View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 21/03/2024 12:49 pm Post subject:
สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ mrt purple line (มี.ค.67)
วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า
21 มี.ค. 2024
สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ mrt purple line (มี.ค.67)
แจ้งปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาออก บริเวณ ทางลงสะพานพระปกเกล้า ถึง อนุสรณ์สถานงานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน และปรับทิศทางการสัญจร บริเวณทางขึ้นสะพานพุทธฯ จากขาเข้าเป็นขาออก เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์ สถานีสะพานพุทธฯ วันที่ 22 มีนาคม 30 พฤษภาคม 2567 มีการจัดการจราจร 2 รูปแบบ ดังนี้
แบบที่ 1 วันจันทร์ - ศุกร์ ช่วงเวลา 19.01 - 16:00 น. (ของวันถัดไป) ส่วนวันเสาร์ - วันอาทิตย์ (ตลอดวัน)
ฝั่งขาออกสามารถสัญจรได้ 2 ช่องจราจร และฝั่งขาเข้า สามารถสัญจรได้ตามปกติ
แบบที่ 2 (เริ่มวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567) วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 16.00 -19.00 น.
ปิดช่องทางฝั่งขาเข้า จากแยกบ้านแขก ขึ้นสู่สะพานพุทธฯ และปรับทิศทางการสัญจรบริเวณทางขึ้นสะพานพุทธฯ จากขาเข้าเป็นขาออก
ฝั่งขาออก สัญจรได้ 3 ช่องจราจร และฝั่งขาเข้าให้ใช้สะพานประปกเกล้าทดแทน
กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที
ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า สะพานพุทธ
มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้า เหลือ 2 ช่องทาง และฝั่งขาออก เหลือ 2 ช่องทาง ข้อมูล..เพจโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า ตำแหน่งสถานีอยู่กลางถนนประชาธิปก ระหว่าง ถ.สมเด็จเจ้าพระยา กับ ถ.อิสรภาพ (แยกบ้านแขก)
เป็นสถานีแรกของฝั่งธนบุรี หลังจากลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว มีทางขึ้นลงทั้งหมด 4 จุดดังนี้
ทางขึ้นลง 1 บ้านพักอาศัย ใกล้สะพานลอยข้ามถนน ฝั่งขาออก มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน
ทางขึ้นลง 2 อาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย หัวมุมแยกบ้านแขก ฝั่งขาออก มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
ทางขึ้นลง 3 บริเวณอาคารพาณิชย์ ใกล้4แยกบ้านแขก ฝั่งขาเข้า มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
ทางขึ้นลง 4 บริเวณอาคารพาณิชย์ ใกล้สะพานลอยข้ามถนน ฝั่งขาเข้า มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก กำหนดเปิดให้บริการในปี 2571
https://www.youtube.com/watch?v=VyEtUMaXk6s
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/03/2024 9:03 am Post subject:
เดินหน้าส่วนขยายสีแดงรฟม.ฟุ้งม่วงใต้คืบ28%
Source - ไทยโพสต์
Tuesday, March 26, 2024 05:00
ไทยโพสต์ จับตาคมนาคมชง ครม.เคาะเดินเครื่องสายสีแดงส่วนขยาย 3 เส้นทาง คาดเปิดประมูลได้ปี 2567 ด้าน รฟม.ฟุ้งม่วงใต้คืบกว่า 28%
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง เพื่อนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. พิจารณาหลังจากก่อนหน้านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้สรุปการศึกษารถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางและเตรียมเสนอ ครม.แล้ว แต่ต้องมีการปรับแก้ไขใหม่เพื่อความรอบคอบ จึงยังไม่มีการส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณา
สำหรับรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ใช้เงินลงทุนรวม 21,760.25 ล้านบาท ประ กอบด้วย สายสีแดงช่วงตลิ่งชันศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร หรือ กม., สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม. และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. อย่างไรก็ตาม คาดจะเปิดประมูลได้ในปี 2567 และเปิดให้บริการปี 71
นายกิตติ เอกวัลลภ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในภาพรวมทั้ง 6 สัญญา ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีความก้าวหน้ารวม 28.62% จากแผนงาน 19.72 คิดเป็นการดำเนินงานเร็วกว่าแผน 8.90% ซึ่งขณะนี้ รฟม.เตรียมดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์ สถานีสะพานพุทธฯ คาดจะดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์ ระยะเวลารวมประมาณ 18 เดือน แล้วเสร็จช่วงปลายปี 2569.
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 26 มี.ค. 2567
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/04/2024 9:41 am Post subject:
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
9 เม.ย. 67 06:00 น.
💜#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เดือนมีนาคม 2567
🚧ความก้าวหน้างานโยธา 30.45 %
📌มีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 ไปแล้วกว่า 114,232.23 ตัน หรือ 20.40%
📍เทียบเท่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 5,941.95 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
🌳เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 625,466 ต้น
🚊โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี
🟣ติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ Website : www.mrta-purplelinesouth.com
https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth/posts/395984993218017
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 09/04/2024 11:45 am Post subject:
Mongwin wrote: โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
9 เม.ย. 67 06:00 น.
💜#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เดือนมีนาคม 2567
🚧ความก้าวหน้างานโยธา 30.45 %
📌มีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 ไปแล้วกว่า 114,232.23 ตัน หรือ 20.40%
📍เทียบเท่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 5,941.95 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
🌳เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 625,466 ต้น
🚊โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี
🟣ติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ Website : www.mrta-purplelinesouth.com
https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth/posts/395984993218017
ลิงก์ขาดครับ
🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.63% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 37.75% ความก้าวหน้าโดยรวม 50.94%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 30.45%
.
วิสัยทัศน์ รฟม. (พ.ศ.2566-2570)
ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/742667784718117
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/967964291447472 Last edited by Wisarut on 09/04/2024 4:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/04/2024 11:53 am Post subject:
Wisarut wrote:
ลิงก์ขาดครับ
เจ้าของเพจลบโพสต์ไปแล้วครับ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/04/2024 8:27 am Post subject:
เปิดเบื้องลึกที่สุด'สายสีม่วง'
Source - เดลินิวส์
Tuesday, April 16, 2024 02:10
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
อีก 4 ปีข้างหน้า (2571) นอกจากประชาชนจะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายใหม่สีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) แล้ว จะได้บันทึกสถิติอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความลึกมากที่สุดในประเทศไทย เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครที่ "สถานี สามยอด" และ "สถานีสะพานพุทธ" ฝั่งธนบุรี ...แม้จะไม่ได้เป็นรถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกก็ตาม
อุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีม่วงลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในสัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที เป็นผู้รับจ้าง เริ่มก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการฯ
ระยะแรกของการก่อสร้างเป็นการเคลียร์พื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมงานขุดเจาะอุโมงค์ ทั้งนำแบริเออร์กั้นพื้นที่ เตรียมชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ ชิ้นส่วนผนังอุโมงค์ งานขุดดิน ขนย้ายดิน และนำหัวเจาะมาประกอบ เมื่อกระบวนการเหล่านี้เสร็จสิ้น จะเดินเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ระยะทาง 2.2 กม. โดยมีแผนขุดเจาะอุโมงค์ฯ ช่วงต้นปี 2568 ใช้เวลาประมาณ 18 เดือน แล้วเสร็จปลายปี 2569
อุโมงค์มีความลึกจากผิวดิน (พื้นถนน) ประมาณ 40 เมตร จุดลึกสุดประมาณ 41 เมตร ความลึกจากใต้ท้องน้ำถึงหลังอุโมงค์ประมาณ 10 เมตร อุโมงค์มีจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาห่างสถานีสะพานพุทธ ประมาณ 900 เมตร และห่างจากสถานีสามยอด 1.3 กม. ลึกกว่าอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ระหว่างสถานีสนามไชยและสถานีอิสรภาพ โดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) ที่ขุดลึกจากผิวดิน (พื้นถนน) ประมาณ 30 เมตร จุดลึกสุด 38 เมตร สาเหตุที่สายสีม่วงขุดลึกกว่าเพราะแนวอุโมงค์ต้องลอดผ่านย่านชุมชนอุโมงค์รถไฟฟ้าสายใหม่มีความยาวลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 200 เมตรเท่ากับความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาพอดี และยังเท่ากับอุโมงค์รถไฟฟ้าสายแรกสีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังมีลักษณะและใช้เทคนิคเดียวกับอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยมี 2 อุโมงค์ (ไป-กลับ) คู่ขนานกัน นับเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาตัวที่ 3 และ 4 ของไทย ห่างกันประมาณ 10 เมตร ดำเนินงานโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 1 อุโมงค์ และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) 1 อุโมงค์ ภายใต้การร่วมทำงานในชื่อกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที เป็นความท้าทายของบริษัท อิตาเลียนไทยฯ และบริษัท เนาวรัตน์ฯ ในการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดแม่น้ำครั้งนี้ผู้รับจ้างโครงการฯ มั่นใจว่า ไม่น่ากังวล มีประสบการณ์ขุดเจาะอุโมงค์ต่าง ๆ มาแล้วมากมาย การใช้หัวเจาะ วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ คล้ายการขุดเจาะอุโมงค์อื่น ๆ เพียงแต่การขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาครั้งนี้มีความลึกมากกว่าอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาสายแรกของสายน้ำเงินที่บริษัท อิตาเลียนฯ ผ่านประสบการณ์มาแล้ว ขณะที่บริษัท เนาวรัตน์ฯ เคยขุดเจาะอุโมงค์น้ำประปาก็ไม่น่ามีปัญหาใด
โดยใช้หัวเจาะอุโมงค์ (Tunnel Boring Machine : TBM) ชนิดสมดุลแรงดันดิน (Earth Pressure Balance Shield : EPB Shield) สามารถควบคุมแรงดันภายในหัวเจาะให้เท่ากับแรงดันดินด้านหน้าหัวเจาะ เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวของดิน และไม่ให้เกิดการทรุดตัว หรือการปูดของดินที่ระดับผิวดิน วิธีการขุดเจาะจะเริ่มจากหัวเจาะ TMB หมุนเข้าไป เพื่อขุดเจาะดินเข้าห้องกักดิน (Mixing Chamber) ด้านหน้าเครื่อง พร้อมเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ ดินที่ขุดเจาะแล้วจะถูกลำเลียงผ่านสกรูลำเลียง (Screw Feeder) และสายพานลำเลียงดิน (Conveyer) นำดินไปทิ้งในจุดที่กำหนดไว้
จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกอบผนังอุโมงค์ โดยใช้เครื่อง Segment Erector ยกชิ้นส่วนของผนังอุโมงค์ (Segment Lining) ขึ้นประกอบทีละชิ้นจนครบทั้งวง และเครื่อง TBM จะทำซ้ำตั้งแต่ขั้นตอนแรกใหม่ เพื่อขุดเจาะดิน และประกอบผนังอุโมงค์วงถัดไป พร้อม ๆ กับอัดฉีดน้ำปูนชนิดพิเศษที่แข็งตัวเร็วบริเวณด้านหลังหัวเจาะ (Tail Void Grout) เพื่อลดการเคลื่อนตัวของดินที่อาจเกิดขึ้นได้
ตัวอุโมงค์มีระบบป้องกันไม่ให้น้ำเข้าภายในอุโมงค์ ใช้คอนกรีตคุณภาพดีมีค่าทึบน้ำสูง รอยต่อระหว่างชิ้นส่วนผนังอุโมงค์มียางกันน้ำรั่วซึม (Hydro Swelling Seal Strip) กันแรงดันน้ำได้มากกว่า 5 บาร์ (50 เมตร) ขณะที่ตัวนอต ร้อยชิ้นส่วนอุโมงค์ติดกันก็มียางกันน้ำ ป้องกันน้ำรั่วบริเวณนอตร้อยชิ้นส่วน ส่วนผนังรอบนอกอุโมงค์จะถูกคลุมด้วยความหนาของชั้นวัสดุทึบน้ำแข็งตัวเร็ว (Grout) ประมาณ 10 เซนติเมตร (ซม.) รอบอุโมงค์ เพื่อป้องกันน้ำใต้ดิน
อุโมงค์รถไฟฟ้าที่ลึกที่สุดคำถึงถึงมาตรการต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร โดยถูกออกแบบให้มีอายุใช้งาน 120 ปี รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวเทียบเท่าแรงจากความเร่งในแนวราบที่มีความเร่ง 0.06 g ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ เคยได้รับแรงสั่นสะเทือนสูงสุดประมาณ 0.01-0.02 g (g คือ ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก)
ทั้งนี้พื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว และตั้งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว (บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี) กว่า 150 กิโลเมตร (กม.) โดย ริกเตอร์สเกลเป็นหน่วยในการวัดขนาดของการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ณ ระดับความลึกใด ๆ นอกจากนี้มีปล่องอพยพ หนีภัยระหว่างสถานีระยะไม่เกิน 730 เมตร เป็นทางออกฉุกเฉิน ในอุโมงค์มีระบบระบายควัน พร้อมไฟแสงสว่างฉุกเฉินนำทางให้ออกจากจุดอพยพได้อย่างปลอดภัย
เปิดเบื้องลึกที่ 41 เมตร อุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ สัญญาที่ 3 จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ปลายปี 2570 เช่นเดียวกับอีก 5 สัญญา วันนี้ภาพรวมการก่อสร้างผลิบานอยู่ที่ 30.45% ...อดใจรอปี 2571 เบ่งบานเติบโตเต็มที่ให้บริการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่ลึกที่สุด.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 เม.ย. 2567
Back to top