RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311651
ทั่วไป:13405357
ทั้งหมด:13717008
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 537, 538, 539 ... 559, 560, 561  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2024 11:44 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. เร่งเคลียร์ไฮสปีด 'ไทย-จีน' ปรับแบบเป็นยกระดับ 'บ้านใหม่' ค่าก่อสร้างเพิ่ม 4.7 พันล้าน
ไทยโพสต์ 26 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11:25 น.

‘การรถไฟฯ’ อัปเดต 3 สัญญาเจ้าปัญหา โปรเจกต์ไฮสปีดไทย-จีน มูลค่า 1.79 แสนล้าน จ่อลงนามสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้วภายใน ก.พ.นี้ ปรับแบบสัญญา 3-5 บริเวณ ‘บ้านใหม่’ โคราช เคาะสร้างทางยกระดับ เตรียมเสนอคมนาคมเคาะไฟเขียว ก่อนชงบอร์ดอนุมัติอีกครั้ง

26 ก.พ. 2467 -นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาฃ 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 179,000 ล้านบาทว่า การรถไฟฯ เตรียมลงนามสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้างภายใน ก.พ. 2567 เนื่องจากบริษัทผู้รับจ้างได้ยืนราคา วงเงิน 10,325 ล้านบาทถึงสิ้นเดือน ก.พ.นี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทัน การรถไฟฯ ก็จะเจรจาขยายการยืนราคาออกไปได้อีกครั้งละ 1 เดือน หรือหากผู้รับจ้างไม่ยืนราคาแล้ว ก็จะต้องดำเนินการประกวดราคาใหม่

อย่างไรก็ตาม ขณะที่สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทางประมาณ 10 กม. นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งในเบื้องต้นจะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยจะใช้งบประมาณกว่า 9,000 ล้านบาท แลกกับข้อเสนอของภาคเอกชนประมาณ 3-4 ข้อ เช่น กระบวนการทางด้านโครงสร้างทางการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชน โดยคาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในกลาง มี.ค. 2567 และยืนยันว่า โครงการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ในส่วนของสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. วงเงินประมาณ 7,750 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ยังติดปัญหาไม่สามารถก่อสร้างบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ ระยะทางประมาณ 7.3 กม. ได้ เนื่องจากยังมีการร้องเรียนของชาวบ้าน โดยอยากให้เปลี่ยนจากการสร้างทางระดับดินเป็นทางยกระดับแทน ซึ่งล่าสุด การรถไฟฯ ได้ปรับแบบเป็นทางยกระดับ โดยจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในกรอบวงเงินรวม 1.79 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การรถไฟฯ เตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติ ก่อนจะนำกลับมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ อีกครั้งต่อไป


รฟท.ปรับแบบรถไฟไทย-จีนช่วงโคกกรวด-นครราชสีมาแก้ปัญหาล่าช้า ยันสร้างสถานีอยุธยาจุดเดิม
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Monday, February 26, 2024 18:04

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 ก.พ. 67)

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟท.ได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมาระยะทาง 250.77 กม. มีวงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาทโดยแบ่งเป็นค่างานโยธา 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 11 สัญญา ส่วนอีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม ซึ่งกรณี สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา มีประเด็นประชาชนในพื้นที่ ต.บ้านใหม่ จ.นครราชสีมา เรียกร้องให้ปรับรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ จากแบบเดิมที่เป็นทางระดับดิน โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง และได้สรุปใช้ทางเลือกที่ 4 คือเป็นทางยกระดับ ซึ่งมีวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มกว่า 4 พันล้านบาท แต่ยังอยู่ในกรอบวงเงินรวม 1.79 แสนล้านบาท และต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มประมาณ 2 ปี

ทั้งนี้ได้เสนอรายงานหารือไปยังกระทรวงคมนาคม พิจารณารับทราบแนวทางแล้ว หลังจากนี้จะชี้แจงและทำความเข้าใขกับประชาชนอีกครั้ง และเร่งนำเข้าเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ภายในเดือนมี.ค. 67 เพื่อขออนุมัติการปรับแบบและแก้ไขเปลี่ยนแปลง (Voriation Order : VO ) เป็นงานเพิ่มเติมและขอเพิ่มกรอบวงเงินในสัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมาต่อไป ซึ่งไม่ต้องเปิดประมูลใหม่

นายนิรุฒกล่าวถึงกรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีข้อสังเกต เรื่องการศึกษา รายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ในสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้วว่า รฟท.จะเร่งส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้สผ. ซึ่งข้อสังเกต เรื่องแนวทางอื่นๆ นั้น ต้องยืนยันว่า เมื่อปี 2559 รฟท.ได้มีการพิจารณาไว้ 5 แนวทางและได้มีการเลือกแนวทางที่ดีที่สุด มาดำเนินการศึกษารายละเอียด เพราะหากจะศึกษารายละเอียดทั้ง 5 แนวทาง จะมีค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลาเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อสผ.ต้องการรับทราบแนวทางอื่นรฟท.จะสรุปไปให้ สผ.รับทราบ เพราะเป็นข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว

สำหรับความเห็นที่ให้เปลี่ยนแนวเส้นทาง จะทำให้โครงการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากจะต้องศึกษาและวางแนวเส้นทางใหม่ และมีการเวนคืน ซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นไปไม่ได้ หรือความเห็นให้ขุดอุโมงค์ทางวิ่งใต้ดินนั้น มีประเด็นปัญหาหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องน้ำท่วม ทำให้แนวทางการยกระดับเส้นทางและสถานีเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ตอนนี้ โครงการก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้วและแนวทางที่รฟท.ศึกษาออกมานั้น เป็นไปตามขั้นตอนและไม่มีอะไรผิดกฎหมาย ส่วนข้อเสนอเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นความคิด ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการมูลค่าเกือบ 2 แสนล้านบาท ที่กำลังเดินหน้า

"กรณีย้ายสถานี ไปอยู่ที่บ้านม้า ซึ่งโครงการยังอยู่ในแนวเส้นทางเดิม รฟท.ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีรถไฟความเร็วสูงที่ไหน ไปจอดรับส่งที่กลางทุ่งนา ไกลชุมชนถึง 7 กม. ที่ผ่านมา ได้ปรับสถานีให้เล็กลงและปรับโครงสร้างทางให้ต่ำลงแล้ว ซึ่งเรื่อง HIA ไม่ได้มีผลบังคับทางกฎหมาย เราได้ทำตามที่มีข้อคิดเห็น"
สำหรับในส่วนของการก่อสร้าง ผู้ว่าฯรฟท.กล่าวว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะไม่มีปัญหา โดย สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม.นั้น อยู่ระหว่างเตรียม ลงนามสัญญา กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด เป็นผู้รับจ้างวงเงิน 10,325 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน ซึ่งทางเอกชน ยืนราคาถึงสิ้นเดือนก.พ.2567 อยู่ระหว่างการพิจารณาภายในของเอกชน หากยังไม่สามารถลงนามได้ทันภายในก.พ.นี้ ยังสามารถเจรจาเพื่อขยายการยืนราคาต่ออีก 1 เดือน ทั้งนี้ยอมรับว่า หากเอกชนไม่ยืนราคา รฟท.ก็ต้องเปิดประกวดราคาใหม่ ซึ่งต้องทำราคากลางใหม่ นอกจากค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นแล้วยังเสียเวลาอีก

"รฟท.พยายามผลักดัน เพื่อให้เริ่มก่อสร้างทางวิ่งในส่วนของสัญญา 4-5 ก่อน ส่วนสถานีอยุธยายังมีเวลาพิจารณารับฟังความเห็นและรอเรื่องมรดกโลกให้ได้ข้อยุติได้ เพราะไม่ต้องการให้โครงการล่าช้าไปกว่านี้ เพียงแต่สุดท้าย จะให้แวะสถานีอยุธยา หรือให้วิ่งผ่านไปเลยก็เท่านั้นเอง เราสร้างทางวิ่ง ไม่รอสรุปสถานี เพราะไม่รู้ปลายทางจะไปจบตรงไหน ซึ่งโครงการมี 6 สถานี คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ,สถานีดอนเมือง, สถานีอยุธยา,สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง, สถานีนครราชสีมา หากยังไม่มีสถานีอยุธยา ก็วิ่งผ่านไปก่อน"ผู้ว่าฯรฟท.กล่าว

โดย คคฦ/เสาวลักษณ์ อวยพร


ยืนยันชัด สถานีอยุธยาอยู่ห่างมรดกโลก 1.5 กิโล ไม่มีมุดไม่คืนพื้นที่ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
Max Puttipong
Feb 27, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=W3WGkWeCyeY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 8:05 am    Post subject: Reply with quote

ซีพี.ยื่นข้อเสนอใหม่ ทำโครงสร้างร่วม”ไทย-จีน”หัก 9 พันล้านจากค่าสิทธิ์'แอร์พอร์ตลิงก์'และค่าเช่า TOD มักกะสัน
ผู้จัดการออนไลน์ 28 ก.พ. 2567 07:21 น.

รฟท.เผยซี.พี.รับทำโครงสร้างร่วม”ไฮสปีด”ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองพ่วงข้อเสนอหักค่าก่อสร้าง”รถไฟไทย-จีน”สัญญา 4-1 วงเงิน 9 พันล้านบาทกับค่าสิทธิ์”แอร์พอร์ตลิงก์”และค่าเช่าTOD มักกะสัน รัฐไม่ต้องควักกระเป๋า ขีดเส้นมี.ค.นี้ เจรจารายละเอียดยุติ ลุ้นบีโอไอจบ ออก NTP ย้ำยังไม่มีสัญญาณจากเอกชนขอยกเลิกสัญญา

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาทว่า ขณะนี้ประเด็นโครงสร้างร่วมระหว่าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับ โครงการรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง นั้น รฟท.พิจารณาแนวทางที่ดีที่สุด คือการให้บริษัท เอเชีย เอรา วันจำกัด (ซี.พี.) เป็นผู้ก่อสร้างทั้งหมด เนื่องจากหาก รฟท.จะก่อสร้างในส่วนของรถไฟไทย-จีนสัญญา 4-1 เองต้องประกวดราคาหาผู้รับจ้างซึ่งต้องใช้เวลาอีกมาก ขณะที่ สัญญา 4-1 มีวงเงินค่าก่อสร้างที่ 9,207 ล้านบาท แต่มีกรอบวงเงิน 4,000 ล้านบาท ต้องมีขั้นตอนในการขอเพิ่มกรอบวงเงินในสัญญาอีกประมาณ 5,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากการหารือในคณะกรรมการร่วม ได้แก่ รฟท. สำนักงานคณะกรรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) และที่ปรึกษาฯ ล่าสุดทางเอเชีย เอรา วันฯ ตอบรับเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างร่วมของทั้ง 2 โครงการ โดยเอกชนได้เสนอเงื่อนไข 3-4 ข้อ เกี่ยวกับทางการเงิน หนึ่งในนั้นคือ การหักลบค่างานโยธาโครงสร้างร่วม สัญญา 4-1 รถไฟไทย-จีน จำนวน 9,207 ล้านบาท จากค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ที่เอกชนต้องจ่ายตามเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนฯ

ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวแตกต่างจากเดิมที่เคยมีการเจรจากัน ว่าเอกชนจะรับภาระค่าก่อสร้างงานโยธา โครงสร้างร่วมสัญญา 4-1 ของรถไฟไทย-จีน โดยจะนำไปปรับระยะเวลาการชำระคืนค่าก่อสร้างเร็วขึ้น จากที่สัญญากำหนดปีที่ 6 (นับจากเข้าพื้นที่ก่อสร้าง) แต่ข้อเสนอใหม่เป็นเรื่องการหักจากค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียด โดยคาดหมายว่าควรจะให้ได้ข้อยุติภายใน 1 เดือน หรือภายในเดือนมี.ค. 2567

โดยก่อนหน้านี้ การปรับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กรณีผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ทั้งจากสถานการณ์โควิด 19 และการให้เอกชนผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ โดย รฟท.ได้รับค่าสิทธิฯ ครบจำนวนที่ 10,671.09 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสอีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมเป็น 11,717.09 ล้านบาท โดยให้เอกชนผ่อนจ่าย 7 งวด โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 10% งวดที่ 7 จะชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยนั้น คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เห็นชอบแล้ว หากได้ข้อสรุป ว่าโครงสร้างร่วมรถไฟไทย-จีน จะหักจากค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ก็จะต้องปรับเงื่อนไขและเสนอขอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯใหม่

“รฟท.อยากให้โครงการเดินหน้าและขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าโครงการจะไม่ไปต่อ ซึ่งเอกชนก็ยังต้องการเดินหน้า แต่ข้อสรุปที่ได้ ทุกฝ่ายจะต้องไม่เสียหาย รัฐไม่เสียประโยชน์ และอีอีซี ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการตามเป้าหมาย เพราะหากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไม่เกิด จะกระทบต่อมั่นใจในการลงทุนที่อีอีซี และโครงการอู่ตะเภาเมืองการบินก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย”

ส่วนการออกหนังสือแจ้งเริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) ให้เอกชน ตามสัญญาฯกำหนดมีเงื่อนไขเรื่องรับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งได้รับการขยายเวลาส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 3 ออกไปถึง วันที่ 3 พ.ค. 2567 ซึ่งหากเรียกร้อย ยังเหลือกรณี การส่งมอบพื้นที่ TOD มักกะสันขนาด150 ไร่ โดยเอกชนต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่า ซึ่งพื้นที่มักกะสันบางส่วน ยังเป็น ‘ลำรางสาธารณะ’ ที่จะต้องขอถอนสภาพลำรางสาธารณะให้เรียบร้อย ยังติดอยู่ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งรฟท.คาดว่าจะสามารถ เจรจากับเอกชน โดยเสนอที่ดินในส่วนอื่นทดแทนได้

“ขณะที่รฟท.มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ไม่มีปัญหา ทั้งช่วงนอกเมืองขจากสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และช่วงในเมือง บางซื่อ-พญาไท-ดอนเมือง พร้อมกับจะเร่งรัดให้ก่อสร้างโครงสร่างร่วมเป็นลำดับแรก เพื่อให้สอดคล้องกับการก่อสร้างรถไฟไทย-จีนและเป้าหมายในการเปิดให้บริการปี 71”

รายงานข่าว ระบุว่า เอเชีย เอรา วันฯ มีหนังสือตอบรับก่อสร้างโครงสร้างร่วม โดยรัฐไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มประมาณ 9,207 ล้านบาท โดยจะขอหักจากค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และค่าเช่าพื้นที่ TOD มักกะสัน จึงให้เอกชนทำข้อเสนอที่มีรายละเอียดว่าจะหักกับส่วนใดบ้างและมีวงเงินเท่าไร โดยให้นำเสนอรฟท.ภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะนำเข้าหารือใน คณะทำงานร่วม รฟท.-สกพอ.-เอเชีย เอรา วันฯ ในต้นเดือนมี.ค.ต่อไป


5 ปียังไม่ได้สร้าง! “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” รฟท. เร่งเจรจาแก้สัญญาจบ มี.ค.นี้
เดลินิวส์ 28 กุมภาพันธ์ 2567 7:47 น.
นวัตกรรมขนส่ง

5 ปีผ่านไป “ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน” ยังไม่ได้สร้าง! รฟท. ปักธงเจรจาแก้ไขสัญญาฯ จบกลาง มี.ค.นี้ “ซีพี” พร้อมสร้างส่วนทับซ้อน-ออกเงินให้ 9 พันล้าน แต่ยังพ่วงเงื่อนไข ย้ำยังออก NTP แจ้งเริ่มงานให้ไม่ได้ จนกว่าเอกชนจะได้ BOI “ผู้ว่า รฟท.” ชี้ยังไม่มีสัญญาณใดว่าโครงการนี้จะล่ม ต้องทำให้ได้ มิฉะนั้นความมั่นใจเอกชนลงทุนในอีอีซีจะไม่เกิด

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท. ยังอยู่ระหว่างเจรจาเรื่องการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)เชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ในฐานะเอกชนคู่สัญญา ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในกลางเดือน มี.ค.67 โดยประเด็นในการเจรจายังเป็นเรื่องของการก่อสร้างช่วงโครงสร้างทับซ้อนของสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน วงเงินประมาณ 9 พันล้านบาท

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า รฟท. ต้องการให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างให้ เพราะหาก รฟท. ก่อสร้างเอง ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการดำเนินการเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้าง ซึ่งจะเสียเวลามาก โดยเวลานี้เอกชนก็เสนอมาแล้วว่าพร้อมที่จะก่อสร้าง และออกค่าก่อสร้างประมาณ 9 พันล้านบาทให้ รฟท. พร้อมกับยื่นข้อเสนอ 3-4 ประเด็น เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางการเงิน และรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) มาให้พิจารณาด้วย ซึ่ง รฟท. ต้องพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และยึดหลักที่ว่าในการแก้ไขสัญญาภาครัฐต้องไม่เสียเปรียบใดๆ

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณอะไร ที่จะทำให้การก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินจะไม่เกิดขึ้น รฟท. จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะหากโครงการนี้ไม่เกิดขึ้น ความมั่นใจของเอกชนในการลงทุนโครงการต่างๆ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งเวลานี้ รฟท. ส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างให้เกือบทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงเคลียร์งานสาธารณูปโภคอีกเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหาใด โดยหากเอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน(BOI) ซึ่งทาง BOI ขยายระยะเวลาการออกบัตรส่งเสริมให้จนถึงวันที่ 22 พ.ค.67 ทาง รฟท. ก็พร้อมออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานก่อสร้าง(NTP) ได้ตามสัญญา และเชื่อว่าเมื่อออก NTP ความมั่นใจของนักลงทุนในพื้นที่อีอีซีจะเกิดขึ้นทันที  

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ส่วนประเด็นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) บนพื้นที่มักกะสันขนาด150 ไร่ ซึ่งเอกชนยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังมีประเด็นเรื่องการเพิกถอนลำรางสาธารณะ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรุงเทพมหานคร(กทม.)นั้น ประเด็นนี้ไม่น่าจะมีปัญหาใด สามารถเจรจากับเอกชน เพื่อลดพื้นที่ลงได้ แต่ถ้าสุดท้ายแล้วหากไม่สามารถขอถอนสภาพลำรางสาธารณะ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ไม่กี่ไร่ได้ ทาง รฟท. จะเจรจาเอกชน เพื่อขอลดพื้นที่ลง หรืออาจนำพื้นที่ส่วนอื่นๆ มาเพิ่มทดแทนให้เอกชนก็ได้ เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณา

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มีระยะทาง 220 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 224,544 ล้านบาท รฟท. เริ่มขั้นตอนการประกวดราคาตั้งแต่ปี 61 จากนั้นเมื่อเดือน ต.ค. 62 รฟท. และ สกพอ. ได้ลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลคือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) สัมปทาน 50 ปี อย่างไรก็ตามการก่อสร้างโครงการฯ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ปี หากเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 67 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 71 ซึ่งรถไฟไฮสปีดสายนี้จะใช้เวลาเดินทางจากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 9:46 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไฮสปีดกระทบเชื่อมั่น แลนด์ลอร์ด EEC ปักป้ายขายที่ดิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 - 05:44 น.

แลนด์ลอร์ดอสังหาฯตามแนวรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินอ่วม หลังเมกะโปรเจ็กต์ไม่ถึงฝั่งฝัน กระทบเชื่อมั่นลงทุนโครงการใหม่ในโซน EEC และพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เผยที่ดินรอบสถานีศรีราชาราคาลดวูบ สถานีสุวินทวงศ์ฉะเชิงเทราแห่ปักป้ายขายที่ดินเพียบ ที่ดินอำเภอบ้านฉางดิ่งเกินคาด ส่วนดีเวลอปเปอร์ “ออริจิ้น” แจงเน้นลูกค้านิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก รายใหญ่ไม่กระทบ หวั่นรายเล็กท้องถิ่นต้องเร่งปรับตัว

การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เป็นผู้ชนะประมูลเมื่อ 5 ปีก่อน ยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจน โดยมีการประชุมร่วมกันหลายฝ่าย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น

ซึ่งเอกชนได้เสนอแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น และแสดงถึงความตั้งใจที่จะลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงโดยเร็วที่สุด เพียงแต่ต้องการเวลาในการหาทางออก ภายใต้เงื่อนไขในสัญญาร่วมทุน กับหน่วยงานรัฐในฐานะเจ้าของโครงการ ก่อนที่จะยื่นขอออกบัตรส่งเสริม ประกอบกับหน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานความคืบหน้าว่า อยู่ระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมกับเอกชนคู่สัญญานั้น

ในภาพรวมนักธุรกิจและนักลงทุนที่ต่างคาดหวังกับนโยบายในการลงทุนใหม่ ๆ ในพื้นที่โซนอีอีอี เริ่มที่จะมีความไม่มั่นใจ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนบ้างแล้ว

ที่ดินรอบสถานีศรีราชาลงวูบ

นายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมในเครือกว่า 12 แห่ง ทั้งในจังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สมุย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า หากโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่เกิดขึ้นจริงตามแผนที่ประกาศไว้ ทางกลุ่มรัตนากรเองได้รับผลกระทบบ้างจากการไปลงทุนซื้อที่ดินบริเวณใกล้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา และบริเวณใกล้สถานีโครงการรถไฟความเร็วสูงไว้พอสมควร แต่ซื้อตอนราคาไม่สูงนัก ด้วยเงินของบริษัทเอง ไม่ได้ใช้เงินกู้ จึงไม่เกิดผลกระทบอะไรมากนัก

“คนที่ไปซื้อที่ดินเพื่อหวังว่าจะมีรถไฟความเร็วสูงผ่านมาใกล้ ๆ ทุกคนก็จะกระทบหมด เจ็บตัวมากน้อยแตกต่างกันไป หากรถไฟความเร็วสูงไม่เกิด กลุ่มรัตนากรเราซื้อมานานแล้ว ในราคายังไม่แพงมาก และเราซื้อด้วยเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้เงินกู้ เรามีสายป่านยาว ทำให้ไม่กระทบมากนัก”

นายจักรรัตน์กล่าวต่อไปว่า ขอพูดเป็นกลาง ๆ ปกติคนที่ลงทุนซื้อที่ดิน สามารถแบ่งประเภทได้ คือ 1.คนที่ซื้อที่ดินราคาสูง ไว้เก็งกำไร วางดาวน์ต่ำ ๆ รอขายเปลี่ยนมือ หากโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่เกิด สายป่านไม่ยาว ต้องรีบขายทิ้ง เพราะไม่มีเงินหมุนเวียน

2.โครงการอสังหาฯที่ซื้อไว้จะทำบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม หากโครงการรถไฟความเร็วสูงมีความล่าช้า คนเริ่มไม่เชื่อถือจะกระทบโครงการที่จะลงทุน

3.บางคนมีแผนลงทุนซื้อบ้านจัดสรร หรือคอนโดฯเพื่อปล่อยเช่า หรือจะมาซื้อไว้เก็งกำไรก็ได้รับกระทบเช่นกัน มากน้อยแล้วแต่เงินที่ลงทุนไป

แหล่งข่าวจากวงการภาคธุรกิจในจังหวัดชลบุรีกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ความชัดเจนที่กลุ่ม ซี.พี.จะไม่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า โดยล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสำนักงานอีอีซีเข้ามาหารือกับหอการค้าจังหวัดชลบุรี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีการสอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ แต่ทางอีอีซีไม่สามารถให้คำตอบได้

ดังนั้นทางภาคเอกชนมีการเสนอว่า หากกลุ่ม ซี.พี.ไม่ดำเนินการ ควรเปิดทางหาผู้ประกอบการรายอื่นมาลงทุน เพราะหากปล่อยให้ล่าช้าออกไปเป็นการสูญเสียโอกาสในการลงทุน

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ใน จ.ชลบุรี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินปรากฏชัดเจนในปีนี้ เมื่อมีข่าวลือหนาหูว่าโอกาสจะเกิดโครงการรถไฟความเร็วสูงคงไม่มีแล้ว ส่งผลให้ราคาที่ดินหลายพื้นที่ในจังหวัดชลบุรีที่ขึ้นไปรับโครงการรถไฟความเร็วสูงปรับลดลงมาอย่างชัดเจน

เช่น บริเวณใกล้ทางเลี่ยงมอเตอร์เวย์ ราคาซื้อขายจริง 4-5-6 ล้านบาทต่อไร่ หลังกลุ่ม ซี.พี.เซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงปรับขึ้นไป 8-10 ล้านบาทต่อไร่ สุดท้ายกลับมาที่ราคาซื้อขายจริง 4-5-6 ล้านบาท นอกจากนี้โซนใกล้สถานีรถไฟศรีราชา ราคาที่ดินปรับขึ้นไป 8-10 ล้านบาท ปรับลงมาที่ราคาซื้อขายจริง 6 ล้านบาท

สุวินทวงศ์แห่ขายที่อื้อ

นายธนกฤต ปิ่นเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัชราดล จำกัด ในฐานะนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังโควิด-19 มา บริเวณถนนสุวินทวงศ์ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 319 บริเวณโดยรอบที่จะตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงจนถึงปัจจุบันมีการปักป้ายขายที่ดินกันจำนวนมากตลอดเส้นทาง ราคาไร่ละประมาณ 7-10 ล้านบาท และราคายืนนิ่งไม่ได้ปรับเพิ่มหรือปรับลดลง เพราะไม่มีคนซื้อ เนื่องจากความไม่แน่นอนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

เดิมที่ดินถนนสุวินทวงศ์บริเวณรอบจุดที่จะตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท พอกลุ่ม ซี.พี.เซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับขึ้นไป 7 ล้านบาทต่อไร่ หากบริเวณใกล้สถานีหน่อยพุ่งขึ้นไปถึง 10 ล้านบาท

แต่วันนี้ราคายังยืนอยู่ไม่ปรับลงหรือเพิ่มขึ้น ความตื่นเต้นที่เรามีกันในวันแรก ทุกอย่างสงบลง ไม่มีใครให้ความสนใจ มีแต่คนบอกขายที่ดิน แต่ไม่มีคนซื้อ ทุกอย่างไม่มีความแน่นอน ทำให้ทุกคนไม่กล้าลงทุน ไม่รู้จะซื้อไปทำอะไร เพราะภาพรวมอสังหาฯก็ไม่ดี ขายโครงการได้ แต่โอนไม่ได้ เพราะสถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้ขึ้นโครงการใหม่กัน

ที่ดิน อ.บ้านฉางดิ่ง รถไฟไม่เกิด

นายเปรมสรณ์ ศรีวิบูลย์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีพี เรียลเอสเตท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด และผู้บริหารกลุ่มบริษัท วีพี กรุ๊ป ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นอดีตนายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยอง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ติดตามข่าวความไม่ชัดเจนในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมาอย่างต่อเนื่อง แม้สถานีสุดท้ายจะสิ้นสุดที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ไม่ได้ต่อเชื่อมมาถึงจังหวัดระยอง

แต่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ทำเลที่ดินรอยต่อบริเวณอำเภอบ้านฉางปรับตัวขึ้นไปกว่าเท่าตัว หลังกลุ่ม ซี.พี.เซ็นสัญญา แต่ต้นปี 2567 ราคาเริ่มปรับลดลงมาเท่าเดิม หลังความไม่ชัดเจนที่จะดำเนินการโครงการต่อมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับสถานการณ์ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวหนัก จากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่สูง ขณะเดียวกันธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดระยองก็ยังไม่ฟื้นตัวดี เพราะทัวร์จีนที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของหลายโรงแรมยังไม่กลับมา

“ภาพความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินที่ปรับตัวลดลงปรากฏชัดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 เป็นต้นมา ยกตัวอย่าง ที่ดินในซอยแถวอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ราคาถูกลงกลับไปเท่าราคาช่วงก่อนโควิดปี 2560-2561 ก่อนกลุ่ม ซี.พี.เซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ไฮสปีดเทรน) ราคาที่ดินในซอยบอกขายกันตั้งแต่ราคา 1.5-2 ล้านบาท แพงสุด 2.5 ล้านบาทต่อไร่ และหาซื้อกันได้ง่าย ๆ แต่พอ ซี.พี.เซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ราคาพุ่งขึ้นไปกว่าเท่าตัวจาก 1.5 ล้านบาท ขึ้นไปกว่า 3 ล้านบาทต่อไร่

เจ้าของที่ดินหลายคนรอและคาดหวังว่า ราคาที่ดินจะปรับตัวสูงขึ้นไป 30-50% เมื่อรถไฟความเร็วสูงเสร็จในอีก 5-6 ปีข้างหน้า และไม่สามารถหาซื้อที่ดินได้ด้วย แต่พอรู้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงมีแนวโน้มอาจจะยังไม่เกิด เพราะยังไม่มีความชัดเจน ราคาที่ดินปรับลงมาเท่าเดิม ก่อนที่กลุ่ม ซี.พี.จะมีการเซ็นสัญญาโครงการ ผู้ประกอบการอสังหาฯเริ่มกลับมาหาซื้อที่ดินในซอยแถวอำเภอบ้านฉางได้ราคาประมาณ 2.1-2.5 ล้านบาทต่อไร่ได้ จากช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถหาซื้อที่ดินราคานี้ได้เลย แต่ตอนนี้ราคาไม่สามารถขึ้นได้แล้ว ต้องการเงินไปหมุนสภาพคล่องก็เลยปล่อยขายกันออกมา อย่างไรก็ตาม ยกเว้นที่ดินทำเลดี ติดถนนริมสุขุมวิท ติดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ราคายังปรับขึ้นต่อเนื่อง

นายเปรมสรณ์กล่าวต่อไปว่า ตอนนี้ในจังหวัดระยองมีคนบอกขายที่ดินจำนวนมาก เพื่อเสริมสภาพคล่องกัน เจ้าของที่ดินที่มีอยู่ในมือจำนวนมากก็ประเมินกันว่า อีก 2-3 ปีราคาบ้านไม่ปรับขึ้นแล้ว ส่งผลให้ราคาที่ดินไม่ขยับขึ้นไปด้วย จึงบอกขายกันจำนวนมาก เพราะคิดว่าดีกว่าไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กระทบแผนอู่ตะเภา

นายธเนศ ศุภรสหัสรังสี นายกสมาพันธ์ท่องเที่ยวชลบุรี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินไม่เกิดขึ้น น่าจะส่งผลกระทบกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติ และเมืองการบินภาคตะวันออกที่ให้บริษัทเอกชนประมูลไป เพราะตามเป้าหมายรัฐบาลวางแผนจะให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินแห่งชาติแห่งที่ 3

เพื่อแบ่งเบาปริมาณผู้โดยสารจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองที่เต็มไม่สามารถรองรับได้ โดยให้สายการบินบางส่วนบินมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา และให้ผู้โดยสารต่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเข้ากรุงเทพฯ หากไม่มีโครงการรถไฟความเร็วสูงการเชื่อมต่อด้วยรถยนต์ รถบัสเข้ากรุงเทพฯคงไม่สะดวก

“ถึงจะมีถนนมอเตอร์เวย์ การเดินทางอาจจะลำบาก ยิ่งช่วงเทศกาลการจราจรอาจจะหนาแน่น กำหนดเวลาได้ไม่ชัดเจน เหมือนรถไฟความเร็วสูง และที่สำคัญโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติ หากมุ่งหวังเฉพาะผู้โดยสารที่บินมาลงภาคตะวันออกอย่างเดียว ปริมาณผู้โดยสารไม่ถึงเป้าตามที่เอกชนประมูลโครงการไป ดังนั้นที่ไปเจรจากับเส้นทางการบินกับสายการบินในต่างประเทศต้องทำภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนไป”

นายธเนศกล่าวต่อไปว่า เท่าที่ทราบ ปีนี้รัฐบาลมีนโยบายให้กองทัพเรือดำเนินโครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 2 และทางขับ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา กรอบวงเงิน 16,493.78 ล้านบาท โดยมีแผนที่จะไปกู้เงิน

ออริจิ้นฯยันไม่กระทบ

นายเกรียงไกร กรีบงการ กรรมการบริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงทุนอสังหาฯตามเส้นทางไฮสปีดยังไม่เป็นนัยที่สำคัญ ไม่มีผลเชิงบวก-ลบในปัจจุบัน แต่ความคิดเห็นส่วนตัวอาจจะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีแลนด์แบงก์ในย่านโซนนั้น ๆ และมีการเริ่มโครงการไปแล้ว แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังไม่มีการจับจองที่ดินตามเส้นไฮสปีดแต่อย่างใด

เมื่อพูดถึง EEC ผู้ประกอบการอสังหาฯส่วนใหญ่จะเน้นในโซนนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟไฮสปีด เช่น โครงการใกล้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ในอนาคตถ้ามีความชัดเจนหรืออนุมัติการสร้างรถไฟความเร็วสูง ก็อาจจะมีแผนการลงทุนในอนาคต

“แต่ในขณะนี้ยังไม่มีผลอะไร เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่จะเปิดโครงการบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมากกว่า ไม่ได้อิงจากรถไฟไฮสปีดตามที่เข้าใจ”


รฟท.ขีดเส้นหนึ่งเดือนสางปมไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน
ไทยโพสต์ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:21 น.

‘การรถไฟฯ’ ตั้งเป้า 1 เดือนสางปัญหาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เร่งเจรจา ‘ซีพี’ ก่อสร้าง 9 พันล้านบาท พื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง แลกเงื่อนไขใหม่ปรับโครงสร้างทางการเงิน ย้ำเอกชนยังไม่ส่งสัญญาณล้มโครงการ

28 ก.พ. 2567 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ขยายเวลาการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริม ครั้งที่ 3 สำหรับไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ทางเอกชนจึงได้หารือร่วมกับ รฟท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเตรียมเดินหน้าโครงการ

“การจะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้นั้น ทางเอกชนต้องไปออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งตอนนี้ทางเอกชนต้องการเจรจาให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดไทย – จีน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองด้วย ซึ่งหากประเด็นนี้ได้ข้อสรุปก็จะเดินหน้าโครงการได้ โดยการรถไฟฯ คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนี้”นายนิรุฒ กล่าว

สำหรับประเด็นการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว รฟท.ยืนยันว่าหากให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชน เพราะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที ไม่ต้องผ่านขั้นตอนประมูล แต่หาก รฟท.เป็นผู้ลงทุนเองจากเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้นั้น ต้องใช้วงเงินก่อสร้างราว 9 พันล้านบาท และต้องใช้เวลานานในกระบวนการของบประมาณ รวมทั้งต้องเริ่มกระบวนการประกวดราคาด้วย

อย่างไรก็ตาม กลุ่มซีพีพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยจะรับผิดชอบวงเงินลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาช่วงดังกล่าวราว 9 พันล้านบาท แต่มีเงื่อนไขประมาณ 3 – 4 ประเด็น เกี่ยวกับเรื่องการปรับโครงสร้างทางการเงิน รวมไปถึงสัญญาบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องเจรจาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ แต่ยืนยันว่าจากการเจรจายังไม่เห็นสัญญาณจากกลุ่มซีพีว่าจะล้มเลิกไม่ทำโครงการ

นายนิรุฒ กล่าวว่า กรณีการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ที่จะต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (TOD) มักกะสัน ซึ่งสถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาในการดำเนินการ เพราะหากท้ายที่สุดไม่สามารถดำเนินการได้ รฟท.จะเจรจาขอลดขนาดพื้นที่เช่าลง แต่หากเอกชนไม่ยอมลดขนาดพื้นที่ ก็จะมีการพิจารณาชดเชยที่ดินในแปลงอื่นทดแทน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2024 2:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ซีพี.ยื่นข้อเสนอใหม่ ทำโครงสร้างร่วม”ไทย-จีน”หัก 9 พันล้านจากค่าสิทธิ์'แอร์พอร์ตลิงก์'และค่าเช่า TOD มักกะสัน
ผู้จัดการออนไลน์ วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 07:21 น.

รฟท.ขีดเส้นหนึ่งเดือนสางปมไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:21 น.

‘การรถไฟฯ’ ตั้งเป้า 1 เดือนสางปัญหาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เร่งเจรจา ‘ซีพี’ ก่อสร้าง 9 พันล้านบาท พื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง แลกเงื่อนไขใหม่ปรับโครงสร้างทางการเงิน ย้ำเอกชนยังไม่ส่งสัญญาณล้มโครงการ

28 ก.พ. 2567 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ขยายเวลาการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริม ครั้งที่ 3 สำหรับไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ทางเอกชนจึงได้หารือร่วมกับ รฟท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเตรียมเดินหน้าโครงการ

“การจะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้นั้น ทางเอกชนต้องไปออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งตอนนี้ทางเอกชนต้องการเจรจาให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดไทย – จีน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองด้วย ซึ่งหากประเด็นนี้ได้ข้อสรุปก็จะเดินหน้าโครงการได้ โดยการรถไฟฯ คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนี้”นายนิรุฒ กล่าว

สำหรับประเด็นการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว รฟท.ยืนยันว่าหากให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชน เพราะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที ไม่ต้องผ่านขั้นตอนประมูล แต่หาก รฟท.เป็นผู้ลงทุนเองจากเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้นั้น ต้องใช้วงเงินก่อสร้างราว 9 พันล้านบาท และต้องใช้เวลานานในกระบวนการของบประมาณ รวมทั้งต้องเริ่มกระบวนการประกวดราคาด้วย


อย่างไรก็ตาม กลุ่มซีพีพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยจะรับผิดชอบวงเงินลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาช่วงดังกล่าวราว 9 พันล้านบาท แต่มีเงื่อนไขประมาณ 3 – 4 ประเด็น เกี่ยวกับเรื่องการปรับโครงสร้างทางการเงิน รวมไปถึงสัญญาบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องเจรจาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ แต่ยืนยันว่าจากการเจรจายังไม่เห็นสัญญาณจากกลุ่มซีพีว่าจะล้มเลิกไม่ทำโครงการ

นายนิรุฒ กล่าวว่า กรณีการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ที่จะต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (TOD) มักกะสัน ซึ่งสถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาในการดำเนินการ เพราะหากท้ายที่สุดไม่สามารถดำเนินการได้ รฟท.จะเจรจาขอลดขนาดพื้นที่เช่าลง แต่หากเอกชนไม่ยอมลดขนาดพื้นที่ ก็จะมีการพิจารณาชดเชยที่ดินในแปลงอื่นทดแทน

รีวิว! ไฮสปีด3สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
*5ปีผ่านไปยังไม่สร้างCPประกาศเปิดบริการปี2566
*ผู้ว่ารฟท.จะเร่งเจรจาแก้สัญญาร่วมลงทุนให้จบมี.ค.
*ได้ BOI พร้อมออกหนังสือให้เริ่มก่อสร้างภายในปีนี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/945457270364841

5 ปียังไม่ได้สร้าง! “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” รฟท. เร่งเจรจาแก้สัญญาจบ มี.ค.นี้
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 07:47 น.

5 ปีผ่านไป “ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน” ยังไม่ได้สร้าง! รฟท. ปักธงเจรจาแก้ไขสัญญา จบกลาง มี.ค. นี้ “ซีพี” พร้อมสร้างส่วนทับซ้อน-ออกเงินให้ 9 พันล้าน แต่ยังพ่วงเงื่อนไข ย้ำยังออก NTP แจ้งเริ่มงานให้ไม่ได้ จนกว่าเอกชนจะได้ BOI “ผู้ว่า รฟท.” ชี้ยังไม่มีสัญญาณใดว่าโครงการนี้จะล่ม ต้องทำให้ได้ มิฉะนั้นความมั่นใจเอกชนลงทุนในอีอีซีจะไม่เกิด

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท. ยังอยู่ระหว่างเจรจาเรื่องการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ในฐานะเอกชนคู่สัญญา ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในกลางเดือน มี.ค. 67 โดยประเด็นในการเจรจายังเป็นเรื่องของการก่อสร้างช่วงโครงสร้างทับซ้อนของสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน วงเงินประมาณ 9 พันล้านบาท


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า รฟท. ต้องการให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างให้ เพราะหาก รฟท. ก่อสร้างเอง ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการดำเนินการเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้าง ซึ่งจะเสียเวลามาก โดยเวลานี้เอกชนก็เสนอมาแล้วว่าพร้อมที่จะก่อสร้าง และออกค่าก่อสร้างประมาณ 9 พันล้านบาทให้ รฟท. พร้อมกับยื่นข้อเสนอ 3-4 ประเด็น เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางการเงิน และรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) มาให้พิจารณาด้วย ซึ่ง รฟท. ต้องพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และยึดหลักที่ว่าในการแก้ไขสัญญาภาครัฐต้องไม่เสียเปรียบใดๆ

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณอะไร ที่จะทำให้การก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินจะไม่เกิดขึ้น รฟท. จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะหากโครงการนี้ไม่เกิดขึ้น ความมั่นใจของเอกชนในการลงทุนโครงการต่างๆ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งเวลานี้ รฟท. ส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างให้เกือบทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงเคลียร์งานสาธารณูปโภคอีกเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหาใด โดยหากเอกชนได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งทาง BOI ขยายระยะเวลาการออกบัตรส่งเสริมให้จนถึงวันที่ 22 พ.ค. 67 ทาง รฟท. ก็พร้อมออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้ตามสัญญา และเชื่อว่าเมื่อออก NTP ความมั่นใจของนักลงทุนในพื้นที่อีอีซีจะเกิดขึ้นทันที  



นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ส่วนประเด็นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) บนพื้นที่มักกะสันขนาด150 ไร่ ซึ่งเอกชนยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังมีประเด็นเรื่องการเพิกถอนลำรางสาธารณะ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น ประเด็นนี้ไม่น่าจะมีปัญหาใด สามารถเจรจากับเอกชน เพื่อลดพื้นที่ลงได้ แต่ถ้าสุดท้ายแล้วหากไม่สามารถขอถอนสภาพลำรางสาธารณะ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ไม่กี่ไร่ได้ ทาง รฟท. จะเจรจาเอกชน เพื่อขอลดพื้นที่ลง หรืออาจนำพื้นที่ส่วนอื่นๆ มาเพิ่มทดแทนให้เอกชนก็ได้ เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณา

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มีระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 224,544 ล้านบาท รฟท. เริ่มขั้นตอนการประกวดราคาตั้งแต่ปี 61 จากนั้นเมื่อเดือน ต.ค. 62 รฟท. และ สกพอ. ได้ลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลคือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) สัมปทาน 50 ปี อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโครงการฯ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ปี หากเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 67 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 71 ซึ่งรถไฟไฮสปีดสายนี้ จะใช้เวลาเดินทางจากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที.
https://www.dailynews.co.th/news/3213493/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

‘นายกสมทรง’ ออกโรงจี้สร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง มั่นใจคนอยุธยาทั้งเมืองต้องการ!
เดลินิวส์ 28 กุมภาพันธ์ 2567 17:14 น.
ท้องถิ่น

ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยาธยา ออกโรงจี้เร่งสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง สอนมวย สส.ก้าวไกล เลิกคิดขุดอุโมงค์ มั่นใจคนทั้งเมืองต้องการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมชั้น 2 เทศบาลเมืองอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายมังกร ยนต์ตระกูล รองประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ดร.วีระพันธ์ ชินวัตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 พรรคก้าวไกล พร้อมด้วยประชาชน และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันประชุม หารือปัญหา อุปสรรค ในแหล่งพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมี ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยาธยา นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ นายกอบต.บ้านใหม่ ประธานโอทอปเทรดเดอร์แห่งประเทศไทย ผู้นำชุมชนส่วนต่างๆเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่มีการวิพากย์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ ทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมาก

โดยที่ประชุมมีประชาชน ตัวแทนชุมชนส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วย และให้เร่งดำเนินการก่อสร้างบริเวณสถานีรถไฟเดิม แต่ก็มีบางคนแสดงความเห็นในเรื่องผลกระทบต่อโบราณสถาน เช่นเดียวกับนายทวิวงศ์ ที่ออกมาแสดงความเห็นว่าตนเองไม่ได้คัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพียงแต่อยากให้ทบทวนการก่อสร้างในพื้นที่เป็นมรดกโลก และเห็นว่ายังมีทางเลือกเช่นการขุดอุโมงค์ลงไปให้รถไฟฟ้ารอดด้านล่าง

ว่าที่ ร.ต.สมทรง กล่าวว่า อย่าให้ชาวอยุธยาเสียโอกาส ประเทศไทยเสียโอกาส ตนอยู่มา 11 ผู้ว่า 10 อธิบดีกรมศิลปากร วันนี้ขอให้รีบเร่งดำเนินการ ส่วนเรื่องที่จะให้รถไฟลงใต้ดินนั้นขอให้หยุดความคิดนี้ เพราะมันจะยิ่งเป็นไปไม่ได้ สร้างเสร็จตนอาจจะไม่ได้ใช้ก็ได้ คนกับโบราณสถานอยู่ร่วมกันได้ สิ่งก่อสร้างอยู่นอกเกาะเมืองมันไม่กระทบ คนอยุธยาอยากได้ อยุธยาจะมีความเจริญมากขึ้น ก่อสร้างอาจจะกระทบบ้าง ต้องเห็นภาพรวมเป็นหลัก ตนไม่เชื่อว่าการส้รางสถานีไม่ทำให้ถูกถอดถอนมรดกโลก อะไรที่กระทบคนหมู่น้อยเชื่อว่าราชการก็ต้องดูแล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาระดมความเห็นเชื่อว่าจะช่วยได้ ควรจะเร่งอย่าให้เสียโอกาสมากกว่านี้

นายวัชระพงศ์ กล่าวว่า ประเด็นขัดแย้งอยู่แค่กระทบมรดกโลก ความเป็นจริงประชาชนเห็นด้วย 95 % มิติของเศรษฐกิจ การขยายตัวชุมชน เขตบัพเฟอร์โซน ยังไม่มีการประกาศเขตชัดเจน HIAยังแก้ไขได้ ตนเชื่อว่าเป็นเพราะความไม่เข้าใจบริบทของพื้นที่มากกว่า เชื่อว่าทุกฝ่ายดำเนินการอยู่ ไม่นับว่าขัดแย้ง แต่เป็นเพราะเป็นการขยายความเกินกว่าเหตุ และเชื่อว่าจะต้องสร้างสถานีรถไฟฟ้าที่เดิม

นายมังกร กล่าวว่า รอHIA ที่สมบูรณ์ส่งไปยูเนสโก้ ไม่ถูกถอดมรดกโลกก็จะต้องเดินหน้าแน่นอน ผู้รับเหมารออยู่ รัฐบาลเข้าใจว่าประชาชนรู้มากขึ้น อยู่เฉยไม่ได้ เรื่องHIA หากคณะโบราณคดีกรมศิลปากรทำไม่สมบูรณ์ ให้จ้างคณะที่ปรึกษาใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 8:20 pm    Post subject: Reply with quote

(คลิป)ชาวโคราชยืนกราน! รถไฟทางคู่ต้องยกระดับเข้าเมือง-ทุบสะพานสีมาฯ นำข้อสรุปยื่น“รมช.คมนาคม”
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Wednesday, February 28, 2024 18:38

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา – ชาวโคราชยืนกราน รถไฟทางคู่ต้องยกระดับเข้าเมืองและทุบสะพานสีมาธานี ตัดปัญหาเมืองอกแตก เตรียมนำข้อสรุปเสนอต่อ “สุรพงษ์” รมช.คมนาคม ลงพื้นที่โคราช วันศุกร์ 1 มี.ค. นี้ หากสำเร็จจะพากัน ขอบคุณ”นายกฯ เศรษฐา” ที่เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานย่าโม 23 มี.ค.

วันนี้ ( 28 ก.พ. ) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมมูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ๊งสว่างเมตตาธรรมสถาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาความไม่ชัดเจน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ และ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยมี นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน และมีตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชน ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา อาทิ นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ผช.รมว.สาธารณสุข, นายสุรวุฒิ เชิดชัย อดีตนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา, นายกิติพงศ์ พงศ์สุรเวท นายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กลาง, ตัวแทน ส.ส.นครราชสีมา เขต 1-3, ตัวแทนหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นักธุรกิจ, ผู้นำชุมชน และประชาชน ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ร่วมประชุมกว่า 50 คน

โดยในที่ประชุมได้ยกประเด็นปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในกรณีของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ตั้งแต่ อ.สูงเนิน เข้าสู่ตัวอำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งเดิมทีเหมือนกับว่าจะได้ข้อสรุปตามที่ประชาชนชาว จ.นครราชสีมา เรียกร้องมาโดยตลอดว่า ในช่วงผ่านตัวเมืองโคราชจะต้องมีการยกระดับรางรถไฟ และทุบสะพานสีมาธานีออก เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการเป็นเมืองอกแตก และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เขต อ.เมืองนครราชสีมา

แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ได้มีข้อเสนอว่า รฟท.อาจจะมีการเปลี่ยนแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ไม่ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ขณะเดียวกันในการประชุมร่วมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา ที่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา สนข.ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะทุบสะพานสีมาธานี เพราะ ต้องรอข้อสรุปอีกครั้ง ทำให้ประชาชนชาว จ.นครราชสีมา เกิดความสับสนและออกมาเรียกร้องขอความชัดเจนจาก รฟท. และ สนข.อีกครั้ง เนื่องจากชาว จ.นครราชสีมา ต้องการให้มีการทุบสะพานสีมาธานี และทำทางรถไฟทางคู่ยกระดับเข้าสู่ตัวเมือง โดยใช้ตอม้อเดียวกันกับรถไฟความเร็วสูง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

นายสุรวุฒิ เชิดชัย อดีตนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา กล่าวว่า วันนี้ชาว จ.นครราชสีมา ทุกภาคส่วน ได้มาร่วมประชุมพูดคุยเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ยกระดับ และเกี่ยวเนื่องไปถึงโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วย เพื่อนำข้อสรุปไปเสนอต่อ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะเดินทางมา จ.นครราชสีมา ในวันที่ 1 มี.ค.67 นี้ ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ชาว จ.นครราชสีมา ต้องการให้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สร้างเป็นทางยกระดับ เข้าสู่ตัวเมืองนครราชสีมา เพื่อลดผลกระทบจากการเป็นเมืองอกแตก และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ตัวเมืองนครราชสีมาในอนาคตได้

เรื่องนี้ชาวจังหวัดนครราชสีมา มีการนำเสนอต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย และรัฐบาลมาโดยตลอด แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนเสียที ยังคงมีแนวความคิดอื่นมาต่อเนื่อง ซึ่งมาถึงวันนี้ตนเองและชาว จ.นครราชสีมา ยังยืนยันว่าข้อมูลเดิมที่เคยนำเสนอ เป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะมีการพูดคุยกันมาหลายรอบแล้ว มีการทำข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบโดยมีฝ่ายวิชาการรองรับ และมีการนำเสนออย่างมีสติ มีเหตุผล จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

การเสนอให้ทุบสะพานสีมาธานี เพราะต้องการให้เมืองนครราชสีมา มีทางราบเพิ่มขึ้น ทำให้รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงยกระดับ ผ่านเข้ามาในตัวเมืองนครราชสีมาอย่างสวยงาม การขยายตัวของเมืองนครราชสีมาจะไม่มีอุปสรรคจากการถูกรางรถไฟพาดผ่านเหมือนเมืองอกแตก และยังสามารถแก้ไขปัญหาอื่นๆ ได้ง่าย เช่น การวางท่อระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม, การตัดถนนเพิ่มเติมแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด, การปรับปรุงทัศนียภาพตัวเมือง, การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินในตัวเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคตอีกด้วย เป็นต้น

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ เป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว ดังนั้นหากจะทำก็ต้องให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพราะถ้าลงทุนทำไปแล้วจะมาแก้ไขกันในภายหลังยากมาก และการแก้ไขปัญหาในภายหลังจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล

ตนรับเป็นตัวแทนนำข้อสรุปของการประชุมวันนี้ ไปนำเสนอต่อ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ที่จะเดินทางมา จ.นครราชสีมา ในวันที่ 1 มี.ค.67 นี้ หากข้อเสนอนี้ได้รับผลตอบรับตามความต้องการของพี่น้องประชาชนชาวโคราชแล้ว ตัวแทนชาวโคราชก็จะไปขอบคุณ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานฉลองวันแห่งชัยชนะ ท้าวสุรนารี หรือ งานย่าโม ประจำปี 2567 ในวันที่ 23 มี.ค.นี้อีกครั้ง นายสุรวุฒิ กล่าวในตอนท้าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2024 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

[อัพเดตใหม่ล่าสุด] มาแล้วสถานีปากช่อง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีน อลังการงานสร้างไม่แพ้ใคร
nanny official
Feb 29, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=9vAIOYjV9ls


ชาวอยุธยาเตรียมเฮ! รมช.คมนาคม ยันสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ม.ค.นี้ ไม่กระทบพื้นที่มรดกโลก
เดลินิวส์ 29 กุมภาพันธ์ 2567 16:20 น.
ท้องถิ่น

รมช.คมนาคม ยืนยัน เริ่มคิกออฟสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง มี.ค. นี้ ชี้ประโยชน์เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน ไม่กระทบพื้นที่มรดกโลก ด้าน 3 สส.เมือง เรียกร้องเร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง “สถานีอยุธยา” หวังขนส่งระบบรางช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ลั่นการพัฒนากับการอนุรักษ์ทำควบคู่กันได้

เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่สถานีรถไฟอยุธยา นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม พร้อมคณะ เดินทางด้วยรถไฟตรวจราชการความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผวจ.พระนครศรีอยุธยา นายไพรัตน์ เพชรยวน รอง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีต รมช.คมนาคม หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมให้การต้อนรับ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) เพื่อลดข้อกังวลใจของ UNESCO และประชาชน ซึ่งไทยยังไม่เคยมีการจัดทำรายงาน HIA มาก่อน ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตระหนักถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการเป็นมรดกโลก ยืนยันว่าสถานีอยุธยา ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNESCO แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กม. และมีแม่น้ำป่าสักคั่นอยู่ ดังนั้นการขยายตัวของเมืองเข้าไปในเขตมรดกโลก จึงเป็นไปได้ยาก

ซึ่งแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะรองรับผู้โดยสาร รวมทั้งพัฒนาเส้นทางรถสาธารณะ และปรับปรุงระบบขนส่งรูปแบบใหม่ โดยสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยว มีพื้นที่จอดรถ พื้นที่สีเขียว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภูมิทัศน์รอบสถานีจะสวยงาม ยืนยันว่าได้ดำเนินการศึกษาแนวทางปรับปรุงรูปแบบสถานี เพื่อลดผลกระทบต่อโบราณสถาน พร้อมทั้งดำเนินการตามผลการศึกษา ออกแบบรายละเอียด และมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาพื้นที่สถานีอยุธยา ถือเป็นการพัฒนาบนแนวเส้นทางเดิม ไม่ได้ทำการเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ถือเป็นโครงการพัฒนาที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐบาลมีแผนรองรับผลกระทบต่างๆ อย่างรอบคอบ คำนึงถึงความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน และให้การยืนยันว่า จะดำเนินการทำสัญญาตามกำหนดได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างรางควบคู่กับตัวอาคารสถานี ตามกำหนดภายในปี 2571 อย่างแน่นอน

ขณะที่นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะ สส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 4 พรรคภูมิใจไทย (ภท.) พร้อมด้วย น.ส.พิมพฤดา ตันจรารักษ์ สส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 3 พรรค ภท. และนายประดิษฐ์ สังขจาย สส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 5 พรรค ภท. ได้ผนึกพลังเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูง “สถานีอยุธยา”

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ตนพร้อมด้วย น.ส.พิมพฤดา และนายประดิษฐ์ ในฐานะ สส. ของ จ.พระนครศรีอยุธยา พวกเราพร้อมเป็นกระบอกเสียงแทนพ่อแม่พี่น้องชาวอยุธยาทุกท่าน ในการดำเนินการผลักดันโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นในสภาผู้แทนราษฎร หรือแม้แต่ในชั้นกรรมาธิการ เราทั้ง 3 คน ก็จะร่วมกันผลักดันและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เร่งเดินหน้าโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง “สถานีอยุธยา” เพราะการสร้างรถไฟความเร็วสูง จะสร้างประโยชน์ต่อพ่อแม่พี่น้องชาวอยุธยา เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้า การลงทุน เกิดการพัฒนาโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เพราะเมื่อการเดินทางสะดวกสบายก็จะมีนักท่องเที่ยว ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ทำให้คุณภาพชีวิตของพ่อแม่พี่น้องชาวอยุธยาดีขึ้น ทั้งนี้ หากยิ่งโครงการเดินหน้าล่าช้า ก็จะยิ่งทำให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประเทศไทย เสียโอกาสในหลายๆ ด้าน

“การพัฒนากับการอนุรักษ์สามารถทำควบคู่กันได้ ในหลายประเทศมีการสร้างรถไฟใกล้กับมรดกโลก เช่น สถานีรถไฟเมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ที่ตั้งติดกับวิหารเมืองโคโลญจน์ ซึ่งเป็นโบราณสถานเก่าแก่ และขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อออกจากสถานีรถไฟเดินเท้า 5 นาที ก็ถึงวิหารเมืองโคโลญจน์, วัดโทจิ เป็นวัดเก่าแก่ที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาติไว้มากมาย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเกียวโต ท่ามกลางความเจริญของประเทศญี่ปุ่น จากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ องค์การยูเนสโกจึงขึ้นทะเบียนวัดโทจิให้เป็นมรดกโลก ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าจากสถานีรถไฟเพียง 10 นาที ก็ถึงวัด เป็นต้น ตัวอย่างจากประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่น สะท้อนให้เราเห็นว่า การพัฒนากับการอนุรักษ์สามารถทำควบคู่กันได้ พวกเรา สส.เมืองอยุธยาทั้ง 3 คน ไม่รอที่จะช่วยกันสร้างความเจริญให้กับชาวอยุธยา ขอเป็นกระบอกเสียงแทนชาวอยุธยาที่พร้อมจะประสานงานและเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูง “สถานีอยุธยา” โดยเร็ว” นายสุรศักดิ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2024 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

“รฟท.” ย้ำ “สถานีไฮสปีดอยุธยา” อยู่แนวเส้นเดิม ไม่กระทบประชาชน-โบราณสถาน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Thursday, February 29, 2024 17:17

รฟท. ย้ำ “สถานีไฮสปีดอยุธยา” ออกแบบตามมติบอร์ดทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง อยู่บนแนวเส้นทางเดิม ไม่ได้เวนคืนเพิ่ม ไม่กระทบประชาชน-โบราณสถาน “สุรพงษ์” สั่งเร่งปรับรูปแบบทางยกระดับ ช่วงโคกกรวด-ภูเขาลาด 7.8 กม. ชี้ใช้เวลาสร้างเพิ่มอีก 36 เดือน

เมื่อวันที่ 29 ก.พ. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง “สถานีอยุธยา” ซึ่งเบื้องต้นได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า รูปแบบโครงสร้างอาคารสถานีอยุธยา ได้ยึดการดำเนินการตามผลการศึกษา การออกแบบรายละเอียด และมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นการสร้างทางรถไฟบนแนวเส้นทางเดิม ไม่ได้ทำการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมแต่อย่างใด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน ตลอดจนโบราณสถานในพื้นที่ใกล้เคียง อีกทั้งรูปแบบการก่อสร้างได้ยึดหลักอารยสถาปัตย์ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก และคำนึงถึงประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนเป็นสำคัญ ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้างโครงการมีคืบหน้ากว่า 31% ซึ่ง รฟท. ได้เร่งรัดติดตามการก่อสร้าง รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานที่วางไว้

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ได้เดินทางไปยังสถานีโคกกรวด เพื่อรับฟังแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่โดยรอบทางรถไฟ ซึ่งเป็นแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-5 งานโยธา สำหรับช่วงสถานีโคกกรวด-นครราชสีมา ได้มอบให้ รฟท. เร่งแก้ปัญหาการปรับแบบการก่อสร้างจากคันทางระดับดินเป็นทางรถไฟยกระดับ ช่วงสถานีโคกกรวด-ภูเขาลาด ระยะทางประมาณ 7.85 กม. เพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ให้กับประชาชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางปรับรูปแบบก่อสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ และปรับกรอบวงเงิน รวมถึงระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มอีก 36 เดือน จากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.

พร้อมทั้งให้ รฟท. เร่งดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ กรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตามได้ให้ รฟท. เร่งรัดการดำเนินการโครงการต่างๆ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2024 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

คค.ยันสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในพื้นที่มรดกโลก สร้างรถไฟทางคู่ไม่กระทบ
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, February 29, 2024 17:08

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ เดินทางด้วยรถไฟตรวจราชการความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา นายไพรัตน์ เพชรยวน รอง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีต รมช.คมนาคม หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมให้การต้อนรับ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) เพื่อลดข้อกังวลใจของ UNESCO และประชาชน ซึ่งไทยยังไม่เคยมีการจัดทำรายงาน HIA มาก่อน

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตระหนักถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการเป็นมรดกโลก ยืนยันว่าสถานีอยุธยา ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNESCO แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กม. และมีแม่น้ำป่าสักคั่นอยู่ ดังนั้นการขยายตัวของเมืองเข้าไปในเขตมรดกโลก จึงเป็นไปได้ยาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46032
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2024 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

'สุรพงษ์' ยันรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สถานีอยุธยา ไม่กระทบมรดกโลก
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Thursday, February 29, 2024 18:37

"รมช.สุรพงษ์" ยืนยันรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สถานีอยุธยา เน้นการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการอนุรักษ์ ยันไม่กระทบมรดกโลกแน่นอน ตั้งเป้าลงนามสัญญา 4-5 งานโยธา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว มี.ค.นี้

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ในพื้นที่ จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน สถานีอยุธยา

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน สถานีอยุธยา จะเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน แต่โจทย์ที่สำคัญ คือต้องพัฒนาเมืองไปพร้อมกับการอนุรักษ์มรดกโลก ซึ่งข้อเท็จจริงในวันนี้ คือ การก่อสร้างของโครงการฯ จะไม่กระทบกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอย่างแน่นอน เพราะมีระยะห่างถึง 1.5 กิโลเมตร และยังคั่นกลางด้วยแม่น้ำป่าสัก ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจถึงตัวโครงการฯ และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาเมืองไปด้วยกัน

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงการเร่งรัดโครงการ ว่า สัญญา 4-5 งานโยธา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 10,325 ล้านบาท รฟท. จะลงนามเซ็นสัญญาได้ในช่วงเดือนมี.ค. 2567 นี้ และขอให้มั่นใจว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จไม่เกินปี 2571 อย่างแน่นอน

" เรื่องมรดกโลกต้องมองใน 2 มิติ คือการรักษาไว้ซึ่งความภูมิใจของประเทศชาติ และต้องการให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้าถึงมรดกโลกเหมือนกับเรา เพราะฉะนั้นเส้นทางคมนาคม คือ หัวใจสำคัญในการลำเลียงนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่เมือง เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)" นายสุรพงษ์ กล่าว

ส่วนขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) เพื่อลดข้อกังวลใจของ UNESCO นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้แจง และยังไม่มีข้อกังวลใจในเรื่องนี้ พร้อมยืนยันว่าการดำเนินโครงการจะไม่มีการเวนคืนที่ดินแม้ตารางนิ้วเดียว เพราะใช้พื้นที่เดิมในการก่อสร้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ ได้มีตัวแทนภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว พ่อค้า แม่ค้า และประชาชน มาต้อนรับ และให้กำลังใจ พร้อมยื่นข้อเสนอให้กระทรวงคมนาคม เร่งเดินหน้าโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน สถานีอยุธยา ตามแผนงานเดิม โดยส่วนใหญ่มองว่าจะเป็นประโยชน์กับพื้นที่ในทุกมิติ

ขณะที่ตัวแทนภาคประชาชน ระบุว่า ต้องการเห็นการเดินทางที่สะดวกกับทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ และมองว่าการขุดทางรถไฟความเร็วสูงลงใต้ดินทำได้ยาก และเสียเวลาในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น และเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม รวมถึงผลกระทบกับโบราณสถาน หรือวัตถุโบราณที่ยังไม่ขุดพบ พร้อมยืนยันว่าประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มั่นใจว่าโครงการนี้มีการศึกษามาแล้วว่าไม่กระทบกับมรดกโลก จึงอยากให้เดินหน้า เพราะอยากเห็นความเจริญ อยากเห็นรถไฟความเร็วสูงแล่นผ่าน เพื่อทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น


รถไฟไทย-จีน ลุ้นสร้างสถานีอยุธยาผ่าน! | BUSINESS WATCH | 29-02-67
TNN Online
Feb 29, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=axdPyTxWFxc

รถไฟความเร็วสูงไทยจีนผ่านมาหลายปีมีความคืบหน้าเพียง 24% ล่าสุดยังติดปัญหาการก่อสร้างสถานีพระนครศรีอยุธยาที่อาจกระทบความเป็นมรดกโลก ทำให้โครงการอาจยืดเยื้อออกไปอีก ขณะที่รถไฟจีน-ลาวที่เปิดดำเนินการแล้วนั้นทำให้ภาคอีสานของไทยได้อานิสงส์ตามไปด้วย

จับตาแก้ตั๋วเครื่องบินแพง เล็งรื้อเพดานราคาใหม่หวังเอื้อประชาชนเดินทาง คมนาคมจี้ผู้รับเหมาเร่งก่อสร้างโครงการบนถนนพระราม 2 ขู่ล่าช้าขึ้นบัญชีดำ ขณะที่รถไฟไทย-จีนสะดุดข้อท้วงติงสถานีพระนครศรีอยุธยา


Last edited by Mongwin on 01/03/2024 7:50 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 537, 538, 539 ... 559, 560, 561  Next
Page 538 of 561

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©