RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311573
ทั่วไป:13365286
ทั้งหมด:13676859
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 400, 401, 402  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2024 2:47 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร
28 มิ.ย. 67 10:53 น.

ความก้าวหน้าประจำเดือนมิถุนายน 2567
ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2567
สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล
บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นยิเนี่ยริ่ง จำกัด (1964)

https://www.facebook.com/watch?v=3508449566113075


Double-track railway construction project, Nakhon Pathom - Chumphon segment
28 June 2024, 10:53 AM

Progress report for June 2024
As of 13 June 2024
Contract No. 1, Nakhon Pathom - Nong Pla Lai
A.S. Associated Engineering (1964) Co., Ltd.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43123
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2024 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาระบบราง ระยะ 5 ปี 2566-2570 กรมรางเตรียมเดินหน้าตามลำดับ
จัดเรียงความสำคัญ พัฒนาทางคู่ และขยายทางรถไฟสายใหม่ พร้อมพัฒนามาตรฐานทางรถไฟทั่วประเทศ
พอดีผมค้นหาอะไรไปเรื่อยเปื่อย แล้วไปเจอเอกสาร “แผนปฏิบัติการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางราง ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)” เล่มนี้มา
Link ที่มาเอกสาร จาก กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
https://shorturl.at/9FMTW
ซึ่งอย่างที่เราทราบว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องการผลักดันการพัฒนาด้านระบบรางทั่วประเทศ แต่!!! เราไม่สามารถทำทีเดียวพร้อมกันทั้งประเทศได้ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ และความพร้อมในหลายๆด้าน
ทำให้เราต้องจัดลำดับความสำคัญ ตามความเหมาะสม ทั้งในด้านความจำเป็น ปริมาณการใช้งาน และงบประมาณ เพื่อให้ประชาชน และผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด
—————————
รายละเอียดที่น่าสนใจในเอกสาร
- โครงการพัฒนาทางคู่เฟส 2 จัดลำดับความสำคัญคือ
1. ขอนแก่น-หนองคาย เริ่มดำเนินการ 2568
2. ชุมพร-สุราษฏร์ธานี เริ่มดำเนินการ 2568
3. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เริ่มดำเนินการ 2569
4. ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี เริ่มดำเนินการ 2570
5. สุราษฏร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา เริ่มดำเนินการ 2570
- ทางคู่สายใหม่
1. เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มดำเนินการแล้ว
2. บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เริ่มดำเนินการแล้ว
3. ชุมพร-ระนอง (Land Bridge) เริ่มดำเนินการ 2570
4. สุพรรณบุรี-นครหลวง-บ้านภาชี (By-Pass กรุงเทพ) เริ่มดำเนินการ 2570
ซึ่งข้างในยังมีข้อมูลเรื่องกระบวนการ ความคืบหน้า และรายละเอียดของโครงการย่อยๆอีกมาก ลองไปอ่านกันดูได้ครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/800023718939884
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2024 9:58 am    Post subject: Reply with quote

รมช.คค.ลงพื้นที่โคราช ติดตามความก้าวหน้า โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนช่วงมาบกะเบา -ชุมทางถนนจิระ
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, July 01, 2024 21:52

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ และโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ณ สถานีนครราชสีมา เพื่อติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสิ้นเป็นตามแผนที่กำหนด พร้อมทั้งได้ร่วมโดยสารขบวนรถไฟท่องเที่ยว KIHA ที่สถานีรถไฟปากช่อง และเยี่ยมชมรับประทานอาหาร “ของดีวิถีริมราง” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟฯ และผู้บริหารการรถไฟฯ ให้การต้อนรับ

นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ เพราะนอกจากเปรียบเป็นประตูของการเดินทางไปสู่พื้นที่ภาคอีสานแล้ว จังหวัดนครราชสีมายังมีโครงการคมนาคมสำคัญ ที่สามารถเชื่อมโยงไปกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นอีกหลายโครงการ โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ รวมถึงโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) หรือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

ทั้งนี้ ในการลงพื้นที่จึงมีเป้าหมาย เพื่อต้องการติดตามความก้าวหน้า และผลักดันการดำเนินการของโครงการฯในด้านต่างๆ หากพบอุปสรรคใดก็จะเร่งแก้ไข ให้เสร็จสิ้นตามแผนที่กำหนดไว้ โดยในส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี ซึ่งเริ่มต้นก่อสร้างที่สถานีมาบกะเบา อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่านพื้นที่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และมาสิ้นสุดโครงการที่สถานีชุมทางถนนจิระ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วงเงินลงทุน 29,968 ล้านบาท

ปัจจุบัน ภาพรวมด้านงานโยธา สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 96.36 ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 3.64 และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ มีความคืบหน้าร้อยละ95.36 ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 4.64 เนื่องจากอยู่ระหว่างการเวนคืนพื้นที่จากประชาชน ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ช่วงสถานีโคกกรวด – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 16 กิโลเมตร และปรับกรอบวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3 – 5 เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด โดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการรถไฟฯ ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567 จึงมอบหมายให้การรถไฟฯ เร่งรัดดำเนินการในด้านต่างๆ ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน

ส่วนในรายละเอียดของสัญญาที่ 1 ช่วงบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ (Overpass) บ้านท่ามะนาว อำเภอปากช่อง ความยาว 900 เมตร ปัจจุบันในส่วนที่เป็นโครงสร้างยกระดับข้ามทางรถไฟ ความยาว 400 เมตรเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นถนนทางราบ (At-grade) อีกประมาณ 500 เมตรที่อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ ขณะที่การสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) บริเวณถนนเทศบาล 9 อำเภอปากช่อง ความยาว 300 เมตร ก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 77 ของมูลค่างาน ที่เหลืออยู่ระหว่างเวนคืนที่ดินของเอกชน ซึ่งการรถไฟฯ กำลังขออนุมัติงบประมาณเวนคืนเพิ่มเติม 197.38 ล้านบาท หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ความเห็นชอบ ก็จะเร่งดำเนินการได้ต่อในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อให้การดำเนินทั้งโครงการเสร็จตามเป้าหมายภายในเดือนธันวาคม 2568

ส่วนการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างปากอุโมงค์ลำตะคอง (อุโมงค์ 3) ฝั่งมุ่งหน้าสถานีคลองไผ่ ระยะทาง 237 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางนั้น ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเสนองานเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานภายในปี 2567 ต่อมานายสุรพงษ์ ได้นำคณะเดินทางไปที่สถานีนครราชสีมา เพื่อติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ระยะทางรวม 250.77 กิโลเมตร ซึ่งได้กำชับให้การรถไฟฯ เร่งรัดการก่อสร้าง รวมถึงแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันตามแผนงานที่กำหนดไว้ภายในปี 2571

สำหรับความก้าวหน้าโครงการ ล่าสุด ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ภาพรวมได้ดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 33.48 โดยในส่วนแผนก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว 2 สัญญา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญา และยังไม่ลงนาม 2 สัญญา มีรายละเอียด ดังนี้

ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว 2 สัญญา

สัญญาที่ 1 – 1 ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.
สัญญาที่ 2 - 1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11.00 กม.

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญา

1. สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. ผลงาน 0.43 %

2. สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ผลงาน 66.32 %

3. สัญญาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. ผลงาน 51.19 %

4. สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. ผลงาน 75.97 %

5. สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. ผลงาน 7.62 %

6. สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ผลงาน 0.32 %

7. สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ผลงาน 33.46 %

8. สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผลงาน 12.24 %

9. สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. ผลงาน 2.62 %

10. สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. ผลงาน 54.65 %

ส่วนที่ยังไม่ลงนาม 2 สัญญา

1. ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.

2. ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม.

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้รายงานความคืบหน้าแผนการสร้างสถานีรถไฟนครราชสีมาแห่งใหม่ สำหรับรองรับโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมพื้นที่เพื่อการรื้อถอนสถานีรถไฟเดิม เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานีใหม่ โดยรูปแบบจะเป็นลักษณะอาคารขนาดใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งลิฟต์ บันไดเลื่อน บันไดทางขึ้นลง บันไดหนีไฟ ห้องสุขา ห้องพักสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ห้องให้นมบุตร ห้องรับฝากสิ่งของ ห้องจำหน่ายตั๋ว ห้องเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ตลอดจนพื้นที่ใช้สอยสำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ จึงได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งพัฒนาระบบเชื่อมโยงการขนส่ง เพื่อให้นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางรองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว ไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นในจังหวัด รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะการเชื่อมโยงจากโครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง แก่ประชาชนคนไทยได้อีกมาก

ในโอกาสนี้ นายสุรพงษ์ ยังได้นำคณะร่วมโดยสารขบวนรถไฟท่องเที่ยว KIHA ที่สถานีรถไฟปากช่อง และร่วมรับประทานอาหาร ของดีวิถีริมราง เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์เส้นทางรถไฟท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยในเส้นทางของดีวิถีริมรางในจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นแหล่งรวบรวมอาหารที่มีชื่อเสียงมากมายไม่ว่า ข้าวหมูแดงที่สถานีปากช่อง ผัดหมี่และปลาร้าทอดกรอบที่สถานีนครราชสีมา ข้าวโพดหวาน ที่หอมหวาน เปลือกบางที่สถานีปางอโศก น้อยหน่าผลใหญ่ รสหวานทานง่าย ที่สถานีกลางดง เป็นต้น

นายสุรพงษ์ มั่นใจว่า หากการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมาดำเนินการได้แล้วเสร็จ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มขีดความสามารถในระบบโลจิสติกส์ของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ และขับเคลื่อนให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในการเดินทาง การขนส่งสินค้าของประชาชนคนไทยได้ดียิ่งขึ้นต่อไป


Deputy Minister of Transport Visits Korat to Monitor Progress on Urgent Double-Track Railway Project

Source: Manager Online
Date: Monday, July 01, 2024, 21:52


Mr. Surapong Piyachote, the Deputy Minister of Transport, along with his delegation, conducted an official inspection of the urgent double-track railway construction project from Map Kabao to Chira Junction. This visit also covered the collaborative high-speed railway project between the Thai and Chinese governments, connecting Bangkok and Nong Khai (Phase 1: Bangkok to Nakhon Ratchasima). The inspection took place at Nakhon Ratchasima Station to ensure the project is proceeding according to the planned schedule. Mr. Surapong also participated in a KIHA tourist train ride at Pak Chong Station and enjoyed local cuisine to promote domestic tourism. He was welcomed by Mr. Avirut Thongnet, Deputy Governor of the State Railway of Thailand (SRT), and other SRT executives.

Mr. Surapong emphasized that the rail transport development in Nakhon Ratchasima is crucial for enhancing the overall logistics system in Thailand. Nakhon Ratchasima serves as a gateway to the northeastern region and links several key transportation projects. These include the urgent double-track railway from Map Kabao to Chira Junction and the Thai-Chinese high-speed railway project, Phase 1 from Bangkok to Nakhon Ratchasima.

The primary goal of this visit was to monitor progress and address any obstacles to ensure timely project completion. The urgent double-track railway project spans 132 kilometers with 20 stations, starting from Map Kabao Station in Kaeng Khoi District, Saraburi, passing through Muak Lek District in Saraburi, Pak Chong District, Sikhiu District, Sung Noen District, and ending at Chira Junction Station in Mueang District, Nakhon Ratchasima. The project has a budget of 29,968 million baht.

As of now, the civil work for Contract 1 (Map Kabao to Khlong Khananchit) is 96.36% complete, slightly behind schedule by 3.64%. Contract 3 (tunnel construction) is 95.36% complete, delayed by 4.64% due to land expropriation issues. Contract 2 (Khlong Khananchit to Chira Junction) is being revised to include an elevated structure from Khok Kruat Station to Chira Junction over 16 kilometers, and budget adjustments are underway to align with the high-speed rail project from Khok Kruat to Nakhon Ratchasima. These revisions are expected to be presented to the SRT Board by August 2024. The SRT has been instructed to expedite various aspects of the project.

For Contract 1, the 900-meter overpass at Ban Tha Manow in Pak Chong is 400 meters completed, with the remaining 500 meters at-grade section in progress. The underpass at Municipal Road 9 in Pak Chong, 300 meters long, is 77% complete. Further budget approval for an additional 197.38 million baht is being sought for land expropriation, which, if approved by the Cabinet, will allow work to continue in October 2024, aiming for project completion by December 2025.

The connection between Lam Takhong Tunnel (Tunnel 3) and Khlong Phai Station, 237 meters long, is also underway and expected to be completed by 2024. Mr. Surapong then inspected the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 1 from Bangkok to Nakhon Ratchasima, covering 250.77 kilometers. The project, which began in 2017, is currently 33.48% complete, with 14 civil contracts, 2 of which are finished, 10 under construction, and 2 pending signing.

**Completed Contracts:**
1. Contract 1-1: Klang Dong - Pang Asok, 3.5 km.
2. Contract 2-1: Sikhiu - Kudjik, 11 km.

**Ongoing Contracts:**
1. Contract 3-1: Kaeng Khoi - Klang Dong and Pang Asok - Bandai Ma, 30.21 km (0.43% complete).
2. Contract 3-2: Muak Lek and Lam Takhong Tunnels, 12.23 km (66.32% complete).
3. Bandai Ma - Lam Takhong, 26.10 km (51.19% complete).
4. Contract 3-4: Lam Takhong - Sikhiu and Kudjik - Khok Kruat, 37.45 km (75.97% complete).
5. Contract 3-5: Khok Kruat - Nakhon Ratchasima, 12.38 km (7.62% complete).
6. Contract 4-2: Don Mueang - Nava Nakorn, 21.80 km (0.32% complete).
7. Contract 4-3: Nava Nakorn - Ban Pho, 23 km (33.46% complete).
8. Chiang Rak Noi Maintenance Depot (12.24% complete).
9. Contract 4-6: Phra Kaew - Saraburi, 31.60 km (2.62% complete).
10. Contract 4-7: Saraburi - Kaeng Khoi, 12.99 km (54.65% complete).

**Pending Contracts:**
1. Bang Sue - Don Mueang, 15.21 km.
2. Ban Pho - Phra Kaew, 13.30 km.

The SRT also reported progress on the new Nakhon Ratchasima Station to support the double-track and high-speed railway projects. The new station will feature modern facilities, including elevators, escalators, stairs, fire escapes, restrooms, monk rest areas, nursing rooms, luggage storage, ticket offices, railway staff rooms, and ample public space.

Mr. Surapong ordered the SRT to enhance transportation connectivity, positioning Nakhon Ratchasima as a central hub for travelers and tourists to other destinations in and around the province. This includes linking the urgent double-track railway and the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 1, from Bangkok to Nakhon Ratchasima, to various areas, improving travel convenience for the Thai public.

During the visit, Mr. Surapong and his team rode the KIHA tourist train from Pak Chong Station and sampled local cuisine, promoting the "Railside Delicacies" route. This initiative highlights famous dishes like red pork rice at Pak Chong Station, stir-fried noodles and crispy fermented fish at Nakhon Ratchasima Station, sweet corn at Pang Asok Station, and large, sweet custard apples at Klang Dong Station.

Mr. Surapong expressed confidence that the completion of the double-track railway from Map Kabao to Chira Junction and the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 1 from Bangkok to Nakhon Ratchasima, will significantly boost Thailand's logistics capabilities, making it competitive globally. It will also position Thailand as a regional transportation hub, enhancing the quality of life for Thai citizens through improved travel and goods transport.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43123
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2024 10:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รมช.คค.ลงพื้นที่โคราช ติดตามความก้าวหน้า โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนช่วงมาบกะเบา -ชุมทางถนนจิระ
Source - ผู้จัดการออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21:52 น.

"สุรพงษ์" เร่งสปีด "รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ"
ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:50 น.

"สุรพงษ์" สั่งรฟท.เดินหน้า "รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ" หลังติดหล่มเวนคืนที่ดิน เร่งของบเพิ่ม 197 ล้านบาท คาดบอร์ดรฟท.เคาะ ส.ค.นี้ มั่นใจเปิดให้บริการปี 71
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ และโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) เพื่อติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสิ้นเป็นตามแผนที่กำหนด



ทั้งนี้ในการลงพื้นที่จึงมีเป้าหมาย เพื่อต้องการติดตามความก้าวหน้า และผลักดันการดำเนินการของโครงการฯในด้านต่างๆ หากพบอุปสรรคใดก็จะเร่งแก้ไข ให้เสร็จสิ้นตามแผนที่กำหนดไว้ โดยในส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี ตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการปี 71



เริ่มต้นก่อสร้างที่สถานีมาบกะเบา อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่านพื้นที่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และมาสิ้นสุดโครงการที่สถานีชุมทางถนนจิระ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วงเงินลงทุน 29,968 ล้านบาท



ปัจจุบัน ภาพรวมด้านงานโยธา สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 96.36 ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 3.64 และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ มีความคืบหน้าร้อยละ 95.36 ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 4.64 เนื่องจากอยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดินของประชาชน



ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับบริเวณสะพานสีมาธานี ช่วงสถานีโคกกรวด – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 16 กิโลเมตร

\"สุรพงษ์\" เร่งสปีด \"รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ\"

และปรับกรอบวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3 – 5 เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด โดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการรถไฟฯ ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567



จึงมอบหมายให้การรถไฟฯ เร่งรัดดำเนินการในด้านต่างๆ ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน หลังจากนั้นจะเสนอต่อครม.รับทราบภายในเดือนก.ย.-ต.ค.นี้ ก่อนเปิดประมูลหาผู้รับจ้างต่อไป จะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี



ในรายละเอียดของสัญญาที่ 1 ช่วงบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ (Overpass) บ้านท่ามะนาว อำเภอปากช่อง ความยาว 900 เมตร ปัจจุบันในส่วนที่เป็นโครงสร้างยกระดับข้ามทางรถไฟ ความยาว 400 เมตรเสร็จสิ้นแล้ว


ส่วนที่เหลือเป็นถนนทางราบ (At-grade) อีกประมาณ 500 เมตรที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ขณะที่การสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) บริเวณถนนเทศบาล 9 อำเภอปากช่อง ความยาว 300 เมตร ก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 77 ของมูลค่างาน

\"สุรพงษ์\" เร่งสปีด \"รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ\"

นอกจากนี้ที่เหลืออยู่ระหว่างเวนคืนที่ดินของเอกชน ซึ่งการรถไฟฯ กำลังขออนุมัติงบประมาณเวนคืนเพิ่มเติม 197.38 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาพ.ร.ฎเวนคืนที่ดินหมดอายุเมื่อปี 64 ทำให้ไม่สามารถเวียนคืนที่ดินได้



หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ความเห็นชอบ ก็จะเร่งดำเนินการได้ต่อในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อให้การดำเนินทั้งโครงการเสร็จตามเป้าหมายภายในเดือนธันวาคม 2568



นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างปากอุโมงค์ลำตะคอง (อุโมงค์ 3) ฝั่งมุ่งหน้าสถานีคลองไผ่ ระยะทาง 237 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางนั้น ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเสนองานเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานภายในปี 2567

\"สุรพงษ์\" เร่งสปีด \"รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ\"

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ด้านการติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ระยะทางรวม 250.77 กิโลเมตร



"ได้กำชับให้การรถไฟฯ เร่งรัดการก่อสร้าง รวมถึงแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันตามแผนงานที่กำหนดไว้ภายในปี 2571"



สำหรับความก้าวหน้าโครงการ ล่าสุด ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ภาพรวมได้ดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 33.48 โดยในส่วนแผนก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว 2 สัญญา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญา และยังไม่ลงนาม 2 สัญญา มีรายละเอียด ดังนี้


ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 – 1 ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ,สัญญาที่ 2 - 1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11.00 กม.

\"สุรพงษ์\" เร่งสปีด \"รถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ\"

สำหรับสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญา 1. สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. ผลงาน 0.43 % 2. สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ผลงาน 66.32 % 3. สัญญาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. ผลงาน 51.19 %



4. สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. ผลงาน 75.97 % 5. สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. ผลงาน 7.62 % 6. สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ผลงาน 0.32 %



7. สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ผลงาน 33.46 % 8. สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผลงาน 12.24 % 9. สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. ผลงาน 2.62 % 10. สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. ผลงาน 54.65 %



นอกจากนี้ในปัจจุบันสัญญาที่ยังไม่ลงนาม 2 สัญญา ประกอบด้วย 1. ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. 2. ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม.
จบซักที!!! มหากาพย์ สะพานสีมาธานี สรุปไม่ทุบยกระดับยาวจากภูเขาลาด-ชุมทางถนนจิระ
เดินหน้าต่อ ทางคู่สายอีสานต่อได้ซักที!!! หวังว่าคนโคราชจะพอใจ เดินหน้าโครงการได้เต็มที่!!!
วันนี้ รัฐมนตรีช่วยคมนาคม ได้ลงพื้นที่ติดตามงานในพื้นที่ ปากช่อง-โคราง ในโครงการทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ตลอดเส้นทาง ซึังมีจุดติดขัดปัญหาในเส้นทาง โดยเฉพาะ โครงการทางคู่ สายอีสาน สัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ
ซึ่งมีปัญหามาจากการ ร้องเรียนจาก ชาวโคราชให้แก้ปรับแก้แบบ ช่วงผ่านกลางเมือง จากสถานีภูเขาลาด - ชุมทางถนนจิระ
โดยก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้ ทุบสะพานข้ามทางรถไฟ ข้างโรงแรมสีมาธานี แล้วทำทางรถไฟยกระดับ เปิดแยกริมทางรถไฟ (ถนนสืบสิริ) พร้อมทำทางลอดแทนสะพานเดิม แต่ก็มีอีกกลุ่มออกมาคัดค้าน เพราะเกรงปัญหาจราจรช่วงทุบสะพานสีมาธานี
ข้อมูลจาก รมช. คมนาคม
“สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ช่วงสถานีโคกกรวด – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 16 กิโลเมตร และปรับกรอบวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3 – 5 เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด โดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการรถไฟฯ ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567”
—————————
จนสุดท้าย ก็ออกมาเป็นทางเลือกล่าสุดคือ
- ทำทางยกระดับข้ามสะพานสีมาธานี ทั้งทางคู่ และความเร็วสูง ตั้งแต่สถานีภูเขาลาด ผ่านกลางเมืองโคราช ตามเส้นทางเดิม ระยะทาง 16 กิโลเมตร
- มีทางรถไฟระดับดิน (แบบปัจจุบัน) เพื่อให้รถไฟเข้าโรงซ่อมรถไฟ (คาดการณ์)
- ไม่ทุบสะพานสีมาธานี
ซึ่งทางเลือกนี้ ก็ลงตัวทุกฝ่ายทั้งคนที่กลัวทางรถไฟไปผ่ากลางเมืองทำให้เป็นเมืองอกแตก และ รถไฟที่ยังวิ่งในเส้ทางเดิมได้
โดยสถานีโคราชใหม่ (ความเร็วสูง+ทางคู่) จะแบ่งเป็น 3 ชั้น
- ชั้นระดับดิน เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ซึ่งด้านหลังสถานีก็ยังมีทางรถไฟเดิม ที่เข้าโรงซ่อมรถไฟ
- ชั้น 2 เป็นชานชาลารถไฟทางคู่ สูงจากพื้น 11 เมตร มี 4 ชานชาลา + 2 ทางผ่าน
- ชั้น 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง สูงจากพื้น 24 เมตร มี 4 ชานชาลา + 2 ทางผ่าน
แบบก่อสร้าง สถานีนครราชสีมา (โคราช)
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/629142004190949/
ขั้นตอนต่อไปถ้าไม่ติดขั้นปัญหา
- จะเสนอขออนุมัติ ภายใน 2567
- ประกวดราคา ต้นปี 2568
- เริ่มก่อสร้างกลางปี 2568 (ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน)
- คาดว่าจะเสร็จ กลางปี 2570
—————————
หวังว่า จะไม่มีใครมาตั้งม๊อบค้านการก่อสร้าง ให้ทุบสะพานอีกนะครับ!!!
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/805265698415686
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2024 7:20 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ เฟสแรก 5 เส้นทาง ทยอยเสร็จเปิดใช้แล้วทำไมยังไม่มีรถวิ่งเพิ่ม
MGR Online VDO
Jul 2, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=52UF067yZkQ

Double-track railway, first phase with 5 routes: Why are there no additional trains running despite gradual completion and opening?

The video talks about the development of double track railway in Thailand, specifically the phase 1 project. The project was initiated 7 years ago and aimed to build 7 railway routes with a total distance of 993 km. The project is funded by the government with a budget of more than 12,000 million baht.

The video explains that the construction of several routes has been completed. The completed routes include Nakhon Pathom-Chumphon route, which is 420 km long. However, although some routes are finished, there are still not many trains running on the new tracks.

The video mentions two main reasons behind the lack of trains on the new tracks. The first reason is the delay of the signalling system installation. Even though the tracks are built, trains cannot run safely without the signalling system. The second reason is the shortage of trains. The video says that there are not enough trains available to run on the new tracks. Although there are plans to acquire new trains, it seems the plan is not finalized yet.


Last edited by Mongwin on 03/07/2024 7:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43123
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2024 2:39 pm    Post subject: Reply with quote

สะพานกลับรถที่แคบที่สุดในประเทศไทยอยู่ราชบุรี ทำชาวบ้านเดือดร้อนหนัก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:59 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:09 น.



ราชบุรี - สะพานกลับรถที่แคบที่สุดในประเทศไทย ทำชาวบ้านเดือดร้อนหนัก จึงออกมารวมตัวกันที่สะพานข้ามทางรถไฟ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาแก้ไข เพราะสะพานลอยที่ออกแบบมารถไม่สามารถสวนทางกันได้

วันนี้ (2 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสะพานข้ามทางรถไฟ หมู่ 1-หมู่ 5 ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจะทำการปิดเส้นทางที่เป็นทางสัญจรหลักของรถจักยานยนต์ที่ประชาชนชาวปากท่อ และอำเภอใกล้เคียงใช้สัญจรเป็นทางเชื่อมที่สามารถไปตลาด ไปส่งนักเรียน ไปธนาคาร ไปโรงพยาบาล และโรงพัก ซึ่งจะทำการปิดเส้นทางดังกล่าวในวันที่ 10 ก.ค. และให้ไปใช้สะพานลอยที่เพิ่งสร้างเสร็จ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ไม่ยอม

เนื่องจากสะพานลอยที่สร้างออกแบบมา รถไม่สามารถสวนทางกันได้ ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันมาที่สะพานข้ามทางรถไฟดังกล่าว พร้อมทั้งได้มีการทดลองขับรถขึ้นให้ดูก็เป็นไปตามที่ชาวบ้านได้ร้องเรียนมาเพราะสะพานฝั่งขาขึ้นและฝั่งขาลงไม่สามารถขับสวนกันได้ มีขนาดความกว้างที่แคบมาก และรถจักรยานยนต์ที่ขับขึ้นสะพาน พอถึงทางเลี้ยวหักศอกกลางสะพานไม่สามารถตีวงเลี้ยวได้ เพราะทำทางแคบเกินไป บ้างคันถึงกับต้องจอดกลางสะพานตรงหัวโค้งเพื่อที่จะยกรถเลี้ยวและขับขึ้นสะพานอย่างทุลักทุเล และเป็นทั้งสองฝั่ง ต้องยกรถเลี้ยวทั้งขาขึ้นและขาลงแทบจะทุกคัน



ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายจีรวัฒน์ ธนวัฒน์ ชาวบ้านที่ใช้ถนนเส้นนี้เป็นประจำทุกวัน กล่าวว่า สะพานนี้สร้างไม่ได้เรื่อง ลองใช้ดูแล้วก่อนที่เขาจะปิดในวันที่ 10 ก.ค.นี้ หลังจากใช้คือไม่สามารถเลี้ยวกลับรถช่วงกลางสะพานได้ เหมาะสำหรับให้คนเดินข้ามมากกว่า และรถไม่สามารถสวนกันได้ ถ้าฝั่งนี้จะขึ้น อีกฝั่งที่ขึ้นมาต้องจอดรอด้านบนสะพานให้รถฝั่งนี้ขึ้นไปถึง และรถอีกฝั่งถึงจะลงมาได้ ซึ่งมองถึงความเป็นจริงแล้ว ช่วงเวลาเร่งรีบตอนเช้าและหลังเลิกเรียน รถจะเยอะมาก ต้องมาจอดรอที่บนสะพาน เพราะรถสวนกันไม่ได้และต้องนั่งลุ้นอีกว่าคันนี้จะเลี้ยวพ้นไหม ต้องลงไปช่วยยกไหม ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้แน่ๆ ที่จะมาใช้สะพานที่สร้างแบบแคบขนาดนี้ น่าจะเป็นที่แรกในโลกที่แคบขนาดนี้อาจจะเป็นไปได้ ไม่รู้ว่าออกแบบกันมายังไง "คนทำไม่ได้ใช้ ส่วนคนใช้ไม่ได้ทำ"

ด้านนางใจ กล่าวว่า อยากให้แก้ไข้ให้สะพานกว้างกว่านี้ ให้สามารถเลี้ยวได้และวิ่งสวนกันได้สะดวก แยกเลนไปเลยทางขึ้นและลงให้ชัดเจนอยากให้แก้ไขโดยเร็ว เพราะจุดนี้เป็นจุดใหญ่ เป็นทางผ่านของทั้งอำเภอ และคนพื้นที่ข้างเคียงใช้เส้นนี้ส่วนใหญ่ ถ้าปิดทางข้ามด้านล่างให้มาใช้สะพานนี้โดยที่ไม่ได้แก้ไข ชาวบ้านเดือดร้อนกันมากแน่นอน วันหนึ่งวิ่งผ่านเส้นนี้กันนับพันคัน และสะพานแคบมาก เลี้ยวก็ลำบากมาก และเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสะพานข้ามทางรถไฟที่เขาสร้างให้รถจักยานยนต์ใช้ข้างทางรถไฟทางคู่ ที่อื่นๆ เขาสร้างกันไม่แคบขนาดนี้ แต่ที่นี่แคบมากเกินไป จึงอยากให้มาแก้ไข้สะพานให้กลับรถได้และมีความปลอดภัยมากกว่านี้

ซึ่งชาวบ้านทุกคนที่ได้ใช้ถนนเส้นนี้อยู่ประจำบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าขอวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสะพานนี้ ให้มาตรวจสอบแก้ไข้ให้สามารถใช้งานได้จริง และปลอดภัยโดยเร็วที่สุดเพราะชาวบ้านที่สัญจรถนนเส้นนี้ ถ้าปิดขึ้นมาชาวบ้านทุกคนเดือดร้อนกันแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2024 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สะพานกลับรถที่แคบที่สุดในประเทศไทยอยู่ราชบุรี ทำชาวบ้านเดือดร้อนหนัก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:59 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:09 น.

ชาวบ้านคูบัวร้องผู้ว่าฯ จี้การรถไฟ หวั่นโครงการสร้าง รถไฟทางคู่ ซ้ำรอย ที่ ต. ปากท่อ
ผู้จัดการออนไลน์ 3 ก.ค. 2567 19:58

ราชบุรี - ชาวบ้านคูบัว ราชบุรี ร้องผู้ว่าฯ ทวงสัญญาการรถไฟ ปัญหารูปแบบการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ส่งกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน หวั่นสร้างสะพานแคบใช้งานไม่ได้ ซ้ำรอย ที่ ต. ปากท่อ

วันนี้ (3 ก.ค.) ที่ อาคารราชบุรีเกมส์ ศาลากลาง จ.ราชบุรี นายประยง พิมเพราะ นายก อบต.คูบัว พร้อม นายอดุลย์ พิมเพราะ กำนันตำบลคูบัว ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน ต.คูบัว กว่า 100 คน ได้เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือเกี่ยวกับปัญหาจุดตัดทางข้ามที่ทางการรถไฟไม่ยอมดำเนินการตามที่ตกลงไว้ และได้มีมติปัญหารูปแบบการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ที่กระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม

ที่ผ่านมามีการประชุมหลายครั้ง เพื่อหาทางออกร่วมกันในการปรับรูปแบบ โดยเสนอให้มีการก่อสร้างทางลอดให้ประชาชนในพื้นที่ได้สัญจรไป-มา และนำพืชผลทางการเกษตรออกไปสู่ตลาดเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างไร และในพื้นที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรีได้มีการก่อสร้างสะพาน เพื่อรถจักรยานยนต์ข้าม และแต่มีก่อสร้างออกแบบที่แคบมากไม่สามารถใช้งานได้จริง หวั่นว่าจะเกิดในพื้นที่ ต.บัว ด้วย ประชาชนจึงได้รวมตัวกับเพื่อให้ นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รับเรื่องไปประสาน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านพร้อมทั้งนางสาวกุลวลี นพอมรบดี สส.ราชบุรี เขต 1 ได้นำเรื่องและปัญหาไปดำเนินการ ในวิถีทางรัฐสภาและประสานทางการรถไฟให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน

นายประยง กล่าวอีกว่า ตามที่ ได้มีการจัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ ในเขตพื้นที่ตำบลคูบัว ซึ่งทาง อบต.คูบัว ได้มีการสอบถาม ขอทราบความก้าวหน้าการก่อสร้างจุดตัดข้ามทางรถไฟ กม.105+495 บริเวณหัวชานชาลาสถานีรถไฟคูบัว ห่างจากจุดเดิม 70เมตร ไปยังผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง

เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2566 และ เดือนมิถุนายน 2567 แต่ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะดำเนินการก่อสร้างหรือไม่ ทำให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางดังกล่าว เกิดความกังวลว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย จะดำเนินการปิดเส้นทางดังกล่าว ทำให้เกิดเดือดร้อนในการสัญจร วันนี้จึงได้นำหนังสือมายื่นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เพื่อขอความอนุเคราะห์พิจารณาติดตามการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย


Ku Bua Villagers Appeal to Governor, Urge State Railway to Address Concerns Over Double-Track Railway Project, Fearing Repeat of Pak Tho Subdistrict Issues

Manager Online, July 3, 2024, 19:58

Ratchaburi - Villagers from Ku Bua, Ratchaburi, have petitioned the governor to hold the State Railway of Thailand accountable for promises made. They express concerns about the double-track railway construction's impact on their traditional way of life and fear the construction of narrow, unusable bridges similar to those in Pak Tho Subdistrict.

Today (July 3), at the Ratchaburi Games Building, Provincial Hall, Mr. Prayong Phimphroh, Chief Executive of Ku Bua Subdistrict Administrative Organization, along with Mr. Adul Phimphroh, Ku Bua Subdistrict Headman, community leaders, village headmen, and over 100 villagers from Ku Bua Subdistrict, came to submit a letter regarding the railway crossing issue. They claim the State Railway has not followed through on their agreement and criticize the double-track railway construction plan for its impact on traditional lifestyles.

Several meetings have been held to find a solution, with proposals for underpasses to allow residents to commute and transport agricultural products to market. Many residents are affected, but no action has been taken. In Pak Tho District, Ratchaburi, a narrow bridge for motorcycles was constructed but is practically unusable. Villagers fear a similar situation in Ku Bua Subdistrict.

The residents gathered to present their case to Mr. Piyapong Choowong, Deputy Governor of Ratchaburi, requesting coordination to resolve the villagers' issues. Ms. Kulwalee Nop-amornbodi, Member of Parliament for Ratchaburi District 1, has also taken up the matter to address through parliamentary channels and urge the State Railway to take urgent action.

Mr. Prayong further stated that following meetings to address issues arising from the double-track railway construction in Ku Bua Subdistrict, the Subdistrict Administrative Organization has inquired about the progress of the railway crossing construction at km 105+495, near Ku Bua railway station platform, 70 meters from the original point. They have sent two inquiries to the Governor of the State Railway of Thailand in November 2023 and June 2024 but have received no response about whether the construction will proceed. This has caused concern among villagers who use this route, worried that the State Railway might close it, causing travel difficulties. Today, they submitted a letter to the Ratchaburi Governor requesting assistance in following up on this issue with the State Railway of Thailand.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2024 7:21 am    Post subject: Reply with quote

รัฐถมกว่าแสนล้านผุด”รถไฟทางคู่”เฟสแรก 7 เส้นทาง จ่อลงอีก 2 แสนล้านลุยเฟส 2 เพิ่มรางแต่จัดหารถยังนิ่ง?
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, July 04, 2024 06:52

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว สมัยรัฐบาลคสช.ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาโปรเจ็กต์ รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน หรือรถไฟทางคู่เฟส 1 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร (กม.) อย่างจริงจัง โดยสามารถเปิดประมูลและผลักดันให้ลงนามสัญญากับผู้รับเหมา ใช้เงินลงทุนก่อสร้างและลงทุนงานระบบระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม จำนวน 124,073.74 ล้านบาท และมีการคาดหมายว่าจะก่อสร้างเสร็จ และเปิดให้บริการได้ภายใน 5 ปี

ตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการประสบปัญหามากมายทำให้เกิดความล่าช้า ถึงปัจจุบันการก่อสร้างทยอยแล้วเสร็จไปแล้ว 5 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. สร้างเสร็จเมื่อเดือน มีนาคม 2561 ตามด้วย ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. ก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือน สิงหาคม 2562 และ ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2566

และล่าสุดเส้นทางช่วงนครปฐม - หัวหิน ระยะทาง 169 กม. และช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ระยะทาง 167 กม. งานก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดเดินรถไปเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ทำให้รถไฟทางคู่ในเส้นทางสายใต้ตั้งแต่ นครปฐม-หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระยะทางรวมทั้งสิ้น 420 กม. เปิดวิ่งเป็นทางคู่ได้ตลอดสายยาวที่สุดเป็นเส้นทางแรก


ส่วน สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง มาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงินลงทุน 29,968 ล้านบาท มีจำนวน 20 สถานี เริ่มต้นก่อสร้างที่สถานีมาบกะเบา อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่านพื้นที่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน สิ้นสุดโครงการที่สถานีชุมทางถนนจิระ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

แบ่งงานก่อสร้าง 3 สัญญา โดย สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม. จำนวน 7 สถานี มูลค่า 7,560 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้าง ก่อสร้างคืบหน้า 96.36 % ล่าช้ากว่าแผนงาน 3.64 %

งานสัญญาที่ 1 นั้นติดปัญหาช่วงบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ (Overpass) บ้านท่ามะนาว อำเภอปากช่อง ความยาว 900 เมตร ปัจจุบันในส่วนที่เป็นโครงสร้างยกระดับข้ามทางรถไฟ ความยาว 400 เมตร แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือเป็นถนนทางราบ (At-grade) อีกประมาณ 500 เมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ การก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) บริเวณถนนเทศบาล 9 อำเภอปากช่อง ความยาว 300 เมตร ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 77 ของมูลค่างาน ที่เหลืออยู่ระหว่างเวนคืนที่ดินของเอกชน ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณเวนคืนเพิ่มเติมอีก 197.38 ล้านบาท เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ความเห็นชอบ รฟท. จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนภายในเดือนธันวาคม 2568

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ ระยะทางรวม 8 กม. โดยมีจำนวน 3 อุโมงค์ มูลค่า 9,290 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที หรือ ITD-RT (มีบมจ. อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ ร่วมกับบจ. ไรท์ทันเน็ลลิ่ง) เป็นผู้รับจ้าง ก่อสร้างคืบหน้า 95.36 % ล่าช้ากว่าแผนงาน 4.64 % เนื่องจากอยู่ระหว่างการเวนคืนพื้นที่จากประชาชน

ในส่วนการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างปากอุโมงค์ลำตะคอง (อุโมงค์ 3) ฝั่งมุ่งหน้าสถานีคลองไผ่ ระยะทาง 237 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางนั้น ขณะนี้ รฟท. อยู่ระหว่างเสนองานเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานภายในปี 2567


@เร่งเคลียร์แบบ ยกข้ามสะพานสีมาธานี ลุ้นประมูลสัญญา 2 ต้นปี 68

สำหรับสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม. จำนวน 12 สถานี มี CY 1 แห่ง

มูลค่า 7,061 ล้านบาท อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ช่วงสถานีโคกกรวด – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 16 กม. และปรับกรอบวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3 – 5 เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด โดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567 คาดเปิดประมูลก่อสร้าง และแล้วเสร็จในปี 2570

@สายเหนือ”ลพบุรี – ปากน้ำโพ”เสร็จในปีนี้

ส่วน สายเหนือ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงินโครงการ 18,699 ล้านบาท แบ่งก่อสร้าง 2 สัญญา ภาพรวมงานโยธามีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2567 นี้ ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ – โคกกระเทียม ระยะทาง 32 กม. มูลค่าโครงการ 10,050 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า UN-SH (ประกอบด้วย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ร่วมกับ บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด) เป็นผู้รับจ้าง งานคืบหน้า 92.82% ล่าช้ากว่าแผน 6.32 %

และสัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค - ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. มูลค่าโครงการ 8,649 ล้านบาท มีบมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้าง งานคืบหน้า 85.12 % ล่าช้ากว่าแผน 13.37 %

@ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ช้ากว่าแผนเกือบ50%

สำหรับ งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม สายเหนือ ระยะทางรวม 148 กม. วงเงิน 2,988.57 ล้านบาท คืบหน้า 58.350 % ล่าช้ากว่าแผน 41.060%

งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม สายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางรวม 132 กม. วงเงิน 2,549.89 ล้านบาท คืบหน้า 35.080% ล่าช้ากว่าแผน 64.920%

งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม สายใต้ ระยะทางรวม 420 กม. คืบหน้า 58.489% ล่าช้ากว่าแผน 41.489%

เมื่อเส้นทางก่อสร้างเสร็จแล้ว แม้ว่าการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจะยังไม่เสร็จ รถไฟก็สามารถใช้ทางวิ่ง 2 ฝั่งได้ก่อน อย่างน้อยขบวนรถไม่ต้องเสียเวลาในการรอหลีก ผู้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น อีกทั้ง รถไฟทางคู่ยังสามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลทุ่มลงทุนกว่าแสนล้านบาท เพราะต้องการให้รถไฟเป็นแกนหลักของระบบโลจิสติกส์ประเทศไทย ที่มีต้นทุนต่ำและลดมลพิษทางอากาศ


@ทางคู่ 2 สายใหม่ 678 กม. ยังสร้างได้ตามแผน

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางที่อยู่ระหว่างก่อสร้างคือ รถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สายทางได้แก่ สายเหนือ เด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท เริ่มงานเมื่อ 15 ก.พ. 2565 (ระยะเวลา 71 เดือน) ภาพรวมคืบหน้า 11.288 % เร็วกว่าแผน 0.145 % มี 3 สัญญา ดังนี้

สัญญา 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ผลงาน 10.202 % เร็วกว่าแผน 4.713 % คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2571

สัญญา 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ผลงาน 13.228 % ล่าช้า 0.20 % คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2571

สัญญา 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ผลงาน 10.085 % ล่าช้า 5.633 % คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2571

สายอีสาน บ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท ภาพรวมคืบหน้า 3.652% ล่าช้า 12.045% เริ่มงานเมื่อ 16 มี.ค. 2565 (ระยะเวลา 48 เดือน) มี 2 สัญญา ดังนี้

สัญญา 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ผลงาน 0.21% ล่าช้า 0.12% คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570

สัญญา 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ผลงาน 0.01% ล่าช้า 0.08% คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570

@“สุรพงษ์”เผยนโยบาย มุ่งรถไฟไฮบริด เข้ากทม.ปรับใช้ EV

“สุรพงษ์ ปิยะโชติ”รมช.คมนาคมกล่าวว่า การจัดหารถจักรและรถโดยสารนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกเทคโนโลยีพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพ และปริมณฑลที่ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเกือบสมบูรณ์ ซึ่งนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ส่วนรถเมล์ จะให้เปลี่ยนไปใช้ EV ทั้งหมด ตามด้วยรถแท็กซี่ และรถสาธารณะ บขส. ทั้งหมด วิ่งเข้ากรุงเทพ จะเป็น EV ด้งนั้น รถไฟเมื่อก็เช่นกัน เพื่อมุ่งสู่ green เต็มรูปแบบ เป้าหมายคือปี 2572 จะเหลือเพียงรถสวนบุคคล ที่ขึ้นกับนโยบายที่สนับสนุน เช่น มาตรการด้านภาษี

“เป้าหมายของรถไฟ จะมุ่งสู่ระบบไฮบริด วิ่งนอกเมืองใช้น้ำมันพอเข้ารัศมีไม่เกิน 200 กม.รอบกทม. ก็ปรับเป็น EV ตอนนี้กำลังดูว่าจะใช้พลังงานแบตเตอรี่ หรือระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว พิจารณาที่สะดวก ประหยัด คุ้มค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

รมช.คมนาคมย้ำว่า การจัดหารถจักรล้อเลื่อน ต่างๆ ไม่ได้ล่าช้า เพราะซื้อเข้ามาวันนี้ก็ไม่ได้วิ่งเพราะทางคู่ยังไม่เสร็จทั้งหมด เพราะหากตัดสินใจวันนี้สั่งเข้ามาอีก 3 ปี พอดีกับรางที่จะเสร็จทั้งหมดครบสมบูรณ์ ตนเห็นว่า ยิ่งช้าจะดีเพราะทุกวันนี้เทคโนโนโลยีเปลี่ยนไว ยืนยันว่า ไม่ล่าช้า รถจะเข้ามาพอดีกับที่ทางคู่เฟส1 เสร็จสมบูรณ์ทุกเส้นทาง เอามาก่อนซื้อรถมาจอดเสียเงินเปล่า


@ดัน เฟส2 อีก 7 เส้นทาง ลงทุน 2.75 แสนล้านบาท ชงครม.ปีนี้ หลังเริ่มสร้างปี 68

“สุรพงษ์ ปิยะโชติ”รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะผลักดันรถไฟทางคู่เฟส2 ที่เหลืออีก 6 เส้นทาง เสนอครม.เพื่อขออนุมัติ ภายในปีนี้ทั้งหมด

สำหรับรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กม. วงเงินลงทุน 275,303.78 ล้านบาท สถานะปัจจุบัน บอร์ดรฟท.อนุมัติทั้งหมดแล้ว โดย ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท อยู่ระหว่างเปิดประกวดราคา ราคากลาง 28,719 ล้านบาท กำหนดยื่นซองข้อเสนอ 20 ส.ค.67 คาดว่าจะสรุปได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือนตุลาคม 2567 ลงนามสัญญาปลายปี 2567 เริ่มก่อสร้างต้นปี 2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน แล้วเสร็จเปิดบริการ ปลายปี 2570

ส่วนอีก 6 เส้นทางได้แก่ 1.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท 3. ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 280.5 กม. วงเงิน 62,859.74 ล้านบาท 4. ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท 5. ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 24,29.36 ล้านบาท 6. ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท 7. ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 6,661.37 ล้านบาท

ปัจจุบันโครงข่ายทางรถไฟมีระยะทาง 4,044 กม. ครอบคลุม 47 จังหวัด เร็วนี้จะมี ทางคู่ เฟส 1 ระยะทาง 993 กม. และ เฟส 2 จำนวน 7 เส้นทาง อีกว่า 1,479 กม. รวมไปถึง สายใหม่ 2 สายทางได้แก่ สายเหนือ เด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ และบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทางรวม 678 กม. ทำให้โครงข่ายรถไฟเพิ่มเป็น 7,193 กม.


@หัวจักร-ล้อเลื่อนไม่พอ แผนยังไม่ชัดเจน ทางคู่เสร็จ…กลายเป็นทางร้าง

แต่เมื่อสำรวจประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเดินรถกับจำนวนรถที่มีในปัจจุบัน พบว่า รถไฟมีหัวรถจักร ประมาณ 269 คัน ส่วนใหญ่มีอายุใช้งานกว่า 25-50 ปี ส่วนรถใหม่ อย่างรถจักรดีเซลไฟฟ้า (CSR) หรือแพนด้าจำนวน 20 คัน อายุไม่ถึง 10 ปี และ รถจักร QSY (อุลตร้าแมน) จำนวน 50 คันที่เพิ่งซื้อและรับมอบเข้ามาใช้งานได้แค่ 2 ปี พบว่าตอนนี้เสีย และต้องจอดรอซ่อม มีเหลือใช้งานไม่ถึงครึ่ง ส่วนรถโดยสารมีประมาณ 1,500 คัน ก็มีสภาพเก่า ต้องซ่อมและดัดแปลง ติดแอร์เปลี่ยนเบาะกันตลอดเวลา ขณะที่แผนจัดหารถใหม่ยังไม่ชัดเจน เพราะฝ่ายนโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จึงไม่สอดคล้องกับทางคู่ที่ทยอยสร้างเสร็จ งานนี้ รัฐทุ่มลงทุนไปกว่าแสนล้านบาท วางแผนปั้นฝัน แต่ยังหาความคุ้มค่าไม่เจอ


Thailand's Double-Track Railway Expansion: Progress, Challenges, and Future Plans

Thailand has invested over 100 billion baht in an ambitious double-track railway project, aiming to modernize its rail network and boost transportation efficiency. The initial phase, focusing on seven routes spanning 993 kilometers, was launched seven years ago under the NCPO government.

Progress and Challenges

Despite delays due to various issues, five routes have been completed, including sections connecting Chachoengsao to Khlong Sip Kao and Kaeng Khoi, Jira to Khon Kaen, Hua Hin to Prachuap Khiri Khan, and most recently, Nakhon Pathom to Chumphon. This has opened a continuous 420-kilometer double-track route in the south.

The Northeastern line, from Map Kabao to Chira Road Junction, faces ongoing construction challenges, particularly with land expropriation and bridge and tunnel construction. The signaling and telecommunication systems for all lines are also behind schedule.

The Northern line, connecting Lopburi to Pak Nam Pho, is expected to be completed in October 2024. However, progress has been slower than planned, and signaling systems remain incomplete.

Phase 2 and New Lines

Despite these setbacks, the government is forging ahead with Phase 2, which includes seven new routes totaling 1,479 kilometers and an investment of 275 billion baht. Bidding for the Khon Kaen - Nong Khai section is underway, with construction expected to start in early 2025.

In addition, two new lines are under construction: the Den Chai - Chiang Rai - Chiang Khong line in the north and the Ban Phai - Maha Sarakham - Roi Et - Mukdahan - Nakhon Phanom line in the northeast.

Rolling Stock and Environmental Concerns

The existing fleet of locomotives and carriages is aging and insufficient to meet the demands of the expanding rail network. While new procurements are planned, the policy direction has been shifting, causing delays and uncertainty. The government is considering hybrid and electric vehicles to align with Bangkok's growing mass transit system and reduce pollution.

Looking Ahead

The completion of these projects will significantly expand Thailand's railway network to over 7,193 kilometers, covering 47 provinces. The government aims to make trains the backbone of Thailand's logistics system, offering a cost-effective and environmentally friendly transportation alternative.

However, challenges remain in ensuring timely project completion, acquiring sufficient rolling stock, and coordinating policies for a seamless transition to a modern and efficient railway system.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45762
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2024 11:31 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สะพานกลับรถที่แคบที่สุดในประเทศไทยอยู่ราชบุรี ทำชาวบ้านเดือดร้อนหนัก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:59 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:09 น.



https://www.youtube.com/watch?v=Br6PBaZMsTI


บริษัทก่อสร้างยอมขยายทางโค้งสะพานข้ามทางรถไฟให้เลี้ยวได้ หลังชาวบ้านเดือดร้อนหนัก
ผู้จัดการออนไลน์ 4 ก.ค. 2567 05:34

ราชบุรี - บริษัทก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รถจยย.ยังวิ่งสวนทางกันไม่ได้ ยอมขยายทางโค้งบนสะพานเพื่อให้รถเลี้ยวได้ หลังชาวบ้านเดือนร้อนหนัก

จากกรณีที่การรถไฟได้นำป้ายมาปิดที่ทางข้ามทางรถไฟหมู่ 5 ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ว่าจะทำการปิดเส้นทางข้ามดังกล่าวในวันที่ 10 ก.ค.2567 เป็นต้นไป และให้ชาวบ้านไปใช้สะพานลอยข้ามทางรถไฟแทน ซึ่งสะพานลอยดังกล่าวนั้นไม่ตอบโจทย์ชาวบ้านที่ขับรถจักรยานยนต์ข้ามทางรถไฟ

เนื่องจากช่วงทางโค้งบนสะพานนั้นแคบ ทำให้รถจักรยานยนต์ไม่สามารถเลี้ยวรถลงมา ต้องขยับรถหลายรอบ และต้องยกท้ายรถเพื่อให้สามารถที่จะเลี้ยวลงมาได้ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงได้ร้องขอให้การรถไฟ ทำการขยายช่วงทางโค้งบนสะพานลอยเพื่อให้รถจักรยานยนต์เลี้ยวได้ หรือทำอุโมงค์ลอดทางรถไฟ และในช่วงที่มีการปรับปรุงแก้ไขขออย่าปิดเส้นทางข้ามด้านล่าง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกของประชาชนโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนคือเช้ากับเย็นที่จะมีประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจรเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด วันนี้ (3 ก.ค.) นายกนิษฐ์ ศิลา ปลัดศูนย์ดำรงธรรมอำเภอปากท่อ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานลอยดังกล่าว พร้อมนายอิทธิกร เล่นวารี นายกเทศมนตรีตำบลปากท่อ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อร่วมปรึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านในจุดนี้ และได้มีชาวบ้านที่เดือดร้อนเข้าร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย ซึ่งผลการหารือได้ข้อสรุปผลดังนี้ คือ

1.ทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างสะพานนี้จะทำการปรับปรุงแก้ไขช่วงทางโค้งบนสะพานให้กว้างขึ้นกว่าเดิม และรถจักยานยนต์สามารถตีวงเลี้ยวได้ 2.กรณีบริษัทรับเหมาก่อสร้างสะพานจะขอปิดทางข้ามชั่วคราว เพื่อก่อสร้างวางระบบรางรถไฟ ประมาณ 3-4 วัน ซึ่งจุดดังกล่าวเป็นจุดหลักข้ามทางรถไฟที่ประชาชนใช้อยู่ บริษัทจึงจะขอปิดชั่วคราว เมื่อได้ดำเนินการปรับปรุงจุดทางเลี้ยวบนสะพานเสร็จเรียบร้อยแล้ว 3.กรณีที่ประชาชนชาวตลาดปากท่อ มีความต้องการ จุดข้ามทางรถไฟลักษณะเดิม คือไม้กั้นทางข้ามรถไฟแบบถาวร ให้เสนอความต้องการผ่านมาที่เทศบาลตำบลปากท่อ เสนออำเภอปากท่อ เพื่ออำเภอจะได้เสนอจังหวัดราชบุรี ประสานการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไป

ด้านนายอิทธิกร เล่นวารี นายกเทศมนตรีตำบลปากท่อ เผยว่า เทศบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ กับปัญหาดังกล่าว ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือและพร้อมช่วยแก้ไขปัญหาดำเนินการประสานหน่วยงานต่างๆ ให้เร่งแก้ไขสะพานดังกล่าวโดยเร็ว และจะได้นำเรื่องที่ประชาชนเสนอขอไม้กั้นถาวร นำเรื่องส่งอำเภอและให้จังหวัดรายงานเรื่องให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทราบถึงความเดือนร้อนของชาวบ้าน หากการทำเรื่องขอไม้กั้นทางข้ามทางรถไฟแบบถาวร แล้วติดปัญหาเรื่องการจัดการงบประมาณไม่ได้ แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถทำเรื่องอนุญาตให้สร้างได้แบบถูกต้อง ทางเทศบาลปากท่อพร้อมยินดีใช้งบประมาณของตัวเองทำไม้กั้นทางข้ามทางรถไฟแบบถาวรให้ เพื่อประชาชนชาวปากท่อที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับความสะดวกในการเดินทาง

ด้านตัวแทนบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ชี้แจงว่า ทางบริษัทไม่ได้มีอำนาจในการปิดทางข้ามรถไฟดังกล่าว การจะปิดหรือยกเลิกการใช้ทางข้ามทางรถไฟได้นั้นต้องเป็นอำนาจของการรถไฟแห่งประเทศไทยเท่านั้น ชาวบ้านจึงขอความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทยขอให้ทำไม้กั้นทางข้ามรางรถไฟ ในจุดดังกล่าว เพราะถ้าปิดไปถาวรชาวบ้านในพื้นที่ที่ขับรถจักรยานยนต์ผ่านทางข้ามตรงจุดนี้วันๆ นับพันคันต้องเดือดร้อนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ได้ขอเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ให้ปิดทางข้ามรางรถไฟดังกล่าว แต่ขอให้ทำเป็นไม้กั้น เพราะหลายที่เขาทำแบบไม้กั้นถาวร ไม่ได้มาปิดทางข้ามกันแบบนี้

หลังจากได้ปรึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านในครั้งนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีคนงานที่กำลังก่อสร้างทางรถไฟได้มารื้อถอนป้ายดังกล่าวออกไปแล้ว


Construction Company Agrees to Widen Curve on Bridge Over Railway After Residents' Complaints

Manager Online - July 4, 2024, 05:34

Ratchaburi - The construction company building the smallest overpass bridge over a railway in Thailand, which even motorcycles can't pass each other on, has agreed to widen the curve on the bridge to allow vehicles to turn after significant complaints from residents.

Recently, the State Railway of Thailand put up signs closing the railway crossing at Moo 5, Pak Tho Subdistrict, Pak Tho District, Ratchaburi Province, effective from July 10, 2024, and directing residents to use the overpass bridge instead. However, the overpass does not meet the needs of residents using motorcycles to cross the railway.

The curve on the bridge is so narrow that motorcycles can't turn down smoothly, requiring several adjustments and lifting the rear of the bike to make the turn, causing significant inconvenience. Residents requested that the State Railway widen the curve on the overpass to allow motorcycles to turn or construct a tunnel under the railway. They also asked not to close the ground-level crossing during the improvements, especially during rush hours in the morning and evening when many people use the route.

Today (July 3), Kanit Sila, Deputy Chief of the Damrongtham Center of Pak Tho District, inspected the situation with the construction contractor, Pak Tho Subdistrict Mayor Itthikorn Lenwari, local leaders, and affected residents. The meeting concluded with the following decisions:

1. The construction company will widen the curve on the bridge to allow motorcycles to turn smoothly.
2. The construction company will temporarily close the crossing for 3-4 days to install railway tracks, but only after the curve on the bridge has been widened.
3. Residents who want a permanent railway crossing with a barrier should submit their request to the Pak Tho Subdistrict Municipality, which will forward it to the district and then to the province for coordination with the State Railway of Thailand.

Pak Tho Subdistrict Mayor Itthikorn Lenwari stated that the municipality is not ignoring the issue and is actively working to resolve it quickly by coordinating with various agencies. If there are budget issues preventing the permanent barrier installation, the municipality is willing to use its own funds to install a permanent barrier for residents' convenience.

The construction company representative clarified that only the State Railway of Thailand has the authority to close or cancel the railway crossing. Residents request the State Railway to install a barrier at the crossing since a permanent closure would cause significant inconvenience to the thousands of motorcyclists using the route daily. They unanimously prefer a barrier to a complete closure.

After the discussion, the construction workers began removing the closure signs.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43123
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2024 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รัฐถมกว่าแสนล้านผุด”รถไฟทางคู่”เฟสแรก 7 เส้นทาง จ่อลงอีก 2 แสนล้านลุยเฟส 2 เพิ่มรางแต่จัดหารถยังนิ่ง?
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, July 04, 2024 06:52



ดูนี่ก็ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=52UF067yZkQ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 400, 401, 402  Next
Page 401 of 402

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©