project Development and Environmental Control Department of the State Railway of Thailand (SRT), and representatives from the consulting firm also presented project details at Phu Pha Meeting Room, Phang Nga Provincial Hall.
The SRT has hired a consulting firm to conduct a feasibility study for the Thanoon-Phuket International Airport railway project, which spans approximately 18 kilometers and features a dual track with four stations: Khok Kloi, Thanoon, Mai Khao, and Phuket International Airport. Currently, the project is in the stage of site preparation. The presentation included project details, the scope of the study, environmental impact assessments, and plans for public participation. Feedback from both provinces involved will be collected to prepare preliminary information for submission to the Cabinet for further consideration.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46977
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/10/2024 5:10 pm Post subject:
การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้าศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงทับปุด-กระบี่
Source - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Thursday, October 17, 2024 12:32
วันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ห้องประชุมอ่าวลึก ศาลากลางจังหวัดกระบี่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลโครงการเบื้องต้นและปรึกษาหารืองานศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงทับปุด-กระบี่ มีนายศักรินทร์ ปุรินทราภิบาล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเป็นการประชุม มีผู้แทน การรถไฟแห่งประเทศไทยและ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ร่วมให้ข้อมูล มีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม
นายศักรินทร์ ปุรินทราภิบาล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ถ้ามีการก่อสร้างทางรถไฟช่วงทับปุด -กระบี่ เกิดขึ้นจริงถือเป็นความโชคดีของจังหวัดกระบี่ เพื่อจะเชื่อมการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันออกมาฝั่งตะวันตกได้ดียิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานกระบี่ เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน
สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงทับปุด -กระบี่ เป็นการพัฒนาทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อท่าอากาศยาน รองรับการเดินทางของผู้โดยสารทางรถไฟจากเส้นทางรถไฟสายใหม่สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่ เชื่อมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศ โดยมีจุดเริ่มต้นจากสถานีทับปุด มุ่งหน้าสู่อำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ และมีการเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานกระบี่ ตามผลการศึกษาความเหมาะสมของการขยายแนวเส้นทางรถไฟสายแยก(Spur Lines) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อจังหวัดสำคัญทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต้องการขนส่งทางรถไฟและกระจายโอกาสพัฒนา ลดระยะเวลาในการเดินทางและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การเชื่อมโยงโครงข่ายทางรางและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร หรือ สนข.
เส้นทางโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงทับปุด -กระบี่ เป็นรถไฟสายใหม่ทางคู่ ส่วนใหญ่จะขนานไปกับถนนทางหลวงหมายเลข 4 และแนวเขตเสาไฟฟ้าแรงสูง เริ่มจากสถานีทับปุด จ.พังงา สิ้นสุดที่สถานีท่าอากาศยานกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร มี 5 สถานี 4 ป้ายหยุดรถ มีการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม พร้อมลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เบื้องต้นมีพื้นที่ศึกษาที่กำหนดไว้ 3 แนวเส้นทาง ใช้ระยะเวลา 300 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่าสามารถสรุปผลว่าจะสร้างหรือไม่ ประมาณเดือนมิถุนายน 2568
State Railway of Thailand Moves Forward with Feasibility Study for Thap Put - Krabi Railway Construction Project
Source - Public Relations Department News
Thursday, October 17, 2024 12:32
On October 17, 2024, at the Ao Luek meeting room, Krabi Provincial Hall, the State Railway of Thailand (SRT), in collaboration with a consulting firm, held a meeting to provide preliminary information and discuss the feasibility study for the Thap Put - Krabi railway construction project. Mr. Sakarin Purinthapibal, Head of Krabi Provincial Office, presided over the meeting. Representatives from SRT and the consulting firm provided information, with heads of government agencies, representatives from public and private sectors, and the general public in attendance.
Mr. Sakarin Purinthapibal stated that the construction of the Thap Put - Krabi railway, if realized, would be a boon for Krabi Province. It would better connect tourism on the southern east coast to the west coast and improve connectivity with Krabi Airport, enhancing potential and competitiveness.
The Thap Put - Krabi railway construction project aims to develop rail transport to connect with the airport, accommodating passengers from the new Surat Thani - Phang Nga - Krabi railway line. This connection will improve network efficiency, enhance economic competitiveness, trade, investment, and tourism potential.
The project starts from Thap Put Station, heading towards Krabi town, with a connection to Krabi Airport. This aligns with the SRT's feasibility study on expanding spur lines to connect major provinces nationwide. The goal is to increase rail transport efficiency, distribute development opportunities, reduce travel time, and save fuel, in line with government policies on logistics development. It also corresponds with the network connectivity plan and enhances SRT's service efficiency, as outlined in the Railway Network Development Master Plan. This plan supports special economic zones, tourism, and area development by the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP).
The Thap Put - Krabi railway project will be a new double-track line, mostly parallel to Highway 4 and high-voltage power lines. Starting from Thap Put Station in Phang Nga Province and ending at Krabi Airport Station, the route covers approximately 70 kilometers, with 5 stations and 4 stops. The feasibility study encompasses economic, engineering, and environmental aspects, including public consultations. Initially, three potential routes are being considered, with a study period of 300 days starting from August 2024. The conclusion on whether to proceed with construction is expected around June 2025.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43765
Location: NECTEC
Posted: 18/10/2024 10:48 am Post subject:
ถือเสียว่าเป็นส่วนต่อขยายเข้าเกาะภูเก็ตเสียที่ เอาที่การรถไฟบนเกาะภูเก็ตไปส่วนหนึ่งด้วยสิครับ แค่วางระบบรถไฟฟ้าชานเมืองจาก โคกกลอย ไป ท่านุ่น ก่อนข้ามช่องปากพระไปหาด ไม้ขาว และอากาศยานนานาชาติภูเก็ต แต่ถ้ามีสถานีท่าฉัตรไชยด้วยก็จะดีนะครับ แต่จะให้ดีต้องทำเครือข่ายรถไฟฟ้าชานเมืองเชื่อมพังงากะภูเก็ตด้วยจะได้ทำให้ชาวภูเก็ตใช้พังงาเป็นบ้านชานเมืองภูเก็ตได้ เพราะที่ดินเกาะภูเก็ตแพงเหลือเกิน ค่าครองชีพบนเกาะก็ด้วย
รายละเอียดโครงการดูที่นี่ครับ
https://www.srt-thanoon-phuketairport.com/
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group