Main Menu
Homepage
Members Zone
·
ข้อมูลส่วนตัว
ข่าวสารส่วนตัว
·
บริการเว็บเมล์
·
กระดานข่าว
กระดานฝากข้อความ
·
รถไฟไทยแกลลอรี่
รายนามสมาชิก
·
แบบสำรวจ
สมุดเยี่ยม
·
เกี่ยวกับสมาชิก
News & Stories
·
เรื่องทั้งหมด
·
เนื้อหาสาระ
·
เรื่องสำหรับพิมพ์
·
ยอดฮิตติดอันดับ
·
ค้นหาข่าวสาร
·
ค้นหากระทู้เก่า
Contents
·
กำหนดเวลาเดินรถ
·
ประเภทขบวนรถโดยสาร
·
ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
·
แผนที่เส้นทางรถไฟ
·
อัตราค่าโดยสาร
·
คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
·
รูปแบบการให้บริการรถไฟ
·
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
·
ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
·
ระบบติดตามขบวนรถ
Services
·
Downloads
·
GoogleSearch
·
Hotels Booking
·
FlashGames
·
Wallpaper 1
·
Wallpaper 2
·
Wallpaper 3
·
Wallpaper 4
Information
·
เกี่ยวกับเรา
·
นโยบายความเป็นส่วนตัว
·
แผนผังเว็บไซต์ฯ
ส่งข้อแนะนำติชม
·
ติดต่อลงโฆษณา
·
แนะนำและบอกต่อ
·
สถิติทั้งหมด
·
สำหรับผู้ดูแลระบบ
Sponsors
Visitors
มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:
312001
ทั่วไป:
13618730
ทั้งหมด:
13930731
คน ตั้งแต่
01-08-2004
Rotfaithai.Com :: View topic - โผรายชื่อสถานีรถไฟสายปากน้ำ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Forum FAQ
Search
Usergroups
Profile
Log in to check your private messages
Log in
โผรายชื่อสถานีรถไฟสายปากน้ำ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
...
11
,
12
,
13
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic
::
View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/02/2023 10:57 pm
Post subject:
รถไฟสายแรกของไทย ทางรถไฟสายปากน้ำ..พาทัวร์หอชมเมือง
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Feb 24, 2023
https://www.youtube.com/watch?v=hHDxOT9Onp0
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/10/2023 6:15 am
Post subject:
นักเขียนซีไรต์ชี้ถ้าไม่มีทหาร-สถาบัน ป่านนี้เราคงพูดภาษาอื่น
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, October 24, 2023 04:58
วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เขียนบทความ "23 ตุลารำลึก ลุกขึ้นมาจับดาบต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของตน" เนื่องในวันปิยมหาราช ชี้หากไม่มีทหาร ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ป่านนี้คนไทยคงพูดภาษาชาติอื่นกัน
วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และ นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเนื่องในวัน ปิยมหาราช เผยหากในอดีตไม่มีทหาร ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ปัจจุบันคนไทยคงพูดภาษาอื่นไปแล้ว ทั้งนี้ อดีตนักเขียนรางวัล ซีไรต์ได้ระบุข้อความว่า
"รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือห้วงยามที่ฝรั่งเศสกับอังกฤษรุกรานไทย หาเรื่องยึดครองประเทศตลอดเวลา
การล่าอาณานิคมของชาวยุโรปในภูมิภาคนี้ ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตระหนักความสำคัญของการคมนาคม เวลานั้นการเดินทาง ข้ามจังหวัดใช้เกวียนและเรือเป็นหลัก ในภาวะฉุกเฉินย่อมใช้รับมือศัตรูไม่ทันการ
ไทยต้องปรับตัวเรื่องการเดินทาง รถไฟอาจเป็นคำตอบทรงเห็นควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศ เพื่อจะติดต่อกับมณฑลชายแดนง่ายขึ้น ปกครองสะดวกขึ้น และยังสามารถดูแลสอดส่องผู้รุกรานได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย
รถไฟสายแรกเป็นของเอกชน กรุงเทพฯไปสมุทรปราการ (ทางรถไฟสายปากน้ำ) ระหว่างสถานีรถไฟหัวลำโพงกับสถานีรถไฟปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 21.3 กิโลเมตร โดยพระยาชลยุทธโยธินทร์ แม่ทัพเรือคนหนึ่งของกองทัพเรือสยามชาวเดนมาร์ก(ชื่อเดิม อองเดร รีเชอลีเยอ Andreas Richelieu) ทางรถไฟสายนี้มีวิศวกรเดินรถชื่อ ร้อยเอก ที. เอ. ก็อตเช (T.A. Gottsche) ทหารชาวเดนมาร์ก ได้รับการชักชวนจากพระยาชลยุทธโยธิน มาช่วยกิจการทหารเรือในสมัยรัชกาลที่ ๕
ก็อตเชเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทรในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์(เสียงพ้องกับ Gottsche) เป็นฝรั่งที่อยู่เมืองไทยนานจนกลายเป็นคนไทยไปแล้ว ตั้งรกรากในเมืองไทย
สามเดือนหลังจากเปิดรถไฟสายปากน้ำ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) กองเรือรบฝรั่งเศสแล่นถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ทหารไทยสู้ฝรั่งเศสจมเรือปืนฝ่ายสยามได้หนึ่งลำ แต่เรือ ฌอง บัปติสต์ เซย์ ถูกปืนใหญ่สยามยิงเกยตื้นที่แหลมลำพูราย ทหารไทยเสียชีวิตแปดคน บาดเจ็บสี่สิบคน ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิตสามคน บาดเจ็บสามคน
เรือแองกองสตองต์และโกแมตแล่นฝ่าปราการต่างๆ เข้ามาได้ ทั้งสองลำแล่นฝ่ากระสุนไปจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถนนเจริญกรุง จ่อปืนใหญ่ไปที่พระบรมมหาราชวัง แล้วยื่นคำขาดหกข้อต่อรัฐบาลสยาม ให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง
หนึ่งในหกข้อคือสยามต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อฝรั่งเศสเป็นเงินสองล้านฟรังก์
สยามจ่ายเงินให้ฝรั่งเศสก้อนหนึ่งชำระด้วยเหรียญนกจากท้องพระคลังจำนวน 801,282 เหรียญ หนักถึง 23 ตัน
เหรียญนกก็คือเงินถุงแดงที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสะสมไว้ซื้อเอกราชให้ประเทศ
เจ้าหน้าที่ขนเหรียญนกออกจากวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือที่ท่าราชวรดิฐตลอดวันตลอดคืน
บันทึกฝรั่งเศสเขียนว่า "ด้วยนายทหารฝรั่งเศสเพียง 50 นาย ทหารญวน 150 นาย และผู้เชี่ยวชาญทางปืนใหญ่อีก 4-5 นาย ก็สามารถยึดสยามทั้งประเทศไว้ได้สำเร็จ"
แต่ฝรั่งเศสไม่พอใจแค่นั้น ขอเพิ่มเติมเงื่อนไขคือ ขอยึดปากน้ำ และเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายครบ
ฝ่ายไทยก็ต้องยอมรับอีก
สยามสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่ รวมเนื้อที่ประมาณ 143,800 ตารางกิโลเมตร
การเสียดินแดนสยามจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง
จนทรงพระประชวร
นายช่างเยอรมัน ลูอิส ไวเลอร์ ที่มาทำงานรถไฟในไทย บันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า เวลานั้นคนไทยเกลียดชาวฝรั่งเศส เพราะคิดกลืนกินดินแดนไทย หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในตังเกี๋ย เขียนใส่ร้ายคนไทย รวมถึงพฤติกรรมของพวกทูตฝรั่งเศสใน สยาม ทำให้ไม่เพียงคนไทยไม่ชอบคนฝรั่งเศส พวกยุโรปชาติอื่นๆก็ไม่ชอบเช่นกัน
บันทึกของ ลูอิส ไวเลอร์ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2451 เขียนว่า "ชาวสยามเป็นชนชาติที่รักสงบมากที่สุดในโลกอย่างไม่น่า สงสัย แต่ทว่าผมจะไม่ประหลาดใจเลยหากชาวสยามจะลุกขึ้นมาจับดาบต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของตน ภายหลังจากที่ประเทศสยามค่อยๆ ถูกตัดแบ่งออกไปเรื่อยๆ ตั้งแต่สิบห้าปีมาแล้ว" (จากหนังสือกำเนิดการรถไฟในประเทศไทย ลูอิส ไวเลอร์ เขียน แปลโดย ถนอมนวล โอเจริญ และ วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์)
วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตระหนักว่า ไม่มีผู้ใดช่วยเราได้ มีแต่มหาอำนาจหลายชาติต้องการกินเรา เราต้องมีแผนการที่ดีเพื่อรักษาเอกราชของชาติ
ทางหนึ่งคือการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เป้าหมายเพื่อหาพันธมิตรมาคานอำนาจศัตรู ก็คือซาร์ นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย
อีกทางหนึ่งคือปรับปรุงทางรถไฟของสยามให้ดีขึ้น พร้อมรับมือกับข้าศึกได้ทุกเมื่อ
เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนแผน เลือกสร้างสายอีสานก่อน เพราะเรื่องยุทธศาสตร์ เส้นทางจากกรุงเทพฯไปแม่น้ำโขงจำต้องผ่านโคราช
ฝ่ายไทยโชคดีมากที่ได้ คาร์ล เบธเกอ และนายช่างเยอรมันหลายคนมาทำงานนี้ รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินไปดูการสร้างรถไฟเสมอ
รถไฟสายอีสานแล้วเสร็จในปี 2443 รวมระยะทางทั้งสาย 265 กิโลเมตร หลังจากนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างทางรถไฟสายอื่นๆ ต่อไป เช่น ทางรถไฟสายเหนือจากชุมทางบ้านภาชีถึงเชียงใหม่ ระยะทาง 661 กม. เสร็จในรัชกาลต่อมา
ทรงมีวิสัยทัศน์ไกลจะต่อสู้กับอำนาจมารนอกประเทศ ต้อง เตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก ทั้งทางทหาร การเมืองระหว่างประเทศ การคมนาคม ไปจนถึงการปฏิรูประบบต่างๆ
ทหารมีไว้ทำไม กษัตริย์มีไว้ทำไม หากไม่มี ป่านนี้คนไทยคงพูดภาษาฝรั่งเศสกัน" .
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2566
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/11/2023 8:34 am
Post subject:
สถานีศาลาแดง
ปริญญา ตรีน้อยใส
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 พฤศจิกายน 2566
คอลัมน์ มองบ้านมองเมือง
ผู้เขียน ปริญญา ตรีน้อยใส
เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
สําหรับคนเจนใหม่ ที่ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีทันสมัยและรวดเร็วนั้น จะไม่รู้ที่มาที่ไปสถานที่ต่างๆ ที่ผ่านไปมาทุกวัน
เหมือนผู้คนจำนวนมากที่เดินทางผ่าน สถานีศาลาแดง สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย MRT
ซึ่งมีทางเชื่อมลอยฟ้ากับ สถานีสีลม สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติหกรอบพระชนมพรรษา สายสีเขียวเข้ม ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTS
โดยไม่รู้ว่าตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟใต้ดินสีลมนั้น น่าจะชื่อสถานีศาลาแดง เพราะอยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกับสถานีศาลาแดง ของทางรถไฟกรุงเทพฯ-ปากน้ำ ทางรถไฟสายแรกของไทย ที่เคยพาไปมองต่อเนื่องมาสองสามฉบับแล้ว
เนื่องจากทางรถไฟสายปากน้ำ ผ่านคลองขวางหรือคลองสีลม ที่จะไปถึงย่านบางรัก แหล่งร้านค้าและที่อยู่อาศัย จึงมีสถานีให้คนขึ้นลงเพื่อต่อเรือไปบางรัก
บังเอิญว่าเมื่อตอนที่ขุดคลองถนนตรงนั้น เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี สร้างศาลาริมคลองไว้สำหรับคนพักระหว่างเดินทาง คงเหมือนกับ ศาลายา หรือ ศาลาธรรมสพน์ ที่อยู่ริมคลองภาษีเจริญ
บังเอิญว่าศาลาแห่งนี้มุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีแดง ผู้คนเลยเรียกขานกันว่า ศาลาแดง จนกลายเป็นจุดอ้างอิงของคนในพื้นที่ กลายเป็นชื่อย่าน ก่อนที่จะกลายเป็นนามสถานีรถไฟสายปากน้ำ และสถานีรถไฟในปัจจุบัน
จากสถานีรถไฟศาลาแดง ที่เดิมอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เดินทางตามคลองขวาง (สีลม) ไปยังย่านพักอาศัยบางรัก ร้านค้าริมถนนเจริญกรุง และโกดัง โรงเลื่อย โรงสี และท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา
กลายมาเป็นสถานีรถไฟฟ้าสีลม ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เดินทางไปยังย่านธุรกิจและบริการบนถนนสีลม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สวนสาธารณะลุมพินี
และอื่นๆ ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ
คงเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้ศาลาหลังคาสีแดง ที่อยู่ริมคลองหายไป รวมทั้งคลองถนนตรงและคลองขวางหายไป
กลายเป็นสี่แยกศาลาแดงของถนนพระรามที่สี่ ถนนสีลม และถนนราชดำริ ที่การจราจรหนาแน่นตลอดทั้งวัน ผนวกรวมกับผู้สัญจรผ่านทางระบบขนส่งมวลชน
ระบบรางสองสาย คือ รถไฟฟ้าลอยฟ้าบีทีเอส และรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ที
กลายเป็นความวุ่นวายโกลาหลทั้งเช้าเย็น จนไม่มีใครรับรู้หรือสนใจว่าทำไมเรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า ศาลาแดง
มองบ้านมองเมือง | ปริญญา ตรีน้อยใส
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 15/02/2024 1:19 pm
Post subject:
SUNA - สุนา
15 ก.พ. 67 10:07 น.
ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ชื่อนี้ชวนเอะใจว่ามีแต่ถนนตลอดเส้นทาง แล้วรถไฟอยู่ที่ไหน? แล้วทำไมต้องปากน้ำ?
.
นักสืบสุนามาไขข้อสงสัย ด้วยการออกไปสำรวจถนนชื่อยาวที่ตัดผ่านย่านสุขุมวิท-บางนา แกะรอยถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ว่ามีที่มาอย่างไร รางรถไฟที่เคยเห็นตอนขับผ่านถนนเส้นนี้เป็นของจริงไหม และประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายปากน้ำที่หยุดแล่นมากว่า 60 ปี วันนี้ยังเหลือร่องรอยของทางรถไฟสายเก่าอะไรให้เราได้ติดตามอยู่บ้าง
.
ระหว่างขับรถตะลอนจากคลองเตย ไปลงเอยที่สมุทรปราการ เราเจออะไรบ้าง โพสต์นี้เก็บข้อมูลมาฝากแบบเต็มๆ
https://www.facebook.com/SUNAneighbourmove/posts/374277202019566
Back to top
Display posts from previous:
All Posts
1 Day
7 Days
2 Weeks
1 Month
3 Months
6 Months
1 Year
Oldest First
Newest First
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
All times are GMT + 7 Hours
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
...
11
,
12
,
13
Page
13
of
13
Share
|
Jump to:
Select a forum
General
----------------
ข้อตกลงและข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์ฯ
สัพเพเหระ
พักผ่อนหย่อนใจ
ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
Member's Zone
----------------
กำหนดตารางนัดหมาย
บทความ, เรื่องสั้นพิเศษ และทริปพิเศษ
คำถามเด็ดแฟนพันธุ์แท้รถไฟไทย
ซื้อขาย/แลกเปลี่ยน
กิจกรรมร่วมสนุก
สภากาแฟ
ภาพ/วิดีโอรถไฟไทยจากผลงานของสมาชิก
ทริปตะลอนทัวร์สไตล์รถไฟไทยดอทคอม
สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
Railway of Thailand
----------------
เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
Electrical Railways of Thailand
----------------
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
Foreign Zone (English Language Only)
----------------
General Topics
State Railway of Thailand/Thai Rail Fans
World Railways
----------------
เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
ภาพรถไฟต่างประเทศ
ภาพประสบการณ์เดินทางกับรถไฟต่างประเทศ
Railway Games & Models
----------------
Railway Games & Train Simulator
Railway Models
Problems & Support
----------------
Problems, Bugs & Helpdesk
You
cannot
post new topics in this forum
You
cannot
reply to topics in this forum
You
cannot
edit your posts in this forum
You
cannot
delete your posts in this forum
You
cannot
vote in polls in this forum
Powered by
phpBB
© 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©