RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13575530
ทั้งหมด:13887433
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 102, 103, 104  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2024 1:21 pm    Post subject: Reply with quote

(Live) สด BTS ทวงหนี้กทม.ส่วนต่อขยายสายสีเขียว
Kaohoon TV Online - ข่าวหุ้นทีวีออนไลน์

BTS เดินหน้าทวงหนี้ กทม.
หลังชนะคดี ค่า O&M ส่วนต่อขยายสายสีเขียว


https://www.youtube.com/watch?v=Sli9ZPJgUW8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2024 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
(Live) สด BTS ทวงหนี้กทม.ส่วนต่อขยายสายสีเขียว
Kaohoon TV Online - ข่าวหุ้นทีวีออนไลน์

BTS เดินหน้าทวงหนี้ กทม.
หลังชนะคดี ค่า O&M ส่วนต่อขยายสายสีเขียว

https://www.youtube.com/watch?v=Sli9ZPJgUW8

"บีทีเอส" พร้อมเจรจา กทม. ปมหนี้สายสีเขียว |
ข่าวค่ำ
วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส ยืนยันว่า ต้องการให้กทม.และเคที ร่วมกันจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง #BTSสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ภายใน 180 วัน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
https://www.youtube.com/watch?v=fTqvjqnVl4I

“บีทีเอส”กางยอดหนี้เดินรถ”สีเขียว”เกือบ4 หมื่นล้าน “คีรี”พร้อมเจรจากทม.ย้ำสัญญาผูกจ้างตลอดสายถึงปี 85
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:07 น.

“บีทีเอส” เร่ง “กทม.-เคที” จ่ายหนี้เดินรถ 3.9 หมื่นล้าน ลุยปรับโฉมสถานีฯ เปิดใช้มา 30 ปี
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:37 น.

'บีทีเอส' พร้อมเจรจา 'กทม.' ปมหนี้สายสีเขียวเฉียด 4 หมื่นล้าน
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:19 น.

“บีทีเอส”เปิดเหน้าพร้อมเจรจา กทม. เคลียร์หนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังใช้เวลากว่า 3 ปีพิสูจน์ข้อเท็จจริง เผยดอกเบี้ยเดินทุกวันเฉลี่ย 7 ล้านบาท ดันหนี้รวมแตะ 4 หมื่นล้านบาท

“บีทีเอส” แฮปปี้! เร่ง กทม.-เคที ชำระหนี้ค่าเดินรถ 3.9 หมื่นล้าน หลังศาลฯ สูงสุดสั่งจ่ายภายใน 180 วัน ชี้ต้องนำไปใช้หนี้ ลุยปรับโฉมสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ อัปเกรดระบบให้ทันสมัย หลังจากใช้งานมาเกือบ 30 ปี พร้อมเร่งจัดหาขบวนรถเข้ามาเพิ่มใช้งานอีก 5 ปีข้างหน้า...

บีทีเอสกางยอดหนี้ กทม.ค้างค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง”รถไฟฟ้าสีเขียว”รวมเกือบ4 หมื่นล้านบาท หลังศาลตัดสินชนะคดีฟ้องครั้งที่ 1 เป็นแนวทางชัดเจน “คีรี”พร้อมเจรจา ยันศาลชี้ชัด สัญญาจ้างเดินรถ เป็นสัญญาทางปกครอง ไม่โมฆะ ผูกเส้นทางหลักส่วนไข่แดง หลังหมดสัมปทานปี 72 ต้องจ้างรวมตลอดสายไปถึงปี 85

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) เปิดเผยว่า กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ร่วมกันชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง (หนี้ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 ถึงพฤษภาคม 2564) และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต (หนี้ช่วงเดือนเมษายน 2560 ถึง พฤษภาคม 2564) จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท นั้น นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่บีทีเอสได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง จนได้รับความเป็นธรรมจากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ทำงานอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ซึ่งได้พยายามชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และประชาชน รับทราบมาโดยตลอด

วันนี้ เป็นการยืนยันคำพูดของตนที่ว่า บีทีเอสทำงานบนพื้นฐานความถูกต้อง และได้ปรึกษาทีมกฎหมายอย่างครบถ้วน ถ้าสัญญาไม่พร้อมหรือไม่ถูกต้อง ตนย่อมไม่ลงนามอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เพราะบีทีเอสเป็นบริษัทมหาชน ดังนั้นตนต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้โดยสาร ที่ตนยืนยันเสมอมาว่าจะไม่หยุดเดินรถอย่างแน่นอน ที่สำคัญคำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ จะเป็นแนวทางในการพิจารณาคดีในหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป เพราะสัญญาไม่มีอะไรผิด การจัดซื้อจัดจ้างไม่ผิด

“ผมได้รับทราบข่าวจากสื่อว่า เบื้องต้นทางกทม. พร้อมที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท แต่ก็อยากให้กทม. และ KT คำนึงถึงยอดหนี้ในส่วนที่เหลือด้วยเนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งนับถึงปัจจุบัน ยอดหนี้รวมทั้งหมดเกือบ 4 หมื่นล้านบาท ดังนั้น หากกทม.และ KT ยังไม่รีบดำเนินการ ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นทุกวัน ที่ผ่านมาเราต้องกู้เงินมาจ่ายค่าพนักงาน ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่เราเป็นเอกชน คงไม่มีเอกชนไหนที่จะเป็นไฟแนนซ์ให้รัฐบาลได้เหมือนเราอีกแล้ว ภาระดอกเบี้ยปีละ 2,600 ล้านบาท หรือเฉลี่ย วันละ 7 ล้านบาท เกือบครึ่งหนึ่งรายได้ ซึ่งเทียบกับ MLR + 1 หรือ คิดเป็นประมาณ 8% ขณะที่โครงการนี้ มี IRR ประมาณ 9-12% เราได้ 8% ไม่ใช่เรื่องนี้ จริงๆ เพราะเราต้องการเงินไปลงทุนมากกว่า รอดอกเบี้ยหนี้ค้างชำระแบบนี้

อย่างไรก็ตาม บีทีเอส ยินดีและพร้อมที่จะเจรจากับกทม. และ KT ในการหาทางออกร่วมกัน หากข้อเสนอเหล่านั้นมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้บริการสาธารณะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ตามคำสั่งศาลภายใน 180 วัน ทั้งนี้ หนี้ที่ได้รับมาบริษัทจะนำไปลงทุนพัฒนาในธุรกิจของบริษัทต่อไป



@ หลังปี 72 ต้องจ้างบีทีเอสเดินรถเส้นทางหลักรวมต่อขยาย ถึงปี 85

นายคีรี กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลชี้ชัดว่า สัญญาจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยาย 1 และ2 ที่สิ้นสุดปี 2585 นั้นถูกต้อง ซึ่งสัญญานี้จะครอบคลุมไปถึงส่วนของการเดินรถเส้นทางหลัก ที่สัมปทานจะหมดในปี 2572 ว่า กทม.และ KT จะต้องจ้างบริษัท เดินรถและซ่อมบำรุงในส่วนเส้นทางหลักนี้ ไปจนถึงปี 2585 รวมไปด้วยเป็นตลอดสาย เส้นทางหลัก ส่วนต่อขยาย 1 และ ส่วนต่อขยาย 2 ระยะทางรวมทั้งสิ้น 60 กม. เพราะกทม.ต้องการให้ สายสีเขียวทั้งเส้นทางเป็นระบบเดียวกัน

ทั้งนี้ กรณีที่ กทม. จะศึกษา PPP หาเอกชนร่วมลงทุนในส่วนของเส้นทางหลัก หลังสัมปทานสิ้นสุดปี 2572 นั้นย่อมทำได้ แต่ตามเงื่อนไขนี้ ไม่ว่าใครจะเข้ามารับสัมปทานส่วนหลัก จะต้องจ้างบีทีเอสเดินรถและซ่อมบำรุงต่อไปอีก 13 ปี หรือจนถึงปี 2585 ซึ่งต้องรอดู ว่ากทม.จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งวันนี้ ทางกทม.ได้เริ่มจ้างที่ปรึกษามาคิดแล้วว่า หลังสัมปทานหมดปี 2572 จะทำอย่างไรต่อไป

ขณะที่สัมปทานเส้นทางหลัก เขียนไว้ว่า ก่อนสัญญาหมด 3-5 ปี บริษัทสามารถยื่นร้องขอกทม.ในการต่อสัมปทานได้ ส่วนจะยื่นหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนภายใต้ความเป็นจริง ภาวะเศรษฐกิจ และภาวะการเดินทางของผู้คนที่ไม่เหมือนเดิมไม่อยากออกจากบ้าน เหมือนเดิม แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าระบบราง ยังเป็นการเดินทางที่แก้ปัญหาจราจรดีที่สุด ซึ่งตอนนี้ตนมองว่าไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ รับจ้างเดินรถทั้งสายไปถึงปี 2585 หรือ ยื่นสัมปทาน หลังปี 2572



ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอสกล่าวว่า สัญญาจ้างเดินรถ มี 2 ฉบับ คือ สัญญาเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยาย 1 ช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง และ สัญญาเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต ซึ่งบีทีเอสไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่เดือนพ.ค. 2562 จนกระทั่งผ่านไป 2 ปี จึงยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2564 ยอดหนี้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น ยื่นฟ้อง (ค่า O&M 1 )

สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงสิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีจำนวนกว่า 39,402 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. การฟ้องครั้งที่ 1 ค่าจ้างช่วงเดือนพ.ค. 2562 - เดือนพ.ค. 2564 คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ให้กทม. และ KT ร่วมกันชำระให้กับบีทีเอสเป็นเงิน จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท

2.ฟ้องครั้งที่ 2 ค่าจ้างช่วงเดือนมิถุนายน 2564 - เดือนตุลาคม 2565 ยอดหนี้ที่บีทีเอสได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ให้กทม. และ KT ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงให้กับบีทีเอสของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 เป็นเงินจำนวนกว่า 11,811 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

3.หนี้ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยาย1 และ ส่วนต่อขยาย2 ที่ค้างชำระ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มิถุนายน 2567 เป็นเงินจำนวนกว่า 13,513 ล้านบาท เป็นส่วนที่ยังไม่ได้ฟ้อง

4.ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบัน (เดือนมิ.ย. 2567 จนถึงสิ้นสุดสัมปทาน ปี พ.ศ. 2585 ที่หากกทม.และ KT ยังไม่จ่ายก็จะเป็นหนี้ในอนาคตต่อไป



@ยันศาลชี้ชัด สัญญาจ้างเดินรถ เป็นสัญญาทางปกครอง ไม่โมฆะ

ด้าน พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บีทีเอสกล่าวว่า คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด โดยที่ประชุมใหญ่ ที่ประกอบด้วยตุลาการศาลปกครอง 50 คน ผลของการพิจารณาศาลสรุปได้ 9 ประเด็น เช่น เรื่องสัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่1 และส่วนต่อขยายที่2 เป็นโมฆะหรือไม่ ซึ่งศาลพิจารณาแล้วสัญญาไม่ได้เข้าร่วมตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ บีทีเอสได้รับสัมปทานเส้นทางหลักจึงเป็นผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้บริการเดินรถ และเพื่อให้การเดินรถส่วนหลักและส่วนต่อขยายเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงเข้าลักษณะการจัดจ้างวิธีพิเศษตามข้อบังคับกทม.ดังนั้นสัญญาจ้างเดินรถทั้ง2 ฉบับ ไม่เป็นโมฆะ และถือว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ไม่ขัดต่อกฎหมาย

โดย กทม.และ KT ต้องจ่ายเงินให้บีทีเอสเท่าไหร่ สรุปว่า ต้องจ่ายเงินให้จำนวน11,755 ล้านบาท ดอกเบี้ย MLR +1 นับตั้งแต่วันฟ้องคดีจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนกรณี ปปช. กล่าวหาบีทีเอสทำผิดเรื่องสัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย ศาลพิจารณาแล้วไม่มีผลต่อสัญญา เพราะยังไม่มีการชี้มูลคามผิด เป็นต้น

BTS รับคำพิพากษา วอน กทม.-กรุงเทพธนาคม จ่ายหนี้กว่า 1.1 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:12 น.

BTS น้อมรับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีให้กทม. และกรุงเทพธนาคม (KT) ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 11,755 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดหนี้รวมมหาศาลถึง 39,402 ล้านบาท หลังการต่อสู้กว่า 3 ปี
วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และ พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ได้ร่วมกันแถลงถึงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

โดยศาลได้มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ร่วมกันชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง (เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงพฤษภาคม 2564)

และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต (เดือนเมษายน 2560 ถึง พฤษภาคม 2564) เป็นจำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท

นายคีรี กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่บีทีเอสได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง จนได้รับความเป็นธรรมจากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เราทำงานอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้พยายามชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนรับทราบมาโดยตลอด และ ณ วันนี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ความพยายามที่บีทีเอสทำมาตลอดนั้นไม่สูญเปล่าและยังเป็นการยืนยันคำพูดของตนว่า

“บีทีเอสทำงานบนพื้นฐานความถูกต้อง และได้ปรึกษาทีมกฎหมายอย่างครบถ้วน ถ้าสัญญาไม่พร้อมหรือไม่ถูกต้อง ตนย่อมไม่ลงนามอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เพราะบีทีเอสเป็นบริษัทมหาชน ดังนั้นตนต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้โดยสาร ที่ตนยืนยันเสมอมาว่า จะไม่หยุดเดินรถอย่างแน่นอน”


และที่สำคัญ คำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ จะเป็นแนวทางในการพิจารณาคดีในหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นบีทีเอสได้รับทราบจากข่าวของสื่อมวลชนว่า กทม. พร้อมที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท

แต่อย่างไรก็ดี บีทีเอสก็อยากให้กทม. และ KT คำนึงถึงยอดหนี้ในส่วนที่เหลือด้วยเนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน


โดยหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงสิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีจำนวนรวมกว่า 39,402 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้

BTS รับคำพิพากษา วอน กทม.-กรุงเทพธนาคม จ่ายหนี้กว่า 1.1 หมื่นล้าน

ยอดหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ให้กทม. และ KT ร่วมกันชำระให้กับบีทีเอสเป็นเงินจำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท
ยอดหนี้ที่บีทีเอสได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ให้กทม. และ KT ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงให้กับบีทีเอสของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทาง ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 (หนี้ค่าจ้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ถึง ตุลาคม 2565) เป็นเงินจำนวนกว่า 11,811 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
ยอดหนี้ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มิถุนายน 2567 ที่ยังค้างชำระ เป็นเงินจำนวนกว่า 13,513 ล้านบาท
ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงสิ้นสุดสัมปทาน ปี พ.ศ. 2585
อย่างไรก็ตาม บีทีเอส ยินดีและพร้อมที่จะเจรจากับกทม. และ KT ในการหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้บริการสาธารณะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ทั้งนี้ หากทั้งสองหน่วยงานมีแนวทางอื่น ๆ ที่อยากให้พิจารณาบีทีเอสก็ยินดี และพร้อมที่จะเจรจา หากข้อเสนอเหล่านั้นมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

"ตนรู้สึกดีใจ และเป็นชัยชนะให้กับตัวเองที่ต่อสู้อย่างบริสุทธิ์มาโดยไม่ยอมแพ้ เชื่อว่าลูกหนี้เข้าใจ เพราะสัญญาและการจัดซื้อจัดจ้างไม่มีอะไรผิดพลาด ดังนั้นนั้นสิ่งที่เราทำมา หรือสิ่งที่ตนเคยพูด เราทำอะไรตรงไปตรงมา และทำในสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา หวังว่ากทม. และ KT จะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของเอกชนอย่างเรา ที่ไม่เคยหยุดให้บริการเดินรถ และควรให้ฝ่ายกฎหมายเร่งพิจารณาแนวทางการชำระหนี้แก่บีทีเอสโดยเร็ว" นายคีรี กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2024 7:37 am    Post subject: Reply with quote

กันเหนียว! กทม.ชงขอความเห็นศาลฯ ปม ปปช.ชี้มูล ก่อนใช้หนี้บีทีเอส 1.2 หมื่นล้าน
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Tuesday, August 06, 2024 07:08

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลการหารือเมื่อวันที่ 5 ส.ค.67 เรื่องแนวทางการดำเนินงานตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด และการชำระหนี้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนที่ 1 และ 2 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (บีทีเอสซี) ว่า ภายหลังรับทราบคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คณะผู้บริหารกทม.กำหนดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกวัน เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน ล่าสุดวันนี้ได้มอบหมายสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ไปประสานสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนัดประชุมหารือในรายละเอียดของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในประเด็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิคัดค้านองค์คณะไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 09-3-052/2560 ลงวันที่ 10 ม.ค.66 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กรณีกล่าวหาว่าอดีตผู้ว่าฯ กทม. กับพวกรวม 13 คน กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขยายอายุสัญญาสัมปทานหรือทำสัญญาเพิ่มเติมให้กับผู้ฟ้องคดีให้ประกอบกิจการระบบขนส่งมวลขนกรุงเทพมหานครต่อไปอีก 13 ปี ทั้งที่ยังเหลืออายุตามสัญญาเดิมอีก 17 ปี อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดี ศาลฯ เห็นว่า กรณีดังกล่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่มีการชี้มูลความผิด จึงไม่มีผลต่อสัญญาพิพาทในคดีนี้แต่อย่างใด

แต่ข้อเท็จจริง คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดประเด็นดังกล่าวไปแล้วเมื่อเดือน ก.ย.66 ดังนั้น กทม. จึงขอให้อัยการร่วมกันหารือและพิจารณารายละเอียดประเด็นดังกล่าวว่าสามารถขอความเห็นศาลปกครองสูงสุดได้หรือไม่ เพื่อยืนยันว่า แม้จะมีการชี้มูลจาก ป.ป.ช. กทม.ยังต้องชำระหนี้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนที่ 1 และ 2 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทให้กับบีทีเอสซี ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เพื่อความแน่ใจและไม่เกิดปัญหาภายหลัง อย่างไรก็ตาม กทม.ไม่มั่นใจว่าจะขอความเห็นกับศาลปกครองสูงสุดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอัยการว่าจะดำเนินการอย่างไร

ขณะเดียวกัน สจส.เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อขอความเห็นชอบในการใช้เงินสะสมจ่ายขาด เพื่อชำระหนี้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนที่ 1 และ 2 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทในเร็ว ๆ นี้ สาเหตุที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะมีดอกเบี้ยเดินวันละ 2 ล้านบาท


Precaution! Bangkok Seeks Court Opinion on NACC Findings Before Settling BTS Debt of 12 Billion Baht

Source: Siam Rath Website
Date: Tuesday, August 06, 2024, 07:08


Mr. Wisanu Sapsohon, Deputy Governor of Bangkok, disclosed the results of a discussion on August 5, 2024, regarding the implementation of the Supreme Administrative Court's order and the payment of 12 billion baht for the operation and maintenance of the Green Line electric train project (parts 1 and 2) to Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC). Following the Supreme Administrative Court's order, the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) management has scheduled daily meetings with relevant agencies due to the urgency of the matter. Today, the Traffic and Transportation Department (TTD) has been tasked to coordinate with the Office of the Attorney General to schedule a detailed discussion on the Supreme Administrative Court's judgment concerning the case where the National Anti-Corruption Commission (NACC) issued an accusation and the right to object to the investigation panel, case number 09-3-052/2560 dated January 10, 2023, to the second defendant, Krungthep Thanakom Company Limited (KT), alleging that the former Bangkok Governor and 13 others committed corruption by extending the concession contract or making additional contracts for the complainant to operate the Bangkok mass transit system for another 13 years, despite the remaining 17 years in the original contract, thereby benefiting the complainant. The court noted that the NACC had not yet determined the wrongdoing, so it did not affect the disputed contract in this case.

However, the fact is that the NACC had already determined the wrongdoing in September 2023. Therefore, the BMA requested the Attorney General to discuss and consider whether they could seek the Supreme Administrative Court's opinion to confirm that even with the NACC's findings, the BMA still has to pay the 12 billion baht debt for the operation and maintenance of the Green Line electric train project (parts 1 and 2) to BTSC as ordered by the Supreme Administrative Court. This is to ensure clarity and avoid future issues. Nonetheless, the BMA is uncertain if they can request an opinion from the Supreme Administrative Court, which depends on the Attorney General's discretion on how to proceed.

Simultaneously, the TTD is preparing to present the matter to the Bangkok City Council to seek approval for using the accumulated funds to pay off the 12 billion baht debt for the operation and maintenance of the Green Line electric train project (parts 1 and 2) soon. The urgency of this matter is due to the accruing daily interest of 2 million baht.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2024 6:05 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตัน หนี้สายสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, September 04, 2024 05:23

BTS จ่อดำเนินคดีหลัง'กทม.-กรุงเทพธนาคม' ปัดจ่ายหนี้

บีทีเอส จ่อฟ้องม.157

"บีทีเอส" เดือดจ่อดำเนินคดีมาตรา 157 หลัง "กทม.-กรุงเทพธนาคม" ปัดจ่ายหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้านบาท กระทบรัฐ-เอกชนเสียหายหนัก เผยดอกเบี้ยพุ่ง 7 ล้านบาทต่อวัน ฟากกทม.ปักธงจ่ายหนี้ก้อนแรกยึดคำสั่งศาล 1.2 หมื่นล้านรวดเดียวจบภายในพ.ย.นี้

รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีความชุลมุนต่อเนื่อง แม้ว่าศาลปกรองสูงสุดจะตัดสินให้กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคมหรือ เคที ต้องชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BTSC ก้อนแรก 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาวันที่ 26 กรกฎาคม 2567

กทม.อ้างมีคดีค้างที่ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้กทม.ยังไม่มีการเจรจากับเอกชนเพื่อชำระหนี้ แต่กลับอ้างถึงการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ปมสัญญาเดินรถขัดต่อกฎหมาย และต้องการรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ ซึ่งในทางกลับกัน หากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาจากภาระดอกเบี้ยสูงถึงวันละ 7 ล้านบาท ซึ่งเมื่อบวกต้นและดอกเบี้ยแล้วจะสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งสาธารณะที่มีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง รวมทั้งสิ้น 23 สถานี แบ่งเป็นสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ระยะทาง 17 กม. และสายสีลม ระยะทาง 6.5 กม. ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 17-47 บาท มีกรุงเทพมหานครให้สัมปทานเอกชน 30 ปี เริ่มสัญญาวันที่ 5 ธันวาคม 2542-4 ธันวาคม 2572 หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างบีทีเอสเดินรถ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2572-2 พฤษภาคม 2585

ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 1 สายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสายสีลม ช่วงตากสิน-บางหว้า ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15-62 บาท มีกทม.ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้บริหารระบบ โดยจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ สัญญา 30 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 2 พฤษภาคม 2585

ฟากส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิตสะพานใหม่-คูคต ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย มีกทม.ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้บริหารระบบ โดยจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ สัญญา 26 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 2 พฤษภาคม 2585

จากการก่อสร้างส่วนต่อขยายที่ 2 โดยบีทีเอสได้กู้เงินมาเพื่อการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้าเพื่อวิ่งให้บริการ โดยเป็นการเปิดให้บริการฟรีถึง 3 ปี เนื่องจาก กทม.ยังไม่ได้มีคำสั่งให้บีทีเอสเรียกเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งมีค่าจัดหารถไฟและระบบไฟฟ้า (E&M) 23,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) จนถึงปัจจุบัน รวม 40,000 ล้านบาท

ต่อมากทม.ได้ประกาศจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 65 บาทตลอดสาย กลายเป็นกระแสร้อนแรงจนถูกพับแผนการจัดเก็บค่าโดยสาร จากการแก้ปัญหาของกทม.ในยุค พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯกทม. และเคทีค้างชำระหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บีทีเอสซีต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครองหลายครั้ง

ทั้งนี้กทม.ในยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯกทม.ได้เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยมีการศึกษาการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ 2 ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย หลังจากนั้นได้มีการเร่งรัดเสนอต่อสภากทม.เพื่อนำงบประมาณสะสมจ่ายขาดนำมาชำระหนี้ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) วงเงิน 23,000 ล้านบาทให้กับบีทีเอส ภายหลังจากศาลปกครองมีคำสั่งให้กทม.และเคทีชำระหนี้ดังกล่าว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ฟ้องกรุงเทพมหานครกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) โดยพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ราย ชำระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง (O&M) ร่วมกันภายในระยะเวลา 180 วันหรือภายใน 6 เดือน ประกอบด้วย ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348.66 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้น 2,199.09 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406.42 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้น 8,786.76 ล้านบาท

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมากทม.ชำระหนี้บางส่วนมาแล้ว แต่ปัจจุบันยังพบว่า กทม.มีหนี้สะสมอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งข่าวจากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องชำระหนี้แก่บีทีเอสตามคำสั่งศาลภายใน 180 วัน ซึ่งกทม.ยืนยันว่าจะดำเนินการชำระหนี้ให้บีทีเอสเร็วกว่าที่ศาลกำหนดหรือไม่เกิน 100 วัน หากชำระหนี้ล่าช้าจะทำให้มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

หนี้ค้างจ่าย 31,555 ล้านบาท

สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.หนี้ค่าจ้างเดินรถที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งชำระ จำนวน 11,755 ล้านบาท 2.หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2565-2566 จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ย ปัจจุบันบีทีเอสได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว ซึ่งเรื่องอยู่ที่ศาลปกครองกลางพิจารณา และ 3.หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งตามกำหนดกทม.ต้องชำระหนี้ดังกล่าวทุกวันที่ 20 ของเดือน

จากการหารือนอกรอบระหว่างกทม.และบีทีเอสนั้น เบื้องต้นกทม.ระบุว่า หนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนที่ 2 ระหว่างปี 2565-2566 ค่อยหารือร่วมกันอีกครั้ง ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนที่ 3 ระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน โดยกทม.จะนำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระหนี้ในส่วนนี้ จากเดิมที่กทม.นำเงินที่จัดเก็บค่าโดยสารจากส่วนต่อขยายที่ 1 มาชำระให้แก่บีทีเอสเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลับไม่นำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระแก่บีทีเอส

เมื่อถามถึงสาเหตุที่กทม.บ่ายเบี่ยงไม่ยอมนำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระแก่บีทีเอสในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า กทม.ยังกังวลประเด็นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังไม่ชี้มูลความผิด แต่ปัจจุบันป.ป.ช.ได้มีการชี้มูลความผิดแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้คำพิพากษาของศาลปกครองเปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ขณะนี้บีทีเอสยืนยันว่า จะไม่ฟ้องร้องหนี้ดังกล่าวแล้ว แต่จะดำเนินคดีกับกทม.และเคทีตามกฎหมายมาตรา 157 เพราะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และกฎหมาย โดยศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ทั้ง 2 ฝ่ายชำระหนี้แก่บีทีเอส แปลว่าสัญญานี้มีผลเดินหน้าแล้ว ซึ่งไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลปกครองได้ หากมีการดำเนินคดีตามมาตรา 157 ทางกทม.จะต้องดำเนินการโดยหาทนายมาสู้คดีกับบีทีเอสว่าเขาไม่มีความผิด

เสียดอกเบี้ย 7 ล้านต่อวัน

จากการเบี้ยวชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม.และเคที ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐอย่างมาก พบว่าเมื่อถึงกำหนดการชำระหนี้ทุกๆวันที่ 20 ของเดือน หากไม่มีการชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสจะต้องเสียดอกเบี้ย 8.05% หรือเสียค่าดอกเบี้ย 7 ล้านบาทต่อวัน นอกจากนี้การไม่ชำระหนี้ให้แก่เอกชนตามกำหนดยังก่อให้เกิดความเสียแก่เอกชน เพราะบีทีเอส มีค่าใช้จ่ายในการเดินรถประมาณ 800 ล้านบาทต่อเดือน ไม่รวมดอกเบี้ย

แหล่งข่าวจากบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกลาวหากับผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 12 ราย ที่ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 นั้น ซึ่งการชำระหนี้ส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับป.ป.ช. แต่กทม.กลับไม่ยอมชำระหนี้ส่วนนี้ให้กับบีทีเอส เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุผลที่กทม.และเคทีจะเบี้ยวหนี้และไม่ยอมจ่ายบีทีเอส จากมติครม.เมื่อปี 2561 ระบุว่า กรณีที่ภาครัฐมีปัญหาเรื่องสัญญาทางปกครองหรืออนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีคำพิพากษาออกมานั้นต้องดำเนินการปฏิบัติตามนั้น แต่กทม.กลับไม่ปฏิบัติตาม ทำให้ขณะนี้ยังค้างชำระหนี้แก่บีทีเอส

แหล่งข่าวจากป.ป.ช.กล่าวว่า ด้านความคืบหน้าการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.นั้น ขณะนี้อัยการได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วแต่พบว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งได้มีการแจ้งกลับต่อป.ป.ช.แล้วให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกับบีทีเอสต่อไป ซึ่งตามกฎหมายระบุว่าต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 90 วัน

กทม.คาดเริ่มจ่ายหนี้พ.ย.นี้

แหล่งข่าวจากกทม. กล่าวว่า หลังจากศาลปกครองสั่งให้กทม.และเคทีชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวแก่บีทีเอสนั้น ปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างการของบประมาณเงินสะสมจ่ายขาดมาชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภากทม.พิจารณาอนุมัติ

หากสภากทม.อนุมัติแล้วกทม.จะนำงบประมาณมาชำระแก่บีทีเอสรอบเดียวตามคำสั่งของศาลปกครอง จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ต้องดูขั้นตอนของสภากทม.ด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตามกระบวนการแล้วกทม.ต้องนำเงินไปชำระที่กรมบังคับคดีเพื่อให้กรมฯนำเงินส่วนนี้ไปชำระแก่บีทีเอสต่อไป

"ส่วนหนี้ที่ค้างชำระกับบีทีเอส จนถึงปัจจุบัน จะต้องหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม.ก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งตอนนี้เราจะชำระเงินตามคำสั่งศาลปกครองไปก่อน ปัจจุบันกทม.มีหนี้ค้างกับบีทีเอส ซึ่งรวมกับยอดหนี้จากคำสั่งศาลในครั้งนี้อยู่ที่ 40,000 ล้านบาท" แหล่งข่าว กทม.กล่าว

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ก.ย. 2567


Breaking the Deadlock on the Green Line Debt

Source: Thansettakij
Date: Wednesday, September 04, 2024, 05:23


BTS Set to File Legal Action After Bangkok and Krungthep Thanakom Refuse to Pay Debt

BTS is preparing to file a lawsuit under Section 157 of the Criminal Code after Bangkok Metropolitan Administration (BMA) and Krungthep Thanakom refused to pay a 40-billion-baht debt related to the operation of the Green Line. The debt dispute has caused significant damage to both the public and private sectors, with interest on the debt accruing at a rate of 7 million baht per day. The BMA plans to pay the first installment of the debt, amounting to 12 billion baht, in one lump sum by November, in accordance with a court order.

The Green Line skytrain project continues to face ongoing complications despite a ruling from the Supreme Administrative Court, which ordered Bangkok and Krungthep Thanakom to pay the first installment of 12 billion baht to the Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC) within 180 days from July 26, 2024.

BMA Cites Pending NACC Cases

To date, the BMA has not initiated negotiations with BTSC to settle the debt, instead citing ongoing investigations by the National Anti-Corruption Commission (NACC) regarding the legality of the original contract for the operation and maintenance (O&M) of the Green Line. The delay is causing the debt to accrue interest at a rate of 7 million baht per day, which could bring the total owed, including principal and interest, to 14 billion baht.

The Green Line is one of the public transportation projects operated by the Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC), covering a total of 23 stations. This includes the Sukhumvit Line (Mo Chit to On Nut, 17 km) and the Silom Line (National Stadium to Saphan Taksin, 6.5 km), with fares ranging from 17 to 47 baht. The concession was granted to BTSC by the Bangkok Metropolitan Administration for 30 years, starting from December 5, 1999, until December 4, 2029, after which BTS was contracted to operate the line from December 5, 2029, to May 2, 2042.

The first extension of the Green Line (On Nut to Bearing on the Sukhumvit Line and Saphan Taksin to Bang Wa on the Silom Line) has fares ranging from 15 to 62 baht. The BMA contracted Krungthep Thanakom (KT) to manage the system and BTSC to operate the trains under a 30-year contract ending on May 2, 2042.

For the second extension (Bearing to Samut Prakan and Mo Chit to Khu Khot), the fare is set at 15 baht for the entire line. KT was again contracted to manage the system, with BTSC operating the trains under a 26-year contract also ending on May 2, 2042.

The construction of the second extension was funded by BTSC through loans for installing the electric train system and purchasing trains, providing free service for three years as the BMA had not authorized fare collection for the extension. The costs for the trains and the electrical and mechanical (E&M) systems amounted to 23 billion baht, with the total operating and maintenance (O&M) costs reaching 40 billion baht.

The BMA initially announced a maximum fare of 65 baht for the Green Line, which was met with public outcry and subsequently scrapped. The ongoing debt issue has led to multiple lawsuits by BTSC in the Administrative Court.

In the current administration under Governor Chadchart Sittipunt, the BMA has been studying the feasibility of charging 15 baht for the second extension and has expedited the approval process to use budgetary funds to settle the 23 billion baht E&M debt with BTSC. This follows a court order for the BMA and KT to pay the debt.

On July 26, 2024, the Supreme Administrative Court ordered both the BMA and KT to jointly pay the Green Line project debt within 180 days, which includes 2.348 billion baht for the first extension, along with 2.199 billion baht in interest, and 9.406 billion baht for the second extension, along with 8.786 billion baht in interest.

Outstanding Debt of 31.555 Billion Baht

The outstanding debt for the operation of the second extension of the Green Line is divided into three parts:
1. 11.755 billion baht ordered by the Supreme Administrative Court.
2. Over 10 billion baht for services rendered between 2022 and 2023, excluding interest. This debt is currently being litigated in the Central Administrative Court.
3. Over 10 billion baht for services rendered between 2023 and the present, excluding interest. This debt is due for payment on the 20th of each month.

Recent informal discussions between the BMA and BTSC indicate that the BMA will reconsider the second portion of the debt from 2022 to 2023, while the third portion from 2023 to the present will be paid using revenue from the first and second extensions, rather than only the first extension, as was previously the case.

When asked why the BMA had not used revenue from the second extension to pay BTSC, it was revealed that the BMA was concerned about the unresolved investigation by the NACC. However, the NACC has now concluded its investigation, although the Supreme Administrative Court’s ruling remains unchanged.

BTSC has stated it will no longer pursue legal action for the debt from 2023 to the present but will instead file a lawsuit against the BMA and KT under Section 157 of the Criminal Code for failing to fulfill their legal duties. The Supreme Administrative Court has already ruled in favor of BTSC, meaning the contract is legally binding, and the court's ruling cannot be overturned. If Section 157 proceedings are initiated, the BMA will need to defend itself in court.

Daily Interest Penalty of 7 Million Baht

The BMA and KT’s failure to pay the Green Line debt has caused substantial damage to the public sector. If the debt is not paid on the 20th of each month, BTSC will incur interest at a rate of 8.05%, equating to 7 million baht per day. This also places a significant financial burden on BTSC, which has monthly operating costs of around 800 million baht, excluding interest.

According to sources at BTS Group Holdings, the NACC has accused 12 individuals involved in signing the contract with BTSC to operate the three extensions of the Green Line until 2042. However, this does not pertain to the second extension debt, which the BMA has failed to pay. The Cabinet’s 2018 resolution stated that any issues with administrative contracts or arbitration involving court orders must be complied with, yet the BMA has not adhered to this.

BMA Expects to Start Debt Repayment by November

A source from the BMA stated that following the court order, the BMA is in the process of requesting budgetary funds to settle the debt with BTSC. The budget will need to be approved by the Bangkok City Council.

Once approved, the BMA plans to pay BTSC in one lump sum of 12 billion baht as ordered by the court, likely by November. However, this will depend on the City Council's process. The funds will be paid to the Legal Execution Department, which will then disburse the payment to BTSC.

“Regarding the outstanding debt with BTSC, the BMA will need to discuss with Governor Chadchart Sittipunt on how to proceed. For now, we will comply with the court’s order. The BMA’s total outstanding debt to BTSC, including the court-ordered amount, stands at 40 billion baht,” the source said.

Source: Thansettakij, September 5-7, 2024 Issue
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2024 6:14 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตัน หนี้สายสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, September 04, 2024 05:23

BTS จ่อดำเนินคดีหลัง'กทม.-กรุงเทพธนาคม' ปัดจ่ายหนี้

บีทีเอส จ่อฟ้องม.157

"บีทีเอส" เดือดจ่อดำเนินคดีมาตรา 157 หลัง "กทม.-กรุงเทพธนาคม" ปัดจ่ายหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้านบาท กระทบรัฐ-เอกชนเสียหายหนัก เผยดอกเบี้ยพุ่ง 7 ล้านบาทต่อวัน ฟากกทม.ปักธงจ่ายหนี้ก้อนแรกยึดคำสั่งศาล 1.2 หมื่นล้านรวดเดียวจบภายในพ.ย.นี้

รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีความชุลมุนต่อเนื่อง แม้ว่าศาลปกรองสูงสุดจะตัดสินให้กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคมหรือ เคที ต้องชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BTSC ก้อนแรก 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาวันที่ 26 กรกฎาคม 2567

กทม.อ้างมีคดีค้างที่ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้กทม.ยังไม่มีการเจรจากับเอกชนเพื่อชำระหนี้ แต่กลับอ้างถึงการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ปมสัญญาเดินรถขัดต่อกฎหมาย และต้องการรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ ซึ่งในทางกลับกัน หากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาจากภาระดอกเบี้ยสูงถึงวันละ 7 ล้านบาท ซึ่งเมื่อบวกต้นและดอกเบี้ยแล้วจะสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งสาธารณะที่มีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง รวมทั้งสิ้น 23 สถานี แบ่งเป็นสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ระยะทาง 17 กม. และสายสีลม ระยะทาง 6.5 กม. ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 17-47 บาท มีกรุงเทพมหานครให้สัมปทานเอกชน 30 ปี เริ่มสัญญาวันที่ 5 ธันวาคม 2542-4 ธันวาคม 2572 หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างบีทีเอสเดินรถ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2572-2 พฤษภาคม 2585

ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 1 สายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสายสีลม ช่วงตากสิน-บางหว้า ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15-62 บาท มีกทม.ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้บริหารระบบ โดยจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ สัญญา 30 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 2 พฤษภาคม 2585

ฟากส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิตสะพานใหม่-คูคต ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย มีกทม.ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้บริหารระบบ โดยจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ สัญญา 26 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 2 พฤษภาคม 2585

จากการก่อสร้างส่วนต่อขยายที่ 2 โดยบีทีเอสได้กู้เงินมาเพื่อการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้าเพื่อวิ่งให้บริการ โดยเป็นการเปิดให้บริการฟรีถึง 3 ปี เนื่องจาก กทม.ยังไม่ได้มีคำสั่งให้บีทีเอสเรียกเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งมีค่าจัดหารถไฟและระบบไฟฟ้า (E&M) 23,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) จนถึงปัจจุบัน รวม 40,000 ล้านบาท

ต่อมากทม.ได้ประกาศจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 65 บาทตลอดสาย กลายเป็นกระแสร้อนแรงจนถูกพับแผนการจัดเก็บค่าโดยสาร จากการแก้ปัญหาของกทม.ในยุค พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯกทม. และเคทีค้างชำระหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บีทีเอสซีต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครองหลายครั้ง

ทั้งนี้กทม.ในยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯกทม.ได้เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยมีการศึกษาการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ 2 ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย หลังจากนั้นได้มีการเร่งรัดเสนอต่อสภากทม.เพื่อนำงบประมาณสะสมจ่ายขาดนำมาชำระหนี้ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) วงเงิน 23,000 ล้านบาทให้กับบีทีเอส ภายหลังจากศาลปกครองมีคำสั่งให้กทม.และเคทีชำระหนี้ดังกล่าว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ฟ้องกรุงเทพมหานครกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) โดยพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ราย ชำระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง (O&M) ร่วมกันภายในระยะเวลา 180 วันหรือภายใน 6 เดือน ประกอบด้วย ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348.66 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้น 2,199.09 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406.42 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้น 8,786.76 ล้านบาท

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมากทม.ชำระหนี้บางส่วนมาแล้ว แต่ปัจจุบันยังพบว่า กทม.มีหนี้สะสมอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งข่าวจากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องชำระหนี้แก่บีทีเอสตามคำสั่งศาลภายใน 180 วัน ซึ่งกทม.ยืนยันว่าจะดำเนินการชำระหนี้ให้บีทีเอสเร็วกว่าที่ศาลกำหนดหรือไม่เกิน 100 วัน หากชำระหนี้ล่าช้าจะทำให้มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

หนี้ค้างจ่าย 31,555 ล้านบาท

สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.หนี้ค่าจ้างเดินรถที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งชำระ จำนวน 11,755 ล้านบาท 2.หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2565-2566 จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ย ปัจจุบันบีทีเอสได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว ซึ่งเรื่องอยู่ที่ศาลปกครองกลางพิจารณา และ 3.หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งตามกำหนดกทม.ต้องชำระหนี้ดังกล่าวทุกวันที่ 20 ของเดือน

จากการหารือนอกรอบระหว่างกทม.และบีทีเอสนั้น เบื้องต้นกทม.ระบุว่า หนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนที่ 2 ระหว่างปี 2565-2566 ค่อยหารือร่วมกันอีกครั้ง ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนที่ 3 ระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน โดยกทม.จะนำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระหนี้ในส่วนนี้ จากเดิมที่กทม.นำเงินที่จัดเก็บค่าโดยสารจากส่วนต่อขยายที่ 1 มาชำระให้แก่บีทีเอสเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลับไม่นำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระแก่บีทีเอส

เมื่อถามถึงสาเหตุที่กทม.บ่ายเบี่ยงไม่ยอมนำเงินจากการจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 มาชำระแก่บีทีเอสในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า กทม.ยังกังวลประเด็นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังไม่ชี้มูลความผิด แต่ปัจจุบันป.ป.ช.ได้มีการชี้มูลความผิดแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้คำพิพากษาของศาลปกครองเปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้หนี้ค่าจ้างเดินรถระหว่างปี 2566-ปัจจุบัน จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท ขณะนี้บีทีเอสยืนยันว่า จะไม่ฟ้องร้องหนี้ดังกล่าวแล้ว แต่จะดำเนินคดีกับกทม.และเคทีตามกฎหมายมาตรา 157 เพราะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และกฎหมาย โดยศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ทั้ง 2 ฝ่ายชำระหนี้แก่บีทีเอส แปลว่าสัญญานี้มีผลเดินหน้าแล้ว ซึ่งไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลปกครองได้ หากมีการดำเนินคดีตามมาตรา 157 ทางกทม.จะต้องดำเนินการโดยหาทนายมาสู้คดีกับบีทีเอสว่าเขาไม่มีความผิด

เสียดอกเบี้ย 7 ล้านต่อวัน

จากการเบี้ยวชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม.และเคที ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐอย่างมาก พบว่าเมื่อถึงกำหนดการชำระหนี้ทุกๆวันที่ 20 ของเดือน หากไม่มีการชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสจะต้องเสียดอกเบี้ย 8.05% หรือเสียค่าดอกเบี้ย 7 ล้านบาทต่อวัน นอกจากนี้การไม่ชำระหนี้ให้แก่เอกชนตามกำหนดยังก่อให้เกิดความเสียแก่เอกชน เพราะบีทีเอส มีค่าใช้จ่ายในการเดินรถประมาณ 800 ล้านบาทต่อเดือน ไม่รวมดอกเบี้ย

แหล่งข่าวจากบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกลาวหากับผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 12 ราย ที่ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 นั้น ซึ่งการชำระหนี้ส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับป.ป.ช. แต่กทม.กลับไม่ยอมชำระหนี้ส่วนนี้ให้กับบีทีเอส เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุผลที่กทม.และเคทีจะเบี้ยวหนี้และไม่ยอมจ่ายบีทีเอส จากมติครม.เมื่อปี 2561 ระบุว่า กรณีที่ภาครัฐมีปัญหาเรื่องสัญญาทางปกครองหรืออนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีคำพิพากษาออกมานั้นต้องดำเนินการปฏิบัติตามนั้น แต่กทม.กลับไม่ปฏิบัติตาม ทำให้ขณะนี้ยังค้างชำระหนี้แก่บีทีเอส

แหล่งข่าวจากป.ป.ช.กล่าวว่า ด้านความคืบหน้าการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.นั้น ขณะนี้อัยการได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วแต่พบว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งได้มีการแจ้งกลับต่อป.ป.ช.แล้วให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกับบีทีเอสต่อไป ซึ่งตามกฎหมายระบุว่าต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 90 วัน

กทม.คาดเริ่มจ่ายหนี้พ.ย.นี้

แหล่งข่าวจากกทม. กล่าวว่า หลังจากศาลปกครองสั่งให้กทม.และเคทีชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวแก่บีทีเอสนั้น ปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างการของบประมาณเงินสะสมจ่ายขาดมาชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภากทม.พิจารณาอนุมัติ

หากสภากทม.อนุมัติแล้วกทม.จะนำงบประมาณมาชำระแก่บีทีเอสรอบเดียวตามคำสั่งของศาลปกครอง จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ต้องดูขั้นตอนของสภากทม.ด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตามกระบวนการแล้วกทม.ต้องนำเงินไปชำระที่กรมบังคับคดีเพื่อให้กรมฯนำเงินส่วนนี้ไปชำระแก่บีทีเอสต่อไป

"ส่วนหนี้ที่ค้างชำระกับบีทีเอส จนถึงปัจจุบัน จะต้องหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม.ก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งตอนนี้เราจะชำระเงินตามคำสั่งศาลปกครองไปก่อน ปัจจุบันกทม.มีหนี้ค้างกับบีทีเอส ซึ่งรวมกับยอดหนี้จากคำสั่งศาลในครั้งนี้อยู่ที่ 40,000 ล้านบาท" แหล่งข่าว กทม.กล่าว

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ก.ย. 2567


Breaking the Deadlock on the Green Line Debt

Source: Thansettakij
Date: Wednesday, September 04, 2024, 05:23


BTS Set to File Legal Action After Bangkok and Krungthep Thanakom Refuse to Pay Debt

BTS is preparing to file a lawsuit under Section 157 of the Criminal Code after Bangkok Metropolitan Administration (BMA) and Krungthep Thanakom refused to pay a 40-billion-baht debt related to the operation of the Green Line. The debt dispute has caused significant damage to both the public and private sectors, with interest on the debt accruing at a rate of 7 million baht per day. The BMA plans to pay the first installment of the debt, amounting to 12 billion baht, in one lump sum by November, in accordance with a court order.

The Green Line skytrain project continues to face ongoing complications despite a ruling from the Supreme Administrative Court, which ordered Bangkok and Krungthep Thanakom to pay the first installment of 12 billion baht to the Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC) within 180 days from July 26, 2024.

BMA Cites Pending NACC Cases

To date, the BMA has not initiated negotiations with BTSC to settle the debt, instead citing ongoing investigations by the National Anti-Corruption Commission (NACC) regarding the legality of the original contract for the operation and maintenance (O&M) of the Green Line. The delay is causing the debt to accrue interest at a rate of 7 million baht per day, which could bring the total owed, including principal and interest, to 14 billion baht.

The Green Line is one of the public transportation projects operated by the Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC), covering a total of 23 stations. This includes the Sukhumvit Line (Mo Chit to On Nut, 17 km) and the Silom Line (National Stadium to Saphan Taksin, 6.5 km), with fares ranging from 17 to 47 baht. The concession was granted to BTSC by the Bangkok Metropolitan Administration for 30 years, starting from December 5, 1999, until December 4, 2029, after which BTS was contracted to operate the line from December 5, 2029, to May 2, 2042.

The first extension of the Green Line (On Nut to Bearing on the Sukhumvit Line and Saphan Taksin to Bang Wa on the Silom Line) has fares ranging from 15 to 62 baht. The BMA contracted Krungthep Thanakom (KT) to manage the system and BTSC to operate the trains under a 30-year contract ending on May 2, 2042.

For the second extension (Bearing to Samut Prakan and Mo Chit to Khu Khot), the fare is set at 15 baht for the entire line. KT was again contracted to manage the system, with BTSC operating the trains under a 26-year contract also ending on May 2, 2042.

The construction of the second extension was funded by BTSC through loans for installing the electric train system and purchasing trains, providing free service for three years as the BMA had not authorized fare collection for the extension. The costs for the trains and the electrical and mechanical (E&M) systems amounted to 23 billion baht, with the total operating and maintenance (O&M) costs reaching 40 billion baht.

The BMA initially announced a maximum fare of 65 baht for the Green Line, which was met with public outcry and subsequently scrapped. The ongoing debt issue has led to multiple lawsuits by BTSC in the Administrative Court.

In the current administration under Governor Chadchart Sittipunt, the BMA has been studying the feasibility of charging 15 baht for the second extension and has expedited the approval process to use budgetary funds to settle the 23 billion baht E&M debt with BTSC. This follows a court order for the BMA and KT to pay the debt.

On July 26, 2024, the Supreme Administrative Court ordered both the BMA and KT to jointly pay the Green Line project debt within 180 days, which includes 2.348 billion baht for the first extension, along with 2.199 billion baht in interest, and 9.406 billion baht for the second extension, along with 8.786 billion baht in interest.

Outstanding Debt of 31.555 Billion Baht

The outstanding debt for the operation of the second extension of the Green Line is divided into three parts:
1. 11.755 billion baht ordered by the Supreme Administrative Court.
2. Over 10 billion baht for services rendered between 2022 and 2023, excluding interest. This debt is currently being litigated in the Central Administrative Court.
3. Over 10 billion baht for services rendered between 2023 and the present, excluding interest. This debt is due for payment on the 20th of each month.

Recent informal discussions between the BMA and BTSC indicate that the BMA will reconsider the second portion of the debt from 2022 to 2023, while the third portion from 2023 to the present will be paid using revenue from the first and second extensions, rather than only the first extension, as was previously the case.

When asked why the BMA had not used revenue from the second extension to pay BTSC, it was revealed that the BMA was concerned about the unresolved investigation by the NACC. However, the NACC has now concluded its investigation, although the Supreme Administrative Court’s ruling remains unchanged.

BTSC has stated it will no longer pursue legal action for the debt from 2023 to the present but will instead file a lawsuit against the BMA and KT under Section 157 of the Criminal Code for failing to fulfill their legal duties. The Supreme Administrative Court has already ruled in favor of BTSC, meaning the contract is legally binding, and the court's ruling cannot be overturned. If Section 157 proceedings are initiated, the BMA will need to defend itself in court.

Daily Interest Penalty of 7 Million Baht

The BMA and KT’s failure to pay the Green Line debt has caused substantial damage to the public sector. If the debt is not paid on the 20th of each month, BTSC will incur interest at a rate of 8.05%, equating to 7 million baht per day. This also places a significant financial burden on BTSC, which has monthly operating costs of around 800 million baht, excluding interest.

According to sources at BTS Group Holdings, the NACC has accused 12 individuals involved in signing the contract with BTSC to operate the three extensions of the Green Line until 2042. However, this does not pertain to the second extension debt, which the BMA has failed to pay. The Cabinet’s 2018 resolution stated that any issues with administrative contracts or arbitration involving court orders must be complied with, yet the BMA has not adhered to this.

BMA Expects to Start Debt Repayment by November

A source from the BMA stated that following the court order, the BMA is in the process of requesting budgetary funds to settle the debt with BTSC. The budget will need to be approved by the Bangkok City Council.

Once approved, the BMA plans to pay BTSC in one lump sum of 12 billion baht as ordered by the court, likely by November. However, this will depend on the City Council's process. The funds will be paid to the Legal Execution Department, which will then disburse the payment to BTSC.

“Regarding the outstanding debt with BTSC, the BMA will need to discuss with Governor Chadchart Sittipunt on how to proceed. For now, we will comply with the court’s order. The BMA’s total outstanding debt to BTSC, including the court-ordered amount, stands at 40 billion baht,” the source said.

Source: Thansettakij, September 5-7, 2024 Issue
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2024 9:16 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผ่าทางตัน หนี้สายสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, September 04, 2024 05:23

BTS จ่อดำเนินคดีหลัง'กทม.-กรุงเทพธนาคม' ปัดจ่ายหนี้



ลิงก์มาแล้วครับ

"บีทีเอส" จ่อดำเนินคดี หลัง "กทม." ปัดจ่ายหนี้สายสีเขียว
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.
อัพเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:34 น.


“บีทีเอส” เดือดจ่อดำเนินคดีมาตรา 157 หลัง “กทม.-กรุงเทพธนาคม” ปัดจ่ายหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้านบาท กระทบรัฐ-เอกชนเสียหายหนัก เผยดอกเบี้ยพุ่ง 7 ล้านบาทต่อวัน
ฟากกทม.ปักธงจ่ายหนี้ก้อนแรกยึดคำสั่งศาล 1.2 หมื่นล้านรวดเดียวจบภายในพ.ย.นี้
รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีความชุลมุนต่อเนื่อง แม้ว่าศาลปกรองสูงสุดจะตัดสินให้กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคมหรือ เคที ต้องชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BTSC ก้อนแรก 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
https://www.thansettakij.com/business/economy/605762
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2024 9:26 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผ่าทางตัน หนี้สายสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, September 04, 2024 05:23

BTS จ่อดำเนินคดีหลัง'กทม.-กรุงเทพธนาคม' ปัดจ่ายหนี้



ลิงก์มาแล้วครับ

"บีทีเอส" จ่อดำเนินคดี หลัง "กทม." ปัดจ่ายหนี้สายสีเขียว
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.
อัพเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:34 น.


“บีทีเอส” เดือดจ่อดำเนินคดีมาตรา 157 หลัง “กทม.-กรุงเทพธนาคม” ปัดจ่ายหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้านบาท กระทบรัฐ-เอกชนเสียหายหนัก เผยดอกเบี้ยพุ่ง 7 ล้านบาทต่อวัน
ฟากกทม.ปักธงจ่ายหนี้ก้อนแรกยึดคำสั่งศาล 1.2 หมื่นล้านรวดเดียวจบภายในพ.ย.นี้
รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีความชุลมุนต่อเนื่อง แม้ว่าศาลปกรองสูงสุดจะตัดสินให้กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคมหรือ เคที ต้องชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BTSC ก้อนแรก 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
https://www.thansettakij.com/business/economy/605762
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2024 9:59 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผ่าทางตัน หนี้สายสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 05:23 น.

BTS จ่อดำเนินคดีหลัง'กทม.-กรุงเทพธนาคม' ปัดจ่ายหนี้

บีทีเอส จ่อฟ้องม.157


ลิงก์มาแล้วครับ

"บีทีเอส" จ่อดำเนินคดี หลัง "กทม." ปัดจ่ายหนี้สายสีเขีย
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.
อัพเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:34 น.


“บีทีเอส” เดือดจ่อดำเนินคดีมาตรา 157 หลัง “กทม.-กรุงเทพธนาคม” ปัดจ่ายหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้านบาท กระทบรัฐ-เอกชนเสียหายหนัก เผยดอกเบี้ยพุ่ง 7 ล้านบาทต่อวัน
ฟากกทม.ปักธงจ่ายหนี้ก้อนแรกยึดคำสั่งศาล 1.2 หมื่นล้านรวดเดียวจบภายในพ.ย.นี้
รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีความชุลมุนต่อเนื่อง แม้ว่าศาลปกรองสูงสุดจะตัดสินให้กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคมหรือ เคที ต้องชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BTSC ก้อนแรก 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
https://www.thansettakij.com/business/economy/605762
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2024 7:47 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เห็นชอบเงินสะสม 1.4 หมื่นล้าน จ่ายหนี้บีทีเอส รอสภากทม.เคาะ 12 ก.ย.นี้
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Wednesday, September 11, 2024 06:09

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.67 ที่ศาลาว่าการกทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารว่า การประชุมผู้บริหารดังกล่าวเป็นการเรียกประชุมด่วน โดยมีนายจักกพันธุ์ ผิวงาม นายวิศณุ ทรัพย์สมพล นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯกทม. นางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหาร ผู้แทนสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักงบประมาณ เข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... และเห็นชอบรายการเพื่อขอตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ โดยจ่ายขาดเงินสะสมกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอแนวทางการบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เรื่องการชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี เป็นจำนวนเงิน 14,549,303,752.489 บาท รวมต้นและดอกเบี้ย โดยคำนวณยอดหนี้ที่ต้องชำระถึงวันที่ 21 ม.ค.68 หรือภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 ก.ค.67

โดยสภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) จะบรรจุญัตติเข้าที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ เพื่อขอความเห็นชอบในการใช้เงินสะสมจ่ายขาด เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เพราะหากชำระหนี้เร็ว ยอดหนี้จะไม่ถึงจำนวนเงินที่ขอความเห็นชอบดังกล่าว ขณะเดียวกันจะหารือในส่วนของสัญญาจ้างส่วนต่อขยายที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่จ้างบีทีเอสซีเดินรถและซ่อมบำรุงในอนาคตจนถึงปี 2585 ที่ยังไม่เคยผ่านการพิจารณาของสภากทม. เพราะต้องการหาข้อสรุปในการจ่ายหนี้ในอนาคต


Bangkok Approves 14 Billion Baht of Reserve Funds to Pay BTS Debt, Awaiting City Council Decision on September 12

On September 10, 2024, at Bangkok City Hall, Governor Chadchart Sittipunt, following a meeting with city executives, stated that an urgent executive meeting had been convened. Present at the meeting were Deputy Governors Chakkaphan Phewngam, Wisanu Subsompon, and Sanon Wangsrangboon, along with Permanent Secretary for Bangkok Wanthanai Wathana, other executives, and representatives from the Traffic and Transportation Department and the Budget Office. The purpose was to discuss and approve additional expenditure for the fiscal year 2024, using Bangkok's reserve funds.

The meeting agreed to propose a plan to manage the Green Line extension project, specifically for paying the outstanding debt owed to Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC) for operating and maintaining the Green Line extensions 1 and 2. The total debt, including principal and interest, amounts to 14,549,303,752.489 baht, calculated up until January 21, 2025, or within 180 days of the Supreme Administrative Court's ruling on July 26, 2024.

The Bangkok Metropolitan Council (BMC) will review this proposal on September 12 to approve the use of reserve funds to settle the debt, allowing the 2025 budget to be discussed smoothly. If the debt is paid early, the amount might not reach the approved total. Additionally, the council will discuss the contract for the second extension of the Green Line, covering the Mo Chit-Saphan Mai-Khu Khot and Bearing-Samut Prakan sections, with BTSC contracted to operate and maintain the system until 2042. This contract has yet to be reviewed by the BMC, and discussions aim to settle future debt obligations.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/11/2024 7:20 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ อ่านระหว่างบรรทัด: ใครถ่วง ใครรับผิดชอบ ดอกเบี้ยค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว
Source - แนวหน้า
Monday, November 11, 2024 06:23
สันติสุข มะโรงศรี

ในที่สุด คดีค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็เดินทางมาถึงสุดทางที่จะยื้ออีกต่อไป

1. ปัญหาการค้างชำระหนี้ สำหรับค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 (ส่วนต่อขยายสายสีลม สะพานตากสิน-บางหว้า และสายสุขุมวิท อ่อนนุช-แบริ่ง) และ ส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) เดินทางถึง สุดทางที่ฝ่าย กทม.จะยื้ออีกต่อไป

หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2567 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2226 ให้กรุงเทพมหานคร กับ บริษัทกรุงเทพธนาคม ร่วมกันจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อ ขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 2,199,091,830.27 บาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยของ ต้นเงินจำนวน 8,786,765,195.47 บาท

โดยมูลหนี้ดังกล่าว จะต้องจ่ายพร้อมอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาท บวกร้อยละ 1 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

ก่อนหน้านี้ ฝ่ายผู้ที่มีภาระต้องจ่าย ได้มีความพยายามจะยื้อ เตะถ่วง

ผมได้เตือนว่า แต่ละวันที่ผ่านไป มีภาระดอกเบี้ยที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จึงสมควรเร่งเข้าไปเจรจาเพื่อหยุดดอกเบี้ย หรือเร่งจ่ายเงินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเสีย

เพื่อมิให้ กทม.ต้องรับภาระค่าดอกเบี้ยแต่ละวันกว่า 3 ล้านบาท (จากยอดที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาชี้ขาด)

หรือถ้านับรวมหนี้ก้อนที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลด้วย (แต่ฝ่ายบีทีเอสเดินรถให้ตามสัญญาแล้ว) เฉพาะดอกเบี้ยกว่าวันละ 7 ล้านบาท

2. เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2567 ในการประชุมสภากทม. ได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว

แต่คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่าง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. อ้างว่ารอข้อมูลที่ให้สำนักการจราจรและขนส่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมจาก ป.ป.ช. เวลาได้ล่วงเลยมาจนสิ้นปีงบประมาณ 2567 แล้ว คณะกรรมการ วิสามัญฯยังมิได้รับเอกสารตามที่ร้องขอแต่อย่างใด

จึงเห็นควรให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทบทวนร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ แล้วสามารถ นำเสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เข้าสู่การพิจารณาของสภา กทม. ต่อไป

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า เป็น 2 กรณีที่เกิดขึ้น จากความเห็นของคณะกรรมการฯ จึงขอถอนร่างข้อบัญญัติฯ ดังกล่าวก่อน

3. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยอมรับว่า ได้มีการส่งหนังสือไปยัง ป.ป.ช. สำนักงานอัยการสูงสุด โดยเฉพาะศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้พิจารณาเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในลักษณะขอพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากข้อมูลประกอบการพิพากษาไม่เป็นปัจจุบัน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องทักท้วงเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

ล่าสุด วันที่ 6 พ.ย. 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยกับสำนักข่าว TOPNEWS ภายหลังการประชุมผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ BTSC

ยอมรับว่า กทม.ได้มีการยื่นเรื่องศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้พิจารณาเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

แต่เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายกคำร้องดังกล่าวแล้ว

ศาลปกครองสูงสุด ชี้แจงด้วยว่า ในการพิจารณานั้น ศาลปกครองสูงสุดได้นำเอาเรื่องการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.มารวมอยู่ในคำแถลงแล้ว ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ข้อสงสัยที่ทางสภากทม. ติดใจอยู่ได้รับคำชี้แจงไปด้วย

นายชัชชาติ ระบุว่า ทางกทม.จะทำเป็นญัตติ ส่งเข้าไปให้สภากทม.พิจารณาอีกครั้ง ในวันที่ 12 พ.ย.นี้

"เมื่อได้ทำหนังสือขอศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีใหม่ไป แล้วศาลปกครองสูงสุดได้มีหนังสือตอบกลับมาว่าจะไม่พิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากได้มีการพิจารณาไปแล้ว ทางด้านของ กทม.ก็ชัดเจน" - ผู้ว่าฯกทม.กล่าว4. เมื่อศาลปกครองสูงสุดระบุออกมาขนาดนี้ ถ้า กทม. หรือสภา กทม. หรือใคร ยังพยายามจะยื้อต่อไปอีก

ขอให้เชื่อได้เลยว่า คนที่พยายามยื้อนั้น เจตนาต้องการจะเรียกผลประโยชน์บางอย่าง?

หรือเจตนาจะกลั่นแกล้งเอกชน หรือบีทีเอส ให้ได้รับความเสียหาย

เพราะศาลตัดสินจนไม่รู้จะมีอะไรเปลี่ยนไปได้อีก

อย่าลืมว่า การดำเนินการของผู้บริหารกทม. รวมถึงสภา กทม. ทำให้ในช่วง 103 วันที่ผ่านมา กทม. มีภาระดอกเบี้ยต้องจัดหางบประมาณ นำจ่าย BTSC เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด แล้ว 721 ล้านบาท

และ อีก 77 วัน ที่เหลือครบกำหนด 180 วัน ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา กรอบเวลาให้ กทม.จ่ายคืนหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย

หากรวมเอาภาระหนี้ค่าเดินรถในห้วงเวลาต่อๆ มา ที่บีทีเอสเดินรถเสร็จสิ้นตามสัญญาไปแล้ว แต่กทม.ยังไม่ยอมจ่ายค่าเดินรถ

แยกเฉพาะค่าดอกเบี้ยวันละ 7 ล้านบาท คำถาม คือ ผู้ว่าฯกทม. ผู้บริหาร กทม. และสภา กทม. จะรับผิดชอบ อย่างไร? กับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

5.อย่าแกล้งลืมว่า การแก้ปัญหาหนี้ค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตกมาเป็นความรับผิดชอบ และหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม. ชัชชาติ และสภา กทม.ชุดปัจจุบัน

แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่หมักหมมมาก่อนนี้ โดยในยุครัฐบาลประยุทธ์ ที่ไม่มีการจ่ายค่าเดินรถ เพราะตอนนั้น ไม่ใช่เพราะเจตนาจะเบี้ยว หรือชักดาบ แต่เพราะรัฐบาลมีแนวนโยบายที่จะใช้มาตรา 44 แก้ปัญหา โดยให้รัฐไม่ต้องควักเงินจ่ายเลยสักบาท แลกกับการเจรจาขยายสัมปทานให้เอกชน

แต่ปรากฏว่า แนวทางมาตรา 44 ขยายสัมปทานสายสีเขียวถูกต่อต้าน โดยเฉพาะจากกระทรวงคมนาคมยุคนั้น (แต่สายสีน้ำเงินเคยทำแบบเดียวกัน ไม่มีปัญหา)

หากไม่เจรจาตามแนวทางมาตรา 44 ก็จะต้องจ่ายค่างานระบบไฟฟ้าฯ และจะต้องจ่ายเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมๆ กว่า 7 หมื่น ล้านบาท (ตามที่ศาลปกครองตัดสินออกมาคำร้องแรกเท่านั้น)

โลกนี้ ไม่มีอะไรฟรีอย่างแน่นอน 6. เมื่อศาลปกครองสูงสุด โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด พิพากษาชี้ขาดแล้ว (จ่ายค่าเดินรถฯ)

เมื่อศาลปกครองพิจารณายกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว ก็แล้ว (ไม่ได้มีหลักฐาน อะไรใหม่)

ถ้า กทม. ไม่ว่าจะผู้ว่าฯ หรือ สภา กทม. จะเตะถ่วง หรือยื้อยุดต่อไป ก็ย่อมไร้ซึ่งเหตุผลใดๆ

แถมอัตราดอกเบี้ย ก็จะสูงขึ้นเท่าทวีคูณ ใครขัดขวาง ขัดแข้งขัดขา ก็ควรจะถูกดำเนินคดี เหมือนกรณีอดีตนายก อบจ. สงขลา โดนมาแล้ว

ติดตาม ผู้ว่าฯกทม. และ สภา กทม. จะร่วมกันชำระหนี้ค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเมื่อไหร่? อย่างไร?และดอกเบี้ยภาระค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่เหลืออยู่ เพิ่มขึ้นทุกวัน วันละราวๆ 7 ล้านบาท ใครจะรับผิดชอบ?

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 11 พ.ย. 2567


The article discusses the ongoing dispute over who should pay the operating and maintenance fees for the Green Line Extension in Bangkok. The Supreme Administrative Court has ruled that the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) is responsible for the debt, but the BMA has attempted to delay payment, leading to accumulating interest.

**Summary:**

* **Court Ruling:** The Supreme Administrative Court ruled that the BMA must pay the outstanding operating and maintenance fees for the Green Line Extension, plus interest.

* **BMA Delay Tactics:** The BMA, including Governor Chadchart, has employed various tactics to delay the payment, such as requesting a new trial and claiming to be waiting for further information.

* **Accumulating Interest:** These delays have resulted in significant interest accumulating on the debt, costing the BMA millions of baht per day.

* **Author's Opinion:** The author believes the BMA is deliberately delaying payment, possibly for personal gain or to harm the private operator, BTS. They urge the BMA to comply with the court ruling and question who will be held responsible for the mounting interest.

* **Previous Government's Role:** The author also mentions the previous government's failed attempt to resolve the issue by using Section 44 to extend the concession without payment.

**Key Points:**

* The BMA is legally obligated to pay the Green Line debt.
* Delays in payment are costing taxpayers millions of baht in interest.
* The author criticizes the BMA's actions and questions their motives.

This issue highlights the challenges of public-private partnerships and the importance of timely debt repayment to avoid escalating costs.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 102, 103, 104  Next
Page 103 of 104

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©