RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312063
ทั่วไป:13661036
ทั้งหมด:13973099
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 551, 552, 553 ... 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/05/2024 5:06 pm    Post subject: Reply with quote

เทียบสิทธิประโยชน์ EEC -บีโอไอ เอราวันฯ จะได้อะไรเพื่อลุยไฮสปีดเทรน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 - 16:28 น.

“เอเชีย เอรา วัน” ผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ไม่ง้อขออกบัตรส่งเสริมบีโอไอ หลังเดตไลน์พรุ่งนี้ 23 พ.ค. 2567 จับตายื่นขอสิทธิจาก EEC ที่อาจได้เหนือกว่า

วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า

ตามที่ได้เคยให้สัมภาณ์กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ไว้ก่อนหน้านี้และย้ำหลายครั้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้ชนะประมูลจะยกเลิกสัญญาก็ตาม รัฐจะต้องหาผู้มาลงทุนใหม่ให้ได้ ด้วยการเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง ซึ่งนั่นอาจทำให้โครงการล่าช้าออกไป 1 ปีครึ่ง -2 ปี แต่ย้ำว่าไฮสปีดเทรนยังไงก็ต้องมี

ในขณะเดียวกัน การที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จำเป็นต้องยื่นขอการส่งเสริมและออกบัตรส่งเสริมกับทางบีโอไอนั้น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่อยู่ในสัญญา ของโครงการ และหากเอราวันฯ จะไม่ขอออกบัตรส่งเสริมจากทางบีโอไอ ก็สามารถขอสิทธิประโยชน์จาก EEC ได้ ซึ่งก็ต้องตัวสัญญากันใหม่

อย่างไรก็ตาม หากเทียบสิทธิประโยชน์ระหว่าง EEC และ บีโอไอ แล้วจะเห็นว่าสำหรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจาก EEC นั้นจะมีด้วยกันทั้ง 14 ข้อ ข่อพิเศษสุดคือการเจรจาเฉพาะราย โดย 1.ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการระยะเวลา 1-15 ปี การยกเว้นดังกล่าวอาจกําหนดเป็นสัดส่วนของทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนด้วยก็ได้

2.ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราไม่เกิน 50% ของอัตราปกติระยะเวลา 1 – 10 ปี (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) และดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราไม่เกิน 50% ของอัตราปกติระยะเวลา 1 – 5 ปี นับจากวันที่การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้สิ้นสุดลง (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเวลาไม่เกิน 8 ปี)

3.สามารถนําผลขาดทุนประจําปีที่เกิดขึ้น ระหว่างที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีกําหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกําไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้

4.ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้รับทั้งการยกเว้นหรือการลดหย่อนภาษี อาจได้สิทธิในการนําเงินที่ใช้ไปในการลงทุน หักออกจากกําไรสุทธิรวมทั้งสิ้นจํานวน 1-70% ของเงินที่ลงทุนแล้วในกิจการนั้น นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ โดยจะเลือกหักจากกําไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้

5.สามารถหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาได้ 2 เท่า ของจํานวนเงินที่เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ

6.สามารถนําเงินลงทุน 1-25% ของเงินที่ลงทุนแล้ว มาหัก จากกําไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการลงทุน ทั้งนี้นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ

7.ยกเว้นไม่ต้องนําเงินป็นผลจากกิจการซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกอบกิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้รวมถึงเงินป็นผลที่ได้จ่ายภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

8.ยกเว้นการนําค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ของผู้ประกอบกิจการ มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ มีกําหนดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบกิจการเริ่มมีรายได้

9.ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับเครื่องจักร 10.ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับของที่ผู้ประกอบกิจการนําเข้ามาเพื่อ ใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง

11.ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจาฯ กําหนด

12.ลดหย่อนอากรขาเข้า สําหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็นที่นําเข้ามา ในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบในกิจการที่ ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการในอัตราไม่เกิน 90% ของอัตราปกติ โดยมีกําหนดเวลาคราวละไม่เกิน 1 ปี

13.ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับของที่นําเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจาฯ กําหนด

14.ยกเว้นอากรขาออกสําหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล ที่ผู้ประกอบกิจการผลิตหรือประกอบ ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจาฯ กําหนด

ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี คือ 1.สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต 2.สิทธิถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อประกอบกิจการหรืออยู่อาศัย

3.สิทธิในการนําคนต่างด้าวที่เป็น ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร หรือผู้ชํานาญการ ตลอดจนคู่สมรสและบุคคล ซึ่งอยู่ในอุปการะของบุคคลดังกล่าว เข้ามาและอยู่อาศัย ในราชอาณาจักรได้ตามจํานวนและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการฯ

4.คนต่างด้าวที่เป็นผู็มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และผู้ชํานาญการ ที่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ นําเข้ามาสามารถทํางานได้ภายใต้ EEC Work Permit ซึ่งอนุมัติโดยเลขาธิการฯ

ส่วนสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ ซึ่งจะมีกฎหมาย 2 ฉบับคือ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน 2560 และ พ.ร.บ.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2560 พิเศษคือ มีสิทธิ “อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุนได้ก่อน” หรือหากดูแล้วมีแนวโน้มการขยายการลงทุน มีผลประกอบการดี เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนก็จะขยายระยะเวลาการพำนักในราชอาณาจักรให้ด้วย

แต่สิทธิประโยชน์หลักจากนี้ที่นักลงทุนจะได้แบบเต็มๆ คือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประเภทกิจการที่บีโอไอได้จัดหมวดหมู่ไว้ โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม โดยA1+ ยกเว้นภาษี 10-13 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน+สิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี) A1 ยกเว้นภาษี 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน+สิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี)

A2 ยกเว้นภาษี 8 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี) A3 ยกเว้นภาษี 5 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี) A4 ยกเว้นภาษี 3 ปี (บวกสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี) B ได้เพียงยกเว้นอากรเครื่องจักร วัตถุดิบ ของนำเข้าเพื่อวิจัย และสิทธิอื่นที่ไม่ใช่ภาษี เช่นกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีคือ ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินปันผล

ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาเป็น 2 เท่า ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เกิน 25% ของเงินลงทุน ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีคือ การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุนได้ก่อนตามที่กล่าวมาในข้างต้น การอนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ซึ่งจะได้วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุน/ค่าใช้จ่าย

ยังรวมไปถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพื้นที่ อย่างลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม เขต EEC เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) หรือจะเป็นพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่ำ

นอกจากนี้ บีโอไอยังมีเครื่องมือพิเศษอีกคือ พ.ร.บ.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2560 ที่จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 15 ปี เงินสนับสนุนจากกองทุน 10,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งการสนับสนุนเงินดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ รวมถึงรายละเอียดแต่ละโครงการอย่างเหมาะสม และเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่สนับสนุนที่สุด มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมไทยและประเทศไทย

Comparing EEC-BOI privileges - What will Asia Era One get to pursue the high-speed train project
Prachachat Business News, May 22, 2024 - 4:28 PM

"Asia Era One", the winner of the auction for the high-speed rail project connecting 3 airports worth over 224,544 million baht, will not plead for a BOI promotion card after tomorrow's May 23, 2024 deadline. Instead, it will seek EEC privileges which may be better.

On May 22, 2024, Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the Office of the Eastern Economic Corridor Policy Committee (EEC), said:

As he had previously told Prachachat Business News and reiterated several times, the high-speed rail project connecting 3 airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, U-Tapao) or the high-speed train must definitely happen. Even if Asia Era One Co., Ltd., the winner cancels the contract, the state must find a new investor through another auction. This may delay the project by 1.5-2 years, but he affirmed that the high-speed train must proceed no matter what.

At the same time, Asia Era One Co., Ltd. needs to apply for BOI promotion and issuance of a promotion certificate as it is a requirement in the project contract. If Asia Era One does not apply for the BOI promotion, it can seek EEC privileges instead, which would require renegotiation of the contract terms.

However, comparing the privileges between the EEC and BOI, the EEC offers 14 tax incentives. The most special is case-by-case negotiation. These include:

1. Corporate income tax exemption for net profits from operations for 1-15 years. This exemption may be granted as a percentage of investment capital, excluding land and working capital.

2. 50% reduction of corporate income tax rate from the normal rate for 1-10 years (if the operator does not receive corporate tax exemption). And 50% reduction for 1-5 years after the tax exemption period ends (if the exemption period is not over 8 years).

3. Annual losses incurred during the corporate tax exemption period can be deducted from net profits for up to 5 years after the exemption period ends.

4. For operators not receiving tax exemption or reduction, 1-70% of total investment expenditure can be deducted from net profits in addition to normal depreciation.

5. Transportation, electricity and water supply costs can be deducted at double the amount normally allowed as business expenses.

6. 1-25% of total investment expenditure can be deducted from net profits of one or multiple years within 10 years from earning operating income, in addition to normal depreciation.

7. Dividends from businesses granted corporate tax exemption are also exempt from including in calculations for dividend tax during the exemption period and 6 months after.

8. Goodwill, licenses or other commercial rights need not be included for tax calculation for 5 years from earning operating income.

9. Import duty exemption for machinery
10. Import duty exemption for goods imported for R&D and related testing

11. Import duty exemption for raw materials and essential inputs imported for producing, assembling or manufacturing goods for export according to conditions, procedures and periods specified.

12. Up to 90% reduction of import duties on raw materials or essential inputs for production under approved projects for periods not over 1 year.

13. Import duty exemption for goods to be re-exported according to specified conditions, procedures and periods.

14. Export duty exemption for products or outputs produced or assembled by operators according to specified conditions, procedures and periods.

Non-tax privileges include: 1) Right to own land in the EEC for approved operations, 2) Right to own residential units for business or residential purposes in the EEC, 3) Right to bring in foreign experts, executives or specialists along with spouses and dependents to stay according to specified numbers and periods, 4) Foreign experts, executives and specialists can work under an EEC Work Permit approved by the Secretary-General.

As for BOI privileges under the Investment Promotion Act 2017 and the Competitive Enhancement Act for Target Industries 2017, a special right is to "allow foreigners to study investment opportunities beforehand". If they show good performance and likelihood of expanding investment, their stay can be extended.

But the key BOI privilege investors get is corporate income tax exemption based on the BOI's business categories divided into 6 groups. A1+ grants 10-13 year exemption (unlimited amount + non-tax rights), A1 8 years (unlimited + non-tax), A2 8 years (+ non-tax), A3 5 years (+ non-tax), A4 3 years (+ non-tax), B only import duty exemptions on machinery, raw materials for R&D and non-tax rights like land ownership.

Tax privileges include reducing import duties on machinery and essential raw materials, exempting duties on goods for R&D, exempting corporate income tax and dividend tax, reducing 50% corporate tax, double deductible transport/utility costs, deducting 25% of installation/construction costs, and exempting duties on raw materials/inputs for export production.

Non-tax privileges allow bringing in foreign technicians/experts to work in promoted businesses, owning land, remitting foreign currency, etc.

There are also privileges for enhancing competitiveness through investment in technology/innovation and human resource development - granting 200% corporate tax exemption on that investment/expenditure.

Plus additional privileges based on location e.g. industrial estates, EEC zone, special economic zones (SEZs) or 20 low-income provinces.

The BOI also has a special measure under the Competitive Enhancement Act allowing up to 15 years' corporate tax exemption, support from a 10 billion baht fund for R&D and personnel development expenditure in target industries, subject to proper criteria and providing good value.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2024 9:57 am    Post subject: Reply with quote

ขยับวันให้เอรา วัน ยื่นบีโอไอลุยไฮสปีดเทรนเป็นวันที่ 23 พ.ค. 67
เศรษฐกิจในประเทศ
วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:13 น.


ยังมีเวลา ลุ้น “เอเชีย เอรา วัน” บริษัทลูก ซี.พี. ยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับบีโอไอ เป็นวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 จับตาขอสิทธิประโยชน์จาก EEC แทน อาจต้องแก้ไขสัญญาก่อน

วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ซึ่งจะเป็นวันสุดท้ายที่ทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ต้องยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามเงื่อนไขในสัญญา แต่ด้วยวันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ



โดยทางฝ่ายกฎหมายของบีโอไอได้ให้ความเห็นว่า ดังนั้นจึงต้องเลื่อนการยื่นขอสิทธิออกบัตรส่งเสริมออกไปเป็นวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 แทน


นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้ให้สัมภาษณ์กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ก่อนหน้านี้ว่า โครงการไฮสปีดเทรน จำเป็นต้องยื่นขอการส่งเสริมและออกบัตรส่งเสริมกับทางบีโอไอตามเงื่อนไขในสัญญา โดยเอเชีย เอรา วัน ได้ทำเรื่องขอขยายเวลาแล้วครบ 3 ครั้ง ซึ่งจากการขอความเห็นกับทาง EEC และ ร.ฟ.ท. ซึ่งได้ระบุว่าความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน

ดังนั้นจึงต้องมารอลุ้นกันว่า เอรา วัน จะยื่นหรือไม่ และหากไม่ยื่น ทาง ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ได้เลย หากยังไม่สามารถทำได้ก็จะนำไปสู่การยกเลิกสัญญา นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกอื่นคือ เอเชีย เอรา วัน สามารถขอสิทธิประโยชน์จาก EEC ได้เช่นกัน.

จับตาวันนี้ รฟท.ชงบอร์ด เคาะแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน ผ่าทางตันเร่งออก NTP เจรจา ซี.พี.ตัดเงื่อนไขบีโอไอ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:48 น.


รฟท.เตรียมเสนอบอร์ดวันที่ 23 พ.ค. แก้ไขสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน ผ่าทางตัน ออก NTP เจรจา ซี.พี.ตัดเงื่อนไขขอส่งเสริมบีโอไอ หลังหมดเวลาครั้งที่ 3 เมื่อ 22 พ.ค. 67 คาดเร่งชงบอร์ดอีอีซี และ ครม.แก้สัญญาร่วมทุน เริ่มก่อสร้างในปีนี้

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ขณะนี้อีอีซี พยายามเร่งรัดให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท สามารถเดินหน้าก่อสร้างไปตามสัญญาโดยเร็ว ซึ่งกรณี เงื่อนไขออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ระบุให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด) ผู้รับสัมปทานฯ ต้องขอส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก่อนนั้น โดยในวันที่ 22 พ.ค. 2567 เป็นกำหนดสิ้นสุดที่เอกชนได้รับการขยายเวลาจากบีโอไอครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย) แล้ว ดังนั้น หากไม่หาทางออกเพื่อแก้ปัญหาจะยิ่งทำให้เสียเวลาออกไปอีก

ที่ผ่านมาอีอีซีได้แนะนำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อเดินหน้าโครงการต่อไปให้ได้ก่อน ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ไม่ใช่เรื่องแรกที่ต้องทำตอนนี้ เพราะหากโครงการไม่เดินหน้า ขอสิทธิประโยชน์ได้มาแล้วก็ไม่มีความหมาย ดังนั้นเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งสองฝ่ายต้องตัดเงื่อนไขสิทธิประโยชน์บีโอไอออกไปเพื่อให้สามารถออก NTP เริ่มการก่อสร้าง

"เงื่อนไขในการออก NTP มีทั้งเรื่องการชำระสิทธิ์ ค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ การส่งมอบพื้นที่ และการขอบีโอไอ ซึ่งประเด็นอื่นๆ ไม่มีปัญหา เหลือบีโอไอ ซึ่งหากตกลงกันได้ว่าขอตัดออกก็นำไปสู่การแก้ไขสัญญา โดยตามขั้นตอน กรณีมีการแก้ไขสัญญา รฟท.นำเสนอ​บอร์ด คาดว่าภายในปลายเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นเสนอบอร์ดอีอีซีภายในเดือน มิ.ย. และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเมื่อแก้ไขสัญญาเรียบร้อยสามารถออก NTP ได้เลย ส่วนสิทธิประโยชน์ เอกชนสามารถขอที่ อีอีซีโดยตรงได้หลังจากนั้น"

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ในวันที่ 23 พ.ค. 2567 รฟท.มีวาระนำเสนอบอร์ด รฟท.เพื่อทราบ เรื่องหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตการณ์ของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเป็นการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนในประเด็นเงื่อนไขการออก NTP ที่รฟท.ได้หารือกับเอกชน ตัดเงื่อนไขการขอสิทธิประโยชน์จากบีโอไอออก และคาดว่าจะออก NTP เริ่มงานได้ภายในปี 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2024 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงขยาย2สัญญารถไฟไทย-จีน ช่วงนวนคร-ศูนย์ซ่อมเชียงรากน้อย
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, May 23, 2024 04:10

ผู้จัดการรายวัน360 - รฟท.เสนอบอร์ด ขอขยายเวลาก่อสร้างงานโยธารถไฟ "ไทย-จีน" 2 สัญญา ชดเชยเหตุส่งมอบพื้นที่ล่าช้า สัญญา 4-3 (นวนคร-บ้านโพ) อีก 163 วัน ไปสิ้นสุด ม.ค. 68 และสัญญา 4-4 (ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย) อีก 355 วัน ไปถึงส.ค. 69 ขณะที่ภาพรวมทั้งโครงการคืบหน้า33%

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ในวันที่ 23 พ.ค. 67 รฟท.จะมีการเสนอบอร์ด พิจารณาอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญาและแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา เนื่องจากมีการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างล่าช้า

ได้แก่ สัญญา 4-3 งานโยธาช่วง นวนคร -บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้รับจ้าง โดยขอขยายเวลาสัญญาอีก 163 วัน จากที่ครบสัญญาก่อสร้าง วันที่ 13 ส.ค. 2567 ไปสิ้นสุด วันที่ 23 ม.ค. 2568 โดย ณ เดือนเม.ย. 2567 มีผลงานสะสม 31.560 % ล่าช้า 67.190 %(แผนงาน 98.750%)

และ สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับ ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท มีบมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง โดยขอขยายเวลาสัญญาอีก 355 วัน จากที่ครบสัญญาก่อสร้าง วันที่ 10 ก.ย. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. 2569 โดย ณ เดือน เม.ย. 2567 ผลงานสะสม 10.444 % ล่าช้า53.326 %(แผนงาน 63.770 %)

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ บอร์ดรฟท.ได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน สัญญา 3-2 (อุโมงค์ มวกเหล็กและลำตะคอง) ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท ออกไปอีก 431 วัน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย.2567 ไปสิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. 2568 เนื่องจาก การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ในส่วนของอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง โดยสัญญานี้ มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง

สำหรับงานโยธา โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา (ระยะที่ 1) ระยะทาง 253 กม. แบ่งออกเป็น 14 สัญญาสร้างเสร็จแล้ว 2 สัญญา อีก 10 สัญญากำลังก่อสร้าง และอีก 2 สัญญาคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ ผลงานภาพรวมงานโยธา ณ เดือน เม.ย.2567 คืบหน้า 32.867% ล่าช้า 33.470%(แผนงาน 66.337%).

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 23 พ.ค. 2567


**SRT Proposes Extension of Two Thai-Chinese Railway Contracts for Nava Nakhon-Cheang Rak Noi Maintenance Center**

*Source: Manager Daily 360 Degrees*

**Thursday, May 23, 2024, 04:10**

Manager Daily 360 Degrees reports that the State Railway of Thailand (SRT) has proposed to its board to extend the construction timelines for two civil engineering contracts of the Thai-Chinese railway project. The delays are due to the late handover of construction sites.

The contracts in question are:

1. **Contract 4-3**: Covering the civil engineering work from Nava Nakhon to Ban Pho, a distance of 23 kilometers, with a budget of 11.525 billion baht. The contract, managed by the CAN joint venture (China State Construction Engineering Corp, AS Associate Engineering (1964) Co., Ltd., and Nawarat Patanakarn Public Co., Ltd.), is proposed to be extended by 163 days, moving the completion date from August 13, 2024, to January 23, 2025. As of April 2024, the project is 31.56% complete, lagging behind the planned 98.75% completion.

2. **Contract 4-4**: Involves the civil engineering work for the Cheang Rak Noi Maintenance Center, with a budget of 6.573 billion baht. The contract, managed by Italian-Thai Development Public Co., Ltd., is proposed to be extended by 355 days, shifting the completion date from September 10, 2025, to August 31, 2026. By April 2024, the project is 10.44% complete, significantly behind the planned 63.77% completion.

The SRT board, chaired by Mr. Chirut Visalchit, will review and potentially approve these extensions in their meeting on May 23, 2024.

Previously, the SRT board approved extending Contract 3-2 (covering the Muak Lek and Lam Takhong tunnels) by 431 days, pushing the completion from April 3, 2024, to June 7, 2025. This delay was also due to the late handover of the Khlong Phai tunnel area at Lam Takhong, with Nawarat Patanakarn Public Co., Ltd. handling the construction.

The Thai-Chinese high-speed railway project (Bangkok to Nakhon Ratchasima phase), spanning 253 kilometers, is divided into 14 contracts. Two contracts have been completed, ten are under construction, and two are expected to begin this year. As of April 2024, the overall progress of civil engineering work stands at 32.867%, falling short of the planned 66.337%.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2024 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยแก้ไขสัญญา "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน" ไม่สน BOI ให้ "ซีพี" วางหลักประกัน 1.2 แสนล้าน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Thursday, May 23, 2024 at 16:36

บอร์ด รฟท. รับทราบลุยแก้ไขสัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ไม่สน BOI พร้อมให้ “ซีพี” วางหลักประกันทางการเงิน 1.28 แสนล้าน การันตีไม่เบี้ยวก่อสร้าง ขยับจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้เอกชนเร็วขึ้น เตรียมชง กพอ. เคาะเห็นชอบ ชี้หากลงนามสัญญาใหม่แล้วเสร็จ รฟท. พร้อมออก NTP เริ่มก่อสร้างปีนี้ เปิดบริการปี 72

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. รับทราบในหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตการณ์ของระบบสถาบันการเงิน โดยจะมีการตัดเงื่อนไขสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ออก พร้อมทั้งให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ผู้รับสัมปทานวางหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเป็นหลักประกันทางการเงิน(Bank Guarantee) 2 ส่วน วงเงินรวมประมาณ 1.28 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงินประมาณ 9 พันล้านบาท และเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ(PIC) วงเงิน 1.19 แสนล้านบาท เพื่อเป็นการการันตีว่าเอกชนจะเดินหน้าโครงการนี้ และไม่ให้รัฐเสียประโยชน์จากการจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างเร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม

นายอนันต์ กล่าวต่อว่า จากเดิมรัฐจะจ่ายค่าก่อสร้างให้เอกชนเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่การเจรจากับเอกชนครั้งนี้ เอกชนขอให้รัฐจ่ายค่าก่อสร้างเร็วขึ้น โดยได้ข้อสรุปจ่ายเงินอุดหนุนงวดที่ 1 ในเดือนที่ 18 นับจากวันที่ รฟท. ออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ขณะที่ค่าสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ยังคงต้องจ่าย 7 งวดตามเดิม โดยเริ่มจ่ายงวดที่ 1 ในปี 67 เป็นงวดแรก อย่างไรก็ตามหลักประกันทางการเงินประมาณ 1.29 แสนล้านบาท ทางเอกชนจะต้องส่งมาให้ รฟท. ภายใน 270 วันหลังจากลงนามสัญญาแล้วเสร็จ

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ รฟท. จะต้องเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการบริหารสัญญา และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) เพื่อเห็นชอบในหลักการ ก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขสัญญา และเสนอให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายกำลังเร่งรัดการดำเนินงานในทุกขั้นตอน เพื่อให้เดินหน้าโครงการฯ นี้ต่อไปได้ ซึ่งเบื้องต้นหากมีการลงนามสัญญาฉบับใหม่ ทาง รฟท. ก็พร้อมออก NTP ให้เอกชนทันที คาดว่าภายในปี 67 จะสามารถออก NTP ให้เริ่มก่อสร้างได้ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 72

นายอนันต์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการก่อสร้างสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งมีช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกันระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทางประมาณ 10 กม. ยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขเดิม ที่เอกชนจะเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างร่วมให้ แต่ในส่วนของทางวิ่ง รฟท. จะต้องเสนอขอวงเงินเพิ่มประมาณ 4 พันล้านบาท ส่วนงานวางรางรถไฟจะดำเนินการในส่วนของสัญญาที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายจีน.

https://www.dailynews.co.th/news/3462521/

**Revamping the "High-Speed Rail Linking 3 Airports" Contract: Ignoring BOI, Requiring CP to Place a 128 Billion Baht Guarantee | Daily News**
Source: Daily News Website
Thursday, May 23, 2024, at 16:36

The SRT Board acknowledged the initiative to amend the contract for the high-speed rail project linking three airports, disregarding BOI's stipulations and requiring CP Group to place a 128 billion baht financial guarantee to ensure construction progresses smoothly. Payments to the private sector for construction will be expedited. The proposal will be presented to the Eastern Economic Corridor Policy Committee (EECP) for approval. If the new contract is signed, SRT will issue the Notice to Proceed (NTP) this year, aiming to commence construction and open for service by 2029.

Anan Pho-nim-daeng, Deputy Governor of the State Railway of Thailand (SRT), revealed that the SRT Board approved in principle the resolution of issues with the high-speed rail project linking three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao). This decision was influenced by the COVID-19 pandemic, the Russia-Ukraine war, and the financial system crisis. The project will remove the investment promotion benefits with the Board of Investment (BOI) and require the concessionaire, Asia Era One Co., Ltd. (CP Group), to provide a financial guarantee (Bank Guarantee) in two parts totaling approximately 128 billion baht: 9 billion baht for the Airport Rail Link management rights and 119 billion baht for state co-investment in the project (PIC). This guarantee ensures that the private sector will advance the project without causing the state to lose benefits from earlier-than-scheduled construction subsidy payments.

Anan further stated that initially, the state would pay the construction costs to the private sector upon completion. However, during negotiations, the private sector requested earlier payment. The agreement now entails the first subsidy payment in the 18th month from the date SRT issues the NTP. The management rights payments for the Airport Rail Link will still be made in seven installments, starting in 2024. The financial guarantee of approximately 128 billion baht must be provided by the private sector within 270 days after the contract signing.

Anan added that SRT will submit this matter to the Contract Management Committee and EECP for approval before amending the contract. The draft contract will be reviewed by the Office of the Attorney General and then presented to the Cabinet for consideration. All parties are expediting each step to advance this project. If the new contract is signed, SRT will promptly issue the NTP, aiming to issue it by 2024, start construction, and open for service around 2029.

Regarding Contract 4-1 construction, from Bang Sue to Don Mueang, which overlaps with the Thai-Chinese high-speed rail project's first phase (Bangkok to Nakhon Ratchasima) and the high-speed rail linking three airports project from Wat Samian Nari to Don Mueang Station (approximately 10 km), the private sector will construct the shared structure as per the original conditions. However, SRT will request an additional 4 billion baht for the tracks, which will be part of Contract 2.3, covering rail systems, electrical systems, mechanical systems, train procurement, and personnel training, conducted by the Chinese side.

https://www.dailynews.co.th/news/3462521/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2024 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลุยแก้ไขสัญญา "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน" ไม่สน BOI ให้ "ซีพี" วางหลักประกัน 1.2 แสนล้าน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:36 น.


https://www.dailynews.co.th/news/3462521/



นับหนึ่งแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เร่ง CP หาแบงก์การันตี แลกออก NTP ก่อสร้าง
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:18 น.



Play
บอร์ดการรถไฟฯ นับหนึ่งแก้ไขสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เร่ง ”ซีพี“ หาแบงก์การันตี 1.2 แสนล้านบาท ตัดเงื่อนไขรับบัตรส่งเสริมบีโอไอ พร้อมรับข้อเสนอสร้างไปจ่ายไป หวังเดินหน้าโครงการออก NTP ตอกเสาเข็มปีนี้
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) วันนี้ (23 พ.ค.) โดยระบุว่า ที่ประชุมบอร์ดได้รับทราบ เรื่องหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตการณ์ของระบบสถาบันการเงิน

โดย ร.ฟ.ท. รายงานผลเจรจากับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นคู่สัญญาในโครงการดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นกำหนดสิ้นสุดที่เอกชนได้รับการขยายเวลาจากบีโอไอครั้งที่ 3 ดังนั้น หากไม่หาทางออกเพื่อแก้ปัญหาจะส่งผลกระทบต่อโครงการ ทั้งนี้หลักการที่ ร.ฟ.ท.นำเสนอมีเป้าหมายโดยภาครัฐต้องไม่เสียผลประโยชน์เกินกรอบสัญญา ส่วนภาคเอกชนต้องไม่ได้รับผลประโยชน์เกินควร


สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนโครงการนี้ จากการหารือกับกลุ่มซีพีจึงได้ข้อสรุปร่วมกัน แบ่งเป็น ประเด็นการรับสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เอกชนขอแบ่งจ่ายค่าบริหารสิทธิเป็น 7 งวด มูลค่ารวม 10,640 ล้านบาท โดยจะเริ่มจ่ายงวดแรกในปี 2567

ส่วนประเด็นการร่วมลงทุน เนื่องจากเอกชนกู้เงินไม่ได้ เพราะผลกระทบจากโควิด 19 ปัญหาสงคราม และอัตราดอกเบี้ย ทำให้มีเงื่อนไขร่วมกันในการเร่งให้ภาครัฐจ่ายค่าที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 119,000 ล้านบาท โดยให้จ่ายก่อนกำหนดในงวดที่ 18 นับจากวันที่ออกหนังสืออนุญาติเข้าพื้นที่ (NTP) จากเดิมภาครัฐต้องจ่ายหลังเอกชนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ

“จากการเจรจาให้ภาครัฐเร่งจ่ายค่าร่วมลงทุน 1.19 แสนล้านบาท และการแบ่งจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพื่อไม่ให้รัฐรับความเสี่ยงและการันตีได้ว่าเอกชนรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐไปแล้วจะยังคงดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง จึงมีข้อตกลงร่วมกันให้เอกชนจัดหาวางหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเป็นหลักประกันทางการเงิน หรือแบงก์การันตี เพิ่มขึ้นในกรอบวงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าที่รัฐร่วมลงทุน และค่าบริหารสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์“

นายอนันต์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขสัญญาครั้งนี้ ยังตัดเงื่อนไขเอกชนต้องรับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ออกไป เพราะสัญญาก่อนหน้านี้กำหนดว่า ร.ฟ.ท.จะออกหนังสือ NTP ได้ต่อเมื่อทางเอกชนคู่สัญญาได้รับบัตรส่งเสริม BOI แต่ในขณะนี้เห็นว่าเอกชนไม่สามารถออกบัตรส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวได้แล้ว หากตัดเงื่อนไขนี้ออกไปก็จะทำให้ ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือ NTP และเอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้

ทั้งนี้ ภายหลังบอร์ด ร.ฟ.ท.รับทราบในหลักการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปจะเสนอขอพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และอัยการสูงสุดในการแก้ไขสัญญา โดยคาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือ NTP เพื่อให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างได้ในปีนี้ โดยเงื่อนไขวางแบงก์การันตีที่กำหนดไว้นั้น เอกชนจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 270 วัน นับจากวันที่ลงนามแก้ไขสัญญา

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการแก้ไขสัญญาฉบับใหม่ ร.ฟ.ท. มีความพร้อมส่งมอบพื้นที่ครบ 100% ตลอดเส้นทาง จึงเตรียมเร่งรัดให้เอกชนเริ่มก่อสร้างส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการอื่น อาทิ โครงสร้างร่วมรถไฟไทยจีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง วงเงินส่วนแรกราว 4 พันล้านบาท ซึ่งงานส่วนนี้เอกชนยังยืนยันจะรับภาระในการก่อสร้าง รวมไปถึงเร่งแก้ปัญหาพื้นที่ร่วมในโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ส่วนของพื้นที่ใต้อาคารผู้โดยสารสนามบินอู่ตะเภา

"ถ้า ครม.อนุมัติให้แก้ไขสัญญาถือเป็นการปลดล็อคปัญหา และเป็นกระดุมเม็ดแรกในการดำเนินโครงการนี้ ซึ่งการรถไฟฯ มั่นใจว่าจะออก NTP ได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2572"


Last edited by Wisarut on 24/05/2024 9:42 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/05/2024 5:54 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดต! รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย ที่สระบุรี-แก่งคอย งานในส่วนทางเกือบเสร็จแล้ว (พ.ค.67)
Max Puttipong
May 23, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=A8jyIzKlXaQ

Update! Thailand's first high-speed train line, running from Saraburi to Kaeng Khoi, is nearly complete (as of May 2024).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2024 9:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ลุยแก้ไขสัญญา "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน" ไม่สน BOI ให้ "ซีพี" วางหลักประกัน 1.2 แสนล้าน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:36 น.


https://www.dailynews.co.th/news/3462521/



นับหนึ่งแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เร่ง CP หาแบงก์การันตี แลกออก NTP ก่อสร้าง
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:18 น.




ลุยแก้สัญญา”ไฮสปีด” ซี.พี.ยอมวางแบงก์การันตีเพิ่ม 1.2 แสนล้าน ตัดเงื่อนไขบีโอไอ เร่งออก NTP ปลายปี รัฐควักจ่ายไป-สร้างไป
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:46 น.


บอร์ด รฟท.รับทราบหลักการแก้ไขสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน ตัดเงื่อนไขบีโอไอ ซี.พี.ยอมวางแบงก์การันตีเพิ่มกว่า1.2 แสนล้านบาท แลกแบ่งจ่ายแอร์พอร์ตลิงก์ 7 งวด และรัฐจ่ายค่าร่วมทุนเร็วขึ้นภายในปีครึ่ง”สร้างไป-จ่ายไป” ยันรัฐไม่เสียประโยชน์ เร่งชงบอร์ดอีอีซี และ ครม.แก้สัญญา คาดออก NTP ปลายปี 67 ก่อสร้าง 5 ปี

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน วันนี้ (23 พ.ค. 2567) ได้รับทราบข้อสรุปผลการเจรจาเรื่อง หลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามที่ รฟท. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด) คู่สัญญาผู้รับสัมปทานฯ ในการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ โดยขั้นตอนจากนี้จะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสัญญา คณะกรรมการกำกับสัญญาฯ ตามมาตรา 19 ของประกาศอีอีซี และ สกพอ.เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบการแก้ไขหลักการ สัญญาต่อไป ทั้งนี้ การเจรจาแก้ไขสัญญาอยู่ภายใต้หลักการภาครัฐ จะต้องไม่เสียผลประโยชน์มากเกินกว่าที่อยู่ในกรอบสัญญา และเอกชนจะไม่ได้รับผลประโยชน์เกินควร

สำหรับการแก้ไขสัญญา มี 4 ประเด็น คือ
1. ประเด็นให้เอกชนผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) โดย รฟท.ได้รับค่าสิทธิฯ ครบจำนวน 10,671.09 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของ รฟท.อีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมเป็น 11,717.09 ล้านบาท โดยให้ผ่อนจ่าย 7 งวด โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 10% งวดที่ 7 จะชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งกพอ.ได้เห็นชอบและรายงานครม.รับทราบไปก่อนหน้านี้แล้ว

2. เงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ (PIC) คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันไม่น้อยกว่า 119,425 ล้านบาท ซึ่งกำหนดให้รัฐร่วมลงทุนในปีที่ 6-ปีที่ 15 หรือเมื่อก่อสร้างโครงการเสร็จเปิดเดินรถแล้ว แต่เนื่องจากการดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรค ทั้งโรคโควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตการณ์ของระบบสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เอกชนไม่สามารถกู้เงินได้ จึงเสนอแก้ไข ปรับการจ่ายเงินที่ฝ่ายรัฐร่วมลงทุนให้เร็วขึ้น เป็นเดือนที่ 18 หรือประมาณ 1 ปีครึ่ง นับจากออก NTP ซึ่งจะเป็นการปรับจากรัฐจ่ายร่วมลงทุนเมื่อโครงการเสร็จเป็น สร้างไป-จ่ายไป



3. รฟท.และ สกพอ.เจรจาให้ทางเอกชน วางหนังสือค้ำประกันโดยธนาคารสัญญาหรือแบงก์การันตี เพิ่มเติมอีก 2 ส่วน คือ 1. แบงก์การันตีในส่วนของค่าสิทธิร่วมลงทุนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671.09 ล้านบาท เพื่อยืนยันกรณีแบ่งจ่ายค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากงวดเดียวเป็น 7 งวด โดยเมื่อแก้ไขสัญญา เอกชนจ่ายงวดแรก 1,067 ล้านบาท และวางแบงก์การันตีที่เหลือประมาณ 9,600 ล้านบาท ส่วนดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมทางการเงินอื่นๆ ที่ต้องจ่ายจากการผ่อนชำระจะแยกจ่ายอีกส่วนหนึ่งในแต่ละงวด ทั้งนี้หลังลงนามแก้ไขสัญญา เอกชนต้องชำระค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์งวดแรกทันที 2 .แบงก์การันตี ในส่วนของเงินฝ่ายรัฐร่วมลงทุน วงเงิน 119,425 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้ภาครัฐต้องการความมั่นใจว่าเอกชนคู่สัญญาจะสามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ กรณีปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินภาครัฐจากปีที่ 6 เป็นสร้างไปจ่ายไป โดยวางแบงก์การันตีภายใน 270 วันหลังลงนามแก้ไขสัญญา

4. เงื่อนไขออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ที่ระบุให้เอกชน ผู้รับสัมปทานฯ ต้อง ขอส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก่อนนั้น เนื่องจากเลยระยะเวลาและขั้นตอนการขอสิทธิประโยชน์แล้ว และเจรจาเอกชนตกลงตัดบีโอไอออกจากเงื่อนไขการออก NTP ของสัญญาร่วมลงทุนฯ



นายอนันต์กล่าวว่า การเจรจาได้ข้อยุติและนำเสนอตามขั้นตอนครบถ้วนมีการนำเสนอร่างสัญญาฉบับแก้ไข และลงนามแก้ไขสัญญาเสร็จสิ้น รฟท.ออกหนังสือเริ่มงาน หรือ NTP ได้ภายในปลายปี 2567 จะเป็นการเริ่มต้นหรือคิกออฟโครงการ ซึ่งรฟท.มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนทั้ง 100% แล้ว โดยจะเร่งรัดให้ก่อสร้างในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อโครงการอื่น เช่น โครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟไทย-จีน และการเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภทที่ต้องก่อสร้างลอดใต้รันเวย์เป็นต้น โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี นับจากปี 2567 แล้วเสร็จปี 2572



สำหรับงานก่อสร้าง ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งมีโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน สัญญา 4-1 นั้น ทางเอเชีย เอรา วัน ดำเนินการก่อสร้างตามเงื่อนไขเดิมที่กำหนดให้ ทางไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินดำเนินการก่อสร้างฐานรากตอม่อ และโครงสร้างทางวิ่ง เป็นการทำงานตามสัญญาดังนั้นจึงไม่ต้องแก้ไขใดๆ ส่วนงาน 4-1 ของรถไฟไทย- จีน ถือเป็นงานเพิ่มเติม (VO) ที่ทางรถไฟไทย-จีนจะเพิ่มกรอบวงเงินในส่วนนี้ให้ไปประมาณ 4,000 ล้านบาท

“การเจรจาที่ได้ข้อยุติครั้งนี้มีความชัดเจน มากกว่าครั้งก่อน ที่เสนอว่าจะปรับเงื่อนไขการร่วมลงทุนของรัฐจากปีที่ 6 เป็น สร้างไปจ่ายไป แต่ไม่มีอะไรรับรอง ครั้งนี้มีหลักการและการรับรอง ที่กำหนดให้เอกชนวางแบงก์การันตีเพิ่มเติม ที่มีความมั่นใจทั้งภาครัฐและเอกชนว่าจะดำเนินการโครงการสำเร็จตามเป้าหมาย จึงสรุปนำเสนอ กพอ.และครม.เห็นชอบแก้ไข เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2024 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.ให้ "ซีพี" หาแบงก์การันตี แก้ไขสัญญารถไฟเชื่อมสามสนามบินกลับมายืนที่เดิม
วันศุกร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:01 น.


บอร์ดรถไฟฯกลับมานับหนึ่งแก้ไขสัญญาไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ตามเงื่อนไขเดิมที่คู่สัญญาเคยเจรจากันไว้ เร่งซีพีหาแบงก์การันตี 119,000 ล้านบาท ประเด็นใหม่ยอมตัดเงื่อนไขรับบัตรส่งเสริมบีโอไอ เพื่อให้ รฟท.ออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ หวังตอกเสาเข็มในปีนี้ เปิดให้บริการในปี 2572 เตรียมส่ง ครม.เคาะต่อ

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด ร.ฟ.ท.) ว่า ที่ประชุมบอร์ดได้รับทราบ เรื่องหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตการณ์ของระบบสถาบันการเงิน โดย ร.ฟ.ท.รายงานผลเจรจากับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นคู่สัญญาในโครงการดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นกำหนดสิ้นสุดที่เอกชนได้รับการขยายเวลาจากบีโอไอ ครั้งที่ 3 หากไม่หาทางออกจะส่งผลกระทบต่อโครงการ ทั้งนี้ หลักการที่ ร.ฟ.ท.นำเสนอมีเป้าหมายโดยภาครัฐต้องไม่เสียผลประโยชน์เกินกรอบสัญญา ส่วนภาคเอกชนต้องไม่ได้รับผลประโยชน์เกินควร

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนโครงการนี้ จากการหารือกับกลุ่มซีพี ได้ข้อสรุปร่วมกันแบ่งเป็น ประเด็นการรับสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เอกชนขอแบ่งจ่ายค่าบริหารสิทธิเป็น 7 งวด มูลค่ารวม 10,640 ล้านบาท โดยจะเริ่มจ่ายงวดแรกในปี 2567 ส่วนประเด็นการร่วมลงทุน เนื่องจากเอกชนกู้เงินไม่ได้ เพราะผลกระทบจากโควิด-19 ปัญหาสงคราม และอัตราดอกเบี้ย ทำให้มีเงื่อนไขร่วมกันในการเร่งให้ภาครัฐจ่ายค่าที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 119,000 ล้านบาท โดยให้จ่ายก่อนกำหนดในงวดที่ 18 นับจากวันที่ออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) จากเดิมภาครัฐต้องจ่ายหลังเอกชนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ

“จากการเจรจาให้ภาครัฐเร่งจ่ายค่าร่วมลงทุน 119,000 ล้านบาท และการแบ่งจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพื่อไม่ให้รัฐรับความเสี่ยงและการันตีได้ว่าเอกชนรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐไปแล้วจะยังคงดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง จึงมีข้อตกลงร่วมกันให้เอกชนจัดหาวางหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเป็นหลักประกันทางการเงิน หรือแบงก์การันตี วงเงิน 119,000 ล้านบาท เป็นค่าที่รัฐร่วมลงทุน”


นายอนันต์กล่าวต่อว่า การแก้ไขสัญญาครั้งนี้ ยังตัดเงื่อนไขเอกชนต้องรับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ออกไป เพราะสัญญาก่อนหน้านี้กำหนดว่า ร.ฟ.ท.จะออกหนังสือ NTP ได้ต่อเมื่อทางเอกชนคู่สัญญาได้รับบัตรส่งเสริม BOI แต่ในขณะนี้เห็นว่าเอกชนไม่สามารถออกบัตรส่งเสริมการลงทุนได้แล้ว หากตัดเงื่อนไขนี้ออกไปก็จะทำให้ ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือ NTP และเอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้

Recommended
ทำเป็น “หมูหัน” 7.5 หมื่นตัว คชก.ทุ่ม 30 ล้านบาทตัดวงจรลูกหมูล้นตลาด
ทำเป็น “หมูหัน” 7.5 หมื่นตัว คชก.ทุ่ม 30 ล้านบาทตัดวงจรลูกหมูล้นตลาด
ไตรมาส 1 ส่งออกข้าวพุ่ง มูลค่ารวม 5.6 หมื่นล้าน!
ไตรมาส 1 ส่งออกข้าวพุ่ง มูลค่ารวม 5.6 หมื่นล้าน!
เพื่อทะเลไทย ด้วยใจรักษ์
เพื่อทะเลไทย ด้วยใจรักษ์
กสทช.-ดีอี กำหนดมาตรการใหม่ โมบายแบงก์-ซิมมือถือ ต้องชื่อเดียวกัน
กสทช.-ดีอี กำหนดมาตรการใหม่ โมบายแบงก์-ซิมมือถือ ต้องชื่อเดียวกัน
ทั้งนี้ ภายหลังบอร์ด ร.ฟ.ท.รับทราบในหลักการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และอัยการสูงสุดในการแก้ไขสัญญา โดยคาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ จะทำให้ ร.ฟ.ท.ออกหนังสือ NTP เพื่อให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างได้ในปีนี้ โดยเงื่อนไขวางแบงก์การันตี ทางเอกชนต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 270 วัน นับจากวันที่ลงนามแก้ไขสัญญา

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการแก้ไขสัญญาฉบับใหม่ ร.ฟ.ท. มีความพร้อมส่งมอบพื้นที่ครบ 100% ตลอดเส้นทาง จึงเตรียมเร่งรัดให้เอกชนเริ่มก่อสร้างส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการอื่น อาทิ โครงสร้างร่วมรถไฟไทยจีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินส่วนแรกราว 4,000 ล้านบาท ซึ่งเอกชนยังยืนยันจะรับภาระให้ รวมไปถึงเร่งแก้ปัญหาพื้นที่ร่วมใต้อาคารผู้โดยสารโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

“ถ้า ครม.อนุมัติให้แก้ไขสัญญาถือเป็นการปลดล็อกปัญหา และเป็นกระดุมเม็ดแรกในการดำเนินโครงการนี้ รฟท.มั่นใจว่าจะออก NTP ได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2572“.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2024 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต รถไฟความเร็วสูงบันไดม้า-ปากช่อง-ลำตะคอง สัญญาที่ 3-3 ต้องเร่งแล้วหน้าฝนมาแล้ว
Max Puttipong
May 26, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=et1YQ5tcLKA

Update on the high-speed train from Bandai Ma - Pak Chong - Lam Ta Khong: Contract 3-3 needs to be expedited as the rainy season has arrived.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/05/2024 5:11 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.ตีกลับ'มิสซิ่งลิงก์'สั่งทบทวนแบบย้ายสถานีเชื่อมรพ.รามาหนุนเดินทางสะดวก
Source - ไทยโพสต์
Monday, May 27, 2024 04:29

หัวลำโพง บอร์ด รฟท.ตีกลับ "มิสซิ่งลิงก์" สั่งกลับไปทบทวนรายละเอียดปรับแบบสถานีราชวิถี ขยับเพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก ก่อนเสนอบอร์ดครั้งหน้า ในเดือน มิ.ย.นี้

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ให้กลับไปทบทวนรายละเอียดเพิ่มเติมกรณีปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไทมักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำ โพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร (กม.) ในการปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก และให้นำกลับมาเสนอบอร์ดอีกทีในการประชุมอีกครั้งเดือนมิถุนายน 2567

สำหรับรายละเอียดที่ต้องกลับไปทบทวนดูรายละเอียดของงานโครงการ เช่นเรื่องของการย้ายตำแหน่งสถานี เนื่องจากครั้งนี้มีการขอขยับตำแหน่งสถานีโรงพยา บาลรามาธิบดี ในส่วนของขอบเขตงานว่าหลักการเหตุผลของการขยับสถานีคืออะไรให้ชัดเจน เนื่องจากเดิมอยู่ฝั่งตรงข้ามราชวิถี ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นจะย้ายมาอยู่อีกฝั่งคือโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก

"การประชุมบอร์ดครั้งหน้า ต้องอธิบายหลักการ เหตุ ผล เช่น ย้ายทำไม ย้ายแล้วได้ประโยชน์ตรงไหน มีผลกระ ทบกับรถไฟเชื่อมสามสนามบินหรือไม่ และได้หารือกันหรือยัง ต้องมีเอกสารยืนยันด้วย ซึ่งบอร์ดต้องการให้มายืนยันให้ชัดเจนว่าการขยับสถานีครั้งนี้ไม่กระทบโครงการอื่นๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เบื้องต้นในการปรับแบบ จะทำให้วงเงินปรับเพิ่มกว่า 400 ล้าน จากค่างานเดิมมติ ครม.เมื่อปี 2559" นายอนันต์ กล่าว

รายงานข่าวกล่าวว่า ใน ส่วนการเวนคืนที่ดินช่วงบาง ซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัว หมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำ โพง (Missing Link) จากมติ ครม.ปี 2559 วงเงิน 44,157 ล้านบาท ใช้งบประมาณในการเวนคืน 61 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินภายในเดือนตุลาคม 2567-กันยายน 2568 ระยะเวลาเวนคืนที่ดิน 1 ปี โดยมีพื้นที่ที่ถูกเวนคืนที่ดินประมาณ 78 ตารางวา 2 แปลง 3 หลังคาเรือน.

บรรยายใต้ภาพ
อนันต์ โพธิ์นิ่มแดง

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 พ.ค. 2567


SRT Board Rejects 'Missing Link' Plan, Orders Review of Station Relocation to Connect with Ramathibodi Hospital for Convenience
Source - Thai Post
Monday, May 27, 2024, 04:29

Hua Lamphong – The SRT (State Railway of Thailand) board has rejected the "Missing Link" project, instructing a review of the Rajavithi station design. The plan is to relocate the station to facilitate convenient pedestrian access to Ramathibodi Hospital before resubmitting to the board in June.

Mr. Anan Phonimdaeng, Deputy Governor of the SRT, stated that the board meeting, chaired by Mr. Jiruth Wisaljitr, required a review of the budget framework adjustment for the light red line (Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak) and dark red line (Bang Sue-Hua Lamphong) projects, covering 25.9 kilometers. The proposed relocation of Rajavithi station aims to improve passenger access to Ramathibodi Hospital. The details must be reviewed and resubmitted in the June 2024 meeting.

Key details to be revisited include the station relocation rationale and the scope of work. Originally, the station was opposite Rajavithi; now, the plan is to move it closer to Ramathibodi Hospital for easier access. The board requires a clear explanation of the benefits and any impacts on the three-airport rail link project, supported by official documentation.

"At the next board meeting, we need to explain the principles and reasons for the relocation, the benefits, and any potential impacts on other projects, such as the high-speed rail link between the three airports. Initial adjustments are expected to increase the budget by over 400 million baht from the original project cost approved by the Cabinet in 2016," said Mr. Anan.

Reports indicate that land expropriation for the Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak and Bang Sue-Hua Lamphong (Missing Link) segments, budgeted at 44,157 million baht in 2016 with 61 million baht allocated for expropriation, will begin from October 2024 to September 2025. The expropriation involves approximately 78 square wah (about 312 square meters) of land across two plots and three households.

Caption: Anan Phonimdaeng

Source: Thai Post, May 27, 2024 Edition
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 551, 552, 553 ... 581, 582, 583  Next
Page 552 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©