RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312063
ทั่วไป:13660799
ทั้งหมด:13972862
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 550, 551, 552 ... 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/05/2024 9:44 am    Post subject: Reply with quote

ที่ประชุมร่วมรถไฟ “ไทย-จีน” รับรอง “สถาบันวิจัยฯ ราง” ลุยถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง
เดลินิวส์ 9 พฤษภาคม 2567 9:17 น.
นวัตกรรมขนส่ง

ที่ประชุมร่วมด้านรถไฟไทย-จีน ไฟเขียวรับรอง “สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง” ของไทย หน่วยงานประสานถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง มอบ “ไทย” เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฯ ครั้งที่ 32 ร่วมผลักดันรถไฟไฮสปีดของไทย ปักธงเฟส 1 ไปโคราช เปิดปี 71 ส่วนเฟส 2 ไปหนองคายเปิดปี 73

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เป็นประธานร่วมกับนายอู่ ฮ่าว เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 31 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการผลักดันความร่วมมือโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.งานก่อสร้างโครงการฯ ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยได้เห็นชอบแนวทาง และมาตรการร่วมกันในการเร่งรัดให้การดำเนินงานก่อสร้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งความคืบหน้าของโครงการฯ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยปัจจุบันก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา อีก 10 สัญญาอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และรอการลงนามจำนวน 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการในปี 71

2.ความคืบหน้าการดำเนินการของโครงการฯ เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ฝ่ายไทยได้ออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการแล้ว และเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมกับการขออนุมัติโครงการ โดยในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีมติการประชุม ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 18 เม.ย.67 เห็นชอบอนุมัติการดำเนินโครงการก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 68 และจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 73

3.การเชื่อมต่อโครงการรถไฟเชื่อมต่อจากหนองคายไปยังเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) และความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่ โดยมีระยะห่างสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร ประกอบด้วย ทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ปัจจุบันกรมทางหลวง (ทล.) ได้ศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ และ รฟท. ขอรับการจัดสรรงบประมาณในปี 67 สำหรับการออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงาน EIA จำนวน 125 ล้านบาท ทั้งนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขต ของงาน และราคากลาง เพื่อจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด และการพัฒนาพื้นที่นาทา เพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า

โดย รฟท. ดำเนินการศึกษาในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เพื่อเป็นสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่รับรองการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟระหว่างทางรถไฟขนาด 1 เมตร และขนาดทางมาตรฐาน รวมถึงเป็นพื้นที่การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างทางถนน และทางราง และใช้เป็นพื้นที่สำหรับรวบรวมและกระจายสินค้า จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคาร คลังสินค้า การให้บริการคลังสินค้า รวมทั้งการให้บริการพิธีการทางศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า X–ray ตู้สินค้า การตรวจรังสี โดยกำหนดให้นาทาเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และจีน

ในการประชุมบอร์ด รฟท. มีมติการประชุม ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 18 เม.ย.67 เห็นชอบให้เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาเสนอต่อสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการในปี 71 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการปรับปรุง และดำเนินความร่วมมือให้ลึกซึ้ง และประสานงานอย่างใกล้ชิดในการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน เพื่อผลักดันให้โครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟดังกล่าวก้าวหน้าต่อไป

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบถึงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้กระทรวงคมนาคม โดย สทร. จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานหลักในการอำนวยความสะดวก และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านระบบรางจากต่างประเทศ และที่ประชุมได้ให้การรับรอง และเห็นชอบในหลักการให้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 32 ขึ้นในประเทศไทย และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้คืบหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยความร่วมมือและสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน เพื่อให้บรรลุประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งรถไฟของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

Thai-Chinese Railway Joint Meeting Approves "Rail Research Institute" for Technology Transfer

Transportation innovation takes a step forward

The Thai-Chinese railway joint meeting has greenlit the certification of Thailand's "Railway Technology Research and Development Institute" (RTA). The RTA will serve as the coordinating agency for railway technology transfer, and Thailand has been assigned to host the 32nd meeting to promote the country's high-speed train development. Phase 1 of the high-speed train project, connecting Bangkok to Korat, is slated for opening in 2028, while Phase 2, extending to Nong Khai, is targeted for a 2033 opening.

Mr. Suriya Juangroongruangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, co-chaired the 31st Meeting of the Joint Committee for Railway Cooperation between Thailand and China in Beijing with Mr. Wu Hao, Secretary-General of the National Development and Reform Commission of China. This meeting marks a significant step in promoting the high-speed rail project between the two countries. Key points discussed include:

Construction Progress:

Phase 1 (Bangkok - Nakhon Ratchasima): Guidelines and measures have been approved to expedite construction. Two of the 14 civil works contracts are complete, with 10 underway. The remaining two contracts are awaiting signatures. The estimated completion and opening date is 2028.

Phase 2 (Nakhon Ratchasima - Nong Khai ): The detailed civil works design is complete, and the Environmental Impact Assessment (EIA) report has been approved by the expert committee. The project will be presented to the National Environmental Board and State Railway of Thailand (SRT) board of directors for approval before submission to the Cabinet. Construction is expected to start in 2025 with a projected opening in 2033.

Railway Connection to Laos: Plans are underway to connect the Nong Khai railway project to Vientiane, Laos PDR. This includes the construction of a new bridge across the Mekong River. Feasibility studies are complete, and SRT has requested a budget allocation for detailed design and EIA preparation.

Natha Development: The SRT is exploring private sector investment to develop Natha as a cargo transshipment and container storage center with multimodal transportation capabilities. The development, set to be completed in 2028, will facilitate cross-border goods transportation between Thailand, Laos, and China.

Mr. Suriya highlighted the establishment of the Railway Technology Research and Development Institute (RTA) under the Ministry of Transport. The RTA will facilitate the transfer of technology and innovations in railway systems. The meeting approved holding the 32nd Joint Committee meeting in Thailand to further drive project progress and strengthen the sustainable development of rail infrastructure in both countries.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/05/2024 9:31 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นรถไฟไฮสปีดอีอีซี 22 พ.ค. BAFS ปรับแผนวอนรัฐช่วย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 07:22 น.

ลุ้น 22 พฤษภาคม “เอเชีย เอรา วัน” ยื่นเอกสารขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่งผลโครงการต่อเนื่องสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ต้องปรับแผน ขณะที่ระบบท่อส่งน้ำมันแรงดันสูงของ BASF ยังวางท่อไม่ได้ วอนขอรัฐบาลขยายระยะเวลาสัญญาให้ยาวขึ้น พร้อมขอให้รัฐช่วยค้ำประกันเงินกู้

ความล่าช้าของ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 224,544 ล้านบาท หลังการลงนามในสัญญาร่วมทุนระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ในฐานะเอกชนคู่สัญญาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 หรือผ่านมาแล้วเกือบ 4 ปี กำลังส่งผลกระทบไปยังโครงการต่อเนื่องอื่น ๆ ในสนามบินอู่ตะเภา

ไม่ว่าจะเป็นโครงการระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา ของ บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) หรือ BAFS กับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จนกระทั่งถึง บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น หรือ UTA

วางท่อน้ำมันไม่ได้
ม.ล.ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS กล่าวถึงความคืบหน้าในการลงทุนโครงการใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่ลงนามไว้กับ EEC ขณะนี้การก่อสร้างถังน้ำมันเสร็จแล้ว อาคารสำนักงานเกือบเสร็จ

แต่ยังมีงานคงค้างคือ ระบบท่อน้ำมันแรงดันสูง ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ เนื่องจากต้องรอ บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ให้สรุปเรื่องแบบก่อน หลังจากได้แบบ-ลานจอดแล้ว บริษัทจึงจะดำเนินการวางท่อน้ำมันได้

“ปัจจุบันมีความล่าช้ามากเพราะ ผู้ประกอบการกลุ่ม UTA ก็รอเพราะ UTA จะเริ่มก่อสร้างเมื่อเงื่อนไขต่าง ๆ ครบถ้วนตามสัญญา รวมไปถึง เรื่องรันเวย์ที่ 2 ซึ่งทางกองทัพเรือจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เข้าใจว่า ทำเรื่องการจ้างที่ปรึกษาออกแบบแล้ว ตอนนี้รอเรื่องงบประมาณทำรันเวย์” ม.ล.ณัฐสิทธิ์กล่าว

นอกจากนี้ยังมีเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นก็คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา) ของ บริษัทเอเชีย เอรา วัน จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งถ้ามีสัญญาณชัดว่า “ทำแน่นอน” ทางกลุ่ม UTA ก็พร้อมจะทำสถานี

โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ถือเป็นเดือนสำคัญสำหรับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูง จะดำเนินการต่อหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายแล้วที่ทาง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยอมขยายระยะเวลาให้บริษัทมาขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน หลังจากที่ขยายมาแล้วถึง 2 ครั้ง

ทั้งนี้ ระบบท่อส่งน้ำมันแรงดันสูงของ BAFS เป็นหนึ่งใน โครงการระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา มูลค่าการลงทุนประมาณ 2,200 ล้านบาท ของ บริษัทโกลเบิลแอโร่แอสโซซิเอทส์ หรือ GAA ทุนจดทะเบียน 900 ล้านบาท

โดย GAA เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS) ถือหุ้น 55% กับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ถือหุ้น 45% โดยบริษัทได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสนามบินอู่ตะเภาในรูปแบบกิจการร่วมค้า

ช้า 2 ปีขอรัฐบาลช่วย
ม.ล.ณัฐสิทธิ์ กล่าวในส่วนของโครงการของบริษัทนั้น เดิมคาดการณ์ว่า จะเปิดทำการได้ในปี 2570 แต่ตอนนี้บริษัทเลื่อนกำหนดไปเป็นปี 2572 แล้วและได้มีการหารือกับ EEC สำหรับผู้ประกอบการ “ซึ่งผมเรียกว่า กลุ่มเด็กดีที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา TOR ตลอด ให้สร้างก็สร้าง”

ดังนั้นทางภาครัฐโดยเฉพาะ สำนักงาน สกพ. หรือ EEC ก็น่าจะมีการสนับสนุนช่วยเหลือหรือชดเชยความล่าช้าของโครงการที่ไม่ได้เกิดจากบริษัทอย่างไรได้บ้าง โดยทางผู้ประกอบการก็พร้อมหารือ พูดแทนผู้ประกอบการคนอื่นด้วยที่อาจลงทุนโซลาร์ไปแล้ว ลงทุนระบบบำบัดน้ำเสียไปแล้ว แต่สนามบินอู่ตะเภายังไม่มา แผงโซลาร์ก็เสื่อมไปทุกวัน ดังนั้นควรมีมาตรการบางอย่างมาช่วยเหลือ

“รัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การขยายระยะเวลาสัญญาให้ยาวขึ้น เรื่องมาตรการช่วยเหลือการรับประกันเงินกู้ เพราะวันนี้ให้ผู้ประกอบการที่ถึงแม้จะมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งแค่ไหน ไปขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับการลงทุนใน EEC ทางธนาคารพาณิชย์ก็จะเอ๊ะขึ้นมา ซึ่งจะมีคำถามมากมาย ก็ต้องเข้าใจว่า ธนาคารเองก็ไม่มั่นใจว่า รัฐบาลจะเอาอย่างไรกับ EEC

แต่ถ้าวันนี้รัฐบาลยืนยันที่จะสานต่อโครงการแน่นอนก็ควรจะให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้สำหรับเอกชนในโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ว่ารัฐบาลให้ความมั่นใจกับธนาคารพาณิชย์ที่จะปล่อยเงินกู้ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ เรื่องอื่น ๆ ก็จะเป็นการสนับสนุนทั่วไปที่อยู่ในกรอบของ EEC อยู่แล้ว” ม.ล.ณัฐสิทธิ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม BAFS ยังเชื่อมั่นว่า “สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินอย่างไรก็เกิด เพียงแต่สนามบินอาจจะล่าช้า” ซึ่งในทิศทางที่ BAFS หารือกับ กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิ เอชั่น หรือ UTA ปรากฏพื้นที่ในภาคตะวันออกจะไม่ใช่แค่สนามบิน

แต่จะมีศูนย์แสดงสินค้า การดึงดูดการท่องเที่ยว สนามกีฬา สนามแข่งรถ มีทางต่อไปยัง ท่าเรือสำราญ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ที่รัฐบาลพยายามแก้ไข เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ ในมุมมองส่วนตัวคิดว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะต้องกลับมาทบทวนว่า ถ้าผู้ประกอบการ (กลุ่มบริษัทเอเชีย เอรา วัน) ไม่ลงทุน จะสามารถปรับลดสเกลลงจาก รถไฟความเร็วสูง ไปเป็น ถไฟความเร็วพอประมาณ ได้หรือไม่

เพื่อลดวงเงินทุนในโครงการลงมาครึ่งหนึ่ง ถ้าใช้รถไฟความเร็วสูงวิ่งได้ 200-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่มีหลายสถานีต้องจอดระหว่างทางก็ใช้ความเร็วได้แค่ 160-170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง “ในความเห็นส่วนตัวของผม หากรัฐบาลยอมทบทวนเงื่อนไขเอกชนก็พร้อมที่จะลงทุน” ม.ล.ณัฐสิทธิ์กล่าว

UTA คาดออก NTP ปลายปี’67
ด้าน นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ผู้รับสิทธิการพัฒนาและบริหารโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวยอมรับว่า แผนการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์แห่งนี้ “ล่าช้าจากแผนเดิมที่วางไว้” และปัจจุบันก็ยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการปรับแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

นอกจากนี้ UTA ยังติดเงื่อนไขข้อตกลงร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นโครงการคู่แฝดกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก การที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไม่มีความชัดเจน ทำให้คู่สัญญายังไม่สามารถกำหนดเวลาส่งมอบพื้นที่และออกหนังสือแจ้งเอกชนเริ่มงาน NTP (Notice to Proceed) ให้ UTA เริ่มงานได้

“เดือนมิถุนายน 2567 นี้ก็จะครบ 4 ปีของการลงนามพัฒนาโครงการ ระหว่างนี้ UTA ยังต้องรอความชัดเจนเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินต่อไป ซึ่งคาดว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเจรจากับคู่สัญญาอยู่ โดยเชื่อว่าน่าจะได้ข้อยุติประมาณไตรมาส 2-3 ของปีนี้และมั่นใจว่า NTP จะออกได้ประมาณปลายปี 2567” นายวีรวัฒน์และว่า

ข้อสรุปของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นเรื่องของรัฐบาลกับคู่สัญญาที่รับสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งเคลียร์ ส่วนจะเป็นผู้รับสัมปทานรายเดิมหรือจะเป็นรายใหม่ บริษัทเชื่อว่าสุดท้ายจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน

ทั้งนี้ เนื่องจากตามแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก รถไฟความเร็วสูงจะเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนให้ สนามบินอู่ตะเภา เป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 เชื่อมกับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ หากรถไฟความเร็วสูงไม่เกิดจะทำให้อู่ตะเภามีอุปสรรคและกระทบแผนดึงนักลงทุนเข้าพื้นที่ EEC มหาศาล

เส้นตายเอเชีย เอรา วัน
สำหรับความคืบหน้าของ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ บริษัทเอเชีย เอรา วัน นั้น ในขณะนี้เหลือระยะเวลาเพียง 12 วันเท่านั้น (22 พฤษภาคม 2567) ที่บริษัทจะต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมให้กับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุน หลังจากที่ได้เลื่อนระยะเวลาการออกบัตรส่งเสริมมาแล้วถึง 2 ครั้ง

โดยการได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่ ร.ฟ.ท.จะออก หนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP หรือ Notice to Proceed) ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการเริ่มก่อสร้างโครงการ โดยระบุไว้ในสัญญาร่วมทุนที่ว่า จะต้องมี “บัตรส่งเสริมการลงทุน” มาแสดง ร.ฟ.ท.จึงจะออก NIP ได้

ดังนั้นการไม่มายื่นเอกสารการดำเนินการของบริษัทเพื่อออก “บัตรส่งเสริมการลงทุน” จึงเป็นเหตุให้โครงการไม่มีความคืบหน้าทางด้านงานโยธามาตลอดระยะเวลา 4 ปีเต็ม นับตั้งแต่บริษัทได้รับการอมุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในวันที่ 13 มิถุนายน 2563

ความล่าช้าในการยื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ บริษัทเอเชีย เอรา วัน มาจากการที่บริษัทกำลังดำเนินการเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาร่วมทุน ที่ผ่านมาบริษัทได้แจ้งถึงปัญหาที่ขอให้รัฐบาลพิจารณาไม่ว่าจะเป็นขอให้รัฐพิจารณาปรับวิธีการจ่ายเงินร่วมลงทุนวงเงิน 118,611 ล้านบาทให้เร็วขึ้น

จากเดิมที่รัฐจะจ่ายเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จมาเป็นจ่ายเงินเมื่อเนื้องานส่วนใหญ่เสร็จ, การแบ่งจ่ายเงินค่าใช้สิทธิรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 10,671 ล้านบาท, การขอให้รัฐบาลช่วยหา Soft Loan , การขอให้รัฐตั้ง Contingency Fund ตลอดจนการขอเพิ่มให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ (สกพอ.) เป็นคู่สัญญา เป็นต้น

อนึ่ง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ถือหุ้นมากสุด 70%), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน

BAFS Adjusts Plans Amid High-Speed Rail Delay, Seeks Government Support
Prachachat Thurakit, May 11, 2024 - 7:22 a.m.

As the May 22 deadline for "Asia Era One" to submit documents for an investment promotion certificate for the high-speed rail project connecting 3 airports approaches, ongoing projects at U-Tapao Airport and Aviation City are being forced to adjust their plans.

The delayed high-speed rail project, valued at 224,544 million baht, has been awaiting a joint venture agreement between the State Railway of Thailand (SRT) and Asia Era One Company since October 2021. This delay is significantly impacting other projects, including the aviation fuel service system project at U-Tapao Airport, a joint venture between Bangkok Aviation Fuel Services Public Company Limited (BAFS) and PTT Oil and Retail Business Public Company Limited (OR).

Oil Pipeline Installation on Hold

M.L. Natthasit Diskul, President of BAFS, stated that while the oil tank and office building are near completion, the high-pressure oil pipe system remains on hold. This is due to a dependency on U-Tapao International Aviation (UTA), the winning bidder for the U-Tapao Airport and Aviation City Development Project. BAFS can only proceed with the pipeline installation after UTA finalizes the parking lot model.

Further delays stem from the uncertainty surrounding the high-speed rail project. If the project is confirmed, UTA is prepared to build a station. However, the May 22 deadline for Asia Era One to apply for an investment promotion certificate with the Board of Investment (BOI) is crucial in determining the project's future.

BAFS Requests Government Assistance

M.L. Natthasit emphasized that the delays are not due to BAFS, as the company has complied with all contract conditions. Originally slated for completion in 2027, the project is now postponed to 2029. BAFS is requesting government support, such as contract extensions and loan guarantees, to mitigate the impact of these delays on the company and other investors in the Eastern Special Development Zone (EEC).

UTA Expects NTP by End of 2024

Mr. Weerawat Panthawangkun, CEO of UTA, acknowledged the project's delay from the original plan, partly due to the COVID-19 pandemic and uncertainties regarding the high-speed rail project. UTA anticipates receiving the Notice to Proceed (NTP) by the end of 2024, after the government clarifies the high-speed rail situation.

Deadline for Asia Era One

Asia Era One has until May 22, 2024, to submit additional documents to the BOI for an investment promotion certificate. Obtaining this certificate is crucial for the SRT to issue the NTP to commence construction. The delay in this process has stalled the project for four years since the initial BOI approval in June 2020.

The delay is attributed to ongoing negotiations to amend the joint venture contract. Asia Era One has requested adjustments, including faster disbursement of the joint investment amount and government assistance with soft loans and a contingency fund.

Conclusion

The future of the high-speed rail project and its impact on related developments remain uncertain. The outcome of the negotiations between the government and Asia Era One will significantly influence the timeline and scope of the project.


อัพเดต! (12/5/67) รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ช่วงรังสิต-บ้านโพ มีความคืบหน้าเพิ่มขึ้น
Max Puttipong
May 12, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=d5RYNQvb3qw

Update! (May 12, 2024) High-speed train (Bangkok-Korat, Rangsit-Ban Pho section): Progress continues to accelerate.


เริ่มผลิตรถไฟไฮสปีดไทย-จีนปีหน้า
Source - เดลินิวส์
Monday, May 13, 2024 04:13

CR300ฟู่ซิงห้าว6ขบวน48ตู้ รองานโยธา70%มาติดตั้งราง

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เป็นประธานร่วมกับนายอู่ ฮ่าว เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน นอกจากจะรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) และโครงการฯ เฟสที่ 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357 กม.แล้ว ยังรายงานความคืบหน้างานสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายจีน ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ด้วย

ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เห็นชอบร่างการออกแบบเบื้องต้นของสัญญา 2.3 แล้ว ทั้งราง ตัวรถ และงานระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งานระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกล หลังจากนี้ฝ่ายจีนจะออกแบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ อาทิ การออกแบบลวดลาย สี เบาะที่นั่ง โดยฝ่ายจีนมีแผนเปิดประกวดราคาหาผู้ผลิต (Vender) ให้ได้ภายในปี 67 เพื่อออกแบบรายละเอียด และผลิตตัวรถ คาดว่าในช่วงต้นปี 68 ฝ่ายจีนจะออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และเสนอกลับมาให้ รฟท. พิจารณาอีกครั้ง ก่อนผลิตตัวรถต่อไป คาดว่าในปี 68 จะเริ่มผลิตตัวรถใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี และจะเริ่มทดสอบการเดินรถประมาณปลายปี 70 ประมาณ 6 เดือน ก่อนเปิดบริการในปี 71

เบื้องต้นจะใช้ขบวนรถ "ฟู่ซิงห้าว" รุ่น CR300 ซึ่งเป็น รุ่นที่ยังเดินรถให้บริการในประเทศจีน ใช้ความเร็วได้สูงสุด 300 กม.ต่อชม. แต่วิ่งจริงจะใช้ความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อชม. โดยจะนำขบวนรถเข้ามาไทย 6 ขบวน 48 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 8 ตู้ มีประมาณ 560 ที่นั่งต่อขบวน ไม่มีตั๋วยืน ซึ่ง 6 ขบวนนี้จะวิ่งให้บริการ 4 ขบวน และสำรองไว้ 2 ขบวน ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 3.7 เมตร แบ่งประเภทที่นั่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ second class จัดเรียงแบบ 3-2 ตลอดความยาวตู้โดยสาร, First class จัดเรียงฝั่งละ 2 ที่นั่ง และ Business class เก้าอี้เดี่ยวฝั่งละ 1 ที่นั่ง ใช้ตู้โดยสารหลังห้องคนขับ ในขบวนรถมีห้องน้ำแบบระบบปิด และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ปัจจุบันงานสัญญา 2.3 วงเงินประมาณ 50,633 ล้านบาท ได้ผลงาน 0.92% ล่าช้า 45.88% ขณะที่การก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ผลงาน 32.31% ล่าช้า 28.76% โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนาม 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว เมื่อภาพรวมงานก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 70% ฝ่ายจีนจึงจะเข้ามาติดตั้งวางราง รวมถึงติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และทดสอบเดินรถต่อไป.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 พ.ค. 2567 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/987601302817104

Starting production of Thai-Chinese high-speed trains next year
Source: Daily News
Monday, May 13, 2024 04:13

CR300 Fuxinghao, 6 trains, 48 cars, awaiting 70% completion of civil works to install the tracks.

The Ministry of Transport reports that the 31st meeting of the Joint Committee for Railway Cooperation between Thailand and China was held in Beijing, People's Republic of China. Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport co-chaired the meeting with Mr. Wu Hao, Secretary-General of the National Development and Reform Commission of China. In addition to reporting on the construction progress of the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 1, Bangkok-Nakhon Ratchasima section, distance 253 kilometers (km), and Phase 2, Nakhon Ratchasima-Nong Khai section, distance of 357 km, the meeting also covered the progress of contract work 2.3, rail system work, electrical and mechanical systems, including the procurement of trains and personnel training, which are being handled by the Chinese side, consisting of China Railway International Co., Ltd. and China Railway Design Corporation.

Currently, the State Railway of Thailand (SRT) has approved the preliminary design draft of Contract 2.3, including the tracks, cars, and various system works, such as electrical and mechanical systems. Following this, the Chinese side will design details in various parts, such as pattern design, colors, and seat cushions. The Chinese side plans to open a bidding process to find a manufacturer (vendor) within 2024 to design details and produce the cars. It is expected that the Chinese side will complete the detailed design in early 2025 and propose it back to the SRT for further consideration. The production of the cars is expected to begin in 2025 and take no more than 2 years, with testing to commence around the end of 2027, approximately 6 months before the opening of service in 2028.

Initially, the CR300 model "Fuxinghao" train will be used, a model currently in service in China. It can reach a maximum speed of 300 km per hour, but will operate at a maximum speed of 250 km per hour. Six trains of 48 cars will be brought to Thailand, with each train having 8 cars and approximately 560 seats. There will be no standing tickets. Of these 6 trains, 4 will be in service, and 2 will be reserved. The cars are air-conditioned, with a width of 2.8-3.7 meters, a length of 20 meters, and a height of 3.7 meters. Seats are divided into 3 classes: second class, arranged in a 3-2 pattern throughout the passenger coaches; first class, arranged with 2 seats on each side; and business class, with single chairs, 1 seat on each side. The passenger compartment is located behind the driver's cabin. The train has closed restrooms and various other facilities.

Currently, contract work 2.3, with a budget of approximately 50,633 million baht, has a performance of 0.92% and is delayed by 45.88%. Meanwhile, the construction of civil works, 14 contracts, with a budget of 179 billion baht, has a performance of 32.31% and is delayed by 28.76%. Two contracts have been completed, 10 contracts are under construction, and 2 contracts are awaiting signing: Contract 4-1, Bang Sue-Don Mueang section, and Contract 4-5, Ban Pho-Phra Kaeo section. When the overall construction work is approximately 70% complete, the Chinese side will install the tracks, signaling system, and continue testing the vehicles.

Source: Daily News newspaper, issue date May 14, 2024 (afternoon edition)


ปัญหาเพียบ!ไฮสปีด"ไทย-จีน"ดีเลย์กว่า33%'สุริยะ'ดันเฟส2'นครราชสีมา-หนองคาย'เชื่อมลาว
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, May 13, 2024 04:40

เตรียมเทกระจาดบิ๊กล็อตกว่า2.3แสนล้านบาท

บิ๊กโปรเจกต์อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ที่มีวงเงินลงทุน สูงถึง 179,412.21 ล้านบาท ปัจจุบันแม้จะเห็นว่า การก่อสร้างเริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่หากจะย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของ "ไฮสปีดเทรน" สายแรกของไทย ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพิธีเริ่มต้นก่อสร้าง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ล่วงเลยมากว่า 6 ปีแล้ว แต่ภาพรวมการก่อสร้างยังไม่ถึงครึ่ง ล่าสุด ณ เดือน เม.ย. 2567 มีผลงานสะสมที่ 32.867% ล่าช้าถึง 33.470% (แผนงาน 66.337%) ซึ่งหมุดหมายการเปิดบริการในปี 2571 นั้น ไม่ได้เพียงแต่ก่อสร้างงานโยธาเสร็จเท่านั้น แต่จะต้องมีทั้งระบบไฟฟาและเครื่องกล รวมไปถึงการผลิตรถ และการจัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมาบริหารโครงการ ที่ยังต้องเร่งรัดให้เสร็จภายในเวลา4 ปีที่เหลือ

'สุริยะ' นำทีมประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 31 ที่กรุงปักกิ่ง

วันที่ 8 พ.ค. 2567 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานร่วมกับนายอู่ ฮ่าว เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ซึ่งถือเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ ภายใต้รัฐบาลใหม่ ที่มี "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีวาระสำคัญ คือการติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้าง เฟสที่ 1, ผลักดันโครงการเฟสที่ 2 และการเชื่อมโยงจากไทย-สปป.ลาว

ฝ่ายไทยนั้นมีการรายงาน งานก่อสร้างโครงการช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา(ระยะที่ 1) ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งมีความก้าวหน้าในด้านการรื้อย้ายและเวนคืนที่ดิน ขณะที่งานโยธาแล้วเสร็จ 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา อีก 10 สัญญาอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และรอการลงนามจำนวน 2 สัญญา โดยฝ่ายไทย แจ้งกับฝ่ายจีน ว่าจะใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี2571

ชง ครม.เคาะเฟส 2 นครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท

พร้อมกันนี้ยังได้แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการของโครงการระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 341,351.42 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายไทยได้ออกแบบรายละเอียด งานโยธาแล้วเสร็จ และรายงาน EIA ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการแล้วและเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ คู่ขนานไปพร้อมกับการขออนุมัติโครงการภายในปี 2567

รถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 นี้คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ได้มีมติ เห็นชอบโครงการฯเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ได้ในปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 48 เดือน (หรือ 4 ปี) ก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 66 เดือน (หรือ 5 ปีครึ่ง ) คาดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2573 หนือ หลังจากเปิดบริการ เฟส 1 ประมาณ 2 ปี

ตั้งงบปี 67 ออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ เชื่อม 'เวียงจันทน์'

สำหรับโครงการรถไฟเชื่อมต่อจากจังหวัดหนองคายไปยังเวียงจันทน์ สปป.ลาวฝ่ายไทยแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) ศึกษาความเหมาะสม ปัจจุบันศึกษาเสร็จแล้ว ส่งมอบให้รฟท.ดำเนินการต่อ ซึ่งรฟท. ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณ ในปี 2567 สำหรับการออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงาน EIA จำนวน 125 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขต ของงาน และราคากลาง เพื่อจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดแล้ว

นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้ สินค้า โดย รฟท. ได้ดำเนินการศึกษาใน รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เพื่อเป็นสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่รับรองการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟระหว่างทางรถไฟขนาด 1 เมตร และขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร รวมถึงเป็นพื้นที่การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างทางถนนและ ทางรางและพื้นที่สำหรับรวบรวมและกระจายสินค้า โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น อาคาร คลังสินค้า การให้บริการคลังสินค้า รวมทั้งการให้บริการพิธีการทางศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า X-ray ตู้สินค้า การตรวจรังสี เป็นต้น

"นาทา จะเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศ ไทย ลาว และจีน"
ส่อง!งานก่อสร้าง 14 สัญญาช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ยังช้ากว่าแผน 33.470%

สำหรับงานโยธา ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ระยะที่ 1) ระยะทาง 253 กม. แบ่งออกเป็น 14 สัญญานั้น การก่อสร้าง ณ เดือน เม.ย.2567 ภาพรวมมีความคืบหน้า 32.867% ล่าช้า 33.470% (แผนงาน 66.337%) โดยสร้างเสร็จแล้ว 2 สัญญา อีก 10 สัญญากำลังก่อสร้าง (ล่าช้า 9 สัญญา สร้างเร็วกว่าแผน 1 สัญญา)

ความคืบหน้า แต่ละสัญญา มีดังนี้สัญญา 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกรมทางหลวง แล้วเสร็จ 100%

สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท มีบจ.ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 98.67% (ล่าช้า 1.33%) จะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ส.ค.2566

สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348.99 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ITD เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 0.26% ล่าช้า 1.020% (แผนงาน 1.280%)

สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 63.080% ล่าช้า 32.920% (แผนงาน 100%)

สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.ไทย เอ็นจิเนียร์และอุตสาหกรรมเป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 50.180% เร็วกว่าแผน 2.000% (แผนงาน 48.180 %)

สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาทมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 73.350% ล่าช้า 1.320% (แผนงาน 76.670%)

สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม.วงเงิน7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 7.072 % ล่าช้า7.238 %(แผนงาน 14.310 %)

สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. เป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญา

สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม.วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 0.300% ล่าช้า 76.020% (แผนงาน 76.320 %)

สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 31.560% ล่าช้า 67.190% (แผนงาน 98.750%)

สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท มีบมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 10.444% ล่าช้า 53.326% (แผนงาน 63.770 %)

สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 10,325 ล้านบาท ยังไม่ได้ลงนามสัญญา เนื่องจากมีประเด็นผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกและผู้ได้รับคัดเลือกขอปรับถ้อยคำในสัญญาจ้าง

สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริง เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 2.050% ล่าช้า 77.140% (แผนงาน 79.190%)

สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริง เป็นผู้รับจ้าง ผลงานสะสม 53.640% ล่าช้า 0.620% (แผนงาน 54.260%)

เจาะปัญหา 'เวนคืน-ปรับแบบ-ใช้พื้นที่ป่าไม้-หน่วยงานรัฐ'

สำหรับปัญหาอุปสรรคสำคัญของโครงการ ได้แก่ การเวนคืนที่ดิน ซึ่งได้มีประกาศ พรฎ.เวนคืนที่ดิน เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ค่าทดแทน เริ่มจ่ายค่าเวนคืนแล้ว ปัจจุบันส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างแล้ว 90%

ปัญหาจากการประชาชน เรียกร้องปรับรูปแบบก่อสร้าง ในสัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา จากบริเวณโคกกรวด ถึง บ้านใหม่ จากทางวิ่งระดับดินระยะทาง 7.85 กม. เป็นทางวิ่งยกระดับ ซึ่งมีค่างานก่อสร้างเพิ่มอีก 4,791.45 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างเพิ่มอีกประมาณ 28 เดือน รฟท.เตรียมเสนอบอร์ดขออนุมัติ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมและครม.ต่อไป

และประชาชนในพื้นที่ ต.กุดจิก ต้องการปรับรูปแบบก่อสร้าง จากทางวิ่งระดับดิน 9 กม. เป็นทางวิ่งยกระดับ ซึ่งอยู่ใน สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. โดยรฟท. เสนอแนวทาง โดยให้ขยับตำแหน่งสะพานกลับรถใต้สะพาน ทล.290 เพื่อเพิ่มช่องระบายน้ำให้มากขึ้น

ส่งมอบพื้นที่ช้า ต้องขยายเวลารับเหมา 3 สัญญา

ส่วนประเด็นการขอใช้พื้นที่หน่วยงานรัฐ ซึ่งมีทั้ง กรมธนารักษ์ กรมชลประทาน กรมราชทัณฑ์ กรมป่าไม้ กรมเจ้าท่า และกองทัพบก ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีขั้นตอนและใช้เวลาในการพิจารณา ส่งผลกระทบ การส่งมอบพื้นที่ ให้ผู้รับจ้างล่าช้า จนต้องมีการขยายเวลาสัญญาเพื่อชดเชย

โดยเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 บอร์ดรฟท.มีมติขยายเวลาสัญญา 3-2 สร้างอุโมงค์คลองไผ่ ลำตะคอง อีก 431 วันจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย. 2567 ไปสิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. 2568

เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า ในส่วนของอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง ซึ่งในสัญญาที่ 3-2 มีงานก่อสร้างอุโมงค์ จำนวน 4 อุโมงค์ ได้แก่ 1. อุโมงค์คลองไผ่บริเวณลำตะคอง ซึ่งมีความยาวมากที่สุด 4.25 กม. 2. อุโมงค์มวกเหล็ก 3. อุโมงค์ผาเสด็จ 4. อุโมงค์หินลับ ที่ผ่านมาได้ทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง โดยอุโมงค์คลองไผ่เป็นพื้นที่สุดท้ายที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากกรมป่าไม้

สำหรับสัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มีระยะเวลาสัญญา 1,080 วัน บวกกับที่ได้รับการต่อขยายอีก 431 วันรวมเป็น1,511 วัน

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 สัญญาที่ต้องขยายเวลา สัญญาจ้างก่อสร้าง คือสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านไผ่ และสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอบอร์ด รฟท. อนุมัติ

งานระบบออกแบบช้า เพิ่งตรวจรับแบบเบื้องต้น

ส่วนสัญญา 2.3 งานออกแบบ จัดหา ติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงินประมาณ 50,633 ล้านบาท ปัจจุบันมีผลงานสะสม 0.920% ล่าช้า 68.53% (แผนงาน 69.450%) ล่าสุดฝ่ายจีนจัดทำร่างออกแบบงานระบบเสร็จแล้ว รฟท.ตรวจรับร่างแบบฉบับสุดท้ายแล้วและเตรียมเบิกค่าจ้างงวด จากนี้เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต รถจัดหาอุปกรณ์เพื่อผลิตตัวรถต่อไป

โดยคู่สัญญาฝ่ายจีนประกอบด้วยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์ แนชันแนล (CRIC) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CRDC) เซ็นสัญญาเมื่อ 28 ต.ค.2563 มีระยะเวลาดำเนินงาน 64 เดือน ตามสัญญาสิ้นสุด ก.พ.2569 ได้มีการออก NTP ให้เริ่มงานออกแบบเมื่อ 22 ธ.ค. 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟท.ได้จ่ายค่าจ้างล่วงหน้า (Advance Payment) ให้ฝ่ายจีนแล้ว เป็นเงินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 197 ล้านเหรียญสหรัฐ และสกุลเงินบาท 1,519 ล้านบาท ตามเงื่อนไขสัญญา

'มรดกโลก-ทับซ้อนซี.พี.' ยืดเยื้อ

ขณะที่อีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง คือสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว มีประเด็นมรดกโลก ล่าสุด รฟท.จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เสร็จแล้ว และส่งรายงาน HIA ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2567 เพื่อให้ทาง สผ.จะจัดส่งไปยังยูเนสโกอย่างเป็นทางการต่อไป

การศึกษารายงาน HIA ดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามคู่มือ ของศูนย์มรดกโลกฉบับปี 2021 โดยมีการวิเคราะห์แนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกให้น้อยที่สุด

อีกสัญญาที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง คือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ที่มีประเด็นโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ล่าสุดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯและรมว.คมนาคม ยืนยันว่าทาง บริษัท เอเชีย เอรา วันจำกัด (ซี.พี.) รับเป็นผู้ก่อสร้างทั้งหมด และมั่นใจว่า โครงการจะเดินหน้าต่อไป

ขณะที่ "จุฬา สุขมานพ" เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่าการเจรจาเรื่องโครงสร้างร่วมมีทิศทางที่ดี คาดว่าหลังสิ้นสุดการขยายเวลา รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในวันที่ 22 พ.ค. 2567 จะเห็นความชัดเจนที่ทำให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปตามเป้าหมาย

เร่งเฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย บิ๊กรับเหมา รอชิงเค้ก 2.3 แสนล้านบาท

นอกจาก จะต้องเร่งแก้ปัญหาอุปสรรค ในโครงการเฟส 1 ที่ตอนนี้ก่อสร้างไม่ถึงครึ่งแล้ว ว่ากันว่า!!!ฝ่ายนโยบาย ยังต้องการเร่งรัด โครงการในเฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีมูลค่าลงทุน 341,351 ล้านบาท โดยเบื้องต้น เฉพาะงานโยธาช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. มีวงเงินถึง 235,129 ล้านบาท แบ่งเป็น 13 สัญญา มูลค่าเฉลี่ยสัญญาละเกือบ 20,000 ล้านบาท ซึ่งหาก ครม.เห็นชอบ ภายในปี 2567 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2568 จะเป็นมหกรรมเทกระจาด บิ๊กล็อตกว่า 2 แสนล้านบาทผู้รับเหมารอชิงเค้กก้อนใหญ่ อุตสาหกรรมก่อสร้างคึกคัก แบงก์ วัสดุก่อสร้าง เกิดความต้องการแรงงานจำนวนมาก และจะเป็นตัวช่วยรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่นอน!!!.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 13 พ.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2024 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

#อัพเดทรถไฟความเร็วสูง (ล่าสุด) High-speed train update (latest)
รถไฟไทยสดใส
May 15, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=scfd1xIQ7gE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2024 11:23 am    Post subject: Reply with quote

ไซต์งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(เฟส1) กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา อยู่ในช่วงสัญญาที่ 3-1/3-2/3-3 ถ้าเป็นสถานีรถไฟปกติจะอยู่บริเวณ สถานีบันไดม้า-ปากช่อง-ซับม่วง-จันทึก-คลองขนานจิตร
https://www.facebook.com/FanPageRaisara/posts/1018830546705497

#โคราช #ปากช่อง ภาพชุดใหม่2 เดือนพฤษภาคม2567
ไซต์งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(เฟส1) กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา อยู่ในช่วงสัญญาที่ 3-1/3-2/3-3 ถ้าเป็นสถานีรถไฟปกติจะอยู่บริเวณ สถานีบันไดม้า-ปากช่อง-ซับม่วง-จันทึก-คลองขนานจิตร
Cr.ChaRt Weerachart Siridon ถ่ายเองทุกรูป
https://www.facebook.com/chart.siridon/posts/7938175602882681
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/05/2024 10:33 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ”หารือผู้แทนรัฐบาลนครคุนหมิง ร่วมมือส่งเสริมคมนาคมขนส่ง ผลักดันไฮสปีด และถนนR3A เชื่อมโยงไทย -สปป.ลาว - จีน
ผู้จัดการออนไลน์ 18 พ.ค. 2567 09:35

“สุริยะ”เปิดบ้านรับผู้แทนรัฐบาลนครคุนหมิง ส่งเสริมความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง ไทย – คุนหมิง ตั้งเป้า ผลักดัน รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน และพัฒนาเส้นทาง ถนน R3A ซึ่เชื่อมโยงระหว่างไทย - สปป.ลาว - จีน

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ นายหลิว หงเจี้ยน (Mr. Liu Hongjian) คณะกรรมาธิการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลยูนนานและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเทศบาลนครคุนหมิงและคณะเข้าพบเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งไทย - คุนหมิง ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟไทย - จีน เส้นทางเชื่อมโยงถนน Road 3 Asia (R3A) และการอำนวยความสะดวกการผ่านแดนระหว่างไทย - จีน โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวว่า ในการเข้าพบหารือครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อผลักดันความร่วมมือการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน และการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างไทย - สปป.ลาว - จีน ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับความร่วมมือด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น การก่อสร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟ Pan – Asia Railway สายกลาง (เส้นทางนครคุนหมิง - บ่อหาน - เวียงจันทน์ - กรุงเทพฯ - กัวลาลัมเปอร์ - สิงคโปร์) หรือเส้นทางโครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์ - คุนหมิง (SKRL) ภายใต้แนวคิด Belt and Road Initiative

ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2569 โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2573 และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2570

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (หนองคาย - เวียงจันทน์) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการขอรับจัดสรรงบประมาณสำหรับการออกแบบรายละเอียดและรายงาน EIA ในปี 2567 โดยเสนอแนวทางให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แหล่งเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ นำมาใช้กับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟและสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (หนองคาย - เวียงจันทน์) ในเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีเวียงจันทน์ใต้ของ สปป.ลาว - สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ - สถานีนาทา ของไทย ตามรูปแบบความร่วมมือโครงการสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) ซึ่งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายการก่อสร้างฝ่ายละครึ่งและประสบความสำเร็จมาแล้ว

นายสุริยะ กล่าวว่า ในส่วนของการสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงถนน R3A ซึ่งเป็นเส้นทางบกที่สั้นที่สุดในการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนตอนใต้ เชื่อมโยงระหว่างไทย – สปป.ลาว - จีน ผ่านจุดสำคัญของทั้ง 3 ประเทศ รวมระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากสินค้าไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรประเภทผลไม้สด เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ใช้การขนส่งทางบกและเชื่อมต่อกับเส้นทาง R3A โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและพัฒนาเส้นทางตั้งแต่เริ่มโครงการอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ บริเวณสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4 จังหวัดเชียงราย เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการนำเข้าและส่งออกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์และสินค้าบรรจุหีบห่อ ระหว่างจีนตะวันตกกับภูมิภาคต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงถนน R3A เชื่อมโยงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ (North - South Economic Corridor) ภายใต้ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

"Suriya" discusses with representatives of the Kunming city government cooperation to promote transportation, pushing for high-speed rail and the R3A road connecting Thailand - Lao PDR - China.
Online Manager, 18 May 2024, 09:35

“Suriya” opens the doors to welcome representatives from the Kunming city government, promoting cooperation in transportation between Thailand and Kunming. The aim is to advance the Thai-Chinese high-speed rail and develop the R3A road route, which connects Thailand, Lao PDR, and China.

On May 17, 2024, Mr. Suriya Jungrungruangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, met with Mr. Liu Hongjian, Executive Committee member of the Communist Party of Yunnan Province and Secretary of the Communist Party of Kunming Municipality, and his team to discuss the promotion of cooperation in transportation between Thailand and Kunming. The focus was on driving the development of the Thai-China railway network, the Road 3 Asia (R3A) road link, and facilitating border crossings between Thailand and China. Mr. Yatham Promsorn, Permanent Secretary of the Ministry of Transport, and related agencies participated in the discussion at the Ministry of Transport conference room.

Mr. Suriya Juangroongruangkit stated that during the meeting, there was an exchange of opinions to promote cooperation in the implementation of the Thailand-China high-speed rail project and the development of the link between Thailand, Lao PDR, and China. This cooperation is key to enhancing transportation and logistics in the Mekong Subregion. Projects such as the central Pan-Asia Railway network (Kunming - Bohan - Vientiane - Bangkok - Kuala Lumpur - Singapore) and the Singapore-Kunming Railway (SKRL) under the Belt and Road Initiative were discussed.

The high-speed rail project, Phase 1, Bangkok - Nakhon Ratchasima section, is currently under construction and expected to open in 2026. The high-speed rail project, Phase 2, Nakhon Ratchasima - Nong Khai section, is in the process of improving the environmental impact assessment report and is expected to open in 2030. Additionally, the double track railway project, Khon Kaen - Nong Khai section, spanning approximately 167 kilometers with a total of 15 stations, is expected to open in 2027.

For the new bridge construction project across the Mekong River (Nong Khai - Vientiane), the State Railway of Thailand (SRT) has requested budget allocation for the detailed design and EIA report in 2024. The project includes guidelines for both sides to study the possibility of using loans from financial institutions or international cooperation organizations for the construction of a new railway line and bridge across the Mekong River. The connection route is between Vientiane South Station of the Lao PDR and Natha Station of Thailand, mirroring the cooperation model of the 4th Thai-Lao Friendship Bridge project (Chiang Khong - Huai Sai), which was a successful joint venture between Thailand and China.

Mr. Suriya highlighted the importance of supporting the development of the R3A road link, the shortest land route for transporting goods from Thailand to southern China. The R3A route connects Thailand, Lao PDR, and China through key points in all three countries, covering a total distance of approximately 1,800 kilometers. This route is crucial for Thailand's export sector, particularly for agricultural products like fresh fruits (e.g., durian, mangosteen, longan), which primarily use land transportation along the R3A route. Thailand has continuously supported and developed this route since the project's inception.

Additionally, the construction of the Chiang Khong freight transport center around the 4th Thai-Lao Friendship Bridge in Chiang Rai Province aims to support the volume of imports and exports of containerized and packaged goods between Western China and various regions. This development aids the R3A road link along the North-South Economic Corridor under the Greater Mekong Subregion (GMS) cooperation, fostering economic and social benefits in the area and promoting sustainability.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/05/2024 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดททางรถไฟความเร็วสูง ช่วงสระบุรี - แก่งคอย (เดือน พฤษภาคม 2567)
จ่าบอล คนรักรถไฟ
May 20, 2024 สระบุรี

อัพเดทการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ช่วงสระบุรี - แก่งคอย
ถ่ายวันที่ 18 พฤษภาคม 2567


https://www.youtube.com/watch?v=UBQvEI7x49k

Update on the high-speed railway, Saraburi - Kaeng Khoi section (May 2024)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/05/2024 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว รื้อรางรถไฟในย่านสถานีนครราชสีมา(โคราช) เพื่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในจุดเดิม
Max Puttipong
May 20, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=V3NAPIaUOIg

Demolition of the tracks has begun in the Nakhon Ratchasima (Korat) station area to make way for a high-speed train station.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2024 8:00 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด 3 สนามบินเริ่มสร้างปีนี้ ‘CP’ ยื่นขอสิทธิประโยชน์ ‘EEC’ แทน ‘BOI’
กรุงเทพธุรกิจ 21 พ.ค. 2024 เวลา 7:00 น.

"ไฮสปีด 3 สนามบิน" EEC เผยเอกชนไม่ยื่นขอ BOI แล้ว หลังสิ้นสุดเดดไลน์ 22 พ.ค.เตรียมเจรจาสิทธิประโยชน์ตรงกับ “อีอีซี” “จุฬา” เผยหารือเอกชนออก NTP เร่งขั้นตอนการก่อสร้าง คาดตอกเสาเข็มได้ปีนี้หลังโครงการล่าช้ากว่า 4 ปี

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ว่าขณะนี้การหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนได้แก่บริษัทเอเชียเอราวัณ บริษัทลูกในเครือซีพี ผู้รับสัมปทานในโครงการนี้มีความคืบหน้าไปมากและใกล้ที่จะได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยในการขอรับสิทธิประโยชน์ในการก่อสร้างโครงการนี้ซึ่งเดิมมีกำหนดว่าบริษัทต้องไปขอยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

ซึ่งตามกำหนดนั้นระบุว่าเอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องไปยื่นขอบีโอไอภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้ โดยภาคเอกชนจะไม่ได้ขอสิทธิประโยชน์จากบีโอไอแล้ว แต่จะมายื่นขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีซึ่งตรงนี้ก็ต้องมีการหารือกันในภาพใหญ่รวมกับการแก้ไขสัญญาซึ่งในส่วนนี้รวมทั้งการหารือเกี่ยวกับการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ซึ่งจะมีการหารือกันในเรื่องนี้ด้วยเพื่อให้มีการเริ่มการก่อสร้างได้ ซึ่งเป็นกรอบในการเจรจาที่มีอยู่

“กรอบที่จะดำเนินการนั้นมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องคุยกับให้จบ ในการเจรจาต่างๆ ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ทางอีอีซีก็ต้องคุยกับทางเอเชียเอราวัณ ก็คือเราต้องดูทั้งโปรเจ็กต์นี้ ซึ่งเหลือในรายละเอียดที่ต้องคุยในปีนี้ก็น่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการได้ภายในปีนี้”

ทั้งนี้ยอมรับว่าโครงการนี้ล่าช้ากว่าแผนไปประมาณ 4 ปี โดยการมที่มาหารือกับอีอีซีเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการทำโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินก็ถือว่าไม่ได้ทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไปอีก

แต่เพียงแค่ต้องมาหารือกันเรื่องของสิทธิประโยชน์ให้ชัดเจนว่าเอกชนต้องการอะไรแล้วอีอีซีเราสนับสนุนอะไรได้บ้าง เพราะอีอีซีเราสามารถเจรจาเรื่องของผลประโยชน์ได้ ซึ่งใช้ในรูปแบบของการต่อรองเพราะต้องมาดูภาพรวมของโครงการด้วย เพราะมีทั้งเรื่องของการก่อสร้างรถไฟ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็ต้องมาดูร่วมกันในภาพใหญ่

ส่วนประเด็นเรื่องของการลงทุนโครงการจากสถานีรถไฟหลักสี่ไปถึงบางซื่อถึงทับซ้อนกับทางรถไฟไทย-จีน เรื่องนี้ก็อยู่ในประเด็นที่คุยกันด้วย ซึ่งก็ยึดตามการหารือเดิมที่บอกว่าใช้ความเร็วระดับ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโครงสร้างในส่วนนี้อาจจะไม่ต้องรองรับความเร็วของรถไฟความเร็วสูงในระดับ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว ทำให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้เร็วขึ้น

High-Speed Rail Linking 3 Airports: Private Sector Shifts Focus to EEC Benefits, Construction Expected to Start This Year

Bangkok Biz News, May 21, 2024 - The Eastern Economic Corridor (EEC) has revealed that the private sector concessionaire for the High-Speed Rail Linking Three Airports project will no longer seek benefits from the Board of Investment (BOI), after the May 22 deadline. Instead, negotiations for benefits will take place directly with the EEC.

Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the EEC, stated that discussions between the public and private sectors, including Asia Era One Company (a subsidiary of CP Group) are progressing well and nearing conclusion. To receive project benefits, the concessionaire was initially required to apply for investment promotion with the BOI. However, with the deadline passed, they will now seek benefits from the EEC.

"The framework for project implementation is in place. We just need to finalize the details in negotiations. The next step involves discussions with Asia Era One to review the project holistically. Certain details still need to be addressed this year, with construction expected to begin within the year," said Mr. Sukmanop.

He acknowledged that the project is approximately four years behind schedule but emphasized that shifting the focus to EEC benefits will not cause further delays. Negotiations with the EEC will encompass the full scope of the project, including train construction and real estate development.

Additionally, the overlap between the Lak Si - Bang Sue section of the project and the Thai-Chinese railway is under discussion. This section may no longer need to accommodate high-speed trains (250 km/h), potentially allowing for faster construction.

Overall, the shift from BOI to EEC benefits signifies a strategic move to streamline the process and ensure a comprehensive approach to project development.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2024 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไฮสปีด 3 สนามบินเริ่มสร้างปีนี้ ‘CP’ ยื่นขอสิทธิประโยชน์ ‘EEC’ แทน ‘BOI’
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 7:00 น. .


นับถอยหลัง 22 พ.ค. 67 วัดใจเอราวันฯ ยื่นบีโอไอลุยไฮสปีดเทรนต่อหรือพอแค่นี้
เศรษฐกิจในประเทศ
วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:20 น.


เดตไลน์ 22 พฤษภาคม 2567 ลุ้น “เอเชีย เอรา วัน” บริษัทลูกซีพี ยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับบีโอไอ ด้าน EEC และ รฟท. เห็นตรงกันพร้อมตัดเชือกสั่งออก NTP ต้องเริ่มตอกเสาทันที หากยังไม่สามารถทำได้ คาดอาจนำไปสู่การยกเลิกสัญญา

วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 รายงานข่าวระบุว่าในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 จะเป็นวันสุดท้ายที่ทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ต้องยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเอราวันฯ ได้สิทธิในการก่อสร้างและลงทุนในโครงการฯ นี้มาเกือบ 5 ปีแล้ว


นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่ายังไม่สามารถตอบได้ว่าทางเอราวันฯ จะยื่นขอให้ออกบัตรส่งเสริมหรือไม่ ซึ่งอยากให้รอถึงวันดังกล่าวก่อน


ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือไฮสปีดเทรนเป็น 1 ในอภิมหาโปรเจ็กต์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (EEC) หลังจากได้ปลุกฟื้นการลงทุนใน 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) ขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปี 2560 และมีกฎหมายขึ้นมาควบคุม

จากนั้นได้เดินหน้าผุดโครงการสำคัญที่จะเป็นโครงสร้างพื้นที่ของประเทศขึ้นมารองรับการลงทุน “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ที่มีมูลค่าการลงทุน 224,544.36 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุนร่วมรัฐและเอกชน (PPP) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เริ่มมีการเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ครบสัญญาทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล

เมื่อเริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการ มีเอกชนแสดงความสนใจเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 31 ราย มีเอกชนยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า 2 ราย จาก 8 บริษัท ซึ่งกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 70% เป็นผู้นำการประมูล, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หุ้นรวมกัน 15%, China Railway Construction Corporation Limited หุ้น 10% และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หุ้น 5% เป็นผู้ชนะการประมูล ในราคาที่ 117,227 ล้านบาท

จากนั้นจึงได้เริ่มเข้าสู่การรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาผ่านการเห็นชอบเพียง 2 สัปดาห์ และในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ในเครือ ซี.พี.)

ในระหว่างที่กำลังจะเริ่มดำเนินงานตามแผนต่าง ๆ โครงการดังกล่าวกลับต้องชะงักลงด้วย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ขอแก้ไขสัญญา ด้วยการขอขยายกรอบเวลาการทำงานออกไป เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้ผู้โดยสารในส่วนของแอร์พอร์ตลิงก์ลดลง โดยเมื่อช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมาเอราวันฯ ยังขอแก้ไขสัญญาอีก 4 ข้อ ทำให้การดำเนินโครงการยิ่งล่าช้าออกไปอีก


นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้ให้สัมภาณ์กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ก่อนหน้านี้ว่า ต่อให้เอราวันฯ ไม่ยื่นขอออกใบส่งเสริมกับบีโอไอ โครงการไฮสปีดเทรนก็ยังต้องมีแน่นอน แต่อาจจะล่าช้ากว่าแผนเดิมประมาณ 2 ปี เนื่องจากต้องเริ่มเปิดประมูลเพื่อหาผู้ลงทุนใหม่ หรืออาจเป็นการให้ รฟท. เป็นผู้ลงทุนเอง หากวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เอราวันฯ ยังไม่ยื่ขอออกบัตรส่งเสริมกับทางบีโอไอ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในส่วนอื่นๆ เช่น การเวนคืน การเคลียร์พื้นที่ การรื้อท่อก๊าซ สายไฟ ตามเส้นทางที่จะก่อสร้างรางของรถไฟฟ้าก็ทยอยดำเนินการ รวมถึงการมอบพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้าง
ทั้งนี้ โครงการไฮสปีดเทรน จำเป็นต้องยื่นขอการส่งเสริมและออกบัตรส่งเสริมกับทางบีโอไอตามเงื่อนไขในสัญญา

โดยเอราวันฯ ได้ทำเรื่องขอขยายเวลาแล้วครบ 3 ครั้ง ซึ่งจากการขอความเห็นกับทาง EEC และ ร.ฟ.ท. ซึ่งได้ระบุว่าความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ดังนั้นจึงต้องมารอลุ้นกันว่าเอราวันฯ จะยื่นหรือไม่ และหากไม่ยื่นทาง รฟท.สามารถออหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ได้เลย หากยังไม่สามารถทำได้ก็จะนำไปสู่การยกเลิกสัญญา...

อีอีซี เปิดช่องเจรจา “เอเชีย เอรา วัน” โยกใช้สิทธิ EEC แทน BOI
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 7:00 น.

รถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน มูลค่ากว่า 2.24 แสนล้าน เตรียมได้ข้อสรุป “จุฬา สุขมานพ” รับเตรียมเจรจา “เอเชีย เอรา วัน” โยกใช้สิทธิประโยชน์ EEC แทน BOI ที่กำลังถึงเดดไลน์ 22 พฤษภาคม 2567 นี้

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน ระหว่างดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มูลค่ากว่า 2.24 แสนล้านบาท บริเวณพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นบริษัทเอกชนคู่สัญญากับรัฐ ใกล้ได้ข้อยุติกรณีการขอรับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนก่อสร้างแล้ว

ล่าสุด นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากและใกล้ที่จะได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว เกี่ยวกับการขอรับสิทธิประโยชน์ ซึ่งเอกชน อาจจะเข้ามาใช้สิทธิประโยชน์ของทาง EEC แทน สิทธิประโยชน์ของบีโอไอ

เดิมทีในการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนก่อสร้างนั้น บีโอไอได้ขยายเวลาในการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนอีก 4 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 มกราคม 2567 เป็นวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 แต่ล่าสุดมีความชัดเจนในเบื้องต้นแล้วว่า เอกชนจะไม่ได้ขอสิทธิประโยชน์จากบีโอไอแล้ว แต่จะมายื่นขอสิทธิประโยชน์จากอีอีซีแทน

"BOI" ปลดล็อคต่อเวลา "ไฮสปีดเทรน" ครั้งสุดท้าย
"เอเชีย เอรา วัน" ดิ้นอุทธรณ์บีโอไอ ขอส่งเสริมลงทุนไฮสปีดเทรน รอบ 3

“หลังจากนี้คงต้องมีการเจรจาและหารือกันในภาพใหญ่ รวมไปถึงการแก้ไขสัญญา เช่นเดียวกับหารือเกี่ยวกับการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน หรือ NTP เพื่อให้มีการเริ่มการก่อสร้างได้ และเป็นกรอบในการเจรจาที่มีอยู่ คาดว่าไม่นานจะต้องคุยในรายละเอียดให้จบ และน่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการได้ภายในปีนี้ เพราะโครงการนี้ล่าช้ากว่าแผนไปประมาณ 4 ปีแล้ว” นายจุฬา ระบุ

นายจุฬา ยอมรับว่า ในการเจรจาร่วมกันคงต้องมาหารือกันเรื่องของสิทธิประโยชน์ให้ชัดเจนว่าเอกชนต้องการอะไร ขณะที่อีอีซี สนับสนุนอะไรได้บ้าง โดยจะเน้นไปที่ภาพใหญ่ของโครงการ เพราะนอกจากโครงการก่อสร้างรถไฟแล้วยังมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นการหารือและเจรจาคงต้องมาดูกันให้ครบก่อน


นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาเดิมที่ต้องเจรจาให้จบอีกเรื่อง คือ เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟไทย-จีน บริเวณสถานีบางซื่อ ถึงสถานีหลักสี่ เบื้องต้นอาจจะก่อสร้างรถไฟให้รองรับความเร็วระดับ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ โดยอาจไม่ต้องรองรับความเร็วระดับ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว เพื่อจะได้เริ่มงานก่อสร้างได้เร็วขึ้น แต่ทั้งหมดก็ต้องมีการเจรจากันอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/05/2024 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

พาชมความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ในสัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี (พ.ค.67)
Max Puttipong
May 22, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=D1vlZDfdA_0

A Tour of the Progress of the Bangkok-Korat High-Speed Rail Project under Contracts 4-6, Phra Kaew - Saraburi Section (May 2024)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 550, 551, 552 ... 581, 582, 583  Next
Page 551 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©