RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311651
ทั่วไป:13404933
ทั้งหมด:13716584
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 534, 535, 536 ... 559, 560, 561  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 9:53 am    Post subject: Reply with quote

เคยเห็นยัง พาชมอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงและตอม่อรถไฟริมเขื่อนลำตะคอง ฝั่งคลองไผ่ รถไฟความเร็วสูงไทยจีน
nanny official
Feb 16, 2024

งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีน
- สัญญาที่ 3-2 งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดภูเขา ช่วงมวกเหล็ก และ ช่วงลำตะคอง งบประมาณในการก่อสร้าง 4,729.3 ล้านบาท ดำเนินการโดย บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 42.18%
- สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง - สีคิ้ว และกุดจิก - โคกกรวด เป็นงานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ รวมระยะทาง 37.45 กิโลเมตร หรือประมาณ 23.27 ไมล์ งบประมาณในการก่อสร้าง 9,788 ล้านบาท ดำเนินการโดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 62.32% จ้า


https://www.youtube.com/watch?v=4WwA4WyQtGY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
16 ก.พ. 67 10:56 น.

เตรียมรื้อถอนอาคารบ้านพักพนักงานเครื่องกั้นบริเวณจุดตัดที่ 11 ถนนสืบศิริ เพื่องานก่อสร้างรางประธานใหม่

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=376092461795858&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

'บีโอไอ'ขยายเวลาส่งเอกสาร 4 เดือน ขอบัตรส่งเสริมลงทุนไฮสปีดเทรน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Friday, February 16, 2024 16:27

บีโอไอ ทบทวนตามหนังสืออุทธรณ์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยายเวลาการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมเป็นครั้งที่ 3 ถึงพ.ค. 67 หลังบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เสนอแผนดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น ยืนยันการลงทุนและพร้อมร่วมกับอีอีซี

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอได้พิจารณาทบทวนคำสั่งไม่อนุมัติขยายเวลาการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริม ครั้งที่ 3 สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ไฮสปีดเทรน) ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ตามที่บริษัทได้มีหนังสืออุทธรณ์คำสั่งฯ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด อีอีซี และรฟท. มีระยะเวลาพอสมควรในการเจรจาหาข้อสรุปร่วมกัน จึงได้พิจารณาให้ขยายเวลาออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ม.ค. 67 ซึ่งจะทำให้บริษัทมีเวลาในการส่งเอกสารจนถึงวันที่ 22 พ.ค. 67 ตามข้อกำหนดขออง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน ที่กำหนดให้บีโอไอสามารถอนุมัติขยายเวลาในการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมได้เพียง 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 4 เดือน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว จึงขอให้ทั้งสามฝ่ายเร่งหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าตามกรอบเวลาที่กำหนดได้

“บีโอไอได้พิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และได้เชิญบริษัทมาหารือและให้ข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี และการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือรฟท. ในครั้งนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้เสนอแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งได้แสดงถึงความตั้งใจที่จะลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงโดยเร็วที่สุด เพียงแต่ต้องการเวลาในการหาทางออกเรื่องเงื่อนไขในสัญญาร่วมทุนฯ ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการก่อนที่จะยื่นขอออกบัตรส่งเสริม ประกอบกับหน่วยงานเจ้าของโครงการได้แจ้งว่า กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมกับบริษัทด้วย”

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 65 บริษัทได้ยื่นขอขยายเวลาตอบรับมตีให้การส่งเสริม และขอขยายเวลาการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริม 2 ครั้ง จนถึงวันที่ 22 ม.ค. 67 ต่อมาบริษัทขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมอีกเป็นครั้งที่ 3 ปีโอไอจึงทำหนังสือสอบถามความเห็นจากทั้งอีอีซี และ รฟท. ซึ่งให้ความเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซีและความเชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จึงควรเร่งรัดให้บริษัทส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมโดยเร็ว และไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก

บีโอไอจึงมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายเวลาตามความเห็นของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อเร่งรัดให้รีบยื่นเอกสารภายในกำหนดเวลา แต่บริษัท เอรา วันฯ ไม่ได้ส่งเอกสารตามเวลาที่กำหนด และได้ยื่นขออุทธรณ์ โดยให้เหตุผลว่า การเจรจาเงื่อนไขในสัญญา ร่วมทุนฯ ระหว่างอีอีซี รฟท. และบริษัท เอรา วันฯ เป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ จำเป็นต้องขอเวลาเพิ่มเติมเพื่อหารือกับทั้งสองหน่วยงานให้แล้วเสร็จ จึงขอให้บีโอไอพิจารณาทบทวนคำสั่งดังกล่าว จากการพูดคุยกับทุกฝ่ายแล้ว บีโอไอจึงมีคำสั่งให้ขยายเวลาการส่งเอกสารออกบัตรส่งเสริมอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้ายตามที่พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน ให้อำนาจไว้ เพื่อเปิดทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน

https://www.dailynews.co.th/news/3181705/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดท รถไฟความเร็วสูงไทยจีน ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา เร่งสร้างหลังขยายสัญญาออกไปอีก 440 วัน
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Feb 16, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=0r6nq8C9r_U
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2024 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดตโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงเชียงรากน้อย - บ้านโพ (17/2/2567)
Train come first
Feb 17, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=TMjvcFJMRj0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 7:40 am    Post subject: Reply with quote

ทาง 2 แพร่งไฮสปีดเทรน CP ยื้อลงทุนมา 4 ปี รัฐขีดเส้นตายตอกเสาเข็ม พ.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 19 ก.พ. 2567 เวลา 7:00 น.

3 หน่วยงาน วุ่นเคลียร์ปัญหาการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “สกพอ.-รฟท.-บีโอไอ” เคลียร์ปมบัตรส่งเสริมลงทุน ห่วงลงนามมา 4 ปี ยังเริ่มก่อสร้างไม่ได้ เผยเร่ง “ซีพี” เจรจาหาทางออกเพื่อเดินหน้าโครงการ ด้าน ร.ฟ.ท.ขีดเส้นตาย พ.ค.นี้ ต้องลงนามแก้ไขสัญญาใหม่

Key Points

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของ EEC ที่จะเป็นประตูเชื่อมการเดินทางกับกรุงเทพฯ
กลุ่มซีพีลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ ร.ฟ.ท.ไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 และยังไม่เริ่มการก่อสร้าง โดยได้เจรจาขอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน
ปัจจุบันมีปัญหาการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน เมื่อกลุ่มซีพีขอยืดระยะเวลาการส่งออกเอกสารครั้งที่ 3 ไปจนถึงเดือน พ.ค.2567
การก่อสร้างที่ล่าช้ากว่าแผนไปมากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนใน EEC จากเดิมที่คาดว่าจะเปิดบริหารปี 2567

หากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นไปตามแผนนับตั้งแต่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด หรือในชื่อเดิมบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เชื่อมสามสนามบิน จำกัด ลงนามสัญญาร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 จะทำให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด เปิดบริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2567

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ถือเป็นเมกะโปรเจ็กต์หลักของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด เป็นผู้รับสิทธิโครงการ 50 ปี จากการเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐต่ำสุดในราคา 117,227 ล้านบาท

สำหรับผู้ร่วมทุนในบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด มีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 70% (กลุ่มซีพี) รองลงมาเป็น บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM สัดส่วน 10%

บริษัท China Railway Construction Corporation Limited สัดส่วน 10% และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD สัดส่วน 10% และบริษัท ช.การช่างจำกัด (มหาชน) สัดส่วน 10%


หลังจากที่มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้เกิดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยื่นเงื่อนไขรอรับมอบพื้นที่ก่อสร้างเมื่อ ร.ฟ.ท.พร้อมส่งมอบ 100% ส่งผลให้การส่งมอบพื้นที่ยืดเยื้อเพราะ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เวลาในการเจรจากับผู้บุกรุกและรื้อถอนสาธารณูปโภค เช่น ท่อน้ำมัน ท่อประปา

ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยกเป็นข้ออ้างให้ภาครัฐมีมาตรการเยียวยา เพราะมีผลต่อจำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564 และกระทบวนการแก้ไขสัญญายังไม่ได้ข้อสรุปจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุดมีประเด็นบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2565 แต่ไม่ยื่นออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยขอขยายเวลา 2 ครั้ง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไม่ขยายเวลาให้อีกทำให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยื่นอุทธรณ์ และท้ายที่สุดบีโอไออนุมัติให้ขยายเวลาครั้งที่ 3 เป็นสิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค.2567

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า หากภายในวันที่ 22 พ.ค.2567 บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ไม่มาออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจะทำให้ ร.ฟ.ท.ออกหนังสือเริ่มต้นดำเนินงาน (NTP) ไม่ได้เพราะในสัญญากำหนดให้ต้องมีบัตรส่งเสริมการลงทุนจึงจะออก NTP ได้

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ประเมินว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนใน EEC

นอกจากนี้ บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยังไม่ได้ข้อสรุปของแผนการเงินทุนของโครงการ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด แจ้งต่อ BOI ว่า ต้องการขอเวลาเพิ่มเติมก่อนที่จะส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยปัจจุบันบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด อยู่ระหว่างการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนกับ ร.ฟ.ท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

รวมทั้ง บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ระบุว่าการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนจะเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งทำให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ต้องขอเวลาเพิ่มในการหารือกับทั้ง 2 หน่วยงาน

สำหรับการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนเป็นอีกประเด็นที่มีความยืดเยื้อมามากกว่า 2 ปี ครึ่ง โดยเริ่มมีการหารือประเด็นนี้ในปี 2563 ก่อนที่จะเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564

ส่วนการเจรจามีประเด็นหลัก คือ การผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ และการลงทุนงานโยธาที่ทับซ้อนกันบริเวณสถานีกลางบางซื่อ แต่ได้ข้อสรุปเฉพาะประเด็นค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้ผ่อนชำระได้

“2 แนวทาง” อนาคตไฮสปีดเทรน

แหล่งข่าว กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือในประเด็นที่บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยื่นอุทธรณ์การขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดย สกพอ.มองว่าเหตุผลที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ระบุถึงการขอขยายเวลารับบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะยังติดปัญหาเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนนั้น ประเด็นนี้ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนที่จะได้รับ

อีกทั้งหากขยายเวลาขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนออกไปอีก จะเกิดความล่าช้าของโครงการ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมั่นของประเทศ จึงควรเร่งรัดให้บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนโดยเร็ว และไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก

รวมทั้งหากบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนไม่ได้ควรให้เจรจาหาสิทธิประโยชน์ด้านอื่นตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมทั้งหารือร่วมกับคู่สัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน นำไปสู่การเดินหน้าก่อสร้างโครงการโดยเร็ว

ทั้งนี้ แนวทางออกในกรณีบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ไม่ส่งเอกสารหรือส่งเอกสารไม่สมบูรณ์เพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 22 พ.ค.2567 ซึ่งมีการประเมินว่าจะผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินต่อไปนั้น เบื้องต้นมี 2 แนวทาง ประกอบด้วย

1.การเดินหน้าโครงการต่อ โดยจะต้องมีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฉบับใหม่ เพื่อตัดเงื่อนไขการออกหนังสือ NTP ออกไปจากในสัญญาปัจจุบันกำหนดให้เอกชนคู่สัญญาต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจึงจะออก NTP ได้

รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาอาจต้องยื่นขอบัตรส่งเสริมการลงทุนใหม่ หรืออาจยื่นขอส่งเสริมการลงทุนผ่าน พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ก่อนที่จะดำเนินการออก NTP

2.การยกเลิกสัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้ และเดินหน้าประมูลใหม่ ซึ่งการดำเนินการจะเริ่มพิจารณาจากคณะกรรมการกำกับสัญญาร่วมลงทุน เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) พิจารณาอนุมัติก่อนเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ

“ไฮสปีดเทรน” ล่าช้ากระทบโครงการอื่น

แหล่งข่าว กล่าวว่า ความล่าช้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนในโครงการอื่น โดยเฉพาะโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เพราะจำเป็นต้องพิจารณาโครงสร้างร่วมกัน และโครงการท่าอากาศยานก็ต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเนื่องจากจะเป็นระบบขนส่งที่สนับสนุนกัน

อย่างไรก็ดี สกพอ.ยืนยันว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เกิดการลงทุน หากท้ายที่สุดไม่สามารถเดินหน้าสัญญากับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ก็จะต้องมีการจัดหาเอกชนรายใหม่เข้ามาประมูลโครงการ เพราะความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่ EEC และโครงการด้านคมนาคมจะสมบูรณ์แบบนั้น จำเป็นต้องเดินหน้าโครงข่ายระบบรางสำคัญอย่างไฮสปีดเทรน

รัฐเร่งเจรจา “ซีพี” แก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ สกพอ.เปิดเผยว่า หลังจาก BOI อนุมัติขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 3 ให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ม.ค.2567 ให้ส่งเอกสารรับบัตรส่งเสริมการลงทุนได้ถึงวันที่ 22 พ.ค.2567

อย่างไรก็ดี จากการอนุมัติครั้งนี้ ทราบว่ามีเหตุผลประกอบจากกรณีที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน ต้องการเวลาในการหาทางออกเรื่องเงื่อนไขในสัญญาร่วมทุนที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดกับ ร.ฟ.ท.คู่สัญญา โดยต้องการให้การแก้ไขสัญญาใหม่แล้วเสร็จก่อนจะมาขอยื่นออกบัตรส่งเสริมการลงทุน

ดังนั้นเมื่อ BOI ขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว ขั้นตอนหลังจากนี้ก็ต้องเร่งรัดการเจรจาแก้ไขสัญญาใหม่ให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งเร่งรัดให้เอกชนคู่สัญญามาดำเนินการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกรอบกำหนด เพื่อให้ ร.ฟ.ท.สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามแผน และเริ่มงานก่อสร้างโดยเร็ว เนื่องจากภาพรวมของโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ยอมรับว่าขณะนี้ล่าช้ากว่าแผนแล้ว

โดย ร.ฟ.ท.มีความพร้อมที่จะส่งมอบพื้นที่ตามสัญญา แต่ยังติดปัญหาการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ทำให้ยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ โดย สกพอ.มองว่าขณะนี้ควรเร่งรัดให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว เพราะต้องพิจารณาด้วยว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นนั้นกระทบต่อแผนดำเนินการลงทุนในส่วนอื่นๆ หรือไม่ อาทิ โครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีโครงสร้างร่วมกับไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินด้วย

“ตอนนี้โครงการสนามบินอู่ตะเภาทราบว่าทางเอกชนมีความพร้อมในด้านเงินลงทุนแล้ว รวมทั้งงานลงทุนภาครัฐส่วนของรันเวย์ที่ 2 กองทัพเรือได้ออกประกาศเชิญชวนงานก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาในช่วงกลางปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มงานก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570-2571”

คาดออก NTP ได้ภายในเดือน พ.ค.

นายอนันต์ โพธ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังการพิจารณาขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ขั้นตอนดำเนินการหลังจากนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องกลับมากำหนดทิศทางการดำเนินงานของโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อเตรียมเดินหน้าออกหนังสือ NTP

ทั้งนี้จากการประเมินภาพรวมโครงการในปัจจุบัน แม้จะล่าช้ากว่าแผนดำเนิน แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ เพราะก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ประเมินกรอบเวลาในการออกหนังสือ NTP และลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ภายในเดือน พ.ค.นี้ ดังนั้นปัจจุบันยังถือว่ามีเวลาในการพิจารณาและเจรจาร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการดำเนินงานที่ดีที่สุด

“ขณะนี้การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา แก่เอกชนครบ 100% ตั้งแต่เดือนต.ค.2564 รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการ (TOD มักกะสัน) ส่วนประเด็นก่อสร้างทางร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการพิจารณาแก้ไขร่างสัญญา ดังนั้นเรื่องนี้ยังมีเวลาที่จะเจรจาร่วมกัน”

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 7:43 am    Post subject: Reply with quote

ทร.เปิดประมูลรันเวย์2”อู่ตะเภา”แล้วคาดสรุปในพ.ค.67 ด้าน UTA รอประสานแบบ”ไฮสปีด”ลุ้นเริ่มสร้างปีนี้
ผู้จัดการออนไลน์ 19 ก.พ. 2567 06:58 น.

กองทัพเรือเปิดประมูล รันเวย์2 “อู่ตะเภา”ราคากลาง 1.52 หมื่นล้านบาท ยื่นข้อเสนอใน 4 มี.ค.67 ไทม์ไลน์คาดเซ็นรับเหมาในก.ย. 67 ด้านUTA รอลุ้นเงื่อนไขสุดท้ายประสานแผนก่อสร้าง ”ไฮสปีด 3 สนามบิน” พร้อมลุยสร้างเฟสแรกรับ 15 ล้านคน/ปี

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้กองบัญชาการกองทัพเรือ (ทร.) โดยกรมช่างโยธาทหารเรือ ได้มีการเผยแพร่ประกาศเชิญชวนการจ้างก่อสร้าง (Specific Procurement Notice : SPN) และเอกสารประกวดราคา (TD) โครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับ สนามบินนานาชติอู่ตะเภา ราคากลาง15,200,123,971.91 บาท โดยมีประกาศเชิญชวนยื่นเอกสารแสดงความสนใจ(Expression of Interest : EOI) และเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (REOI) โดยตามไทม์ไลน์ กำหนดยื่นข้อเสนอ ตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ. 2567 สิ้นสุดวันที่ 4 มี.ค. 2567พร้อมเปิดซองเทคนิคและเริ่มประเมินข้อเสนอ โดยกองทัพเรือคาดว่าจะอนุมัติผลการประเมินด้านเทคนิคได้ในวันที่ 3 เม.ย. 2567 และดำเนินการเปิดซองข้อเสนอด้านราคา วันที่ 2 พ.ค. 2567 สรุปผลเสนอกองทัพเรือ คาดได้รับอนุมัติวันที่ 5 ส.ค. 2567 และลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมา ภายใน วันที่ 16 ก.ย.2567

ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนโครงการจะมาจากเงินกู้ของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) สัดส่วน 85% ซึ่ง สบน.และ AIIB จะเจรจาเงินกู้และยกร่างสัญญากู้เงิน และเสนออัยการสูงสุดพิจารณาร่างสัญญา และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)​อนุมัติกู้เงินในเดือนก.ค. 2567 เพื่อให้ ลงนามสัญญากู้เงินในเดือนส.ค. 2567 ก่อนลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมา

ขณะที่รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเดือนธ.ค. 2566 กองทัพเรือได้มีการเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารผู้สนในประมาณ 14 ราย เข้ามาแสดงความคิดเห็นและมีคำถามประมาณ 300 คำถามที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตของงาน

สำหรับรายละเอียดตามเอกสารประกวดราคา นั้น ผู้ที่จะดาวน์โหลดได้ ต้องลงชื่อเข้าใช้เฉพาะผู้ที่ซื้อซองประกวดราคาเท่านั้น ขณะที่ข้อมูลโครงการเบื้องต้นระบุ เนื้องานการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยการก่อสร้างรันเวย์เส้นทางที่2 ขนาดความยาว 3,505 เมตร กว้าง 60 เมตร โดยเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับเครื่องบินทุกรุ่น โดย แนวรันเวย์เส้นที่ 2 จะสร้างเป็นทางคู่ขนานและมีระยะห่างจากรันเวย์เดิมประมาณ 1,140 เมตร โดยการก่อสร้างจะรวมถึงงานดินที่เกี่ยวข้องและการเตรียมพื้นที่ทางขับ ระบบและโครงสร้างระบายน้ำ ระบบช่วยเหลือการมองเห็น ไฟส่องสว่างพื้นสนามบิน ระบบและสถานีสูบน้ำ ระยะเวลาโครงการ 1,095 วัน

โครงการจัดซื้อก่อสร้างทางวิ่งและทางขับแห่งที่ 2 เป็นการประมูลจะดำเนินการผ่านการประกวดราคาแบบนานาชาติ (International bidding) ผู้สนใจจะต้องส่งคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ทางวิ่งและทางขับแห่งที่ 2 หน่วยบริหารโครงการ (UTPRW-PMU) เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานจัดซื้อจัดจ้าง คือกรมโยธาธิการทหารเรือ ที่อยู่ เลขที่ 93 ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 พร้อมกับโอนค่าธรรมเนียมที่ไม่สามารถขอคืนได้ 50,000 บาท จากนั้นทางกองทัพเรือจะส่ง URL ลิงก์ทางอีเมลเพื่อเข้าถึงเอกสารประกวดราคา เมื่อได้รับการยืนยันการชำระเงิน โดยผู้ที่จะเข้าร่วมประกวดราคาจะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวน 155 ล้านบาท

ด้านนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)กล่าวว่า โครงการนี้ กองทัพเรือรับผิดชอบ ซึ่งคาดว่าทางกองทัพเรือน่าจะได้ตัวผู้รับจ้างภายในปี 2567 นี้ จากนั้นก็จะเริ่มต้นก่อสร้างทันทีซึ่งการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 และทางขับจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571

@UTA รอเงื่อนไขสุดท้ายประสานแผนก่อสร้าง”ไฮสปีด 3 สนามบิน”

ด้านนายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) กล่าวว่า การเปิดประมูลรันเวย์ที่2 สนามบินอู่ตะเภา ถือเป็น 1 ในเงื่อนไขในการส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) ซึ่งขณะนี้ยังคงเหลืออีกเงื่อนไข คือ การประสานเพื่อทำแผนก่อสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะภา) เพื่อการวางตำแหน่งและบริหารสถานีรถไฟที่เชื่อมต่อและสอดคล้องกับอาคารผู้โดยสารรวมถึงทำแผนตารางเดินรถไฟให้สอดคล้องกับการบบริหารจัดการสนามบิน ซึ่งทราบว่า ทางผู้รับสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบินกำลังทำงานร่วมกับภาครัฐ

ทั้งนี้ UTA มีความพร้อมในการก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน รอเพียงความชัดเจนของแผนงานของโครงการที่เกี่ยวข้องโดยคาดหมายว่า จะได้เริ่มก่อสร้างภายในปี 2567 เป้าหมายการพัฒนาเฟสแรก เพื่อรองรับที่ 12 ล้านคน/ปี ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง และการทดสอบระบบ รวมถึงการออกใบรับรองสนามบิน รวมประมาณ 5 ปี เปิดให้บริการได้ในปี 2572 โดยมีการพัฒนารวมทั้งสิ้น 6 เฟส รองรับที่ 60 ล้านคน/ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 7:54 am    Post subject: Reply with quote

‘ไฮสปีดเทรน’ สะดุด ความเชื่อมั่น ’อีอีซี‘ หดหาย
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Monday, February 19, 2024 07:09

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขายฝันโครงการเมกะโปรเจกต์ในภาคตะวันออก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนของภาคเอกชน แต่ยังไม่มีโครงการใดสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ ส่วนรัฐบาลปัจจุบันขายฝันโครงการแลนด์บริดจ์ที่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ 100% ว่าจะเกิดการลงทุนแน่นอน

การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นการสร้างจุดขายใหม่ให้กับประเทศไทยเมื่อ 6 ปี ที่ผ่านมา หลังจากมีการออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเพื่อรองรับการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีเกือบครึ่ง ครม.เป็นกรรมการ ถือเป็นโครงสร้างที่มีการออกแบบเพื่อสร้างแรงสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถูกกำหนดไว้ 4 โครงการหลัก ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 เพื่อให้การลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นโครงการแรกที่มีการลงนามร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 หลังจากที่มีการเริ่มประมูลเมื่อปี 2561 โดยที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคมากมายจนทำให้ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ และยังไม่สามารถเริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างได้เลย ซึ่งมีการเจรจาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนลงนามสัญญา จนถึงปัจจุบันที่มีการลงนามไปแล้วมากกว่า 4 ปี ก็ยังอยู่ระหว่างการเจรจาแก้ไขสัญญา

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงสายแรกเปิดให้บริการในปี 2567 แต่สิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้นเพราะอุปสรรคต่างๆ ที่ถูกยกขึ้นมาจนกระทั่งรัฐบาลยอมตามคำขอของภาคเอกชนให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุน แต่การเจรจาก็เป็นไปด้วยความยืดเยื้อ ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะเห็นชอบในหลักการให้คู่สัญญาดำเนินการเจรจาแก้ไขสัญญาตั้งแต่เดือน ต.ค.2564 แต่จนถึงปัจจุบันการแก้ไขสัญญายังไม่ได้ข้อสรุปพอที่จะเสนอ กพอ.และ ครม.ได้

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขายฝันโครงการเมกะโปรเจกต์ในภาคตะวันออก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนของภาคเอกชน แต่ยังไม่มีโครงการใดก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันขายฝันโครงการแลนด์บริดจ์ที่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ 100% ว่าจะเกิดการลงทุนแน่นอน เพราะต่างชาติเห็นชัดเจนอยู่แล้วรถไฟความเร็วสูงที่ลงนามไปแล้วมากกว่า 4 ปี ยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ จึงไม่แปลกถ้าหากความเชื่อมั่นการลงทุนใน EEC จะถดถอยลง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 7:56 am    Post subject: Reply with quote

6 ปี 3 รัฐบาล 'ไฮสปีดเทรน'3สนามบิน อนาคตโครงการอยู่ในมือ'ซีพี'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, February 19, 2024 04:05

กรุงเทพธุรกิจ โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นอีกมหากาพย์ของการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน จากจุดเริ่มต้นของรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา"ที่จะผลักดัน เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อต่อยอดอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่พัฒนามา มากกว่า 30 ปี เพื่อเป็นประตูการค้าและ การลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก

ความสำเร็จของการพัฒนา EEC ต้องพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมการเดินทางกับกรุงเทพฯ จึงมีแนวคิด การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อสนับสนุนการเดินทาง การขนส่งสินค้า และเป็นปัจจัยบวกต่อการท่องเที่ยวเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ เข้าสู่เมืองใหม่ EEC ในระยะเวลา การเดินทางไม่เกิน 60 นาที

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนมีรูปแบบ เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ PPP Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็น ออกแบบและก่อสร้าง 5 ปี และระยะเวลาดำเนินการ 45 ปี ซึ่งผู้ชนะประมูลได้สิทธิบริหารโครงการระยะทาง 220 กิโลเมตร รวมการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีมักกะสัน 150 ไร่ รวมทั้งพื้นที่ โดยรอบสถานีศรีราชา 25 ไร่

สำหรับการผลักดันโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เริ่มต้นเปิดประมูลในปี 2561 โดยเปิดรับซอง ข้อเสนอเอกชนวันที่ 12 พ.ย.2561 มีเอกชนยื่นซองข้อเสนอ 2 ราย ประกอบด้วย

1.กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร.ฟ.ท.ใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอเอกชนราว 1 เดือน หลังจากนั้นวันที่ 11 ธ.ค.2561 ได้เปิดซอง 3 (ข้อเสนอด้านการเงิน) ผลปรากฏว่าข้อเสนอของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดย ต่ำกว่าเกณฑ์ข้อกำหนดตามเอกสาร ประกวดราคา (ทีโออาร์) ส่วนของเงินอุดหนุนรัฐตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดไว้ ไม่เกิน 1.19 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ท่ามกลางการพิจารณาข้อเสนอ ของกลุ่มซีพี ขณะมีประเด็นในการพิจารณาข้อเสนอซอง 4 (ข้อเสนอพิเศษ) ที่ทำให้ต้องเจรจากับ ร.ฟ.ท.เพิ่มเติม อาทิ การขอขยายเวลา อายุสัมปทานจาก 50 ปี ออกไปอีก 49 ปี รวมเป็น 99 ปี

รวมทั้งขอให้ภาครัฐสนับสนุน แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ขอให้ภาครัฐจ่ายเงิน ร่วมลงทุนตั้งแต่ปีที่ 1 จากที่กำหนดจ่าย เมื่อเดินรถ ขอชำระค่าสิทธิบริหาร แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในปีที่ 2-11 ของโครงการ จากที่กำหนดให้ชำระภายใน 2 ปี เป็นต้น

ทั้งนี้ จากข้อเสนอพิเศษที่หลากหลายของกลุ่มซีพี นำมาสู่การเจรจารายละเอียดระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ร่วมลงทุนโครงการฯ และกลุ่มซีพี นานถึง 1 ปี ก่อนจะมาสิ้นสุดการเจรจานัดสุดท้ายใน วันที่ 11 ก.ย.2562 ปลดล็อกประเด็นแผน ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ โดยกำหนดว่า หลังจากลงนาม 1 ปี ร.ฟ.ท.จะต้องออกหนังสือ เริ่มงานก่อสร้าง หรือ Notice to Proceed (NTP) เพื่อให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างให้เสร็จ ภายใน 5 ปีตามสัญญา

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 เวลา 13.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยมี วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่า ร.ฟ.ท. และ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็น ผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจ

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธาน คณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยออกมา ระบุถึงการตัดสินใจร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่าเป็นโครงการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับ ผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง แต่เหตุผลสำคัญ ที่สนใจและเข้าไปลงทุน เพราะเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือซีพียึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

"ถึงแม้จะยาก มีความเสี่ยงสูง แต่เครือซีพี ต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และดึงคนเก่งจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานแรก ของอาเซียน และ EEC ซึ่งจะผลักดัน ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และ ส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อมๆ กันแบบยั่งยืน ได้อีกด้วย"
หลังลงนามสัญญาก็ยังตอกเสาเข็มไม่ได้ เพราะติดปัญหาเวนคืนพื้นที่ และเอกชนต้องการให้ส่งมอบพื้นที่ครบ 100% ก่อนเริ่มก่อสร้าง โดยในระยะแรกต้อง ส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร รวมพื้นที่ 5,521 ไร่ ซึ่งขณะนั้นติดปัญหากรณีมีผู้บุกรุกบางส่วน ติดจำนองที่ดินไว้กับสถาบันการเงิน 3-4 สัญญา

ทั้งนี้ ท่ามกลางการรอส่งมอบพื้นที่โครงการก็เจอวิกฤติ "โควิด-19" ทางบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จึงยื่นขอรับการเยียวยาจากรัฐบาล อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อ ขอปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไข ของสัญญาร่วมลงทุน

ท้ายที่สุดจึงเจรจาแก้ไขสัญญา ในส่วน รายละเอียดการเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหาร แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามที่เอกชนเสนอ ขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาฉบับใหม่แล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด วงเงินรวมกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดชำระย้อนหลังรวม 3 ปี ระหว่างปี 2564-2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวด จะจ่ายตามกำหนดสัญญาภายใน วันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี

นอกจากนี้ จะแก้ไขแนบท้ายสัญญาฉบับใหม่ เพื่อเปิดช่องกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยในอนาคต สามารถเจรจาปรับแผนบริหารโครงการกับเอกชนได้ โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาใหม่ เพื่อให้การบริหารโครงการคล่องตัวมากขึ้น และเป็นมาตรฐานเดียวกับ สัญญาร่วมทุนอื่นในอีอีซี

สำหรับสถานการณ์แก้ไขสัญญาอยู่ขั้นตอน พิจารณารายละเอียด โดย ร.ฟ.ท.คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างสัญญาใหม่ และลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ ร่วมกับเอกชนคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ภายในเดือน พ.ค.2567 โดย ร.ฟ.ท.ยืนยันความพร้อมส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา แก่เอกชนครบ 100% รวมทั้งการ ส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีรถไฟ (TOD)มักกะสัน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 8:51 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
19 ก.พ. 67 08:26 น.

บ้านพักพนักงานเครื่องกั้นจุดตัดที่11 แยกสืบศิริ โครงการฯได้ดำเนินการทุบเรียบร้อยแล้วจ้า

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=377770791628025&id=100081853208848


สถานีภูเขาลาดเริ่มทำการเข้าตอกเข็มแล้วจ้าาา

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=377835328288238&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 534, 535, 536 ... 559, 560, 561  Next
Page 535 of 561

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©