Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311651
ทั่วไป:13405090
ทั้งหมด:13716741
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 535, 536, 537 ... 559, 560, 561  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2024 6:50 am    Post subject: Reply with quote

เคาะ EIA ไฮสปีด 'ไทย-จีน'เฟสที่ 2 เร่งศึกษาออกแบบ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, February 20, 2024 02:40

คชก.เคาะEIAไฮสปีด'ไทย-จีน'เฟส2 'นครราชสีมา-หนองคาย' รฟท.ตั้งงบ150ล.ลุยออกแบบสร้างสะพานใหม่เชื่อมสปป.ลาว

ผู้จัดการรายวัน360 - EIA รถไฟไทย-จีนเฟส 2 (นครราชสีมาหนองคาย) ผ่าน คชก.แล้ว รอลุ้น สผ.ชุดใหญ่ กรมรางเผย แบบมีแล้วคาดชง ครม.ในปีนี้ เดินหน้า ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เชื่อม "ไทย-ลาว" รฟท.ตั้งงบ 150 ล้านบาท ศึกษาออกแบบรับรถไฟ 1 เมตรและไฮสปีด ประเมินค่าก่อสร้างกว่า 8.9 พันล้านบาท เริ่มสร้างปี70

ผู้จัดการรายวัน360 - EIA รถไฟไทย-จีนเฟส 2 (นครราชสีมา-หนองคาย) ผ่าน คชก.แล้ว รอลุ้นสผ.ชุดใหญ่ กรมรางเผย แบบมีแล้วคาดชงครม. ในปีนี้เดินหน้า ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เชื่อม "ไทย-ลาว" รฟท.ตั้งงบ 150 ล้านบาท ศึกษาออกแบบรับรถไฟ1 เมตรและไฮสปีด ประเมินค่าก่อสร้างกว่า 8.9 พันล้านบาท เริ่มสร้างปี70

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครง การความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ว่า ในส่วนโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ระยะทางประมาณ 356.01 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันการออกแบบงานโยธาเสร็จเรียบ ร้อย โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2567 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้าง พื้นฐานทางบก และทางอากาศ (คชก.) ได้ให้ความ เห็นชอบ รายงาน EIA แล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) อนุมัติต่อไป ขณะที่คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการได้ในปี 2567

ส่วนการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างไทยสปป.ลาว ซึ่งจะมีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) แห่งที่ 2 นั้น ที่ผ่านมากรมทางหลวง(ทล.) ได้ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นไว้แล้ว โดยจะเป็นการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ข้ามแม่น้ำโขง ห่างจากสะพานเดิมไปทางด้านขวา ประมาณ 30 เมตร หรืออยู่ท้ายน้ำของสะพานเดิม แต่เนื่องจากสปป.ลาวได้มีการเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลใหม่ จึงต้องประสานข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) จัดส่งข้อมูลผลการศึกษาไปยังรัฐบาลสปป.ลาวชุดใหม่แล้วคาดว่า จะมีการหารือกันอย่างเป็นทางการต่อไป

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากผลการศึกษา ความเหมาะสมฯ โครง การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย- เวียงจันทน์) แห่งที่2 นั้น จะเป็นสะพานรองรับรถไฟ ประกอบด้วย ขนาดทาง 1 เมตร เชื่อมจากสถานีหนองคาย-สถานีท่านาแล้ง และรางรถไฟขนาดมาตรฐาน(standard Gauge) จากสถานีหนองคาย-สถานีเวียงจันทน์, ปรับปรุงสะพานปัจจุบันให้เป็นสะพานรถยนต์อย่างเดียว ดำเนินการปี 2565-2572 และอนาคตก่อสร้างสะพานใหม่ รองรับรถยนต์ ขนาด 2 ช่องจราจร

โดยประเมินวงเงินค่าก่อสร้างสะพานใหม่รองรับรถไฟ ขนาดทาง 1 เมตร และรางรถไฟขนาดมาตรฐานประมาณ 8,950.503 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างจัดทำ TOR และกำหนดราคาราง เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียด ประมาณการราคา จัดทำเอกสารประกวดราคา และจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรอบวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษารวม 125 ล้านบาท(ตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 25 ล้านบาท ปี 2568 จำนวน 100 ล้านบาท)

มีขอบเขตคือ ทบทวนการศึกษาและออกแบบที่มี, พิจารณาการเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ชุมชน ในรัศมี 2 กม., ออกแบบรายละเอียดสะพานข้ามแม่น้ำโขงให้สอดคล้องกับมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน ,ตรวจสอบและจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงสะพานปัจจุบันให้เป็นสะพานรถยนต์อย่างเดียว, จัดทำรายงาน EIA, วิเคราะห์ผลตอบแทน EIRR และ FIRR รวมถึงประสานกับหน่วยงานของสปป.ลาว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการออกแบบ

ตามแผนงานใช้เวลาออกแบบรายละเอียด 12 เดือน (พ.ค.67-เม.ย. 68) พิจารณารายงาน EIA 18 เดือน (พ.ค.68-ต.ค.69) ขออนุมัติโครงการ 6 เดือน(พ.ค.69-ต.ค.69) เวนคืนที่ดิน 18 เดือน (พ.ย.69-พ.ค.70) ประกวดราคา 7 เดือน (พ.ย.69-พ.ค.70) ก่อสร้างงานโยธา 36 เดือน (มิ.ย. 70-พ.ค. 73) ติดตั้งระบบ 36 เดือน (ธ.ค.70-พ.ย. 73)

รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้า โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา- หนองคาย ระยะทาง 250.77 กม. (ทางยกระดับ 188.68 กม. ทางระดับดิน 54.09 กม. อุโมงค์ 8 กม.) วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 1 แห่งที่ เชียงรากน้อย งานโยธามีความก้าวหน้าภาพรวม 30.96 % (ข้อมูล ณ 25 ม.ค. 67) คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2571

โดยมี 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 2 สัญญา คือ สัญญา 1-1 กลางดง-ปางอโศก และสัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดงและช่วงปางอโศก-บันไดม้า (30.21 กม.) ผลงาน 00.00 % สัญญา 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง (12.23 กม.) ผลงาน 53.51%

สัญญา 3-3 บันไดม้า-ลำตะคอง (21.60 กม.) ผลงาน 43.87% สัญญา 3-4 ลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โครกกรวด (37.45 กม.) ผลงาน 72.43% สัญญา 3-5 โคกกรวด-นครราชสีมา (12.38 กม.) ผลงาน 05.87% สัญญา 4-2 ดอนเมือง-นวนคร (21.80 กม.) ผลงาน 0.27% สัญญา 4-3 นวนคร-บ้านโพ(23.00 กม.) ผลงาน 26.25% สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผลงาน03.98% สัญญา 4-6 พระแก้ว-สระบุรี (31.60 กม.) ผลงาน 0.56% สัญญา 4-7 สระบุรีแก่งคอย (12.99 กม.) ผลงาน 50.40%

ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง(15.21 กม.) ติดประเด็นการดำเนินการกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินปัจจุบัน รฟท. และ EEC อยู่ระหว่างการเร่งรัดการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน(NTP) และ สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว (13.30 กม.) ติดประเด็นสถานีอยุธยา โดยเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 66 คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (บอร์ดรฟท.) อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ปัจจุบันอัยการสูงสุดได้พิจารณาตรวจสอบร่างเงื่อนไขสัญญา ปัจจุบันอยู่ระหว่าง รฟท. พิจารณาเพื่อลงนามสัญญาโดยมีกำหนดยืนราคาภายในเดือน ก.พ. 2567.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 20 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2024 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน BOI ยื่นคำขาดหลังยื้อมานาน ย้อนดูสัญญาที่มีแต่ข้อต่อรองมาตลอด
Nimda Variety
Feb 20, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=fnzy3Hjt_M4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2024 6:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยืนกรานต้องสร้างสถานีอยุธยา
Source - เดลินิวส์
Wednesday, February 21, 2024 04:10

แม้สผ.ตีกลับHIAให้เพิ่มทางเลือก

ปัญหายืดเยื้อ7ปีได้งาน30.95%

"ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" รายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้มอบให้มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะผู้รับจ้างจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แก้ไขรายงานฯ ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ส่งกลับมา รฟท. เพื่อให้ปรับเพิ่มทางเลือกการสร้างสถานีอยุธยา ซึ่งเป็นงานอยู่ในสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร (กม.) โดยทาง สผ. มองว่า รฟท. ระบุทางเลือกน้อยไป เหมือนต้องการให้สร้างสถานีอยุธยาเพียงอย่างเดียว

เบื้องต้น รฟท. จะยืนยันรายงานฯ กลับไปว่า ต้องสร้างสถานีอยุธยา เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างตั้งอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม และมีระยะห่างจากพื้นที่แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาประมาณ 1.5 กม. การก่อสร้างไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อโบราณสถาน หรือทัศนียภาพในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์แน่นอน โดยคาดว่าจะเสนอ สผ. ในฐานะเลขานุการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และกรมศิลปากร ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม พิจารณา หากเห็นชอบจะเสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณา ก่อนเสนอองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสต่อไป

ปัจจุบัน รฟท. ยังไม่ลงนามสัญญาที่ 4-5 วงเงิน 10,325 ล้านบาท กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้าง เนื่องจากเอกชนยังขอหารือภายในของบริษัทฯ ก่อนอีกประมาณ 1 เดือน เนื่องจากยังมีข้อกังวลเรื่องต้นทุนทางการเงิน เพราะสัญญานี้ค่อนข้างแตกต่างจากสัญญาอื่น ๆ ที่ให้สร้างทางวิ่งไปก่อน และเว้นสถานีอยุธยาไว้สร้างทีหลัง เบื้องต้นบริษัทฯ ยังคงยืนราคาเดิมถึงเดือนก.พ.โดยคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค.67 จากนั้น รฟท. จะออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) เพื่อก่อสร้างต่อไป แม้ว่ารายงาน HIA ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ควบคู่กับการก่อสร้างได้

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 60 ภาพรวมคืบหน้า 30.95% ล่าช้า 51.55% สร้างเสร็จ 100% 2 สัญญาคือสัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.สำหรับสัญญาที่ยังมีปัญหา อาทิ สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. คืบหน้า 5.87% มีปัญหาชาวบ้านอยากให้สร้างบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ ระยะทางประมาณ 7 กม. เป็นทางยกระดับแทนทางระดับดิน คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. พิจารณาเดือน มี.ค.67 โดยปรับเป็นยกระดับใช้งบประมาณเพิ่มอีกกว่า 4,000 ล้านบาท จากเดิม 7,750 ล้านบาท

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทาง 10 กม. ต้องรอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินฯ จบก่อน เบื้องต้นได้ข้อสรุปแล้ว อยู่ระหว่างหารือการก่อสร้างโครงสร้างทับซ้อนกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญา แนวโน้มจะให้ซีพีเป็นผู้ก่อสร้าง ตามแผนที่ปรับใหม่ล่าสุดจะเปิดบริการรถไฟไฮสปีด สายแรกของไทยปี 71.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)

สผ.ไม่ผ่านรายงาน“HIAสถานีอยุธยา”ตีกลับรฟท.
*ให้เพิ่มทางเลือกมากกว่าการก่อสร้างสถานี
*รฟท.ยืนกรานต้องสร้างสถานีอยุธยาเท่านั้น
*ปัญหาไฮสปีดยืดเยื้อ7ปีผลงานพึ่งแตะ30%
*ทำทางวิ่งไปก่อนบุญชัยฯเคลียร์ตัวเองไม่จบ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/941878014056100
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2024 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ลุ้นเดดไลน์บัตรส่งเสริม BOI
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 - 07:38 น.

“พฤษภาคม” เส้นตาย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังโครงการยืดเยื้อนานถึง 4 ปีก่อสร้างไม่คืบหน้า เปิด 4 ข้อเสนอ “เอเชีย เอรา วัน” ขอแก้ไขสัญญาร่วมทุน เปิดทางหากเจรจาไม่สำเร็จ อาจนำไปสู่การตัดเงื่อนไขต้องได้บัตรส่งเสริมการลงทุนจึงจะออกหนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง (NTP) จากสัญญาร่วมทุนได้หรือไม่ วัดใจบริษัทจะทำต่อหรือเลิกทำ เหตุเป็นโครงการหลักส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนใน EEC ต่อเนื่อง ทั้งสนามบินอู่ตะเภา กับเมืองการบินภาคตะวันออก

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 224,544 ล้านบาท แม้จะมีการลงนามในสัญญาร่วมทุนระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน ในฐานะเอกชนคู่สัญญามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564

แต่จนแล้วจนรอด โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก็ยังไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อเริ่มการก่อสร้างงานโยธาได้ ทั้ง ๆ ที่ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีมติให้การส่งเสริมการลงทุนกับบริษัท เอเชีย อารา วัน ไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 แต่บริษัทได้ขอขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมมาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด BOI ได้รับพิจารณาอุทธรณ์ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน เป็นครั้งที่ 3 และมีมติให้ขยายเวลาการออกบัตรส่งเสริมให้จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ถือเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะยกเลิกการส่งเสริมการลงทุนโครงการนี้

ทั้งนี้การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่ ร.ฟ.ท.จะออก หนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP หรือ Notice to Proceed) ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการเริ่มก่อสร้างโครงการ โดยระบุไว้ในสัญญาร่วมทุนที่ว่า จะต้องมี บัตรส่งเสริมการลงทุน มาแสดง ร.ฟ.ท.จึงจะออก NIP ได้ ดังนั้นการไม่มายื่นเอกสารการดำเนินการของบริษัทเพื่อออก “บัตรส่งเสริมการลงทุน” จึงเป็นเหตุให้โครงการไม่มีความคืบหน้าทางด้านงานโยธามาตลอดระยะเวลา 4 ปีเต็ม

ขยายออกบัตรครั้งสุดท้าย

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้รับการขยายเวลาการออก บัตรส่งเสริมการลงทุน เป็นรอบที่ 3 จาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไปแล้ว จนถึงเดือนพฤษภาคม 2567 “ถือเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว” หากโครงการรถไฟความเร็วสูงโครงการนี้ยังไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ หรือโครงการเลยกรอบระยะเวลาที่จะต้องลงทุนไปมาก “มันก็ไม่สามาารถไปต่อได้”

“รถไฟความเร็วสูงจะช่วยให้โปรเจ็กต์อื่น ๆ อย่างกรณีสนามบินการเดินทางไปอู่ตะเภา ไปภาคตะวันออกจากกรุงเทพฯถึงภายใน 1 ชั่วโมง เป็นเรื่องการพัฒนาระบบขนส่ง การเข้าถึงในพื้นที่ภาคตะวันออกได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่มีรถไฟความเร็วสูงก็จะต้องใช้เวลาการเดินทางมากขึ้น ถึงใช้ถนนใช้มอเตอร์เวย์ก็ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง มันจึงเป็นระบบคมนาคมขนส่งที่ทําให้การเดินทางเชื่อมต่อสะดวกขึ้น”

ที่ผ่านมา สกพอ.หารือกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน มาตลอดว่า “ติดขัดอะไรจะทำต่อมั้ย” เขาก็แจ้งว่า กำลังเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาร่วมทุน อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริษัทก็ยื่นข้อสนอเข้ามา มีประเด็นที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาบางอย่าง ภาระหน้าที่บางอย่างที่บริษัททำไม่ได้ เนื่องจากว่า โปรเจ็กต์มันอาจจะไม่มีความเป็นไปได้ของโครงการ สถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมือนกับตอนที่บริษัทชนะประมูลมา ทั้งจากสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้นบริษัทก็เลยพยายามอยากจะปรับในบางส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตามสัญญาร่วมทุน

“ทั้งหมดนี้เราเจรจากันมาตลอด แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ แต่ละฝ่ายไม่คืบเพราะที่ผ่านมาเราบอกว่า มันยังไม่ถึงขนาดนั้น ประเด็นก็คือ ตอนชนะประมูล เราก็มีกติกาเขียนไว้ในสัญญา เขาก็บอกว่า ทำได้ ทําได้หมดเลย พอมาถึงตอนนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนทั้งสภาพเศรษฐกิจ ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ก็จะมาแก้ไขสัญญาร่วมทุน” นายจุฬากล่าว

กระทบสนามบิน-เมืองการบิน

ต่อข้อถามที่ว่า การขยายเวลาขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการขีด “เส้นตาย” ให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน เริ่มต้นงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่นั้น นายจุฬากล่าวว่า “ยังไม่ถึงขนาดนั้น” เนื่องจากในกระบวนการก็ต้องมาหารือกันว่า สิ่งที่บริษัทต้องการคืออะไร ก็จะมีการเจรจากัน มีคณะบริหารสัญญา เข้าคณะกรรมการเข้าบอร์ดรถไฟ แต่การที่บริษัทไม่มีรายได้จากช่วงที่เกิดโควิด-19 ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ขอแก้สัญญา เพราะผลการศึกษาของบริษัทก่อนที่จะเข้าร่วมการประมูลได้ทำไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19

“ถ้าเราแก้ไขสัญญาตามที่บริษัทอยากจะได้ เขาก็ไปต่อ แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่า ถ้าเขาไม่ได้เขาจะไม่ไปต่อ ที่ขอแก้สัญญาก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับแอร์พอร์ตลิงก์ การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เร็วขึ้นเมื่อก่อสร้างเสร็จ หรือถ้ามีการก่อสร้างบางส่วนมีความก้าวหน้าแล้วให้ทยอยจ่ายเลย ซึ่งมันจะทําให้รัฐจ่ายเงินในภาพรวมมันลดน้อยลง 20% หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทต้องเจรจากับการรถไฟฯว่า จะรับเงื่อนไขนี้เหล่านี้ได้หรือไม่” นายจุฬากล่าว

ส่วนผลกระทบโครงการที่ล่าช้าออกไปนั้น นายจุฬากล่าวว่า จะส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานการลงทุนของ โครงการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในแง่ของจำนวนผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้บริการก็จะไม่เป็นไปตามแผนที่ศึกษากันไว้

“การที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไม่เริ่มทําซักทีก็จะกระทบกับโครงการต่อเนื่องอื่น ๆ อย่างที่คาดการณ์ว่า สนามบินเมื่อมีรถไฟเชื่อมเข้ามาปริมาณคนเข้ามาใช้บริการผ่านสนามบินอู่ตะเภา ก็จะเพิ่มมากขึ้น เพราะนั่งรถไฟความเร็วสูงไปอีกชั่วโมงเดียวก็ถึงกรุงเทพฯแล้ว ในส่วนตรงนี้ก็หายไป การบริการที่จะเปิดในสนามบินอู่ตะเภาก็จะหายไป ภาคบริการการท่องเที่ยวหายไป หรือกรณีที่มีการพัฒนาโดยรอบตามสถานีรถไฟความเร็วสูงที่วางเอาไว้ก็หายไปด้วยราคาที่ดินที่หลายคนที่คิดว่ารถไฟมาแล้ว มันจะมีมูลค่าสูงขึ้นก็อาจจะไม่เป็นไปตามนั้น มันกระทบกับการเติบโตเศรษฐกิจในพื้นที่ตามเส้นทางรถไฟ กระทบการเติบโตทางกายภาพของเมือง เพราะพอเกิดโครงการนี้ก็มีการลงทุนมารองรับ อย่างคอนโดฯหรือโครงการพัฒนาที่ดินต่าง ๆ” นายจุฬากล่าว

เปิดข้อเสนอเอเชีย เอรา วัน

มีรายงานข่าวเข้ามาว่า ข้อเสนอบริษัท เอเชีย เอรา วัน ขอแก้ไขสัญญาร่วมทุน ประกอบไปด้วย 1) แอร์พอร์ตลิงก์ ขอผ่อนจ่ายนานกว่าที่เคยตกลงกันไว้ หรือจาก 1 งวด 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด โดย 1-6 งวดละ 1,067 ล้านบาท และงวดที่ 7 ส่วนที่เหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 2) เงินค่าตอบแทนที่รัฐต้องจ่ายในปีที่ 6 หลังจากเริ่มวิ่งเดินรถไฟความเร็วสูงแล้ว ขอทยอยจ่ายได้หรือไม่ หรือสร้างไปจ่ายไป 3) การโอนทรัพย์สินจะให้เป็นของรัฐบาลเลย ในลักษณะส่วนที่ได้ก็ส่งมอบให้ รัฐจะได้ Asset คืนมาจากการจ่ายเงิน และ 4) อยากให้รัฐเตรียมการในกรณีที่อาจมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ขอให้ช่วยหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วย

“การยื่นเอกสาร บริษัท เอเชีย เอรา วัน ขอยืดมาเป็นปีแล้ว ดังนั้นการที่ BOI ยอมขยายระยะเวลาการยื่นเอกสารเพื่อรับบัตรส่งเสริมการลงทุน วัตถุประสงค์ก็คือ ต้องยื่นเอกสารรับบัตรส่งเสริมในเวลาไม่เกินวันที่ 22 พ.ค. เพราะ “ถ้าบริษัทไม่ยื่น โครงการก็ไปต่อไม่ได้” แหล่งข่าวจากอีอีซีกล่าว

ถึงตอนนั้น สกพอ. กับการรถไฟฯ จะมาพิจารณาต่อไปว่า สามารถที่จะออก “หนังสือให้เอกชนเริ่มดำเนินงาน (NTP) ได้หรือไม่” ตรงนี้อาจต้องมองไปที่ตัวเจตนาว่า จะทำหรือไม่ทำ “เราก็จะตัดในตัวสัญญาเรื่องบัตรส่งเสริมออกเพื่อที่จะกำหนดวันให้บริษัทเริ่มทำได้ก็คือ การบริหารสัญญาตามปกติ เหมือนกับว่า เราต้องดูพฤติกรรมว่า บริษัทจะได้ใช้ความพยายามที่จะดําเนินการให้มันเกิดความก้าวหน้าหรือไม่ สกพอ.ต้องบริหารสัญญาเองก็ต้องรู้ว่า จะเอายังไง เพราะมันเป็นเรื่องการดำเนินโครงการ ซึ่งการรถไฟฯเองก็เสียประโยชน์เหมือนกัน

“ตามสัญญาร่วมทุนเราจะเห็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเดินหน้าได้ก็ต่อเมื่อมีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน แต่หากบัตรส่งเสริมไม่ได้แล้วเพราะมันเป็นข้อกฎหมาย ข้อนั้นจะต้องสละไปได้หรือไม่ (แก้ไขสัญญาร่วมทุนในข้อนี้) ถ้าบริษัทไม่ยื่นเอกสารตามเวลาที่กำหนด บริษัทก็แค่จะไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตอนที่คุณมีรายได้จากการเดินรถไฟเข้ามา ตอนนี้จึงอยู่ที่ว่า จะทำต่อหรือไม่ทำโครงการต่อ ไม่ใช่เรื่องว่า จะเอาสิทธิประโยชน์จากใคร จาก BOI หรือ EEC จะยื่นที่ EEC หรือยื่น BOI ใหม่” แหล่งข่าวกล่าว

BOI รอ “เอรา วัน” ยื่นเอกสาร

ด้าน นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า หลังจากที่ทาง สกพอ.ได้แนะนำให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มายื่น “อุทธรณ์” ต่อ BOI เพื่อขอให้ “ทบทวนคำสั่ง” ไม่อนุมัติให้ขยายเวลาในการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมเป็นครั้งที่ 3 ทาง BOI ได้พิจารณารายละเอียดของเอกสารและเชิญบริษัท เอเชีย เอรา วัน มาหารือเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม

อีกทั้งยังได้ประชุมร่วมกับ สกพอ. และ ร.ฟ.ท. ในประเด็นความตั้งใจที่ของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ที่จะลงทุน “เพียงแต่บริษัทต้องการขอเวลาเพื่อหาทางออกเรื่องเงื่อนไขในสัญญาร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการ ก่อนที่จะยื่นขอออกบัตรส่งเสริม”

ดังนั้น BOI จึงเห็นว่า การขยายเวลาในการออกเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 จะช่วยให้ทั้ง สกพอ.กับ ร.ฟ.ท.มีระยะเวลาพอสมควรในการเจรจาหาข้อสรุปร่วมกัน (ในการแก้ไขสัญญาร่วมทุน) จึงได้ขยายระยะเวลาให้บริษัทอีก 4 เดือนนับจากวันที่ 22 มกราคม จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2567

“การขยายเวลาส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมของ BOI ไปจนถึงเดือนพฤษาคมนั้น หลักเกณฑ์วิธีการไม่มีอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ต้องยื่นเอกสารมาเพื่อขอออกบัตรส่งเสริมเท่านั้น ต่อคำถามถึงข้อเสนอของบริษัทล่าสุดในระหว่างการหารือเพื่อพิจารณาอุทธรณ์ อาทิ การขอรับการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกรณีโครงการขาดสภาพคล่อง การให้สร้างไปแล้วรัฐก็จ่ายค่าชดเชยไปแบบคู่ขนานนั้น น่าจะเป็นเงื่อนไขที่บริษัทอยู่ระหว่างเจรจาขอแก้ไขสัญญากับ ร.ฟ.ท. และ สกพอ. เพราะ BOI ไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขพิเศษอะไรให้กับบริษัทในการขยายระยะเวลาการส่งเอกสารเพื่ออกบัตรส่งเสริม ส่วนเรื่องซอฟต์โลนเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก และเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องดำเนินการ” นายนฤตม์กล่าว

อย่างไรก็ตาม การออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (ใบอนุญาตก่อสร้าง-NTP) นั้น จะต้องเป็นการออกโดย ร.ฟท. ซึ่งหากบริษัท เอเชีย เอรา วัน มีการทำตามเงื่อนไขครบ ได้แก่ มีการส่งมอบที่ดิน มีบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ทาง ร.ฟ.ท.ก็จะออก NTP ให้เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างได้ ซึ่งการยื่นขอ NTP อาจจะก่อนเดือนพฤษภาคมก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าทางบริษัทจะพร้อมยื่นเอกสารเมื่อไร ทาง BOI ก็สามารถออกบัตรได้ทันที ส่วนเรื่องการส่งมอบที่ดิน ต้องไปติดตามที่ ร.ฟ.ท.ว่า มีการดำเนินการเป็นอย่างไร แต่ครบเมื่อไรก็จะสามารถออกบัตร NTP ได้

อนึ่ง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ถือหุ้นมากสุด 70%) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2024 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าทางรถไฟความเร็วสูงช่วงสถานีบันไดม้าถึงสถานีปากช่องและรถไฟทางคู่ช่วงกลางดง-ปากช่อง
Anusorn jansiri
Feb 21, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=SwTEjrY96sc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2024 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

ปีนี้ 2567 แล้ว 🤭😁 ยังไม่ได้เริ่มเลย
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
สรุปจักรยานก็ไม่ได้ปั่น รถไฟก็ยังไม่ได้นั่ง
#สถานีมักกะสัน
https://www.facebook.com/xxChimericalxx/posts/828939545914078
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าทางรถไฟความเร็วสูงช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร
Anusorn jansiri
Feb 22, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=I8sXz4tLtoY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 11:08 am    Post subject: Reply with quote

‘เศรษฐา‘ โชว์วิสัยทัศน์ประเทศไทย ชู 8 โอกาสไทยผงาด ’ผู้นำเศรษฐกิจโลก‘
กรุงเทพธุรกิจ 21 ก.พ. 2567 เวลา 23:27 น.

"เศรษฐา" ขึ้นเวที "IGNITE THAILAND" ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision ที่ทำเนียบรัฐบาล มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก เคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต ครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว รักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน EV เทคโนโลยี และการเงิน
วันนี้ (22 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision ในงานGNITE THAILAND โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) หัวหน้าส่วนราชการ และสื่อมวลชนเข้ารับฟังกว่า 500 คน

นายเศรษฐากล่าวว่ารัฐบาลตั้งเป้าประเทศไทยจะก้าวไปเป็นที่ 1 ของภูมิภาค ด้วยข้อได้เปรียบของประเทศไทย ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดปี โครงสร้างที่พร้อมต่อยอด และที่สำคัญ คือ ศักยภาพของคนไทย

ประกาศเป็นฮับท่องเที่ยวอาเซียน
โดยวิสัยทัศน์แรก นายกฯ เศรษฐา ประกาศตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) เนื่องจากประเทศไทยมีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับคนไทยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร เนื่องจากรายได้หลักของคนไทยมาจากการท่องเที่ยว คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 70% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

‘เศรษฐา‘ โชว์วิสัยทัศน์ประเทศไทย ชู 8 โอกาสไทยผงาด ’ผู้นำเศรษฐกิจโลก‘

เฟ้นหา Soft Power ชูจุดขายเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย ให้โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม งานเทศกาล คอนเสิร์ต งานภาพยนตร์ งานศิลปะ อาหาร วัฒนธรรม และที่น่าจับตามองคือ กีฬา และศิลปะป้องกันตัว ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนไทย รวมถึงจะผลักดันบางจังหวัดให้เป็นมรดกโลก อย่าง จังหวัดน่าน และรัฐบาลจะเปิดอิสรภาพสู่การเดินทางระดับภูมิภาค อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ปลดล็อกทุกข้อจำกัด ข้อกังวลของการท่องเที่ยว ผ่านการเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวในหลายประเทศ อย่าง จีน คาซัคสถาน อินเดีย และไต้หวันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางในภูมิภาค และใน CLMV ประกอบไปด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม


หลังจากนี้การท่องเที่ยวในประเทศไทยจะต้องได้รับการส่งเสริมต่อยอดทุกรูปแบบ ทุกจังหวัด ทั้งเมืองหลัก เมืองรองต้องพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมทั้งแก้ไขกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคการท่องเที่ยว เช่น เวลาเปิดปิดของสถานบริการ

การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการแก้ไขภาษีสำหรับการจัดงานหรือแข่งขันต่าง ๆ รองรับการเป็น Homestay ของคนทั่วโลก โดยในแต่ละหน่วยงานของทุกพื้นที่จะต้องนำธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต สร้างเป็นจุดขาย และ อีกทั้งรัฐบาลปลดล็อกกฎระเบียบต่าง ๆ เอื้อให้ผู้จัดงานระดับโลก ให้สามารถเข้ามาจัดแสดงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต ภาพยนตร์ และงานศิลปะ เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะทำให้ทุกภาคส่วนทั้งโรงแรมชั้นนำ ที่พักของคนไทย ร้านอาหาร สินค้าพื้นบ้าน ของดีของเด่นประจำเมือง ตลอดจนสินค้าการเกษตรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

ไทยพร้อมศูนย์กลางการแพทย์
วิสัยทัศน์ที่ 2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) รัฐบาลจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก ด้วยเพราะระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งศาสตร์การดูแลสุขภาพแผนไทยที่มีชื่อเสียง บุคลากรที่มีคุณภาพและ Service Mind ทั้งยังสามารถดูแลได้ครอบคลุมตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยชรา และรักษาได้ทุกโรค ที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล จนกลายเป็นอีกจุดขายดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ สร้างเม็ดเงินได้กว่า 4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าพัฒนาระบบประกันสุขภาพของคนไทย จาก 30 บาทรักษาทุกโรค ยกระดับไปเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้คนไทยเข้าถึงระบบรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน ใช้ AI เชื่อมฐานข้อมูลทั้ง 77 จังหวัดด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว

ซึ่งในขณะนี้นำร่องไปแล้ว 4 จังหวัด และคาดว่าจะครบทุกจังหวัดในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้รัฐบาลจะเพิ่มจำนวนหมอ และพยาบาลให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งจะพัฒนาคุณภาพ ยกระดับชีวิตบุคลากรให้ดีกว่าเดิม และจะผลักดันการแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย สปาแผนไทย สมุนไพร รวมทั้งจะสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ทำใบรับรองประกาศนียบัตร และผลักดันให้ไปเปิดศูนย์ Wellness Center ได้ในต่างประเทศ

หวังศูนย์กลางอาหารเพิ่มรายได้เกษตรกร
วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) รัฐบาลจะยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน” ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก พร้อมเป็นครัวของโลกที่สามารถปรุงอาหารทุกประเภทส่งออกไปยังตลาดโลก ด้วยเพราะประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ มีอุตสาหกรรมที่ครบวงจรตั้งแต่การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การประมง การแปรรูป การปรุงอาหาร สูตรอาหาร จึงทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในเรื่องรสชาติที่มีความโดดเด่นอร่อยติดอันดับโลก มีร้านอาหารที่ได้รับตรามิชลินกว่า 196 ร้าน และมีร้านที่ได้รับดาวมิชลินกว่า 35 ร้าน

ซึ่งรัฐบาลจะเข้ามายกระดับเกษตรกรรม ส่งเสริมเกษตรกรไทย ให้มีรายได้มากขึ้น 3 เท่าใน 4 ปีของรัฐบาลนี้ ดูแลทั้งดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา ให้อุดมสมบูรณ์ และแหล่งชลประทานจะต้องขยายให้ครอบคลุม 40 ล้านไร่ ดูแลการเพาะปลูก Precision Agriculture การเลี้ยงสัตว์ และดูแลปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ไปพร้อม ๆ กัน สนับสนุนสินค้าเกษตรทั้งประเทศไปสู่ตลาดโลก ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นปัจจัยทางด้านอาหารของโลก และข้อมูลจากสำนักงานด้านประชากรขององค์การสหประชาชาติ ยังได้คาดการณ์ว่าในปี 2593 ทั่วโลกจะมีจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบ 10,000 ล้านคน ซึ่งมากกว่าในปัจจุบันเกือบ 2,000 ล้านคน เมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นก็ย่อมต้องการอาหารมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งไทยสามารถผลิตอาหารได้ตั้งแต่ต้นน้ำในภาคเกษตรกรรม จนไปถึงการแปรรูปส่งออกไปยังตลาดโลกได้ โดยรัฐบาลจะพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต การวิจัยพัฒนาอาหารโปรตีนสูงจากพืช ตลอดจนการพัฒนาอาหารที่แปลกใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นกระแสของตลาดโลกในอนาคต นอกจากนี้รัฐบาลจะยกระดับคุณภาพอาหาร ทั้งอาหาร Halal อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารชนิดพิเศษอื่น ๆ ตลอดจนรัฐบาลจะสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ไปเปิดร้านอาหารในต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ไทยกลายเป็นปัจจัย 4 ของโลกในด้านอาหาร

เตรียมประกาศแผนอัพเกรดสนามบิน
วิสัยทัศน์ที่ 4 ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลกให้เชื่อมถึงกัน ด้วยจุดแข็งทางภูมิศาสตร์รายล้อมไปด้วยประชากรกว่า 280 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของประชากรโลก และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว ทำงาน ในทุกระดับ ทุกราคาที่เลือกได้ รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาสนามบินให้รองรับการ Transit ของสายการบิน และเตรียมปรับเปลี่ยนเส้นทาง ตารางบินให้เหมาะสม เพื่อเพิ่ม Transit Capacity ให้สูงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีระยะทางไปยังศูนย์กลางทางเศรษฐกิจได้ทั่วโลกใกล้กว่าประเทศเพื่อนบ้าน มีสนามบิน ทั้งเมืองหลัก เมืองรอง ที่พร้อมเป็น Home-base และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเรื่องรันเวย์ อาคารผู้โดยการ คลังสินค้า สร้างระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) เพิ่มทรัพยากรบุคคล การตรวจความปลอดภัย เสริมคุณภาพการบริการทุกระดับ เพื่อเตรียมพร้อมจะเป็น Homeland ของสายการบินทั้งไทยและสายการบินนานาชาติ เพียบพร้อมไปด้วยศูนย์ดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จะทำให้ภาคบริการ ภาคการขนส่ง โรงแรม การท่องเที่ยว อาหาร สินค้าเกษตร เติบโตไปยังตลาดโลก

วิสัยทัศน์ที่ 5 ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพระบบคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ โดยรัฐบาลมีแผนจะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก ตั้งแต่การปรับปรุงสนามบินทั้งระบบ ขยายถนนทั้งถนนหลัก ถนนรอง ในปี ซึ่งภายในปี 2593 จะต้องขยายทางหลวง Motorway 10 เท่า จากปัจจุบัน 250 กิโลเมตร ให้เป็นเกือบ 2,500 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดิน 4 เลน จาก 20,000 กิโลเมตรให้เป็น 23,000 กิโลเมตร เชื่อมต่อตั้งแต่ชายแดนภาคเหนือที่ติดกับเมียนมาร์ สปป.ลาว เชื่อมต่อไปยังชายแดนไทย-มาเลเซีย ส่วนระบบราง จะพัฒนารถไฟรางคู่ เพิ่มระยะทางอีก 2,000 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ระบบรางระหว่างเมืองมีระยะทางรวม 5,500 กิโลเมตรภายในปี 2573 ในส่วนของระบบรถไฟฟ้าทั้งกรุงเทพฯ และภูมิภาคจะมีระยะทางเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า

ครอบคลุมเส้นทางเกือบ 700 กิโลเมตร มีรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสู่ 3 สนามบินและจะเชื่อมไปยังชายแดนหนองคายพร้อมทั้งเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง สำหรับส่งสินค้าจากอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมอาหาร เปิดตัวเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอาเซียน เชื่อมจีน ยุโรป และเป็นศูนย์กลางขนส่งผ่าน Land Bridge เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรอันดามัน-อ่าวไทย สร้างความสมดุลสู่ความมั่งคั่งเป็นตัวกลางการค้าระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก

ซึ่งการลงทุน Mega project ในครั้งนี้ จะเป็นการลงทุนใหญ่ในรอบ 20 ปี นอกจากโครงสร้างพื้นฐาน เราจะต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งหมด (One Stop Service) ไม่ให้ระบบราชการ ระบบเอกสาร เป็นคอขวดของการขนส่งทั้งคน ทั้งสินค้า เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของประเทศโดยเด็ดขาด บริษัทชั้นนำระดับโลก มาตั้งฐานการลงทุนในประเทศไทย และสร้างอาชีพ สร้างโอกาส สร้างรายได้


ดึงลงทุนรถ EV สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม
วิสัยทัศน์ที่ 6 ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) รัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต มีเป้าหมายจะได้แผนการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ได้หารือพูดคุยกับบริษัทยานยนต์ไปมากกว่า 10 ราย และมีการตอบรับจะลงทุนในประเทศไทยแล้วมากกว่า 150,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจของเราเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่เลือกไทยเป็นบ้านหลังที่ 2 ในวันนี้ที่อุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถ EV ประเทศไทยเราก็มีผลตอบรับที่ดี เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมในทุก Supply Chain มีผู้ผลิตชิ้นส่วน วิศวกร และ Programmer ที่มีศักยภาพ

รัฐบาลจึงมีแผนจะส่งเสริมอุตสาหกรรมรถ EV ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การค้นคว้าวิจัย การผลิตชิ้นส่วน ยางรถยนต์ แบตเตอร์รี่ อะไหล่ การประกอบ การบำรุงรักษา ทำให้เกิดเป็น Ecosystem ที่สมบูรณ์ในประเทศ พร้อมทั้งจะให้การสนับสนุนค่ายรถจากญี่ปุ่น ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจไทย ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยายนต์แห่งอนาคตได้ นอกจากนี้ รัฐบาลได้เตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างเช่น เครื่องยนต์ Hydrogen เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต

วิสัยทัศน์ที่ 7 ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Hub) รัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกันผ่านโมเดล Sandbox ซึ่งรัฐบาลจะมีเงินสนับสนุนบริษัทที่ต้องการผ่านกองทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และจะทำ Matching Fund เติมทุนให้กับบริษัทที่มีศักยภาพด้วย และในขณะเดียวก็เตรียมปรับกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการตั้งบริษัท การทำงาน การรับ - จ่ายเงินเดือน การถือครองทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย

นอกจากนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้บริษัทสามารถประกอบธุรกิจข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้จุดแข็งทางด้านการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้คนรุ่นใหม่ที่อยากจะร่วมงานกับบริษัทชั้นนำในระดับโลก ไม่ต้องย้ายไปอยู่ในต่างประเทศ และจะเป็นโอกาสให้คนไทยที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start Up สามารถสร้าง Unicorn ของตนเองต่อไป

หวังไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางการเงินภูมิภาค
และวิสัยทัศน์ที่ 8 ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) รัฐบาลตั้งเป้าจะเปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asia ขับเคลื่อนโดยระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน สร้างย่านการเงิน Wall Street ของอาเซียนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และพัฒนา Infrastructure รองรับระบบการเงินแห่งอนาคตขับเคลื่อนด้วย Blockchain ที่ไร้ตัวกลาง และเตรียมปลดล็อก Digital Asset ต่าง ๆ ให้สามารถแปลงเป็นผลผลิตในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ในโลกปัจจุบันให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลจะเริ่มพัฒนาระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน Carbon Credit Trading ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจำเป็นต้องมีหน่วยงาน กฎระเบียบ รองรับการก้าวไปสู่ยุคการเงินสมัยใหม่เช่นกัน

พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Foundation to Success) ที่จะทำทุกอย่างให้สำเร็จได้นั้น มีเป้าหมายอย่างเดียวคงไม่พอ การเป็นศูนย์กลางต่างๆ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนทุกคน เป้าหมายความเจริญทางเศรษฐกิจ จะต้องมาพร้อมกับการพัฒนาทางสังคมด้วยกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐ (Transparency) โครงสร้างพื้นที่ฐานที่จับต้องได้ และทางสังคมจะต้องมีการปรับปรุงด้วย และรัฐบาลจะอัปเกรดระบบงานของรัฐทั้งหมดขึ้นระบบ Cloud เพื่อให้บริการประชาชนได้เร็วยิ่งขึ้น และจะทำระบบ Application SDK มาตรฐานของรัฐ เปิดให้ทั้งภาคประชาชน และเอกชนเข้าใช้งานได้ Digital Wallet เองก็จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของรัฐนี้ ซึ่งอาจจะได้เห็น Start Up ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการใช้บริการจากภาครัฐ และรัฐบาลจะให้ความสำคัญในเรื่องของความเท่าเทียมกัน (Equality) ทั้งเพศสภาพ การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล

รองรับทั้งผู้สูงวัย ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง (Soft Power) พร้อมต่อยอด เปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ โดยไม่ละเลยอัตลักษณ์และตัวตน จนสามารถสร้างรายได้ให้ตนเอง โอกาสทางการศึกษา (Education) ที่จะต้องได้รับการพัฒนา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนา Content การทำ Play-based learning พร้อมทั้งผลักดันเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศได้ด้วย ไปจนถึงประเทศ ความปลอดภัย (Safe & Security) สังคมต้องปราศจากอาชญากรรม และยาเสพติดทุกรูปแบบ ประชาชนใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ พลังงานสะอาด (Green Society) ประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องเข้าถึงพลังงานสะอาดและราคาถูก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

“สุรพงษ์”แจงสส.อยุธยาถามปม”สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา”ยืนยันไม่กระทบมรดกโลก สร้างบนแนวรถไฟเดิม
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, February 22, 2024 19:19

“สุรพงษ์”แจงกระทู้สส.อยุธยา ปม”สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา”ยันไม่อยู่ในพื้นที่มรดกโลกไม่ส่งผลกระทบโบราณสถาน แบบก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม ไม่มีเวนคืน

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้ชี้แจง ตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ต่อสภาผู้แทนราษฎรในประเด็นปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงพระนครศรีอยุธยา ตามที่นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งกระทู้ถามแยกเฉพาะ โดยยืนยันว่าโครงการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อมรดกโลก และกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายสุรพงษ์ กล่าวชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) เพื่อลดข้อกังวลใจของ UNESCO และประชาชน โดยประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดทำรายงาน HIA มาก่อน ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตระหนักถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการเป็นมรดกโลก โดยขอยืนยันว่าสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNESCO แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กิโลเมตร และมีแม่น้ำป่าสักคั่นอยู่ ดังนั้นการขยายตัวของเมืองเข้าไปในเขตมรดกโลกจึงเป็นไปได้ยาก

นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ได้ยกตัวอย่างเมืองมรดกโลกอื่น ๆ ที่มีสถานีรถไฟอยู่ใกล้ เช่น วัดโทจิ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมรดกโลกมหาวิหารโคโลญ ประเทศเยอรมนี เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาสามารถอยู่ร่วมกับมรดกโลกได้ และอธิบายถึงแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ รองรับผู้โดยสาร รวมทั้งพัฒนาเส้นทางรถสาธารณะ และปรับปรุงระบบขนส่งรูปแบบใหม่ โดยสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยว มีพื้นที่จอดรถ พื้นที่สีเขียว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภูมิทัศน์รอบสถานีจะสวยงาม เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยว

โดยยืนยันว่าได้ดำเนินการศึกษาแนวทางปรับปรุงรูปแบบสถานี เพื่อลดผลกระทบต่อโบราณสถาน พร้อมทั้งดำเนินการตามผลการศึกษา ออกแบบรายละเอียด และมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาพื้นที่สถานีอยุธยาถือเป็นการพัฒนาบนแนวเส้นทางเดิม ไม่ได้ทำการเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด

ส่วนในกรณีประเด็นเรื่องทุนจากต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวว่าโครงการได้ดำเนินการจ้างโดยมีผู้รับจ้างเป็นบริษัทของไทย วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่ล้วนมาจากไทย และมีคณะผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างโปร่งใส และระบุอีกว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงอยุธยาถือเป็นโครงการพัฒนาที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐบาลมีแผนรองรับผลกระทบต่างๆ อย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2024 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีนวุ่น ติดหล่ม HIA สถานีอยุธยา รถไฟเร่งเคลียร์ ยันเดินหน้าต่อ
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 - 09:13 น.


วันที่ 22 กุมภาพันธ์ รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ทำหนังสือถึงรฟท. ให้ทำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรมหรือ Heritage Impact Assessment (HIA) ของสถานีอยุธยา ซึ่งเป็นเนื้องานอยู่ในสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ของโครงการถไฟความเร็งสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตามที่ยูเนสโกมีหนังสือให้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งมรดกโลก เป็นนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
https://www.youtube.com/watch?v=gB9Jc9JrN2k



“ทางสผ.ให้รฟท.ทำข้อมูลเพิ่มว่าเดิมมีกี่แนวเส้นทางเลือกและทำไมถึงเลือกเส้นทางนี้ เพราะรูปแบบรายงานที่ส่งไปนั้น ไม่เป็นไปตามที่ยูเนสโกแนะนำและให้ใส่ข้อมูลเพิ่มที่ตัดสินใจจะสร้างบนตำแหน่งเดิม ตามที่ออกแบบไว้แต่แรก เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา เนื่องจากที่ส่งไปสั้นเกินไป จึงให้ทำเสนอใหม่ ซึ่งรฟท.จะย้ำไปว่าเป็นแนวเส้นทางที่ประหยัดและมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจดีสุด ทั้งนี้สผ.ไม่ได้กำหนดว่าต้องแล้วเสร็จเมื่อไรเมื่อทำเสร็จแล้วต้องส่งให้ทางยูเนสโกพิจารณาต่อไป”รายงานข่าวกล่าว

รายงานข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตามเพื่อให้โครงการได้เดินหน้า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ รฟท.จะเซ็นสัญญาก่อสร้างกับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับเหมาสัญญา 4-5 มูลค่ากว่า 10,325 ล้านบาท จากนั้นออก NTP แจ้งให้เริ่มงานก่อสร้างโดยก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งไปก่อน เป็นทางยกระดับสูง 19 เมตร โดยอยู่ห่างจากพื้นที่มรดกโลกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ส่วนสถานีอยุธยารอจนกว่าผ่านHIA

รายงานข่าวกล่าวว่า สำหรับรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กิโลเมตร ใช้เงินก่อสร้าง 179,413 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้าง 14 สัญญา ซึ่งโครงการเริ่มเดินหน้าตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2560 ปัจจุบันงานก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 30% โดยสร้างเสร็จแล้ว 2 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรและช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร

ขณะนี้รอตรวจรับงาน อยู่ระหว่างสร้าง 10 สัญญา ยังไม่เริ่มสร้าง 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้วระยะทาง 13.3 กม. และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15.21 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็งสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ขณะที่การเวนคืนที่ดินไม่มีปัญหา รอสภาผู้แทนราษฏรอนุมัติงบประมาณ 1,000 ล้านบาทจ่ายค่าชดเชย และรอเคลียร์พื้นที่บางส่วน เช่น พื้นที่โคราช เชียงราก สระบุรี มวกเหล็ก ส่วนพื้นที่เกี่ยวข้องกับแผนงานหลักเคลียร์หมดแล้ว คาดว่าทั้งโครงการจะสร้างเสร็จภายในปี 2571

//------------------------------------


Last edited by Wisarut on 23/02/2024 4:19 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 535, 536, 537 ... 559, 560, 561  Next
Page 536 of 561

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©