Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312278
ทั่วไป:13921073
ทั้งหมด:14233351
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 280, 281, 282 ... 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2024 10:53 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ใครที่รอดูแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล M-MAP 2 แบบ official ตอนนี้ทางโครงการศึกษา แผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน M-MAP2 ได้จัดทำแผนที่ออกมาแล้วครับ
สามารถไปโหลดแบบ PDF ชัดๆ ได้ที่ แผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล M-MAP 2 เลย เพราะเวอร์ชันจัดเต็มแบบนี้ LivingPop เราไม่ทำครับ 🤣
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1040904017396672

สร้างสายไหนต่อหลังจากนี้?! | เผยแผนที่ “M-MAP 2” อย่างเป็นทางการ จากกรมราง [SHORT]
BANGKOK ON SITE
May 9, 2024 กรมการขนส่งทางราง

SHORT ON SITE คลิปสั้นออนไซต์

https://www.youtube.com/watch?v=F8oQtYMSX1Q


กลุ่ม A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น/แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน คาดว่าดำเนินการภายในปี 72 จำนวน 6 เส้นทาง 41 สถานี ระยะทางรวม 51.45 กม.,
1. สายสีแดง ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 5.76 กม. มี 5 สถานี คือ สามเสน ราชวิถี (แทนที่หยุดรถรามาธิบดี) ยมราช ยศเส หัวลำโพง
2. สายสีเขียว - สนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส มี 1 สถานี คือ สถานียศเส
3. สายสีเขียว - บางหว้า - ตลิ่งชัน ตามเส้นราชพฤกษ์ มี 4 สถานี คือ บางแวก บางพรหม วัดโพธิ์ และ ตลิ่งชัน
4. สายสีเงิน - บางนา - สุวรรณภูมิ ตามเส้น บางนา - บางปะกง มี 13 สถานี คือ บางนา ประภามนตรี บางนา-ตราด 17 บางนา-ตราด 25 ศรีเอี่ยม เปรมฤทัย บางนาตราด กม. 6 บางแก่ว กาญจนาภิเษก วัดสลุด กิ่งแก้ว ธนาซิตี้ สุวรรณภูมิ
5. สายสีเทา ช่วง วัชรพล -ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. ตามเส้นเลียบด่วน มี 16 สถานี อันได้แก่ วัชรพล นวลจันทร์ เกษตรนวมินทร์ คลองลำเจียก โยธินพัฒนา ลาดพร้าว 87 สังคมสงเคราะห์ ลาดพร้าว 71 ศรีวรา นวศรี วัดพระราม 9, เพชรบุรี-ทองหล่อ (น่าเป็นสถานีคลองตัน และ และ สร้างสถานีคลองตันสายแดงจริงๆ) แจ่มจันทร์ ทองหล่อ 10 และ ทองหล่อ
ุ6. สายสีทองช่วงคลองสาน-ถนนประชาธิปก ระยะทาง 0.92 กม. มี 1 สถานี คือ สถานีถนนประชาธิปก


กลุ่ม B เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 และบางเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ รวม 10 เส้นทาง 95 สถานี ระยะทางรวม 167.50 กม.
สายสีแดงช่วงบางซื่อ-มักกะสัน -หัวหมาก ระยะทาง 20.14 กม.
สายสีเขียวต่อขยายคูคต- ลำลูกกา ระยะทาง 6.50 กม.
สายสีเขียวต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.50 กม.
สายสีน้ำเงินช่วงบางแค- พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม.
สายสีแดงช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ระยะทาง 38 กม.
สายสีฟ้าช่วงดินแดง-สาทร ระยะทาง 9.50 กม.และ
กลุ่ม C เส้นทางที่จะเป็นระบบ Feeder อาทิ Tram ล้อยาง และรถเมล์ไฟฟ้า 26 เส้นทาง ระยะทางรวม 389.50 กม.
https://www.youtube.com/watch?v=F8oQtYMSX1Q
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2024 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.คุมเข้มไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสาย เน้นความปลอดภัยช่วงหน้าฝน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:21 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:45 น.

"สุรพงษ์" เน้นย้ำ รฟม.คุมเข้มผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนอย่างปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเริ่มมีฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีความห่วงใยการเดินทางของพี่น้องประชาชน จึงกำชับให้ รฟม.กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยให้เตรียมมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนตกหนัก เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางให้แก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง



รฟม.จึงได้กำชับให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายเตรียมพร้อมมาตรการด้านความปลอดภัย และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝน ดังนี้

1. ตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำ ลำลาง และคูคลองต่างๆ ตลอดแนวก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า หากพบว่ามีการอุดตัน มีดินทรายทับถม หรือมีวัสดุกีดขวาง ต้องดำเนินการขุดลอกโดยทันทีเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

2. จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ให้เรียบร้อย ไม่วางระเกะระกะ และจัดหาผ้าใบปกคลุมไว้ให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เศษหินดินทรายตกหล่นไหลลงสู่ทางระบายน้ำและกีดขวางการระบายน้ำ

3. ให้โครงการรถไฟฟ้าทุกสายของ รฟม. มีการนำรถดูดฝุ่นมาใช้ปฏิบัติงานเพื่อลดผลกระทบด้านฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้เศษดินหรือฝุ่นละอองตกหล่นไหลลงท่อและกีดขวางการระบายน้ำ

4. จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำให้พร้อมสำหรับใช้งาน เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่โดยตรง เช่น สำนักงานเขตต่างๆ สถานีตำรวจในพื้นที่ เป็นต้น เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมขัง

5. จัดหน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินและบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนเมื่อเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และช่วยเหลือรถยนต์ที่จอดเสีย



นอกจากนี้ รฟม.ยังได้กำชับให้ที่ปรึกษาควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยเน้นการตรวจสอบการทำงานบนที่สูง การติดตั้งแผ่นรองขาเครน ราวกันตก บันไดขึ้นลงที่มีราวจับมั่นคง การยึดโครงสร้างนั่งร้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความมั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่สัญจรผ่าน นอกจากนี้ ให้ผู้รับจ้างบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายในท้องที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านจราจรและด้านความปลอดภัยให้แก่ประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2024 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

โชว์เคส'ระบบตั๋วร่วม'ในต่างประเทศ 'สนข.'เร่งกฎหมายใช้จริงได้ปี68
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, June 17, 2024 04:15

กรุงเทพธุรกิจ pranee_mue@nationgroup.com

"ตั๋วร่วม"คืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อประชาชนโดยเฉพาะชาวเมืองกรุงและเมืองใหญ่ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันรัฐบาล กำลังเร่งรัดให้ร่างพระราชบัญญัติ การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ....เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการใช้บริการระบบราง สามารถบริหารจัดการต้นทุน ค่าโดยสาร และมาตรฐานบริการ รวมไปถึงประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายในการพก"บัตรโดยสารใบเดียว"ในการใช้จ่าย ค่าบริการทุกระบบรางในประเทศไทย

ข้อมูลจาก โครงการศึกษาจัดทำแผน การกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม...รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)แผนการ กำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ระบุถึงโครงสร้างการบริหารจัดการและกำกับดูแลระบบตั๋วร่วม(และค่าโดยสารร่วม) ในต่างประเทศ ว่า สิงคโปร์ ใช้ตั๋วชื่อว่า EZ-Link Card ผู้กำกับดูแลคือ Public Transport Council (PTC) โดยมีผู้ลงทุนคือกระทรวงการคลัง และผู้ดำเนินงาน เป็นบริษัท Transit Link Pte Ltd. ผู้บำรุงรักษา MSI และผู้ประกอบการขนส่ง

อังกฤษ ใช้ตั๋วชื่อว่าMayor of London ผู้กำกับดูแลคือ Transport for London (Tfl) โดยมีผู้ลงทุนคือเทศบาลนครลอนดอน และผู้ดำเนินงาน คือ Tfl ผู้บำรุงรักษา Tfl

จีน(กรุงปักกิ่ง) ใช้ตั๋วชื่อว่า Yikatong Card ผู้กำกับดูแลคือ กระทรวงคมนาคม เพื่อการขนส่ง และสื่อสาร และศูนย์ข้อมูล โดยมีผู้ลงทุนคือบริษัท Yikatong และผู้ดำเนินงาน คือสำนักงานเทศบาลเมืองปักกิ่ง และบริษัท Communications Card Co.,Ltd.

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันกระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดัน พ.ร.บ.ตั๋วร่วม โดยการผลักดัน พ.ร.บ.ตั๋วร่วมจะมีผลใช้ในส่วนของ โครงการรถไฟฟ้าที่รัฐบริหาร รวมไปถึงรถไฟฟ้าที่มีสัญญาสัมปทานร่วมกับเอกชน ดังนั้นก็มีความจำเป็นต้องชดเชยส่วนต่าง รายได้ที่หายไป จากการปรับลดค่าโดยสาร เพื่อไม่ให้กระทบต่อสัญญาสัมปทาน กระทรวงฯ ก็อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางนำเงินไปจ่ายชดเชยเอกชน ผ่านการจัดตั้ง"กองทุนส่งเสริม ระบบตั๋วร่วม"โดยเบื้องต้นกระทรวงฯ ประเมิน วงเงินที่ใช้หมุนเวียนในกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม เพื่อชดเชยส่วนต่างค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 7-8 พันล้านบาทต่อปี

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย ระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 1/2567 โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่ผ่านมา และผลการศึกษาโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ จะเร่งผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาและ ส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง ตามนโยบายรัฐบาลให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายในเดือนมี.ค.2569 ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยความสะดวก มีต้นทุนการเดินทางที่สมเหตุสมผล ช่วยลด ค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้อย่างยั่งยืน เพื่อความอุดมสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ขณะนี้อยู่ระหว่างการขับเคลื่อน แผนดังกล่าวให้ไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เร่งรัดการเสนอร่าง พ.ร.บ. เพื่อกระทรวงคมนาคมพิจารณานำเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้มีผลใช้บังคับ ภายในปี 2568

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเร่งรัดให้มีการจัดตั้ง กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน การพัฒนาและการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมถึงการส่งเสริม และอุดหนุนประชาชน ผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมให้สามารถใช้ระบบขนส่งด้วยความสะดวก โดยมีต้นทุนการเดินทาง ที่สมเหตุสมผล ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนลด ข้อจำกัดจากสัญญาสัมปทานเดิม

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สนข. กรมการขนส่ง ทางราง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการออกประกาศที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจาก พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบาย ของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม รายงานข่าวแจ้งว่า ภายในร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... จะมีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ไว้ในมาตรา 29 และมาตรา 30 โดยแบ่งเป็นมาตรา 29 กำหนดให้จัดตั้งกองทุน ขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงาน เรียกว่า "กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม"มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนในการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมทั้งมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อส่งเสริมและอุดหนุนประชาชน ผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมให้สามารถใช้ ระบบขนส่งสาธารณะด้วยความสะดวก โดยมีต้นทุนการเดินทางที่สมเหตุสมผล 2. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม

3. เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตกู้ยืมสำหรับดำเนินการลงทุน ปรับปรุง และพัฒนาการให้บริการระบบตั๋วร่วมส่วนแหล่งที่มา ของเงินกองทุนฯ มีการกำหนดไว้ใน

มาตรา 30 กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้ 1. เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ 2. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ (ให้รัฐมนตรีดำเนินการขอรับ การจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบเข้ากองทุนในแต่ละปีงบประมาณตามความจำเป็น เงินและทรัพย์สินของกองทุนตามวรรคหนึ่ง ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน)

3. เงินค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต 4. เงินที่ได้รับตามมาตรา 31 ว่าด้วยให้ ผู้รับใบอนุญาตนำส่งเงินเข้ากองทุน 5. เงินที่ได้รับจากผู้ให้บริการขนส่ง เมื่อมีสัญญาสัมปทาน สัญญาร่วมงาน หรือสัญญาร่วมลงทุนแล้วแต่กรณี มีข้อสัญญาให้ผู้ให้บริการขนส่งจะต้องส่งเงินเข้ากองทุน 6. เงินค่าปรับทางปกครองตามมาตรา 40 ส่วนข้อ 7. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค ให้แก่กองทุน 8. ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ความพยายามเพื่อสร้างความสะดวกในเดินทางขนส่งประชาชนในเมืองใหญ่ หากทำได้สำเร็จจะเป็นเกณฑ์ความสำเร็จเพื่อสร้าง ขีดความสามารถให้สังคมไทยให้เพิ่มผลผลิตประชาชาติหรือจีดีพีให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่หากความพยายามยังคงเป็นแค่ความพยายาม ต่อไปเพราะแผนตั๋วร่วมริเริ่มมาหลายปีแล้วก็เป็นอีกส่วนที่สะท้อนว่า ความสำเร็จเท่ากับความพยายามที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 มิ.ย. 2567


Showcasing the "Common Ticketing System" Abroad, OTP Speeds Up Legislation for Implementation by 2025

Source: Krungthep Turakij
Date: Monday, June 17, 2024, 04:15


Krungthep Turakij
Email: pranee_mue@nationgroup.com

What is the "Common Ticketing System," and why is it important for the public, especially for residents of Bangkok and nearby major cities? Currently, the government is expediting the drafting of the Common Ticketing System Management Act to maximize benefits for the public in using the rail system. This includes managing costs, fares, and service standards, and providing the convenience of carrying a single "ticket" for all rail services in Thailand.

Information from the study project on the management plan of the common ticketing system reveals the structure of management and supervision of the common ticketing system (and joint fares) in other countries. In Singapore, the ticket is called the EZ-Link Card, overseen by the Public Transport Council (PTC), with the Ministry of Finance as the investor and Transit Link Pte Ltd. as the operator and MSI as the maintainer.

In the UK, the ticket is called the Mayor of London Card, overseen by Transport for London (TfL), with the Greater London Authority as the investor and TfL as both the operator and maintainer.

In Beijing, China, the ticket is called the Yikatong Card, overseen by the Ministry of Transport and Communication and the Information Center, with Yikatong as the investor and the Beijing Municipal Office and Communications Card Co., Ltd. as the operators.

In Thailand, the Ministry of Transport is pushing for the Common Ticketing System Act, which will apply to state-managed metro projects and those with private concession agreements. This necessitates compensation for lost revenue from fare reductions to avoid impacting concession contracts. The ministry is studying ways to fund this compensation through the establishment of a "Common Ticketing System Promotion Fund," initially estimated to require 7-8 billion baht annually.

Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, chaired the first 2024 meeting of the Common Ticketing System Policy Committee. The meeting reviewed past management results and the study project for the management plan.

The ministry aims to expedite the Common Ticketing System Management Act to support development and promotion efforts, aiming to implement the policy of a 20-baht flat fare for all metro lines by March 2026. This would provide convenience, reasonable travel costs, and sustainable reductions in travel expenses for the public.

The draft Common Ticketing System Management Act is currently in progress, with the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) accelerating the proposal for ministerial and cabinet approval, aiming for enforcement by 2025.

The meeting also urged the establishment of the Common Ticketing System Promotion Fund to support development, management, and promotion efforts. The fund aims to facilitate public use of the common ticketing system with reasonable travel costs and sustainable expense reductions, also addressing limitations from existing concession contracts.

The OTP, Department of Rail Transport, Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA), State Railway of Thailand (SRT), and Bangkok Metropolitan Administration (BMA) have been tasked with issuing related announcements after the act is enforced, driving the 20-baht flat fare policy to fruition.

The draft act includes detailed provisions for the fund in Sections 29 and 30. Section 29 establishes the "Common Ticketing System Promotion Fund" within the office, aimed at supporting development and management activities. The objectives are:

1. To promote and subsidize public use of the common ticketing system with reasonable travel costs.
2. To support common ticketing system operations for licensed operators affected by the system.
3. To provide loans to licensees for investment, improvement, and development of common ticketing services.

Section 30 outlines the fund's financial sources, including initial government allocations, annual subsidies, licensing fees, contributions from transport operators with concession agreements, administrative fines, donations, and interest from the fund's assets.

Efforts to enhance urban transportation convenience, if successful, would boost national productivity and GDP. However, if these efforts remain unfulfilled, they will reflect the ongoing challenge of turning plans into reality.

Source: Krungthep Turakij, June 17, 2024 Edition
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2024 7:45 am    Post subject: Reply with quote

สุริยะยัน ก.ย.68 รถไฟฟ้า 20 บ.ทุกสาย
Source - เดลินิวส์
Friday, June 28, 2024 04:06

มิ.ย.ปีหน้าน้ำเงิน-ชมพู-เหลือง เขียว-ทอง-แอร์พอร์ตลิงก์หลังสุด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมคงเป้าหมายนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าที่ให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทุกสายให้ได้ภายใน 2 ปี หรือประมาณเดือน ก.ย.68 หลังจากประกาศนโยบายฯ เริ่มนำร่องกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูนบางใหญ่เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนเมื่อเดือนก.ย.66 กำลังเร่งผลักดันเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้มีผลใช้บังคับภายในปี 68 พร้อมจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมสนับสนุนนโยบายและลดข้อจำกัดจากสัญญาสัมปทานเดิม

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า จากการประเมินตัวเลขเบื้องต้นต้องใช้เงินชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าทุกสายประมาณ 8 พันล้านบาท โดยเงินส่วนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะต้องนำมาจากส่วนใดบ้าง อาทิ งบประมาณประจำปี, รายได้จากการเก็บค่าโดยสารของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ยืนยันว่าจะผลักดันนโยบายให้เกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรมได้ โดยรถไฟฟ้าที่ยังติดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานจะชดเชย รายได้ที่สูญเสียไปจากการเก็บค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสาย ส่วนรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลชุดนี้ทุกสายต้องระบุในสัญญาสัมปทานว่าต้องเก็บค่าโดยสารอัตรา 20 บาทตลอดสายด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจาก 17-45 บาท เป็น 17-47 บาท โดยไม่ชะลอไปก่อน เป็นการย้อนแย้งกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า การปรับขึ้นเป็นไปตามสัญญาสัมปทานระหว่าง รฟม. กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งปรับขึ้นทุก 2 ปี จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามสัญญาสัมปทาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มี 8 สาย ได้แก่ สายสีเขียว ประกอบด้วย สายสุขุมวิท ช่วงคูคต-เคหะ และสายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า, สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ, สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง, สายสีทองช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ดำเนินการตามนโยบายฯ ไปแล้วกับสายสีแดงและสีม่วง

จากข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 67 หรือประมาณ 7 เดือนครึ่ง พบว่าปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรวม 2 สาย 20.86 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 66 (16 ต.ค. 65-31 พ.ค. 66) ผู้โดยสารอยู่ที่ 17.68 ล้านคน โดยสายสีแดง 6.21 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27.61% ส่วนสายสีม่วง 14.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.53% การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการส่งผลให้การสูญเสียรายได้ของทั้ง 2 สายลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท

ทั้งนี้มีแนวโน้มว่าช่วงกลางปี 68 หรือประมาณเดือน มิ.ย. 68 จะดำเนินการตามนโยบายได้เพิ่มอีก 3 สายรถไฟฟ้าสีน้ำเงินสีชมพูและสีเหลืองส่วนที่เหลือ 3 สาย สีเขียว สีทอง และ ARL จะเริ่มได้ตามนโยบายในเดือน ก.ย. 68.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2567


Suriya Confirms: 20 Baht Fare for All Electric Trains by September 2025

Source: Daily News
Friday, June 28, 2024, 04:06


Next June: Blue, Pink, Yellow, Green, Gold, and Airport Link

Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Suriya Juangroongruangkit, confirmed in an interview that the Ministry of Transport aims to implement a 20-baht fare policy for all electric trains in Bangkok and its vicinity within two years, targeting September 2025. This follows the initial policy implementation on the Red Line commuter trains (Bang Sue-Rangsit and Bang Sue-Taling Chan) and the MRT Purple Line (Tao Poon-Bang Yai) in September 2023, aimed at reducing living costs for the public. Efforts are being expedited to draft a bill on the management of a common ticketing system for submission to the Cabinet, with the goal of enforcement by 2025. Additionally, a fund to promote the common ticketing system will be established to support this policy and address limitations from existing concession contracts.

Suriya stated that initial estimates indicate about 8 billion baht will be needed to compensate all electric train operators. The sources of this funding are under review, including the annual budget, revenue from the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA), and the Energy Conservation Fund. The policy will be pursued to become a tangible reality. For trains with existing concession contracts, lost revenue from the 20-baht fare will be compensated. New lines developed under the current government will include the 20-baht fare policy in their concession contracts.

When asked whether the recent Cabinet approval to increase the Blue Line fare from 17-45 baht to 17-47 baht contradicts the 20-baht fare policy, Suriya explained that the increase is mandated by the concession contract between the MRTA and Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited (BEM), which requires fare adjustments every two years.

Currently, eight electric train lines operate in Bangkok and its vicinity: the Green Line (Sukhumvit Line from Khu Khot to Kheha and Silom Line from National Stadium to Bang Wa), the Blue Line (Hua Lamphong-Bang Khae and Bang Sue-Tha Phra), the Pink Line (Khae Rai-Min Buri), the Yellow Line (Lat Phrao-Samrong), the Gold Line (Krung Thon Buri-Khlong San), and the Airport Rail Link (ARL, Phaya Thai-Suvarnabhumi). The policy has already been implemented on the Red and Purple Lines.

Data from October 16, 2023, to May 31, 2024, shows that the combined average number of passengers on the Red and Purple Lines was 20.86 million, an increase of 17.94% compared to the same period the previous year (October 16, 2022, to May 31, 2023), which had 17.68 million passengers. The Red Line saw 6.21 million passengers, a 27.61% increase, while the Purple Line saw 14.29 million passengers, an 11.53% increase. The rise in passengers resulted in reduced revenue loss for both lines, which was initially projected to be around 300 million baht.

By mid-2025, around June, the policy is expected to extend to the Blue, Pink, and Yellow Lines, with the Green, Gold, and ARL lines following in September 2025.

Source: Daily News, June 28, 2024 edition
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2024 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สุริยะยัน ก.ย.68 รถไฟฟ้า 20 บ.ทุกสาย
Source - เดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 04:06 น.

มิ.ย.ปีหน้าน้ำเงิน-ชมพู-เหลือง เขียว-ทอง-แอร์พอร์ตลิงก์หลังสุด


"สุริยะ" นำร่อง 3 สาย รับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:01 น.

“สุริยะ” ถกเอกชนดันพ.ร.บ.ตั๋วร่วม จ่อนำร่องรถไฟฟ้า 3 สาย รับนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ภายในเดือนมิ.ย.68 ปักธงเข็นทุกเส้นทางภายในปี 68 เล็งศึกษาชดเชยเอกชน 8 พันล้านบาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยืนยันว่านโยบายนี้จะแล้วเสร็จ รถไฟฟ้าทุกสีทุกสายจะมีค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย.2568



ทั้งนี้ในปัจจุบันกระทรวงฯ อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนคู่สัญญา และผลักดันพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … เพื่อให้มีผลในการปรับโครงสร้างและบูรณาการรถไฟฟ้าทุกโครงการ



"การปรับลดราคาค่าโดยสารนั้น รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อสัญญาสัมปทาน เพราะรัฐบาลจะจัดหาวงเงินชดเชยรายได้ที่หายไป"


ขณะเดียวกันในปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางจัดหาเงินชดเชย คาดว่าจะจัดตั้งเป็นกองทุนตั๋วร่วมที่นำเงินมาจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)



ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะจัดใช้วงเงินชดเชยประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี โดยหากปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ปริมาณจ่ายเงินชดเชยก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง



แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2568



จากข้อมูลการศึกษาล่าสุด มั่นใจว่าในช่วงกลางปี 2568 จะสามารถนำรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 3 สายในปัจจุบัน เข้าร่วมนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง


เนื่องจากทั้ง 3 โครงการดังกล่าว อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถเจรจากับเอกชนคู่สัญญาและปรับลดราคาค่าโดยสารได้ ซึ่งทางภาครัฐจะจัดหาเงินชดเชยรายได้ที่หายไป โดยไม่ให้กระทบต่อสัญญาสัมปทาน



“ขณะนี้รถไฟฟ้าที่พร้อมจะปรับราคาตามนโยบาย 20 บาทตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับของ รฟม. ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นที่มีสัญญาสัมปทาน เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็คงต้องรอให้ พรบ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ จะมีผลในการปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสาร ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลภายในปี 2568“



สำหรับปัจจุบันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยจากข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2567 หรือประมาณ 7 เดือนครึ่ง พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรวม 2 สาย 20.86 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17.94%



เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 66 (16 ต.ค.2565-31 พ.ค.2566) ซึ่งผู้โดยสารอยู่ที่ 17.68 ล้านคน โดยสายสีแดง ผู้โดยสาร 6.21 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27.61%



นอกจากนี้สายสีม่วง ผู้โดยสาร 14.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.53% ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการ ส่งผลให้การสูญเสียรายได้ของทั้ง 2 สายลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
https://www.thansettakij.com/business/economy/600355
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/07/2024 7:32 am    Post subject: Reply with quote

เปิด11รถไฟฟ้าสายใหม่ 2แสนล้าน บูมทำเลทอง
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, July 24, 2024 05:43

กระทรวงคมนาคมเปิดแผน M-MAP 2 ปูพรม 11 เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ ในเขต กทม.-ปริมณฑล ระยะทาง 162.93 กม. มูลค่ารวม 228,546 ล้านบาทเปิดให้บริการภายในปี 71-72 ช่วยร่นการเดินทาง บูมทำเลทองบ้านจัดสรรคอนโดมิเนียม

การทุ่มเม็ดเงินลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้าของรัฐบาล อย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รองรับการขยายตัวของเมืองให้เชื่อมโยงการเดินทาง รถไฟฟ้า 13 เส้นทาง ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน รวมระยะทาง276.84 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 194 สถานีมูลค่า 547,663 ล้านบาท ขณะโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมี จำนวน 4 โครงการ ระยะทางรวม 70.40 กม. จำนวน 68 สถานี เพื่อขยายแขนขารับประชาชนที่อยู่นอกเมือง ให้เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ล่าสุดยังเดินหน้าพัฒนาตามแผน M-MAP 2 อีกจำนวน 11 เส้นทาง ระยะทาง162.93 กม. มูลค่ารวม 228,546 ล้านบาท ในเขตกทม.-ปริมณฑล จุดพลุทำเลทองใหม่โครงการที่อยู่อาศัย

โดยกระทรวงคมนาคม มองว่า จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเมืองได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพบว่ารถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิดขึ้นมักจะผ่านสถานที่หรือแนวเส้นทางสำคัญ เช่น โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว (สุขุมวิท) ช่วงลำลูกกา-คูคต ซึ่งเป็นแนวเส้นทางจากกรุงเทพฯเชื่อมต่อจ.ปทุมธานี อีกทั้งเป็นเส้นทางที่ผ่านถนนสายหลักและสายรองที่สำคัญๆ เช่น กาญจนาภิเษก, ลำลูกกา, สายไหม, ทางด่วนพิเศษฉลองรัช (ด่านจตุโชติ) ฯลฯ

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีแนวเส้นทางผ่านช่วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ และถนนงามวงศ์วาน ถือเป็นพื้นที่ที่มักจะมีปริมาณการจราจรติดขัด โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน อีกทั้งมีชุมชน,อาคาร ตลอดจนห้างสรรพสินค้าที่ใกล้เคียง หากโครงการรถไฟฟ้าเหล่านี้เกิดขึ้นจะทำให้เมืองในพื้นที่ดังกล่าวมีการพัฒนาและเติบโตต่อไปได้ ส่งผลให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในอนาคต

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ได้เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ จำนวน 11 เส้นทาง จะเปิดให้บริการภายในปี 2571-2572 ประกอบด้วย

1.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ -พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,573 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท.มีมติเห็นชอบปรับกรอบวงเงินโครงการ เนื่องจากมีการปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี เปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี และมีทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการเพิ่มขึ้น 416.09 ล้านบาท หลังจากนี้ รฟท. จะเสนอโครงการดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

2.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่มหาชัย ระยะทาง 33.16 กม. มูลค่าประมาณ 48,129 ล้านบาทปัจจุบันรฟท.ได้เสนองบประมาณปี 2567 วงเงิน 140 ล้านบาท เพื่อทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาต่อไป

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)ระยะทาง 22.10 กม. วงเงิน 41,720 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม โดย รฟม.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมขอความเห็นชอบในหลักการของโครงการร่วมลงทุน (PPP) และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ วางเป้าหมายเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2571

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีแนวเส้นทางเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพูบริเวณแยกแคราย วิ่งไปตามแนวถนนงามวงศ์วานจนถึงแยกบางเขนเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วข้ามถนนวิภาวดี-รังสิต โดยลอดใต้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการทางยกระดับอุตราภิมุข จนถึงแยกเกษตร ก่อนยกระดับไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ยาวไปจนถึงแยกนวมินทร์ จนถึงแยกสวนสน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารจอดแล้วจรและศูนย์ซ่อมบำรุง

4.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว(สุขุมวิท) ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.50 กม. วงเงิน 7,994 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเป็นทางวิ่งยกระดับตลอดแนวเชื่อมต่อจากช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยวิ่งไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท จนสิ้นสุดโครงการบริเวณก่อนถึงแยกถนนตำหรุ-บางพลี จำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีสวางคนิวาส,สถานีเมืองโบราณ,สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์,สถานีบางปูและสถานีตำหรุ

จำนวนสถานีตามแนวเส้นทางช่วงสมุทรปราการ-บางปู มี 5 สถานี ประกอบด้วย

5.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว (สุขุมวิท) ช่วงลำลูกกา-คูคต ระยะทาง 6.50 กม. วงเงิน 6,337 ล้านบาท ที่มีแนวเส้นทางผ่าน 4 สถานี คือ สถานีคลอง 3, สถานีคลอง 4, สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,197 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางต่อจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่สถานีหลักสอง โดยเป็นทางยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษมถึงพุทธมณฑลสาย 2 ไปยังสถานีทวีวัฒนาและผ่านพุทธมณฑลสาย 3 ไปสิ้นสุดที่สถานีพุทธมณฑล สาย 4

7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก ระยะทาง 0.92 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มวิ่งตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านนสถาบันจิตเวชศาสตร์ฯ โรงเรียนจันทรวิทยา และสิ้นสุดแถววัดอนงคารามวรวิหาร

8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. วงเงิน 27,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่วัชรพลตรงจุดตัดกับ ถ.รามอินทรา มุ่งหน้าลงใต้ตามแนวถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านซอยนวลจันทร์ ข้ามสะพานเกษตรนวมินทร์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดกับถ.ลาดพร้าว จากนั้นมุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 9 แล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ถ.ประชาอุทิศ ออกสู่ถ.เพชรบุรี เข้าสู่ถ.ทองหล่อมาเพื่อมาตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีทองหล่อ

9.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-ท่าพระ ระยะทาง 23.66 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาวงเงินลงทุน ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีพระโขนง มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม4 ผ่านตลาดคลองเตย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 3 ผ่านสะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษกเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีตลาดพลู ไปสิ้นสุดที่แยกท่าพระ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีท่าพระ

10.โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร ระยะทาง 9.50 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาวงเงินลงทุน ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน เลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเข้าสู่แนวถนนวิทยุ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนสาทร ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี

11.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.60 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีลาดพร้าว ที่เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน และสายสีเหลือง วิ่งมาตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านศาลอาญา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธิน ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 27 ก.ค. 2567


11 New Electric Train Lines Launched with a 200 Billion Baht Budget to Boost Prime Locations

Source: Thansettakij
Wednesday, July 24, 2024, 05:43


The Ministry of Transport has unveiled the M-MAP 2 plan to develop 11 new electric train lines in Bangkok and its metropolitan areas, spanning a total distance of 162.93 kilometers and costing 228.546 billion baht. These lines are expected to be operational between 2028 and 2029, aimed at reducing travel time and boosting real estate developments.

The continuous investment in the electric train network by the government in Bangkok and its suburbs aims to accommodate urban expansion and improve connectivity. Currently, there are 13 operational lines covering 276.84 kilometers with 194 stations, worth 547.663 billion baht. Four more projects are under construction, covering 70.40 kilometers and 68 stations, to enhance connectivity for suburban residents traveling to the city center.

The M-MAP 2 plan includes 11 new routes, totaling 162.93 kilometers and valued at 228.546 billion baht, further promoting prime residential areas. The Ministry of Transport believes this will continually enhance urban development. The new lines often pass through key locations, such as the Green Line extension (Sukhumvit) from Lam Luk Ka to Khu Khot, connecting Bangkok to Pathum Thani and passing major roads like Kanchanaphisek, Lam Luk Ka, Sai Mai, and the Chalong Rat Expressway (Chatuchot Toll Plaza).

The Brown Line from Khae Rai to Lam Salee (Bueng Kum) will pass through Kasetsart University and Ngamwongwan Road, areas known for heavy traffic, especially during rush hours. The project will foster urban development, increasing land prices in these regions.

A source from the Ministry of Transport revealed to Thansettakij that they are expediting the 11 new train lines to be operational by 2028-2029, including:

1. **Light Red Line** from Bang Sue to Phaya Thai, Makkasan, and Hua Mak, and the **Dark Red Line** from Bang Sue to Hua Lamphong (Missing Link), covering 25.9 kilometers at 44.573 billion baht. The project budget was adjusted due to the relocation of the Ratchawithi station to the Ramathibodi Hospital side, including a skywalk to connect the station to the hospital building, increasing the project cost by 416.09 million baht. The State Railway of Thailand (SRT) will propose this project to the Ministry of Transport for cabinet approval.

2. **Red Line Extension** from Wongwian Yai to Mahachai, covering 33.16 kilometers at approximately 48.129 billion baht. The SRT has proposed a 140 million baht budget for 2024 to review project feasibility, design details, and prepare tender documents.

3. **Brown Line** from Khae Rai to Lam Salee (Bueng Kum), covering 22.10 kilometers at 41.720 billion baht. The Ministry of Transport is currently reviewing the project. The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) has requested approval in principle for a public-private partnership (PPP) and has submitted a study and analysis report, aiming to open by October 2028.

4. **Green Line Extension (Sukhumvit)** from Samut Prakan to Bang Pu, covering 9.50 kilometers at 7.994 billion baht. Planned to open in 2029, this elevated route extends from Bearing to Samut Prakan, along the median strip of Sukhumvit Road, ending near the Chum Ru-Bang Phli intersection with five stations: Sawangkhaniwas, Ancient City, Sri Chan Phradit, Bang Pu, and Chum Ru.

5. **Green Line Extension (Sukhumvit)** from Lam Luk Ka to Khu Khot, covering 6.50 kilometers at 6.337 billion baht, passing through four stations: Khlong 3, Khlong 4, Khlong 5, and Outer Ring Road.

6. **Blue Line** from Bang Khae to Phutthamonthon Sai 4, covering 8 kilometers at 21.197 billion baht, planned to open in 2029. The elevated route continues from Hua Lamphong to Bang Khae at Lak Song station, along Phetkasem Road to Phutthamonthon Sai 2, Thawi Watthana station, passing Phutthamonthon Sai 3, ending at Phutthamonthon Sai 4 station.

7. **Gold Line Phase 2** from Khlong San to Prajadhipok, covering 0.92 kilometers at 3 billion baht, planned to open in 2029. The route runs along Somdet Chao Phraya Road, passing the Psychiatry Institute, Chanthravit School, ending near Wat Anongkharam Worawihan.

8. **Gray Line Phase 1** from Watcharaphon to Thong Lo, covering 16.25 kilometers at 27 billion baht, planned to open in 2029. The route starts at Watcharaphon, intersecting Ramintra Road, heading south along Pradit Manutham Road, passing Nuanchan Soi, crossing Kaset Nawamin Bridge, ending at the intersection with Lat Phrao Road, heading to Rama 9 Road, connecting to the Orange Line at Pracha Uthit Road, leading to Phetchaburi Road, ending at Thong Lo station connecting to the BTS.

9. **Gray Line Phase 2** from Phra Khanong to Tha Phra, covering 23.66 kilometers, under investment study, planned to open in 2029. The route starts at Phra Khanong station, heading to Rama 4 Road, passing Khlong Toei Market, turning left onto Narathiwat Ratchanakarin Road, heading to Rama 3 Road, crossing Rama 9 Bridge, entering Ratchadaphisek Road, connecting to the BTS at Talat Phlu station, ending at Tha Phra to connect with the Blue Line.

10. **Blue Line** from Din Daeng to Sathon, covering 9.50 kilometers, under investment study, planned to open in 2029. The route starts at Pracha Songkhro station, passing Din Daeng Housing, entering Makkasan Transport Center, turning right at Asoke-Phetchaburi intersection, elevated over Chaloem Maha Nakhon Expressway, passing Ploenchit intersection, US Embassy, Sarasin intersection, Lumphini Park, crossing Thai-Belgian Bridge, ending at Sathon-Narathiwat intersection, near Chong Nonsi BTS station.

11. **Yellow Line Extension** from Ratchada intersection to Ratchayothin intersection, covering 2.60 kilometers at 3 billion baht, planned to open in 2029. The route starts from Lat Phrao station, connecting the Blue and Yellow Lines, along Ratchadaphisek Road, passing the Criminal Court, Rajabhat Chandrakasem University, connecting Ratchayothin intersection between Phahon Yothin 24 station and Ratchayothin station, part of the Green Line from Mo Chit to Saphan Mai to Khu Khot.

Source: Thansettakij Newspaper, July 25-27, 2024 issue
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2024 11:17 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิด11รถไฟฟ้าสายใหม่ 2แสนล้าน บูมทำเลทอง
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:43 น.


ลิงก์มาแล้วจ้า:
เปิด 11 รถไฟฟ้าสายใหม่ 2 แสนล้าน บูมทำเลทอง
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:00 น.

กระทรวงคมนาคมเปิดแผน M-MAP 2 ปูพรม 11 เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ ในเขต กทม.-ปริมณฑล ระยะทาง 162.93 กม. มูลค่ารวม 228,546 ล้านบาท
เปิดให้บริการภายในปี 71-72 ช่วยร่นการเดินทาง บูมทำเลทองบ้านจัดสรร-คอนโดมิเนียม
การทุ่มเม็ดเงินลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้าของรัฐบาล อย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รองรับการขยายตัวของเมืองให้เชื่อมโยงการเดินทาง รถไฟฟ้า 13 เส้นทาง ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน รวมระยะทาง276.84 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 194 สถานีมูลค่า 547,663 ล้านบาท

ขณะโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมี จำนวน 4 โครงการ ระยะทางรวม 70.40 กม. จำนวน 68 สถานี เพื่อขยายแขนขารับประชาชนที่อยู่นอกเมือง ให้เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ล่าสุดยังเดินหน้าพัฒนาตามแผน M-MAP 2 อีกจำนวน 11 เส้นทาง ระยะทาง162.93 กม. มูลค่ารวม 228,546 ล้านบาท ในเขตกทม.-ปริมณฑล จุดพลุทำเลทองใหม่โครงการที่อยู่อาศัย

ที่ต้องทำให้เปิดปี 2571:
1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.10 กม. วงเงิน 41,720 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม
โดย รฟม.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมขอความเห็นชอบในหลักการของโครงการร่วมลงทุน (PPP) และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ วางเป้าหมายเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2571

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีแนวเส้นทางเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพูบริเวณแยกแคราย วิ่งไปตามแนวถนนงามวงศ์วานจนถึงแยกบางเขนเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วข้ามถนนวิภาวดี-รังสิต โดยลอดใต้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการทางยกระดับอุตราภิมุข จนถึงแยกเกษตร ก่อนยกระดับไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ยาวไปจนถึงแยกนวมินทร์ จนถึงแยกสวนสน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารจอดแล้วจรและศูนย์ซ่อมบำรุง

ที่ต้องทำให้เปิดปี 2572:
2.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ -พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,573 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท.มีมติเห็นชอบปรับกรอบวงเงินโครงการ เนื่องจากมีการปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี เปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี และมีทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการเพิ่มขึ้น 416.09 ล้านบาท หลังจากนี้ รฟท. จะเสนอโครงการดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. วงเงิน 27,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่วัชรพลตรงจุดตัดกับ ถ.รามอินทรา มุ่งหน้าลงใต้ตามแนว ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านซอยนวลจันทร์ ข้ามสะพานเกษตรนวมินทร์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดกับถ.ลาดพร้าว จากนั้นมุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 9 แล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ถ.ประชาอุทิศ ออกสู่ถ.เพชรบุรี เข้าสู่ถ.ทองหล่อมาเพื่อมาตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีทองหล่อ

ที่ควรจะทำให้เปิดปี 2572:

4.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว(สุขุมวิท) ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.50 กม. วงเงิน 7,994 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72

มีแนวเส้นทางเป็นทางวิ่งยกระดับตลอดแนวเชื่อมต่อจากช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยวิ่งไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท จนสิ้นสุดโครงการบริเวณก่อนถึงแยกถนนตำหรุ-บางพลี จำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีสวางคนิวาส,สถานีเมืองโบราณ,สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์,สถานีบางปูและสถานีตำหรุ

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,197 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางต่อจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่สถานีหลักสอง โดยเป็นทางยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษมถึงพุทธมณฑลสาย 2 ไปยังสถานีทวีวัฒนาและผ่านพุทธมณฑลสาย 3 ไปสิ้นสุดที่สถานีพุทธมณฑล สาย 4

6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก ระยะทาง 0.92 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มวิ่งตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านนสถาบันจิตเวชศาสตร์ฯ โรงเรียนจันทรวิทยา และสิ้นสุดแถววัดอนงคารามวรวิหาร

7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-ท่าพระ ระยะทาง 23.66 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาวงเงินลงทุน ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีพระโขนง มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม4 ผ่านตลาดคลองเตย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 3 ผ่านสะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษกเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีตลาดพลู ไปสิ้นสุดที่แยกท่าพระ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีท่าพระ

8.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.60 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีลาดพร้าว

ที่เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน และสายสีเหลือง วิ่งมาตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านศาลอาญา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธิน ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ที่ควรทำให้เปิดหลังปี 2572
9.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย ระยะทาง 33.16 กม. มูลค่าประมาณ 48,129 ล้านบาทปัจจุบันรฟท.ได้เสนองบประมาณปี 2567 วงเงิน 140 ล้านบาท เพื่อทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาต่อไป

10.โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว (สุขุมวิท) ช่วงลำลูกกา-คูคต ระยะทาง 6.50 กม. วงเงิน 6,337 ล้านบาท ที่มีแนวเส้นทางผ่าน 4 สถานี คือ สถานีคลอง 3, สถานีคลอง 4, สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก

11.โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร ระยะทาง 9.50 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาวงเงินลงทุน ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 72 มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน เลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเข้าสู่แนวถนนวิทยุ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนสาทร ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี

Note: อย่างไรก็ตาม รถไฟสายสีฟ้านั้น ถ้าเป็นทางลอยฟ้า ดูท่าจะไม่ผ่าน EIA ถ้าเป็นทางลอยฟ้าหรือแม้แต่ โมโนเรล เพราะ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น และ สถานเอกอัครราชทูตอื่นๆ คงไม่ยอมให้มีการโค่นต้นไม้ริมถนนวิทยุเป็นแน่ ยิ่งถ้าขยายทางจากประชาสงเคราะห์ ผ่านสามเหลียมดินแดง ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่าน แยกตึกชัย ไปตามเส้นราชวิถี ผ่านวังสวนจิตรลดา ราชภัฏสวนดุสิต แยกซังฮี้ แยกสิรินธร ไปสุดระยะที่สถานีบางบำหรุด้วยแล้ว ถ้าไม่ทำทางใต้ดินก็ไม่ได้เกิดเป็นแน่


https://www.thansettakij.com/business/economy/602453
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2024 10:27 am    Post subject: Reply with quote

สนข.กางแผนดำเนินงานเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม
Source - แนวหน้า
Saturday, August 03, 2024 07:07

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2567 และแผนงานในอนาคต ว่า มีงานที่อยู่ ระหว่างการนำเสนอกระทรวงคมนาคม 6 โครงการ ได้แก่

1.พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียว

2.พ.ร.บ.เขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ พ.ร.บ. SEC เพื่อใช้ในการกำกับดูแล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เชื่อมโยงกันทั้งในและนอกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

3.แผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อพัฒนาการเดินทางทางน้ำ ยกระดับการบูรณาการเดินทางกับรูปแบบอื่น เพิ่มการใช้ประโยชน์เพื่อการสัญจรและท่องเที่ยว

4.แผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ พร้อมปรับปรุงลักษณะกายภาพ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชน

5.แผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (พ.ศ. 2566-2580) โดยเร่งผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย EV ภาคคมนาคม พัฒนาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ และ

6.แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยอาศัยแนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ 177 สถานีทั่วประเทศ

ในขณะเดียวกันมีงานที่อยู่ระหว่างการศึกษา 8 โครงการ ได้แก่
1.การศึกษาจัดทำ Model การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดทั่วทุกภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภายใต้กรอบ GMS สนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การศึกษาในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก คาดจะแล้วเสร็จและนำเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือนสิงหาคม 2567 ส่วนภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคเหนือ คาดจะนำเสนอได้ปี 2568

2.การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและออกแบบแนวคิดเบื้องต้น เส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามันช่วงระนอง-สตูล คาดจะศึกษาแล้วเสร็จปี 2568,

3.การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะใน เขตเมืองหลักในภูมิภาค เพื่อให้มีฐานข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและข้อมูลการจราจรที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน,

4.การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรองรับ EEC เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่ทางรางและทางน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

5.การศึกษาเพื่อจัดทำข้อมูลฐานและ การประเมิน การลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของยานพาหนะ,

6.การศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลคมนาคมของไทย เพื่อจัดทำศูนย์ข้อมูลคมนาคมของไทย สำหรับเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านคมนาคมแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายและแผนด้านคมนาคม รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายของ ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม

7.การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการจราจรและขนส่งในพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ

8.โครงการ Landbridge ได้ศึกษาและ วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการ ขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) ในรูปแบบ One Port Two Sides ปัจจุบันกำลังศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ในปี 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ สนข. ดำเนินการเพื่อ รับฟังความคิดเห็นจากเอกชน ทั้งนี้ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างปี 2568 และจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อม เปิดให้บริการปี 2573

โดยมีงานที่จะดำเนินการศึกษาในอนาคต 3 โครงการ ได้แก่

1.การศึกษาเพื่อจัดทำกรอบ การดำเนินงานและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อภาคคมนาคมอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 1) เพื่อจัดทำกรอบการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในภาคคมนาคม แผนปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระยะ และจัดทำข้อมูลระบบการรายงานและบริหารจัดการข้อมูลภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำแบบจำลอง,
2.การพัฒนาระบบเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯและพื้นที่ต่อเนื่อง และ
3.การพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 3 ส.ค. 2567


Office of Transport and Traffic Policy and Planning Unveils Network Connectivity Plans

Source: Naewna
Saturday, August 03, 2024, 07:07


Mr. Panya Chupanit, Director of the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP), revealed the performance results for 2024 and future plans. There are six projects currently being presented to the Ministry of Transport:

1. Joint Ticket System Management Act: This will facilitate public travel using a single transportation card.
2. Southern Economic Corridor Area Development Act (SEC Act): This act aims to oversee and facilitate investment, land use planning, and the integration of infrastructure and utilities within and outside the Southern Economic Corridor, enhancing competitiveness and driving national economic growth.
3. Bangkok and Metropolitan Area Water Transport Development Plan: This plan aims to enhance water transport, integrate it with other forms of transportation, and increase its use for commuting and tourism.
4. Transportation Network Development Plan for Connectivity to BTS Stations and Airports in Bangkok and Metropolitan Areas: This plan involves developing travel connection points (wheel-rail-boat), improving physical attributes, and providing facilities for the public.
5. Electric-Powered Public Transportation System Development Plan (2023-2037): This plan focuses on pushing and driving the EV policy in the transport sector, developing the use of electric vehicle technology for public transportation.
6. Development Plan for Areas Around High-Speed and Dual-Track Train Stations: Utilizing the concept of Transit Oriented Development (TOD) to enhance the development potential around 177 train stations nationwide.

Additionally, there are eight ongoing study projects:

1. Model Development Study for Provincial Transport Network Connectivity: Aiming to link economic corridor areas under the GMS framework to support economic and tourism development. Current studies are ongoing in central, southern, and eastern regions, expected to be presented to the Ministry of Transport by August 2024, with northeastern and northern regions expected by 2025.
2. Preliminary Feasibility and Conceptual Design Study for Andaman Coastal Tourism Route (Ranong-Satun): Expected to be completed by 2025.
3. Public Transport Travel Data Analysis in Major Regional Cities: To establish a standardized travel and traffic data system.
4. Development Plan Study for Enhancing Agricultural and Industrial Freight Transportation for EEC: Aiming to shift freight transport from roads to rail and waterways.
5. Greenhouse Gas Reduction Data Collection and Assessment Study: From energy efficiency measures in vehicles.
6. Development of Thai Transport Data Center: To disseminate transport information to the public and private sectors and aid in policy and planning decisions.
7. Intelligent Traffic and Transport System (ITS) Development: To enhance traffic and transport management efficiency in Chachoengsao, Chonburi, and Rayong.
8. Landbridge Project Study (Chumphon-Ranong): Planning infrastructure to connect the Gulf of Thailand and the Andaman Sea under the One Port Two Sides concept. Current studies include feasibility, preliminary design, and environmental impact assessment, expected to be presented to the Cabinet in 2024 for approval. Construction is planned to begin in 2025 and be completed by 2030.

Future study plans include three projects:

1. Disaster Management Framework and System for the Transport Sector (Phase 1): Developing an operational framework and data management system for effective disaster response in the transport sector.
2. Public Transport Usage Increase System Development in Bangkok and Surrounding Areas.
3. Joint Ticket System Management and Oversight Model Development.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2024 8:31 am    Post subject: Reply with quote

'สนข.'ชง'พรบ.ตั๋วร่วม'เข้าครม. ลุ้นเคาะรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, August 07, 2024 04:12

ดึงบีทีเอสร่วมเจรจา ปรับลดค่าโดยสารด้วย

กรุงเทพธุรกิจ สนข.เผยความคืบหน้า เสนอ ครม.พิจารณา พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ลุ้นไฟเขียวดันนโยบายรถไฟฟ้า20 บาทตลอดสายในทุกสี ทุกสาย มีผลบังคับใช้ ก.ย.2568 เล็งเจรจา BTS ปรับลดค่าโดยสาร ด้าน "คมนาคม" เดินหน้าหารือ สภา กทม.หนุนทุกโครงข่ายรถไฟฟ้าร่วมวง

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการศึกษา จัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบ ตั๋วร่วม โดยระบุว่า ขณะนี้ สนข.ได้จัดทำ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว โดยสถานะปัจจุบันคาดว่าอยู่ในขั้นตอนสำนักเลขานายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างสอบถามความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ก่อนนำเสนอเข้า ครม.เห็นชอบ ซึ่งหาก พ.ร.บ. ตั๋วร่วมผ่านการเห็นชอบแล้ว จะเดินหน้าสู่ขั้นตอนเสนอร่างต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบ เบื้องต้นคาดว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วม จะมี ผลบังคับใช้กฎหมายในเดือน ก.ย.2568

ทั้งนี้ จะสอดรับกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการผลักดันให้ระบบขนส่งรถไฟฟ้าทุกสายเข้าร่วมนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทสูงสุดตลอดสาย โดยระยะแรกของ การบังคับใช้กฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมนั้น จะส่งผลให้ภาครัฐสามารถดำเนินการให้ ผู้บริการรถไฟฟ้าทุกโครงข่าย ต้องรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยสารใบเดียว เป็นเสมือนตั๋วร่วมในการเดินทางระบบรถไฟฟ้า และจะเป็นผลให้สามารถปรับลดค่าแรกเข้า กรณีเดินทางเชื่อมต่อโครงข่าย เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนได้

"ตั๋วร่วม"ใช้กับรถไฟฟ้าทุกสาย
"หาก พ.ร.บ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้ทุกโครงการรถไฟฟ้าต้องติดตั้งเทคโนโลยีที่สามารถอ่านบัตรโดยสาร ร่วมกันได้ เพื่อให้ผู้โดยสารถือบัตรโดยสารใบเดียวก็สามารถเดินทางได้ทุกระบบ เป็นเคลียริ่งเฮาส์ (Clearinghouse) ส่วนกลางที่บริหารการจัดเก็บค่าโดยสารทั้งหมด และเมื่อรถไฟฟ้าทุกสายเข้าร่วมระบบนี้ ก็จะสามารถปรับค่าโดยสารเป็น 20 บาทตลอดสายได้"
นายปัญญา กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ที่ภาครัฐยังไม่มีการผลักดัน พ.ร.บ. ตั๋วร่วม ก็ไม่สามารถดึงให้ผู้บริการรถไฟฟ้า เข้าร่วมใช้ระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อเกิดตั๋วร่วมสำหรับรถไฟฟ้าได้ แต่เมื่อในขณะนี้กำลังจะมี พ.ร.บ.ตั๋วร่วมเกิดขึ้น แน่นอนว่าผู้ประกอบการทุกรายต้องเข้าร่วมใช้ระบบตั๋วร่วมนี้ตามกฎหมายบังคับ โดยรถไฟฟ้าทุกระบบจะต้องติดตั้งระบบรองรับการจ่ายผ่านระบบตั๋วร่วม ควบคู่ไปกับการใช้ระบบอ่านบัตรโดยสารที่เคยมีอยู่

อย่างไรก็ดี สนข.จะหารือร่วมกับ ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าทุกราย รวมไปถึง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส ซึ่งมีระบบอ่านบัตรโดยสาร ของตนเองอยู่แล้ว จะต้องเตรียมเข้าร่วม ติดตั้งระบบตั๋วร่วม และจะเจรจาให้บีทีเอส ปรับอัตราค่าโดยสารตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาททุกสีทุกสายภายใน ก.ย.2568

ศึกษาออกกฎหมายลูก17ฉบับ

ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2568 สนข.ได้รับจัดสรรงบประมาณ วงเงิน 35 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 24 เดือน หรือ 2 ปี เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาการจัดทำกฎหมายลูก จำนวน 17 ฉบับ ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนก.ย. 2568 ในการรองรับร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม โดยมีสาระสำคัญ เป็นประโยชน์ต่อการขยายบริการตั๋วร่วมไปยังระบบขนส่งสาธารณะประเภทอื่นๆ อาทิ โดยสารทางเรือ และรถโดยสารสาธารณะนอกจากนี้ยังศึกษาอัตราค่าโดยสารร่วม เทคโนโลยีการอ่านบัตรโดยสาร และการจัดตั้งกองทุนระบบตั๋วร่วม เพื่อชดเชยรายได้ให้แก่เอกชน

ด้านนายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมาตนได้เข้าร่วมประชุมกับสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) เพื่อหารือถึงนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในการอำนวยความสะดวก การเดินทาง และลดภาระค่าครองชีพให้กับ พี่น้องประชาชน โดยสภา กทม.พร้อมจะผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม

ดันนโยบายหนุนใช้โดยสารสาธารณะ

อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ ได้รับรายงานจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า ภาพรวมการเดินทางของผู้โดยสารรวมทั้ง 2 สาย คือ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2567) พบว่า มีผู้ใช้บริการ เพิ่มขึ้นรวมกว่า 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปี 2566 ซึ่งถือว่านโยบายดังกล่าว ช่วยให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ขณะที่รายได้ของรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วงถึงแม้ว่าขณะนี้จะลดลงจากเดิม แต่คาดว่าภายในระยะ 2 ปี 8 เดือน จะกลับสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเริ่ม นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และจากจำนวนผู้ใช้บริการที่ยังคง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้รายได้มีโอกาสจะกลับสู่ภาวะปกติเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมนโยบาย ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. . เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. คาดว่าจะ เสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้ภายในเดือน ก.ย. 2568 สอดรับกับเป้าหมายการประกาศใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในทุกสีทุกสายได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้กระทรวงฯ ยืนยันว่านโยบายดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อสัญญาสัมปทานที่มีอยู่กับผู้ประกอบการเอกชน เนื่องจากภาครัฐจะจัดหางบประมาณที่จะนำไปชดเชยให้กับผู้ประกอบการเอกชน ในส่วนต่างค่าโดยสารที่สูงเกินกว่า 20 บาท ผ่านการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม นำรายได้จากการบริหารรถไฟฟ้าที่มีผลกำไรมาจัดสรรเข้า กองทุน รวมไปถึงแนวทางจัดหารายได้ในส่วนอื่นๆ

โดยเบื้องต้นกระทรวงฯ ประเมินวงเงินที่ใช้หมุนเวียนในกองทุนส่งเสริม ระบบตั๋วร่วม เพื่อชดเชยส่วนต่าง ค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 7 - 8 พันล้านบาท ต่อปี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเสนอรายละเอียดต่างๆ ซึ่งคาดว่า จะเริ่ม ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อจัดตั้ง กองทุนฯ ได้ในช่วงเดือน ต.ค. 2568 - มี.ค.2569

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 ส.ค. 2567


OTP proposes 'Joint Ticket Act' to the Cabinet, aims for 20 baht flat fare for all electric train lines
Source - Krungthep Turakij
Wednesday, August 7, 2024 04:12

**Negotiations with BTS to reduce fares**

Krungthep Turakij: The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) revealed the progress of the Joint Ticket Act, which has been submitted to the Cabinet for consideration. The Act aims to implement a 20 baht flat fare policy for all electric train lines, regardless of color or route, and is expected to be enforced by September 2028. Negotiations with BTS to reduce fares are also underway. The Ministry of Transport is in discussions with the Bangkok Metropolitan Council (BMC) to encourage all electric train networks to participate.

Mr. Panya Chupanich, Director of the OTP, revealed the progress of the study on the Joint Ticket Management System, stating that the OTP has prepared a draft of the Joint Ticket Management Act B.E. .... and submitted it to the Ministry of Transport and the Cabinet for consideration. The current status suggests that the draft is under review by the Office of the Prime Minister, with further inquiries being made to relevant agencies before presenting it to the Cabinet for approval. If approved, the Act will proceed to the Council of State for consideration before being submitted to the House of Representatives for approval. It is initially expected that the Joint Ticket Act will be enforced by September 2028.

This aligns with the Ministry of Transport's policy to push for a 20 baht maximum fare for all electric train lines. The initial enforcement of the Act will require all electric train service providers to accept payments through a single card, serving as a joint ticket for travel on the electric train system. This will enable the reduction of initial entry fees when transferring between networks, easing the burden on the public.

**'Joint Ticket' for all electric train lines**
"Once the Joint Ticket Act is enforced, all electric train projects will be required to install technology capable of reading a common ticket, allowing passengers to travel on all systems with a single card. This will create a central clearinghouse for managing all fares, and when all electric train lines participate in this system, a 20 baht flat fare for all lines can be implemented," said Mr. Panya.

He added that previously, without the Joint Ticket Act, the government could not compel electric train service providers to participate in the clearinghouse system for joint ticketing. However, with the upcoming Act, all operators will be legally obligated to participate. All electric train systems will need to install systems compatible with the joint ticket payment, alongside their existing ticket reading systems.

The OTP will hold discussions with all electric train operators, including Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC), the operator of the BTS Skytrain, which already has its own ticket reading system. BTSC will be required to prepare for the installation of the joint ticket system and will be asked to adjust fares in accordance with the 20 baht flat fare policy for all lines by September 2028.

**Study to enact 17 subsidiary laws**

Meanwhile, in the fiscal year 2028, the OTP has been allocated a budget of 35 million baht for a 24-month study to hire consultants to prepare 17 subsidiary laws before September 2028, in support of the Joint Ticket Act. These laws will focus on extending the joint ticket service to other public transportation modes, such as boats and public buses. The study will also examine joint fares, ticket reading technology, and the establishment of a joint ticket fund to compensate private operators.

Mr. Pongkavin Jungrungruangkit, Advisor to the Minister of Transport, mentioned that on August 5th, he participated in a meeting with the Bangkok Metropolitan Council (BMC) to discuss the 20 baht flat fare policy for electric trains, aimed at facilitating travel and reducing the cost of living for the public. The BMC is ready to push for the implementation of this policy.

**Promoting the use of public transportation**

The Ministry has received a report from the Department of Rail Transport (DRT), indicating that the overall passenger numbers for both the Red Line commuter train and the Purple Line MRT have increased by over 26% compared to the same period in 2023 (data as of the end of June 2024). This suggests that the policy has encouraged more people to use public transportation. Although the revenue of the Red Line and Purple Line has decreased, it is expected to return to normal within 2 years and 8 months, before the implementation of the 20 baht flat fare policy. The continuous increase in passenger numbers may lead to a faster recovery of revenue than anticipated.

For other electric train lines that have not yet joined the policy, the Joint Ticket Management Act is being drafted for submission to the Cabinet. It is expected to be completed and enforced by September 2028, aligning with the goal of implementing the 20 baht flat fare policy for all lines.

The Ministry assures that this policy will not affect existing concession agreements with private operators, as the government will allocate funds to compensate them for the fare difference exceeding 20 baht through the establishment of a Joint Ticket Promotion Fund. Revenue from profitable electric train operations will be allocated to this fund, along with other sources of income.

The Ministry estimates that the Joint Ticket Promotion Fund will require 7-8 billion baht per year to compensate for the fare difference. The details are currently being finalized, and the legal process for establishing the fund is expected to begin between October 2028 and March 2029.

Source: Krungthep Turakij Newspaper, August 7, 2024
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2024 2:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'สนข.'ชง'พรบ.ตั๋วร่วม'เข้าครม. ลุ้นเคาะรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 04:12 น.

ดึงบีทีเอสร่วมเจรจา ปรับลดค่าโดยสารด้วย


ลิงก์มาแล้วครับ
สนข.ชง'พรบ.ตั๋วร่วม'เข้าครม. ลุ้นเคาะรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย

bangkokbiznews

สนข.'ชง พรบ.ตั๋วร่วม เข้าครม. ลุ้นเคาะรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
สนข.เผยความคืบหน้าเสนอ ครม.พิจารณา พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ลุ้นไฟเขียวดันนโยบายรถไฟฟ้า20 บาทตลอดสายในทุกสีทุกสาย มีผลบังคับใช้ ก.ย.2568 เล็งเจรจา BTS ปรับลดค่าโดยสาร
https://inews.bangkokbiznews.com/read/479714
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 280, 281, 282 ... 287, 288, 289  Next
Page 281 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©