RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13637351
ทั้งหมด:13949401
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2024 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

ย้าย”ท่าเรือคลองเตย”อีก 6 เดือนชัดเจน“สุริยะ”นั่งประธานศึกษาแผน”มนพร”เผยนายกฯเน้นรื้อผังพื้นที่ใหม่เน้นเชิงพาณิชย์
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, May 16, 2024 17:32

'คมนาคม'เตรียมตั้งคณะกก.ศึกษาย้ายท่าเรือกรุงเทพ”สุริยะ”นั่งประธาน คาดทบทวนแผนแม่บทเดิม 6 เดือนชัดเจน“มนพร”เผยนโยบายนายกฯ”รื้อผังพื้นที่ใหม่ใช้ประโยชน์สร้างมูลค่า ไม่ปล่อยทิ้ง คาดรื้อย้ายชุมชนกว่า 1.3 หมื่นครัวเรือน เผยรอบ 6 เดือนปี 67 กำไรสุทธิ 4.23 พันล้านบาท

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ของการย้ายท่าเรือกรุงเทพออกจากคลองเตย ว่าขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนแต่งตั้งคณะกรรมการฯ โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน นอกจากนี้จะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมไปถึง กฤษฎีกา เป็นต้น เพื่อดำเนินการศึกษาตามข้อสั่งการ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคาดว่า คณะทำงานฯจะมีการประชุมครั้งแรก ภายในเดือนพ.ค.นี้ ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาทบทวนประมาณ 6 เดือน

โดยที่ผ่านมา ในส่วนของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีคณะทำงานฯ ประชุมแบบนอกรอบไปแล้ว 2 ครั้ง หลักการคือจะนำผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ เดิม มาศึกษาทบทวนแผนเดิมในทุกมิติ ทั้งท่าเรือขนส่งสินค้า การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การดูแลเรื่องชุมชมและที่อยู่อาศัยแบบใหม่ ซึ่งแผนเดิมมีการศึกษาเป็น Smart Community จะนำมาพิจารณาทั้งหมด ว่ามีส่วนใดต้องปรับปรุงหรือต้องพัฒนาแต่ละเฟสอย่างไร

นางมนพร กล่าวว่า นายกฯ มีนโยบายเรื่องการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ โดยให้ทำผังเมืองการใช้พื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็น New Port City นอกจากนี้ ยังคงเดินหน้า พัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและโครงการทางพิเศษสายบางนา - อาจณรงค์ (S1) เพราะจะเป็นส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะทางในการเดินทาง เชื่อมกับท่าเรือ โดยหลักการจะเป็นการลงทุนร่วมกัน ระหว่างกทท.และกทท.

ส่วนจะย้ายท่าเรือไปทั้งหมดหรือไม่รมช.คมนาคมกล่าวว่า ต้องรอดูการศึกษาออกมาก่อน หลักการไม่น่าจะปิดบริการท่าเรือ แต่จะเป็นการจัดการพื้นที่ มีท่าเรือท่องเที่ยว บริการผู้โดยสาร ขณะท่าเรือขนส่งสินค้า จะคงมีอยู่ แต่เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ จะต้องเป็นไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ หรือหากจะย้ายท่าเรือบางส่วนออกไปก็จะแบ่งเป็นเฟส และมีระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน

เมื่อทบทวนแผนแล้วจะมีความชัดเจนของผังท่าเรือกรุงเทพ ว่าจะทำอะไรตรงไหนอย่างไร ท่าเรือขนส่ง ท่าเซึ่งนโยบายบอกว่าจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกส่วน รวมถึงประชาชนที่จะมีการโยกย้าย ประมาณ 13,000 ครัวเรือน ดังนั้นจึงมีกระทรวง พม.อยู่ในคณะทำงานชุดนี้ ส่วนทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) ก็มีความเห็นทั้งการดูแลตลาดคลองเตยและอยากได้สวนสาธารณะ รวมไปถึงอยากให้ย้ายคลังน้ำมันบางจากออกจากพื้นที่เป็นต้น

“ผลการศึกษาที่มีเดิม นำมาทบทวนไม่สูญเปล่า นำมาปรับปรุงให้ดี เป้าหมายรัฐบาล ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความมั่งคั่ง สร้างเศรษฐกิจใหม่ ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตย และจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน”นางมนพรกล่าว

ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่า พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ มีประมาณ 2,353 ไร่ รัฐบาลต้องการให้การใช้พื้นที่ในเมืองมีความคุ้มค่ามากขึ้น กทท.พร้อมทำงานร่วมมือกับคณะกรรมการฯในการพัฒนาพื้นที่ตามนโยบายนายกฯเพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งท่าเรือกรุงเทพในปัจจุบัน มีพื้นที่ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ก่อนหน้านี้มีการศึกษาพัฒนา เป็นท่าเรือสีเขียว (Greem Port) ภายใต้แนวคิดโครงการ SMART PORT ยกระดับสู่ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร

สำหรับการย้ายตามนโยบาย นายกฯ นั้น จะเป็นอย่างไรคณะทำงานที่มีรมว.คมนาคมเป็นประธานนั้น จะศึกษาก่อนว่าจะมีการย้ายแบบไหน อาจจะขยับภายในพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพแต่อาจจะปรับลดขนาด และปรับเพิ่มการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพประเด็น เน้นผังเมือง ให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้มากขึ้นและเพิ่มมูลค่าของพื้นที่

@มั่นใจถมทะเล”แหลมฉบังเฟส 3”เสร็จส่งมอบพื้นที่สัมปทานให้ GPC ปลายปี 68

นายเกรียงไกร กล่าวถึงความคืบหน้า งานโครงสร้างพื้นฐานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ว่า ขณะนี้งานส่วนที่ 1 การก่อสร้างทางทะเล เป็นงานขุดลอกถมทะเล สร้างเขื่อนกันคลื่นวงเงิน 21,320 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พื้นที่ถมทะเล 3 (Key Date 3)ผลการดำเนินการสะสม ณ เดือนเม.ย. 2567 คิดเป็น 27.25% ซึ่งจะสามารถส่งมอบพื้นที่ F1 ของโครงการฯ ให้แก่บริษัทเอกชนคู่สัญญา กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ได้ ภายในเดือนมิ.ย. นี้ และจะกระบวนการเรื่องปรับคุณภาพ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2568

ส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานงานสาธารณูปโภค งานที่ 2 งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธารณูปโภค วงเงินกว่า 7,300 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้ผู้รับจ้างแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการกระบวนการให้ครบถ้วนตามขั้นตอน

ส่วนงานที่ 3 งานก่อสร้างระบบรถไฟ วงเงินประมาณ 799.50 ล้านบาท และ ส่วนที่ 4 งานจัดหา ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วงเงินประมาณ 2,257.84 ล้านบาท จะเร่งดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับงานส่วนที่ 1 และ 2 ต่อไป

@ เผย 6 เดือนปี 67 กำไรสุทธิ 4,238 ล้านบาท สินค้ารวม 5.28 ล้านที.อี.ยู.

โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567 นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนา กทท. ครบรอบ 73 ปี โดยกทท. ได้มอบเงินสนับสนุนจัดหารถหน่วยคัดกรองมะเร็งนรีเวชให้แก่มูลนิธิกาญจนบารมี จำนวน 36,720,400 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อช่วยเหลือสตรีกลุ่มเสี่ยงผู้ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารให้สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งทางนรีเวชได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สำหรับผลประกอบการในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.66 - มี.ค.67) มีเรือเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง รวม 7,230 เที่ยว เพิ่มขึ้น 4.36% สินค้าผ่านท่า 58.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.85% และตู้สินค้าผ่านท่า 5.28 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 9.77% มีรายได้ 8,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.97% กำไรสุทธิ 4,238 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.34% เทียบกับปีก่อนหน้า

Transport Ministry to Form Committee for Bangkok Port Relocation Study

The Thai Ministry of Transport is preparing to establish a committee to study the relocation of the Bangkok Port from Khlong Toei. Mr. Suriya Juangroongruangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, will chair the committee, which will include representatives from relevant ministries.

The committee is expected to review the original master plan for the port area within six months and will consider all aspects, including shipping operations, commercial space development, community housing, and the Smart Community concept.

Deputy Transport Minister, Mrs. Monporn Charoensri, stated that the Prime Minister is committed to creating a new city plan for the area, making use of unused space to add value and boost the local economy. This includes developing routes connecting the port to the Bangna - At Narong Expressway Project (S1) to reduce costs and travel distances.

The committee will also address concerns about relocating residents, estimated to be around 13,000 households, and take into account opinions from various stakeholders, including the Bangkok Metropolitan Administration (BMA). The goal is to maximize the use of space, generate economic benefits, and revitalize the Khlong Toei area.

In other news, the Port Authority of Thailand (PAT) reported a net profit of 4.238 billion baht for the first six months of the 2024 fiscal year, with a total throughput of 5.28 million TEUs.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/05/2024 8:08 am    Post subject: Reply with quote

จี้รัฐเบิกจ่ายงบค้างท่อ ดันเม็ดเงินกระตุ้นศก.
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, May 22, 2024 06:18

คมนาคมรับ เบิกจ่ายงบต่ำกว่าแผน

คลังเผยส่วนราชการเบิกงบเหลื่อมปีแล้ว 9.6 หมื่นล้านบาท จากวงเงิน 1.59 แสนล้านบาท ขยายเวลาถึงสิ้นก.ย.67 ยอมรับการเบิกจ่ายล่าช้ากระทบเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ คมนาคมพบเบิกจ่าย 26.42% ต่ำกว่าแผนที่วางไว้

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์รายงานตัวเลขภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 2567 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ขยายตัว 1.5% สูงกว่าที่ตลาดคาดว่า จะขยายตัวเพียง 0.7-0.8% แต่ชะลอลงเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แม้การผลิตนอกภาคเกษตรจะขยายตัวจากบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แต่ภาคการเกษตรลดลง 3.5% และหมวดอุตสาหกรรมลดลง 3% รวมถึงการใช้จ่ายรัฐบาลลดลง 2.1% และการลงทุนรวมลดลง 4.2%

โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่ลดลงถึง 27.7% ซึ่งเป็นอำนาจที่ภาครัฐสามารถที่จะบริหารจัดการให้มีเม็ดเงินลงในระบบเศรษฐกิจได้ ในภาวะที่ปัจจัยอื่นๆได้รับผลกระทบจากปัจจัยโลกอย่างการส่งออก แม้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่รัฐบาลยังมีงบลงทุนในงบเหลื่อมปีของปีงบประมาณ 2566 จำนวน 158,548 ล้านบาท ที่สามารถเร่งการเบิกจ่ายได้

นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลางเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผลการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ 66 ณ วันที่ 26 เมษายน 67 มีการเบิกจ่ายแล้ว 96,427 ล้านบาทคิดเป็น 60.82% จากกรอบวงเงินทั้งหมด 158,548 ล้านบาท ซึ่งคงเหลือไม่เบิกจ่าย 62,121 ล้านบาท คิดเป็น 39.18% ซึ่งกระทรวงการคลังได้ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายออกไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานผู้เบิกแทนสามารถเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

"สัดส่วนการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่ทำได้ 60.82% นี้ ถือว่าเป็นสถานการณ์ปกติ เนื่องจากการเบิกจ่ายส่วนใหญ่เป็นการเบิกตามงวดงาน หากงวดงานยังไม่เป้าหมายถึงส่วนราชการก็จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้" นางสาวทิวาพร กล่าว
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี หากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานผู้เบิกเงินแทนไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันระยะเวลาที่กำหนด วงเงินก็จะโดนพับไป ซึ่งที่ผ่านมา การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีมีการเบิกจ่ายเฉลี่ยปีละ 70-80% เนื่องจากบางโครงการเบิกจ่ายไม่ทัน เพราะงวดงานของบางโครงการล้ำไปในปีถัดไป จึงทำให้งบประมาณโดนพับไป และอีกส่วนหนึ่ง มาจากเงินเหลือจากบางโครงการที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีวงเงินเหลืออยู่

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การเบิกจ่ายที่ล่าช้า มีผลต่อการช่วยส่งเม็ดเงินหมุนเวียนลงระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากหากมีการเบิกจ่ายช้า เงินที่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจก็จะมีสัดส่วนน้อย ฉะนั้น ส่วนราชการจึงให้ความสำคัญกับเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเป็นอย่างมาก และลำดับถัดไปจึงจะให้ความสำคัญกับงบประมาณปีปัจจุบัน เพราะเวลาของเงินกันเหลือน้อยกว่างบปีปัจจุบัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2567 กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบ 228,803 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณอยู่ที่ 26.42% จากแผนที่วางไว้ 27.53% คาดว่า ภายในระยะเวลา 5 เดือนของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ทุกหน่วยงานจะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลและกระทรวงฯ ตั้งไว้ 100% ภายในเดือนกันยายนนี้

"ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากกว่า 70% จากงบประมาณทั้งหมด" นาย สุริยะกล่าว
รายงานข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.)กล่าวว่า ปัจจุบันกรมฯเบิกจ่ายงบสะสมมากกว่า 96% คิดเป็น 29,121.39 ล้านบาท จากแผน 30,245.37 ล้านบาท โดยตั้งเป้าภาพรวมเบิกจ่ายในเดือนพฤษภาคมนี้อยู่ที่ 10,748 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 3,629 ล้านบาท และรายจ่ายงบลงทุน 10,308 ล้านบาท ซึ่งจะได้ผู้รับจ้างครบตามแผนภายในเดือนมิถุนายน คาดว่าภาพรวมเบิกจ่ายในเดือนกันยายน 67 อยู่ที่ 41,124 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 5,388 ล้านบาท และรายจ่ายงบลงทุน 40,684 ล้านบาท

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมที่เร่งรัดดำเนินการภายในปีงบประมาณ 67 เช่น โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา วงเงิน 24,060 ล้านบาท,โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 16,492 ล้านบาท,โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินอู่ตะเภา วงเงินลงทุน 4,508 ล้านบาท, โครงการทางหลวงหมายเลข 4027 ท่าเรือ-เมืองใหม่ ตอน บ.พารา-เมืองใหม่ จ.ภูเก็ต วงเงิน 650 ล้านบาท,โครงการทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ (ด้านตะวันออก) วงเงิน 700 ล้านบาท, โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ฯลฯ

นางสาวลิซ่า งามตระกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวว่า เอกชนได้หารือกับทางสมาคมฯถึงการเบิกจ่ายงบปี 67 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการประมูลโครงการฯมากนัก เนื่องจากเพิ่งได้รับการอนุมัติงบประมาณเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้โครงการต่างๆ เพิ่งเริ่มดำเนินการประมูล

สำหรับการเบิกจ่ายค่าเค ซึ่งเป็นงานเก่าของโครงการต่างๆ ที่มีการค้างเบิกจ่ายก่อนปีงบ 67 แล้ว ปัจจุบันเอกชนอยู่ระหว่างการคำนวณค่าเคของงบปี 67 เพราะเพิ่งเริ่มกระบวนการเปิดประมูล พบว่า ภาครัฐมีการค้างเบิกจ่ายค่าเคหลายพันล้านบาท

"สมาคมฯ ขอให้ภาครัฐเพิ่มแคชโฟลว์มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือเอกชน เพราะจากตัวเลขจีดีพีของสภาพัฒน์พบว่า ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ติดลบเยอะมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่งอนุมัติ อีกทั้งยังพบว่ามีเอกชนหลายรายมีสถานการณ์ทางบริษัทไม่ค่อยดีและมีแนวโน้มที่จะปิดกิจการลง" นางสาวลิซ่า กล่าว

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 พ.ค. 2567

Thai Government Urged to Accelerate Budget Spending Amidst Slowing Economic Growth

BANGKOK (Thansettakij) – As Thailand's economic growth slows down in the first quarter of 2024, government agencies are being urged to speed up disbursement of the remaining 39.18% of the 158.5 billion baht investment budget.

Despite an overall GDP growth of 1.5% in the first quarter, exceeding market expectations, public investment saw a significant decrease of 27.7%. This slowdown, coupled with the delayed implementation of the 2024 budget, has raised concerns about the lack of funds circulating in the economy.

While the Ministry of Finance has extended the disbursement deadline to September 30, 2024, experts emphasize the importance of timely spending to stimulate economic activity. Miss Thiwaporn Phasuk, Deputy Director-General of the Comptroller General's Department, acknowledged the impact of delayed disbursements on the economy.

Transport Minister Suriya Juangroongruangkit also highlighted the need for accelerated spending within his ministry, which has achieved a disbursement rate of 26.42% so far. He assured that all agencies under the Ministry of Transport are expected to meet their 100% disbursement target by September.

The private sector, particularly the construction industry, is also feeling the effects of the slow budget disbursement. Ms. Lisa Ngamtrakul, President of the Thai Construction Industry Association, revealed that the government owes billions of baht in payments to private contractors, leading to financial difficulties and even business closures.

With the economic outlook remaining uncertain, the government's ability to quickly and effectively allocate the remaining budget will be crucial in bolstering the country's economic recovery.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/05/2024 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

ปักหมุดปี 72 “คมนาคม” โหมลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 1 ล้านล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
29 พ.ค. 2567 | 16:48 น.

“คมนาคม” เปิดงาน ASIA PACIFIC RAIL 2024 ตั้งเป้าปี 72 ดันแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 1 ล้านล้านบาท ปลุกรถไฟภูมิภาค-รถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพฯ รุกระบบราง ลดต้นทุนขนส่งโลจิสติกส์ในอนาคต

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ASIA PACIFIC RAIL 2024 ว่า การจัดงาน ASIA PACIFIC RAIL ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งเวทีของความร่วมมือทางวิชาการและแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบรางที่เป็นการขนส่งช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการขนส่งทางราง เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับภาคโลจิสติกส์ของประเทศไทย

ทั้งนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับภาคโลจิสติกส์ของประเทศ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนการจะลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2572 ในโครงการรถไฟทางคู่ 16 โครงการ ครอบคลุมระยะทางประมาณ 3,200 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุม 61 จังหวัดของประเทศไทย, รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 14 เส้นทางในกรุงเทพมหานคร รวมระยะทาง 276 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีแผนการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 8 โครงการ ครอบคลุมระยะทาง 2,500 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศลาวและจีน การลงทุนเหล่านี้จะไม่เพียงช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด และระดับมลพิษในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ยังมีส่วนช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศไทยให้ทันสมัยอีกด้วย

สำหรับงาน ASIA PACIFIC RAIL 2024 เป็นงานจัดแสดงสินค้าและประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทางรางทั้งหมดในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นชั้นนำ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบราง การปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง ระบบอาณัติสัญญาณและการสื่อสาร การขนส่งสินค้า และระบบรางยุคดิจิทัล มีผู้เชี่ยวชาญมากมายเข้าร่วมงานทั้งจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเดินรถไฟ ผู้รับเหมา ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและโซลูชั่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม

ด้านการประชุมวิชาการ มีหัวข้อการประชุมทั้งหมดกว่า 90 หัวข้อ จะมีการนำเสนอผลงานที่มีวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับการเรียนรู้เชิงหยั่งลึกและเข้มข้น และมีเวทีการเสวนาและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงาน ASIA PACIFIC RAIL 2024 ได้ ระหว่างวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตามส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ โดยนำระบบอาณัติสัญญาณและการสื่อสาร ระบบควบคุมเดินรถทางไกล และระบบป้องกันเหตุอันตรายของขบวนรถโดยอัตโนมัติ สำหรับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบ ETCS Level 1 บนโครงข่ายรถไฟสายประธาน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้งาน


By 2029, Thailand's Ministry of Transport to Invest 1 Trillion Baht in Mega Projects, Stimulating Regional Rail and Electric Train Development

Bangkok, May 29, 2024 – At the opening of ASIA PACIFIC RAIL 2024, the Ministry of Transport announced an ambitious goal to invest 1 trillion baht in mega projects by 2029. This investment will focus on revitalizing regional train and electric train networks throughout Bangkok, modernizing the rail system, and reducing future logistics costs.

Mr. Sorapong Paitoonphong, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Transport, emphasized the event's significance in promoting academic cooperation and showcasing innovations in rail technology. He highlighted Thailand's policy of prioritizing rail transportation development to enhance competitiveness and elevate the country's logistics sector.

The Ministry of Transport's investment plan encompasses 16 double-track railway projects, spanning 3,200 kilometers and connecting 61 provinces, along with 14 mass rapid transit routes in Bangkok covering 276 kilometers. Additionally, ongoing high-speed rail projects totaling 2,500 kilometers will establish links with Laos and China. These investments are expected to alleviate traffic congestion, reduce pollution, and modernize Thailand's rail infrastructure.

ASIA PACIFIC RAIL 2024 serves as a platform for showcasing products, solutions, and academic discussions related to all aspects of rail transportation in the Asia Pacific region. Experts from government agencies, railway operators, technology providers, and other stakeholders convene to explore the latest advancements in rail infrastructure, operations, signaling systems, and digital solutions.

The event features a comprehensive academic conference with over 90 sessions, including visionary presentations, discussions, and business networking opportunities. The State Railway of Thailand (SRT) is also participating, showcasing cutting-edge signaling and communication systems, long-distance driving controls, automatic train hazard prevention, and the ETCS Level 1 train signaling system.

Those interested in exploring the future of rail transportation can visit ASIA PACIFIC RAIL 2024 between May 29-30, 2024, at the BITEC Exhibition and Convention Center in Bangkok.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/06/2024 11:51 am    Post subject: Reply with quote

คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร

---------------------------------


คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้


หลักการ

ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,752,700,000,000 บาท (สามล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสองพันเจ็ดร้อยล้านบาท) โดยในปีนี้ไม่มีการตั้งงบประมาณเพื่อชดใช้เงินคงคลัง

เหตุผล

เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับ
ใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568 ที่รัฐบาลนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ ผ่านการดำเนินการ
ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และวิสัยทัศน์ Ignite Thailand
ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง 8 อุตสาหกรรม
บนการพัฒนา 6 พื้นฐานสำคัญ มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณ ในการพัฒนาและจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้ง คำนึงถึงความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม



ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 มีแนวโน้ม
ที่จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 (ค่ากลางร้อยละ 3.0) มีการปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ประมาณการไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ณ เดือนเมษายน 2567 โดยมีแรงสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การขยายตัวของการอุปโภคบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
จากความยืดเยื้อของความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และสร้างความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2568
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2568 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.2) และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศ

ในช่วงปลายปี 2567 นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จะถึงมือคนไทย 50 ล้านคน เกิดเป็นพายุหมุนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับฐานราก กระจายไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ ก่อให้เกิด
การจับจ่ายใช้สอย การสั่งผลิตสินค้า การจ้างงาน และหมุนกลับมาเป็นเงินภาษีให้กับภาครัฐ เพื่อใช้ในการลงทุนเพื่อสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศต่อไป

ช่วงต้นปี 2567 รัฐบาลได้ประกาศวิสัยทัศน์ Ignite Thailand
ของประเทศไทย เป็นเป้าหมายของการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของ 8 ด้านได้แก่ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ศูนย์กลางการแพทย์
และสุขภาพ ศูนย์กลางเกษตรและอาหาร ศูนย์กลางการบิน ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และศูนย์กลางการเงิน บนการพัฒนา 6 พื้นฐานที่สำคัญได้แก่ การเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อความโปร่งใส ความเสมอภาคเท่าเทียม ความสะอาดและปลอดภัย ระบบขนส่งที่เข้าถึงและสะดวก การศึกษาและเรียนรู้สำหรับทุกคน และพลังงานสะอาดและมั่นคง

กลยุทธ์ของการมุ่งไปสู่ 8 ศูนย์กลาง คือการต่อยอดจุดแข็งของประเทศด้านต่างๆ เช่น สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ทักษะของคนไทย โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนต่อยอด
ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของภูมิภาคและของโลกได้ เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน เป็นต้น

อีกกลยุทธ์หนึ่ง คือ การใช้ประโยชน์จากความเป็นกลางทาง
ภูมิรัฐศาสตร์ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจ สภาวะสงครามที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตก เกิดเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
และอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร เป็นต้น โดยความเป็นกลางทาง
ภูมิรัฐศาสตร์จะสร้างความมั่นใจให้กับภาคอุตสาหกรรม ว่าห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินธุรกิจจะมีความยืดหยุ่น (Resilient) ต่อสถานการณ์
ความตึงเครียดต่างๆ จึงทำให้ประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดังกล่าวของภูมิภาคและของโลกได้

ครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2567 แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยว
เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยว
เดินทางเข้าประเทศทั้งปีมากกว่า 36.7 ล้านคน กลับไปสู่ระดับสูงใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด และรัฐบาลมีแผนที่จะทำให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่ เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น และกระตุ้นการใช้จ่าย
ของนักท่องเที่ยวผ่านการเฟ้นหาจุดเด่น จัดเทศกาล กิจกรรม คอนเสิร์ต หรือการแสดงต่างๆ เพื่อเพิ่มระยะเวลาการพำนัก และค่าใช้จ่ายต่อหัว
ของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น

เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของนักท่องเที่ยวในอนาคต ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศมากยิ่งขึ้น ทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการบิน โดยรัฐบาลจะเดินหน้าขยายโครงข่ายสนามบินทั่วประเทศเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น และขยายกำลังความสามารถในการขนส่งทางอากาศ การขนส่งควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) และเชื่อมต่อ
ไปยังการขนส่งทางรถ ราง และเรืออย่างครบวงจร ทำให้ประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางการขนส่งจากไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และเชื่อมต่อ
ไปยัง Land Bridge เพื่อไปทั่วโลกได้

เกษตรกรรมและอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถยกระดับสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูง รัฐบาลมีมาตรการที่จะดูแลภาคส่วนนี้ตั้งแต่ต้นน้ำโดยการบริหารจัดการน้ำ ดิน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ การแปรรูป และดูแลบริหารอย่างครบวงจร ทำให้ภาคเกษตรและอาหารแข็งแรงยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้สินยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนที่มีภาระหนี้สินสูงกว่าร้อยละ 91.3 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และยังซ้ำร้ายด้วยภาระหนี้นอกระบบ โดยรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือ
ในการไกล่เกลี่ย และจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่ทำผิดกฎหมาย เพื่อคืนอิสรภาพให้กับพี่น้องประชาชนที่เคยตกอยู่ในวังวนหนี้สินไม่รู้จบ

ในภาคธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประเมินว่าใน SMEs จำนวนกว่า 3.2 ล้านราย มีเพียงไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน ทำให้ต้องอาศัยแหล่งสินเชื่อที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
ด้านการใช้จ่ายจำเป็นในการหมุนเวียนประจำวัน และการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ ส่งผลให้หลายบริษัทต้องปิดตัวลง การเจริญเติบโตในภาค SMEs อยู่ในระดับต่ำ สินเชื่อในกลุ่ม SMEs มีการขยายตัวติดลบร้อยละ 5.1 ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส 1 ของปี 2567



การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และได้มีการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 850,000 ล้านบาทในปี 2566 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี เป็นผลจากการเดินหน้าเจรจาการค้าการลงทุนอย่างต่อเนื่องร่วมกับภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เป็นการดำเนินนโยบายที่ใช้งบประมาณน้อยแต่ได้ผลมาก

ตัวอย่างของความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา คือการประกาศเปิดศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของภาคเอกชนรายใหญ่จากต่างประเทศ หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายคลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) และเดินหน้าเจรจาการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

การลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้ ความสามารถ ทำให้คนไทยและบริษัทไทยเข้าถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการตื่นตัวของนักศึกษา นักวิจัย และบริษัทเอกชนที่เริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวในการเพิ่มผลิตผล (Productivity) อย่างรวดเร็ว

มีหลายบริษัทในอุตสาหกรรมชั้นสูงได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจน
ที่จะเข้ามาลงทุนตั้งบริษัท และสำนักงานในประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น รวมถึงมีความต้องการที่จะลงทุนพัฒนาบุคลากรในประเทศ เพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตอีกด้วย ก่อให้เกิดความร่วมมือในระดับภาคการศึกษา ภาคแรงงาน และภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง



นโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง

ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยประมาณการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร (สุทธิ) การขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์
และรายได้อื่น รวมสุทธิทั้งสิ้น จำนวน 3,022,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 135,700 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรร
เป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2,887,000 ล้านบาท ประกอบกับเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 865,700 ล้านบาท รวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 3,752,700 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย

การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล จึงมีความสำคัญและจำเป็น
ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า ให้เติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเม็ดเงินจำนวนมากจะไหลจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน ก่อให้เกิดการสั่งซื้อสินค้า การบริการ และหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง



ฐานะการคลัง

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 มีจำนวน 11,474,154.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ต้องไม่เกินร้อยละ 70
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 มีจำนวน 430,076.3 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด



ฐานะและนโยบายการเงิน

คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 โดยมีเหตุผลว่าเป็นอัตราที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน มีอัตราเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาส 2 ของปี 2567

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความท้าทายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคการส่งออกและภาคการผลิต ที่ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลก ปัญหาเชิงโครงสร้างที่อาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และภาค SMEs จำนวนมากที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องอาศัย
การดำเนินการที่สอดประสานกันระหว่างภาคการเงินและการคลัง

ฐานะการเงินด้านต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน อยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีจำนวน 224,483.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก

สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568 มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,752,700 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 2,704,574.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.1 รายจ่ายลงทุน จำนวน 908,224 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.2 ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนที่สูงที่สุดในรอบ 17 ปี และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 150,100 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 ทั้งนี้รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10,198.7 ล้านบาท



1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ

1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง กำหนดไว้ จำนวน 805,745.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของวงเงินงบประมาณ

1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ กำหนดไว้ จำนวน 1,254,576.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของวงเงินงบประมาณ

1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ กำหนดไว้ จำนวน 206,858.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของวงเงินงบประมาณ จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่

1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

6. ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด

7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์

8. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต

9. รัฐบาลดิจิทัล

10. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร กำหนดไว้ จำนวน 800,969.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 ของวงเงินงบประมาณ

1.5 งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน กำหนดไว้ จำนวน 274,296.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 ของวงเงินงบประมาณ

1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ กำหนดไว้ จำนวน 410,253.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของวงเงินงบประมาณ



2. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กำหนดไว้จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ มีรายละเอียด
การดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 405,412.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อพัฒนาความมั่นคง
ของประเทศ จำแนกตามแผนงาน ดังนี้

1) การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด งบประมาณ 5,087.7 ล้านบาท เพื่อให้ปัญหายาเสพติดได้รับการแก้ไข เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันและปลอดภัยจากยาเสพติด ให้การช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างการยอมรับและให้โอกาสทางสังคมกับผู้ที่ได้รับการบำบัด ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ

2) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 5,629.2 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน มีเกียรติภูมิ อำนาจต่อรอง และได้รับการยอมรับในสากล เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างอำนาจแบบนุ่มนวล ดำเนินการเพื่อสันติภาพ
ตามกรอบสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริม
การแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้แนวทางสันติวิธี

3) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 5,781.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มีเป้าหมายให้การสูญเสียและเหตุการณ์รุนแรงลดลงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยใช้แนวทางสันติวิธี
แก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดสันติสุขอย่างต่อเนื่อง พัฒนากระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาบนหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน บนพื้นฐานของสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,700.6 ล้านบาท เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ สร้างความผูกพันที่ดีระหว่างสถาบันหลักและประชาชน ความจงรักภักดี และเป็นที่เคารพยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในชาติอย่างสันติ บนพื้นฐาน
สิทธิมนุษยชน

5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 18,376.9 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและความมั่นคงทางชายแดน ชายฝั่งทะเล ป้องกันภัยอาชญกรรมข้ามชาติ เสริมสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และมีระบบป้องกันเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจน ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังการทำประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่น้อยกว่า 179,800 ครั้ง

6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 24,582.7 ล้านบาท เพื่อบูรณาการ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติ โดยปรับปรุงนโยบายการบริหารจัดการ และพัฒนาระบบเตือนภัยให้รองรับ
และครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ ระบบพยากรณ์เตือนภัยล่วงหน้าและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ลดความเสียหายและป้องกัน
การพังทลายของพื้นที่ตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ ด้วยเขื่อนป้องกันตลิ่ง ความยาว 181,223 เมตร

7) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 28,608.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม เคารพในความหลากหลายระหว่าง
ศาสนิกชน มุ่งเน้นการปลูกจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมือง พร้อมทั้งส่งเสริมสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาในการวางรากฐานความมั่นคงของประเทศ

8) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ และความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 61,182.7 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านความมั่นคง มีความพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทุกมิติ
และทุกระดับความรุนแรง พัฒนาระบบงานข่าวกรอง รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้านการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร รวมทั้ง ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ

9) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 40,663.1 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 202,799.1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า รวมทั้ง พัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์







ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 398,185.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจ
ของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน ผลักดันการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน
โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญในทุกภูมิภาคของประเทศ จำแนก
ตามแผนงาน ดังนี้

1) การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ งบประมาณ 429.3
ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สังคม สิ่งแวดล้อม พัฒนาด่านศุลกากร
ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 1 แห่ง และเพิ่มประสิทธิภาพที่ทำการปกครองจังหวัด/อำเภอ เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 33 แห่ง รวมถึงพัฒนาทักษะอาชีพ และเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

2) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,998.0 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน รักษาอัตราการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไม่น้อยกว่า 140,000 บาร์เรลต่อวัน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการ
ผลิตพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กำกับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ วางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน เพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและ
จัดการพลังงานครบวงจรในชุมชน ระดับตำบล และเครือข่ายพลังงานชุมชน เช่น จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดการพลังงานในชุมชนไม่น้อยกว่า 541 แห่ง โครงการด้านพลังงานชุมชนสามารถลดการใช้พลังงานได้รวมไม่น้อยกว่า 1.12 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี

3) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 2,790.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล โดยการขยายโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น
ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และบริการคลาวด์กลางภาครัฐ พร้อมมาตรการเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ เพิ่มประสิทธิภาพการตัดวงจรอาชญากรรมออนไลน์ ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกสาขาอาชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมเกมซอฟต์พาวเวอร์ไทย

4) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 4,931.7 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านสาขาอาหาร โดยพัฒนาเชฟ 17,400 ราย ผู้ประกอบการ 200 กิจการ/กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา 150 ผลิตภัณฑ์ พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่น โดยพัฒนาผู้ประกอบการ 500 ราย สินค้าแฟชั่น 100 กิจการ รวมทั้งมีนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ โดยเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับธุรกิจ ส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน
e-commerce 25,800 ราย รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และส่งเสริม SMEs ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล

5) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 7,615.0 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และระบบสาธารณูปโภค
ที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้สะดวก และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยาย
เชื่อมสนามบินอู่ตะเภา เป็นต้น พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัย สะดวก ปลอดภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนในพื้นที่
ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง เช่น เตรียมพื้นที่สำหรับพัฒนาศูนย์ธุรกิจ และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ พัฒนาพื้นที่ชุมชนและปรับปรุงภูมิทัศน์
ตามผังเมืองอีอีซี ไม่น้อยกว่า 21 แห่ง ยกระดับและพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร 2 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง 1 แห่ง ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2,700 คน และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรอัจฉริยะ 40 ชุมชน

6) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 8,737.7 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 4.8 โดยส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตให้เกิดการขยายตัว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยาน และอุตสาหกรรมความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมฮาลาล และพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและกำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

7) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 11,297.4 ล้านบาท เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
3.4 ล้านล้านบาท และอันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว
อยู่ 1 ใน 30 ของโลก โดยส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ให้สอดคล้อง
ความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬา กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มความสนใจพิเศษไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน สนับสนุน
และผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวทางถนน 23 สายทาง ก่อสร้างทางหลวงชนบทเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลักกับแหล่งท่องเที่ยวรอง ระยะทางไม่น้อยกว่า 213.295 กิโลเมตร ปรับปรุงท่าเรือ 6 แห่ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของสวนสัตว์ 6 แห่ง และจัดตั้งสวนสัตว์แห่งใหม่ จังหวัดปทุมธานี ให้ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับโลก รวมทั้งพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 100 หมู่บ้าน แหล่งท่องเที่ยว
ทางมรดกศิลปวัฒนธรรม 11 แหล่ง และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 8 แห่ง

8) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 13,087.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาค
ของประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิทัลที่ทันสมัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อยกระดับความน่าอยู่ของเมือง โดยใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบ
ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรม
เชิงนิเวศ รวมถึง ผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 62 ผัง และจัดรูปที่ดิน 991 ไร่

9) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 19,354.5 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ขยายการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและเทคโนโลยี
ที่เหมาะสม พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีทักษะสูงขึ้น เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก ตอบโจทย์ปัญหาสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ในอนาคต

10) การพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 27,132.7 ล้านบาท เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน รวมทั้ง สนับสนุนยุทธศาสตร์
การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการยกระดับ
การพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน พัฒนาช่องทางการตลาดและความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน

11) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 45,908.4 ล้านบาท
เพื่อเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพด้านการผลิตของสาขาเกษตร เป้าหมายรายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตร 332,807 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ จำนวน 472,500 ไร่ และ 2,347 แปลง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ถ่ายทอด
องค์ความรู้เกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสมให้เกิดการปรับเปลี่ยนการผลิต บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จำนวน 61,625 ไร่ และ 135 แปลง ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพ
กระบวนการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่
ลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตรวจสอบความปลอดภัยและรับรองคุณภาพสถานประกอบการสินค้า 69,985 แห่ง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 11,493 แห่ง สหกรณ์
การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งในระดับที่ประกอบธุรกิจ
ได้มีประสิทธิภาพและระดับที่พัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน ไม่น้อยกว่า 1,533 แห่ง และไม่น้อยกว่า 1,127 กลุ่ม สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมทั้ง เกษตรกรจำนวน 2.698 ล้านราย ได้รับการพักชำระหนี้ตามมาตรการพักชำระหนี้ และเข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” จำนวน 300,000 ราย และส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นภาคการผลิตที่สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง มุ่งไปสู่การเพิ่มรายได้สุทธิให้เกษตรกร 3 เท่า

12) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 196,194.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบคมนาคมและระบบ
โลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงทั่วถึงอย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการกำกับดูแลการคมนาคมทั้งระบบให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ทั้งทางถนน
ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เช่น ทางถนน บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทางไม่น้อยกว่า 129,314.935 กิโลเมตร ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทาง
ไม่น้อยกว่า 3,633.114 กิโลเมตร และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะทางไม่น้อยกว่า 49.888 กิโลเมตร ปรับปรุงจุดเสี่ยงบริเวณอันตราย และเพิ่มความปลอดภัยบนถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท 3,620 แห่ง ทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางราง อาทิ รถไฟทางคู่สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ รวมถึงพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย ทางน้ำ พัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ โดยปรับปรุงและก่อสร้างท่าเรือ 28 แห่ง ปรับปรุงและก่อสร้างเขื่อน 20 แห่ง บำรุงรักษาร่องน้ำ 100 ร่องน้ำ กำกับและควบคุมตรวจตราการเดินเรือ รวมถึงพัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี ทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถของ
ท่าอากาศยานในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร 53 ล้านคน และปริมาณสินค้า 7,900 ตัน โดยไม่ละเลยเรื่องความปลอดภัยของการเดินทาง และการตรวจคนเข้าเมือง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยาน 29 แห่ง โดยขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน อาคารที่พักผู้โดยสาร พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพท่าอากาศยาน 14 แห่ง ให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนอย่างทั่วถึง พัฒนารูปแบบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ไม่น้อยกว่า 2,390 คน และโครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) รวมทั้งศึกษาและให้คำปรึกษาการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน


13) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 15,365.5
ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 43,343.1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนากำลังคนและศักยภาพของประเทศอย่างยั่งยืน



ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 583,023.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ปฏิรูประบบการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม
ทุกพื้นที่ ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรม
สู่อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาศักยภาพการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
และได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้ง พัฒนาและยกระดับทักษะฝีมือแรงงานไทยให้ได้มาตรฐานรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและการแข่งขันในตลาดโลก จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 2,811.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง โดยส่งเสริมให้ทุกช่วงวัยออกกำลังกาย เล่นกีฬา และนันทนาการอย่างต่อเนื่อง ยกระดับบุคลากรการกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาให้ได้มาตรฐานสากล พัฒนาเยาวชนมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ด้านกีฬาอาชีพและระดับนานาชาติ รวมทั้งสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการออกกำลังกาย

2) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 2,962.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและวัฒนธรรม
ที่ดีงาม และภูมิใจในความเป็นไทย โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมเทิดพระเกียรติทั้งด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นและมรดกภูมิปัญญา ไม่น้อยกว่า 11.05 ล้านคน ส่งเสริมการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้ง พัฒนางานศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมให้มีรูปแบบที่ทันสมัย อันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากล

3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 34,188.6 ล้านบาท โดยปฏิรูประบบการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ไม่น้อยกว่า 1,451 แห่ง พัฒนาโรงเรียนคุณภาพ 1,808 โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 12,092 คน ยกระดับการผลิตและพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพกำลังคนอาชีวศึกษา 35,000 คน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ สนับสนุนการคืนครูให้นักเรียน
ไม่น้อยกว่า 76,440 คน พัฒนาการจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา (STEAM)
ในโรงเรียน 17,000 แห่ง สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม ไม่น้อยกว่า 600,000 รูป รวมทั้ง พัฒนาทักษะวิชาชีพและอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านคน เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน
และต่อยอดอาชีพให้กับประชาชน

4) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 36,055.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาและการเรียนรู้
อย่างเต็มศักยภาพ โดยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย ให้มีสุขภาวะที่ดีและพัฒนาการสมวัย ส่งเสริมเด็กและเยาวชน
ให้ได้รับการศึกษาและมีทักษะรองรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 พัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่
ที่มีสมรรถนะสูง รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 14,320 คน สนับสนุนทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในระดับอุดมศึกษา 1,268 คน พัฒนาทักษะกำลังแรงงานเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมและบริการ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และพัฒนาทักษะอาชีพผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 22,500 คน ให้ได้ทำงานตามศักยภาพและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

5) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 66,313.7 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสากล ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมการผลิตแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 32,360 คน และกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท ไม่น้อยกว่า 1,000 คนต่อปี พัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิและเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพด้วยการเข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มการส่งเสริมสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 6 ล้านคน พัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุขที่ทันสมัยเพื่อรองรับการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ สนับสนุนเครื่องมือและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบส่งต่อ พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 1,075,163 คน
และภาคีเครือข่าย ให้มีศักยภาพในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน ตลอดจน พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตและขับเคลื่อนเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี 928 อำเภอ รวมทั้ง เสริมสร้างความเป็นเลิศทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพรในระบบสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นทางเลือกให้กับประชาชน

6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 23,752.1 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 416,939.9 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า รวมทั้ง สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาน้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน



ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 923,851.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐาน บริการสาธารณะอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ
ในทุกมิติ สนับสนุนการเตรียมความพร้อมสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย เพิ่มศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมและกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกิน พัฒนาระบบสาธารณสุข ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งสร้างหลักประกันสวัสดิการ สำหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 887.8 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประชากรก่อนวัยสูงอายุ มีความรอบรู้ในทุกมิติไม่น้อยกว่า 4.4 ล้านคน เช่น การดูแลรักษาสุขภาพ โรคและความเสี่ยงของสุขภาพที่จะส่งผลกระทบเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การออมเงิน
และการบริหารหนี้ การจัดการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนทุกวัย เป็นต้น และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ ด้านสังคม ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและเข้าถึงระบบคุ้มครองทางสังคม รวมถึงส่งเสริมบุคลากรด้านสุขภาพให้ได้รับการฝึกอบรม ด้านสภาพแวดล้อม ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุให้เหมาะสม ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านอนามัยพื้นฐานทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม สามารถเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบและนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ และสร้างเสริมความเสมอภาคด้านสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

2) การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน งบประมาณ 1,695.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนากลไกการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะ รวมถึงพัฒนาพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่สาธารณะและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มการกระจายการถือครองที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรและประชาชนอย่างเข้าถึงได้และเป็นธรรม พัฒนาแนวทางการพิสูจน์สิทธิในที่ดินและระบบการออกเอกสารสิทธิ์ โดยมีจำนวนแปลงที่ดินที่เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินและรังวัดรูปแปลงโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน 86,000 แปลง ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง
กับผลการดำเนินการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ ตลอดจนสร้างรายได้
จากผืนดินอย่างสมดุลและยั่งยืน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ แก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรที่มีอยู่ก่อนประกาศ
เขตพื้นที่ป่า โดยมีการตรวจสอบหนังสือเอกสารสิทธิ์ที่ดินในเขตพื้นที่
ป่าอนุรักษ์ จำนวน 250 แปลง จัดระเบียบการใช้ที่ดินด้วยการสำรวจ
การถือครองที่ดินและจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้
ในระดับพื้นที่ 2,331 หมู่บ้าน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ

3) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 2,088.0 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมองค์ความรู้ ทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพ
ของแรงงานในระบบเศรษฐกิจฐานราก เกษตรกรได้รับการพัฒนา
และส่งเสริมอาชีพไม่น้อยกว่า 60,000 ราย เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินไม่น้อยกว่า 37,000 ราย สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 19,200 คน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี เพิ่มรายได้และ
ลดรายจ่ายด้วยระบบดิจิทัล ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร พื้นที่ คทช. ที่จัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรได้รับการอนุรักษ์ 13,000 ไร่ สนับสนุนการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สนับสนุนการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ด้วยนวัตกรรม ส่งเสริมตลาดสินค้าอัตลักษณ์ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกระดับโครงสร้างการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปอย่างครบวงจร และส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ รวมถึงสร้างช่องทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการกระจายรายได้กลับสู่ท้องถิ่น ผ่านกลไกของสหกรณ์ ร้านค้าชุมชน และวิสาหกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 7,205.8 ล้านบาท เพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังในการพัฒนาและทำประโยชน์ส่วนรวมในสังคม พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชน สนับสนุนให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ ประยุกต์ใช้ ขยายผล และพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม 80 กิจการ สร้างสมาชิกเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง 140 ราย ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริม
การออมและพัฒนาทักษะการบริหารจัดการทางการเงินเพิ่มขึ้น 45,000 คน สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและการสร้างเครือข่าย
การดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสู่การเพิ่มคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม

5) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค
ทางสังคม งบประมาณ 16,458.9 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนการจัดสรรที่ดินทำกินเป็นของตนเอง เพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอยู่อาศัย แก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดิน ส่งเสริมการพัฒนาและทดลองรูปแบบการบริหารจัดการที่ดินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และสนับสนุนสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 1,100 ราย ส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยสนับสนุนการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนในการติดตั้ง Solar Home ไม่น้อยกว่า 3,700 แห่ง และระบบประปาไม่น้อยกว่า 770 แห่ง ตลอดจนสนับสนุนงานพิธีศพที่ได้รับพระราชทานตามพระบรมราโชบายอย่างเหมาะสม



6) การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 24,042.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้น
ให้ภาคประชาชนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งบูรณาการแผนให้สอดคล้องกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงระดับกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุน
การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

7) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 26,528.0 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบและกลไกในการช่วยเหลือสนับสนุน และจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐและโอกาสทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันและปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณะให้มีความปลอดภัย รวมทั้งสร้างพลังความร่วมมือและการมีส่วนร่วม
ของประชาชน เพื่อนำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยเป็นการสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ไม่น้อยกว่า 2.34 ล้านคน สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 153,927 ราย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงหลักประกันทางสังคม สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคง 3,900 ครัวเรือน บ้านพอเพียง 14,850 ครัวเรือน พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน
ริมคลองเปรมประชากร 70 ครัวเรือน รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

8) การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 88,530.8 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบและนอกระบบตามสิทธิ
ที่กำหนดไว้ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 9.7 ล้านคน สนับสนุนค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา ส่งเสริมการศึกษาและ
การเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ 34,232 โรงเรียน เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง มีคุณภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
และด้อยโอกาสไม่น้อยกว่า 1.46 ล้านคน ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบหรือกลไก
ความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 5,958 คน

9) การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 369,790.6 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถพึ่งตนเองได้ในทุกมิติ ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการสาธารณะ
ที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง ผ่านการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ สนับสนุน
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวัน สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพคนพิการ รวมถึงสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำเสีย
และขยะในระดับจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การค้าและการลงทุนในทุกพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงนโยบายและการบริหารจัดการระหว่างส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ สู่การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

10) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 377,296.4 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกจากบริการพื้นฐานการแพทย์ใกล้บ้าน โดยยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม บริการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่ม
คนข้ามเพศ และการตรวจคัดกรองซิฟิลิสสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องขัง ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับสิทธิ์สามารถเข้าถึงระบบประกันสุขภาพที่มีมาตรฐานด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ไม่น้อยกว่า 47.16 ล้านคน ส่งเสริมการสร้างหลักประกันสังคมและสวัสดิการสำหรับแรงงานในระบบและนอกระบบให้สามารถเข้าถึงระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ครอบคลุมผู้ประกันตนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างความปลอดภัยและอนามัยสุขภาพในการทำงานให้เหมาะสม ส่งเสริมค่าใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยไม่น้อยกว่า 14.98 ล้านคน ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเสมอภาค

11) การดำเนินภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 716.9 ล้านบาท
และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,610.4 บาท เพื่อสนับสนุน
ให้ภาครัฐมีระบบบริหารจัดการที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ประชาชนได้รับโอกาส
ในการเข้าถึงการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของแรงงานให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และนายจ้างมีการบริหารจัดการ
ด้านแรงงานตามกฎหมายสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงาน รวมถึงสถานประกอบกิจการมีการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างถูกต้อง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 137,291.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และสร้าง
การเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว โดยจำแนกตามแผนงาน ดังนี้

1) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 612.6 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ให้มีความอุดมสมบูรณ์
เพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเลให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
รวมทั้ง พัฒนาเครื่องมือ และมาตรการต่าง ๆ ควบคู่กับการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยมีค่าเป้าหมายดัชนีคุณภาพมหาสมุทร 74 คะแนน

2) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 899.0 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ของประชาชน โดยการจัดการแก้ไขปัญหาขยะอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีการบริหารจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิด ส่งเสริม
การบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม และความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร จัดการคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามตรวจสอบและรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ และปริมาณน้ำเสียได้รับการบำบัดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ไม่น้อยกว่า 92.0 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์

3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 2,127.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศสามารถลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลง 60 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 12 จากกรณีปกติ ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
ลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า เพื่อพัฒนาประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจน เพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดและการแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ตลอดจน ประเมินการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ และการ
ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อใช้กำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 5,696.8 ล้านบาท เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยพัฒนากลไกและมาตรการในการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ลดภัยคุกคาม ฟื้นฟู
และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รักษาพื้นที่ป่า
ในความดูแล 98.94 ล้านไร่ พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท 9,876 ไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ 26,020 ไร่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้รับการป้องกันและควบคุมไฟป่า 3.875 ล้านไร่ รวมทั้ง ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ งบประมาณ 99,132.7
ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ำเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้ง ช่วยเหลือและแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคผ่านการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อระบบประปา 107,137 ครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านน้ำทั้งภาคการผลิต เกษตร และอุตสาหกรรม ให้มีต้นทุนน้ำใช้อย่างสมดุล มีพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น 373,189 ไร่ ปริมาณฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่การเกษตรและอ่างเก็บน้ำ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร การจัดการน้ำท่วมและบรรเทาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ 486,386 ไร่ ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย 1,203 แห่ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 82,349 ไร่ และปลูกป่าฟื้นฟู 23,242 ไร่ พื้นที่ชลประทานเดิมได้รับการปรับปรุง 988,934 ไร่ เกษตรกรและราษฎรได้รับประโยชน์จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 22,000 คน โดยในปี พ.ศ. 2567 ก็ได้มีการเริ่มลงทุนเพื่อรับมือกับสภาวะแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น และใช้การบริหารน้ำอย่างครบวงจรเพื่อบรรเทาภัยพิบัติทุกรูปแบบ

6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ10,881.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 17,941.9 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์ รักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล รวมทั้ง สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช พัฒนาสวนสัตว์เพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจน การยกระดับกระบวนทัศน์
เพื่อกำหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 645,880.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ระบบการบริหารราชการ
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 954.6 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายค่าดัชนี
การรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) อยู่ในอันดับ
1 ใน 48 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 55 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานในประเทศไทย
ไม่น้อยกว่า 89 คะแนน เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย ผ่านการ
ปลูกจิตสำนึก และสร้างค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม เพื่อลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐ รวมทั้งให้โอกาสประชาชน
ได้มีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

2) รัฐบาลดิจิทัล งบประมาณ 3,545.4 ล้านบาท เพื่อพัฒนารูปแบบ
การให้บริการภาครัฐผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า โดยพัฒนาบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service: GDCC) คลาวด์กลางด้านสาธารณสุข และคลาวด์
กลางด้านระบบงานทั่วไปหรือบริการข้อมูลเปิด (Open Data) รวมถึงการให้บริการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ การพัฒนาแพลตฟอร์มกลางภาครัฐเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม 10 แพลตฟอร์ม ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะด้านดิจิทัลที่สำคัญ อาทิ ความปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
มีการเชื่อมโยงหน่วยงานและระบบบริการภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์
ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ใช้บริการ
ให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจน จัดตั้งทีมรับมือเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงระบบการอนุมัติ
และอนุญาตของภาครัฐ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ
เพื่อยกระดับการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

3) การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 18,892.1 ล้านบาท เพื่อทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ พัฒนาระบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านงานยุติธรรม คำปรึกษาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาให้ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย รวมทั้ง พัฒนากฎหมายและกลไกกำกับดูแลด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

4) การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 30,215.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบอำนวยความสะดวก
ในการบริการภาครัฐ ให้สามารถติดต่อราชการได้สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยสนับสนุนการบูรณาการงานในพื้นที่ และพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การขับเคลื่อนศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ
การให้บริการทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนและข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจุบัน และครอบคลุมทุกพื้นที่ สนับสนุนการให้บริการด้านงานทะเบียนและรังวัดที่ดินแก่ประชาชน ไม่น้อยกว่า 13.0 ล้านราย รวมทั้ง การบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษี และการปรับปรุงระบบภาษีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลัง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณและการติดตามประเมินผล ตลอดจนสร้างบุคลากรภาครัฐที่เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม

5) การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 456,675.6 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนภารกิจการบริหารจัดการภาครัฐ ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ สนับสนุนการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ รวมทั้ง เป็นค่าใช้จ่ายตามสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ของบุคลากรภาครัฐที่กำหนดไว้ในงบกลาง อาทิ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ เงินสำรอง เงินสมทบ
เงินชดเชย และเงินช่วยเหลือของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ

6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 24,262.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 111,335.2 ล้านบาท
เพื่ออำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทางกฎหมายให้กับประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ตลอดจน เพื่อให้การบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในการดำเนินภารกิจของรัฐ



รายการดำเนินการภาครัฐ

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จำนวน 659,053.7
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้

แผนงานบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 248,800.0 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง ภารกิจที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐ และเงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงวินัยทางการคลัง

แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จำนวน 410,253.7 ล้านบาท เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้และการชำระหนี้ภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ

สำหรับเอกสารประกอบได้มีการจัดทำให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 ดังนี้

1. คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

2. รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 (เล่มคาดส้ม)

3. คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับและวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 2 (เล่มคาดเขียว)

4. คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ
และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 (เล่มคาดแดง) และฉบับที่ 4 (เล่มคาดเหลือง)

5. รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)

6. รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่าย
เงินนอกงบประมาณโดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 7 (เล่มคาดชมพู)

7. คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)

8. ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 6 (เล่มคาดน้ำเงิน)

9. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568



สรุป

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,752,700 ล้านบาท มีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ จำนวน2,887,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 865,700 ล้านบาท

แม้ว่างบประมาณปีนี้จะมีการขาดดุลเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนไว้ จำนวน 908,224 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.9 และเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา

การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาล
จะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้เม็ดเงิน
ไหลไปสู่ประชาชนและภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโตให้กับประเทศพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามกฎหมาย

https://thainews.prd.go.th/thainews/news/view/362529/?bid=1
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2024 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” แจงใช้เงินนอกงบฯ ลงทุนราง 48% ย้ำจับจริง! รถบรรทุกน้ำหนักเกินเหลือ 1.9 พันคัน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Thursday, June 20, 2024 17:36

“มนพร” ตอบกระทู้แจงงบปี 68 ย้ำ “คมนาคม” เน้นขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ เพิ่มสัดส่วนขนส่งทางราง ชี้ลงทุนพัฒนาระบบรางใช้เงินนอกงบฯ สูงถึง 48% ขณะที่งบฯ ซ่อมบำรุงถนน ยันสร้างมีคุณภาพ แต่จำเป็นต้องบำรุงรักษาตลอดเวลา ย้ำเพื่อความปลอดภัย เปิดตัวเลข 8 เดือน รถบรรทุกน้ำหนักเกินเหลือ 1.9 พัน จากก่อนหน้านี้ 3.4 พันคัน

นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ให้ชี้แจงและตอบข้อซักถามในการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วาระที่ 1 กรณีนายกฤดิทัช แสงธนโยธิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคใหม่ ตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงคมนาคมไม่ได้มีการพัฒนาลงทุนระบบรางที่เพียงพอ ควรพัฒนาลงทุนระบบรางทั้งประเทศนั้น ข้อเท็จจริงคือ กระทรวงคมนาคมได้เน้นการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ โดยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง และทางน้ำให้มากขึ้น ซึ่งการคมนาคมทางราง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะใช้เงินนอกงบประมาณในการลงทุนเป็นหลัก และเมื่อพิจารณางบประมาณทางถนน ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ จะพบว่า สัดส่วนการลงทุนระบบรางเป็นเงินนอกงบประมาณมีสัดส่วนสูงถึง 48.26% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ใช้เงินนอกงบประมาณ

นางมนพร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยสร้างไทย ตั้งข้อสังเกตเรื่องการจัดสรรงบประมาณซ่อมบำรุงของกระทรวงคมนาคม ที่ระบุว่า ใช้งบเป็นจำนวนมากถึงกว่า 5 หมื่นล้านบาท เป็นเพราะการก่อสร้างถนนที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีรถบรรทุกน้ำหนักเกินมากเกินไปหรือไม่นั้น ขอชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีมาตรฐานการก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีคุณภาพ ความปลอดภัย อายุการใช้งานที่ยั่งยืน มีคู่มือในการกำกับดูแลการก่อสร้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และควบคุมงานใช้เป็นมาตรฐานในการกำกับดูแลการก่อสร้าง

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากอายุการใช้งาน จำเป็นต้องบำรุงรักษาให้ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เพราะความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน เป็นสิ่งที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนการบำรุงรักษาถนนทางหลวง และทางหลวงชนบท แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การบำรุงปกติ เป็นงบประมาณที่ต้องตั้งทุกปีเพื่อดูแลถนนให้สะอาด อยู่ในสภาพดี ประชาชนสามารถสัญจรไป-มาได้ตลอดเวลา ประเภทที่ 2 บำรุงรักษาตามกำหนดเวลา เป็นงบประมาณที่ใช้ในการบำรุง และซ่อมแซมสำหรับถนนที่เปิดใช้งานไปแล้ว 3 ปี และมีความเสียหายเล็กน้อย และประเภทที่ 3 เป็นการบำรุงประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นงบประมาณในการซ่อมใหญ่ เมื่อถนนใช้ไปเวลาเป็นนานจะมีความเสียหายที่รุนแรง

นางมนพร กล่าวอีกว่า ส่วนความห่วงใยว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เนื่องจากรถบรรทุกน้ำหนักเกินไปหรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า นายสุริยะ ได้กำชับเน้นย้ำให้ ทล. และ ทช. ตรวจจับรถบรรทุกอย่างเข้มงวด ห้ามรับส่วยเด็ดขาด หากมีการรับส่วยเกิดขึ้นจะลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างหนัก และจากข้อมูลการตรวจจับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินพบว่า ก่อนการเข้ามาบริหารงานของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน มีรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินมากถึง 3,416 คัน/ปี แต่หลังจากการเข้ามาบริหารของรัฐบาลเพียง 8 เดือน พบรถบรรทุกน้ำหนักเกิน 1,998 คัน จำนวนที่ลดลงเนื่องจากการตรวจจับที่เข้มงวด รวมถึงการตั้งด่านตรวจสอบน้ำหนักเคลื่อนที่มากขึ้น ถือเป็นความใส่ใจของกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ จากการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมยังมีผลงานที่เป็นประจักษ์ จะเห็นว่าการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (IMD) ของประเทศไทย ได้ถูกจัดอันดับเลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 30 เป็นอันดับที่ 25 และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์เท่านั้น

นางมนพร กล่าวด้วยว่า กระทรวงคมนาคมขอรับคำแนะนำจากสมาชิกสภา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงคมนาคมและประชาชน ทำให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนภายใต้งบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน ทั้งนี้นายสุริยะ ได้กล่าวเสมอว่า อะไรที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดทำทันที ภายใต้คำขวัญ “กระทรวงคมนาคม เพื่อความอุดุมสุขของประชาชน”.


The Ministry of Transport clarified that 48% of the budget for rail investment comes from non-budgetary sources. They emphasized their commitment to strictly enforcing regulations on overloaded trucks, which has resulted in a decrease in the number of overloaded trucks from 3,400 to 1,900 within 8 months. The ministry also highlighted the use of high-quality materials in road construction and the importance of ongoing maintenance for safety. Additionally, they mentioned that Thailand's ranking in the IMD World Competitiveness Yearbook has improved from 30th to 25th, and is now ranked 2nd in ASEAN.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/06/2024 2:47 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม-MLIT"สัมมนาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟ (TOD)
ผู้จัดการออนไลน์ 22 มิ.ย. 2567 13:14

"คมนาคม-MLIT"สัมมนาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟ (TOD) และร่วมเปิดสำนักงานองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองญี่ปุ่น (UR) ประจำประเทศไทย หารือหน่วยรัฐเดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะ- TODไฮสปีด 3 สถานีต้นแบบ

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดงานสัมมนาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟ และร่วมพิธีเปิดสำนักงานองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองญี่ปุ่น (UR) ประจำประเทศไทย โดยมี นายโอทากะ มซาโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอิชิดะ มาซารุ Resident of Urban Renaissance Agency (UR) นายคิคุจิ มาซาฮิโตะ Deputy Director-General for City Bureau, MLIT นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายทรงยศินทร์ ชนปทาธิป ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ

นายชยธรรม์ พรหมศร กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีความร่วมมือกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองญี่ปุ่น (UR) มายาวนาน เริ่มตั้งแต่โครงการจัดทำแผนการพัฒนาบริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (Bang Sue Development Plan) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 และได้มีการยกระดับความร่วมมือ ด้านการพัฒนาตามแนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD โดยมีการยกระดับแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มาเป็นแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บริเวณบางซื่อ (Bang Sue Smart City) ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อต้นปี ค.ศ. 2020

การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศจะทำให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการวางแผนควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะให้สอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจราจร และคุณภาพชีวิตของประชาชน แนวคิดการพัฒนาแบบ Transit Oriented Development หรือ TOD จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาเมืองและพื้นที่ต่าง ๆ ที่อาศัยการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือกิจกรรมประเภทต่าง ๆ อย่างผสมผสานในช่วงรัศมีประมาณ 500 เมตรรอบสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้า เชื่อมโยงพื้นที่ด้วยโครงข่ายระบบขนส่งขนาดรอง และการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-motorize Transport)

มีการกำหนดสัดส่วนพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานเมืองน่าอยู่ เช่น การจัดพื้นที่เชิงพาณิชย์และสาธารณะเพื่อการสันทนาการ ส่งเสริมให้มีย่านพักอาศัยที่มีความเหมาะสม กำหนดให้มีพื้นที่สันทนาการและพื้นที่สีเขียวเพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนเป้าหมายหลักของกระทรวงคมนาคมในการเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพ กระจายความเจริญไปยังภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก สบาย ปลอดภัย และมีอัตราค่าโดยสารที่สมเหตุสมผล

รัฐบาลภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้นโยบายไว้กับกระทรวงคมนาคมอย่างชัดเจน ให้แก้ปัญหาการเดินทางของประชาชนในทุกมิติ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน กระทรวงคมนาคม จึงมีนโยบายมุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาให้ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบการเดินทางหลักของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องการนำแนวคิด TOD ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กระทรวงคมนาคม

@ สนข.ศึกษาแผนแม่บท TOD
รอบสถานีรถไฟ 177 แห่งทั่วปท.

โดยสนข.ได้จัดทำแผนแม่บท TOD เพื่อเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งทางราง 177 แห่งทั่วประเทศ มีโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ TOD บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีพัทยา สถานีขอนแก่น และสถานีพระนครศรีอยุธยา โดยอาศัยกลไกการบริหารจัดการและกฎหมายด้านการพัฒนาเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเสนอร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาพื้นที่ในและโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานทางราง เพื่อเป็นเครื่องมือด้านกฎหมายและกำหนดองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา TOD ที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต

สำหรับกรอบแนวคิดการจัดงานสัมมนาในวันนี้ ซึ่ง UR ใช้คำว่า “MIRAI of the city by TOD” หรือ “อนาคตของเมือง ด้วย TOD” ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงคมนาคมที่กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยใช้ TOD เป็นกลไกสำคัญ ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีความร่วมมือร่วมใจ ในการดำเนินการของหน่วยงานทุกภาคส่วนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะหน่วยงานระดับนโยบายของประเทศ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่และมีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายและมาตรการด้านผังเมือง เช่น กฎหมาย การจัดรูปที่ดิน กฎหมายการจัดทำผังเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ EEC และ สถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง ตลอดจนภาคประชาสังคมในท้องถิ่นที่จะต้องให้ความร่วมมือสนับสนุนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยิ่งกว่านั้นความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น MLIT UR World Bank และ UN Habitat

ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดงานสัมมนาในวันนี้ พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนดังกล่าว ประกอบกับองค์ความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวคิด TOD ของ MLIT และ UR จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการร่วมสร้างอนาคตของเมืองในประเทศไทยให้มีความน่าอยู่ ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ TOD ตาม Concept: “MIRAI of the city by TOD” อย่างแน่นอน

สำหรับจัดตั้งสำนักงาน UR ประจำประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหมุดหมายอันดีสำหรับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม MLIT และ UR ตลอดจนหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ตามแนวคิด TOD ของประเทศไทยให้เกิดผลสำเร็จ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในวันนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนา TOD ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป


MLIT and UR Partner with Thailand to Promote Transit-Oriented Development (TOD)

On June 19, 2024, a seminar on commercial area development around train stations (TOD) was held in Bangkok, Thailand. The event also marked the opening of the Japan Urban Development and Rehabilitation Organization (UR) office in Thailand.

Mr. Chayatham Promsorn, Permanent Secretary of the Ministry of Transport of Thailand, opened the seminar and highlighted the long-standing cooperation between the Ministry of Transport, Japan's Ministry of Land, Infrastructure, Transport, and Tourism (MLIT), and UR. This collaboration began with the development plan for the Bangkok Apiwat Central Station area (Bang Sue Development Plan) in 2016 and has since evolved to incorporate the concept of Transit-Oriented Development (TOD), with the Bang Sue Smart City plan completed in 2020.

TOD is a development approach that focuses on creating vibrant, mixed-use communities around public transportation hubs. This approach not only improves transportation efficiency but also enhances economic growth, social well-being, and environmental sustainability.

The Ministry of Transport of Thailand has developed a TOD master plan for 177 railway stations across the country. Pilot projects are underway at three high-speed train stations: Pattaya, Khon Kaen, and Phra Nakhon Si Ayutthaya. Additionally, legal frameworks are being proposed to support and regulate TOD development.

The seminar, titled "MIRAI of the city by TOD" (The Future of the City with TOD), emphasized the importance of collaboration between various stakeholders, including government agencies, local authorities, educational institutions, civil society, and international organizations. The goal is to create livable, sustainable, and environmentally friendly cities in Thailand through TOD.

The establishment of the UR office in Thailand signifies a significant step in strengthening cooperation between Thailand, MLIT, and UR. The knowledge exchange seminar is expected to foster further collaboration and drive the successful implementation of TOD projects throughout Thailand.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2024 7:46 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กระจกไร้เงา: บี้เร่งสปีดแหลมฉบังเฟส 3
Source - ไทยโพสต์
Thursday, June 27, 2024 03:59
กัลยา ยืนยง

เมื่อพูดถึงโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือน้ำลึกและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอกให้เพียงพอ และพร้อมรองรับการขยายตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่างๆ

เพื่อเป็นการเร่งรัดโครงการให้เดินหน้าตามเป้าประ สงค์ หลังล่าช้ามานาน ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ติดตามและเร่งรัดการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 หลังจากการตรวจเมื่อเดือน พ.ย.2566 ที่ผ่านมาได้เดินทางมาตรวจ พบว่ามีความล่าช้า จึงสั่งการด่วนให้รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เร่งสปีดโดยด่วน เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนคือ มิ.ย.2569

ผ่านไปเกือบ 7 เดือน งานก่อสร้างงานทางทะเล มีกิจการร่วมค้า CNNC เป็นผู้รับจ้าง มูลค่างานรวม 21,320 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงานถมทะเลทั้งหมดประมาณ 2,846 ไร่ หรือ 4.5 ล้านตารางเมตร งานขุดลอกร่องน้ำและแอ่งจอดเรือให้มีระดับความลึก 18.5 เมตร และงานเขื่อนกันคลื่น สามารถเร่งรัดได้เนื้องานเพิ่มขึ้นกว่า 17% แต่ก็ถือว่าล่าช้ากว่าแผน

ซึ่งผู้รับจ้างยืนยันว่าการก่อสร้างงานทางทะเลจะดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนภายในมิถุนายน 2569 แน่นอน และจะไม่กระทบกับสัญญาของบริษัทเอกชนคู่สัญญาบริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด ที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือ กทท. จะต้องมีการส่งมอบเฉพาะพื้นที่งานถมทะเลท่าเทียบเรือ F1 ปัจจุบันมีความคืบหน้าการถมไปกว่า 97% คาดจะแล้วเสร็จภายในกรกฎาคม 2567 นี้

หลังจากนั้นจะมีเวลาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ที่จะต้อง การตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพพื้นที่ เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับบริษัท จีพีซี ได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2568

ขณะที่งานส่วนที่ 2 งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้วเสร็จเมื่อเร็วๆ นี้ โดยบริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคา ที่วงเงิน 7,298 ล้านบาท ซึ่งเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางประมาณ 160 ล้านบาท กทท.สามารถลงนามในสัญญาได้ภายในต้นกรกฎาคม 2567

งานส่วนที่ 3 งานก่อสร้างระบบรถไฟ มูลค่า 799 ล้านบาท และส่วนที่ 4 งานจัดหาประกอบและติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์สำหรับขนย้ายสินค้า พร้อมออกแบบประกอบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสำหรับบริหารท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 2,257 ล้านบาท ทั้ง 2 ส่วนอยู่ระหว่างการสรรหาผู้รับจ้างจัดทำเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงปลายปี 2567 นี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการ จะสามารถรอง รับปริมาณการขนส่งตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นอีก 7 ล้านทีอียูต่อปี ประกอบด้วยท่าเรือ F1 จำนวน 2 ล้านทีอียูต่อปี ท่าเรือ F2 จำนวน 2 ล้านทีอียูต่อปี ท่าเรือ E จำนวน 3 ล้านทีอียูต่อปี ซึ่งเมื่อรวมกับขีดความสามารถเดิมของท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 1 และ 2 ที่ 11 ล้านทีอียูต่อปี จะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ถึง 18 ล้านทีอียูต่อปี ซึ่งจะทำให้เพิ่มปริมาณการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟและท่าเรือชายฝั่ง รวมถึงการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางกับท่าเรือบกให้เพิ่มมากขึ้นด้วย และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพและรองรับการขยายตัวสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การลงทุนของประเทศอย่างมหาศาล และยังช่วยสนับสนุนให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค อีกทั้งช่วยสนับสนุนการลดต้นทุนการขนส่งโดยรวมของประเทศ จาก 14% ของ GDP เหลือ 12% ของ GDP สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ มุ่งให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคต่อไป

คงต้องจับตาดูว่าขนาดนายกฯ เศรษฐาลงพื้นที่จี้ เจ้ากระทรวง "สุริยะ" ด้วยตัวเอง จะแล้วเสร็จตามแผนหรือไม่.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 2567


Column: Shadowless Mirror: Accelerating Laem Chabang Phase 3
Source: Thai Post
Thursday, June 27, 2024, 03:59
By: Kalaya Yuenyong


When discussing the Phase 3 development project of Laem Chabang Port, it is a project aimed at increasing the capacity of Laem Chabang Port to accommodate the growing demand for international maritime transport in the future. This includes the construction of deep-water berths and other facilities, the development of a rail freight center at Laem Chabang Port, construction of a coastal berth (Berth A), improvements to address traffic problems within the port, and necessary network and transport system enhancements to adequately connect the port area with external regions, thus supporting the expansion of various types of vessels and cargo.

To expedite the project, which has been delayed for some time, Prime Minister Srettha Thavisin recently visited the site to monitor and accelerate the construction of Laem Chabang Port Phase 3. Following his inspection in November 2023, where delays were noted, he urgently instructed Deputy Prime Minister and Minister of Transport Suriya Juangroongruangkit to speed up the project to meet the planned completion by June 2026.

Almost seven months later, CNNC Joint Venture, the contractor for the marine construction work worth a total of 21,320 million baht, which includes reclaiming approximately 2,846 rai or 4.5 million square meters of sea, dredging the channel and berth to a depth of 18.5 meters, and constructing the breakwater, has increased the work progress by over 17%, though still behind schedule.

The contractor confirms that the marine construction will be completed by June 2026 as planned, without affecting the contract with GPC International Terminal Company Limited, with which the Port Authority of Thailand (PAT) must deliver the reclaimed area for Berth F1. The reclamation has progressed over 97% and is expected to be completed by July 2024.

Thereafter, there will be about a year to inspect and improve the quality of the area to prepare for handover to GPC by late November 2025.

Meanwhile, the second part of the project, involving the construction of buildings, berths, road systems, and utilities, has recently completed the procurement process, with China Harbour Engineering Company Limited winning the bid at 7,298 million baht, which is about 160 million baht below the median price. PAT can sign the contract by early July 2024.

The third part, the rail system construction worth 799 million baht, and the fourth part, procurement, assembly, and installation of machinery and equipment for cargo handling, including designing, assembling, and installing port management technology and infrastructure systems worth 2,257 million baht, are in the process of contractor selection and tender documentation, expected to be auctioned by late 2024.

Once the Laem Chabang Port Phase 3 development project is completed and operational, it will increase the container handling capacity by 7 million TEUs per year, comprising 2 million TEUs per year each for Berth F1 and Berth F2, and 3 million TEUs per year for Berth E. Combined with the existing capacity of Phases 1 and 2 at 11 million TEUs per year, Laem Chabang Port's total capacity will reach 18 million TEUs per year. This will boost rail and coastal shipping volumes, enhance rail-port connectivity, significantly increase the country's economic value and investment, support Laem Chabang Port as a regional transport hub, and help reduce the country's overall transport costs from 14% of GDP to 12% of GDP, aligning with the government's policy to reduce logistics costs and make Thailand a regional transport hub.

It remains to be seen whether Prime Minister Srettha's direct involvement and pressure on Minister Suriya will ensure the project is completed as planned.

Source: Thai Post, June 27, 2024 edition
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2024 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

'มนพร'เดินหน้า'แหลมฉบัง'เฟส 3 ส่วนที่ 2 มั่นใจเปิดให้บริการได้ตามแผนปี 2570
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Wednesday, July 31, 2024 18:28

'มนพร'เดินหน้า'แหลมฉบัง'เฟส 3 ส่วนที่ 2 งานโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบโครงข่ายขนส่ง มั่นใจเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570 สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ-ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย

31 กรกฎาคม 2567 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้ลงนามสัญญาในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 ระหว่าง การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนที่รัฐบาลให้ความสำคัญตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จึงถือเป็นความคืบหน้า ที่ดีในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าสู่การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย พร้อมรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยจะเป็นการเริ่มงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โครงข่ายและระบบการขนส่ง ต่อยอดจากการดำเนินงานส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นงานก่อสร้างทางทะเลที่อยู่ระหว่างเร่งรัดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด

ทั้งนี้ ได้กำชับให้ กทท. กำกับ ควบคุม และดูแลการดำเนินงานในส่วนที่ 2 นี้ ให้สำเร็จตามกรอบเวลา เพื่อให้มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2568 และสามารถเปิดให้บริการท่าเรือ F ได้ภายในสิ้นปี 2570 ซึ่งจะส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบังสามารถรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านทีอียูต่อปี รวมเป็น 15 ล้านทีอียูต่อปี จากเดิมที่ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรองรับได้ 11 ล้านทีอียูต่อปี

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าเรือมีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งที่ต่อเนื่อง พร้อมรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าทางเรือ การขนส่งสินค้าทางรถไฟ และสินค้าประเภทต่าง ๆ การดำเนินงานประกอบด้วยงานก่อสร้างหลักที่สำคัญ ได้แก่ งานระบบถนน งานอาคาร งานระบบสาธารณูปโภค งานท่าเทียบเรือชายฝั่ง และงานท่าเทียบเรือบริการ รวมถึงการวางระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งสินค้าภายในประเทศด้วยการสร้างรางรถไฟเข้าไปถึงบริเวณหลังท่าเทียบเรือ

ทั้งนี้ เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่สำคัญที่จะทำให้การขนส่งตู้สินค้าทางรางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนมาสู่ทางรางและทางน้ำ รวมทั้งการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีท่าเรือสมัยใหม่ที่มีศักยภาพสูงตลอดจนการเป็นท่าเรือที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบยกตู้สินค้าอัตโนมัติในลานกองตู้สินค้า ยานพาหนะแบบไร้คนขับ (Automated Guided Vehicle : AGV) ระบบการตรวจสอบและอ่านหมายเลขตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Optical Character Recognition : OCR) เพื่อสแกนข้อมูลบนตู้สินค้าโดยอัตโนมัติ ลดความผิดพลาดในการนำส่งข้อมูล เป็นต้น โดยบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 90 กว่าสาขาทั่วโลกของ บริษัท China Harbour Engineering Company จะต้องปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1,260 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กทท. ให้เริ่มงาน

ด้าน Mr. Jiang Houliang กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคบริษัท China Harbour Engineering Company กล่าวว่า บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในงานก่อสร้างท่าเรือทั่วโลก รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศไทยมาอย่างยาวนานด้วยความพร้อมและความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมระดับสากล เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างมาตรฐาน และสำเร็จลุล่วงตามกรอบระยะเวลาตามสัญญาที่กำหนดได้อย่างแน่นอน

Mr. Wang Haiguang กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ บริษัทฯ ครบรอบการก่อตั้งเป็นปีที่ 30 ครั้งหนึ่งได้เคยก่อสร้างท่าเทียบเรือให้กับบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นท่าเทียบเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย และในปีนี้นับเป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งที่ได้ร่วมดำเนินการโครงการฯ ที่เป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่สำคัญของประเทศไทย

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีการแบ่งงานก่อสร้างหลักภายใต้ความรับผิดชอบของ กทท. ออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 งานก่อสร้างงานทางทะเล ดำเนินงานโดยกิจการร่วมค้า CNNC ซึ่งขณะนี้งานถมทะเลในภาพรวมมีความคืบหน้า 36% ส่วนที่ 2 งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภคที่ได้มีการลงนามในวันนี้ ส่วนที่ 3 งานก่อสร้างระบบรถไฟ และส่วนที่ 4 งานจัดหาเครื่องมือ พร้อมจัดหาและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานส่วนที่ 3 และ 4 อยู่ระหว่างการจัดทำร่าง TOR คาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาได้ภายในต้นปี 2568

สำหรับการลงนามฯ ในครั้งนี้ มีนายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์โครงการข้อตกลงคุณธรรมงานจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง คณะผู้แทนคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คณะกรรมการ กทท. ผู้บริหาร กทท. ผู้บริหารบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด


'Manaporn' Advances 'Laem Chabang Phase 3, Section 2,' Confident of Opening as Planned in 2570 (2027)

Source: Naewna website
Wednesday, July 31, 2024, 18:28


'Manaporn' advances 'Laem Chabang Phase 3, Section 2' infrastructure, facilities, and transportation network systems, confident of opening as planned in 2570 (2027), creating economic value and investment in the Asian region.

On July 31, 2024, Mrs. Manaporn Charoensri, Deputy Minister of Transport, stated that a contract was signed for the development of Laem Chabang Port Phase 3, Section 2 between the Port Authority of Thailand (PAT) and CHEC (Thailand) Co., Ltd. This is a key public-private partnership project prioritized by the government under the Eastern Economic Corridor (EEC) development plan, marking significant progress in promoting Laem Chabang Port as a gateway for trade and investment in the Asian region. The project aims to accommodate the increasing volume of containers due to future economic expansion. The construction will include infrastructure, network, and transport systems, building upon the first section, which involves marine construction currently being expedited according to the set schedule.

The PAT has been instructed to supervise and manage the completion of this second section within the specified timeframe to ensure readiness for land handover by November 2025. The port's Section F is expected to open by the end of 2027, increasing the port's container capacity by an additional 4 million TEUs per year, bringing the total capacity to 15 million TEUs per year from the current 11 million TEUs from Phases 1 and 2.

Mr. Kriangkrai Chaisiriwongsuk, Director of PAT, stated that the purpose of developing Laem Chabang Port Phase 3, Section 2 is to enhance the port's infrastructure and facilities, along with continuous transport networks and systems to support the growing volume of maritime cargo, rail transport, and various types of goods. The main construction work includes road systems, buildings, infrastructure systems, coastal berths, and service berths, as well as the installation of a rail system connecting directly to the back of the port.

This development of critical rail infrastructure aims to improve the efficiency of container rail transport in line with the government's policy to shift transportation from road to rail and water. It will also incorporate modern port technology with high capacity and environmental considerations, such as automated container handling systems, Automated Guided Vehicles (AGVs), and Optical Character Recognition (OCR) systems for automatic scanning of container information to reduce data transmission errors. CHEC (Thailand) Co., Ltd., a subsidiary of China Harbour Engineering Company, is required to complete the work within 1,260 days from the date of notification from PAT to start the project.

Mr. Jiang Houliang, Regional Managing Director of China Harbour Engineering Company, stated that the company has extensive expertise and experience in port construction worldwide, including various infrastructure projects in Thailand. They are confident in delivering the project according to international standards and within the contractually specified timeframe.

Mr. Wang Haiguang, Managing Director of CHEC (Thailand) Co., Ltd., added that this year marks the company's 30th anniversary. The company previously built a modern berth for Hutchison Ports Thailand, and it is a proud moment to be part of this major project in Thailand.

The development of Laem Chabang Port Phase 3 is divided into four main sections under the responsibility of PAT: Section 1 involves marine construction by CNNC joint venture, with 36% progress in overall land reclamation. Section 2 involves building construction, berths, road systems, and infrastructure, signed today. Section 3 involves rail system construction, and Section 4 involves equipment procurement and IT system installation. The TOR for Sections 3 and 4 are currently being drafted, with the bidding expected to be announced by early 2025.

The signing ceremony was attended by Mr. Taweesak Anonphan, Advisor to the Deputy Minister of Transport, Mr. Sorpant Khunakaravong, Assistant Secretary to the Minister of Transport, Assoc. Prof. Dr. Kanit Watanawichien, Head of the Integrity Pact Monitoring Committee for Laem Chabang Port Development Project, representatives from the Eastern Economic Corridor Policy Committee, PAT board members, PAT executives, and executives from CHEC (Thailand) Co., Ltd.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2024 4:01 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดแผน 17 โครงการลุย ยกระดับการเดินทาง ท่องเที่ยวและขนส่ง ชงครม. เคาะ พ.ร.บ.ตั่วร่วมฯ -พ.ร.บ. SEC ใน ปีนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:30 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:30 น.


สนข. ลุย 17 โครงการขับเคลื่อนแผนงานคมนาคม ยกระดับการเดินทาง ท่องเที่ยวและขนส่ง ปีนี้ชงครม. เคาะ พ.ร.บ.ตั่วร่วมฯ หนุนรถไฟฟ้า 20 บาทเพิ่มการเดินทางระบบราง และพ.ร.บ. SEC เตรียมพรัอมประมูล"แลนด์บริดจ์"ปี 68

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม
ต่อการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรของ สนข. ประจำปี 2567ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารด้านการขนส่งและจราจรของ สนข. เพื่อใช้เป็นกลไกในการสื่อสารข้อมูลไปยังประชาชน ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันท่วงที โดย “ศึกษาดูงานการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และลงพื้นที่เยี่ยมชมสนามบินหัวหิน ระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สนข. พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน จำนวน 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

นายปัญญากล่าวถึงผลการดำเนินงานสำคัญในปี 2567 และแผนการดำเนินงานในอนาคต สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม หลัก ดังนี้ งานที่อยู่ระหว่างการนำเสนอกระทรวงคมนาคม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
โดยใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว ได้เสนอไปที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปี 2568



2. พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ พ.ร.บ. SECเพื่อใช้ในการกำกับดูแล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เชื่อมโยงกันทั้งในและนอกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเพื่อการพิจารณาของ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) และคาดว่าร่าง พ.ร.บ. SEC จะผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ในเดือนเมษายน 2568



3. แผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (W-MAP) เพื่อพัฒนาการเดินทางทางน้ำ ยกระดับการบูรณาการเดินทางกับรูปแบบอื่น เพิ่มการใช้ประโยชน์เพื่อการสัญจรและการท่องเที่ยว ระยะสั้น ปี พ.ศ. 2567– 2570 4 เส้นทาง และ ระยะยาว ปี พ.ศ. 2570 – 2572 3 เส้นทาง รวมระยะทางเพิ่มขึ้นทั้งหมด 112.9 กิโลเมตร

ขณะนี้โครงการฯ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาขั้นร่างรายงานฉบับ สมบูรณ์ (Draft Final Report) ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานและร่างแผนพัฒนาระบบ การจราจรและขนส่ง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง อัจฉริยะ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระบบเชื่อมโยงข้อมูลจาก ระบบ CCTV ระบบ GPS หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ระบบการวิเคราะห์ ประมวลผลและ แสดงผลข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการจราจรและขนส่งในพื้นที่/เส้นทางนำร่อง

4.แผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Feeder) พัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ - ราง - เรือ พร้อมปรับปรุงลักษณะกายภาพ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างสะดวก

5. แผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (พ.ศ. 2566 - 2580) โดยเร่งผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย EV ภาคคมนาคมพัฒนาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนใช้งานระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น และลดมลพิษ



และ 6.แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยอาศัยแนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ 177 สถานี ทั่วประเทศ สนข. และ ขบ. ได้มีความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ Feeder ไปสู่ การปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ผลักดันเป็นเส้นทางเพิ่มการเข้าถึง (Accessibility) สถานีรถไฟฟ้าของพื้นที่ รองรับการเดินทางตั้งแต่ต่อแรก (First Mile) ไปจน ต่อสุดท้าย (Last Mile) 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง LS2 จากถนนแจ้งวัฒนะซอย 14 ถึง หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์ และ เส้นทาง BP2 จากสถานีบางพลัดถึงสถานีบางบาหรุ (ผ่าน ซอยจรัญ สนิทวงศ์ 75)



นอกจากนี้ มีงานที่อยู่ระหว่างการศึกษา จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ 1. การศึกษาจัดทำ Model การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภายใต้กรอบ GMS สนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก คาดว่าจะแล้วเสร็จและนำเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ คาดว่าจะแล้วเสร็จและนำเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในปี 2568

2.การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและออกแบบแนวคิดเบื้องต้นเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามันช่วงจังหวัดระนอง – จังหวัดสตูล (Andaman Riviera) ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568



3. การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองหลักในภูมิภาค เพื่อให้มีฐานข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและข้อมูลการจราจรในเขตเมืองหลักในภูมิภาคที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรองรับ EEC เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนไปสู่ทางรางและทางน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

5. การศึกษาเพื่อจัดทำข้อมูลฐาน (Baseline Data) และการประเมิน (Tracking) การลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของยานพาหนะ

6.การศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) เพื่อจัดทำศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) สำหรับเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านคมนาคมแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน และใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายและแผนด้านคมนาคม รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายของผู้บริหารของกระทรวงคมนาคม

7. การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการจราจรและขนส่ง ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

8. โครงการ Landbridge
ได้ดำเนินการศึกษาและวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร- ระนอง) ในรูปแบบ One Port Two Sides ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอ ครม. ในปีนี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ สนข. ดำเนินการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเอกชน ทั้งนี้ ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2568 และจะก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2573



งานที่จะดำเนินการศึกษาในอนาคต จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1).การศึกษาเพื่อจัดทำกรอบ
การดำเนินงานและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อภาคคมนาคมอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 1) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกรอบการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในภาคคมนาคม โดยมีแผนปฏิบัติการ แบ่งเป็น3 ระยะ และจัดทำข้อมูลระบบการรายงานและบริหารจัดการข้อมูลภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำแบบจำลอง



2. การพัฒนาระบบเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ กทม. และพื้นที่ต่อเนื่อง 3.การพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

นายปัญญา กล่าวว่า สนข.ยังมีงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนงานของกระทรวงคมนาคมมีความสมบูรณ์ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สนข. ได้มีการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อรับความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาระบบคมนาคม ประกอบด้วย 1.ประเทศญี่ปุ่น ความร่วมมือภายใต้ - บันทึกความร่วมมือ (MOC)ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร เพื่อศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด (นราธิวาส - สำโรง)

2. ประเทศเยอรมนี ความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit: GIZ) (Technical Assistance: TA) ภายใต้ “E-Mobility Initiative for Thailand: Supporting Thailand’s Net Zero Commitments” สนับสนุนการพัฒนามาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีความท้าทายของภาคขนส่ง

3. The Asian Development Bank (ADB) โครงการความช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance: TA) ภายใต้ “E-Mobility Initiative for Thailand: Supporting Thailand’s Net Zero Commitments”

4. ประเทศออสเตรเลีย โครงการขยายความร่วมมือด้านคมนาคมผ่านหุ้นส่วนความร่วมมือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและกระทรวงคมนาคม ประเทศไทย (Project on Expanding Transport Cooperation through Partnerships for Infrastructure and the Ministry of Transport : P4I - MOT) 5. ประเทศสหรัฐอเมริกา การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ(Technical Assistance : TA)ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา
(U.S. Trade and Development Agency : USTDA) แผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย



นายปัญญา กล่าวว่า สนข. พร้อมผลักดันขับเคลื่อนแผนงานด้านคมนาคมที่สำคัญต่าง ๆ
ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม คือ ต้องพลิกโฉมระบบคมนาคมทั่วประเทศ มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน และเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2024 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ส่องโปรเจกต์'คมนาคม'กว่าแสนล้านบาทจ่อถูกตีกลับ"สุริยะ"มั่นใจงานไม่สะดุดพร้อมชงครม."อุ๊งอิ๊ง"
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, August 19, 2024 05:26

เคาะลงทุน'ไฮสปีด-รถไฟสีแดง-มอเตอร์เวย์'

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 ให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ส่งผลให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งหมดต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย แต่คณะรัฐมนตรีนั้นยังให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ซึ่ง ครม.รักษาการสามารถทำอะไรได้บ้างในกรณีที่นายกฯถูกให้พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความแตกต่างจากกรณีการยุบสภาอย่างไร แน่นอน. สถานการณ์เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบต่อโครงการต่างๆ ที่รอบรรจุวาระการประชุม ครม.ในช่วงที่ผ่านมา มีอันต้องส่งคืนกระทรวงฯหรือหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อมาตั้งต้นเรื่องกันใหม่ทั้งหมด

กระทรวงคมนาคม นับเป็นกระทรวงเกรดเอ มีงบประมาณรายจ่ายและงบลงทุนปีละกว่า 4 แสนล้านบาท มีโครงการที่ต้องนำเสนอ ครม. ขออนุมัติเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อน โดยพบว่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มีการนำเสนอโครงการไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรอบรรจุวาระการประชุม ครม. จำนวน 8 โครงการ ได้แก่

1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost เป็นเส้นทางแรก ซึ่งเป็นไปตามการศึกษาที่พบว่ามีความ คุ้มค่าที่เอกชนจะลงทุน 100%

2. โครงการมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท การลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดย รัฐเป็น ผู้ลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธาและ การบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) รัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ค่าผ่านทาง และจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการให้แก่เอกชน และรัฐใช้คืนค่าก่อสร้างภายหลัง ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ จะเริ่มจ่ายค่างานโยธาเมื่องานก่อสร้างเสร็จแล้ว

3. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท เสนอ ครม.เพื่อขอทบทวนมติ ครม.และปรับกรอบวงเงิน หลังจากก่อนหน้านี้ รฟท.สรุปการศึกษาและเสนอ ครม.ไป แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่เพื่อความรอบคอบ มีการปรับวงเงินโครงการ จาก 6,468.69 ล้านบาทเป็น 6,473.98 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจากคำนวณปรับราคากลาง (Factor F) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เป็น 7%

4. การรถไฟฯ ขออนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติม วงเงิน 197.38 ล้านบาทสำหรับงานเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 135 กม.

5. กรมทางหลวง (ทล.) ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (งบกลาง ปี 67) รายการเงินสารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)

6. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 30,025.66 ล้านบาท

7. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เสนอพิจารณากำหนดแนวทาง โครงการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือเอ 0 ณ ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)

8. การมอบหมายให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) มอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กรมฝนหลวงและ การบินเกษตร

"สุริยะ" มั่นใจงานไม่สะดุด ข้อมูลครบถ้วน พร้อมดันเสนอ ครม.ใหม่เดินหน้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม มีการนำเสนอโครงการไปที่เลขาฯ ครม.เพื่อรอบรรจุวาระการ ประชุม ซึ่งกรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งไปไม่ใช่การ ยุบสภา ครม. และ รมต.ยังสามารทำหน้าที่ได้ตามปกติ ซึ่ง ตนเห็นว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้รับโปรดเกล้าฯ จะเร่งเดินหน้าทำงานได้ทันที ดังนั้นเชื่อว่างานต่างๆ จะไม่สะดุดหรือล่าช้า แน่นอน

ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานต่างๆ จะต้องดำเนินการเป็นไปตามความเหมาะสม ซึ่งกรณีที่ระเบียบกำหนดให้นำโครงการกลับคืนมาที่หน่วยงาน หรือกระทรวงก่อนตนเห็นว่า ไม่ใช่ปัญหา เพราะโครงการที่เคยนำเสนอ ครม.ไปนั้น ทุกโครงการมีความพร้อม รวมถึงผ่านขั้นตอนการสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว พร้อมเร่งเรัดให้ดำเนินการต่อเนื่อง จึงไม่น่าจะเสียเวลาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากนัก

ด้านนายวิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่า ครม.รักษาการทำได้หมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าพูดกันในทางทฤษฎียุบสภาก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติเขา ไม่ยุบหรอกจะยุบทำไม แต่ถ้าโยกย้ายหรืออนุมัติงบอย่างนั้น ทำได้ทั้งหมด มันไม่เหมือนกับเวลายุบสภา เพราะไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่งตั้งก็ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการพ้นตำแหน่งในลักษณะแบบนี้ทำได้หมด

กรณีเมื่อคณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง ผลกระทบ เกี่ยวกับแผนงานและโครงการต่างๆ ที่ค้าง ในการบรรจุวาระการพิจารณาของ ครม.มีแน่นอน ซึ่งตามขั้นตอน แผนงานและโครงการต่างๆ จะต้องถูกตีกลับไปที่หน่วยงานต้นสังกัดทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่โครงการที่ได้รับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วก็จะต้องถูกตีกลับไปที่หน่วยงานต้นสังกัดเช่นกัน

"เพียงแต่ว่าแผนงานใด โครงการไหนที่เคยรับฟังความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้ว เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการแล้วนั้น ก็ให้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆพิจารณาเองว่า จะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติเลยหรือไม่ หรือจะเอาโครงการไปทบทวน ไปรับฟังความเห็นอีกรอบ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละกระทรวง"
ก่อนสิ้นปี 67 เตรียมดันบิ๊กโปรเจกต์อีกชุดใหญ่

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมยังมีโครงการที่อยู่ในแผนงานเตรียมเสนอ ครม.ในช่วงครึ่งหลังปี 2567 ได้แก่

1. โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 357.12 กม. กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด รฟท.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567

หลังจากนี้ เป็นขั้นตอนนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม.พิจารณาอนุมัติ คาดว่าจะได้รับอนุมัติ เดือน ม.ค. 2568 เปิดประกวดราคาผู้รับจ้าง ระหว่างเดือน ก.พ. 68 ถึงต.ค. 2568 (ระยะเวลา 9 เดือน) เริ่มก่อสร้างโครงการฯ เดือน พ.ย. 2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 72 เดือน คาดว่าเปิดให้บริการ พ.ย. 2574

2. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดงอ่อน) ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายาระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ 15,176.21 ล้านบาท ผ่านบอร์ด รฟท. เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 หลังจากได้พิจารณา รวมเส้นทางช่วงตลิ่งชัน-ศาลายาและสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม6 สถานีบางกรวย- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการสายสีแดงอ่อนช่วง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เข้าด้วยกันเป็นโครงการเดียวกัน และเปิดประกวดราคาสัญญาเดียว เนื่องจากจะส่งผลดีต่อการส่งมอบพื้นที่และการก่อสร้างในจุดทับซ้อนกันที่สถานีตลิ่งชัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง และงาน ระบบต่างๆ รวมถึงให้ดำเนินงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมกัน

ซึ่งการรวม 2 เส้นทางเป็นโครงการเดียว ทำให้ มูลค่าโครงการรวมเดิม 15,286.27 ล้านบาท เหลือ 15,176.21 ล้านบาท หรือกรอบวงเงินโครงการลดลง 110.06 ล้านบาท เพราะสามารถลดงานที่ซ้ำซ้อนลง รวมถึงลดค่าจ้างที่ปรึกษาก็ลดลงไปด้วย ตั้งเป้าก่อสร้าง เดือน พ.ค. 2568 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน คาดว่าเปิดให้บริการเดือน พ.ค. 2571

3. โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,312 กม. วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 298,047 ล้านบาท ประกอบด้วย

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143.23 ล้านบาท

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ- อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103.11 ล้านบาท

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900.89 ล้านบาท

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 30,422 ล้านบาท

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วง สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 66,270 ล้านบาท

- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วง เด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 68,222 ล้านบาท

4. ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ซึ่งตามแผนงานหลังครม.เห็นชอบยังมีกระบวนการ อีกหลายขั้นตอน คือส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ พ.ศ. และจะนำเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่รัฐสภาภายในเดือน ก.พ. 2568 เป้าหมายจะเร่งรัด พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือน ต.ค. 2568 เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่จะขยายใช้กับรถไฟฟ้าทุกสายต่อไป

5. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม ปากท่อ-ชะอำ (M8) ซึ่งจะดำเนินการในระยะแรกก่อน คือช่วงนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61 กม. รวมวงเงินลงทุน 43,227.16 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 29,156 ล้านบาท ค่างานระบบ 1,783.29 ล้านบาท ค่าเวนคืน12,287.87 ล้านบาท

โดยขณะนี้กรมทางหลวงอยู่ระหว่างสรุปข้อมูลโครงการ รายละเอียดวงเงินโครงการ รูปแบบก่อสร้าง คาดว่าจะทบทวนการศึกษาเสร็จในปี 2567 โดยกรมทางหลวงจะลงทุนก่อสร้างงานโยธาเอง ดังนั้น จึงไม่ต้องเสนอไปที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่วนงานระบบ O&M จะสรุปการศึกษา การร่วมลงทุนเอกชน และเสนอ สคร.และบอร์ด PPP อนุมัติในลำดับต่อไป

6. โครงการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 หรือ Double Deck ซึ่งขณะนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ในการลงทุน Double Deck และลดอัตราค่าทางด่วนเหลือ 50 บาท ตามนโยบาย เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอการตรวจสอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จากสำนักงานอัยการสูงสุด และการชี้แจงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสผ. หลังสำนักงานอัยการสูงสุด ตรวจร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมแล้วเสร็จพร้อมเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม.ต่อไป

7. โครงการระบบด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ในระยะที่ 1 (ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก) หรือตอน N2 เดิม ระยะทาง 11.3 กม. มูลค่าลงทุน 16,960 ล้านบาท

8. โครงการทางด่วน สายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต หรือโครงการอุโมงค์ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. วงเงินโครงการประมาณ 16,190 ล้านบาท เป็นการเสนอปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินโครงการ จากเดิมที่ ครม.อนุมัติ ให้ลงทุนแบบ PPP-Net Cost แต่ เปิดประมูลแล้วไม่มีเอกชนยื่นซอง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบ กทพ.ลงทุนงานก่อสร้างโยธาเอง

ต้องยอมรับว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาลและ ครม. "นายกฯเศรษฐา ทวีสิน" โครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ของกระทรวงคมนาคม มีการผลักดันออกมาน้อยมาก จะมีเพียง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงินลงทุน 29,748 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งขณะนี้การรถไฟฯอยู่ระหว่างประกวดราคา ส่วนโครงการอื่นถูกนำกลับมาศึกษาทบทวนกันใหม่รอบนี้เปลี่ยนตัวนายกเป็น น.ส. แพทองธาร ชินวัตร ต้องรอดูว่าจะขับเคลื่อนการลงทุนอย่างไร!

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 19 ส.ค. 2567


**Project Overview: Over 100 Billion Baht of Transport Projects Likely to be Sent Back; "Suriya" Confident No Delays as He Pushes for New Cabinet Approval**

*Source: Manager Daily 360 Degrees
Monday, August 19, 2024, 05:26*

**Investment Decision: High-Speed Rail, Red Line, Motorways**

Following the Constitutional Court’s 5-4 ruling on August 14, 2024, removing Srettha Thavisin from his position as Prime Minister, the entire Cabinet was also dismissed. However, the Cabinet will continue performing duties until a new Cabinet is installed. This situation impacts various projects awaiting Cabinet approval, forcing their return to ministries or agencies to restart the process.

The Ministry of Transport, considered a top-tier ministry with a yearly budget of over 400 billion baht, has numerous projects awaiting Cabinet approval. Eight such projects were recently submitted to the Cabinet Secretary-General's office, including:

1. **M9 Elevated Highway: Bang Khun Thian – Bang Bua Thong Section**
35.85 km long, with a 56.035 billion baht budget, to be funded via PPP (Private-Public Partnership) Net Cost investment.

2. **Motorway Expansion: Don Muang Tollway (M5), Rangsit-Bang Pa-In**
22 km long, costing 31.358 billion baht, with a PPP Gross Cost structure.

3. **Red Line Commuter Rail Extension: Rangsit-Thammasat University (Rangsit Campus)**
8.84 km extension with a 6.47398 billion baht budget. The project will be reviewed for financial adjustments.

4. **Double-Track Railway: Mab Kabao-Chira Junction**
The Railway Department requests an additional 197.38 million baht for land expropriation.

5. **Highway Department’s 2024 Budget Request**
A 600.35 million baht allocation for emergency funds.

6. **Bangkok Mass Transit Authority (BMTA) Loan Approval Request**
BMTA seeks a 30.02566 billion baht loan to address financial liquidity.

7. **Port Authority of Thailand’s Operational Plans**
Proposal for Laem Chabang Port A0 Pier operations.

8. **Department of Airports' Task Transfer**
The transfer of Tak Airport’s management to the Royal Rainmaking and Agricultural Aviation Department.

**Suriya Confident in Smooth Operations**

Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, expressed confidence that ongoing projects won’t face delays despite the recent political changes. He assured that the necessary processes were complete and would be re-submitted for the new Cabinet’s approval.

Before the end of 2024, the Ministry of Transport plans to push forward other major projects, including:

1. **Bangkok-Nong Khai High-Speed Rail (Phase 2: Nakhon Ratchasima-Nong Khai)**
357.12 km long, with a 341.35142 billion baht budget.

2. **Light Red Line Extension: Siriraj-Taling Chan-Salaya**
20.5 km long, with a 15.17621 billion baht budget.

3. **Second Phase Double-Track Railway Projects**
Six new routes totaling 1,312 km with a combined 298.047 billion baht budget.

4. **Joint Ticketing System Act Draft**
Expected to streamline public transportation ticketing systems.

5. **Nakhon Pathom-Pak Tho-Cha Am (M8) Expressway**
61 km long with a 43.22716 billion baht investment.

6. **Double Deck Expressway Construction Project**
In collaboration with BEM (Bangkok Expressway and Metro).

7. **Northern Expressway (Phase 1)**
11.3 km long, valued at 16.96 billion baht.

8. **Patong Tunnel Project: Kathu-Patong in Phuket**
3.98 km long, with a budget of 16.19 billion baht, will be funded by the Department of Highways instead of private investment.

Despite the slow progress of mega-projects under former PM Srettha’s administration, there is hope that the upcoming leadership will expedite these essential infrastructure developments.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13, 14  Next
Page 12 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©