RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13641284
ทั้งหมด:13953334
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 527, 528, 529 ... 579, 580, 581  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43973
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2024 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. สายสายแรกของไทย อัพเดตช่วง บางปะอิน-ศูนย์ซ่อมบำรุง
Max Puttipong
Jan 21, 2024

https://www.youtube.com/watch?v=be-70FxHbwM


เร่งสางเงื่อนไข'ไฮสปีด' หลัง'บีโอไอ'ไม่ต่ออายุ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, January 22, 2024 02:57

ผู้จัดการรายวัน360 - รฟท.เร่งถกสางเงื่อนไข "ไฮสปีด 3 สนามบิน" หลังบีโอไอ ไม่ต่ออายุบัตรส่งเสริมรอบ 3 ชี้ข้ออ้างแก้สัญญาไม่กระทบสิทธิ์ ลุ้นคำตอบอัยการเตรียมออก NTP เริ่มก่อสร้าง ปรับใหม่โยนโครงสร้างร่วมให้ "ซี.พี." ทำ ชงเพิ่มงบรถไฟไทย-จีนอีก 5 พันล้าน
‘รถไฟ’ รอ ‘อัยการฯ’ ตีความส่งเสริมลงทุน บีบ'ซี.พี.'รับ NTP สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น. isranews


ก็รอดูว่าซีพีจะแก้เกมอย่างไรเพื่อให้ได้เงินกู้และ ดำเนินโครงการได้



#คืบหน้ารถไฟความเร็วสูง อัพเดท 'โครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช' ล่าสุดสร้างถึงเมืองโคราชเเล้ว เเต่ก็ยังติดปัญหาเคลียร์พื้นที่หลายจุด เนื่องจากผู้อาศัยไม่ยอมออกจากพื้นที่ ซึ่งในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ ก็ได้ทยอยสร้างรางยกระดับเเล้ว ซึ่งล่าสุดดำเนินการถึงบริเวณก่อนถึงสะพานสีมาธานี เเล้ว
ส่วน 'สะพานสีมาธานี' ทุบ-ไม่ทุบ ยังต้องรอข้อสรุปจาก 'โครงการรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-จิระ' ซึ่งในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง จะไม่ได้เกี่ยวข้อง เนื่องจากทำรางยกระดับข้ามอยู่เเล้ว
.
https://www.facebook.com/KoratNextStep/posts/775505904601491


Last edited by Wisarut on 31/01/2024 10:45 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43973
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2024 7:15 pm    Post subject: Reply with quote


Construction of Khorat - Nongkhai with 356 km at 300,000 to be started by the end of 2024 and done in 2029
https://www.youtube.com/watch?v=NbjlQBvOcw0
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2024 7:41 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กวนน้ำให้ใส: รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน จะตายทั้งกลมหรือไม่?
Source - แนวหน้า
Tuesday, January 23, 2024 06:07
สารส้ม

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 224,544 ล้านบาท

จนบัดนี้ ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างเป็นรูป-เป็นร่างยังคงอยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ก่อนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ (ล่าช้าพื้นที่เขต กทม.)

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ ร.ฟ.ท. มีความเห็นที่จะส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to proceed: NTP) แก่เอกชนคู่สัญญา ภายในเดือน ม.ค. 2567 นี้

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการใหญ่ระดับ 2 แสนล้านบาท

ยิ่งกว่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ภาคตะวันออก

เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ที่เพิ่มความเป็นไปได้ของโครงการ สนามบินอู่ตะเภาโดยตรง

พูดง่ายๆ ถ้าโครงการเกิดไม่ได้ หรือล้มหายตายจากไป โครงการสนามบิน อู่ตะเภาก็ลูกผีลูกคน

ที่สำคัญ ยังจะกระทบถึงแผนการพัฒนาอีอีซีด้วยโดยตรง2. สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวว่า ทางกลุ่มซี.พี.ได้ยื่นขอขยายเวลาบัตร ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว

หลังจากที่บัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจะหมดอายุลงในวันที่ 22 ม.ค. 2567 (เมื่อวาน)

ซึ่งตามเงื่อนไขในการออก NTP จะต้องให้ซี.พี.รับบัตรส่งเสริมการลงทุนก่อนที่ผ่านมา ซี.พี.ได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 กำหนดสิ้นสุด วันที่ 22 ม.ค. 2567

ถ้า BOI ไม่ต่อบัตรส่งเสริมการลงทุนให้ ซี.พี. จะมีผลทำให้สิทธิประโยชน์ที่ซี.พี.จะได้รับจางหายไป

ทั้งนี้ ทาง ร.ฟ.ท. ยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะส่งมอบ NTP ให้ซี.พี.เลยหรือไม่ เพราะอีกทางหนึ่งก็อยู่ระหว่างรอทางสำนักงานอัยการสูงสุดตอบกลับ กรณีที่ได้ทำหนังสือถามไปว่า ตัว NTP สามารถส่งมอบให้ซี.พี.ได้โดยที่ไม่ต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI หรือไม่ หากอัยการสูงสุดตอบกลับมาว่า ไม่จำเป็นต้องรอบัตรส่งเสริมการลงทุน ทาง ร.ฟ.ท.ก็จะนัดประชุมภายในและหารือกับ สกพอ. เพื่อนัดหมายเวลาที่จะส่งมอบ NTP ให้ ซี.พี.เริ่มก่อสร้างต่อไป แต่หากผลลัพธ์ออกมาเป็นต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย ร.ฟ.ท.ก็จะต้องรอต่อไป

3. มีรายงานด้วยว่า ภายในสัปดาห์นี้ คณะทำงานที่มีร.ฟ.ท. สกพอ.และ ที่ปรึกษา จะหารือร่วมกัน เพื่อประเมินการดำเนินการจากนี้

พร้อมทั้งคงต้องรอทาง ซี.พี.แจ้งมาอย่างเป็นทางการเรื่อง BOI ไม่ขยายเวลาแล้วจะทำอย่างไรต่อ รวมถึงรอคำตอบจากอัยการสูงสุด โดยคาดว่าจะไม่นาน

"ประเด็น ตอนนี้อยู่ที่ คำตอบของอัยการ หากเห็นว่า การออก NTP สามารถตัดเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนออกได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาสำคัญโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และจะทำให้เริ่มต้นก่อสร้างได้เสียที

ซึ่งจะทำให้จัดแผนก่อสร้างมีความชัดเจน รวมไปถึงสามารถแก้ปัญหาผลกระทบ ต่อการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา ที่ต้องวางแผนร่วมกันในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ลอดใต้รันเวย์ 2 ซึ่งขณะนี้ กองทัพเรือเปิดประมูลก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 สนามบิน อู่ตะเภาแล้ว และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนต.ค. 2567" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าว4. ประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ยังเกี่ยวพันกับโครงการถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่เป็นโครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15 กม. และยังเกี่ยวพันกับการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

4.1 โครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมืองล่าสุด ทราบว่า ร.ฟ.ท.กลับมามีแนวคิดจะให้ ซี.พี.เป็นผู้ดำเนินการแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.จะทำเอง

เนื่องจากคณะทำงานประเมินว่า หากให้ ร.ฟ.ท. ทำเองจะต้องไปเสียเวลาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งจะใช้เวลาอีกพอสมควร

แต่หากให้ ซี.พี.เป็นผู้ดำเนินการ คาดว่า จะใช้เวลาเร็วกว่า เนื่องจากในสัญญาที่ลงนามกันไว้ระบุว่า ร.ฟ.ท. สามารถเพิ่มคำสั่งงานเปลี่ยนแปลงให้กับเอกชนได้ โดย ร.ฟ.ท.จะจ่ายเงินเพิ่มเติม 9,000 ล้านบาท รูปแบบคล้ายๆ กรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Variation order - VO) ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อถามว่า การกลับมาให้ ซี.พี. เป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้าง ร่วมดังกล่าว ทางเอกชนเสนออะไรมาให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนหรือไม่?

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. ตอบว่า ทาง ซี.พี.ก็อยากให้ ร.ฟ.ท.จ่ายเงินอุดหนุนโครงการ 118,000 ล้านบาทให้เร็วขึ้น เหมือนที่เคยเสนอมาก่อนหน้านี้ แต่ทาง ร.ฟ.ท.ไม่สามารถให้ได้แน่นอน เพราะบอร์ดอีอีซีเมื่อปีที่แล้วก็มีมติไม่เห็นชอบเงื่อนไขนี้ไป อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังไม่มีการคุยกันเป็นกิจลักษณะ ต้องหารือกับ สกพอ. ก่อน

มีรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 สายทาง คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง มีค่าก่อสร้างรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท แยกเป็นค่างานโครงสร้างในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 11,000 ล้านบาท โครงสร้างของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 9,000 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 4-1 ของรถไฟไทย-จีน ตั้งวงเงินดำเนินการไว้แล้ว 4,000 ล้านบาท ดังนั้น ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอขอเพิ่มกรอบวงเงินอีกประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าก่อสร้างให้ ซึ่งวงเงินที่เพิ่มยังอยู่ภายใต้กรอบลงทุนโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ที่มีวงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท

4.2 แก้สัญญาค่าใช้สิทธิ์เข้าไปบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ประเด็นการแก้ไขสัญญาเรื่องค่าสิทธิเข้าไปบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งเอกชนมีการเสนอขอแบ่งจ่ายค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด (อ้างเหตุผลกระทบจากโควิด-19)

มีรายงานว่า แนวทางการจ่ายค่าสิทธิเข้าไปบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ล่าสุดที่มีการหารือกัน เอกชนจะจ่ายรวบงวดที่ 1-3 (ระหว่างปี 2564-2566) เป็นก้อนเดียว

ส่วนงวดที่ 4-7 จะเริ่มจ่ายในเดือน ต.ค. 2567 ขณะนี้ ก็อยู่ในกระบวนการแก้สัญญาเช่นกัน5. ปัญหาโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบินล่าช้า เป็นปัญหาที่รัฐบาลปัจจุบัน ควรเข้าไปกำกับดูแลแก้ไขอย่างจริงจัง

โครงการนี้ ลงนามสัญญากับเอกชนมาตั้งแต่ 24 ต.ค. 2562

เดิมวางแผนว่าจะเปิดให้บริการปีนี้ 2567 แต่ก็ล่าช้าเนิ่นนานมาจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้ก่อสร้าง

ล่าสุด คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปีนี้ 2567 และจะเสร็จเปิดให้บริการได้ราวปี 2571

6.โครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี (EEC Project List) 4 โครงการใหญ่

วงเงินโครงการรวม 683,944 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญาสัมปทาน ระยะเวลา 50 ปี ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างเลย และจะต้องมีการแก้สัญญาด้วย

โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 290,000 ล้านบาท มีกองทัพเรือ (ทร.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) ที่มีบมจ.การบินกรุงเทพ (บางกอกแอร์เวย์ส), บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ร่วมลงทุน ตอนนี้กำหนดวันที่จะมีการวางศิลาฤกษ์แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้

โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F มีการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล ประกอบด้วย บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี, บจ.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล และบจ.เชค โอเวอร์ซี อินฟราสตรัคเจอร์ โฮลดิ้ง ในฐานะเอกชนร่วมลงทุน มีความ คืบหน้าในภาพรวมที่ 14.84% ช้ากว่าแผน 1.81%

โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 64,000 ล้านบาท มีการนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) เป็นเจ้าของโครงการ และมีบจ.กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล (GMTP) ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และบมจ. พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล เป็นเอกชนคู่สัญญา ขณะนี้งานช่วงที่หนึ่ง การลงทุนพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ได้แก่ งานขุดลอกและถมทะเล งานระบบสาธารณูปโภค งานอุปกรณ์เดินเรือ และการพัฒนาท่าเรือก๊าซบนพื้นที่ 200 ไร่ วงเงินลงทุน 47,900 ล้านบาท คืบหน้าแล้ว 69.64%

ทั้งหมด รัฐบาลปัจจุบันควรเข้าไปกำกับดูแลอย่างจริงจัง ไม่ถือว่าเป็นงาน โครงการของรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะรัฐบาลชุดนี้ก็เข้ามาต่อยอดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวม หากอะไรมีปัญหาก็ต้องจัดการให้เด็ดขาด เพื่อความชัดเจน ไม่ให้รัฐเสียเปรียบ และไม่ให้ประเทศชาติเสียโอกาส

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 23 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2024 2:54 pm    Post subject: Reply with quote

“บีโอไอ” ปฏิเสธขอขยายเวลาบัตรส่งเสริมลงทุน "ไฮสปีดเทรน" กลุ่มซีพี
โพสต์ทูเดย์ 23 มกราคม 2567

“บีโอไอ”ปฏิเสธขยายเวลาบัตรส่งเสริมการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่มซีพี ขณะที่ รฟท.ยื่นสำนักงานอัยการสูงสุดเร่งหาทางออก

ความคืบหน้ากรณีที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด บริษัทในเครือซีพี ขอขยายเวลาบัตรส่งเสริมการลงทุนที่หมดอายุในวันที่ 22 ม.ค.67 ออกไปจนถึงเดือนพ.ค. 67 สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

เรื่องนี้ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เผย ว่าบีโอไอไม่อนุมัติ ให้บริษัทขยายเวลาการยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุน หลังจากได้ทำหนังสือสอบถามความเห็นจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.)

ซึ่งทั้งสองหน่วยงานเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม จึงไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก แต่บริษัทก็ยังสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่ได้เมื่อมีความพร้อม หรือแก้ไขสัญญาแล้วเสร็จ

รายงานข่าวแจ้งว่า การขอขยายบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ดำเนินการได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 เดือน โดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้ยื่นขอขยายบัตรส่งเสริมจากบีโอไอ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 เดือน ซึ่งบีโอไอแจ้งให้บริษัทกรอกข้อมูลทางด้านการโยธาทั้งหมด แต่โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญา จึงไม่สามารถกรอกรายละเอียดดังกล่าวได้


ขณะเดียวกันมีข้อมูลจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความชัดเจนว่า หากเอกชนยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริม รฟท.จะสา มารถยกเว้นเงื่อนไขและออกหนังสือแจ้งให้บริษัท เอเชีย เอราวัน เริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) ได้หรือไม่ เพราะในสัญญาร่วมทุนฯ มีกำหนดว่าหากเงื่อนไขใดไม่สามารถปฎิบัติได้คู่สัญญาสามารถขอยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าวได้ โดยไม่นำมารวมในการออก NTP

นอกจากนี้รฟท. สกพอ. และที่ปรึกษา จะหารือร่วมกัน เพื่อประเมินแผนดำเนินงานหลังจากนี้ ขณะเดียวกันรฟท.ก็รอบริษัทฯ แจ้งรายละเอียดมาอย่างเป็นทางการกรณีที่บีโอไอไม่ขยายเวลาแล้วจะจะทำอย่างไรต่อไป รวมถึงรอคำตอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด คาดว่าจะไม่นาน เพราะรฟท.ได้ชี้แจงอัยการแล้วถึงความเร่งด่วน

ส่วนกรณีที่บีโอไอไม่ต่อบัตรส่งเสริมการลงทุนนั้น บริษัทฯ มีสิทธิ์ขอใหม่ได้ หรือจะสละสิทธิบีโอไอและไปขอสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามประเภทที่กำหนดไว้ในกฎหมาย พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกฯ ซึ่งต้องดูว่าเอเชีย เอรา วัน จะเลือกแนวทางไหน ซึ่งสิทธิประโยชน์จาก อีอีซี จะเจรจาเป็นรายโครงการและได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าบีโอไอ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43973
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2024 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“บีโอไอ” ปฏิเสธขอขยายเวลาบัตรส่งเสริมลงทุน "ไฮสปีดเทรน" กลุ่มซีพี
โพสต์ทูเดย์ 23 มกราคม 2567


ดูท่า เอเชีย เอรา วัน จะเลือกสิทธิประโยชน์จาก อีอีซี จะเจรจาเป็นรายโครงการและได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าบีโอไอ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 10:19 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทรถไฟความเร็วสูง(ล่าสุด) สระบุรี-กลางดง#รถไฟความเร็วสูง
รถไฟไทยสดใส
Jan 24, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=nFLCb5d8SW8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนแม่บทรถไฟไฮสปีด กรอบ 20 ปี รถไฟเร็วสูงพลิกชีวิตคนไทย | TNN ข่าวเที่ยง | 24-1-67
TNN Online
Jan 24, 2024

รถไฟไฮสปีด หรือ รถไฟความเร็วสูง กำลังดำเนินการแล้ว ภายใต้กรอบเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) วงเงินรวม 1.69 ล้านล้านบาท แผนมี 3 ระยะ ไปเริ่มที่ระยะแรก ระยะเร่งด่วน


https://www.youtube.com/watch?v=wdbOKWuCWkM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนไทม์ไลน์ รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2 แสนล้าน เกือบ 5 ปียังนิ่ง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 มกราคม 2567 - 16:26 น.

“รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ที่ไม่เร็วสมชื่อ มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท เกือบ 5 ปี ยังไม่ปักหลักตอกเสา หลังเจอมรสุมรุมตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ด้าน บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้ชนะประมูลสู้ไม่ถอย ลุ้น ครม. เคลียร์การแก้ไขสัญญา

สัมปทาน 50 ปี ลงทุนแบบ PPP

วันที่ 24 มกราคม 2567 โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ถือได้ว่าเป็น 1 ในอภิมหาโปรเจ็คสำคัญที่จะเกิดขึ้นในเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (EEC) หลังจาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้ปลุกฟื้นการลงทุนใน 3 จังหวัดขึ้นมาอีกครั้ง ในช่วงปี 2560 โดยกำหนดให้ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัด ฉะเชิงเทรา ประกาศเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

แบงก์แข่งออกเงินฝากประจำพิเศษ ชูดอกเบี้ยสูงจูงใจ 2.90% เลือกฝากสั้น-ยาวได้
ตรุษจีน 2567 วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว ตรงกับวันไหน วิธีไหว้และสิ่งไม่ควรทำ
คัตโตะ ลาออกทุกเก้าอี้ SLM แสดงความบริสุทธิ์ใจ หลัง ก.ล.ต.กล่าวโทษ

และมีกฎหมายขึ้นมาควบคุม จากนั้นได้เดินหน้าผุดโครงการสำคัญที่จะเป็นโครงสร้างพื้นที่ของประเทศขึ้นมารองรับการลงทุน “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ที่มีมูลค่าการลงทุน 224,544.36 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุนร่วมรัฐและเอกชน (PPP) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เริ่มมีการเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลทั้งในและต่างประเทศ

ซึ่งในระหว่างนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติร่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะทาง 220 ในส่วนเส้นทางพญาไท-บางซื่อ-ท่าอากาศยานดอนเมือง และส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยมอบหมายให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ครบสัญญาทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล

ซีพี ชนะการประมูล

18 มิถุนายน – 9 กรกฎาคม 2561 ได้เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการฯ โดยมีเอกชนแสดงความสนใจเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 31 ราย มีเอกชนยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า 2 ราย จาก 8 บริษัทได้แก่ 1.กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 60% เป็นผู้นำการประมูล, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) หุ้น 20%

และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หุ้น 20% 2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 70% เป็นผู้นำการประมูล, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หุ้นรวมกัน 15%, China Railway Construction Corporation Limited หุ้น 10% และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หุ้น 5%

โดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาที่ 117,227 ล้านบาท กลายเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้บรรลุการตกลงในเรื่องต่างๆ จากนั้นจึงได้เริ่มเข้าสู่การรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาผ่านการเห็นชอบเพียง 2 สัปดาห์ และในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ในเครือซีพี)

ขอแก้สัญญาผลจากโควิด-19

ในระหว่างที่กำลังจะเริ่มดำเนินงานตามแผนต่างๆ โครงการฯ ดังกล่าวกลับต้องต้องชะงักลง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จึงต้องขอแก้ไขสัญญา ด้วยการขอขยายกรอบเวลาการทำงานออกไป เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้ผู้โดยสารในส่วนของแอร์พอร์ตลิ้งค์ลดลง

และเอกชนไม่สามารถชำระค่าสิทธิร่วมลงทุน จำนวน 10,671.090 ล้านบาท ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ได้ ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งบริษัทเสนอขอเวลาในการฟื้นผู้โดยสารระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ส่งผลให้ รฟท. เสียหายหรือเสียประโยชน์ใดๆ จากนั้นบริษัทจะกลับมาชำระตามสัญญาหลังจากโควิด-19 สิ้นสุด

ขณะเดียวกันไม่เพียงจะติดแุปสรรคของการแก้สัญญาดังกล่าวแล้ว ยังมีอุปสรรคเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เช่นกัน อย่างไรก็ตามการเนินงานในส่วนอื่นๆ เช่น การเวนคืน การเคลียร์พื้นที่ การรื้อท่อก๊าซ สายไฟ ตามเส้นทางที่จะก่อสร้างรางของรถไฟฟ้าก็ทยอยดำเนินการ รวมถึงการมอบพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสรา้ง

ดังนั้น จากปัญหาทั้ง 3 เรื่อง คือ การชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ การแก้สัญญาที่มีเงื่อนไขเปิดกว้างกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยในอนาคต และพื้นที่ทับซ้อนการก่อสร้างโครงสร้างทางร่วมรถไฟไทย-จีน คาดว่าทุกหน่วยงานอยู่ระหว่างเร่งสางปัญหา เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ที่จะนำไปสู่ข้อยุติในการขอแก้ไขสัญญาใหม่ที่จะไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2567 นี้ จากนั้นจะเร่งและผลักดันให้มีการก่อสร้างทันที และให้โครงการแล้วเสร็จภายในปี 2570

ต่อบัตรส่งเสริมบีโอไอใหม่เมื่อพร้อม

อย่างไรก็ตาม เหมือนว่าเรื่องนี้จะจบลงด้วยดี แต่แล้วก็กลับต้องพบกับปัญหาใหม่ คือ บัตรส่งเสิรมการลงทุนหมดอายุ (22 มกราคม 2567) โดยโครงการฯ ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 แม้บีโอไอได้พยายามติดตามและเร่งรัดให้บริษัทดำเนินการตอบรับมติการส่งเสริม

รวมทั้งการจัดส่งเอกสารและข้อมูล เพื่อขอออกบัตรส่งเสริมตามเวลาที่กำหนดแต่ในช่วงที่ผ่านมา แต่บริษัทได้ทำเรื่องขอขยายเวลาหลายครั้งแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งจากการขอความเห็นกับทาง EEC และ รฟท. ซึ่งได้ระบุว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน

อีกทั้งการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม จึงไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก ดังนั้นบีโอไอจึงได้พิจารณา “ไม่อนุมัติ” ให้บริษัทขยายเวลาการยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริม ส่งผลทำให้มติการส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัทถือเป็นอันสิ้นสุด ทั้งนี้บริษัทก็ยังคงมีสิทธิยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่ได้เมื่อมีความพร้อม

จากนี้ไป ยังต้องลุ้นผลของการเสนอเพื่อขอแก้สัญญาว่าจะจบลงเมื่อใด แม้ว่าโครงการนี้จะต้องใช้ระยะเวลายาวนานและล่าช้ากว่าแผน ซึ่งไม่เร็วสมชื่อไฮสปีด แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เมื่อหากพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเกิด ก็นับได้ว่ามีมากกว่าเสีย และประเทศไทยจะไม่เพียงมีระบบคมนาคมที่ดีที่สุดในอาเซียน แต่ยังเป็นจุดหมายของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2024 8:08 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อแล้วย่านสถานีรถไฟโคราช​ เตรียมก่อสร้างรถไฟความเร็ว​สูง​
สุรเสียง พลับพลาสวรรค์
Jan 26, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=n0GM6mlLD-g
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2024 9:03 am    Post subject: Reply with quote

ชง ครม. ลุย 'ไฮสปีดไทย-จีน'เฟส 2 3.4 แสนล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, January 27, 2024 05:38

"คมนาคม" เปิดแผนคืบหน้าสร้าง "ไฮสปีดไทย-จีน" เฟส 2 วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท ลุ้นเคาะอีไอเอผ่านฉลุย จ่อชงครม.ไฟเขียว ก.พ.นี้ เตรียมเปิดประมูลลงนามสัญญาภายในมี.ค.-พ.ย. 67

ปัจจุบันภาครัฐได้เร่งรัดก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดไทย-จีน) เฟส 1 ซึ่งยังพบว่า บางสัญญายังติดปัญหาการลงนามสัญญาทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีแผนเดินหน้าต่อในระยะที่ 2 ซึ่งจะทำให้การเดินทางด้วยระบบรถไฟระหว่างประเทศในอนาคตสะดวกมากขึ้น

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการ ไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 341,351 ล้านบาท ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างรอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

ทั้งนี้ตามแผนโครงการฯจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือน ก.พ.นี้ และดำเนินการเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จภายใน เดือนกันยายน 68 คาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนและลงนามสัญญาภายในเดือนมีนาคมพฤศจิกายน 67 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนธันวาคม 67 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 73

ขณะเดียวกันในเดือนก.พ. 67 กระทรวงจะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ซึ่งเป็นการหารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็ว สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพต่อไป

ส่วนการเวนคืนที่ดินไฮสปีด ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย วงเงิน 12,418 บาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการแล้ว เบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ที่ถูกเวนคืน ช่วงนครราชสีมา - บ้านไผ่ จำนวน 195 แปลงและช่วงบ้านไผ่ - หนองคาย จำนวน 1,764 แปลง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ตามแผนโครงการฯจะแบ่งการประมูลเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นไม่เกิน 10 สัญญา เนื่องจากที่ผ่านมาการประมูลแต่ละโครงการฯ มีการแบ่งออกหลายสัญญา ทำให้ผู้รับจ้างรายเล็กไม่สามารถเข้าร่วมประมูลงานได้ เพราะเป็นสัญญางานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ในโครงการฯ ระยะที่ 2 ทางรฟท.มีความเห็นว่าควร ขยายสัญญาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูลมากขึ้นสำหรับงานก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างรายเล็ก ซึ่งจะทำให้ผู้รับจ้างมีรายเล็กมีผลงานเพิ่มขึ้น

"บางสัญญาที่อยู่ภายในเมืองสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการรื้อ ย้ายระบบสาธารณูปโภค, ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้า รวมทั้งผู้บุกรุกที่อาศัยภายในชุมชนใหญ่ ส่งผลให้ การรื้อย้ายต้องใช้ระยะเวลา"
ทั้งนี้การออกแบบรางของโครงการฯมีขนาด 1.435 เมตร โดยรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร (กม.) ประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที

สำหรับแนวเส้นทางไฮสปีด ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ตลอดระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) นั้น แบ่งการก่อสร้างเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กิโลเมตร (กม.) และทางรถไฟยกระดับ 171 กิโลเมตร (กม.) มีทั้งสิ้น 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย โดยจะมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย รวมทั้งจะมีการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย

อย่างไรก็ตามไฮสปีด ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีเส้นทางครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.อุดรธานี และจ.หนองคาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางที่มีความรวดเร็ว และความปลอดภัยให้ประชาชน รวมทั้งยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยกับ สปป.ลาว และประเทศจีนด้วย

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 31 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 527, 528, 529 ... 579, 580, 581  Next
Page 528 of 581

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©