RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311650
ทั่วไป:13403024
ทั้งหมด:13714674
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 525, 526, 527 ... 559, 560, 561  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2024 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ส่องแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)ประเทศไทย
*มี 8 เส้นทางรวม2,466กม.งบลงทุน1.6ล้านล้านบาท
*เร่งด่วน4สายเพิ่งสร้างได้สายเดียวไทย-จีนเปิดปี 71
*อีก7สายตามแผนเร่งด่วน-กลาง-ยาวเปิดบริการ 79
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/917797016464200

ส่องแผนแจ้งเกิด “รถไฟไฮสปีด” วิ่งทั่วไทย 8 เส้นทาง กว่า 2.4 พันกม. 1.6 ล้านล้าน
เดลินิวส์ 10 มกราคม 2567 11:28 น.
นวัตกรรมขนส่ง

ส่องแผนแม่บทรถไฟไฮสปีดประเทศไทย มี 8 เส้นทางรวม 2,466 กม. งบลงทุน 1.6 ล้านล้านบาท เร่งด่วน 4 สาย เพิ่งสร้างได้สายเดียว ไทย-จีน เปิดปี 71 อีก 7 สายตามแผนเร่งด่วน-กลาง-ยาว ทยอยเปิดให้บริการ 79 รฟท. ลุยของบปี 68 ทบทวนผลเดิม “กรุงเทพฯ-หัวหิน” เดินเครื่องศึกษาความเหมาะสม “หัวหิน-สุราษฎร์ฯ”

“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างผลักดันแผนงานการพัฒนาทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน (รถไฟความเร็วสูง : รถไฟไฮสปีด) ให้เกิดขึ้นให้ได้ ตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มี 8 โครงการ ระยะทางรวม 2,466 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวมประมาณ1.69 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น *แผนระยะเร่งด่วน 4 โครงการ

1.โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จและมีแผนเปิดบริการล่าสุดที่ปรับใหม่คือปี 71

2. โครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 220 กม. วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท เตรียมก่อสร้างตามแผนที่ปรับใหม่จะแล้วเสร็จเปิดบริการปี 71

3.โครงการรถไฟไฮสปีดกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. วงเงิน 2.76 แสนล้านบาท สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เตรียมเสนอผลศึกษาต้นทุนโครงการ และการสำรวจปริมาณความต้องการเดินทาง และผลศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ และการเงินของโครงการต่อกระทรวงคมนาคม ผลการศึกษามีความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ จะใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี นับแต่วันเริ่มการก่อสร้าง

4. โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. วงเงิน 2.52 แสนล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและทางอากาศ (คชก.) คาดว่าจะเปิดบริการปี 72

แผนระยะกลาง 2 โครงการ

1.โครงการรถไฟไฮสปีด กรุงเทพฯ–ปาดังเบซาร์ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างทบทวนผลการศึกษาเดิม โดยพิจารณาต่อขยายถึงสุราษฎร์ธานี มีแผนขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 68

2.โครงการรถไฟไฮสปีด กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กม. วงเงิน 2.32 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างหาข้อสรุปเรื่องรูปแบบการลงทุน

แผนระยาว 2 โครงการ

1.โครงการรถไฟไฮสปีดกรุงเทพฯ–ปาดังเบซาร์ เฟสที่ 2 ช่วงหัวหิน–สุราษฎร์ธานี 424 กม. วงเงิน 2.35 แสนล้านบาท กระทรวงคมนาคม มอบหมาย รฟท. ศึกษาความเหมาะสมฯ มีแผนขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 68 เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม

2.โครงการรถไฟไฮสปีด กรุงเทพฯ–ปาดังเบซาร์ เฟสที่ 3 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 335 กม. วงเงิน 1.97 แสนล้านบาท รฟท. มีแผนของบประมาณปี 69 เพื่อจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2024 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
10 ม.ค. 67 16:41 น.

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 ได้เข้าดำเนินการเคลียร์พื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารไก่ย่างวรากร (เก่า) เพื่อจะทำการรื้อถอนตัวอาคารออก เพื่อรองรับงานรื้อย้ายรางประธานที่กำลังจะเกิดขึ้น

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=354239193981185&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2024 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
10 ม.ค. 67 16:41 น.

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 ได้เข้าดำเนินการเคลียร์พื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารไก่ย่างวรากร (เก่า) เพื่อจะทำการรื้อถอนตัวอาคารออก เพื่อรองรับงานรื้อย้ายรางประธานที่กำลังจะเกิดขึ้น

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=354239193981185&id=100081853208848


งานเจาะเข็มย่านตะวันแดง ความคืบหน้า 30% #ต้องขออภัยในความไม่สะดวกสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการร้านอาหารตะวันแดงด้วยนะคะ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=354688017269636&id=100081853208848

พื้นที่ๆเกิดความล่าช้าในโครงการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการฟ้องร้องทางกฎหมาย ซึ่งทางโครงการจะยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ดังกล่าวได้จนกว่าศาลจะพิจารณาให้มีการรื้อถอน และการก่อสร้างจะล่าช้าต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้รื้อถอน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=354677007270737&id=100081853208848

รถไฟความเร็วสูง สถานีสระบุรี แถวศูนย์ราชการ
https://www.facebook.com/scaffoldbysucoot/posts/764767932332564
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2024 8:35 am    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เดือนธันวาคม 2566
The Big
Jan 12, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=QwvNojSZYIQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2024 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตัน “ไฮสปีดซีพี” อีอีซีย้ำสร้างเสร็จ เปิดเดินรถก่อน 1 ปี ค่อยเจรจาใหม่
ฐานเศรษฐกิจ 12 มกราคม 2567

รัฐ-เอกชนผ่าทางตัน ไฮสปีด3สนามบิน ดึงขึ้นจากหล่ม เดินหน้าตอกเข็ม ชงครม.แก้สัญญาช่วงแอร์พอร์ตลิงก์ มี.ค.นี้ กล่อมเอกชน รับสร้างพื้นที่ทับซ้อน อีอีซีแนะก่อสร้างเสร็จ เปิดเดินรถก่อน 1 ปี ค่อยเจรจาใหม่ หลังยอม “สร้างไป เดินรถไป” เป็นช่วงๆ

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แม่เหล็กสำคัญ ดึงนักลงทุนข้ามชาติ เข้าพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเจรจาเพื่อนำไปสู่การเข้าพื้นที่ก่อสร้างยังไม่ข้อยุตินับตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา

ทั้งนี้ตามข้อเท็จจริง ภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2564 หรือ 2 ปี นับจากลงนามในสัญญาสัมปทานปี2562 ซึ่งเดิมทีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องได้รับโอนเงินจำนวน 10,671 ล้านบาท ก้อนเดียวจบจากบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) คู่สัญญา แลกกับการเข้าบริหาร โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการไฮสปีด แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิดในปี 2563 ส่งผลให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงักเอกชนได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตในครั้งนี้ส่งผลให้เอกชนยื่นเงื่อนไขขอผ่อนชำระเป็นรายงวดนำมาสู่การแก้ไขสัญญาใหม่ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากสังคมว่ายังไม่ทันลงมือสร้างก็แก้สัญญาเสียแล้ว

อย่างไรก็ตามรฟท.ฐานะคู่สัญญารวมถึงรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันต้องยืดหยุ่น และยื่นมือช่วยเหลือเพื่อให้โครงการเดินต่อได้ เพราะหากสะดุดล้มกลางครัน อาจส่งผลเสียในหลายโครงการโดยเฉพาะเมืองการบินอู่ตะเภาและที่สำคัญยิ่งกว่าคือการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนแต่ปัญหาใหญ่คือสภาพคล่องที่เอกชนต้องการ ให้รัฐหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า แต่ในทางปฏิบัติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ยืนยันว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ เอกชนต้องเจรจากับสถาบันการเงินเองหรือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะให้การช่วยเหลือ

อีกปมปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกและรัฐต้องเจรจากับเอกชนให้ก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนแต่เอกชนต้องการให้รฟท.เป็นฝ่ายก่อสร้างเพราะไม่ต้องการให้เกิดงบประมาณที่บานปลายและหากให้เอกชนเป็นฝ่ายสร้างได้มีข้อเสนอ “สร้างไปจ่ายไป” บนพื้นที่ทับซ้อนโครงสร้างร่วมกับไฮสปีด ไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง แต่ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถทำได้เพราะเกรงว่าจะเกิดการทิ้งงาน

ดังนั้นสกพอ.ได้หาทางออกใหม่ โดยยอมให้ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นช่วงๆและเปิดเดินรถ รัฐจึงจ่ายเงินค่างวดในลักษณะ “เดินรถไปจ่ายไป” ตามช่วงดังกล่าวทั้งนี้มองว่าหากจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมจะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่อีกครั้ง

Click on the image for full size

ชงครม.แก้สัญญา

สำหรับโครงไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตรวงเงิน 224,544 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมเสนอการแก้ไขร่างสัญญาฯ ต่อคณะกรรมการกำกับแก้ไขสัญญาฯ ซึ่งตามไทม์ไลน์ จะมีการประชุมภายในวันที่12 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะส่งร่างแก้ไขสัญญาฯให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบภายในสัปดาห์หน้า ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน คาดว่าสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ และเสนอต่อคณะกรรมการอีอีซี หลังจากนั้นจะเสนอต่อครม.พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะลงนามสัญญาแก้ไขร่างสัญญาฯได้ภายในกลางเดือนมีนาคม 2567

แหล่งข่าวจากสกพอ.ระบุว่า สำหรับความคืบหน้าสำหรับรายละเอียดการแก้ไขร่างสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ในครั้งนี้เป็นเรื่องการชำระค่าสิทธิ์แอร์พอร์ต ลิงก์ โดยเป็นการผ่อนชำระ 7 งวด รวมถึงการแก้ปัญหาผลกระทบทางการเงินในอนาคต หากเกิดสถานการณ์เหมือนช่วงโควิดซึ่งคณะกรรมการอีอีซีและครม.ได้มีมติอนุมัติเห็นชอบในประเด็นดังกล่าวแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2566

เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

แหล่งข่าวจากสกพอ.กล่าวอีกว่าส่วนกรณีที่ยังเจรจากับเอกชนไม่ได้ข้อยุติในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองกับไฮสปีดไทย-จีนเฟส 1 นั้น ที่ผ่านมาภาครัฐให้เอกชนเป็นผู้ดำเนิน การก่อสร้างเองและปรับวิธีการชำระเงิน ซึ่งจะต้องนำเรื่องเข้าคณะกรรมการอีอีซีก่อนขณะที่ช่วงพญาไท-บางซื่อ อยู่ระหว่างการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคบริเวณคลองสามเสนของกทม.คาคว่าภายในเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะดำเนินการแล้วเสร็จ

“ประเด็นพื้นที่ทับซ้อนจะได้ข้อสรุปเมื่อไรนั้น ตอบยากเพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ฝ่ายเราเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นเรื่องของเอกชนด้วย เพราะปัจจุบันเอกชนที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จะหมดอายุในวันที่ 22 มกราคมนี้ ทราบว่าเอกชนอาจจะขยายเวลารับการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอถึง 22 พฤษภาคม 2567 คาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจน โดยรฟท.จะแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน ส่วนเอกชนจะดำเนินการอย่างไรเป็นสิทธิ์ของเขา ซึ่งจะมีผลต่อสัญญาที่เริ่มดำเนินการ ทำให้ไม่มีช่องสัญญาที่จะขยายเวลาออกไปอีก ที่ผ่านมาภาครัฐเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างช่วงพื้นที่ทับซ้อนเพียงรายเดียว หากมีผู้ก่อสร้างหลายรายอาจจะวุ่นวายได้ ซึ่งเอกชนมองว่าหากเป็นผู้ก่อสร้างเองจะมีเงื่อนไขเรื่องค่าก่อสร้างและการชำระเงินที่เป็นอุปสรรคโดยภาครัฐเคยเจรจาแล้ว แต่คณะกรรมการอีอีซีไม่อนุมัติ ทำให้ต้องกลับมาเจรจาร่วมกันใหม่”

ถอนลำรางสาธารณะ

ทั้งนี้หากเอกชนไม่ยอมเป็นผู้ก่อสร้างช่วงพื้นที่ทับซ้อนท้ายที่สุดรฟท.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง แต่ปัจจุบันภาครัฐพยายามเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้าง เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่อยู่ในโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน หากรฟท.เป็นผู้ก่อสร้างเองจะต้องของบประมาณและออกแบบรายละเอียดโครงการฯใหม่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่โครงการจะล่าช้า

ส่วนประเด็นการส่งมอบพื้นที่โครงการฯและการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการฯ (TOD มักกะสัน และศรีราชา) ของรฟท. ให้เอกชน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ โดยเอกชนร้องขอให้รฟท. และสกพอ. สนับสนุนการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานครเพื่อเห็นชอบกรณีการขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์นั้น พื้นที่ดังกล่าวไม่ได้มีการใช้งานกว่า 80 ปี แต่ยังพบอยู่ในโฉนดที่ดิน ซึ่งทางกฎหมายสามารถขอใช้พื้นที่หรือเพิกถอนได้

“ประเด็นลำรางสาธารณะประโยชน์จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนลงนามแก้ไขสัญญาหรือไม่นั้น มองว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากในสัญญาระบุว่าประเด็นนี้ไม่ได้อยู่ในเงื่อนของการส่งมอบพื้นที่ โดยรฟท.ยืนยันว่าต่อให้พื้นที่ดังกล่าวมีการฟื้นฟูหรือไม่ฟื้นฟูก็สามารถส่งพื้นที่ได้ หากมีการเพิกถอน ท้ายที่สุดหากเรื่องนี้ยังค้างคาอยู่เอกชนต้องพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเองตามกฎหมาย ซึ่งตามหลักการแล้วควรเพิกถอนลำรางสาธารณะ เพราะพื้นที่ฯไม่ได้มีการใช้งานมานานแล้ว”

รัฐหาแหล่งเงินกู้ แทนsoft loan

แหล่งข่าวจากสกพอ.กล่าวต่อว่า กรณีที่เอกชนขอให้ภาครัฐช่วยหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (soft loan) ในโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินนั้น เรื่องนี้ทางอีอีซีได้อธิบายเอกชนว่าต้องทำความเข้าใจก่อนว่าซอฟต์โลนคืออะไร ถ้าในความหมายของภาครัฐคือมีมติครม.สั่งให้ธนาคารรัฐปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า ยืนยันว่าภาครัฐไม่สามารถทำได้ แต่ในความหมายของเอกชนระบุว่าให้ทางอีอีซีเป็นคนกลางพาเอกชนไปเจรจากับธนาคารรัฐ ซึ่งไม่ใช่การการันตีเงินกู้ หากเป็นในกรณีนี้ภาครัฐยินดีช่วยเอกชนหาแหล่งเงินกู้อย่างดีที่สุดมากกว่าไม่ใช่การช่วยหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ที่ผ่านมาอีอีซีได้มีการส่งหนังสือให้เอกชนจัดทำรายละเอียดแผนเงินกู้ให้ชัดเจน โดยเอกชนไม่เคยทำแผนดังกล่าวมาให้อีอีซี ซึ่งเอกชนอ้างว่ายังมีเรื่องของสัญญาที่ยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ตามสัญญากำหนดให้ดำเนินการได้ต่อเมื่อมีการแจ้งหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) ก่อน หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการกู้เงินภายใน 3 เดือนหลังจากออก NTP แต่ในเชิงธุรกิจจะมีการกู้เงินก่อนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เอกชนจะกู้เงินเพียง 3 เดือน หากเอกชนไม่ดำเนินการ ภาครัฐจะยึดการดำเนินการตามสัญญาปกติ

“ส่วนสาเหตุที่เอกชนขอให้ภาครัฐช่วยหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (soft loan) เนื่องจากเอกชนมองว่าในปัจจุบันหากเจรจากู้เงินเพื่อก่อสร้างโครงการฯกับธนาคารพาณิชย์จะได้รับดอกเบี้ยสูงทำให้คนคํ้าประกันต้องรับผิดชอบสูง ส่งผลให้สัดส่วนการปล่อยเงินกู้ได้ลดลง ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทแม่มองว่าเป็นความเสี่ยงสูงจึงอยากให้ภาครัฐช่วย ซึ่งอีอีซียืนยันว่าช่วยได้โดยให้ธนาคารรัฐรู้สึกว่าความเสี่ยงไม่ได้มากอย่างที่ธนาคารเข้าใจ โดยให้เอกชนสามารถกู้ได้ในเงื่อนไขที่เอกชนสามารถรับได้”

นอกจากนี้ในกรณีที่เอกชนขอให้ภาครัฐตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อใช้ในโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินนั้น โดยเอกชนให้เหตุผลว่าเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดินรถในระหว่างนี้จะมีค่าซ่อมบำรุงรักษาและดอกเบี้ย ซึ่งรายได้จากการเก็บค่าโดยสารอาจจะน้อยและไม่เพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ย จึงอยากให้ภาครัฐมีกองทุนสำรองเผื่อกรณีที่ชำระดอกเบี้ยไม่ได้จากการขาดทุน จนทำให้ธนาคารยึดโครงการฯ โดยใช้เงินจากกองทุนมาช่วยพยุงเพื่อไม่ให้โครงการล้ม

“ทางอีอีซียืนยันว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ หากจะให้ภาครัฐช่วยอุ้มในขณะที่ยังไม่เกิดความเสี่ยง เพราะผิดกฎหมาย อีกทั้งภาครัฐไม่ทราบรายละเอียดดังกล่าวที่ชัดเจน ซึ่งภาครัฐไม่มีงบประมาณที่จะช่วยในเรื่องนี้ ทั้งนี้อีอีซีมองว่าควรให้เอกชนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จและเปิดเดินรถก่อนประมาณ 1 ปี เพื่อให้เห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หลังจากนั้นค่อยพิจารณาความเสี่ยงอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องใช้ระยะเวลาการหารือนานพอสมควร”

อย่างไรก็ตามโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต้องเปิดหวูดลงมือก่อสร้าง เพราะไม่เช่นนั้นจะกระทบกับหลายโครงการที่เป็นห่วงโซ่ โดยเฉพาะเมืองการบินอู่ตะเภา และนักลงทุนอาจขาดความเชื่อมั่น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2024 4:03 pm    Post subject: Reply with quote

ย้ายแล้ว! 'สถานีรถไฟกุดจิก' โคราช อายุ 124 ปี เหตุขวางเส้นทางไฮสปีดไทย-จีน
กรุงเทพธุรกิจ 12 ม.ค. 2567 เวลา 15:04 น.

ย้ายแล้ว! 'สถานีรถไฟกุดจิก' อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา อายุ 124 ปี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุขวางเส้นทางไฮสปีดไทย-จีน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 มกราคม 2567 ที่ สถานีรถไฟกุดจิก ต.กุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ดร.ภัทรพล บัญชาจารุรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) กุดจิก พร้อมตัวแทนภาคประชาชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยที่รักผูกพันกับการใช้บริการโดยสารขบวนรถไฟได้เดินทางมาดูทีมช่างจาก จ.ชัยภูมิ ดำเนินการย้ายอาคารสถานีรถไฟเก่าที่ต้องถูกรื้อถอนตามแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา

โดยมีวิศวกรโยธาของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างงานสัญญาที่ 3-4 งานโยธา ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด มูลค่างาน 9,848 ล้านบาท ได้มาควบคุมการย้ายอาคารไม้สูง 2 ชั้น ความยาว 6 เมตร กว้าง 4 เมตร โดยรื้อถอนแยกชิ้นส่วนที่ทรุดโทรมตามสภาพการใช้งานกว่า 120 ปี และมัดกับโครงเหล็กอย่างระมัดระวัง จากนั้นใช้แย็กมือดีดขึ้นมาวางบนแท่งเหล็กกลมก่อนจะใช้รอกค่อยๆดึงตัวอาคารมาที่จุดใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมีระยะห่างประมาณ 30 เมตร ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ภารกิจเสร็จลุล่วงไปด้วยดี

นางสุนันทา ฉายสัมฤทธิ์กุล อายุ 84 ปี เปิดเผยว่า มีความผูกพันกับสถานีกุดจิกมาตั้งแต่รับราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาบ้านกุดจิก ยุคสมัยกว่า 50 ปี การคมนาคมมีเพียงรถไฟเชื่อมต่อระหว่างตัวอำเภอและจังหวัด ตนและครอบครัวได้ใช้บริการรถไฟในการเดินทางเป็นหลัก ซึ่งตนนั่งรถไฟไอน้ำและรถจักรดีเซลไปที่สถานีสูงเนินและสถานีนครราชสีมาเป็นประจำ รู้สึกเสียดายและเสียใจ แต่เข้าใจบ้านเมืองต้องพัฒนามีความเปลี่ยนแปลง

นางฉลวย สุวรรณดวง อายุ 79 ปี ข้าราชการครูบำนาญ กล่าวว่า สมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั่งรถไฟเดินทางไปเรียนหนังสือในตัว อ.สูงเนิน เป็นประจำ หากนอนตื่นสายไม่ทันรถไฟต้องเดินเท้าไปตามรางไม้หมอนระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร สถานีรถไฟแห่งนี้มีความผูกพันกับตนในทุกช่วงวัย โชคดีท้องถิ่นให้ความสำคัญอนุรักษ์ตัวอาคารสถานีไว้ให้คนรุ่นเก่าที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งรุ่นลูกรุ่นหลานได้รำลึกถึงความสำคัญ

นายสำราญ ด้วงสูงเนิน อายุ 77 ปี กล่าวว่า แทบทุกสัปดาห์ตนกับแม่ใช้บริการรถไฟตั้งแต่ยุคไอน้ำ ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างเดินทางไปอำเภอที่มีสถานีรถไฟ เพื่อซื้อวัตถุดิบมาประกอบเป็นอาหารขายในท้องถิ่น ที่สำคัญสถานีรถไฟแห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร ชาว อ.ปักธงชัย จะขนสินค้าเกษตรใส่เกวียนมาถ่ายใส่ตู้สินค้า เพื่อส่งไปขายในตัวจังหวัดและกรุงเทพ ฯ ปัจจุบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ภาพในอดีตที่เคยใช้ชีวิตร่วมกับสถานีรถไฟยังไม่เคยเลือนหายจากความทรงจำ

ด้าน ดร.ภัทรพล นายก ทต.กุดจิก กล่าวว่า สถานีรถไฟกุดจิกมีอายุกว่า 124 ปี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องย้ายออกจากแนวเขต ชาวกุดจิกมีความผูกพันกับสถานีและรู้สึกเสียดาย จึงขอ รฟท.อนุรักษ์ไว้ให้เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ ต่อมาสภา ทต.กุดจิก ได้ตั้งงบประมาณย้ายอาคารสถานีมายังพื้นที่ฝั่งตรงข้ามรวมทั้ง บริษัท อิตาเลียนฯ ได้สนับสนุนงบส่วนหนึ่ง ในอนาคตจะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น จัดแสดงนิทรรศการภาพและข้อมูลประวัติศาสตร์ “ภาพเก่าเล่าเรื่องกุดจิก” เพื่อเป็นจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยียนท้องถิ่นรวมทั้งปรับปรุงตกแต่งเป็นที่ทำการชมรมผู้สูงอายุกุดจิก ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคคือโครงสร้างไม้ซึ่งใช้ลิ่มตอกยึด จึงมีหลายชิ้นส่วนชำรุดเสียหาย เมื่อเสร็จขั้นตอนการย้ายจะบูรณะซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ใช้สอยส่วนรวมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2024 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ย้ายแล้ว! 'สถานีรถไฟกุดจิก' โคราช อายุ 124 ปี เหตุขวางเส้นทางไฮสปีดไทย-จีน
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 มกราคม 2567 เวลา 15:04 น.


ย้ายแล้ว...สถานีรถไฟกุดจิกโคราช 124 ปี เปิดทางสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
วันที่ 12 มกราคม 2567


เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 มกราคม 2567 ที่สถานีรถไฟกุดจิก ต.กุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ดร.ภัทรพล บัญชาจารุรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลกุดจิก พร้อมตัวแทนภาคประชาชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยที่รักผูกพันกับการใช้บริการโดยสารขบวนรถไฟได้เดินทางมาดูทีมช่างจาก จ.ชัยภูมิ ดำเนินการย้ายอาคารสถานีรถไฟเก่าที่ต้องถูกรื้อถอนตามแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา โดยมีวิศวกรโยธาของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างงานสัญญาที่ 3-4 งานโยธา ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด มูลค่างาน 9,848 ล้านบาท ได้มาควบคุมการย้ายอาคารไม้สูง 2 ชั้น ความยาว 6 เมตร กว้าง 4 เมตร โดยรื้อถอนแยกชิ้นส่วนที่ทรุดโทรมตามสภาพการใช้งานกว่า 120 ปี และมัดกับโครงเหล็กอย่างระมัดระวัง จากนั้นใช้แย็กมือดีดขึ้นมาวางบนแท่งเหล็กกลมก่อนจะใช้รอกค่อยๆ ดึงตัวอาคารมาที่จุดใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมีระยะห่างประมาณ 30 เมตร ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ภารกิจเสร็จลุล่วงไปด้วยดี

นางสุนันทา ฉายสัมฤทธิ์กุล อายุ 84 ปี เปิดเผยว่า มีความผูกพันกับสถานีกุดจิกมาตั้งแต่รับราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาบ้านกุดจิก ยุคสมัยกว่า 50 ปี การคมนาคมมีเพียงรถไฟเชื่อมต่อระหว่างตัวอำเภอและจังหวัด ตนและครอบครัวได้ใช้บริการรถไฟในการเดินทางเป็นหลัก ซึ่งตนนั่งรถไฟไอน้ำและรถจักรดีเซลไปที่สถานีสูงเนินและสถานีนครราชสีมาเป็นประจำ รู้สึกเสียดายและเสียใจ แต่เข้าใจบ้านเมืองต้องพัฒนามีความเปลี่ยนแปลง




นางฉลวย สุวรรณดวง อายุ 79 ปี ข้าราชการครูบำนาญ กล่าวว่า สมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั่งรถไฟเดินทางไปเรียนหนังสือในตัว อ.สูงเนิน เป็นประจำ หากนอนตื่นสายไม่ทันรถไฟต้องเดินเท้าไปตามรางไม้หมอนระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร สถานีรถไฟแห่งนี้มีความผูกพันกับตนในทุกช่วงวัย โชคดีท้องถิ่นให้ความสำคัญอนุรักษ์ตัวอาคารสถานีไว้ให้คนรุ่นเก่าที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งรุ่นลูกรุ่นหลานได้รำลึกถึงความสำคัญ


นายสำราญ ด้วงสูงเนิน อายุ 77 ปี กล่าวว่า แทบทุกสัปดาห์ตนกับแม่ใช้บริการรถไฟตั้งแต่ยุคไอน้ำ ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างเดินทางไปอำเภอที่มีสถานีรถไฟ เพื่อซื้อวัตถุดิบมาประกอบเป็นอาหารขายในท้องถิ่น ที่สำคัญสถานีรถไฟแห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร ชาว อ.ปักธงชัย จะขนสินค้าเกษตรใส่เกวียนมาถ่ายใส่ตู้สินค้า เพื่อส่งไปขายในตัวจังหวัดและกรุงเทพ ฯ ปัจจุบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ภาพในอดีตที่เคยใช้ชีวิตร่วมกับสถานีรถไฟยังไม่เคยเลือนหายจากความทรงจำ




ด้าน ดร.ภัทรพล นายก ทต.กุดจิก กล่าวว่า สถานีรถไฟกุดจิกมีอายุกว่า 124 ปี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องย้ายออกจากแนวเขต ชาวกุดจิกมีความผูกพันกับสถานีและรู้สึกเสียดาย จึงขอ รฟท.อนุรักษ์ไว้ให้เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ ต่อมาสภา ทต.กุดจิก ได้ตั้งงบประมาณย้ายอาคารสถานีมายังพื้นที่ฝั่งตรงข้าม รวมทั้ง บริษัท อิตาเลียน ฯ ได้สนับสนุนงบส่วนหนึ่ง ในอนาคตจะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น จัดแสดงนิทรรศการภาพและข้อมูลประวัติศาสตร์ “ภาพเก่าเล่าเรื่องกุดจิก” เพื่อเป็นจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยียนท้องถิ่นรวมทั้งปรับปรุงตกแต่งเป็นที่ทำการชมรมผู้สูงอายุกุดจิก ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคคือโครงสร้างไม้ซึ่งใช้ลิ่มตอกยึด จึงมีหลายชิ้นส่วนชำรุดเสียหาย เมื่อเสร็จขั้นตอนการย้ายจะบูรณะซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ใช้สอยส่วนรวมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2024 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

งานเคลียร์ริ่งพื้นที่หลังบ้านพักเครื่องกั้นแยกสืบศิริ (จุดตัดที่11) เพื่อปรับแนวเส้นทางของรางประธานและรื้อถอนต้นไม้ที่กีดขวางงานออกจากพื้นที่
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=355284800543291&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2024 9:17 am    Post subject: Reply with quote

สรุปแผนก่อสร้างทางรถไฟไฮสปีด 8 เส้นทาง!ใครรอเส้นทางไหนกันบ้าง
Nimda Variety
Jan 12, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=Oz2AqYqSpiQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46010
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2024 7:34 am    Post subject: Reply with quote

Update Hispeed Rail from PAKCHONG station to KORAT station of Thailand in January 2024
Iron Wheels Roaming
Jan 14, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=NgPgwV2FlrM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 525, 526, 527 ... 559, 560, 561  Next
Page 526 of 561

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©