RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311650
ทั่วไป:13402565
ทั้งหมด:13714215
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 481, 482, 483
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2024 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไทย-เมียนมา เปิดค้าชายแดนผ่านการขนส่งทางเรือ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:07 น.


ดัน ‘ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง’เส้นทางค้าชายแดนแห่งใหม่
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:29 น.

ค้าชายแดนระนองคึกคัก ผู้ประกอบการไทย-เมียนมา ผลักดันช่องทางการขนส่งสินค้าทางเรือ เป็นเส้นทางค้าชายแดนแห่งใหม่ ประเดิมเรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ เที่ยวแรกเมื่อ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา
จากปัญหาสู้รบในเมียนมา ช่วงเดือนเมษายน 2567 ส่งผลการค้าชายแดนไทย- เมียนมา โดยเฉพาะด่านแม่สอด-เมียวดี ได้รับผลกระทบ ภาคเอกชนระนอง-เมียนมา จึงผลักดัน ให้เปิดช่องทางการขนส่งสินค้าด้วยเรือ เดินสมุทรบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเรือ 2 ลำ แรกได้เข้าสู่ท่าเรือระนองแล้ว

ทั้งนี้ เรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ BEYPORE SULTAN และ MCL-4 เส้นทางย่างกุ้ง-เกาะสอง-ระนอง เที่ยวแรก ได้เดินทางถึงท่าเรือระนอง เมื่อช่วงเช้า ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ที่่ผ่านมา โดยเรือ BEYPORE SULTAN ขามาจากท่าเรือย่างกุ้งบรรทุกสินค้า จำนวน 56 ตู้ เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 52 ตู้ และเป็นตะกั่ว จำนวน 4 ตู้ และขากลับจะบรรทุกสินค้าจำนวน 30 ตู้ เช่น สุขภัณฑ์ เครื่องดื่มชูกำลัง สายไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนเรือ MCL-4 ขามาจากท่าเรือย่างกุ้งบรรทุกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 41 ตู้ และขากลับจะบรรทุกสินค้ากลับ จำนวน 28 ตู้



นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าผู้ประกอบการค้าชายแดนโดยเฉพาะผู้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ลดความเสี่ยงโดยเปลี่ยนเส้นทางการนำเข้า จากเดิมนำเข้าทางด่านแม่สอด จังหวัดตาก เป็นนำเข้าทางด่านระนองโดยทางเรือ Barge มากขึ้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระนอง
ได้ออกใบอนุญาตขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ว 169,722 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจำนวน 163,722 ตัน (ม.ค.-มิ.ย.2566 ออกใบอนุญาตขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 6,300 ตัน) แต่ด้วยปัจจัยด้านสภาพอากาศผู้ให้บริการโลจิสติกส์ได้เปิดให้บริการขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อป้องกันสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่งและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ได้รับการสนับสนุนจากทางการเมียนมาเป็นอย่างดีจึงเป็นที่มาของการขนส่งโดยเรือคอนเทนเนอร์ในครั้งนี้

นายกอบ ทวนดำ พาณิชย์จังหวัดระนอง กล่าวว่าในฐานะหน่วยงานในพื้นที่ได้ประสานงานกับสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชน และผลักดันให้เป็นเส้นทางการค้าชายแดนใหม่ของไทย

นางสาววรรณา ผู้อุตส่าห์ นายด่านศุลกากรระนอง กล่าวว่า การขนส่งทางเรือในรูปแบบนี้ถือเป็นมิติใหม่ที่ดีของการขนส่งของจังหวัดระนอง สำหรับทางด้านของศุลกากรระนองได้เตรียมความพร้อมรองรับสินค้าที่มากับทางเรือไว้ทุกด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



ทั้งนี้ จังหวัดระนองมีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา มีจุดผ่านแดนถาวรระนอง-เกาะสอง จำนวน 4 จุด มูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดเป็นลำดับที่ 4 ของการค้าชายแดนไทย-เมียนมา โดยมีมูลค่าการค้า 21,353 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ นํ้ามันเชื้อเพลิง,นํ้ามันหล่อลื่น, ของปรุงแต่งชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์, เครื่องดื่มให้พลังงาน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สัตว์นํ้า (ปลาแช่เย็น) ปลาป่น ถ่านไม้ป่าเลน เป็นต้นตว์นํ้า (ปลาแช่เย็น) ปลาป่น ถ่านไม้ป่าเลน เป็นต้น

ในส่วนของท่าเรือระนอง มีความพร้อมรองรับตู้สินค้า โดยได้ดำเนินการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งเครนยกตู้สินค้า พื้นที่วางตู้ และกำลังคน ไว้เรียบร้อยแล้วตามที่ได้รับการประสานมาก่อนหน้านี้ เมื่อเรือสินค้ามาถึง และดำเนินพิธีการศุลกากรแล้วเสร็จก็สามารถยกสินค้าขึ้นรถบรรทุกได้ทันที โดยมีผู้ประกอบการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บางรายสนใจขนส่งสินค้าใช้เส้นทางท่าเรือระนอง-สถานีรถไฟสะพลี-ICD ลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง

ปัจจุบันสถานีรถไฟสะพลี จังหวัดชุมพร เป็นรถไฟทางคู่ มีจุดขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์และมีลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard : CY) ที่เอกชนในพื้นที่ใช้บริการขนส่งทุเรียนไปยังประเทศจีน เป็นอีกหนึ่งโครงข่ายโลจิสติกส์ที่เข้ามาเสริมศักยภาพการค้าชายแดนไทย-เมียนมา

ขณะที่จังหวัดระนองรองรับการขยายตัวทางการค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากมีชายแดนติด กับประเทศเมียนมา มีจุดผ่านแดน ถาวรระนอง-เกาะสอง จำนวน 4 จุด ได้แก่ ท่าเทียบเรือสะพานปลา ท่าเทียบเรือศุลกากระนอง ท่าเทียบเรือของบริษัทอันดามันคลับ จำกัด ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง

นอกจากนี้ยังมีจุดผ่อนปรน จำนวน 1 จุด คือ จุดผ่อนปรนบ้านเขาฝาชี ในปี 2566 ด่านศุลกากรระนองมีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดเป็นลำดับที่ 4 ของการค้าชายแดนไทย-เมียนมา รองจาก ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรสังขละบุรี และด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ โดยมีมูลค่าการค้า (ม.ค.-ธ.ค. 2566) รวม 21,353 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 15,477 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 5,876 ล้านบาท มูลค่าดุลการค้า 9,601 ล้านบาท (ข้อมูล กรมการค้าต่างประเทศ)
https://www.thansettakij.com/business/economy/601551

“มนพร” สั่งรับมือตู้สินค้าเมียนมาทะลัก "ท่าเรือระนอง" คาดเติบโตต่อเนื่องโอกาสดันไทยฮับขนส่งทางทะเล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:19 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:55 น.

“มนพร” ปลุกการขนส่งเรือตู้คอนเทนเนอร์ผ่าน "ท่าเรือระนอง" อานิสงส์ขนส่งสินค้าจากเมียนมาหลังเกิดความไม่สงบ ตู้สินค้าระลอกแรกเข้าไทยแล้ว คาดเติบโตขึ้นต่อเนื่อง สั่ง กทท.เร่งเตรียมความพร้อมในทุกมิติ พร้อมรองรับ “แลนด์บริดจ์” หวังสร้างเส้นทางการค้าใหม่ ดันไทยฮับขนส่งและกระจายสินค้าทางทะเล

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์สงครามในเมียนมาส่งผลให้การค้าชายแดนไทย-เมียนมาหยุดชะงัก ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ช่องทางการค้าทางเลือกใหม่ในการขนส่งสินค้าชั่วคราว โดยเปลี่ยนจากการขนส่งทางรถบรรทุกทางด่านแม่สอด หันมาใช้การขนส่งเส้นทางท่าเรือระนองโดยเรือบาร์จ (Barge) นั้น ตนจึงได้มอบหมายให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมของท่าเทียบเรือระนอง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการขนส่งสินค้า ทั้งเครื่องมือทุ่นแรง พื้นที่ลานวางตู้สินค้า แรงงานยกขน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากเมียนมามายังท่าเรือระนอง



สำหรับการขนส่งสินค้าจากเมียนมามายังท่าเรือระนองนั้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเปิดเส้นทางการค้าชายแดนทางทะเลฝั่งใต้อีกครั้ง โดยการขนส่งผ่านท่าเรือระนองนี้จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามที่จะผลักดันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) อย่างยั่งยืน และเพื่อเชื่อมต่อกับการขนส่งและคมนาคมของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ประเทศไทย และมีประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนทั้งในพื้นที่จังหวัดระนอง และชุมพร รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมด้วย



โครงการแลนด์บริดจ์เป็นแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่จะเชื่อมกับ EEC เพื่อพัฒนาการขนส่งอย่างไร้รอยต่อทั้งทางถนน ราง และน้ำ ส่วนในภาคประชาชนจะช่วยยกระดับผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาพืชสัตว์เศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรในชุมชนพื้นที่ภาคใต้ คาดช่วยเพิ่ม GDP ภาคใต้ได้จาก 2% เป็น 10% ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว การดึงเอกชนเข้ามาลงทุน ทั้งการตั้งโรงงานเป็นฐานการผลิตเกิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จะทำให้เกิดการจ้างงานประชาชนของ 2 จังหวัด คือ ระนอง และชุมพร ซึ่งชุมชนและประชาชนจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ และทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้มีศักยภาพและเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลและศูนย์กลางการกระจายสินค้าแห่งหนึ่งของโลกในอนาคต



ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า ท่าเรือระนองได้รับเรือตู้สินค้าระลอกแรกจากเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 คือ MCL-4 และ BEYPORE SULTAN เส้นทางย่างกุ้ง-เกาะสอง-ระนอง โดยเรือลำแรก MCL - 4 สินค้าขาเข้าจากท่าเรือย่างกุ้ง บรรทุกตู้สินค้าเข้ามาจำนวน 39 ตู้ และเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 มีสินค้าขาออกบรรทุกตู้สินค้าจากไทย 56 ตู้ ส่วนเรือ BEYPORE SULTAN สินค้าขาเข้าจากท่าเรือย่างกุ้งบรรทุกตู้สินค้าเข้ามาจำนวน 56 ตู้ และมีสินค้าขาออก จำนวน35 ตู้ ซึ่งสินค้านำเข้าทั้ง 2 เที่ยวเรือ เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ด้านส่งออกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้าง และหลังจากนี้คาดว่าจะมีเรือสินค้าเข้าเทียบท่าอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะขนส่งสินค้าประเภทตู้สินค้า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค เรือสนับสนุนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (Offshore Supply) รวมถึงผลิตภัณฑ์โลหะที่จะนำกลับมารีไซเคิล



อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันท่าเรือระนองมีท่าเทียบเรือทั้งหมด 2 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ ซึ่งมีขนาดความกว้าง 26 เมตร ยาว 134 เมตร รองรับเรือสินค้าได้ไม่เกิน 500 ตันกรอส จอดเรือเทียบท่าพร้อมกันได้ 2 ลำ และท่าเทียบเรือตู้สินค้าขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 150 เมตร รองรับเรือสินค้าได้ไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน จอดเรือเทียบท่าได้ครั้งละ 1 ลำ อีกทั้งยังมีพื้นที่ฝากเก็บสินค้า ประกอบด้วย โรงพักสินค้า ขนาดพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร ลานวางสินค้าทั่วไปขนาดพื้นที่ 7,200 ตารางเมตร และลานวางตู้สินค้าขนาดพื้นที่ 11,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ ท่าเรือระนองพร้อมพัฒนาศักยภาพ เพื่อรองรับตู้สินค้าในอนาคตเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2024 11:25 am    Post subject: Reply with quote

สกู๊ปพิเศษ : เครือข่ายภาคประชาชนกัดไม่ปล่อย เดินหน้าคัดค้านขาย-ดื่มเหล้าที่สถานีรถไฟ-ขบวนรถไฟ
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Sunday, July 21, 2024 06:50

หลังคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติที่มี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการ มีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบให้สามารถขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ในวันพระใหญ่ประกอบด้วยวันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชาวันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ที่ท่าอากาศยานของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต หาดใหญ่ โดยจากนี้ ก็ต้องไป ปรับปรุงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ต่อไป

เมื่อดูเหตุผลของการเปิดไฟเขียวรอบนี้พอรับได้ เพราะเป็นการอนุญาตเฉพาะการขาย การดื่มในกลุ่มที่จะบินออกนอกประเทศเท่านั้น ซึ่งปกติ คนที่บินออกนอกประเทศบางครั้งยังสามารถดื่มได้บนเครื่องบินด้วยซ้ำ ดังนั้นการอนุญาตตรงนี้จึงไม่มีผลกระทบต่อข้อกังวลเรื่องผลกระทบกับประเทศ ในทางกลับกัน อาจจะพอกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวได้ด้วย...คณะกรรมการเค้าว่ามาอย่างนั้น

แต่ที่ทำเอาสังคมวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามมากมายก็คือกรณีที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. อยากเอาด้วย จึงเสนอเข้าที่ประชุมบ้าง โดยขอให้พิจารณาแนวทางการขอยกเว้นสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศนั้นได้ให้ คกก.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับ ร.ฟ.ท.หารือแนวทางและมาตรการควบคุมป้องกันด้านสาธารณสุขและการท่องเที่ยวและร่างกฎหมายส่งให้ คกก.นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ พิจารณาถึงความเหมาะสมและผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจและผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป

เรื่องนี้มีคนออกมาคัดค้านมากมาย โดยเฉพาะเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับกรุงเทพฯ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต และเครือข่ายชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง เพราะมองว่า ข้อเสนอนี้นอกจากไม่กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพรวมแล้ว ยังเป็นการทำลายคุณภาพของการท่องเที่ยวจากคนเมาหยำเปเกลื่อนไปทั่ว หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดผลกระทบด้านลบตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเสียงดังรบกวนผู้โดยสารคนอื่น การทะเลาะวิวาท อาชญากรรม การลวนลามทางเพศ ฯลฯ

ที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือไม่อยากจะเชื่อว่า "ร.ฟ.ท." จะกล้าเสนอมาตรการนี้ออกมา เพราะเหตุผลหลักของการที่บ้านเมืองต้องออกกฎหมายควบคุมการขาย การดื่มที่สถานีรถไฟ ตลอดจนการดื่มบนขบวนรถไฟ ก็เนื่องจากเมื่อ 10 ปี ก่อน พนักงานการรถไฟเองนั่นแหละที่ทั้งเสพยาบ้า และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา แล้วก่อเหตุข่มขืน เด็กหญิงวัยเพียง 13 ปีก่อนจะโยนร่างออกจากขบวนรถไฟ จนเสียชีวิต นับเป็นเหตุฆาตกรรมสะเทือนใจคนทั้งประเทศ

เรื่องนี้ เครือข่ายฯ กัดไม่ปล่อย เดินทางไปยื่นหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องมากมาย โดย 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ยื่นหนังสือถึง นายจเร รุ่งฐานีย รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อคัดค้านการยกเลิกห้ามขายห้ามดื่มเหล้าเบียร์บนรถไฟและสถานี และทวงถามการติดตามเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจครอบครัวเหยื่อฆาตรกรรมสะเทือนขวัญ

เจษฎา แย้มสบาย ประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับกรุงเทพฯ ระบุว่า จากกรณีเด็กหญิงถูกพนักงานรถไฟข่มขืน และทิ้งร่างน้องลงข้างทาง จนเสียชีวิต สร้างความสะเทือนใจกับประชาชนทั้งประเทศเหตุเกิดเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันผลักดันให้มีมาตรการห้ามขายห้ามดื่มเหล้าเบียร์บนรถไฟและสถานีรถไฟ จนมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

จากนั้นเครือข่ายฯ มีการติดตามการบังคับใช้กฎหมายมาต่อเนื่อง จึงไม่เห็นด้วยที่ ร.ฟ.ท.เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ขอให้มีการพิจารณาทบทวน ยกเว้นสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายหรือการดื่มแอลกอฮอล์ บริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ความไม่ปลอดภัย ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท คุกคามทางเพศ จนไปถึงการเสียชีวิตย่อมตามมาอีกแน่นอน

สำทับด้วย ธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน ระบุว่า การรถไฟฯจะคิดง่ายๆแบบนี้ไม่ได้ เราจะตอบครอบครัวของผู้สูญเสียในวันนั้นได้อย่างไร เพราะกฎหมายนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุร้ายกับน้องก็เพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นกับคนอื่นอีก เครือข่ายฯจึงขอแสดงจุดยืนและมีข้อเสนอต่อการรถไฟฯ ดังนี้ 1.ขอคัดค้านการยกเลิก ข้อยกเว้นการห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถไฟที่อยู่บนทางรถไฟ

2.ขอสอบถามความคืบหน้าไปยัง ร.ฟ.ท.เกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาเหยื่ออายุ 13 ปี ที่ถูกกระทำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว 3.ขอเรียกร้องให้ ร.ฟ.ท.เร่งพัฒนาคุณภาพการบริการ ความปลอดภัยในการใช้รถไฟ ความตรงต่อเวลาของสถานีรถไฟ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการใช้บริการรถไฟมากยิ่งขึ้น มากกว่าการมุ่งจะขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะสร้างผลกระทบตามมาอีกมากมาย และ 4.ขอเรียกร้องให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนการตัดสินใจต่อมาตรการนี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบมากที่สุด

ในวันนั้นมีผู้แทนมารับหนังสือ แต่ทุกอย่างก็หายเงียบเข้ากลีบเมฆ กระทั่งเครือข่ายฯยังไม่ยอมแพ้ ล่าสุดวันที่ 19 กรกฎาคม ถึงได้รวมตัวกันอีกครั้งเพื่อไปยื่นหนังสือ ถึง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงที่ทำการกระทรวงคมนาคม เพื่อคัดค้านข้อเสนอของ ร.ฟ.ท.ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. เป็นผู้มารับหนังสือ

โดยทางเครือข่ายได้ย้ำจุดยืนว่า ร.ฟ.ท.ไม่ควรเสนอมาตรการอนุญาตให้ขาย - ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สถานีรถไฟ และบนขบวนรถไฟ และก็ไม่ควรมีใครเสนอมาตรการนี้เช่นเดียวกัน ต้องไม่ลืมความเจ็บปวดของครอบครัวผู้สูญเสีย

สำหรับข้อเรียกร้องของเครือข่ายวันนั้นมี 4 ข้อเช่นกัน แต่ในรายละเอียดมีความแตกต่างกัน ยกมาให้อ่านอีกครั้ง ดังนี้ 1.ขอคัดค้านข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรการห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถไฟ อาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย เพิ่มปัญหาและผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งความรุนแรง ทะเลาะวิวาท คุกคามทางเพศ ในขณะที่ตำรวจรถไฟได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

2.ขอเรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาคุณภาพการบริการ ความปลอดภัยในการใช้รถไฟ ความตรงต่อเวลาของสถานีรถไฟ เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมมากกว่าการเปิดทางให้เมาขาดสติเดินทางด้วยรถไฟ 3.ขอเรียกร้องให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความเห็นก่อนการตัดสินใจต่อมาตรการนี้ให้รอบด้านที่สุด และ 4.ขอเรียกร้องให้นำตำรวจรถไฟกลับมาเป็นผู้ดูแลขบวนรถไฟเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารเช่นเดิม

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องเพื่อให้สังคมไทยห่างไกลจากผลกระทบที่เลวร้ายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


The National Alcohol Policy Committee, chaired by Deputy Prime Minister Suriya Juangroongruangkit, approved allowing alcohol sales and consumption on major Buddhist holidays at certain airports operated by Airports of Thailand on July 4, 2024.

However, controversy arose when the State Railway of Thailand (SRT) proposed allowing alcohol sales and consumption at train stations and on trains to promote domestic tourism. This proposal faced strong opposition from various civic networks, including victims of drunk driving and youth health promotion groups.

The civic groups argue that:

1. This proposal would not stimulate the economy or tourism overall, but instead decrease the quality of tourism due to drunk and disorderly behavior.

2. It could lead to noise disturbances, fights, crime, and sexual harassment on trains.

3. It's particularly concerning given that 10 years ago, an intoxicated railway employee raped and killed a 13-year-old girl on a train, which led to the current alcohol ban on trains.

The networks have submitted letters of protest to various officials, including the SRT governor and the Minister of Transport. They demand:

1. Rejection of the proposal to allow alcohol sales/consumption at train stations and on trains.
2. Improvements in railway service quality and safety instead of focusing on alcohol sales.
3. Public hearings before any decision is made on this matter.
4. Reinstatement of railway police to ensure passenger safety.

The civic groups emphasize that allowing alcohol on trains could lead to increased safety risks and negative impacts, especially given that railway police have been disbanded.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/07/2024 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

จับตา25 ก.ค.นี้ชงบอร์ดเคาะ 'วีริศ' นั่งเก้าอี้ผู้ว่า รฟท.
ไทยโพสต์ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 18:05 น.

เปิดวิสัยทัศน์ ‘วีริศ’ว่าที่ผู้ว่ารถไฟฯ คนใหม่ ด้านคณะกรรมการสรรหาฯเตรียมชงบอร์ดเคาะผลการคัดเลือก25 ก.ค. 67 ด้าน ’วีริศ’เผยไม่กังวลเป็นคนนอก พร้อมเร่งพัฒนาองค์กร ผุดไอเดียเคลียร์หนี้สะสมหลักแสนล้าน เดินเครื่องไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 ก.ค. 2567) คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีนายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) และกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ ได้กำหนดให้ผู้ที่ยื่นสมัครคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ และผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติ จำนวน 2 ราย คือ 1.นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ 2.นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์เพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 13.00 น.

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ภายหลังการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์เพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ในวันนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ ได้คัดเลือกให้นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟคนใหม่ แทนนายนิรุฒ มณีพันธ์ ที่ครบวาระไปแล้วเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ เตรียมนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ พิจารณาเห็นชอบในวันพรุ่งนี้ (25 ก.ค. 2567) ก่อนเข้าสู่กระบวนการอื่นๆ ต่อไป

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า รถไฟ และระบบราง ถือเป็นการขนส่งที่สำคัญของประเทศ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ก็ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนหากตนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ คนใหม่ ยืนยันว่า จะช่วยพัฒนาองค์กร และระบบราง เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไป เมื่อถามถึงกรณีกระแสข่าวเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งผู้ว่า กนอ. เป็นคู่สัญญากับการรถไฟฯ จะขัดต่อข้อกำหนดหรือกฎหมาย รวมถึงเป็นบุคคลภายนอก มีความกังวลในเรื่องนี้หรือไม่นั้น นายวีริศ กล่าวว่า ไม่กังวล เนื่องจากตนได้ศึกษามาเป็นอย่างดีว่า ไม่ขัดต่อข้อกำหนด ถึงได้เดินหน้าเข้ารับการคัดเลือกต่อ ส่วนเรื่องบุคคลภายนอกนั้น ไม่หนักใจ เพราะตนอยู่ที่ กนอ. ก็ได้รับความร่วมมือจากองค์กร สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

“ส่วนเรื่องหนี้สะสมของการรถไฟฯ ที่มีมูลค่าหลักแสนล้าน มีความกังวลหรือไม่นั้น นายวีริศ กล่าวว่า เมื่อสมัครเข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ก็มีความมุ่งมั่นที่จะเข้ามาแก้ปัญหา เชื่อว่า ทุกองค์กรก็จะมีอุปสรรคอยู่แล้ว รวมถึงการรถไฟฯ ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม ในการแสดงวิสัยทัศน์วันนี้ ตนได้นำเสนอไอเดียในการแก้ไขปัญหาหนี้ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ ซึ่งหากดำเนินการทั้งไอเดียของตน ร่วมกับแผนฟื้นฟูฯ และสามารถทำได้ ก็เชื่อว่า ในอนาคต การรถไฟฯ จะเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญ และมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น”นายวีริศ กล่าว

นายวีริศ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่องเร่งด่วนเมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ นั้น คือ การดำเนินงานโดยให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) รวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งถือเป็นโครงการระดับประเทศ ซึ่งตนพร้อมเข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ทำให้การเดินทาง และการขนส่งทางรถไฟมีความตรงต่อเวลามากยิ่งขึ้น

ขณะที่นายอวิรุทธ์ กล่าวภายหลังการแสดงวิสัยทัศน์ในว่า ตนมีความพร้อมที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ คนใหม่ 100% เนื่องจากตนทำงานที่การรถไฟฯ มากว่า 34 ปี มีประสบการณ์ในทุกสายงานของการรถไฟฯ ขณะเดียวกัน ในปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ด้านการเดินรถ และยุทธศาสตร์ธุรกิจการเดินรถ ประกอบกับการเปิดเดินขบวนรถไฟระหว่างประเทศ เส้นทางสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ตนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย อีกทั้ง ในปัจจุบันการรถไฟฯ ได้ผ่าน U-Curve หรือจุดที่ย่ำแย่มาแล้ว หลังจากประสบมานานหลาย 10 ปี ซึ่งตนในฐานะ 1 ผู้บริหาร จึงมั่นใจว่า เข้าใจถึงการขนส่งระบบราง และทราบถึงแผนงานของการรถไฟฯ เป็นอย่างดี

“ผมมีความพร้อมที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ คนใหม่ 100% เพราะผมเป็นคนรถไฟฯ ทำงานที่การรถไฟมาแล้ว 34 ปี ดูมาทุกสายงาน และตอนนี้มาดูด้าน Operation ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของงานของการรถไฟฯ อย่างการเปิดเส้นทางเดินขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปคำสะหวาด ก็อยู่ในสมัยของผมนี้” นายอวิรุทธ์ กล่าว

นายอวิรุทธ์ ยังกล่าวถึงอนาคตของการรถไฟฯ ว่า ที่ผ่านมา แม้การรถไฟฯ อาจจะล่าช้าไปบ้าง แต่หลังจากนี้ จะต้องเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมทางรูปแบบธุรกิจ (Business Model) โดยเฉพาะการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) มากขึ้น เนื่องจากการรถไฟฯ ไม่ต้องดำเนินการทุกอย่างเอง เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย, โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือแลนด์บริดจ์ ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น ส่วนการสร้างทางรถไฟ และโครงการรถไฟทางคู่นั้น ถือเป็นอาชีพของการรถไฟฯ ที่ต้องทำอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาการรถไฟฯ มีรายได้หลักจากการขนส่งผู้โดยสาร แต่หลังจากนี้จะต้องมุ่งเน้นสร้างรายได้จากการขนส่งสินค้ามากขึ้น สะท้อนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเดิมเมื่อ 10 ปีที่แล้ว การรถไฟฯ มีรายได้จากการขนส่งสินค้าปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่ในปัจจุบันมีรายได้ปีละ 2,200 ล้านบาท รวมทั้งมุ่งเน้นสร้างรายได้จากการเปิดเดินขบวนรถไฟท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงโอกาส และได้รับความนิยมจากผู้โดยสาร โดยเฉพาะวัยเกษียณที่มีกำลังจ่ายสูง ซึ่งในอนาคตจะขยายการให้บริการขบวนรถไฟ KIHA จากปัจจุบัน 1 เที่ยวต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็น 4 เที่ยวต่อสัปดาห์ และขบวนรถจักรไอน้ำ จาก 6 ครั้งต่อปี เพิ่มเป็น 12 ครั้งต่อปี


Monitoring July 25 for Board Approval of 'Wiris' as SRT Governor

Thai Post, July 24, 2024, 6:05 PM

The vision of 'Wiris', the new candidate for the position of Governor of the State Railway of Thailand (SRT), was recently unveiled. The selection committee is set to present the results to the board on July 25, 2024. Wiris expressed confidence despite being an outsider and is eager to develop the organization, introducing ideas to clear the accumulated debt of hundreds of billions and advancing the high-speed rail project connecting three airports.

According to reports, on July 24, 2024, the selection committee for the SRT Governor, led by Apirath Chaiyavongnoi, Director-General of the Department of Rural Roads and a member of the SRT Board, interviewed two candidates who passed the qualifications: 1) Avirut Thongnet, Deputy Governor of SRT, and 2) Wiris Amrapal, Governor of the Industrial Estate Authority of Thailand. The interviews and vision presentations took place at the SRT boardroom at 1:00 PM.

An SRT insider revealed that after the interviews and presentations, the committee chose Wiris Amrapal as the new SRT Governor, replacing Nirut Manepan, whose term ended on April 24, 2024. The committee plans to present this decision to the SRT board for approval on July 25, 2024, before proceeding with further steps.

Wiris Amrapal, currently Governor of the Industrial Estate Authority of Thailand, stated that railways are a crucial mode of transport for the country and have seen continuous development. If appointed as the new SRT Governor, he intends to further develop the organization and the railway system for the country's benefit. Addressing concerns about his potential conflict of interest due to his current position and being an outsider, Wiris assured that there are no legal or regulatory conflicts and that he has studied the issue thoroughly. He is confident in his ability to lead, as he has received cooperation and support in his current role.

Regarding SRT's accumulated debt of hundreds of billions, Wiris said he is committed to solving this issue, believing that all organizations face challenges. The SRT has a recovery plan and debt resolution strategies. In his vision presentation, Wiris proposed ideas to address the debt, which, if implemented alongside the recovery plan, could lead to significant progress for the SRT as a vital state enterprise.

Wiris highlighted his priorities if appointed as SRT Governor, including promoting private sector investment (PPP) and advancing major projects like the high-speed rail connecting three airports in the Eastern Economic Corridor (EEC), the dual-track railway projects, and the Thai-Chinese high-speed rail. These infrastructure projects are crucial for improving travel and transportation punctuality.

Avirut Thongnet, another candidate, expressed his readiness for the SRT Governor role, citing his 34 years of experience with the SRT in various departments, including his current position overseeing operations and business strategy. He emphasized the need for SRT to adapt its business model and involve more private investment (PPP) in projects like the Thai-Chinese high-speed rail, the three-airport high-speed rail link, and the Southern Economic Corridor (Chumphon-Ranong) or land bridge, aligning with government policy. Avirut noted that while SRT's revenue has traditionally come from passenger transport, there is a growing focus on increasing revenue from freight services, which has risen from approximately 1.5 billion baht annually a decade ago to 2.2 billion baht currently. Additionally, SRT aims to expand its tourist train services, which are popular with high-spending retirees, from one trip per week to four trips per week for the KIHA trains and from six to twelve steam locomotive trips per year.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2024 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟเคาะ "วีริศ อัมระปาล" นั่งผู้ว่ารฟท.คนที่ 30
ฐานเศรษฐกิจ
25 ก.ค. 2567 | 16:41 น.

บอร์ดรถไฟไฟเขียว "วีริศ อัมระปาล" นั่งผู้ว่ารฟท.คนนอก คนที่ 30 ยันมีคุณสมบัติ-วิสัยทัศน์เหมาะสม เร่งชงครม.เคาะลงนามสัญญาภายในเดือน ก.ย.นี้
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีมติเห็นชอบนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เข้ารับตำแหน่งผู้ว่ารฟท.คนใหม่ ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ประกาศกำหนดและเป็นผู้ที่มีคะแนนสูงสุด

ทั้งนี้ตามกระบวนการจะเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาผลตอบแทนโดยมีนายมนตรี เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานฯ ก่อนเสนอกลับมาที่คณะกรรมการรฟท.ภายในกลางเดือนส.ค.นี้

และเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลังพิจารณา

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นจะส่งรายงานมาที่รฟท. หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะลงนามสัญญาผู้ว่ารฟท.คนใหม่ได้ภายในเดือนก.ย.67

สำหรับประวัติ "วีริศ อัมระปาล"

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
กรรมการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาค ตะวันออก จำกัด
กรรมการ บริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด
อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการการเงิน งบประมาณ และการลงทุน (กนอ.)
อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านทรัพยากรบุคคล การจัดการความรู้และนวัตกรรม (กนอ.)
ที่ปรึกษา กรรมการสมาคมการประปาแห่งประเทศไทย รุ่นที่19

ประวัติการศึกษา

ปี 2539 ปริญญาตรี วศ. บ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2540 ปริญญาโท วท.ม. สาขา Operations Research มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี 2545 ปริญญาเอก วศ.ด . สาขา Industrial and Systems Engineering มหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส สหรัฐอเมริกา


The State Railway of Thailand (SRT) board has approved the appointment of Mr. Virith Amrapal, the Governor of the Industrial Estate Authority of Thailand (IEAT), as the 30th Governor of the SRT. The decision was made after the SRT board reviewed the recommendations of the selection committee, which found Mr. Amrapal to be the most qualified candidate with the highest score.

The appointment process will now move forward to the Compensation Committee, chaired by Mr. Montree Dechasakulsom, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Transport, for further consideration. It is expected that the contract for the new SRT Governor will be signed by September 2024.

Mr. Virith Amrapal's current positions include:

* Governor of the Industrial Estate Authority of Thailand (IEAT)
* Board member of Eastern Water Resources Development and Management Public Company Limited
* Board member of Global Utility Service Company Limited
* Subcommittee member of the Finance, Budget, and Investment Subcommittee (IEAT)
* Subcommittee member of the Human Resources, Knowledge Management, and Innovation Subcommittee (IEAT)
* Advisor to the 19th generation of the Waterworks Association of Thailand

Mr. Amrapal's educational background includes:

* Bachelor of Engineering (B.Eng.) in Industrial Engineering from Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University (1996)
* Master of Science (M.Sc.) in Operations Research from Columbia University, USA (1997)
* Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Industrial and Systems Engineering from Rutgers University, USA (2002)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/07/2024 6:52 am    Post subject: Reply with quote

ชี้ไทยลงทุนน้อยกดGDPต่ำ เหตุรัฐเน้นแต่กระตุ้นการบริโภค
แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.

ttb analytics ระบุว่า การลงทุนรวมของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว สวนทางกับการบริโภคภาคเอกชนที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้น โดยที่ผ่านมา การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้เฉลี่ย 3.1% เทียบกับการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพียง 0.7% (CAGR ปี 2540-2566) ส่วนหนึ่งจากผลของนโยบายกระตุ้นการบริโภคที่เข้ามาประคองเศรษฐกิจในแต่ละช่วง ส่งผลให้สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 52% ต่อจีดีพีในปี 2550 เป็น 60% ของจีดีพีในปี 2566 และทำให้ขนาดของมูลค่าการบริโภคภาคเอกชนในปัจจุบันใหญ่กว่าการลงทุนรวม (ภาครัฐและภาคเอกชน) ถึง 2.4 เท่า ทำให้เศรษฐกิจไทยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเติบโตได้จากแรงขับเคลื่อนของการบริโภคภาคเอกชน

ทั้งนี้การลงทุนรวมของไทยอยู่ในระดับต่ำเกินไป (Under Investment) ซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลง โดยมูลค่าการลงทุนรวมในปี 2566 อยู่ที่ 2.64 ล้านล้านบาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2539 (อยู่ที่ 2.75 ล้านล้านบาท) โดยสัดส่วนการลงทุนรวมของไทยลดลงอย่างรวดเร็วหลังผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งจาก 51% ต่อจีดีพี ในปี 2539 เหลือเพียง 25% ของจีดีพีในปี 2541 และทรงตัวที่ระดับนี้มาจนปัจจุบัน ทำให้การลงทุนของไทยค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันอย่าง ประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ที่อยู่ที่ 33% และ 30% ต่อจีดีพี

นอกจากนี้ หากพิจารณามูลค่าการลงทุนของไทยแบ่งได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการลงทุนภาครัฐ โดยงบประมาณรายจ่ายของรัฐที่จัดสรรเพื่อการลงทุนคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของงบประมาณที่จัดสรรในแต่ละปี แม้วงเงินงบประมาณแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.6% (CAGR ปีงบประมาณ 2549-2567) แต่เมื่อมองย้อนกลับมาที่งบรายจ่ายประจำ (เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เงินชำระหนี้ ฯลฯ) ที่ขยายตัวสูงถึง 5.1% แต่งบรายจ่ายเพื่อการลงทุนกลับขยายตัวได้เพียงปีละ 3.0% และเม็ดเงินลงทุนภาครัฐส่วนใหญ่ใช้เพื่อการซ่อมสร้างด้านสาธารณูปโภคและถนน โดยพบว่า 77% ของงบลงทุนทั้งหมดในปีงบประมาณ 2566 เป็นงบเพื่อการซ่อมสร้างถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท การรถไฟ รวมถึงโครงการชลประทาน

ขณะที่ มิติการลงทุนภาคเอกชน โดยการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยเติบโตได้เฉลี่ย 6.2% ในช่วงปี 2547-2555 เหลือเพียง 1% ในช่วงปี 2556-2566 ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่บางส่วนก็หันไปลงทุนนอกประเทศมากขึ้น ทำให้เม็ดเงินการลงทุนโดยตรงสุทธิที่ออกไปนอกประเทศ (TDI Netflow) ในแต่ละปีสูงถึง 3-6 แสนล้านบาท ในทางกลับกัน เม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) ก็มีทิศทางลดลงต่อเนื่อง และต่ำกว่าคู่แข่งอย่างอินโดนีเซียและเวียดนาม ขณะที่การลงทุน FDI ในอุตสาหกรรมหลักดั้งเดิมอย่างปิโตรเลียมและภาคผลิตก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในระยะหลัง

ทั้งนี้ หากต้องการผลักดันให้ไทยสามารถรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 3-4% ต่อปี จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้ได้ 35-40% ต่อจีดีพี (ปี 2566 อยู่ที่ 24.4% ต่อจีดีพี) ผ่าน 4 ข้อเสนอแนะ ได้แก่
1.เพิ่มการลงทุนขนาดใหญ่ที่มาจากภาครัฐ แม้สัดส่วนการลงทุนภาครัฐจะอยู่ที่ 25% ของมูลค่าการลงทุนรวม แต่การขาดการลงทุนขนาดใหญ่จากภาครัฐเป็นเวลานาน ส่งผลให้การดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชน (Crowding-in Effect) มีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย
2 เน้นส่งเสริมการลงทุนด้านดิจิทัล
3 เพิ่มนโยบายสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งที่ผ่านมา ภาครัฐให้ความสำคัญกับการอัดฉีดนโยบายเพื่อกระตุ้นการบริโภคเป็นหลัก ส่งผลให้พื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่จะไปกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคส่วนอื่นเหลือน้อยลง ขณะที่มาตรการส่งเสริมด้านการลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศยังค่อนข้างน้อย รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองก็มีส่วนทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย
4 เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย

Thailand's Low Investment Drags Down GDP Due to Government's Focus on Consumption Stimulus

'ttb analytics' reports that Thailand's total investment has declined sharply, contrasting with the rising role of private consumption in the economy. Private consumption has grown at an average of 3.1% compared to total investment's growth of only 0.7% (CAGR 2017-2023), partly due to policies stimulating consumption to support the economy in different periods. This has led to an increase in the share of private consumption from 52% of GDP in 2007 to 60% in 2023, making the current value of private consumption 2.4 times larger than total investment (public and private). This indicates that the Thai economy has been driven by private consumption for decades.

However, Thailand's total investment is too low (underinvestment), contributing to the country's slower economic growth. The total investment value in 2023 was 2.64 trillion baht, still lower than before the 1997 Tom Yum Kung crisis (2.75 trillion baht). The share of total investment in Thailand declined rapidly after the crisis, from 51% of GDP in 1997 to only 25% in 1999, and has remained at this level until now. This makes Thailand's investment relatively low compared to other developing countries like Vietnam and Indonesia, which are at 33% and 30% of GDP, respectively.

Furthermore, Thailand's investment value can be divided into two dimensions:

1. Public investment: The budget allocated for investment is only one-fourth of the total annual budget. Although the annual budget has increased by an average of 4.6% (CAGR fiscal year 2006-2024), the current expenditure (e.g., salaries, wages, operating expenses, debt payments, etc.) has grown by 5.1%, while investment expenditure has only grown by 3.0% per year. Most of the public investment is used for repairing public utilities and roads, with 77% of the total investment budget in the 2023 fiscal year allocated for repairing highways, rural roads, railways, and irrigation projects.
2. Private investment: Private investment has slowed down significantly, from an average growth of 6.2% during 2004-2012 to only 1% during 2013-2023. Some large companies have turned to investing more abroad, resulting in net outward foreign direct investment (TDI netflow) of 300-600 billion baht per year. Conversely, inward foreign direct investment (FDI) has also been declining and is lower than competitors like Indonesia and Vietnam. FDI in traditional industries like petroleum and manufacturing has also declined significantly recently.

To boost Thailand's economic growth to an average of 3-4% per year, it is necessary to increase the share of investment to 35-40% of GDP (24.4% of GDP in 2023) through four recommendations:

1. Increase large-scale public investment: Although public investment accounts for 25% of total investment, the lack of large-scale public investment for a long time has led to a decrease in the crowding-in effect on private investment.
2. Focus on promoting digital investment.
3. Increase policies to support domestic investment: This includes providing sufficient incentives to attract foreign investment. In the past, the government has focused on stimulating consumption, leaving little fiscal space to stimulate other sectors. Measures to promote domestic investment are still limited, and regulatory constraints remain a significant obstacle to doing business. Political uncertainty has also contributed to the lack of policy continuity.
4. Enhance Thai labor productivity.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 481, 482, 483
Page 483 of 483

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©