RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311650
ทั่วไป:13402218
ทั้งหมด:13713868
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 31, 32, 33
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2024 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : หัวลำโพง
.
วาดอนาคตย่านสร้างสรรค์รอบสถานีรถไฟใจกลางเมือง
จากเรื่องราวในอดีตที่ไม่เคยถูกบันทึก
.
ใครหลายคนมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เวลา 24 ชั่วโมงในสถานีรถไฟหมุนเร็วกว่าโลกภายนอกมากนักจากบรรยากาศที่พลุกพล่านขวักไขว่ไปด้วยทั้งบรรดานักเดินทางหน้าใหม่ พ่อค้ามือฉมังที่เข้ามาติดต่อธุรกิจใจกลางกรุง ชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาตามหาความฝัน และชาวเมืองหลวงที่ต้องลาจากบ้านเกิดไปเรียนหรือทำงานที่อื่น แน่นอนว่า ‘หัวลำโพง’ ก็ปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นอย่างดีมาตลอดกว่า 100 ปีที่ผ่านมาในฐานะ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ’ หรือศูนย์กลางการสัญจรที่สำคัญประเทศไทย
.
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อย่านที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการนำพาผู้คนมากมายให้เดินทางเชื่อมถึงกันได้จำเป็นต้องออกเดินทางกับเขาบ้างในวันที่บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ตามมาหาคำตอบไปด้วยกันได้กับ ‘คุณมิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’ และ ‘คุณจับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ สมาชิกกลุ่ม ริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces หรือ RTUS) ในฐานะ Co-host ผู้ร่วมจัดงาน Bangkok Design Week 2024 ย่านหัวลำโพง
.
ติดตามเรื่องราวของย่านหัวลำโพง ได้ที่ RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอ
Bangkok Design Week 2024
Livable Scape
คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี
27 Jan - 4 Feb 2024
https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/guide/venues-bkkdw?nbh=49826
https://www.facebook.com/BangkokDesignWeek/posts/915833533271515
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2024 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

รู้หรือไม่ มีแผนย้ายสถานีหัวลำโพง มาบางซื่อ ตั้งแต่ 2496!!
เพื่อแก้ปัญหาจราจร กว่า 70 ปีที่แล้ว ด้วยมูลค่ากว่า 592 ล้านบาท!!! แต่เปลี่ยนแผน ให้สร้างในอนาคต(ปัจจุบัน)แทน
วันนี้หาเรื่องเก่า มาเล่าให้ลูกเพจฟังกันหน่อย คือ แผนการย้ายสถานีหลักของกรุงเทพ จากหัวลำโพง มาบางซื่อ ซึ่งมีแนวคิดมามากกว่า 70 ปี!!! ตั้งแต่ในปี 2496!!!
ซึ่งข้อมูลมาจาก หนังสือเก่า “สรุปเรื่อง การย้ายสถานีกรุงเทพไปอยู่ที่บางซื่อ“ จากฐานข้อมูลห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลิงค์หนังสือ โหลดได้จากลิงค์ในคอมเมนท์
—————————
เรามาดูรายละเอียดและปัญหาที่ทำให้มีคนคิดจะย้ายสถานีจากหัวลำโพง มาบางซื่อ กันก่อน
ปัญหาของสถานีหัวลำโพง (กรุงเทพ) กันก่อน
ซึ่งคนสมัยนั้นก็มีปัญหารถติด กันไม่น้อยไปกว่าปัจจุบันเลย และไปบรรจบกับการที่ต้องบริหารจราจรบริเวณจุดตัดทางรถไฟ ซึ่งสุดท้าย รถไฟก็กลายเป็นแพะรับบาปของจราจรไปโดยปริยาย
โดยจุดตัดถนนกับทางรถไฟช่วง หัวลำโพง-บางซื่อ มีทั้งหมด 17 จุด โดยมีจุดตัดที่สำคัญทั้งหมด 5 จุดคือ
- จุดตัดยมราช
- จุดตัดพระราม 4
- จุดตัดราชปรารภ
- จุดตัดศรีอยุธยา
- จุดตัดราชวิถี
คู่ขนานกับข้อจำกัดจากพื้นที่ของสถานีหัวลำโพง ซึ่งรองรับขบวนรถไฟ (ณ เวลานั้น) ได้สูงสุด 100 ขบวน/วัน ทำให้เริ่มมีการพูดถึง และการศึกษาการย้ายสถานี ออกไปนอกเมือง
—————————
การแก้ปัญหาเบื้องต้น
ในการบริหารจราจรที่ผ่านเข้ามาที่สถานีหัวลำโพง ณ เวลานั้น มีทั้งขบวนรถไฟโดยสาร และขบวนรถไฟสินค้า มาเริ่มต้นที่หัวลำโพงทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาความหนาแน่นของจราจรรถไฟที่เข้าสถานี
ทำให้การรถไฟ แผนย้ายพื้นที่รับ-ส่ง และย่านสินค้า ย้ายจากหัวลำโพง ไปย่านพหลโยธิน (บางซื่อ) แทน เพื่อปลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพไปได้มาก
—————————
แผนการจัดเตรียม และแก้ปัญหาจราจรหลังย้ายสถานี
มาบางซื่อ
ณ เวลานั้น การออกแบบสถานีใหม่ที่บางซื่อ ก็จะเป็นลักษณะ กึ่งสถานีตัน โดยจะมีรถผ่านแต่รถไฟขบวนพิเศษจากสถานีจิตรลดาเท่านั้น
โดยมีการมองว่า กรุงเทพจะแบ่งสถานีหลักเป็น 3 สถานี ตามภาค คือ
- สถานีบางซื่อ รองรับรถไฟสายเหนือ-อีสาน
- สถานีมักกะสัน รองรับรถไฟสายตะวันออก
- สถานีธนบุรี รองรับรถไฟสายใต้
โดยสายตะวันออกจะไม่วิ่งผ่านเขตเมืองเพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตเมืองให้สนิด โดยการก่อสร้างทางรถไฟสาย บางซื่อ-คลองตัน (ปัจจุบันคือถนน รัชดาภิเษก) เพื่อรองรับจราจรรถไฟข้ามภาค และรถไฟสินค้าไปยังสถานีแม่น้ำ (ท่าเรือคลองเตย) ได้เหมือนเดิม
ซึ่งสมัยนั้นได้ประเมินมูลค่าการย้ายสถานี จากหัวลำโพง ไป บางซื่อ รวมกว่า 592 ล้านบาท (มูลค่าสมัยนั้น) ซึ่งก็ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทในยุคปัจจุบันแน่นอน
—————————
แล้วคนสมัยนั้น เค้าคิดยังไง กับการย้ายสถานีหลักไปอยู่ที่บางซื่อ???
แน่นอนว่า มีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะการรถไฟที่คัดค้าน และไปทำการศึกษามูลค่าการลงทุน และทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจร เพื่อให้ใช้สถานีหัวลำโพงได้ต่อไป
โดยมีการศึกษาทางเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- การย้ายสถานีไปอยู่บางซื่อ ซึ่งต้องออกแบบสาธารณูปโภค และการเชื่อมต่อทางรถไฟสายใหม่ เพื่อเลี่ยงเขตเมืองชั้นใน ซึ่งใช้งบประมาณกว่า 592 ล้านบาท
แต่มีคนคัดค้านมาก เพราะอยู่ห่างจากหัวลำโพง ซึ่งเป็นศูนย์กลางเมืองสมัยนั้น กว่า 8 กิโลเมตร ซึ่งไม่มีระบบขนส่งมวลชน มาวิ่งให้บริการทดแทนในสมัยนั้นได้เลย ทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะเสียมูลค่าการเดินทาง และขนส่งไปไม่น้อย เพราะไม่สะดวก
- การใช้หัวลำโพงเหมือนเดิม แต่แก้ไขจุดตัดระดับดิน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยแบ่งเป็น 2 แผนคือ
1. สร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ ทั้งหมด 13 จุด มูลค่า 110 ล้านบาท
2. ยกระดับทางรถไฟขึ้นช่วง หัวลำโพง-บางซื่อ มูลค่า 117 ล้านบาท
แต่สุดท้าย ผ่านมา 70 ปี การแก้ปัญหาจราจร ก็ยังเป็นแผน ที่เราไปฝากไว้กับสายสีแดงครับ
—————————
ผลสรุปสุดท้าย….
มีการคาดการณ์ ปริมาณจำนวนขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ได้ในเบื้องต้น อีก 15 ปี และถ้าปรับปรุง สามารถรองรับการขยายตัวได้อีก 40 ปี
อย่างที่เราเห็นและทราบว่า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) พึ่งมาย้ายมาเป็นสถานีหลักเมื่อปี 2566 ก็ผ่านไปกว่า 70 ปี จากแนวคิดครั้งแรกแล้ว!!!
Cr. เครดิตภาพโบราณจาก เพจ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:170662
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/711122191163371
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46004
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2024 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

วิวหน้ารถไฟออกสถานีหัวลำโพง​ ข.317 ชานชาลา11
สุรเสียง พลับพลาสวรรค์
Feb 6, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=THKSxrSo0aU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2024 12:56 am    Post subject: Reply with quote

สถานีกรุงเทพ มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันอีก ทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนี เช่นกันลวดลายต่างๆที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงามมาก บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสาร หรือโรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน ซึ่งหาดูได้ยาก จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี โดยติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเฉพาะไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตแสดงให้เห็นเหมือนนาฬิกาอื่น ๆ นาฬิกาเรือนนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ควบคุมด้วยไฟฟ้าระบบดี.ซี.จากห้องชุมสายเป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรผ่านไป-มา และผู้ใช้บริการที่สถานีกรุงเทพจนถึงปัจจุบันนี้
https://www.facebook.com/tourismdivision/posts/786981136792256
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46004
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2024 8:09 am    Post subject: Reply with quote

หัวลำโพง...ไม่ได้มีแค่สถานีรถไฟ
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Tuesday, February 13, 2024 04:13

ในกิจกรรม บางกอก ดีไซน์ วีค 2024 ที่ผ่านมา หนึ่งในทัวร์กลุ่มเยาวชนริทัศน์บางกอก หัวลำโพง ไม่หิวลำพัง (ราคาทัวร์เพื่อเรียนรู้ชุมชน 349 บาท) พาเข้าตรอก ออกซอย ดูย่านเก่า กินหมูสะเต๊ะ ชมงานศิลป์ใต้สะพาน และโรงแรมสเตชั่น

ย่านเก่าเช่นหัวลำโพง มีเรื่องราวมากกว่าสถานีรถไฟที่เรารู้และเห็น เพราะก่อนหน้านี้ใครจะขึ้นเหนือ ล่องใต้ ต้องมาที่หัวลำโพง โรงแรมตามตรอก ซอก ซอย จึงเต็มไปด้วยคนไทยและต่างชาติ

ระหว่างการพาทัวร์ เยาวชนกลุ่มริทัศน์บางกอก ถามผู้เข้าร่วมว่า ใครเคยมาหัวลำโพงเดินทัวร์แบบนี้บ้าง ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ไม่เคย

แค่สัญจรผ่านไปมา ขึ้นรถไฟ ลงรถใต้ดิน ต่อรถเมล์ จึงไม่เคยรู้เลยว่า ชุมชนตรงนี้เคยมีโรงงานกระดาษใช่กี่, มีร้านอิตาลี ขายเหล็กดัดและอุปกรณ์ทำประตูหน้าต่าง ซึ่งในอดีตนำเข้าประตูเหล็กดัดผ่านพ่อค้าอิตาลี, มีตรอกขายอาหารอร่อยๆ แบบเยาวราช แม้ไม่เยอะเท่า ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการเดินเที่ยวชุมชนในมุมที่ไม่เคยเห็น และได้รู้ว่า มีร้านหมูสะเต๊ะอร่อยขนาดนี้เลยหรือ (ร้านชองกี่)

นอกจากเดินย่านเก่า ยังพาไปเช็กอินนิทรรศการศิลปะที่จัดในงานบางกอก ดีไซน์ วีค 2024 เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชุมชน ไม่ว่านิทรรศการรื้อภาพสลักความทรงจำ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน, นิทรรศการอรุณสวัสดิ์หัวลำโพง ที่โรงแรมสเตชัน รวมถึงนิทรรศการภาพถ่ายที่ร้าน Play space cafe ใช่กี่ (ในอดีตเคยเป็นโรงกระดาษใช่กี่)

ในส่วนของงานศิลปะรื้อภาพสลักความทรงจำ ย่านหัวลำโพง ซึ่งจัดแบบได้ใจคนในชุมชน ศิลปินทั้ง 10 คนทำงานศิลปะร่วมกับลูกหลานคนในชุมชนที่เป็นคนเล่าถึงสิ่งที่หายไปและสิ่งที่ยังคงอยู่

ไม่ว่าเรื่องราวถนนสายเหล็ก การทำชิ้นส่วนส่งโรงงาน โรงแรมสเตชันที่เป็นแหล่งแสดงศิลปะ ปัจจุบันยังเปิดให้พักในราคาไม่แพง และเป็นโรงแรมที่มองจากช่องหน้าต่างตรงบันไดทางขึ้นเห็นสถานีหัวลำโพงสวยที่สุด

และโรงแรมศรีหัวลำโพง แม้ไม่เปิดบริการแล้ว แต่เท่าที่ทราบโครงสร้างด้านในมีความน่าสนใจ จึงมีภาพยนตร์หลายเรื่องใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำหนัง แล้วยังมีโรงแรมจิบเซ้ง โรงแรมตุ้นกี่ (เคยเป็นสถานที่ประชุมลับของพรรคคอมมิวนิสต์สยาม) ทั้งสองโรงแรมหายไปแล้ว

รวมถึงเรื่องเล่าผ่านงานศิลปะ ส้มตำตามสั่งบนฟุตบาท...เรื่องราวหญิงขายบริการในคราบแม่ค้าส้มตำหาบเร่ ปูเสื่อขายพร้อมยาดอง เพราะในอดีตตรอกสลักหิน เป็นแหล่งรวมอาชีพหลากหลาย และแหล่งท่องเที่ยวกลางคืน

และยังมีเรื่องเล่าจากร้าน Play Space Cafe ในอดีตเป็นโรงกระดาษใช่กี่แห่งเดียวในย่านหัวลำโพง ซึ่งทายาทรุ่นใหม่ ยังเก็บคำว่า ใช่กี่ ไว้ให้นึกถึง ปัจจุบันเป็นร้านกาแฟ ไอศกรีม ขนมโฮมเมด ที่คนขายตั้งใจทำเต็มที่ จึงเป็นร้านที่คนชอบแวะเวี่ยนมาดื่มกาแฟ และกินไอศกรีม

เหล่านี้คือ ส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าความทรงจำกับอาชีพที่หายไปและชุมชนที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2024 10:45 am    Post subject: Reply with quote

จะอิ่มกี่โมง หัวลำโพงสเตชั่น
พาสำรวจร้านอร่อยทั้งคาวหวานรอบสถานีหัวลำโพง ตั้งแต่ก๋วยเตี๋ยวตรอกโรงหมู อาหารเจหรูยี่ คาเฟ่ร้านใต้บ้าน
https://readthecloud.co/street-food-around-hua-lamphong-station/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2024 10:55 am    Post subject: Reply with quote

ครบรอบ 108 ปี สถานีหัวลำโพง เปิด 10 จุดเช็กอิน เรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญ
ดีไลฟ์
วันอังคาร ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:32 น.


108 ปี “สถานีหัวลำโพง” ชวนประชาชนร่วมเฉลิมฉลองผ่าน 10 จุดเช็กอิน
วันอังคาร ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 11:47 น.

108 ปี ‘หัวลำโพง’ เปิด 10 จุดเช็คอินเรียนรู้ประวัติศาสตร์รถไฟไทยสุดคลาสสิค
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21:25 น.

หัวลำโพง หรือ สถานีกรุงเทพ ปัจจุบันมีอายุครบ 108 ปีแล้ว เราจะพาไปปักหมุด 10 จุดเช็คอิน ห้ามพลาด เรียนรู้ประวัติศาสตร์สุดคลาสสิค ตำนานรถไฟไทย

รฟท. ชวนประชาชนร่วมเฉลิมฉลอง 108 ปี “สถานีรถไฟหัวลำโพง” ผ่าน 10 จุดเช็กอิน ร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญ รากฐานการพัฒนาด้านการขนส่งการเดินทาง ปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการเดินรถ 58 ขบวนต่อวัน..

ครบรอบ 108 ปี “สถานีกรุงเทพ” หรือที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า “หัวลำโพง” ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของประเทศ มีอาคารอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 “สถานีกรุงเทพ” หรือที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า “หัวลำโพง” หากจะกล่าวถึงสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งของกรุงเทพมหานคร คงไม่มีใครไม่รู้จักสถานีรถไฟแห่งนี้ สถานีกรุงเทพ เริ่มสร้างในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2453) การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ปัจจุบันมีอายุครบ 108 ปี

จุดเด่นสถาปัตยกรรมสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
สถานีกรุงเทพ มีลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมสำคัญสองส่วน คือ โถงชานชาลาที่เป็นหลังคาโค้งทำด้วยเหล็ก ด้านหน้ากรุแผ่นกระจกแผ่นเล็ก ๆ เรียงต่อกัน และโถงระเบียงหน้าของสถานีที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก ที่มีปลายสองด้านเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมขนาบปลายของหลังคาเหล็กโค้งชานชาลา ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิศวกรรมที่สำคัญสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 สถานีกรุงเทพเป็นอาคารที่มีช่วงกว้างที่สุดของสยามในยุคนั้น

ด้านหน้าและหลังส่วนโค้งทั้งสองด้านกรุกระจกแผ่นเล็ก ๆ ต่อกันจนเต็ม จึงทำให้เป็นอาคารที่มีผนังเป็นกระจกที่ใหญ่ที่สุดในสยามยุคนั้นเช่นกัน ผนังด้านหน้าติดนาฬิกาเรือนใหญ่บอกเวลา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเที่ยงตรงและรวดเร็วของการคมนาคมที่ทันสมัยที่สุด ป้ายด้านหน้าสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นคำว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบน

โถงระเบียงทางเข้าอาคารโถงระเบียงหน้าออกแบบมาเพื่อสร้างความสวยงาม เป็นอาคารคลาสสิก (Classicism) แบบยุคฟื้นฟูเรอเนสชองส์ (Renaissance Revival) จุดเด่นอยู่ที่ป้อมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ปลายทั้งสองข้างที่ใช้ไวยกรณ์ของประตูชัย (Triumphal arch) มาประยุกต์ออกแบบในแบบประตูชัยโบราณ ด้านบนประตูคานโค้งจะก่อเป็นแผ่นขอบหลังคาขนาดใหญ่ จารึกชื่อผู้สร้างและประดับประดาด้วยประติมากรรม ซึ่งมีรูปใบมะกอกที่มักจะอยู่ในผลงานของมาริโอ ตามาญโญ ศิลปินผู้ออกแบบสถานีกรุงเทพ


ศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
“สถานีกรุงเทพ” เป็นชุมทางการเดินทางของผู้คนมากมาย ถือเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของประเทศ มีอาคารอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และมีจุดที่สำคัญ ได้แก่ อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ซึ่งเป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง มีโรงแรมราชธานี อดีตโรงแรมหรูที่เคยอยู่คู่สถานีหัวลำโพงมานาน

รวมถึงเก้าอี้วงรี ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ เป็นเก้าอี้รูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่ง ตัวหมวกเป็นพนักพิง และสะพานลำเลียงจดหมาย จุดเชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ ลานน้ำพุหัวช้าง ในอดีตเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ

นอกจากนี้บริเวณชานชาลาที่ 4 และ 5 ยังมีรถจักรอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์นำมาจัดแสดงให้ชม จำนวน 7 คัน รวมถึงขบวนรถ SRT ROYAL BLOSSOM รถไฟท่องเที่ยวชุดใหม่ ที่การรถไฟฯทำการปรับปรุงหลังได้รับมอบจากบริษัท Hokkaido Railway Company (JR Hokkaido) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อรองรับการให้บริการในหลายรูปแบบ

สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) กับบทบาทแลนด์มาร์กท่องเที่ยว
สถานีกรุงเทพ ได้เพิ่มบทบาทการเป็นแลนด์มาร์กแหล่งท่องเที่ยว และมีการจัดกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ ควบคู่กับดำรงให้คงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สำคัญของคนไทย จากอดีตไปสู่อนาคต หลังจากที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรม อาทิ Hualamphong in Your Eyes, Unfolding Bangkok และ Clash de Cartier ที่มีการจัดแสดง แสง สี เสียง ดนตรี รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่การรถไฟฯ ได้ร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ

โดยการรถไฟฯ พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเปิดพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและอนุรักษ์สถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ในระดับโลก

สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดให้บริการรถไฟกี่ขบวน ?
“สถานีกรุงเทพ” ปัจจุบันเปิดให้บริการขบวนรถไฟชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถนำเที่ยวทุกสาย จำนวน 58 ขบวน แบ่งออกเป็น สายตะวันออก จำนวน 28 ขบวน สายเหนือ จำนวน 16 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ขบวน สายใต้ จำนวน 4 ขบวน และขบวนรถนำเที่ยว จำนวน 4 ขบวน

ซึ่งทุกวันนี้ยังมีประชาชนมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่วนขบวนรถไฟทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้นั้น ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อลดความแออัดภายในสถานีกรุงเทพ และลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตชั้นในบริเวณจุดตัดทางรถไฟ รวมทั้งลดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม PM 2.5 และเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถไฟให้มีความตรงต่อเวลามากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน “สถานีกรุงเทพ” ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรถไฟฯ ตลอดจนประชาชนชาวไทยไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสถานที่อันทรงคุณค่า ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม โครงสร้าง และความผูกพันกับชาวไทย ซึ่งการรถไฟฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถานีแห่งนี้ และถือเป็นเรื่องสำคัญในการอนุรักษ์สถานีอันทรงคุณค่าแห่งนี้ไว้ให้ดีที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์รากฐานความเป็นมาของการพัฒนาด้านการขนส่ง การเดินทาง ความยิ่งใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยสืบจนปัจจุบัน



เฉลิมฉลอง 108 ปี สถานีกรุงเทพ เรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญ ผ่าน 10 จุดเช็กอิน
1.อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ซึ่งเป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา

2.สะพานลำเลียงจดหมาย ที่เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ ตั้งอยู่บริเวณปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ

3.ลานน้ำพุหัวช้างหน้าสถานี ซึ่งในอดีตเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ

4.ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นคำว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานีจุดเริ่มต้นการเดินทาง

5.สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ ที่มีการออกแบบตัวอาคารเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองส์

6.ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ มีการตกแต่งด้วยกระจกสีอย่างสวยงามที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อีกทั้งยังมีนาฬิกาบอกเวลาซึ่งมีอายุเก่าแก่เทียบเท่ากับตัวอาคารสถานี

7.โถงกลางสถานีกรุงเทพ นับเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าด้านศิลปกรรมร่วมสมัยแบบสไตล์ตะวันตกที่มีความงดงามผ่านการตกแต่งภายในที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะแบบคลาสสิก (Classicism) ด้วยการใช้เสาคู่ลอยตัว ระเบียงไอโอนิก (Ionic) การตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

8.โรงแรมราชธานี ซึ่งในอดีตเคยเป็นโรงแรมหรูที่อยู่คู่สถานีกรุงเทพมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานรถไฟ

9.เก้าอี้วงรี ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ ที่มีรูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่งและตัวหมวกเป็นพนักพิง ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นที่นั่งพักคอยและพักผ่อนแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความสวยงามที่คงไว้ซึ่งความคลาสสิก ควรค่าแก่การอนุรักษ์

10.รถจักรประวัติศาสตร์ที่นำมาจัดแสดงบริเวณชานชาลาที่ 4 และ 5... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/d-life/news-1593685
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 31, 32, 33
Page 33 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©