RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312063
ทั่วไป:13659635
ทั้งหมด:13971698
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 546, 547, 548 ... 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2024 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จับตาพ.ค.นี้แก้ที่ทับซ้อนสร้างไฮสปีด
Source - ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 02:30 น.


ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567


“สุรพงษ์” ดันปิดดีลตอกเข็ม 2 สัญญารถไฟ "ไทย-จีน" ขีดเส้น พ.ค.นี้ "ซี.พี." ไม่จบดึงโครงสร้างร่วมสร้างเอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:01 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:56 น.

ปักหมุด พ.ค.นี้ “สุรพงษ์” แนะรัฐ สร้าง “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:30 น.

“สุรพงษ์” แนะภาครัฐ สร้าง “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ตั้งเป้าพ.ค.นี้ หากเอกชนเมินสร้างโครงสร้างร่วมฯ หลังบีโอไอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมรอบสุดท้ายถึง 22 พ.ค.67
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 1 (ไฮสปีดไทย-จีน) ทั้งหมด 14 สัญญา ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 12 สัญญา ขณะที่อีก 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 4 – 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง และสัญญาที่ 4 – 5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญากับเอกชน



ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ทับซ้อนโครงสร้างร่วมสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีด) ระยะที่ 1 ปัจจุบันภาครัฐอยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ คาดว่าการเจรจาจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ค.นี้



“หากเอกชนไม่ต้องการเดินหน้าต่อในการก่อสร้างโครงสร้างทางร่วมโครงการฯ เบื้องต้นภาครัฐอาจจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง เพราะปัจจุบันบีโอไอไม่มีการขยายระยะเวลาการขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนออกไป เนื่องจากบีโอไอได้ขยายเวลาเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค. 2567”

“สุรพงษ์” เข็นปิดดีล 2 สัญญารถไฟ 'ไทย-จีน' เผย เม.ย.นี้ส่งรายงาน HIA ให้ยูเนสโก พร้อมลุยสร้างช่วงอยุธยา ส่วนปมโครงสร้างร่วม 'บางซื่อ-ดอนเมือง' รอ พ.ค.นี้หมดเวลาบัตรบีโอไอ 'ซี.พี.' ไม่ไปต่อ รฟท.ก่อสร้างเอง ลั่นต้องเดินหน้าเร่งเปิดบริการปี 71

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ว่า ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดจำนวน 14 สัญญา ยังเหลืออีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง คือสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ซึ่งรอการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ HIA ของสถานีอยุธยา โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังยูเนสโกว่าจะจัดส่งรายงาน HIA ให้ภายในเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการ และคาดว่าหลังสงกรานต์นี้ รฟท.จะส่งเรื่องไปที่ สผ.เพื่อดำเนินการส่งรายงานผลการศึกษา HIA ไปที่ยูเนสโกอย่างเป็นทางการต่อไป


ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการศึกษารายงาน HIA ได้เชิญผู้แทนยูเนสโกมาเป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเมื่อ สผ.จัดส่งรายงาน HIA ไปที่ยูเนสโกแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้จะชัดเจนและสามารถลงนามจ้างสัญญา 4-5 ได้ ซึ่งช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ไว้แล้ว

“ประเด็นเรื่องมรดกโลก ยืนยันว่าแนวเส้นทางและสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก แต่อยู่ใน Bubble Zone อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการทำ HIA ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อไปนี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจว่าหากโครงการที่ต้องก่อสร้างผ่านสถานที่โบราณสถานจะต้องทำ EHIA ก่อนเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นปัญหา” นายสุรพงษ์กล่าว

@พ.ค.นี้ “ซีพี” ไม่ไปต่อ ดึงโครงสร้างร่วม "บางซื่อ-ดอนเมือง" ทำเอง

นายสุรพงษ์กล่าวว่า อีกสัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มต้นคือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่รถไฟไทย-จีนใช้โครงสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เรื่องนี้ ต้องรอกรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก่อน โดยมีการขยายไปถึงวันที่ 22 พ.ค. 2567 ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบฝ่ายค้านในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ซึ่งหากครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้แล้วไม่ได้บัตรส่งเสริมการลงทุนชัดเจนแล้ว ฝ่ายรัฐต้องเจรจาหาทางออก หากกรณีเอกชนไม่ไปต่อ หรือไม่ประสงค์จะทำโครงการต่อ รฟท.จะต้องนำโครงสร้างร่วมนี้มาดำเนินการเอง

โดยรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ตามกรอบเดิมมีวงเงิน 3,337 ล้านบาท กรณีทำโครงสร้างร่วมวงเงินรวมจะอยู่ที่ประมาณ 9,207 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้างโครงสร้างร่วมมั่นใจว่ามีวิธีพิจารณาจัดหางบมาดำเนินการได้ไม่มีปัญหา

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน โดยเฉพาะงานโยธาที่เหลือ 2 สัญญา หากเดือน พ.ค.นี้กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีความชัดเจนว่ายังไม่สามารถทำโครงสร้างร่วมได้ รฟท.พร้อมลงมือทำส่วนนี้เอง ยืนยันตนจะทำให้โครงการรถไฟไทย-จีนเดินหน้าได้ก่อน โดยมีเป้าหมายเปิดบริการในปี 2571

“ตอนนี้ไม่อยากพูดอะไรไปก่อน เพราะเรื่องยังไม่ชัดเจนจะเกิดผลกระทบต่อหลายฝ่ายได้ และต้องเข้าใจว่าโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนรฟท.เป็นคู่สัญญาเท่านั้น เพราะมีคณะกรรมการอีอีซีและ พ.รบ..อีอีซีกำกับ ดังนั้น โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินทั้งหมดหลังจากเดือน พ.ค.ไปก็ต้องพิจารณาอีกว่าจะไปอย่างไร” รมช.คมนาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/04/2024 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต! รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน รังสิต-อยุธยา คืบหน้าต่อหลังวันหยุดยาว (18/4/67)
Max Puttipong
Apr 19, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=Uw2Ta-6THII
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2024 7:53 am    Post subject: Reply with quote

เมืองการบินอู่ตะเภา UTA ลุ้นเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ตั้งเป้าตอกเสาเข็มปีนี้
ฐานเศรษฐกิจ
20 เม.ย. 2567 | 17:19 น.

วัดปรอทเมืองการบินอู่ตะเภา UTA รอไม่ไหวเจรจาขอเข้าพื้นที่เตรียมงานก่อสร้างสำเร็จแล้ว รอรัฐเคลียร์ปัญหาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน เผย 5 ปี ลงทุนไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท ลุ้นอีอีซี ให้เริ่มก่อสร้างปีนี้ ด้าน ทร.เผย 30 บริษัทซื้อซองประมูลรันเวย์ 2

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าลงทุน 204,240 ล้านบาท นับจากวันที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนามกับ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563 จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ เนื่องจากอีอีซี ยังไม่ได้ออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP)ได้ ทั้งๆที่เอกชนลงทุนใช้จ่ายในโครงการนี้ไปแล้ว 4,000 ล้านบาท

ความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้ล่าสุด UTA ได้เจรจากับอีอีซีในการขอเข้าพื้นที่ไปเตรียมการก่อสร้างรอไว้ก่อน ระหว่างรอรัฐหาข้อสรุปกับบริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ผู้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ยังไม่ได้ก่อสร้างทั้งๆที่ชนะประมูลมากกว่า 5 ปีแล้ว

โครงการดังกล่าวเป็นส่วนที่สนับสนุนในการให้บริการผู้โดยสารในโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา และเป็น 1 ในเงื่อนไข 5 ข้อที่ UTA ต้องทำแผนร่วมกับเอเชีย เอราวัณ ซึ่ง UTA มองว่าในเร็วๆนี้รัฐจะหาวิธีแก้ปัญหาและข้อสรุปในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินได้ เพื่อจะได้ส่งมอบพื้นที่ให้ UTA เข้าไปลงทุนได้ภายในปีนี้

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพันธมิตรผู้คว้าประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่าในขณะนี้ UTA ได้เริ่มเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อเข้าไปเตรียมงานก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกแล้ว ซึ่งเราต้องเข้าไปวัดพื้นที่ เตรียมคน เตรียมงานต่างๆไว้รอก่อสร้างทันที หลังจาก UTA ได้รับหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ที่คาดว่าจะได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ภายในปีนี้

“เราเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเข้าพื้นที่ไปเตรียมงานก่อสร้างก่อน จึงได้ขออนุญาติภาครัฐเข้าไป เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ผ่านมาก็ล่าช้ากว่าแผน การได้เข้าไปเตรียมงานก่อน พอรัฐส่งมอบพื้นที่ให้เราได้ เราก็จะได้ค่อยๆทยอยปรับคนเข้าไปทำงาน ซึ่งทางรัฐก็บอกว่าดี และตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว UTA มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท หลักๆเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ เช่น ค่าที่ปรึกษา การทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) การออกแบบสนามบิน เราก็อยากจะเดินหน้าลงทุนให้เร็ว เพราะที่ผ่านมามีค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีรายได้เกิดขึ้น”

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้ผมมองว่า อีอีซี น่าจะออก NTP ให้ UTA เข้าไปลงได้ เนื่องจากในสัญญา 5 ข้อที่เป็นเงื่อนไขในการออก NTP มีการดำเนินการแล้ว 4 ข้อ ได้แก่ 1.มอเตอร์เวย์ M7 เชื่อมสนามบิน 2.ระบบไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภค 3.การรื้อย้าย เพื่อส่งมอบพื้นที่ 4.การประกวดราคารันเวย์ 2 ของกองทัพเรือ (ทร.) ยังเหลือเพียง 1 ข้อ คือ การทำแผนก่อสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่จะต้องหารือร่วมกันถึงการวางตำแหน่งและบริหารสถานีรถไฟเชื่อมต่อ สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสาร และทำแผนตารางเดินรถไฟให้สอดคล้องกับสนามบิน

โดยผมมองว่ายังไงการพัฒนาต่างๆในโครงการอีอีซียังไงก็ต้องเกิด เห็นได้จากการออกไปดึงนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงในไทยของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โครงการต่างๆหลักๆก็จะลงในพื้นที่อีอีซี ดังนั้นการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รวมถึงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ก็เป็นโครงการพื้นฐานที่สำคัญ โดยปัญหาเรื่องถึงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ผมเชื่อว่าสุดท้ายแล้วรัฐก็จะมีข้อสรุปถึงแนวทางหรือวิธีการต่างๆที่จะเกิดขึ้น อาทิ การเจรจากตกลงกับผู้ได้รับสัมปทานให้ได้ข้อยุติ ถ้าตกลงไม่ได้ ผู้ได้รับสัปทานไม่ทำแล้ว จะหาใครมารับแทน รัฐต้องหาวิธีการที่เหมาะสม เพราะถ้าไม่มีไฮสปีดเทรนก็คงไม่ได้

เนื่องจากทั้ง 2 โครงการมีส่วนเชื่อมโยงสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่าลืมว่าการเดินทางของผู้โดยสารเข้าสู่สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินฯ มีความจำเป็นที่ต้องใช้การเดินทางที่สะดวก รองรับการเดินทางเข้า-ออก ให้เป็นไปตามเป้าหมายปลายทางของสนามบินอู่ตะเภา ที่ในปีที่ 50 จะต้องมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการ 60 ล้านคน นั่นหมายความว่าต้องมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 100,000 คน เท่าๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเดิมภาพรวมของ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เคยอยู่ด้วยกัน เป็นโครงการเดียวกันมาก่อน ก่อนจะถูกจับแยกออกจากกัน มีกลุ่มพันธมิตรของภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและพัฒนา 2 ราย เลยทำให้ดูเหมือนยุ่งไปหน่อย

“ตอนนี้เราอาจจะไม่ต้องรอความชัดเจนเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ให้ออกมาก่อน เพราะหากรอขนาดนั้นแล้วไม่มีออกมา รอไปอีก 10 ปี เราก็ไม่ได้สร้างสักที ทำให้ต้องมาปรึกษาภายในของเราเองว่า จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก งบประมาณของโครงการก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะพันธมิตรทางการเงินของเรา ก็ต้องทำให้เขาเชื่อมั่นว่าไปด้วยกันได้ อย่างไรก็ต้องเดินหน้าต่อตามแผนงานแน่นอน” นายพุฒิพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนาวาเอก รตน วันภูงา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า ปัจจุบันกองทัพเรือ (ทร.) ได้เปิดขายซองเอกสารประกวดราคาในโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 (รันเวย์ 2) และทางขับสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา วงเงินโครงการ 15,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของภาครัฐในการลงทุนภายใต้โครงการร่วมทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

โดยผลจากการเปิดขายซองเอกสาร มีเอกชนสนใจซื้อของประมูลแล้วกว่า 30 ราย มีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 20 พ.ค.2567 คาดได้ตัวผู้รับเหมาภายในปลายปี 2567 และเริ่มก่อสร้างทันที โดยการก่อสร้างรันเวย์ 2 จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 3 ปี หลังจากนั้นจะทดสอบระบบประมาณ 1 ปี และจะเปิดใช้งานภายในปี 2571 เพื่อรองรับการขยายสนามบินอู่ตะเภาตามที่เอกชนคู่สัญญาวางแผนไว้

ทั้งนี้การก่อสร้างรันเวย์ 2 มีความยาว 3,500 เมตร โดยภายใต้รันเวย์นี้จะมีแนวเส้นทางของไฮสปีดเทรนเชื่อม3 สนามบินตัดผ่าน ทำให้ต้องก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดให้กับไฮสปีดเทรนด้วย คาดว่าจะมีพื้นที่ราว 80 เมตร ปัจจุบัน ทร.จึงแบ่งสัญญางานก่อสร้างส่วนของอุโมงค์ไว้อีก 1 สัญญา เพื่อรอความชัดเจนของเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเทรนมาวางแผนพัฒนา และยืนยันว่าความล่าช้าของไฮสปีดเทรน 3 สนามบินจะไม่กระทบต่อการก่อสร้างรันเวย์ 2 เพราะผู้รับเหมาสามารถทยอยก่อสร้างส่วนอื่นไปก่อนได้


U-Tapao Aviation City Project Aims for Construction Start This Year

Bangkok, Thailand – April 20, 2024 – UTA, the consortium developing U-Tapao Aviation City, is eager to begin construction but awaits resolution of the stalled high-speed rail project linking three airports. Despite delays and over 4,000 million baht in expenses, UTA hopes the Eastern Economic Corridor (EEC) will allow construction to start this year. Meanwhile, the Royal Thai Navy has seen strong interest from 30 companies bidding on U-Tapao Airport's second runway construction.

Key Points:

Project Stalled: The U-Tapao project has been unable to start construction due to unresolved issues with the 3-airport high-speed rail project, despite UTA fulfilling other contractual conditions.

Mounting Costs: UTA has invested over 4,000 million baht in project preparation costs without any generated revenue.

Construction Readiness: UTA has requested access to the site for preparatory work as they anticipate receiving the 'go-ahead' to begin construction this year.

Government's Role: EEC and the Thai government are seen as critical in resolving the high-speed rail impasse to allow the project to proceed.

Runway Bidding Success: Over 30 companies have expressed interest in bidding on the second runway for U-Tapao Airport, a project undertaken by the Thai Navy.

Statements

Putthipong Prasatthong-osot, President of Bangkok Airways (UTA Partner): Emphasizes UTA's commitment and readiness to start construction immediately upon receiving the green light.

Putthipong Prasatthong-osot: Believes the Thai government will find a solution to the high-speed rail issue and allow the project to move forward.
Capt. Ratan Wanphunga, Royal Thai Navy: Highlights the strong private sector interest in constructing U-Tapao's second runway.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2024 9:55 am    Post subject: Reply with quote

ลงพื้นที่บ้างแล้ว รถไฟความเร็วสูง พระแก้ว-ภาชี-หนองสีดา-สระบุรี อัพเดต 18/4/67
Apr 20, 2024
Max Puttipong


https://www.youtube.com/watch?v=okLUaZnOOOE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 7:48 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะลงทุนไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 กว่า 3.41 แสนล้าน-ไฟเขียว PPP ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาหนุนขนส่งข้ามแดน
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, April 22, 2024 06:32

บอร์ดรฟท.เห็นชอบไฮสปีด'ไทย-จีน'เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 357 กม.มูลค่ากว่า 3.41 แสนล้านบาท เร่งชงครม.แบ่งโยธา 13 สัญญา สร้าง 4 ปี ตั้งเป้าเปิดบริการปี 74 พร้อมไฟเขียวผลศึกษา PPP ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา 7.2 พันล้านบาท เปิดปี 71 หนุนขนส่งสินค้า”ไทย-ลาว-จีน”

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 ได้มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย)ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร (กม.) รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 341,351.42 ล้านบาท โดยขั้นตอนหลังจากนี้ รฟท.จะสรุปเรื่องเสนอไปกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติภายในปี 2567 คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 48 เดือน (หรือ 4 ปี) ก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 66 เดือน (หรือ 5 ปีครึ่ง )​กำหนดเปิดให้บริการปี 2574

ปัจจุบัน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคายมีการออกแบบงานโยธาเสร็จเรียบร้อย โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2567 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบก และทางอากาศ (คชก.) ได้ให้ความเห็นชอบรายงาน EIA แล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อนุมัติต่อไป

สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคายมีมูลค่าการลงทุน 341,351.42 ล้านบาท โดยแบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ
1.งานรถไฟความเร็วสูง วงเงินลงทุน 335,665.21 ล้านบาท ได้แก่ ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน วงเงิน 10,310.10 ล้านบาท ,ค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน235,129.40 ล้านบาท ,ค่าลงทุนระบบราง วงเงิน 30,663.75 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 29,007.08 ล้านบาท ,ค่าจัดหาขบวนรถไฟ วงเงิน17,874.35 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถซ่อมบำรุงทาง วงเงิน 2,620.43 ล้านบาท,ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 6,466.06 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานระบบรถไฟ วงเงิน2,792.38 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ วงเงิน 801.66 ล้านบาท

2.งานศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงินลงทุน 5,686.21 ล้านบาท ได้แก่ ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน วงเงิน 2,108.51 ล้านบาท ,ค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 2,325.46 ล้านบาท ,ค่าลงทุนระบบราง วงเงิน 418.76 ล้านบาทค่าระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 89.44 ล้านบาท , ค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์ยกขนในศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ 429.24 ล้านบาท ,ค่าจัดหารถจักรในศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ 210.00 ล้านบาท

ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 63.95 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานระบบรถไฟ วงเงิน 29.38 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ วงเงิน 11.47 ล้านบาท

โครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีจุดเริ่มต้นต่อจากจุดสิ้นสุดของโครงการเฟสแรก ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งไทย รวมระยะทาง 357.12 กม. โดยเป็น ทางวิ่งยกระดับ (Elevated Structure) ระยะทาง 202.48 กม. ทางวิ่งระดับดิน 154.64 กม. (แบบคันทาง138.93 กม. เป็นสะพานรถไฟ 15.71 กม.) มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่,สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี, สถานีหนองคาย

มีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ได้แก่ หน่วยซ่อมบำรุงบ้านมะค่า , หน่วยซ่อมบำรุงหนองเม็ก, หน่วยซ่อมบำรุงโนนสะอาด , หน่วยซ่อมบำรุงนาทา มีศูนย์ซ่อมบำรุง2 แห่ง คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และมีย่านกองเก็บตู้สินค้าและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 แห่ง ที่นาทา ตลอดเส้นทางมีอาคารจ่ายไฟฟ้าย่อย 14 แห่ง มีอาคารควบคุมระบบอาณัติสัญญาณรายทางและอาคารควบคุมสื่อสารรายทาง 51 แห่ง และโครงการจะแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนน จำนวน 261 แห่ง (เป็นสะพานรถไฟ 113 แห่ง สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ21 แห่ง สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟรูปตัวยู 2 แห่ง ทางลอดใต้ทางรถไฟ 96 แห่ง ทางบริการข้ามทางรถไฟ 2 แห่ง ยกเลิกจุดตัด 3 แห่ง และคงรูปแบบเดิม 3 แห่ง )

@แบ่งงานโยธา 13 สัญญา เฉลี่ยสัญญา ละ 2หมื่นล้านบาท

นายนิรุฒกล่าวว่า เบื้องต้นการก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการมูลค่าการลงทุน341,351.42 ล้านบาท จะแบ่งงานออกเป็น 13 สัญญา โดยในส่วนของ การก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง357.12 กม. วงเงิน 235,129.40 ล้านบาท แบ่งงานโยธาเป็น 11 สัญญา เฉลี่ยมูลค่าสัญญาละประมาณ 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างก่อสร้างที่มีคุณภาพ และการเข้าร่วมประมูลไม่มากราย หรือไม่น้อยรายจนเกินไป นอกจากนี้ ยังมีงาน ศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา โดยจะใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง


@ไฟเขียวผลศึกษา PPP ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา กว่า 7 พันล้านบาท

นายนิรุฒกล่าวว่า นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ​ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย (ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯนาทา) ตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งเห็นว่าควรแยกการลงทุนออกมาดำเนินการในรูปแบบ PPP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการที่ช่วยขยายขีดความสามารถทางการขนส่งของจังหวัดหนองคาย ให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีน

โดยหลังจาก บอร์ดรฟท. ให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(บอร์ด PPP) เห็นชอบหลักการและเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติเพื่อดำเนินการคัดลือกเอกชนร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

สำหรับโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา และย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย ขนาดเนื้อที่ 379 ไร่ ใช้รูปแบบ PPP Net Cost มูลค่าการร่วมลงทุน 7,211.94 ล้านบาท (การรถไฟฯลงทุน 6,560.03 ล้านบาท หรือ 90.96% เอกชนลงทุน 651.91 ล้านบาท หรือ 9.04%) ระยะเวลาร่วมลงทุน 20 ปี ประเมินค่าสัมปทานที่การรถไฟฯ ได้รับตลอดอายุโครงการ ที่4,457.07 ล้านบาท โดย การรถไฟฯ มีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 5.87% เอกชน 15.09% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) รฟท. ที่ 941 ล้านบาท เอกชน 32 ล้านบาท

คาดการณ์ปริมาณตู้สินค้าในปีแรกที่เปิดให้บริการ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 5.56 ล้านตัน หรือ 317,439 ทีอียู และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในปีที่ 20 เป็น 11.05 ล้านตันหรือประมาณ 631,237 ทีอียู

อย่างไรก็ตาม จากผลการวิเคราะห์ โครงการ PPP จะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน คือ มีการก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ คู่ขนานกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 และมีการเดินรถไฟจากศูนย์เปลี่ยนถ่าย นาทาฯ ไปยังสถานีเวียงจันทน์ใต้ได้โดยตรง ดังนั้น หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย และสปป.ลาวต้องร่วมกันผลักดันการก่อสร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่ และการเจรจากับหน่วยงานของสปป.ลาว ตลอดจนขอความร่วมมือกับรถไฟจีน เพื่อผลักดันให้มีการเดินรถระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน เป็นความตกลงโครงข่ายทางรถไฟเอเชีย (Tran - Asia Railway Network Agreement)


Thailand Approves $10B+ Investment in High-Speed Rail Expansion, Aims for 2031 Launch

BANGKOK – April 22, 2024 – In a move to boost regional connectivity, the State Railway of Thailand (SRT) board has approved a substantial multi-billion-dollar investment into Phase 2 of the Thai-Chinese high-speed rail project. This phase focuses on the 357-kilometer Nakhon Ratchasima-Nong Khai section of the line.

The total investment of 341,351.42 million baht (approximately $10 billion USD) has been earmarked for this extension. Construction is expected to take four years, with the service targeted to open in 2031.

Project Details

This phase of the Thai-Chinese high-speed rail project includes the construction of:

- 357 km of high-speed rail line (mix of elevated and ground-level)
- Five stations: Bua Yai, Ban Phai, Khon Kaen, Udon Thani, and Nong Khai.
- Four maintenance depots and a central maintenance center
- Natha Cargo Transshipment Center, a PPP initiative with a 5,686.21 million baht investment (approximately $165 million USD) to support cross-border trade

Economic and Connectivity Benefits

"This significant investment is crucial for enhancing cross-border transportation and economic growth between Thailand, Laos, and China," said Nirut Maneepan, Governor of the SRT. "We expect the project to create jobs, promote tourism, and improve connectivity within the region.”

The SRT will break down construction into 13 contracts, facilitating competitive bidding and ensuring the highest quality in project execution.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 8:03 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเฟส 2 โคราช-หนองคาย
Source - เดลินิวส์
Monday, April 22, 2024 05:10

ประมูล14สัญญา3.4แสนล. บอร์ดส่งต่อคมนาคม-ครม.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 18 เม.ย. มีมติเห็นชอบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท และจะเสนอกระทรวงคมนาคมภายในเดือน เม.ย. 67 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป เบื้องต้นคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 73 และเปิดบริการได้ในปี 74

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟไฮสปีดฯ เฟส 2 มีเส้นทางครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย ตลอดระยะทาง 357.12 กม. เป็นทางวิ่งยกระดับ 202.48 กม. และทางวิ่งระดับดิน 154.64 กม. มี 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย มีย่านกองเก็บตู้สินค้า และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย รวมทั้งจะมี 2 ศูนย์ซ่อมบำรุง ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่สถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย

การออกแบบรางขนาด 1.435 เมตร รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางจากนครราชสีมา-หนองคาย ประมาณ 1 ชั่วโมง 44 นาที และหากเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคายจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 28 นาที หาก ครม. เห็นชอบ รฟท. จะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ทันที โครงการฯ ออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณา

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟไฮสปีดฯ เฟส 2 แบ่งเป็น 14 สัญญา ประกอบด้วย งานก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟ ไฮสปีด 11 สัญญา, ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา 1 สัญญา และงานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล 1 สัญญา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 67 ใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 4 ปี งานระบบรถไฟฟ้า 5 ปีครึ่ง ทั้งนี้วงเงินโครงการฯ ทั้งหมด 341,351.42 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างโยธา 235,129.40 ล้านบาท, ค่าลงทุนระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 80,165.61 ล้านบาท, ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และชดเชยทรัพย์สิน 10,310.10 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาควบคุมงาน บริหารโครงการ และวิศวกรอิสระ 10,060.10 ล้านบาท และงานก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า รฟท. ได้แยกงานก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา ออกมาจากงานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดฯ เฟส 2 เพื่อเปิดประมูลในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย (ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา) และที่ประชุมบอร์ด รฟท. ครั้งนี้ได้อนุมัติโครงการแล้ว วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินฯ 2,108.51 ล้านบาท, ค่างานก่อสร้างโยธา 2,325.46 ล้านบาท, ค่าลงทุนระบบรางฯ 508.2 ล้านบาท, ค่าลงทุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ และรถจักร ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ 639.24 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาฯ 104.80 ล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 เม.ย. 2567

High-Speed Rail Phase 2: Korat-Nong Khai

Auction for 14 contracts totaling 340 billion baht by Board Forwarding Transport-Cabinet.

Mr. Nirut Maneepan, Governor of the State Railway of Thailand (SRT), disclosed that during the SRT board meeting on April 18, it was decided to endorse the collaborative endeavor between the Royal Thai Government, the Thai Kingdom, and the Government of the People's Republic of China to develop the high-speed rail infrastructure connecting Bangkok to Nong Khai, Phase 2, spanning from Nakhon Ratchasima to Nong Khai, covering a distance of 357.12 kilometers. The approved budget amounts to 341,351.42 million baht. The proposal is slated to be submitted to the Ministry of Transport by April 2024 for subsequent deliberation at the Cabinet meeting. The construction timeline targets completion by '73 with operational commencement in '74.

Furthermore, Mr. Nirut elaborated on the Phase 2 High-Speed Train Project, which encompasses routes spanning four provinces: Nakhon Ratchasima, Khon Kaen, Udon Thani, and Nong Khai, totaling 357.12 kilometers. The infrastructure entails 202.48 kilometers of elevated track and 154.64 kilometers at ground level, housing five stations: Bua Yai, Ban Phai, Khon Kaen, Udon Thani, and Nong Khai. Additional facilities include a container storage area and a cargo transfer hub at Natha Railway Station, Nong Khai Province, along with two maintenance centers located at Chiang Rak Noi Railway Station in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province and Natha Railway Station in Nong Khai Province.

The track design, set at 1.435 meters, enables trains to achieve a maximum speed of 250 kilometers per hour. The estimated travel time from Nakhon Ratchasima to Nong Khai is approximately 1 hour and 44 minutes, and from Bangkok to Nong Khai, it is projected to take around 3 hours and 28 minutes. Pending Cabinet approval, SRT will initiate an auction immediately post-project design completion. The Environmental Impact Assessment (EIA) report is undergoing evaluation, having received approval from the expert committee overseeing the Environmental Impact Assessment Report and is poised for submission to the National Environment Board.

Mr. Nirut further detailed that Phase 2 of the High-Speed Railway Project is segmented into 14 contracts, comprising 11 contracts for high-speed railway construction, one contract for the Chiang Rak Noi Maintenance Center, and another for the Natha Product Transfer Center and rail system, electrical, and mechanical systems. Construction is slated to commence in 2024, with civil construction spanning four years and electric train system work requiring 5.5 years. The total project budget amounts to 341,351.42 million baht, apportioned as follows: civil construction costs at 235,129.40 million baht, rail system investment costs including electrical and mechanical systems at 80,165.61 million baht, land ownership costs and asset compensation at 10,310.10 million baht, and consulting fees for project supervision, management, and independent engineering at 10,060.10 million baht, with the Natha transshipment center construction valued at 5,686.21 million baht.

Moreover, Mr. Nirut highlighted SRT's decision to segregate the Natha interchange center construction from the Phase 2 high-speed railway development, opting to solicit private investment through state enterprise participation (PPP). Previously, SRT commissioned a consultant to conduct a feasibility study and analysis for private sector involvement in government enterprise investments for the product interchange center project and the container storage area to bolster rail transportation in Nong Khai Province (Natha Transshipment Center). The board meeting subsequently sanctioned the project with a budget of 5,686.21 million baht, covering land ownership costs, civil construction costs, rail system investment, equipment and locomotive investment, and consulting fees.

Source: Daily News
Monday, April 22, 2024, 05:10
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

ก่อสร้างแล้ว..สถานีรถไฟความเร็วสูงปากช่อง
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Apr 22, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=7k_O-Ewm8rU

Already under construction..Pak Chong high speed train station.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 2:54 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ จ่อชง ครม. เดินหน้า 'ไฮสปีดไทยจีน' โคราช - หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 22 เม.ย. 2024 เวลา 14:40 น.

การรถไฟฯ ลุย “ไฮสปีดไทย - จีน” ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย วงเงิน 3.41 แสนล้านบาท จ่อเสนอ ครม.เริ่มขั้นตอนประกวดราคาปีหน้า ตั้งเป้าเปิดให้บริการ 2574

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดไทย-จีน) โดยระบุว่า ปัจจุบันงานก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา มีความคืบหน้าต่อเนื่อง เหลือรอลงนามสัญญาอีก 2 สัญญา เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง และตาดแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2572

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติไอสปีดไทย - จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงินรวม 341,351 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูง 235,129 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 80,165 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุมงานและรับรองระบบ 10,060 ล้านบาท

โดยโครงการไฮสปีดไทย – จีน ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดของโครงการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างรอเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยขั้นตอนภายหลังบอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว จะรายงานไปยังกระทรวงคมนาคม และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติเปิดประกวดราคางานก่อสร้างต่อไป

สำหรับแผนงานเบื้องต้น คาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) ภายในปี 2568 โดยจะแบ่งออกเป็น 13 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาแนวเส้นทาง 11 สัญญา มีมูลค่า 20,000 ล้านบาทต่อสัญญา เพื่อไม่ให้มีผู้แข่งขันน้อยรายหรือมากรายมากจนเกินไป สัญญาศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และสัญญาศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา ส่วนสัญญางานระบบราง ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล จะรวมเป็น 1 สัญญา

ทั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างงานโยธา 4 ปี หรือ 48 เดือน โดยการก่อสร้างงานโยธา จะแบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 202.48 กิโลเมตร ทางวิ่งระดับดิน ระยะทาง 154.64 กิโลเมตร เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี 5 สถานีใหญ่ ประกอบด้วย 1.สถานีบัวใหญ่ 2.สถานีบ้านไผ่ 3.สถานีขอนแก่น 4.สถานีอุดรธานี และ 5.สถานีหนองคาย เบื้องต้นคาดว่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2573 พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2574
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

‘รฟท’ เคาะสร้าง ‘รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน‘ เฟส 2 แล้ว!
โพสต์ทูเดย์ 22 เมษายน 2567

บอร์ดรฟท. ไฟเขียวโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส 2 วงเงินกว่า 3 แสนล้าน! วางจุดสถานีขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และเปิดประมูลศูนย์เปลี่ยนขายสินค้านาทา หวังเพิ่มปริมาณสินค้าเติบโตขึ้น 11 ล้านตันในปี 2590
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดไทย-จีน) ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงินรวม 341,351 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูง 235,129 ล้านบาท ,ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ,ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 80,165 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุมงานและรับรองระบบ 10,060 ล้านบาท ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดของโครงการแล้วเสร็จ

ส่วนรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาเห็นชอบ หลังจากนี้รฟท.จะรายงานต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ตามแผนโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 จะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) ภายในปี 2568 แบ่งออกเป็น งานโยธา 13 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาแนวเส้นทาง 11 สัญญา มีมูลค่า 20,000 ล้านบาทต่อสัญญา เพื่อไม่ให้มีผู้แข่งขันน้อยรายหรือมากรายมากจนเกินไป ,ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา โดยมีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างงานโยธา 4 ปี หรือ 48 เดือน และงานระบบราง ,ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 1 สัญญา ระยะเวลาก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 5 ปีครึ่งหรือ 66 เดือน คาดว่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2573 พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2574

ขณะเดียวกันโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ได้มีการปรับแบบการก่อสร้างงานโยธา แบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 202.48 กม. ทางวิ่งระดับดิน ระยะทาง 154.64 กม. เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี 5 สถานีใหญ่ ประกอบด้วย 1.สถานีบัวใหญ่ 2.สถานีบ้านไผ่ 3.สถานีขอนแก่น 4.สถานีอุดรธานี 5.สถานีหนองคาย

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายและย่านกองเก็บตู้สินค้าสินค้านาทาเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย วงเงิน 5,686 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธา 2,325 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 2,108 ล้านบาท ค่าลงทุนระบบราง ,ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 508 ล้านบาท ค่าลงทุนเครื่องมือ/อุปกรณ์และรถจักรศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา 639 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการควบคุมงานและรับรองระบบ 104 ล้านบาท

“สาเหตุที่มีการแยกสัญญาออกมาดำเนินการจากโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 เนื่องจากผลการศึกษาโครงการฯพบว่า การแยกสัญญานาทาจะเป็นประโยชน์สูงสุด เพราะเป็นโครงการที่สำคัญเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟทางคู่และศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าของกรมขนส่งทางบก (ขบ.) ทำให้รฟท.มีความจำเป็นต้องแยกสัญญา”

สำหรับโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายและย่านกองเก็บตู้สินค้าสินค้านาทาเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย เบื้องต้นรฟท.จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม,คณะกรรมการ PPP และครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป ซึ่งเป็นการเปิดประมูลในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Net Cost) ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี โดยมีค่าสัมปทานที่รฟท.จะได้รับตลอดอายุโครงการฯ 4,457 ล้านบาท คาดว่าเปิดให้บริการได้พร้อมกับโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ทั้งนี้ตามผลการศึกษาคาดว่าจะมีปริมาณสินค้าขนส่งบนเส้นทางรถไฟผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาเติบโตขึ้นเป็น 11.06 ล้านตันในปี 2590


The State Railway of Thailand (SRT) has announced its plans to proceed with Phase 2 of the Thailand-China high-speed rail project, marking a significant milestone in transportation development. Approved during the recent SRT Board of Directors meeting on April 18, the project entails constructing the high-speed rail system from Nakhon Ratchasima to Nong Khai, covering a distance of 357.12 kilometers with a total budget exceeding 300 billion baht.

Mr. Nirut Maneepan, Governor of the State Railway of Thailand, disclosed the details of the project, highlighting its comprehensive financial breakdown. The budget allocation includes expenses for construction, land acquisition, rail system infrastructure, and project management consultancy. With the project's detailed design now finalized, the Environmental Impact Assessment (EIA) report is currently under review by the National Environment Board for subsequent approval by the Ministry of Transport and the Cabinet.

Phase 2 of the Thai-China high-speed rail initiative is set to kick off with electronic bidding for contractors scheduled within 2025. Divided into 13 civil works contracts, including route alignment and maintenance center construction, the project aims to maintain a competitive environment. The timeline forecasts completion by 2030, with operations expected to commence by 2031.

In response to local concerns, the civil construction design has been adjusted to minimize community disruption, featuring a combination of elevated and ground-level runways across the route. The project will incorporate five major stations, strategically located to optimize accessibility and efficiency.

Furthermore, the SRT Board of Directors has endorsed a separate endeavor focusing on private investment in the transshipment center and container storage facility at Natha, Nong Khai Province. This initiative, aimed at bolstering rail transport support, will be presented to relevant authorities for approval. Envisioned as a joint venture between the public and private sectors, the project is slated to enhance cargo handling capacity, with an estimated volume projection of 11.06 million tons by 2047.

The decision to segregate the Natha contract from the main Thai-China High-Speed Project Phase 2 underscores its pivotal role in facilitating freight transfer and aligns with broader transportation infrastructure objectives. As the project moves forward, it reflects a concerted effort to harness public-private partnerships for sustainable development and economic growth in the region.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
22 เม.ย. 67 16:36 น.

ชุดเข็มเจาะเริ่มเปิดหน้าดินบริเวณ Pier52 ท้ายชุมชนหลักร้อย เพื่อทำการเจาะเข็มฐานรากของเสาตอม่อสะพานยกระดับ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=413762634695507&id=100081853208848

Construction of bored piles has begun in the Pier52 area at the end of the Lak Roi community to establish the foundation for elevated bridge piers.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 546, 547, 548 ... 581, 582, 583  Next
Page 547 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©