RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311947
ทั่วไป:13593417
ทั้งหมด:13905364
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2024 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

ทฤษฎี…หมาป่ากับลูกแกะ
ผู้เขียน พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก
วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 12:00 น.

ปลาย พ.ศ.2488 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง…รัฐบาลไทยกล้ำกลืนฝืนใจ..ต้อง “ซื้อรางรถไฟ” สายกาญจนบุรี-พม่า ยอมจ่ายเงินให้กองทัพอังกฤษ ในขณะที่เมืองไทยประสบภาวะข้าวยากหมากแพง แร้นแค้นทุกหย่อมหญ้า




เส้นทางรถไฟสายมรณะ จากชุมทางหนองปลาดุก จ.ราชบุรี ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์แรงงานเชลยศึกหลายหมื่นคนมาสร้าง ทหารญี่ปุ่นสุดโหดบังคับเชลยศึกสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควจนสำเร็จ แม่ทัพญี่ปุ่นหมายจะนำกำลังทหารบุกเข้าไปในพม่าเพื่อไปรบกับอังกฤษ เชลยศึกทุกข์ทรมาน ทำงานหนัก ตายไปนับหมื่น ต่อมากลายเป็นเส้นทางรถไฟที่มีชื่อเสียงระดับโลก

ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงคราม..เกิดการเช็กบิลข่มขู่รัฐบาลไทย

Advertisement
อังกฤษ เป็นฝ่ายชนะสงคราม (เพราะอเมริกาช่วยยุโรปไว้) …เป็น “ปฏิปักษ์” กับท่าทีของรัฐบาลไทยที่ไป “เป็นมิตรกับญี่ปุ่น” จ้องจะเข้ามาปกครองแผ่นดินไทย เกิดการ “เรียกร้อง”
ค่าปฏิกรรมสงคราม แบบเอาเป็นเอาตาย แม้กระทั่งรางรถไฟที่อยู่ในดินแดนไทย ก็ขู่เข็ญจะขอเป็นเงิน แบบเรียกค่าไถ่ นำกำลังทหารจากอินเดียเข้ามาในไทย

นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทในอังกฤษ ได้รับการแต่งตั้งเป็น “หัวหน้าเสรีไทยสายอังกฤษ” สมัครเข้าเป็นทหาร รวมถึงพลพรรคนักเรียนไทยในอังกฤษเข้าร่วมในกองทัพบกอังกฤษ แสดงออกชัดเจนว่า ไทยเป็นมิตรกับอังกฤษ อเมริกา เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรสู้รบกับญี่ปุ่น

แม่ทัพของอังกฤษในภูมิภาคนี้ …ยืนยันว่า ไทยเป็นผู้แพ้สงคราม

ลอร์ดหลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน ผู้บัญชาการทหารสัมพันธมิตรในเอเชียอาคเนย์ ส่งกองพลอินเดียที่ 7 ราว 17,000 คน มาเดินสวนสนามบนถนนราชดำเนิน ประกาศจะขอเป็นผู้ปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทยและบีบให้ไทยเซ็น “ข้อตกลง” และจะขอคงกำลังทหารไว้ในไทย

เวลานั้น…ไทยเกือบต้องเป็น “รัฐในอารักขา” ของอังกฤษ ซึ่งมหามิตรอเมริกาเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลไทย ทัดทานรัฐบาลอังกฤษไว้ในหลายประเด็น

ผู้เขียนในฐานะคนไทย ที่ศึกษาเรื่องนี้ ขอยอมรับว่า ผู้นำของไทย นักการทูตของไทย เฉียบแหลมรู้เท่าทันท่าทีของ “หมาป่า”

ผู้เขียนขอนำบทความ (บางตอน) ของ ศ.ดิเรก ชัยนาม ซึ่งท่านบันทึกไว้ในหนังสือ “ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2” มาเผยแพร่ ซึ่งท่านเองมีบทบาทในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องนำพาประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตของชาติ….ใจความดังต่อไปนี้

…ประมาณเดือนเมษายน พ.ศ.2489 ทูตอังกฤษมีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศว่า ตามที่ญี่ปุ่นได้ขนวัสดุต่างๆ จากพม่า มาลายาและเนเธอร์แลนด์อีสอินดีส (อินโดนีเซีย) มาสร้างทางรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่า รวมทั้งรถจักรและเครื่องอุปกรณ์มากหลายนั้น

บัดนี้ทางรัฐบาลอังกฤษจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ 3 ประเทศนั้นๆ จึงจะรื้อขนไป เพราะเวลานั้นยังมีทหารสัมพันธมิตรและเชลยศึกชาวญี่ปุ่นอยู่เป็นอันมากจะได้ใช้เป็นกำลัง ฉะนั้น…รัฐบาลอังกฤษจึงขอความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยก่อน

รัฐบาลไทยได้มาพิจารณาแล้ว เฉพาะอย่างยิ่งทางกระทรวงคมนาคมเห็นว่า “ควรรับซื้อไว้ดีกว่า” เพราะทางรถไฟของเราก็กำลังขาดสัมภาระในเรื่องรถไฟอยู่มาก รัฐบาลจึงถามไปยังรัฐบาลอังกฤษว่าเพื่อไม่ให้อังกฤษต้องลำบากในการที่จะต้องรื้อขน
รัฐบาลไทยจะช่วยอังกฤษโดยรับซื้อ ฉะนั้น…ขอทราบราคา

ขั้นแรก รัฐบาลอังกฤษตอบมาว่าจะขอขายในราคาทั้งหมด 3 ล้านปอนด์ เราตอบไปว่า “สูงมาก” รับไม่ไหว ในที่สุดรัฐบาลอังกฤษเสนอมาใหม่ 1 ล้าน 5 แสนปอนด์

รัฐบาลไทยได้ตั้งกรรมการขึ้นพิจารณาเห็นว่า ควรลดลงมาอีกในที่สุดอังกฤษจึงเสนอราคาเด็ดขาดคือ 1 ล้าน 2 แสน 5 หมื่นปอนด์

รัฐบาลไทยได้ตกลงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2489

เรื่องทางรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่านี้ มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านเศร้าสลดมาก จนทั่วโลกขนานนามว่ารถไฟสายมรณะหรือ Railway of Death เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะเชื่อมการคมนาคมกับพม่าโดยผ่านทางเมืองกาญจนบุรี

กองทัพญี่ปุ่น ได้เริ่มสำรวจการสร้างทางรถไฟสายนี้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2485 เริ่มสร้างตั้งแต่พฤศจิกายน 2485 โดยสร้างพร้อมๆ กันทั้งสองด้าน คือ ด้านพม่าเริ่มจากเมืองตันบูซายัต ทางภาคใต้ของพม่า

ส่วนด้านไทย เริ่มสร้างจากทางเมืองกาญจนบุรี แต่ภายหลังสร้างได้ไม่กี่เดือนญี่ปุ่นเสียหายในการสู้รบทางทะเลมากขึ้น (กองทัพเรือญี่ปุ่นโดนกองทัพเรือสหรัฐยิงทำลายในมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบราบคาบ : ผู้เขียน) ญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าทางนี้เสร็จได้เร็ว ก็จะช่วยในเรื่องการขนส่งมาก จึงออกคำสั่งระดมให้เสร็จภายในสิงหาคม พ.ศ.2486

แต่เป็นที่ทราบกันแล้วว่า เส้นทางสายนี้ทุรกันดารที่สุด ต้องผ่านทิวเขามากหลายป่าดงทึบ อากาศก็ร้อนจัดและในภูมิภาคนี้ฝนตกหนักโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุนแรง เครื่องมือสำหรับการช่างก็มีไม่พอ ทหารสัมพันธมิตรซึ่งเป็นเชลยเล่าว่า งานส่วนมากต้องทำโดยใช้มือและกำลังแรงเป็นส่วนใหญ่

ญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกชาติต่างๆ เอามาใช้ รวมทั้งจ้างกุลีชาวทมิฬพม่า ชวา ญวน มาลายาและจีน คนงานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเชลยศึกหรือคนงานซึ่งเกณฑ์จ้าง ต้องทำงานอย่างหนักที่สุดตั้งแต่เช้าจนค่ำอาหารก็ไม่พอกิน ที่พักก็ใช้ผ้าใบซึ่งทำเป็นหลังคาในฤดูมรสุมฝนตกหนักนอนไม่ได้เพราะน้ำท่วม คนงานส่วนมากจึงเจ็บป่วย ยาก็ไม่มี ส่วนมากจึงไม่รักษาปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ผลก็คือล้มตายลงเป็นอันมาก

ในที่สุด…ญี่ปุ่นก็เร่งจนเสร็จได้และเริ่มเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2486 เป็นระยะทาง 415 กม. เมื่อเปิดทางรถไฟ กองทัพญี่ปุ่นต้องทำพิธีทางศาสนาให้คนงานที่ตายในการก่อสร้างทางรถไฟนี้

เป็นที่น่าปลื้มใจและน่าอนุโมทนาอยู่อย่างหนึ่ง ที่ระหว่างสร้างเส้นทางนี้ คนไทยทั่วไปเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งที่เริ่มสร้างทางนั้น ได้เวทนาสงสารพวกเชลยและพวกกุลีเหล่านี้ได้แอบส่งอาหาร เสื้อผ้า เงิน บุหรี่ ยาให้

เชลยศึกสัมพันธมิตรเอง ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้และมีหลักฐานปรากฏในสำนวนศาลทหารระหว่างประเทศที่กรุงโตเกียวถึงความเมตตากรุณาของพวกเราชาวไทย….

ข้อความข้างต้น คือ บันทึกของ ศ.ดิเรก ชัยนาม เป็น 1 ในหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรได้อ่านครับ

เรื่องรางรถไฟ เป็นเพียง 1 เรื่องที่ไทยพอจะเอาตัวรอดได้ คือ รู้ดีว่าอังกฤษจะเอาเงินจากไทย เลยต้องหาเงินให้เขาไป ก็หมดเรื่อง

หลังจากสงครามสงบ …อังกฤษยังไม่ยอมคืนทองและเงินปอนด์ (มูลค่าขณะนั้นประมาณ 265 ล้านบาท) ที่อังกฤษอายัดไว้ที่ลอนดอน รัฐบาลไทยต้องเลี้ยงดูเสียค่าใช้จ่ายทั้งทหารกองพลที่ 7 และเชลยศึก (ทหารญี่ปุ่นราว 1.2 แสนคน) จนกว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะปลดอาวุธและส่งทหารญี่ปุ่นกลับไปหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปีเศษ ที่ไทยต้องดูแลจ่ายเงินก้อนยักษ์

อังกฤษแสนจะงอแง ทำตัวเป็นเด็กดื้อ เอาแต่ใจจนทำให้ไทยต้องส่งมอบข้าวสาร 1.5 ล้านตัน ให้แก่อังกฤษ ซึ่งจำนวนดังกล่าว เท่ากับปริมาณข้าวที่ไทยผลิตใน 1 ปี

ระหว่างนั้น ไทยถูกอังกฤษบีบในทุกเรื่อง แม้กระทั่งการฝึกทหาร

ในที่สุด นักการทูตของไทยต้องไปล็อบบี้ให้สหรัฐช่วยพูดกับอังกฤษให้เลิกข่มขู่ไทย รวมถึงให้ถอนทหารออกไปจากไทย

1 มกราคม พ.ศ.2489 เกิดพิธีการลงนามในสัญญา ที่เกาะสิงคโปร์…ถือว่าไทยพ้นจาก “การข่มขู่” เอาบ้าน-เอาเมือง-เอาเงินจากอังกฤษโดยสิ้นเชิง

สงครามโลกครั้งที่ 2 …บทบาทของอเมริกา คือ การเป็นมหาอำนาจเดี่ยวที่ส่งทหารนับล้านนาย เข้าไปช่วยกอบกู้ยุโรป ทหารสหรัฐคือกำลังหลักที่ “ผลักดัน-ตีโต้ตอบ” กองทัพนาซีเยอรมันนับล้านคนให้พ่ายแพ้ สหรัฐมอบอาวุธมหาศาลให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ ในยุโรป และเอเชีย เพื่อรบกับนาซีเยอรมัน

สหรัฐ ยังส่งทหารนับล้านมารบกับญี่ปุ่นในเอเชีย-แปซิฟิก

รถจี๊ป และรถยนต์นานาชนิด คือตัวอย่างที่จับต้องได้ รัฐบาลของทุกประเทศในยุโรป “เกรงใจ” อเมริกา (ยกเว้นโซเวียตรัสเซีย)

แถมท้ายครับ…เรื่องน่าปลื้มใจที่สุด 16 กันยายน 2485 มีการลงนามข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายพม่า ญี่ปุ่นขอยืมเงินไทย 4 ล้านบาทในการก่อสร้าง

ต่อมาภายหลัง…ญี่ปุ่นก็ใช้หนี้ไทยตามสัญญา…

https://www.matichon.co.th/article/news_4582871
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
Page 10 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©