View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/04/2024 12:57 pm Post subject: |
|
|
ไม่จบ!! 'กรมศิลป์ฯ' ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาเป็น 'โบราณสถาน' เกมวางหมากขวางที่สุดท้าย 'ประชาชน' เสียประโยชน์ทุกมุม
12 APRIL , 2024
(12 เม.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure โพสต์ข้อความหัวข้อ กรมศิลป์ฯ ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาโบราณสถาน ตอนนี้?? โดยระบุว่า
ค้านจนสงสัย
ตั้งแต่อ้างมรดกโลก ขอทำ HIA ทำครบทุกอย่าง แต่มาประกาศโบราณสถาน!!!
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเห็นประกาศพื้นที่โบราณสถานของกรมศิลป์ฯ ในพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันทุกคนก็รู้แล้วจะจะเป็นพื้นที่ก่อสร้าง สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ที่คุยกันมา กว่า 2 ปีแล้ว!!!
ซึ่งที่ผ่านมา กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ ต่าง ๆ ก็แวะเวียนกันมา ยกประเด็นที่อ้างถึงเพื่อให้แก้ไขเส้นทาง หรือย้ายตำแหน่งสถานี ได้แก่
- มีการคัดค้านการแก้ไข EIA โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เคยผ่านไปแล้วตั้งแต่ปี 2562
- การแจ้งข้อกังวลของ UNESCO ในผลกระทบจากตัวมรดกโลก ซึ่งก็ขอให้ทำ HIA เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลก (ซึ่งห่างกว่า 1.5 กิโลเมตรจากตัวสถานี) ซึ่งปัจจุบัน HIA ก็เสร็จแล้ว ส่งให้กรมศิลป์ฯ ตรวจ (แต่ก็ยังไม่ส่งต่อให้ UNESCO พิจารณา)
- คัดค้านทางวิ่งยกระดับ ที่ผ่านเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน อ้างว่าบดบังทรรศนะวิสัย ซึ่งระบุให้ทำการจำลองใน HIA
- การสร้างกระแส #Saveอโยธยา จากนักอนุรักษ์บางกลุ่ม และบอกว่าพื้นที่สถานีอยุธยาปัจจุบันคือเมืองเก่าอโยธยา ในยุคทวารวดี แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการ และก็ไม่มีคำตอบว่า ถ้าจะขุดค้นจะทำอย่างไร จะไล่ที่ประชาชนที่อยู่ปัจจุบันออกเหรอ???
- สร้างกระแสผลกระทบกับชุมชนหน้าสถานีรถไฟอยุธยา ที่ต้องย้ายออก แต่ก็ไม่ได้พูดว่า นั่นเป็นที่ดินรถไฟมาตั้งแต่แรก ซึ่งคนเหล่านั้นมาเช่าที่ดินอยู่เพื่อใช้ประโยชน์
ล่าสุด!!! กรมศิลป์ฯ ได้ประกาศพื้นที่อนุรักษ์บนพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ถนนฝั่งตรงข้ามตัวอาคารสถานี ไปจนถึงชานชาลา 1 ริมทางรถไฟ ซึ่งการทำแบบนี้ก็เท่ากับว่า ตั้งใจจะวางหมากเพื่อให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาก่อสร้างได้ยาก และติดปัญหาที่ต้องมาเคลียร์กับ กรมศิลป์ ต่อในอนาคตอีก
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับตัวอาคารสถานีอยุธยาในปัจจุบัน หน่อย
ซึ่งหลายๆ คนบอกว่าเป็นอาคารสถานีที่ สร้างสมัย ร.5 ตั้งแต่การเดินรถไฟครั้งแรกในปี พ.ศ.2434 ซึ่งไม่จริง!!!
อาคารสถานีเดิมเป็นอาคารไม้ ซึ่งสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ในสมัย ร.6 ซึ่งเปิดใช้ในปี พ.ศ.2464
แต่อย่างไรก็ตาม อาคารสถานีก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการใช้ปริมาณมากในแต่ละวัน ซึ่งก็ปรับปรุงภายในไปพอสมควร
และก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลย ที่จะมีการปรับปรุงสถานีเก่าให้อยู่ร่วมกับ โครงสร้างใหม่ เพื่อมาขยายการพัฒนาด้านระบบราง ซึ่งมีตัวอย่างจากทั่วโลก
ซึ่งจากที่เล่ามาทั้งหมด ผมก็อยากทราบว่า กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ มีจุดประสงค์ต้องการทำไปเพื่ออะไร
. อยากให้ย้าย หรือ อยากจะให้โครงการช้าไปถึงไหน!!!
จากการคัดค้านอย่างต่อเนื่อง จนสงสัยว่า หน่วยงานมีปัญหาอะไรกับรถไฟความเร็วสูงกันแน่!!!
แต่ไม่เป็นไร ต่อให้กรมศิลป์ฯ ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่ตัวอาคารก็ไม่ได้ไปรื้อย้าย หรือกระทบอะไรกับตัวอาคารอยู่แล้ว เพียงแต่ตัวอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูง คร่อมทับบางส่วนของตัวอาคารสถานีรถไฟอยุธยาไปเท่านั้น!!!
ผมขอร้องเถอะครับ กรมศิลป์ฯ ก็เป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลไทย ช่วยทำงานคุยกัน เพื่อให้โครงการมันราบรื่นหน่อยเถอะครับ ไม่ใช่มาวางหมากขวางกันไปมา สุดท้าย ประชาชน เป็นคนที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ในทุกมุม!!!
ผมขอฝากรัฐบาลไปช่วยเป็นตัวกลางช่วยคุยให้เรื่องมันจบซักทีเถอะครับ
พรรคเพื่อไทย เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin
ลิงก์ ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถานีรถไฟอยุธยา
สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/
การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n
การเปรียบเทียบ โครงการอื่นที่ใกล้มรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB
ลิงก์คลิปชี้แจงรายละเอียด สถานีอยุธยา โดยกรมการขนส่งทางราง
https://youtu.be/iiCPwh7vFDM
สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/949437542161392/?d=n
การพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา อยู่ที่เดิม คนอยุธยาจะได้อะไร???
เปลี่ยน mode การเดินทาง จากรถ สู่เดิน!!! อนาคตยกระดับสู่ ถนนคนเดิน Historical Walk Way เทียบเท่า ญี่ปุ่น!!!
https://www.facebook.com/100067967885448/posts/649456317329959/?mibextid=cr9u03
ที่มา: https://www.facebook.com/share/KYikfKn8USivHnAQ/?mibextid=WC7FNe |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/04/2024 8:26 am Post subject: |
|
|
สุรพงษ์ ดันปิดดีลตอกเข็ม 2 สัญญารถไฟ "ไทย-จีน" ขีดเส้นพ.ค.นี้"ซี.พี."ไม่จบดึงโครงสร้างร่วมสร้างเอง
ผู้จัดการออนไลน์ 18 เม.ย. 2567 08:07 น.สุรพงษ์ เข็นปิดดีล 2 สัญญารถไฟ 'ไทย-จีน' เผย เม.ย.นี้ส่งรายงาน HIA ให้ยูเนสโก พร้อมลุยสร้างช่วงอยุธยา ส่วนปมโครงสร้างร่วม 'บางซื่อ-ดอนเมือง' รอ พ.ค.นี้หมดเวลาบัตรบีโอไอ 'ซี.พี.' ไม่ไปต่อ รฟท.ก่อสร้างเอง ลั่นต้องเดินหน้าเร่งเปิดบริการปี 71 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ว่า ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดจำนวน 14 สัญญา ยังเหลืออีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง คือสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ซึ่งรอการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ HIA ของสถานีอยุธยา โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังยูเนสโกว่าจะจัดส่งรายงาน HIA ให้ภายในเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการ และคาดว่าหลังสงกรานต์นี้ รฟท.จะส่งเรื่องไปที่ สผ.เพื่อดำเนินการส่งรายงานผลการศึกษา HIA ไปที่ยูเนสโกอย่างเป็นทางการต่อไป
ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการศึกษารายงาน HIA ได้เชิญผู้แทนยูเนสโกมาเป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเมื่อ สผ.จัดส่งรายงาน HIA ไปที่ยูเนสโกแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้จะชัดเจนและสามารถลงนามจ้างสัญญา 4-5 ได้ ซึ่งช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ไว้แล้ว ประเด็นเรื่องมรดกโลก ยืนยันว่าแนวเส้นทางและสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก แต่อยู่ใน Bubble Zone อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการทำ HIA ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อไปนี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจว่าหากโครงการที่ต้องก่อสร้างผ่านสถานที่โบราณสถานจะต้องทำ EHIA ก่อนเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นปัญหา นายสุรพงษ์กล่าว
@พ.ค.นี้ ซีพี ไม่ไปต่อ ดึงโครงสร้างร่วม "บางซื่อ-ดอนเมือง" ทำเอง
นายสุรพงษ์กล่าวว่า อีกสัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มต้นคือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่รถไฟไทย-จีนใช้โครงสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เรื่องนี้ ต้องรอกรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก่อน โดยมีการขยายไปถึงวันที่ 22 พ.ค. 2567 ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบฝ่ายค้านในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ซึ่งหากครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้แล้วไม่ได้บัตรส่งเสริมการลงทุนชัดเจนแล้ว ฝ่ายรัฐต้องเจรจาหาทางออก หากกรณีเอกชนไม่ไปต่อ หรือไม่ประสงค์จะทำโครงการต่อ รฟท.จะต้องนำโครงสร้างร่วมนี้มาดำเนินการเอง
โดยรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ตามกรอบเดิมมีวงเงิน 3,337 ล้านบาท กรณีทำโครงสร้างร่วมวงเงินรวมจะอยู่ที่ประมาณ 9,207 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้างโครงสร้างร่วมมั่นใจว่ามีวิธีพิจารณาจัดหางบมาดำเนินการได้ไม่มีปัญหา
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน โดยเฉพาะงานโยธาที่เหลือ 2 สัญญา หากเดือน พ.ค.นี้กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีความชัดเจนว่ายังไม่สามารถทำโครงสร้างร่วมได้ รฟท.พร้อมลงมือทำส่วนนี้เอง ยืนยันตนจะทำให้โครงการรถไฟไทย-จีนเดินหน้าได้ก่อน โดยมีเป้าหมายเปิดบริการในปี 2571ตอนนี้ไม่อยากพูดอะไรไปก่อน เพราะเรื่องยังไม่ชัดเจนจะเกิดผลกระทบต่อหลายฝ่ายได้ และต้องเข้าใจว่าโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนรฟท.เป็นคู่สัญญาเท่านั้น เพราะมีคณะกรรมการอีอีซีและ พ.รบ..อีอีซีกำกับ ดังนั้น โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินทั้งหมดหลังจากเดือน พ.ค.ไปก็ต้องพิจารณาอีกว่าจะไปอย่างไร รมช.คมนาคมกล่าว |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/04/2024 8:29 am Post subject: |
|
|
สุรพงษ์ มั่นใจรถไฟไทย-จีน เฟส1 เสร็จตามแผน
บ้านเมือง วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567, 07.34 น.
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมเดินหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาให้แล้วเสร็จตามแผน โดยยังคงเป้าเปิดบริการต้นปี 2571 ซึ่งขณะนี้จะติดปัญหากรณีโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่
ขณะนี้การก่อสร้างยังต่อเนื่อง ติดแค่2 สัญญาเท่านั้นที่ต้องเคลียปัญหา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ดอนเมือง ซึ่งติดปัญหาโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว เนื่องจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อมรดกโลกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีอยุธยา นายสุรพงษ์ กล่าว
สำหรับปัญหาโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินยังไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อาจไม่ขยายเวลาบัตรส่งเริ่มการลงทุนแล้ว หลังจากที่ขยายให้ผู้รับงานคือบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด(กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) มาแล้ว 2 ครั้งและสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 22 มกราคม2567ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การจะดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอย่างไรต่อไป ต้องเป็นหน้าที่ของสกพอ.พิจารณาตัดสินใจ ไม่ใช่กระทรวงคมนาคม ซึ่งเชื่อว่าแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวจะมีความชัดเจนภายในเดือนพฤษภาคม 2567 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/04/2024 8:34 am Post subject: |
|
|
ส่ง HIA สถานีอยุธยาถึงยูเนสโก
Source - เดลินิวส์
Thursday, April 18, 2024 05:40
ไฮสปีดสายแรกเลื่อนไปเรื่อยๆ งานระบบรางจัดหารถไม่ถึง 1%
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เสนอรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะเลขานุการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกแล้ว เตรียมเสนอต่อองค์การ เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสภายในเดือน เม.ย. 67
ภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ยังเดินหน้าต่อเนื่อง เหลืออีก 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 วงเงิน 10,325 ล้านบาท กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ปัจจุบันเอกชนยังยืนราคาเดิม เมื่อลงนามสัญญา รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเอกชนให้เริ่มงาน (NTP) ได้ทันที เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างทางวิ่งไปก่อนเว้นสถานีอยุธยาไว้สร้างทีหลัง และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง 15.21 กม. วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีช่วงที่โครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ประมาณ 10 กม. ต้องรอให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินฯ จบก่อน
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า หากสุดท้ายแล้วเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินฯ ไม่สร้างโครงสร้างทับซ้อนให้ รฟท. พร้อมก่อสร้างเอง ต้องประมูลหาผู้รับจ้างงานก่อสร้างต่อไป และต้องเพิ่มกรอบวงเงินในสัญญาอีกประมาณ 4 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเปิดบริการรถไฟ ไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ปี 71 (ตามแผนที่ปรับใหม่ จากเดิมจะเปิดบริการปี 66) ส่วนโครงการฯเฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟไฮสปีดสายแรกเฟส 1 มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 60 ภาพรวมผลงาน 32.31% ล่าช้า 28.76%
สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. และ
สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. เสร็จ 100%,
สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. คืบหน้า 0.16%,
สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และ ลำตะคอง 12.2 กม. 59.76%,
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า- ลำตะคอง 26.1 กม. 49.04%
สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 69.11 กม. 74.63%,
สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.3 กม. 6.69%,
สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง- นวนคร 21.8 กม. 0.29%,
สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. 30.01%,
สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 8.51%
สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. 1.54% และ
สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.9 กม. 52.63%
ขณะที่สัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท 0.92% ล่าช้า 45.88%
แนวโน้มเปิดไม่ทันปี 71 ต้องเลื่อนแผนบริการอีกแน่นอน.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 เม.ย. 2567 (กรอบบ่าย)
รฟท.ส่งHIAสถานีอยุธยาถึงยูเนสโกฝรั่งเศสเดือนนี้
*ปัญหาไม่จบไฮสปีดไทย-จีนเลื่อนบริการไปเรื่อยๆ
*งานระบบราง-หาขบวนรถผลงานไม่ถึง1%ช้า45%
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/972995650944336
Last edited by Mongwin on 18/04/2024 9:37 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/04/2024 8:36 am Post subject: |
|
|
'คมนาคม' ขีดเส้น พ.ค.นี้ ลุยสร้างไฮสปีด หาก 'ซีพี' พลาดบัตรส่งเสริม BOI
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Thursday, April 18, 2024 06:16
สุรพงษ์ เคาะแนวทางแก้ปมพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดเทรนช่วงบางซื่อ ดอนเมือง ลั่นหาก พ.ค.นี้ ซีพี ไร้ข้อสรุปบัตรส่งเสริม BOI เตรียมสั่งการรถไฟฯ เดินหน้าเปิดประมูลสร้างส่วนของไฮสปีดเทรนไทย จีนทันที เหตุมีความพร้อมเรื่องแบบก่อสร้างและวงเงินลงทุน
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร หนองคาย โดยระบุว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างก่อสร้างรวม 12 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา และยังมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2571
ส่วนอีก 2 สัญญาที่เหลือ ประกอบด้วย สัญญาที่ 4 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง และสัญญาที่ 4 5 ช่วงบ้านโพ พระแก้ว อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา โดยเฉพาะสัญญาที่ 4- 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนคู่สัญญาในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพื่อรับงานก่อสร้างส่วนของพื้นที่ทับซ้อนบริเวณนี้ ซึ่งทราบว่า ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดทราบว่าตอนนี้การรถไฟฯ กำลังเจรจากับเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน และโครงการนี้ก็อยู่ในการดูแลของอีอีซี ซึ่งกำลังเจรจาเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยเงื่อนไขในนั้นจะมีการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ - ดอนเมืองด้วย และขณะนี้ทางเอกชนก็อยู่ระหว่างขอบัตรส่งเสริม BOI ครั้งสุดท้าย ซึ่งต้องได้รับภายในเดือน พ.ค.นี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็น่าจะกระทบต่อสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินด้วย อย่างไรก็ดี นโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกรอบดำเนินงานว่าหากเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินไม่สามารถออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ แน่นอนว่าจะทำให้การแก้ไขสัญญาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินล่าช้าออกไปอีก ในส่วนของรถไฟไทยจีนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องอยู่ในเงื่อนไขงานก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ก็จำเป็นต้องตัดสินใจดำเนินการเพื่อไม่ให้โครงการรถไฟไทยจีนต้องล่าช้าออกไปด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีเป้าหมายว่าหากภายในเดือน พ.ค.นี้ เอกชนยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ ดอนเมือง ก็จะมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.เริ่มดำเนินการเปิดประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการตามแผนงานของรถไฟไทยจีน โดยงานส่วนนี้ประเมินวงเงินก่อสร้างราว 9 พันล้านบาท และก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.มีกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติในก่อสร้างสร้างงานอยู่แล้วราว 4 พันล้านบาท ดังนั้นจะเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีกราว 5 พันล้านบาท เพื่อเริ่มดำเนินการทันที ไม่ให้กระทบต่อภาพรวมโครงการรถไฟไทยจีน
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า รถไฟไทยจีนตอนนี้เดินหน้างานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอีก 2 สัญญาที่เหลืออยู่ควรต้องมีทางออกโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนเปิดให้บริการในปี 2571 โดยจากการประเมินภาพรวมในตอนนี้ยังเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผน ในเดือน พ.ค.นี้ จะเป็นกรอบเวลาสุดท้ายของการรอความชัดเจนงานก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ ดอนเมือง เพราะรัฐบาลก็มีเงินในการลงทุนก่อสร้างเองให้เป็นไปตามแผนงานอยู่แล้ว อีกทั้งโครงการนี้ก็มีความพร้อมทั้งแบบก่อสร้างสามารถเริ่มงานได้ทันที |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/04/2024 8:40 am Post subject: |
|
|
จับตาพ.ค.นี้แก้ที่ทับซ้อนสร้างไฮสปีด
Source - ไทยโพสต์
Thursday, April 18, 2024 02:30
ราชดำเนิน "สุรพงษ์" เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนรถไฟความเร็วสูง "เชื่อม 3 สนามบิน ไทย-จีน" ลุยทางออกหากเอกชนไม่เดินหน้าต่อ พร้อมจัดงบประมาณมาก่อสร้างแทน หวังให้ระบบขนส่งทางรางเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และไฮสปีดเทรน ไทย-จีน ว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาทางออกกับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งเป็นคู่สัญญาในการดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มั่นใจว่าปัญหาในเรื่องของโครงสร้างร่วมกันระหว่างเอกชนกับรัฐจะจบภายในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้อย่างแน่นอน เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการในโครงการรถไฟไทย-จีน เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาภายในปี 2571 นี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมมีความพยายามที่จะเดินหน้าในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟไทย-จีน ให้เปิดบริการให้สำเร็จ เนื่องจากปัจจุบันงานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 1 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเหลือแค่ 2 สัญญาเท่านั้นที่ต้องเคลียร์ปัญหา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ดอนเมือง ซึ่งติดปัญหาโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว วงเงิน 10,325.96 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญากับเอกชน เนื่องจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อมรดกโลกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีอยุธยา ทั้งนี้มั่นใจว่าทั้ง 2 โครงการรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าให้แล้วเสร็จและเปิดใช้บริการตามเป้าหมายที่วางไว้.
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2567 |
|
Back to top |
|
|
|