View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/02/2024 7:12 am Post subject:
วิบากกรรม 'ไฮสปีดเทรน' รัฐผ่าทางตันเจรจา 'ซีพี' แก้สัญญา
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Monday, February 05, 2024 06:18
สกพอ. ยันไม่เลิกลงทุน ไฮสปีดสามสนามบิน ย้ำอยู่ในอำนาจคณะกรรมการกำกับสัญญา เร่งหารือซีพี เคาะปมออกหนังสือเริ่มก่อสร้างไม่รอบัตรส่งเสริม ชี้อีกหนึ่งทางออก ยื่นขอสิทธิประโยชน์การลงทุนจากอีอีซี เว้นภาษีไม่ต่ำกว่า 8 ปี พร้อมอำนวยความสะดวกเรื่องแรงงาน
โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นหนึ่งในเมกะโปรเจกต์ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ผลักดันต่อเนื่อง เริ่มนับหนึ่งโครงการเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) เอกชนผู้ชนะการประมูล ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด
นับเป็นเวลามากกว่า 4 ปีที่โครงการร่วมทุนนี้ยังไม่สามารถตอกเสาเข็มก่อสร้างงานโยธาได้ โดยเกิดจากหลายปัจจัยแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจของโควิด-19 ทำให้เอกชนยื่นขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการแก้ปัญหาชำระสิทธิ โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) ในช่วงปี 2563-2564 รวมไปถึงการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ นำมาสู่การแก้ไขรายละเอียดสัญญาร่วมลงทุน
ขณะเดียวกันการเตรียมความพร้อมส่งมอบพื้นที่เริ่มงานก่อสร้าง ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เคลียร์พื้นที่พร้อมส่งในช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาแล้ว 100% ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างช่วงพญาไท-บางซื่อ อยู่ระหว่างดำเนินการเวนคืนที่ดิน รื้อย้ายสาธารณูปโภค และพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ- ดอนเมือง ยังอยู่ระหว่างเจรจาให้เอกชนก่อสร้างโครงสร้างร่วมไปพร้อมกับทางวิ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
ดังนั้นภาพรวมขณะนี้จึงเรียกว่ามีความพร้อมเริ่มงานก่อสร้าง หากเอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามสัญญากำหนด แต่สถานการณ์ล่าสุดกลับบีโอไอปฏิเสธขยายเวลาการยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หลังจากหมดอายุเมื่อในวันที่ 22 ม.ค.2567
จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวว่า บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด อาจจะไม่เดินหน้าโครงการต่อหลังจากไม่ได้รับการต่อบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยระบุว่า เรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาหรือบอกได้ว่าเอกชนที่ได้รับสัมปทานจะไม่ได้เดินหน้าโครงการต่อ
ขณะเดียวกัน สกพอ.ไม่สามารถที่จะเป็นผู้ที่บอกเลิกสัญญากับเอกชนได้ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญา ซึ่งอยู่ภายใต้ ร.ฟ.ท. พิจารณาว่าจะมีมติให้ เอเชีย เอราวัน ดำเนินการอย่างไรในฐานะคู่สัญญา หลังจากนั้นหากคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาพิจารณาแล้วเสร็จ จึงจะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ตัดสินใจขั้นสุดท้าย
> สกพอ.ในฐานะหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ผลักดันการพัฒนาโครงการนี้ มีจุดยืนอยากให้กลุ่มซีพี ซึ่งเป็นเอกชนที่ชนะการประกวดราคาเดินหน้าลงทุนโครงการ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับสัญญา และการรถไฟฯ ว่าจะหารือกับทางเอกชนอย่างไร ในเมื่อขณะนี้เอกชนไม่ได้รับบัตรส่งเสริม
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับสัญญาพิจารณาว่าจะเดินหน้าออกหนังสือเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอให้เอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนก็ดำเนินการได้ แต่ต้องแก้ไขรายละเอียดสัญญาเพื่อกำหนดให้ ร.ฟ.ท.ออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขรับบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนกำหนดไว้ว่าจะออกหนังสือ NTP ได้ต่อเมื่อเอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน
รวมทั้งปัจจุบันยังไม่ถือว่าขั้นตอนการขอหนังสือส่งเสริมการลงทุนเป็นที่สิ้นสุด เพราะเอกชนยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อบีโอไอในการขยายระยะเวลาได้ ซึ่ง สกพอ.บอกให้ภาคเอกชนไปยื่นอุทธรณ์สิทธิ์จากบีโอไอ แต่หากไม่ได้รับการต่ออายุก็มีทางเลือก คือ สามารถมาขอการส่งเสริมการลงทุนจากอีอีซีได้เช่นกัน โดยอีอีซีสามารถให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนในโครงการนี้ได้เช่นกัน
โดยสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่ให้ไม่แตกต่างกันมาก คือ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่น้อยกว่า 8 ปี นอกจากนั้น สกพอ.อำนวยความสะดวกในเรื่องใบอนุญาตการทำงานของชาวต่างชาติ การขอวีซ่า หรือการขออนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้างในโครงการได้ด้วย
รวมทั้งรัฐบาลปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน และถือว่ามีความสำคัญต่อโครงการอีอีซี อยากให้มีการเริ่มก่อสร้างโครงการได้ เพราะว่าหากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จการเดินทางไปยังพื้นที่อีอีซีจากกรุงเทพฯ จะใช้เวลาเพียงแค่ 1ชั่วโมงเท่านั้น ช่วยให้การเดินทางและการไปทำงาน การทำธุรกิจเกิดขึ้นด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
เชื่อว่าการตัดสินใจของคณะกรรมการกำกับสัญญา คงเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะเมื่อบีโอไอไม่ต่อการส่งเสริมการลงทุนให้กับเอกชนแล้ว คณะกรรมการกำกับสัญญาก็ต้องเป็นคนที่รับลูกต่อว่าจะเดินหน้าอย่างไร หากจะให้ออก NTP โดยไม่ต้องมีบัตรส่งเสริมจากบีโอไอได้ ก็ต้องส่งต่อไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ และหารือร่วมกับเอกชน หลังจากนั้นจึงจะได้คำตอบ ว่าจะก่อสร้างโดยไม่รอบัตรส่งเสริมหรือไม่
เลขาธิการอีอีซี กล่าวย้ำด้วยว่า การพิจารณาขั้นตอนต่างๆ มีกระบวนการกำหนดไว้แล้ว หลังจากนี้อยู่ในขั้นตอนของการเดินหน้ากระบวนการพิจารณาในแง่ของกฎหมายที่สามารถทำได้ รวมทั้งผู้ร่วมทุนต้องหารือร่วมกันทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถไปบอกเลิกสัญญาได้ทันที ไม่อย่างนั้นก็จะมีการฟ้องร้องตามมา ทุกอย่างต้องทำตามขั้นตอนที่มีอยู่ และยืนยันว่า สกพอ.ไม่มีอำนาจในการไปบอกเลิกสัญญาแก่เอกชน
เลขาธิการบีโอไอ ยังออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า กรณีการไม่ต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุนให้กับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน หลังจากหมดอายุไปตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.2567 เนื่องจากเอกชนยังไม่ได้ลงทุนจริง โดยให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างการเจรจาแก้ไขสัญญากับภาครัฐบาล ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่อยู่ในระเบียบของบีโอไอ อย่างไรก็ตามหลังจากการแก้สัญญากับภาครัฐเรียบร้อยแล้ว และทางเอกชนได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนอีกครั้ง ทางบีโอไอก็จะพิจารณาให้โดยด่วน
ส่อยื้อยาว!ไฮสปีด 3 สนามบินกก.กำกับฯนัดกลางก.พ.นี้ ถกปลดล็อคปมBOI เพิกถอนลำรางสาธารณะรอสภากทม.
ผู้จัดการออนไลน์ 5 ก.พ. 2567 08:00
ถอดปมยื้อไฮสปีด 3 สนามบินบัตรส่งเสริมบีโอไอหมดอายุ และเพิกถอนลำรางสาธารณะ มักกะสันยังรอ สภากทม.เคาะ เงื่อนล็อกรฟท.ออก NTP ไม่ได้ ด้านกก.กำกับโครงการฯ นัดถก กลางก.พ.67 เร่งยุติทุกปัญหาในปีนี้ ส่วนยกเลิกสัญญาเป็นหนทางสุดท้ายแต่รัฐจะไม่ล้มโครงการ หวั่นกระทบอู่ตะเภาเมืองการบิน
แหล่งข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาทว่า จากที่ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุง เพื่อสอบถามความชัดเจน กรณีการออกหนังสือแจ้งเริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) ให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) นั้น สามารถยกเว้นเงื่อนไข เรื่องเอกชนยังไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้หรือไม่ โดยล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ทำหนังสือตอบกลับมาที่ รฟท.แล้ว โดยระบุว่า เรื่องกังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นผู้พิจารณา
ทั้งนี้ จากคำตอบและข้อคิดเห็น ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในส่วนของรฟท. ได้ตีความและประเมินเบื้องต้นว่า กรณีรฟท. ส่งมอบหนังสือ NTP ให้กลุ่มซี.พี.เริ่มก่อสร้างโครงการโดยที่เอกชนยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน อาจจะเสี่ยงที่รฟท.จะเป็นผู้ทำผิดเงื่อนไขสัญญาที่ระบุว่า การออก NTP นั้นจะต้องให้ เอเชีย เอรา วันฯ รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ ) ก่อน ดังนั้นในขณะนี้รฟท.จึงยังไม่สามารถออกหนังสือ NTP ให้เอเชีย เอรา วันฯ เริ่มก่อสร้างโครงการได้ และยังคงต้องยึดหลักการเงื่อนไขในสัญญาไว้ก่อน
@กก.กำกับโครงการฯ นัด กลางก.พ. 67 ถกหาทางออก
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการกำกับโครงการฯ ที่มี นายมนตรี เดชาสกุลสมรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน จะนัดประชุมหารือกันในช่วงกลางเดือนก.พ. 2567 เพื่อพิจารณาแนวทาง หลังจากได้รับคำตอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด สำหรับเงื่อนไขสัญญา ระบุกรณีให้เอกชนเริ่มโครงการได้ มี 3 ประเด็น คือ 1. รฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่โครงการในส่วนที่เกี่ยวกับรฟท.ซึ่งปัจจุบันรฟท.ยืนยัน เตรียมความพร้อมในการส่งมอบไว้แล้ว 2. มีการส่งมอบพื้นที่ TOD โดยเอกชนต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่า และ 3 . เอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ )
@อีกปมยื้อ!รอสภากทม.เคาะเพิกถอนลำรางสาธารณะ
สำหรับการพัฒนา TOD (Transit Oriented Development) พื้นที่มักกะสันขนาด150 ไร่ มีประเด็นเพิกถอนลำรางสาธารณะและ เอกชนต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่าพื้นที่นั้น ปัจจุบันเอกชนยังไม่ได้ดำเนินการโดยอ้างว่า ยังติดประเด็นพื้นที่มักกะสันบางส่วน ยังเป็น ลำรางสาธารณะ ที่รฟท.จะต้องขอถอนสภาพลำรางสาธารณะให้เรียบร้อยก่อน โดย สำนักงานคณะกรรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ ยื่นขอเพิกถอนลำรางสาธารณะดังกล่าวไปที่สภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) เพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งสภากทม.มีการพิจารณาอภิปรายกัน 2 ครั้งแล้วแต่ยังไม่เห็นชอบ
ซึ่งข้อเท็จจริงพื้นที่มักกะสัน ไม่มีสภาพเป็นลำรางสาธารณะ มานานแล้ว โดยหลังจากรฟท.ได้รับมอบพื้นที่มา ได้มีการถมลำรางเพื่อทำเป็นรางรถไฟ สร้างโรงงานมักกะสัน มากว่า 70-80 ปีแล้ว และได้มีการขุดบึงมักกะสันเป็นพื้นที่รับน้ำแทน พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นลำรางสาธารณะ ขณะที่มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 28 ก.ย. 2565 ที่ให้กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแก้ไข ทบทวน หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเด็นที่รฟท.หารือไปยังอัยการสูงสุดกรณีการเริ่มงานได้หรือไม่ มีทั้งกรณีหากเอกชนยังไม่จดทะเบียนสิทธิเช่าพื้นที่ TOD และ ยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งในสัญญาระบุไว้ว่า คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบมีสิทธิ์ขอยกเว้นเงื่อนไขได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการกำกับโครงการฯ ที่มีผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและตัวแทนของเอกชนคู่สัญญาฯ จะต้องพิจารณารายละเอียดให้ครบถ้วนรอบด้านภายใต้หลักการของสัญญาร่วมลงทุนฯ แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนตามเงื่อนไข ตามหลักการ คู่สัญญาจะต้องหารือกันเพื่อหาข้อยุติ จนกระทั่งไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ฝ่ายที่ได้รับกระทบ ก็มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา
ปี 2567 เป็นปีที่ควรจะได้ข้อสรุปและเริ่มต้นโครงการ ดังนั้น ประเด็นที่เป็นปัญหา ต้องมีการแก้ไขและตัดสินใจว่าจะดำเนินการโครงการต่อหรือไม่ สุดท้ายหากไปต่อไปได้จนนำไปสู่การยกเลิกสัญญากับ เอเชีย เอรา วันฯ ฝ่ายรัฐก็ต้องหารูปแบบอื่น ในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินต่อไป เพราะโครงการคงยกเลิกไม่ได้ เนื่องจากจะกระทบ กับโครงการ รถไฟไทย-จีน และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเมืองการบิน และกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในพื้นทีอีอีซีอีกด้วย
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ระบุว่า กรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ไม่ได้รับการต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลังจากครบกำหนดการขยายเวลาครั้งที่2 เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2567 นั้นเอกชนสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อบีโอไอในการขยายระยะเวลาได้ซึ่งได้แนะนำให้เอกชนยื่นไปที่บีโอไอตามขั้นตอนแล้ว
@เปิดทาง ซี.พี. ชงข้อเสนอเพิ่มเติมสร้างโครงสร้างร่วม
แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวถึงประเด็นโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับ โครงการรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. รฟท.จะมอบให้ บริษัท เอเชีย เอรา วันจำกัด (ซี.พี.) เป็นผู้ก่อสร้างทั้งหมด โดยรฟท.จัดสรรวงเงินค่าก่อสร้างในส่วนของรถไฟไทย-จีน ล่าสุดได้สอบถาม ซี.พี.ไปแล้วว่า กรณีรฟท.จะมอบหมายให้เป็นผู้ก่อสร้าง ทางฝ่ายเอกชนมีข้อเสนออะไรที่จะขอเพิ่มเติมหรือไม่ แต่ไม่ใช่ ข้อเสนอการปรับจ่ายเงินอุดหนุนเร็วขึ้น เนื่องจากข้อเสนอดังกล่าว เป็นการเจรจาแนวทางเก่า ที่ บอร์ดอีอีซี ไม่เห็นชอบ ไปแล้ว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/02/2024 11:04 am Post subject:
ส่องโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง | เศรษฐกิจติดบ้าน
Thai PBS
ในช่วงที่ผ่านมา เราคงจะเคยได้ยินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเชื่อม 3 สนามบิน หรือเส้นทางเพื่อเชื่อมกับประเทศลาวไปยังประเทศจีน ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในช่วงนี้ แล้วการที่ประเทศไทยของเราจะมีรถไฟความเร็วสูงจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ? เปรียบเทียบกับต่างประเทศเขามีหลักคิดในการสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างไร ? หาคำตอบในประเด็นนี้กับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
https://www.youtube.com/watch?v=a4RNYnoBnu4
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44012
Location: NECTEC
Posted: 05/02/2024 1:29 pm Post subject:
คงเงื่อนไขรอสิทธิ์ BOI รถไฟ ยังไม่เคาะสร้าง ไฮสปีด 3 สนามบิน
เขียนโดยisranews
เขียนวันจันทร์ ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.
ไฮสปีด 3 สนามบินนิ่งต่อ หลัง อัยการสูงสุด ตอบกลับ รถไฟ โยนบอร์ดกำกับสัญญาพิจารณาปมไม่รอส่งเสริมการลงทุน ส่งมอบ NTP รฟท. ประเมินเท่ากับเงื่อนไขเดิมที่ต้องให้ ซี.พี. ส่งเสริมการลงทุนยังอยู่ ส่งผลการมอบ NTP ทันทีทำไมได้ เสี่ยงผิดสัญญา จ่อคุยเอกชนถึงข้อเสนอเพิ่มเติมหลังมอบโครงสร้างร่วมไฮสปีดไทยจีน บางซื่อ-ดอนเมือง 2 หมื่นล้านให้รับผิดชอบ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 แหล่งข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท กับ บจ.เอเชียเอรา วัน (ซี.พี.) หลังจากได้ทำหนังสือถามสำนักงานอัยการสูงสุดไปว่า ตัวหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed:NTP) สามารถส่งมอบให้ซี.พี.ได้โดยที่ไม่ต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือไม่
ล่าสุด เมื่อประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่แล้ว สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ทำหนังสือตอบกลับมาที่ รฟท.แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับที่นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.หรืออีอีซี) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายสำนักเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 67 ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญที่อัยการสูงสุดตอบกลับคือ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นผู้พิจารณา
แหล่งข่าวจาก รฟท.ประเมินว่า คำแนะนำดังกล่าวของสำนักงานอัยการสูงสุดเท่ากับว่า ทาง รฟท.ยังไม่สามารถส่งมอบหนังสือ NTP ให้กลุ่มซี.พี.เริ่มก่อสร้างโครงการได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ในเดือน ม.ค. 2567 เพราะเท่ากับว่า เป็นการยืนยันหลักการตามเงื่อนไขเดิมในสัญญาว่า จะต้องรอเอกชนคู่สัญญาได้รับการส่งเสริมการลงทุนก่อน หาก รฟท.ส่งมอบ NTP ให้จะเท่ากับ รฟท.ทำผิดเงื่อนไขสัญญาเสียเอง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ระยะเวลาหลังจากนี้จะใช้เวลาอีกนานหรือไม่ในการส่งมอบ NTP แหล่งข่าวจากรฟท.ตอบว่า น่าจะไม่นาน แต่ยังไม่ทราบว่า จะส่งมอบได้เมื่อไหร่ เพราะทุกอย่างจะเดินตามกระบวนการของ อีอีซี ซึ่งทั้งคณะกรรมการบริหารสัญญาและคณะกรรมการกำกับสัญญา เป็นเรื่องของทาง อีอีซี เป็นหลัก รฟท.คงไม่ไปก้าวล่วง
@เปิดทาง ซี.พี. ชงข้อเสนอเพิ่มเติมสร้างโครงสร้างร่วม
แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นโครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15 กม. วงเงินก่อสร้างประมาณ 20,000 ล้านบาท ตอนนี้แน่นอนแล้วว่า จะให้ ซี.พี.เป็นผู้ก่อสร้าง และได้ถาม ซี.พี.ไปแล้วว่า หากจะมอบหมายให้เป็นผู้ก่อสร้าง ทางฝ่ายเอกชนมีข้อเสนออะไรที่จะขอเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งข้อเสนอจ่ายเงินอุดหนุนให้เร็วขึ้น ไม่สามารถขอได้ เพราะคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.หรือบอร์ดอีอีซี) ไม่เห็นชอบข้อเสนอดังกล่าว
บอร์ดกำกับ ไฮสปีด 3 สนามบิน นัดกลางเดือน ก.พ.นี้ หารือเงื่อนไขส่งมอบ NTP
เขียนโดยisranews
เขียนวันจันทร์ ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14:06 น.
บอร์ดกำกับไฮสปีด 3 สนามบิน นัดกลางเดือน ก.พ.67 นี้ หารือประเด็นส่งมอบ NTP ให้ ซี.พี.เริ่มงาน พบมี 3 ประเด็นต้องสะสางทั้งการ ส่งมอบพื้นที่-ส่งมอบพื้นที่มักกะสัน-เอกชนต้องได้ BOI หวังอีกปัญหา กทม.ยังไม่เพิกถอน ลำรางสาธารณะ อาจกระทบการส่งมอบพื้นที่มักกะสัน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จากกรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มี บจ.เอเชีย เอราวัณ (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญากับรัฐ ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ยังไม่สามารถส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Profeed:NTP) ทำหนังสือตอบกลับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า การส่งมอบ NTP ต้องให้คณะกรรมการกำกับสัญญาเป็นผู้พิจารณา
ซึ่งทาง รฟท. ตีความว่า เป็นการยืนยันเงื่อนไขเดิมที่จะต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ก่อน จึงจะส่งมอบ NTP ได้นั้น
คงเงื่อนไขรอสิทธิ์ BOI รถไฟ ยังไม่เคาะสร้าง ไฮสปีด 3 สนามบิน
ล่าสุด แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของคณะกรรมการกำกับสัญญา ที่มี นายมนตรี เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน มีรายงานว่า จะนัดประชุมหารือกันในช่วงกลางเดือนก.พ. 2567 นี้ เพื่อพิจารณาแนวทาง หลังจากได้รับคำตอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด สำหรับเงื่อนไขสัญญา ระบุกรณีให้เอกชนเริ่มโครงการได้ มี 3 ประเด็น คือ 1. รฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่โครงการในส่วนที่เกี่ยวกับรฟท.ซึ่งปัจจุบัน รฟท.ยืนยัน เตรียมความพร้อมในการส่งมอบไว้แล้ว 2. มีการส่งมอบพื้นที่ TOD โดยเอกชนต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่า และ 3 . เอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านการพัฒนา TOD (Transit Oriented Development) พื้นที่มักกะสันขนาด 150 ไร่ มีประเด็นเพิกถอนลำรางสาธารณะและ เอกชนต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่าพื้นที่นั้น แหล่งข่าวระบุว่า ปัจจุบัน ทางซี.พี.ยังไม่ได้ดำเนินการโดยอ้างว่า ยังติดประเด็นพื้นที่มักกะสันบางส่วนที่ยังเป็น ลำรางสาธารณะ ที่รฟท.จะต้องขอถอนสภาพลำรางสาธารณะให้เรียบร้อยก่อน โดยสำนักงานคณะกรรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ยื่นขอเพิกถอนลำรางสาธารณะดังกล่าวไปที่ สภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) เพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งสภากทม.มีการพิจารณาอภิปรายกัน 2 ครั้งแล้วแต่ยังไม่เห็นชอบ
ในข้อเท็จจริงพื้นที่มักกะสัน ไม่มีสภาพเป็นลำรางสาธารณะ มานานแล้ว โดยหลังจากรฟท.ได้รับมอบพื้นที่มา ได้มีการถมลำรางเพื่อทำเป็นรางรถไฟ สร้างโรงงานมักกะสัน มากว่า 70-80 ปีแล้ว และได้มีการขุดบึงมักกะสันเป็นพื้นที่รับน้ำแทน พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นลำรางสาธารณะ ขณะที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 ก.ย. 2565 ที่ให้กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแก้ไข ทบทวน หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเด็นที่รฟท.หารือไปยังอัยการสูงสุดกรณีการเริ่มงานได้หรือไม่ มีทั้งกรณีหากเอกชนยังไม่จดทะเบียนสิทธิเช่าพื้นที่ TOD และ ยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งในสัญญาระบุไว้ว่า คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบมีสิทธิ์ขอยกเว้นเงื่อนไขได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการกำกับโครงการฯ ที่มีผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและตัวแทนของเอกชนคู่สัญญาฯ จะต้องพิจารณารายละเอียดให้ครบถ้วนรอบด้านภายใต้หลักการของสัญญาร่วมลงทุนฯ แต่ หากไม่สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนตามเงื่อนไข ตามหลักการ คู่สัญญาจะต้องหารือกันเพื่อหาข้อยุติ จนกระทั่งไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ฝ่ายที่ได้รับกระทบ ก็มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา
ปี 2567 เป็นปีที่ควรจะได้ข้อสรุปและเริ่มต้นโครงการ ดังนั้น ประเด็นที่เป็นปัญหา ต้องมีการแก้ไขและตัดสินใจว่าจะดำเนินการโครงการต่อหรือไม่ สุดท้ายหากไปต่อไปได้จนนำไปสู่การยกเลิกสัญญากับ เอเชีย เอรา วันฯ ฝ่ายรัฐก็ต้องหารูปแบบอื่น ในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินต่อไป เพราะโครงการคงยกเลิกไม่ได้ เนื่องจากจะกระทบ กับโครงการ รถไฟไทย-จีน และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเมืองการบิน และกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในพื้นทีอีอีซีอีกด้วย แหล่งข่าวทิ้งท้าย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44012
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/02/2024 11:02 am Post subject:
เทียบสิทธิประโยชน์ EEC-BOI วัดใจ เอรา วัน ลุยไฮสปีด 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 - 10:52 น.
เป้าหมายของการดึงเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในประเทศ นอกจากความพร้อมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลไทยได้เตรียมรองรับไว้แล้วนั้น อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี และด้านอื่น ๆ ที่เป็นแรงจูงใจ สามารถกระตุ้นการลงทุน และเร่งการตัดสินใจให้เร็วขึ้น
สำหรับประเด็นร้อน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งผู้ชนะการประมูล บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่อยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ต่อ BOI เพื่อขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้
วันนี้ ประชาชาติธุรกิจ จึงได้รวบรวมสิทธิประโยชน์ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้เห็นกันว่าสิทธิประโยชน์ของใครตรงใจและต่างกันอย่างไร หากบริษัทเอเชียเอราวัน ต้องเลือกสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุด
เจรจาแบบรายต่อราย
นักลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ประกอบการที่พิเศษประเทศต้องการ ความพิเศษดังกล่าวจำเป็นที่ต้องใช้วิธีที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการเจรจาแบบรายต่อราย
ในการเจรจาดังกล่าว เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (เลขา EEC) มีอำนาจจะหารือถึงแผนการลงทุน เงื่อนไข สิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับ
การสนับสนุนของแต่ละฝ่ายที่มีให้กัน เช่น แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ความรู้ การจ้างงาน การใช้วัตถุดิบในประเทศที่เป็นคนไทยผลิตเท่านั้น การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม มาตรการเยียวยาต่างๆ จำเป็นต้องเข้มข้นและพิเศษเหนือกว่าการอนุมัติการลงทุนปกติ นี่คือสิทธิประโยชน์แรกที่ได้
EEC ได้อำนาจออกใบอนุญาตจากกฎหมาย 8 ฉบับ
ใน พ.ร.บ.นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน 2561 ระบุชัดเจนว่าในพื้นที่ EEC ซึ่งประกอบไปด้วย 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา นอกจากในการแบ่งเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญแล้ว ยังมีการกำหนด เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อวัตถุประสงค์ในการผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรม
เป็นสิทธิประโยชน์ในลำดับถัดมาคือ ผู้ประกอบการ นักลงทุนที่ลงทุนในเขตดังกล่าวจะได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องของการอนุมัติ อนุญาต ความเห็นชอบ รวมถึงการจดทะเบียน
ภายใต้กฎหมาย 8 ฉบับ ประกอบด้วย กฎหมายว่าด้วยการขุดดนและถมดิน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยคนเขาเมืองให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักร กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นการบริการแบบจุดเดียวจบ (One Stop Service) โดยไม่ต้องติดต่อกับทั้ง 8 หน่วยงานนั้นอีก
ยกเว้นภาษีสูงสุด 13 ปี
สิทธิประโยชน์ถัดมา ผู้ประกอบการ นักลงทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และกิจการที่เกี่ยวเนื่องในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษจะได้ สิทธิในการถือกรรมสิทธิในที่ดินเพื่อการประกอบกิจการหรือห้องชุดเพื่อการประกอบกิจการ สิทธิในการนำคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร สิทธิในการที่จะได้รับยกเว้นหรือลดหยอนภาษีอากร สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงิน สิทธิประโยชน์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนมักจะให้ความสนใจในเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี นั่นคือการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะยืนพื้นที่ 8 ปีไปเลย และจะบวกเพิ่มเมื่อเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เป็นกิจการที่สนับสนุนหรือซัพพรายเชนให้กับอุตสาหกรรมหลัก หรือลงทุนใน 7 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษที่ได้ประกาศไว้ แล้วแต่เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะบวกเพิ่มได้สูงสุดอีก 5 ปี รวมแล้วจะได้รับการยกเว้นภาษีที่ 13 ปี
EEC Visa เริ่ม 1 ม.ค.67
และใช่ว่าการลงทุนจะบังคับให้ปักหมุดไว้เพียงแค่ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น สำหรับพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพผู้ประกอบการ นักลงทุนสามารถลงทุนได้เช่นกัน และนอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (EEC Visa)
โดยจะได้สิทธิ Work Permit อัตโนมัติ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ อัตราคงที่ 17% อายุ VISA สูงสุด 10 ปี ตามระยะเวลาตามสัญญาจ้าง ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถรายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast track) ณ สนามบินนานาชาติทั่วประเทศไทย โดยเริ่มขอรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
BOI ให้ต่างชาติเข้ามาศึกษาลู่ทางลงทุนได้ก่อน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทหลักในการพิจารณาและให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน 2560 และ พ.ร.บ. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2560
ซึ่งรู้หรือไม่ว่ามีสิทธิ อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุนได้ก่อน หรือหากดูแล้วมีแนวโน้มการขยายการลงทุน มีผลประกอบการดี เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนก็จะขยายระยะเวลาการพำนักในราชอาณาจักรให้ด้วย
ยกเว้นภาษีตามประเภทกิจการ
แต่สิทธิประโยชน์หลักจากนี้ที่นักลงทุนจะได้แบบเต็มๆ คือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประเภทกิจการที่บีโอไอได้จัดหมวดหมู่ไว้ โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม โดย
A1+ ยกเว้นภาษี 10-13 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน+สิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)
A1 ยกเว้นภาษี 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน+สิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)
A2 ยกเว้นภาษี 8 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)
A3 ยกเว้นภาษี 5 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)
A4 ยกเว้นภาษี 3 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)
B ได้เพียงยกเว้นอากรเครื่องจักร วัตถุดิบ ของนำเข้าเพื่อวิจัย และสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษีเช่นกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินปันผล
ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็น 2 เท่า ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เกิน 25% ของเงินลงทุน ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี คือ การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุนได้ก่อนตามที่กล่าวมาในข้างต้น การอนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ซึ่งจะได้วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุน/ค่าใช้จ่าย
ยังรวมไปถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพื้นที่ อย่างลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม เขต EEC เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) หรือจะเป็นพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่ำ
พรบ.เพิ่มขีดความสามารถเว้นภาษี 15 ปี
นอกจากนี้ BOI ยังมีเครื่องมือพิเศษอีก คือ พ.ร.บ. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2560 ที่จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 15 ปี เงินสนับสนุนจากกองทุน 10,000 ล้านบาท
เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งการสนับสนุนเงินดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ รวมถึงรายละเอียดแต่ละโครงการอย่างเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่สนับสนุนที่สุด มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมไทยและประเทศไทย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/02/2024 2:35 pm Post subject:
Korat : เมืองที่คุณสร้างได้
6 ม.ค. 67 09:25 น.
#อัปเดตรื้อตึกข้างสถานีรถไฟโคราช ภาพล่าสุด! การรื้ออาคารตึกข้าง สถานีรถไฟนครราชสีมา เยื้องโรงเรียนมารีย์วิทยา อำเภอเมือง เพื่อเตรียมสร้าง สถานีรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง โฉมใหม่! โดยกำลังรื้อจากด้านในมาถึงด้านหน้าฝั่งริมถนนมุขมนตรี และเตรียมแท่งแบริเออร์กั้นพื้นที่แล้ว!
https://www.facebook.com/550999843863552/posts/693597156270486
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/02/2024 7:44 pm Post subject:
BOI จ่อเคาะผลอุทธรณ์เอราวัน ยืดเวลาออกบัตรส่งเสริมไฮสปีด 3 สนามบิน ก.พ. 2567
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Tuesday, February 06, 2024 17:50
เลขาฯ บีโอไอ เผย "เอเชีย เอรา วัน" ยื่นขออุทธรณ์ขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ขอเวลาปรึกษา EEC - รฟท. อีกครั้ง จี้ถามหาเหตุผลทำไมต้องขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมให้ไฮสปีดเทรนด์ คาดให้คำตอบได้ภายใน ก.พ. 66 นี้ ย้ำสามารถยื่นขอใหม่ได้เมื่อพร้อม
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซีพี) ในฐานะผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ยื่นขออุทธรณ์การไม่อนุมัติขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 โดยให้เหตุผลว่า การแก้ไขสัญญาร่วมทุน เป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ และทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
ดังนั้น บีโอไอจะหารือในรายละเอียดเพิ่มเติมกับบริษัท เกี่ยวกับสถานะการแก้ไขสัญญาร่วมทุน และความจำเป็นในการขยายเวลา รวมถึงจะหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ EEC) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพิ่มเติมถึงทางออกของปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาคำขออุทธรณ์ของบริษัทต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
"ตามปกติแล้วเมิ่อเขาได้รับอนุมัติโครงการแล้ว เขาจะต้องรอให้เราออกบัตรส่งเสริมให้ก่อน ซึ่งเขาอยู่ในขั้นตอนนี้ ในขั้นตอนนี้นี่เองเขาขอขยายระยะเวลาเพื่อตะออกบัตรส่งเสริมได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 เดือน ต้องชี้แจงให้เข้าใจกันก่อนว่าเขายังไม่ได้รับบัตรส่งเสริม เป็นแค่ขั้นของการรอออกบัตรเท่านั้น
ส่วนที่เขาจะไปขอใช้สิทธิประโยชน์ของใคร ของ EEC ก็สามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของเขา แต่มันไม่เกี่ยวกับว่าโครงการไฮสปีเเทรนด์จะต้องหยุดหรือชะลอ เพราะมันคนละส่วน ในส่วนของเราแค่เป็นส่วนเล็กๆ เท่านั้น เพราะต่อให้เขาได้หรือไม่ได้สิทํิประโยชน์จากเราโครงการมันก็ลงทุนเดินหน้าต่ออยู่แล้ว"
ทั้งนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากบีโอไอ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 โดยบริษัทมีการยื่นขอขยายเวลาการตอบรับมติให้การส่งเสริม และขอขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมมา 2 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องรอการแก้ไขสัญญาระหว่าง รฟท. และบริษัท โดยการขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 2 บริษัทต้องส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมภายในวันที่ 22 มกราคม 2567
ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 บีโอไอได้หารือกับ EEC และ รฟท. ถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรเร่งรัดให้บริษัทดำเนินการตามโครงการโดยเร็ว โดยหากบริษัทยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจะทำหนังสือสอบถามความเห็นจาก EEC และ รฟท. ในฐานะเจ้าของโครงการ เพื่อประกอบการพิจารณา
ต่อมาในเดือนมกราคม 2567 บริษัทยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจึงทำหนังสือสอบถามความเห็นจากทั้ง EEC และ รฟท. ซึ่งทั้งสองหน่วยงานให้ความเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมั่นของประเทศ อีกทั้งการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม จึงควรเร่งรัดให้บริษัทส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมโดยเร็ว และไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก ด้วยเหตุผลดังกล่าว
บีโอไอจึงพิจารณาไม่อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ตามความเห็นของทั้งสองหน่วยงาน โดยได้แจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการภายในวันที่ 22 มกราคม 2567 เมื่อบริษัทไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนด มีผลทำให้มติเดิมสิ้นสุดลง แต่บริษัทก็ยังคงมีสิทธิยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่จากบีโอไอเมื่อไรก็ได้หากมีความพร้อม และ บีโอไอก็จะเร่งพิจารณาให้โดยเร็ว เนื่องจากสาระสำคัญของโครงการไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีรายงานการวิเคราะห์เดิมอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หากบริษัทเอราวัน ได้รับบัตรส่งเสริมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีระยะเวลาให้บริษัทลงทุนภายในกรอบเวลา 3 ปี และในระยะเวลาดังกล่าวหากบริษัทยังไม่พร้อมที่จะลงทุน ยังคงสามารถต่ออายุบัตรส่งเสริมได้อีก 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี รวมแล้ว 7 ปี
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 07/02/2024 7:58 am Post subject:
'บีโอไอ'ถกอีอีซี-รฟท. เร่งไฮสปีดจบในกุมภาฯ
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, February 07, 2024 at 05:44
"บีโอไอ" นัดถกสกพอ.-รฟท. หลังเอกชนยื่นอุทธรณ์ขยายเวลาออกบัตรส่งเสริม อุ้มไฮสปีด ขีดเส้นต้องจบก.พ.นี้ ฟากอีอีซี เปิดเอกชนยื่นสิทธิประโยชน์ ยึดกฎหมายอีอีซี ตั้งเป้าลงนามแก้สัญญาฯ-ตอกเข็มปีนี้
กรณีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไม่อนุมัติ ขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 3 ให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี คู่สัญญาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือไฮสปีดเทรน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ที่บีโอไอมองว่า โครงการยังไม่มีความพร้อมลงทุน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่ากรณีที่เอกชน ได้อุทธรณ์ขยายเวลา ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่3 โดยให้เหตุผลว่า การแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ เป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ และทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้เบื้องต้นบีโอไอจะหารือในรายละเอียดเพิ่มเติมกับเอกชนเกี่ยวกับสถานะการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ และความจำเป็นในการขยายเวลาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน รวมถึงจะหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรือ อีอีซีและ รฟท. ถึงทางออกของปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาคำขออุทธรณ์ของเอกชนต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
"ส่วนความเป็นไปได้ที่บีโอไอจะอนุมัติการยื่นอุทธรณ์ของเอกชนในครั้งนี้นั้น ยังตอบไม่ได้ เนื่องจากบีโอไออยู่ระหว่างรอข้อมูลเพิ่มเติมและสอบถามความเห็นทั้ง 2 หน่วยงานก่อน แต่เอกชนยังคงมีสิทธิยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่จากบีโอไอ เมื่อไรก็ได้หากมีความพร้อม โดยบีโอไอจะเร่งพิจารณาให้โดยเร็ว ซึ่งกระบวนการใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากสาระสำคัญของโครงการไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีรายงานการวิเคราะห์เดิมอยู่แล้ว"
สำหรับโครงการไฮสปีด ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากบีโอไอ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 โดยเอกชนมีการยื่นขอขยายเวลาการตอบรับมติให้การส่งเสริมและขอขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมมา 2 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องรอการแก้ไขสัญญาระหว่าง รฟท. และเอกชน โดยการขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 2 เอกชนต้องส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมภายในวันที่ 22 มกราคม 2567
ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาบีโอไอได้หารือกับอีอีซี และ รฟท. ถึงความคืบหน้าของโครงการไฮสปีดซึ่งในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรเร่งรัดให้เอกชนดำเนินการตามโครงการโดยเร็ว หากเอกชนยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจะทำหนังสือสอบถามความเห็นจากอีอีซีและ รฟท. ในฐานะเจ้าของโครงการ เพื่อประกอบการพิจารณา
ต่อมาในเดือนมกราคม 2567 เอกชนยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจึงทำหนังสือสอบถามความเห็นจากทั้งอีอีซีและรฟท. ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานให้ความเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมั่นของประเทศ อีกทั้งการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม จึงควรเร่งรัดให้เอกชนส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมโดยเร็วและไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก
"ด้วยเหตุผลดังกล่าวบีโอไอจึงพิจารณาไม่อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ตามความเห็นของทั้ง 2 หน่วยงาน โดยได้แจ้งให้เอกชนทราบล่วงหน้า เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการภายในวันที่ 22 มกราคม 2567 เมื่อเอกชนไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนด มีผลทำให้มติเดิมสิ้นสุดลง"
นายนฤตม์ กล่าวต่อว่า ในกรณีที่บีโอไอไม่อนุมัติขยายเวลาให้เอกชนยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 จะเป็นเงื่อนไขให้เอกชนต่อรองในการแก้ไขสัญญาไฮสปีดหรือไม่นั้น เรื่องนี้เป็นประเด็นระหว่างเอกชนและเจ้าของ
โครงการเพียงแต่บีโอไอสอบถามความเห็นทั้ง 2 หน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการโดยตรงในกรณีนี้
ทั้งนี้ในกรณีที่เอกชนไม่ยื่นเอกสารขอขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมต่อบีโอไอมีสิทธิ์จะขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีได้นั้น มองว่ามีความเป็นไปได้ เพราะกฎหมายอีอีซีสามารถให้สิทธิประโยชน์ได้เหมือนกันหรือเมื่อเอกชนมีความพร้อมสามารถกลับมายื่นเอกสารขอรับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอได้ไม่จำกัด ซึ่งบีโอไอยินดีที่ส่งเสริมโครงการฯนี้ เพราะอยากเห็นโครงการฯนี้เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมามีเอกชนหลายรายที่ยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมจนได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว หากมีปัจจัยที่เอกชนไม่สามารถดำเนินโครงการนั้นได้จนหยุดดำเนินโครงการไป เมื่อเอกชนมีความพร้อมก็สามารถกลับมายื่นคำขอใหม่ได้
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสกพอ. กล่าวว่า กรณีที่บีโอไอไม่ขยายเวลาการยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมด้านการลงทุนครั้งที่ 3 ของเอกชนจะกระทบกับการแก้ไขสัญญาไฮสปีดหรือไม่นั้น มองว่าเรื่องเป็นคนละเรื่องกัน เพราะการแก้ไขสัญญาเป็นไปตามมติกพอ.อนุมัติที่ได้ข้อยุติแล้ว ส่วนการขอขยายเวลากับบีโอไอเป็นเรื่องที่เอกชนต้องดำเนินการ Operate หากได้รายได้จากการเดินรถจะได้ภาษีอย่างไรบ้าง
ขณะเดียวกันในกรณีที่เอกชนไม่ได้มีการยื่นเอกสารขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมด้านการลงทุนจะกระทบต่อแผนการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) หรือไม่นั้น ตามเดิมการขยายเวลาฯนั้นเป็นเงื่อนไขในการออก NTP แต่เมื่อเอกชนไม่ได้รับการขยายออกบัตรฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่เอกชนไม่ได้ดำเนินการเอง ทำให้รฟท.ต้องเป็นผู้พิจารณาเองว่าในกรณีนี้ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้จะสละเงื่อนไขนี้เพื่อออก NTP โดยไม่ต้องรอบีโอไอหรือไม่ ปัจจุบันทราบว่าทางเอกชนได้ยื่นอุทธรณ์ขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมฯกับบีโอไอแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจากบีโอไอ
"ในกรณีที่รฟท.จะขอออก NTP ให้เอกชนก่อนโดยไม่ต้องรอให้เอกชนยื่นอุทธรณ์ต่อบีโอไอแล้วเสร็จสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น มองว่ามีความเป็นไปได้ แต่เรื่องนี้เราตอบแทนคณะกรรมการกำกับสัญญาตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯที่มีอำนาจพิจารณา โดยมีรฟท.เป็นประธานคณะกรรมการฯไม่ได้ ซึ่งเขาจะต้องพิจารณาว่าจะไปต่ออย่างไร"
สำหรับไทม์ไลน์การลงนามแก้ไขสัญญาโครงการฯคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปีนี้ เพราะตามกระบวนการแล้วรฟท.ต้องส่งร่างเอกสารแก้ไขสัญญาฯต่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ หลังจากนั้นจะส่งมาที่กพอ.และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อลงนามแก้ไขสัญญาฯใหม่ต่อไป ซึ่งอีอีซีอยากให้โครงการฯเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ หากรฟท.แจ้ง NTP แล้วเอกชนจะต้องเริ่มดำเนินการก่อสร้าง แต่ถ้ามีเหตุให้เอกชนที่จะไม่รับ NTP ก็ต้องพิจารณาอีกที
ส่วนกรณีการเจรจากับเอกชนในโครงการฯที่ล่าช้ามีความเป็นไปได้ที่จะบอกเลิกสัญญากับเอกชนหรือไม่นั้น เรื่องนี้อีอีซีไม่ใช่คู่สัญญา เพราะฉะนั้นการดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาร่วมทุนผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ รฟท. แต่ทางอีอีซีจะพิจารณาในกรณีที่หากโครงการรถไฟล่าช้าจะกระทบต่อแผนดำเนินการลงทุนในส่วนอื่นๆหรือไม่ เช่น สนามบินอู่ตะเภา เนื่องจากบางธุรกิจจะพิจารณาว่าโครงการฯไฮสปีดจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่
นายจุฬา กล่าวต่อว่า กรณีที่มีกระแสข่าวว่าอีอีซีจะเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิ์ขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีในโครงการฯนี้แทนการยื่นเอกสารขอขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมด้านการลงทุนต่อบีโอไอนั้น เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ตามหลักแล้วเอกชนมีสิทธิ์ขอสิทธิประโยชน์จากบีโอไอได้ ซึ่งกฎหมายไม่ได้ห้าม แต่การยื่นเอกสารขอขยายเวลาการออกบัตรฯในครั้งนี้จะต้องเริ่มกระบวนการใหม่หรือในปัจจุบันเอกชนมีสิทธิ์ขอสิทธิประโยชน์ด้านเป้าหมายอุตสาหกรรมจากอีอีซีก็สามารถดำเนินการได้ เพราะเอกชนมีสิทธิ์ใช้ได้ทั้ง 2 กฎหมาย
"หากเอกชนต้องการขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีในโครงการฯจะต้องดำเนินการจัดทำ Business Plan ว่าเอกชนต้องการสิทธิประโยชน์ในด้านใดบ้าง ทั้งนี้การให้สิทธิประโยชน์ของอีอีซีจะขึ้นอยู่กับโครงการที่จะขอ ซึ่งอีอีซีต้องพิจารณาด้วยว่ามีสิทธิประโยชน์ได้บ้างที่เอกชนสามารถดำเนินการได้ ส่วนการขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีจะต้องระบุในการแก้ไขสัญญาโครงการฯหรือไม่นั้น เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน เพราะสิทธิประโยชน์เป็นเพียงตัวบอกว่าระหว่างที่ดำเนินการและได้รายได้มาจะได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากภาครัฐอย่างไร ส่วนในสัญญาจะระบุเฉพาะด้านการก่อสร้างและ Operate เรื่องรถไฟเท่านั้น"
แหล่งข่าวจากสกพอ.เสริม ว่า กรณีที่เอกชนมีสิทธิ์ขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีแทนการยื่นเอกสารขอขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมด้านการลงทุนกับบีโอไอในโครงการฯนั้น เอกชนมีสิทธิ์ขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีได้ โดยตามขั้นตอนเอกชนสามารถยื่นเรื่องเข้ามาในระบบของอีอีซี ซึ่งใช้ระยะเวลาการพิจารณาไม่นาน เบื้องต้นสิทธิประโยชน์ที่เอกชนจะได้รับจากอีอีซี เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ,สิทธิประโยชน์ด้านการนำเข้าบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ,สิทธิประโยชน์ด้านวีซ่า รวมทั้งสิทธิประโยชน์ด้านการขออนุญาตในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นไปตามกำหนดของพ.ร.บ.อีอีซี
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 - 10 ก.พ. 2567
'ซีพี'ยื่นอุทธรณ์ส่งเสริมลงทุน'ไฮสปีดเทรน''บีโอไอ'ถก'อีอีซี-รฟท.'ก่อนเคาะขยายเวลา
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, February 07, 2024 at 04:41
คาดได้ข้อสรุป ก.พ. แจงยังไร้แผนเลิกสัญญา
กรุงเทพธุรกิจ "บีโอไอ" เผยได้รับเรื่องอุทธรณ์ขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จากกลุ่มซีพี แล้ว เผยเตรียมหารืออีอีซี และ ร.ฟ.ท. คาด ได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ.นี้ แจงไทม์ไลน์- เหตุผลไม่ต่อบัตรส่งเสริมรอบ 3 เพราะโครงการ ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซีพี) เป็นคู่สัญญาสัมปทานระยะเวลา 50 ปี ซึ่งล่าช้ากว่าแผนไปหลายปีนั้น
ปัจจุบัน โครงการหยุดชะงักลงเนื่องจาก มีการแก้ไขสัญญาระหว่างเอกชนผู้รับสัมปทานและภาครัฐ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปลายรัฐบาลก่อนและยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะที่ระยะเวลาของบัตรส่งเสริมการลงทุนที่เอกชนได้รับการขยายเวลามาแล้ว 2 ครั้ง หมดอายุลง ในวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่การต่อระยะเวลาในครั้งที่ 3 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังไม่ต่ออายุ แต่เอกชนผู้รับสัมปทานได้ยื่นขออุทธรณ์การไม่อนุมัติขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ของบีโอไอ
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องของการขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ภายหลังจากที่บีโอไอไม่ได้ ต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุนครั้งที่ 3 ให้กับบริษัทเอเชีย เอรา วัน ในกลุ่มซีพี ที่ได้รับสัมปทานในโครงการว่าล่าสุดบริษัทได้ยื่นขออุทธรณ์การไม่อนุมัติขยายเวลาออกบัตร ส่งเสริมครั้งที่ 3 โดยเอกชนให้เหตุผลว่า การแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ในโครงการนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ และส่งผลในเรื่องการดำเนินโครงการต่อไป
บีโอไอคาดสรุปพิจารณาอุทธรณ์ ก.พ.นี้
โดยบีโอไอจะหารือในรายละเอียดเพิ่มเติมกับบริษัทเกี่ยวกับสถานะการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ และความจำเป็นในการขยายเวลา รวมถึงจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพิ่มเติมถึงทางออกของปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาคำขออุทธรณ์ของบริษัทต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้
นายนฤตม์ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงของบริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากบีโอไอ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2563 โดยบริษัทมีการยื่นขอ ขยายเวลาการตอบรับมติให้การส่งเสริม และขอขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมมา 2 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องรอการแก้ไขสัญญาระหว่าง ร.ฟ.ท.และบริษัท โดยการขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 2 บริษัทต้องส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมภายในวันที่ 22 ม.ค.2567
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือน ต.ค.2566 บีโอไอได้หารือกับอีอีซี และ ร.ฟ.ท. ถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งในที่ประชุมเห็นตรงกันว่าควรเร่งรัดให้บริษัทดำเนินการตามโครงการโดยเร็ว โดยหากบริษัทยื่นขอขยายเวลาออกบัตร ส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจะทำหนังสือสอบถาม ความเห็นจาก อีอีซี และ ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของโครงการ เพื่อประกอบการพิจารณา
ชี้ไร้เหตุลงทุนล่าช้าปัดต่ออายุรอบ 3
ต่อมาในเดือน ม.ค.2567 บริษัทยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจึงทำหนังสือสอบถามความเห็นจาก ทั้งอีอีซี และ ร.ฟ.ท. ซึ่งทั้งสองหน่วยงานให้ความเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมั่นของประเทศ
อีกทั้งการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม จึงควรเร่งรัดให้บริษัทส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมโดยเร็ว และไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก ด้วยเหตุผลดังกล่าวบีโอไอจึงพิจารณาไม่อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ตามความเห็นของทั้งสองหน่วยงาน โดยได้แจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการภายในวันที่ 22 ม.ค.2567
เมื่อบริษัทไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนด มีผลทำให้มติเดิมสิ้นสุดลง แต่บริษัทก็ยังคงมีสิทธิยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่จากบีโอไอเมื่อไรก็ได้หากมีความพร้อม และบีโอไอก็จะเร่งพิจารณาให้โดยเร็ว เนื่องจากสาระสำคัญของโครงการไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีรายงานการวิเคราะห์เดิมอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวถึง กรณีกระแสข่าวว่า บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด อาจจะไม่เดินหน้าโครงการต่อหลังจากไม่ได้รับการต่อบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยระบุว่า เรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะมีการบอกเลิกสัญญา หรือบอกได้ว่าเอกชนที่ได้รับสัมปทานจะไม่ได้เดินหน้าโครงการต่อ
อีอีซียังไม่มีแผนบอกเลิกสัญญา
ขณะเดียวกัน สกพอ.ไม่สามารถที่จะเป็นผู้ที่บอกเลิกสัญญากับเอกชนได้ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญา ซึ่งอยู่ภายใต้ ร.ฟ.ท. พิจารณาว่าจะมีมติให้ เอเชีย เอรา วัน ดำเนินการอย่างไรในฐานะคู่สัญญา หลังจากนั้นหากคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาพิจารณาแล้วเสร็จ จึงจะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ตัดสินใจขั้นสุดท้าย
"รัฐบาล ปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน และถือว่า มีความสำคัญต่อโครงการอีอีซี และอยากให้ มีการเริ่มก่อสร้างโครงการได้ เพราะว่าหากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จการเดินทางไปยังพื้นที่อีอีซีจากกรุงเทพฯ จะใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ช่วยให้การเดินทาง และการไปทำงาน การทำธุรกิจเกิดขึ้นด้วยความสะดวกและรวดเร็ว"
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 ก.พ. 2567
Back to top