RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311836
ทั่วไป:13534399
ทั้งหมด:13846235
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46614
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2024 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” ชง ครม.จ่อคิวเคาะสายสีแดง "มธ.รังสิต" 6.4 พันล้านบาท พร้อมเร่งเช็กรายละเอียดอีก 2 เส้นทาง "ตลิ่งชัน-ศาลายา, ศิริราช"
ผู้จัดการออนไลน์ 24 เม.ย. 2567 18:59 ปรับปรุง: 24 เม.ย. 2567 19:08 โดย:

“สุริยะ” เผยลงนามเสนอรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ไป ครม.แล้ว หลังทบทวนกรอบรายละเอียดเรียบร้อย เหลืออีก 2 เส้นทางพร้อมผลักดันต่อเนื่อง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนรายละเอียดและกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ล่าสุดได้พิจารณา รถไฟสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม.เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้ลงนามเพื่อนำเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช อยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าจะสรุปในลำดับต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมทีรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางนั้นก่อนหน้านี้รฟท.สรุปการศึกษาและเตรียมเสนอ ครม.แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่เพื่อความรอบคอบ โดยสายสีแดง ส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทาง มีวงเงินรวม 21,790.25 ล้านบาท ได้แก่ 1. สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งนำเสนอไปยังเลขาฯ ครม.แล้ว มีระยะทางรวม 8.84 กม. จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6,473.98 ล้านบาท ซึ่งปรับจาก 6,468.69 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจากคำนวณปรับราคากลาง (Factor F) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เป็น 7% คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

2.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท รฟท.ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

3. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท รฟท.ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

Suriya Pushes for Approval of Red Line Extension to Thammasat University

Bangkok, Thailand – April 24, 2024 – Minister of Transport, Suriya Juangroongruangkit, has expedited approval of a 6.4-billion-baht extension for the Red Line electric train to Thammasat University, Rangsit Center. The proposal is now with the Cabinet Secretariat for review. Two additional Red Line extensions, Taling Chan-Salaya and Taling Chan-Siriraj, are also under consideration.

Mr. Suriya revealed that the Ministry of Transport and the State Railway of Thailand (SRT) have completed a detailed review of the Rangsit-Thammasat University, Rangsit Center extension. The proposed 8.84 km line will include four stations. Relevant agencies, including the Ministry of Finance, Budget Bureau, and the Office of the National Economic and Social Development Council, will provide feedback before final Cabinet approval.

Additional Details

The Red Line extensions are part of a larger project with a 21.79 billion baht budget.

The Rangsit-Thammasat University extension is expected to open for bidding in 2024. Construction should take approximately 35 months, with a projected opening date in 2028.

The SRT is currently reviewing details for the Taling Chan-Salaya (14.8 km) and Taling Chan-Siriraj (5.7 km) extensions. Bidding for both could open in 2024 with a projected 35-month construction period and 2028 opening.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46614
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/05/2024 8:19 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแบบเสร็จ'มิสซิ่งลิงก์'ชงบอร์ด
Source - เดลินิวส์
Monday, May 06, 2024 05:15

สกายวอล์กสถานีราชวิถีเชื่อมรพ. สถานีศิริราชสายสีส้มอยู่ใต้สีแดง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า กำลังจัดทำข้อมูลโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม.วงเงิน 10,670.27 ล้านบาทเพิ่มเติม ตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม อาทิ เรื่องการบริหารจราจรระหว่างก่อสร้าง และแผนการลดผลกระทบด้านการจราจร ความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง รวมถึงแผนบูรณาการเดินรถ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟทางไกล เมื่อเปิดบริการทุกเส้นทาง ตลอดจนการบริหารพื้นที่ทับซ้อนบริเวณสถานีตลิ่งชัน คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาอีกครั้งภายในเดือน พ.ค.67 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

ควบคู่กับการเพิ่มข้อมูลช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. ซึ่งปรับแบบสถานีราชวิถีแล้วเสร็จ และนำเสนอคณะอนุกรรมการ Executive Committee (Ex-Com) กลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เป็นประธานแล้ว แต่ Ex-Com ยังมีข้อสงสัยบางประเด็น โดยเฉพาะ การปรับเพิ่มราคาโครงการทำให้ต้องนำรายละเอียดกลับมานำเสนอเพิ่มเติมอีกครั้ง และคาดว่าจะเสนอบอร์ด รฟท. อนุมัติโครงการได้ในเดือน มิ.ย. 67 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป

สำหรับการปรับสถานีราชวิถีนั้น ได้ย้ายตำแหน่งสถานี ขยับลงไปทางด้านทิศใต้ให้อยู่ใกล้ รพ.รามาธิบดีมากขึ้น โดยเป็นสถานีใต้ดิน และมีทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเข้า

อาคารของ รพ.เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวกสบาย เบื้องต้นวงเงินค่าก่อสร้างขยับเพิ่มขึ้นหลักร้อยล้านบาท จากเดิมประมาณ 4.41 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ต้องบูรณาการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วย เนื่องจากมีส่วนซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนกัน แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเหมือนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟไฮสปีด เฟส 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา แค่เพียงการก่อสร้างผนังอุโมงค์ที่ใช้ร่วมกันเท่านั้น เบื้องต้นโครงการใดเริ่มก่อสร้างก่อนจะให้ก่อสร้างส่วนทับซ้อนด้วย

ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รฟท. เสนอกระทรวงคมนาคมแล้ว แต่กระทรวงพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นระดับใต้ดิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เส้นทางช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ก็ยังเดินหน้าโครงการต่อไม่ได้ เพราะมีสถานีศิริราช ที่ต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน โดยสายสีส้มจะอยู่ชั้นใต้ดิน ส่วนสายสีแดงอยู่บนดิน และด้านบนเป็นอาคารรักษาพยาบาลของ รพ.ศิริราช จึงต้องรอให้สายสีส้มมีความชัดเจน และเริ่มงานก่อสร้างก่อน ปัจจุบันสายสีส้ม มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการฯ ยังรอคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด หากให้ รฟท. เปิดประมูลช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และได้ผู้รับจ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถสร้างได้ จะเกิดปัญหาภายหลัง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 พ.ค. 2567 (กรอบบ่าย)


SRT Prepares Information on Red Line Extensions

Progress updates on Taling Chan-Salaya, Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak ("Missing Link"), and Taling Chan-Siriraj sections.

The State Railway of Thailand (SRT) is preparing details for the Red Line suburban railway extension project from Taling Chan to Salaya (14.8 km), with an additional budget of 10,670.27 million baht. This information, including traffic management plans and safety measures, will be submitted to the Ministry of Transport in May 2024 for consideration by the Cabinet.

The SRT Board is expected to approve the design of the Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak ("Missing Link") section (25.9 km), including the Ratchawithi Station, in June 2024. Following SRT Board approval, the project will be submitted to the Ministry of Transport and then the Cabinet.

The Ratchawithi Station design has been adjusted to move the location closer to Ramathibodi Hospital. This underground station will feature a skywalk connecting to the hospital for passenger convenience. Due to this change and integration with the high-speed rail project connecting three airports, the construction cost has increased slightly.

The Taling Chan-Siriraj section (5.7 km, budget 4,616 million baht) awaits the start of construction on the overlapping Orange Line Bang Khun Non-Min Buri (Suwinthawong) section by the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA). The Supreme Administrative Court's decision on a dispute regarding the Orange Line project will determine the timeline for the Red Line extension.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46614
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2024 7:38 am    Post subject: Reply with quote

ลั่นชงครม.เคาะ ส่วนขยายสีแดง 3เส้นภายในปีนี้
Source - ไทยโพสต์
Thursday, July 04, 2024 04:08

นครราชสีมา * "สุรพงษ์" เร่งเครื่องสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงิน 2.17 หมื่นล้าน ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลั่นชง ครม.เคาะ ภายในปี 67 คาดใช้เงินกู้ภายในประเทศ

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมว. คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบ หน้าโครงการระบบรถไฟชาน เมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,790.25 ล้านบาท ว่า ในส่วนของรถไฟสายสีแดง ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) มี 4 สถานี วงเงินโครงการ 6,473.98 ล้านบาทนั้น ได้ลงนามเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ขณะที่อีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มี 6 สถานี ระยะทาง 14.8 กม. วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี วงเงินโครงการ 4,616 ล้านบาทนั้น ยอมรับว่ายังมีความล่าช้ากว่าแผน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ภายในปี 2567 ขณะที่แหล่งเงินทุนของโครงการนั้น จะใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศมาดำเนินการ

ส่วนความคืบหน้าการจัด หาหัวรถจักร และขบวนรถโดย สารของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) นั้นว่า ขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างการเลือกเทคโนโลยีว่าจะเป็นรูปแบบใด โดยเบื้องต้นจะจัดหาหัวรถจักรระบบไฮบริด ซึ่งปัจจุบันมีการใช้แพร่หลายในต่างประเทศ.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 ก.ค. 2567


Vows to Submit 3 Red Line Extensions to Cabinet for Approval This Year
Source - Thai Post Thursday, July 04, 2024 04:08

Nakhon Ratchasima * "Surapong" accelerates 3 Red Line extension routes with a budget of 21.7 billion baht, including the Rangsit-Thammasat University section. Promises to submit to Cabinet for approval within 2024, expecting to use domestic loans.

Mr. Surapong Piyachoti, Minister of Transport, revealed the progress of the Red Line Commuter Train System extension project for 3 routes with a total budget of 21,790.25 million baht. For the Red Line section from Rangsit to Thammasat University Rangsit Center, covering 8.84 kilometers with 4 stations and a project budget of 6,473.98 million baht, he has signed and submitted the proposal to the Secretariat of the Cabinet. It is now waiting to be included in the Cabinet meeting agenda for further consideration.

For the other two routes - the Taling Chan-Salaya section with 6 stations covering 14.8 km and a project budget of 10,670.27 million baht, and the Taling Chan-Siriraj section covering 5.7 km with 3 stations and a project budget of 4,616 million baht - he admitted there are delays from the original plan. Currently, these are undergoing additional detail adjustments. It is expected that these will be proposed to the Cabinet meeting within 2024. The project funding will use domestic loan sources.

Regarding the progress of procuring locomotives and passenger trains for the State Railway of Thailand (SRT), Mr. Surapong stated that SRT is currently in the process of selecting the technology model. Initially, they plan to procure hybrid locomotives, which are now widely used in foreign countries.

Source: Thai Post Newspaper, July 4, 2024 edition
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43555
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2024 10:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปรับแบบเสร็จ'มิสซิ่งลิงก์'ชงบอร์ด
Source - เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 6 พฤษภาคม 2567 เวลา 05:15 น.

สกายวอล์กสถานีราชวิถีเชื่อมรพ. สถานีศิริราชสายสีส้มอยู่ใต้สีแดง

บอร์ดรถไฟ เพิ่มกรอบวงเงินสายสีแดง Missing Link อีก 400 ล้าน เหตุปรับแบบสถานีราชวิถี
เขียนโดยisranews
เขียน วันจันทร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 14:35 น.

บอร์ดรฟท.เห็นชอบปรับกรอบวงเงิน สายสีแดง Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก/บางซื่อ - หัวลำโพง เพิ่มอีก 400 ล้านบาท เหตุมีการปรับแบบสถานีราชวิถี ยันไม่ใช่ทางแข่งขันกับไฮสปีด 3 สนามบิน

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 ได้มีการพิจารณาการปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. ขึ้นอีกประมาณ 400 ล้านบาท จากมติครม.เดิมเมื่อปี 2559 ที่เห็นชอบวงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

เนื่องจากการปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก แต่บอร์ดยังไม่อนุมัติ โดยให้กลับไปทบทวนรายละเอียดและกลับมาเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปในเดือน มิ.ย. 2567 ก่อนเสนอครม.พิจารณาปรับกรอบวงเงินใหม่ต่อไป

โดยบอร์ดรฟท.มีข้อสังเกต เช่น กรณีการขยับตำแน่งสถานีราชวิถี เช่น วัตถุประสงค์เพื่ออะไร มีใครได้ประโยชน์บ้าง มีใครได้รับผลกระทบบ้าง รวมไปถึงผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีเส้นทางในแนวเดียวกันบางช่วง ต้องมีการประสานเพื่อยืนยันให้เรียบร้อยตรงกัน เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีจำกัด

@สายสีแดง ไม่ใช่ทางแข่งขัน ไฮสปีด
เมื่อถามว่า ประเด็นที่เส้นทางสายสีแดงอ่อนมีการทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในบางช่วง นั้น ทางบจ. เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) ในฐานะผู้รับสัมปทานมีกังวลเรื่องดังกล่าวหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีเกิดการแย่งผู้โดยสารกัน นายอนันต์กล่าวว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดงเป็นคนละระบบกับรถไฟความเร็วสูง และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีสถานีจอดที่สถานีพญาไท จากนั้นวิ่งยาวไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ไม่มีจุดจอดที่ สถานีราชวิถี จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ในเรื่องการแย่งผู้โดยสาร แค่เป็นเส้นทางที่ขนานกัน เท่านั้น

ในส่วนของรฟท. ยืนยันว่า ยังคงเดินหน้าโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก ตามแผนแม่บทเพื่อเกิดการเชื่อมต่อการเดินทาง เป็นเส้นทางหลัก แนวตะวันออก-ตะวันตก ทอดไปตามแนวทางรถไฟเดิม เข้าสู่ใจกลางเมืองตามแผน

ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดงอ่อนฝั่งตะวันออก เส้นทาง บางซื่อ-หัวหมาก นั้น จะมี 5 สถานี ได้แก่
1. สถานีแยกราชวิถี (เชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้ม)
2. สถานีพญาไท (เชื่อมต่อกับ BTS และ ARL)
3. สถานีมักกะสัน (เชื่อมต่อกับ MRT)
4. สถานีรามคำแหง (เชื่อมต่อกับ ARL)
5. สถานีหัวหมาก (เชื่อมต่อกับ BTS)

@โยธางอกเป็น 3.5 หมื่นล้านบาท จากปัจจัยค่าแรง ค่าวัสดุ เพิ่ม
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี จากเดิม บริเวณด้านทิศเหนือของแยกอุภัยเจษฎทิศ มายังตำแหน่งใหม่ บริเวณด้านทิศใต้ขอแยกอุภัยเจษฎทิศ และมีการปรับชื่อ สถานีจากเดิม”สถานีราชวิถี” เป็น”สถานีรามาธิบดี” ขณะที่การปรับแบบก่อสร้างดังกล่าว ทำให้มูลค่าโครงการรวมเพิ่มขึ้น จากเดิมตามมติครม. เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2559 ที่ 44,157.79 ล้านบาท เป็น 44,573.85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 416.09 ล้านบาท

แต่หากแยกเฉพาะ ค่างานโยธารวมในส่วนของสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง เพิ่มจากเดิมตามมติครม. เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2559 ที่ 24,189.89 ล้านบาท เป็น 35,026.59 ล้านบาท หรือมีค่างานโยธาเพิ่มขึ้น 10,417.10 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับ ค่าวัสดุ ค่าแรง ค่า Factoe F ให้เป็นปัจจุบัน โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 6 ปี

บอร์ด รฟท. ตีกลับ “ต่อขยายสายสีแดง” Missing Link 4.4 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 07:00 น.

บอร์ด รฟท.สั่งทบทวน “ส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดง” Missing Link วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท แนะปรับแบบย้ายสถานีราชวิถีเชื่อมรพ.รามาธิบดี จ่อชงบอร์ดไฟเขียวรอบใหม่ มิ.ย.นี้
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ให้กลับไปทบทวนรายละเอียดเพิ่มเติมกรณีปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ –พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร (กม.) ในการปรับแบบสถานีราชวิถีและย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก และให้นำกลับมาเสนอบอร์ดอีกทีในการประชุมอีกครั้งเดือนมิถุนายน 2567



ส่วนสาเหตุที่ตีกลับโครงการฯนั้น รายละเอียดที่ต้องกลับไปทบทวนดูรายละเอียดของงานโครงการ เช่น เรื่องของการย้ายตำแหน่งสถานี เนื่องจากครั้งนี้มีการขอขยับตำแหน่งสถานีโรงพยาบาลรามาธิบดี ในส่วนของขอบเขตงานว่าหลักการเหตุผลของการขยับสถานีคืออะไรให้ชัดเจน เนื่องจากจากเดิมอยู่ฝั่งตรงข้ามราชวิถี ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นจะย้ายมาอยู่อีกฝั่งคือโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก



“ต้องอธิบายหลักการเหตุผล เช่น ย้ายทำไม ย้ายแล้วได้ประโยชน์ตรงไหน มีผลกระทบกับรถไฟเชื่อมสามสนามบินหรือไม่และได้หารือกันหรือยัง ต้องมีเอกสารยืนยันด้วย ซึ่งบอร์ดต้องการให้มายืนยันให้ชัดเจนเจนว่าการขยับสถานีครั้งนี้ไม่กระทบโครงการอื่นๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ทั้งนี้ในการปรับแบบดังกล่าวจะส่งผลให้วงเงินปรับเพิ่ม 400 กว่าล้านบาท จากค่างานเดิม วงเงิน 44,157 ล้านบาท ตามมติครม.เมื่อปี 2559 ”



รายงานข่าวจากรฟท. กล่าวว่า ด้านการเวนคืนที่ดินช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน - หัวหมาก และช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง (Missing Link) ใช้งบประมาณในการเวนคืน 61 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินภายในเดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568 ระยะเวลาเวนคืนที่ดิน 1 ปี โดยมีพื้นที่ที่ถูกเวนคืนที่ดินประมาณ 78 ตารางวา 2 แปลง 3 หลังคาเรือน


อย่างไรก็ตามหากโครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟในแนวเหนือ – ใต้ และ ตะวันออก – ตะวันตก เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารบริเวณพื้นที่ปริมณฑลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และรองรับการให้บริการด้วยระบบรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็วในอนาคต


8 ปี สายสีแดง “Missing Link” ยังไม่จบ! บอร์ด รฟท. ตีกลับ หวั่นกระทบรถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน
นวัตกรรมขนส่ง, เศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 8:14 น.

บอร์ด รฟท. ตีกลับรถไฟฟ้าสายสีแดง “Missing Link” 25.9 กม. 4.4 หมื่นล้าน สั่งทบทวนรายละเอียดเพิ่ม ย้าย “สถานีราชวิถี” ข้อมูลไม่เคลียร์ งบเพิ่ม 400 ล้าน หลัง ครม. เคาะมาเกือบ 8 ปี ชี้ต้องมีเอกสารเจรจา “กลุ่มซีพี” ให้ชัด หวั่นกระทบรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ไม่อยากให้มีปัญหาทีหลัง ยันยังไม่ได้ยกเลิกโครงการฯ


นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน มีมติให้ รฟท. นำเรื่องการปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) กลับไปทบทวนรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะการย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี จากเดิมอยู่ฝั่งบ้านราชวิถี มาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี จะเป็นปัญหา หรือส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไม่ เพราะพื้นที่ทั้ง 2 โครงการอยู่ใกล้กัน ทั้งนี้ให้ รฟท. เสนอบอร์ด รฟท. อีกครั้งในเดือน มิ.ย. 67


นายอนันต์ กล่าวต่อว่า สำหรับการปรับแบบย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถีนั้น ได้มีการย้ายตำแหน่งสถานี จากเดิมอยู่ฝั่งบ้านราชวิถี ก็ขยับลงไปทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ใกล้โรงพยาบาลรามาธิบดีมากขึ้น โดยเป็นสถานีใต้ดิน และมีทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวกสบาย ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 400 ล้านบาท จากวงเงินเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 59 ประมาณ 4.41 หมื่นล้านบาท โดยที่ประชุมขอทราบหลักการเหตุผลของการย้ายตำแหน่งสถานีที่ชัดเจนอีกครั้ง รวมทั้งการเจรจากับเอกชน เพราะที่นำเสนอมาข้อมูลยังไม่ครบถ้วน

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า รฟท. ต้องตอบให้ชัดเจนว่าย้ายสถานีแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร และมีผลกระทบกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินหรือไม่ หากเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานแล้วควรมีเอกสารยืนยันที่ชัดเจน ซึ่งแม้ว่า รฟท. จะนำเสนอว่าหารือกับเอกชน และยืนยันพื้นที่ก่อสร้างกันแล้ว แต่ก็ต้องมีเอกสารยืนยันให้ชัดเจนว่าไม่กระทบใคร เพราะไม่อยากให้อนุมัติแล้วมีปัญหาตามมาภายหลัง ที่ประชุมจึงยังไม่อนุมัติ ต้องการทำให้เรื่องนี้ชัดเจนที่สุดก่อน เพราะกังวลว่าจะกระทบกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Missing Link ยังเป็นโครงการที่ รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการ ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะยกเลิกดำเนินโครงการ Missing Link แต่อย่างใด


ผู้สื่อข่าวถามว่า บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน จะกังวลเรื่องเส้นทางทับซ้อน และปัญหาการแย่งผู้โดยสารกับ Missing Link หรือไม่ เพราะเส้นทางเดินรถทั้ง 2 โครงการมีเส้นทางบางส่วนอยู่ในแนวเดียวกัน นายอนันต์ กล่าวว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะแม้จะแนวเส้นทางเดียวกันคู่ขนานกันไป แต่รถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินไม่มีสถานีจอดที่สถานีราชวิถี โดยรถไฟไฮสปีดฯ เมื่อมาจากอู่ตะเภา จะมาจอดที่สถานีพญาไท และมุ่งหน้าไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานีถัดไป ดังนั้นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟไฮสปีดฯ และต้องการมายังสถานีราชวิถี หรือบริเวณโรงพยาบางรามาธิบดี ต้องลงต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีพญาไท ทั้งนี้สายสีแดงแบ่งเป็น 2 สายคือ สีแดงอ่อน (East-West) ช่วงศาลายา ตลิ่งชัน บางซื่อ และหัวหมาก และสีแดงเข้ม (North-South) ช่วงรังสิต บางซื่อ และหัวลำโพง



ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับโครงการ Missing Link ระยะทาง 25.9 กม. ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติการก่อสร้างฯ วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 59 ปัจจุบันผ่านมาเกือบ 8 ปีแล้ว ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่ชัดเจน รฟท. ยังอยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้าง และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน และรูปแบบโครงสร้างสถานี และต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ใหม่ ล่าสุดกรมการขนส่งทางราง (ขร.) จึงไม่ได้นำเส้นทางดังกล่าว บรรจุในแผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2) แต่หากในอนาคตโครงการนี้ชัดเจน ขร. ก็จะนำมาบรรจุใน M-MAP 2 และเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป....
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43555
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2024 11:00 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลั่นชงครม.เคาะ ส่วนขยายสีแดง 3เส้นภายในปีนี้
Source - ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 04:08 น.

นครราชสีมา * "สุรพงษ์" เร่งเครื่องสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงิน 2.17 หมื่นล้าน ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลั่นชง ครม.เคาะ ภายในปี 67 คาดใช้เงินกู้ภายในประเทศ


ขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงเส้นแรก“รังสิต-มธ.”จ่อเข้าครม. เปิดประมูลปีนี้อีก 2 เส้นรอบอร์ด
นวัตกรรมขนส่ง
วันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8:37 น.

รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย “รังสิต-มธ.” จ่อเข้าครม. เปิดประมูลปีนี้เส้นแรก รฟท.ชงบอร์ดเคาะ 2 เส้นตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช อีกรอบ


นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย 1 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 6,473.98 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) แล้ว


คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในเร็วๆ นี้ หากได้รับความเห็นชอบจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปี 67 เริ่มการก่อสร้างภายในปลายปี 67 หรือต้นปี 68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการประชาชนได้ในช่วงต้นปี 71


 นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รฟท. รายงานว่า อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้การพิจารณานำเสนอเส้นทางเป็นไปด้วยความรอบคอบ และเพื่อให้กระทรวงคมนาคมมีข้อมูลที่ครบถ้วนในขั้นตอนการชี้แจงต่อ ครม.

รฟท. คาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. เป็นประธาน พิจารณาในเดือน ก.ค.67..

Note: งานนี้ CRRC Zhuzhou โรงงาน Batu Gajah กะ อินโดนิเซีย คงเสนอตัวเข้าแข่งขันในการหารถไฟฟ้า มาเพิ่ม แน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46614
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2024 7:26 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.มัดรวมสีแดง 2 สาย”ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา”สัญญาเดียว 1.51 หมื่นล.ลุยออกแบบ’วงเวียนใหญ่–มหาชัย’
ผู้จัดการออนไลน์ 30 ก.ค. 2567 06:00

บอร์ดรฟท.เคาะรวมรถไฟสีแดง 2 สาย “ตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช”เป็นโครงการเดียวกัน มัดรวมก่อสร้างสัญญาเดียว 1.51 หมื่นล้านบาท แก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ลดค่าที่ปรึกษา เร่งชงครม.คาดก.ย. เปิดประมูล พร้อมปัดฝุ่นสายสีแดงเข้ม”วงเวียนใหญ่ – มหาชัย”เคาะจ้างที่ปรึกษา 135 ล้าน ออกแบบรายละเอียด

นายอนันต์​ โพธิ์นิ่งแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ครั้งที่ 9 /2567 เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดงอ่อน) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายาและสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม6 สถานีบางกรวย -การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการสายสีแดงอ่อน ช่วง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เข้าด้วยกันเป็นโครงการเดียว ช่วง ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา และเปิดประกวดราคาสัญญาเดียว ตามที่รฟท.เสนอ เนื่องจากเห็นว่า 2 โครงการ มีผลดีต่อการส่งมอบพื้นที่และการก่อสร้างในจุดทับซ้อนกันที่สถานีตลิ่งชัน ซึ่งอาจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง และงานระบบต่างๆ รวมถึงให้ดำเนินงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมกัน

ซึ่งการรวม 2 เส้นทางเป็นโครงการเดียว ทำให้ มูลค่าโครงการรวมเดิม 15,286.27 ล้านบาท เหลือ 15,176.21 ล้านบาท หรือกรอบวงเงินโครงการลดลง 110.06 ล้านบาท เนื่องจากเมื่อเป็นสัญญาเดียว ผู้รับจ้างรายเดียว ทำให้ลดงานที่ซ้ำซ้อนลง รวมถึงลดค่าจ้างที่ปรึกษาก็ลดลงไปด้วย โดยหลังจากนี้เสนอ กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.)​คาดว่าจะได้รับอนุมัติ เดือนส.ค. 2567 จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคา 3 ส่วน คือ ประกวดราคาหาผู้รับจ้าง ประกวดราคาที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และประกวดราคาที่ปรึกษาอิสระ (ICE) ดำเนินการช่วงระหว่าง เดือนก.ย. 2567 ถึง เดือนเม.ย. 2568 (8 เดือน) เริ่มก่อสร้าง เดือนพ.ค. 2568 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน คาดว่าเปิดให้บริการ เดือนพ.ค. 2571

Click on the image for full size

สำหรับ โครงการ รถไฟสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา มีการปรับกรอบวงเงินมาแล้วจาก เดิมครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2562 วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท เป็นวงเงิน 10,670.27 ล้านบาท ซึ่งเตรียมเสนอครม.เมื่อเดือนมี.ค. 2567 แต่มีการถอนเรื่องกลับมาปรับปรุงใหม่

ส่วนสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี-ศิริราช มีการปรับกรอบวงเงินจาก เดิมครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2562 วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท เป็นวงเงิน 4,616 ล้านบาท ซึ่งเตรียมเสนอครม.เมื่อเดือนก.พ. 2567 แต่มีการถอนเรื่องกลับมาปรับปรุงใหม่

โดยเมื่อรวมทั้ง 2 โครงการเป็นโครงการเดียวกัน ช่วง ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ15,176.21 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 14.78 ล้านบาท 2. ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) วงเงิน 392.13 ล้านบาท (ลดลง 2.75 ล้านบาท) 3.ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) วงเงิน 39.55 ล้านบาท (ลดลง 7.35 ล้านบาท) 4. ค่างานโยธาและระบบราง วงเงิน 10,774.72 ล้านบาท (ลดลง 99.96 ล้านบาท) 5.ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 3,955.03 ล้านบาท ส่วนตู้รถไฟฟ้าจะอยู่ในงาน PPP สายสีแดง

@ปัดฝุ่นสีแดงเข้ม”วงเวียนใหญ่ – มหาชัย”เคาะจ้างที่ปรึกษาทบทวน&ออกแบบ

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท. ยัง อนุมัติจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ในนามของบริษัท เทสโก้ จำกัด มีผู้เข้าร่วมค้า 4 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท เทสโก้ จำกัด (Lead Firm) 2.บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด 3. บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และ 4.บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด) เป็นที่ปรึกษา ทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ จัดทำร่างเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย กรอบวงเงินสัญญาจ้าง 135,622,500 บาท ระยะเวลาศึกษา 450 วัน โดย บอร์ด ให้ รฟท. หารือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ) ก่อนพิจารณาอนุมัติจ้าง ที่ปรึกษา

โดยก่อนหน้านี้ สนข.มีความเห็นว่า หากรฟท.จะดำเนินการโครงการสายสีแดงเข้ม ก็ต้องศึกษาทบทวนใหม่ เพราะเห็นว่า ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย เขตทางรถไฟแคบ วัดจากกึ่งกลางทางรถไฟออกไปข้างละ ประมาณ 20 เมตรเท่านั้น ทำให้ต้องก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับ และอาจมีเวนคืนบ้างบริเวณที่เป็นสถานี ซึ่ง รฟท.หารือและตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย มีความจำเป็นต้องดำเนินการเพราะมีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก โดยก่อสร้างเป็นรถไฟสายสีแดง ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่า ดังนั้น จะยืนยันกับ สนข.ในการดำเนินการเส้นทางนี้

นอกจากนี้ ทางกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เคยมีความเห็นอาจจะยกเลิกเส้นทาง ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณา EIA และการปรับรูปแบบก่อสร้างเป็นใต้ดินอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่าก่อสร้างสูงมาก ซึ่งเรื่องนี้ รฟท.หารือกรมราง เนื่องจากเห็นว่า มีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟสายสีแดง ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ดังนั้นจึงต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันให้ชัดเจน

รายงานข่าวแจ้งว่า จากผลการศึกษาเดิมเมื่อปี 2549 โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย ระยะทางรวม 36.56 กิโลเมตร โครงสร้างยกระดับ มูลค่าประมาณ 53,064 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วงหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 3.40 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 4,934 ล้านบาท 2. ช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ระยะทาง 33.16 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 48,129 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาและออกแบบรายละเอียดระบบ รถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล(มหาชัย - ปากท่อ) เมื่อปี พ.ศ. 2550 แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ช่วงมหาชัย - บ้านแหลม ระยะทาง 0.85 กิโลเมตร 2.ช่วงบ้านแหลม – แม่กลอง ระยะทาง 33.73 กิโลเมตร และ 3. ช่วงแม่กลอง - ปากท่อ ระยะทาง 30.50 กิโลเมตร โดยมีมูลค่าโครงการทั้ง 3 ช่วง รวมประมาณ 38,182 ล้านบาท


Railway Project: Two Red Lines Combined into One Contract Worth 15.1 Billion Baht

Manager Online, July 30, 2024, 06:00 AM

The State Railway of Thailand (SRT) Board has approved the merging of two Red Line railway projects—“Taling Chan-Salaya” and “Taling Chan-Siriraj”—into a single project. The combined contract value is 15.1 billion baht. This decision aims to resolve overlapping area issues, reduce consultancy fees, and expedite the project for submission to the Cabinet, with bidding expected to open in September. Additionally, the deep red line from Wongwian Yai to Mahachai will undergo design work, with a consultancy budget of 135 million baht.

Anan Podingdang, Deputy Governor of the SRT, revealed that the SRT Board, chaired by Jirut Wisanjit, Director-General of the Department of Land Transport, agreed to merge the suburban railway projects. This includes the light red line from Taling Chan to Salaya and three additional stations (Rama VI Bridge, Bang Kruai - EGAT, and Ban Chim Phli), and the Taling Chan to Siriraj line, into a single project from Siriraj to Taling Chan to Salaya. The SRT proposed this as both projects share overlapping areas at Taling Chan station, which could impact construction and system operations. The unified construction will also reduce project redundancy and consulting costs, bringing the total project cost from 15,286.27 million baht to 15,176.21 million baht—a reduction of 110.06 million baht. The project will seek Cabinet approval in August 2024, followed by three separate bidding processes for contractors, construction supervision consultants (CSC), and independent consultants (ICE) from September 2024 to April 2025. Construction is expected to begin in May 2025 and finish in 36 months, with operations starting in May 2028.

The Taling Chan to Salaya Red Line project, spanning 14.8 kilometers with six stations (Rama VI, Bang Kruai-EGAT, Ban Chim Phli, Kanchanaphisek, Salathammasop, and Salaya), was initially approved by the Cabinet on February 26, 2019, for 10,202.18 million baht, later adjusted to 10,670.27 million baht. However, the proposal was withdrawn in March 2024 for further revision.

The Taling Chan to Siriraj Red Line, covering 5.7 kilometers with three stations (Taling Chan Floating Market, Charansanitwong, and Thonburi-Siriraj), was originally approved on March 5, 2019, for 6,645.03 million baht, later adjusted to 4,616 million baht. The project was also withdrawn for further revision in February 2024.

The combined project for the Siriraj-Taling Chan-Salaya line spans 20.5 kilometers with a budget of 15,176.21 million baht, including 14.78 million baht for tender consultancy, 392.13 million baht for CSC (a reduction of 2.75 million baht), 39.55 million baht for ICE (a reduction of 7.35 million baht), 10,774.72 million baht for civil and rail systems (a reduction of 99.96 million baht), and 3,955.03 million baht for electrical and mechanical systems. Train carriages will be included under the PPP model for the Red Line.

**Deep Red Line from Wongwian Yai to Mahachai: Consultancy Contract Approved**

The SRT Board also approved hiring a consortium led by Tesco Co., Ltd., including MHP Co., Ltd., MAA Consultant Co., Ltd., and Decade Consultant Co., Ltd., to review the feasibility study, design details, conduct an environmental impact assessment, and prepare tender documents for the Wongwian Yai to Mahachai deep red line suburban railway. The consultancy contract is worth 135,622,500 baht and will take 450 days. The SRT will consult with the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) before finalizing the consultancy contract.

Previously, the OTP suggested a new feasibility study for the deep red line project due to concerns about the narrow railway right-of-way (20 meters from the centerline on either side) and the potential need for an elevated structure and land expropriation near stations. The SRT, after preliminary discussions, emphasized the necessity of the Wongwian Yai to Mahachai route due to high passenger demand and benefits, confirming this with the OTP.

Additionally, the Department of Rail Transport had considered canceling the Hua Lamphong-Wongwian Yai section due to the failure to pass the EIA and the high costs of converting the construction to an underground tunnel under the Chao Phraya River. The SRT, however, stressed the importance of this route for connecting the Red Line network and its benefits to the public, prompting further discussions with relevant agencies.

According to a 2006 study, the suburban railway project from Hua Lamphong to Mahachai covers 36.56 kilometers with an estimated cost of 53,064 million baht, divided into two sections: 1) Hua Lamphong-Wongwian Yai (3.40 kilometers, 4,934 million baht) and 2) Wongwian Yai-Mahachai (33.16 kilometers, 48,129 million baht). A further study in 2007 detailed the suburban and intercity railway systems connecting the Bangkok metropolitan area (Mahachai-Pak Tho) into three segments: 1) Mahachai-Ban Laem (0.85 kilometers), 2) Ban Laem-Mae Klong (33.73 kilometers), and 3) Mae Klong-Pak Tho (30.50 kilometers), with a total project cost of approximately 38,182 million baht.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43555
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2024 11:10 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.มัดรวมสีแดง 2 สาย”ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา”สัญญาเดียว 1.51 หมื่นล.ลุยออกแบบ’วงเวียนใหญ่–มหาชัย’
ผู้จัดการออนไลน์
วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.


ดูนี่ก็ด้วย
รวบสัญญาขยายสายสีแดง“ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา” *บอร์ดรฟท.เคาะ20กม.1.51หมื่นล้านเซฟงบ110ล้าน
*จบปัญหาพื้นที่ทับซ้อนชงครม.ส.ค.แผนสร้างปีหน้า
*สั่งจ้าง135ล้านทบทวนผลศึกษาหัวลำโพง-มหาชัย

จบปัญหาพื้นที่ซ้ำซ้อนมัดรวมสายสีแดง”ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา”ชงครม.ไฟเขียวเริ่มสร้างปีหน้า

“บอร์ด รฟท.” เคาะรวมสายสีแดงต่อขยาย 2 ช่วงเป็นสัญญาเดียว “ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา” 20.5 กม. 1.51 หมื่นล้าน เซฟงบ 110 ล้านบาท จบปัญหาพื้นที่ทับซ้อน เสนอครม.ไฟเขียว ส.ค.นี้ พร้อมจ้างกิจการค้าร่วม“เทสโก้” ทบทวนผลศึกษา “วงเวียนใหญ่-มหาชัย” หั่นส่วนที่เป็นปัญหา “หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่” ออกก่อน อีไอเอไม่ผ่านปรับเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 25 ก.ค. เห็นชอบรวมโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายาและสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี(สถานีสะพานพระราม 6, สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) รวมทั้งช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เข้าด้วยกัน เพื่อจัดซื้อจัดจ้างเป็นสัญญาเดียว และไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนที่สถานีตลิ่งชัน ตลอดจนงานระบบต่างๆ


นายอนันต์ กล่าวต่อว่า การรวม 2 เส้นทางเป็นสัญญาเดียว ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม20.5 กิโลเมตร(กม.) ช่วยลดวงเงินโครงการฯ ได้ 110.06 ล้านบาท อยู่ที่ 15,176.21 ล้านบาท จากเดิม2 โครงการ 15,286.27 ล้านบาท เนื่องจากการรวมเป็นสัญญาเดียวช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆเหลือเพียงรายการเดียวได้ อาทิ ค่าที่ปรึกษาควบคุมงาน ค่าก่อสร้างที่พัก และสำนักงานก่อสร้าง นอกจากนี้ยังช่วยให้การบริหารจัดการโครงการง่ายกว่าการแยกเป็น 2 โครงการ หลังจากนี้จะเสนอโครงการฯ ไปกระทรวงคมนาคม และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป คาดว่าจะได้รับอนุมัติประมาณเดือน ส.ค.67


นายอนันต์ กล่าวอีกว่า วางแผนเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาหาผู้รับจ้าง ที่ปรึกษาคุมงาน และที่ปรึกษาอิสระ ในเดือน ก.ย.67 ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ถึงประมาณเดือน เม.ย.68 เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ค.68 ระยะเวลา 36 เดือน หรือประมาณ 3 ปี คาดว่าจะเปิดบริการได้ประมาณเดือน พ.ค.71

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบเบื้องต้นให้ รฟท. ว่าจ้างกิจการค้าร่วม ในนามของบริษัท เทสโก้ จำกัด ประกอบด้วย บริษัท เทสโก้จำกัด, บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด, บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัดทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม แบบรายละเอียด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-เวียนใหญ่-มหาชัย ระยะทาง37 กม. วงเงินประมาณ 135 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 450 วัน

ADVERTISEMENT



“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า แม้ที่ประชุมบอร์ด รฟท. จะอนุมัติให้ว่าจ้างกิจการค้าร่วมบริษัท เทสโก้ จำกัด ดำเนินการทบทวนผลการศึกษาฯ รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มฯ แต่ได้มอบให้ รฟท. หารือกรมการขนส่งทางราง(ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการทบทวนผลการศึกษาและให้นำมาแจ้งที่ประชุมบอร์ด รฟท. รับทราบในการประชุมเดือน ส.ค.67 ด้วย

สำหรับช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย อยู่ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงระยะทางประมาณ 37 กม. ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-Map) ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) รวมทั้งบรรจุอยู่ใน M-Map 2 ที่ ขร. กำหนดให้อยู่ในกลุ่ม B เส้นทางมีศักยภาพ ทบทวนการดำเนินการอีกครั้งภายหลังปี 72



เบื้องต้น รฟท. มีแผนดำเนินการช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย ระยะทางประมาณ 33 กม. ก่อน ส่วนช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ ระยะทางประมาณ 4 กม. ยังไม่ได้ตัดทิ้ง รอผลทบทวนการศึกษาอีกครั้งเนื่องจากในช่วงนี้ยังติดปัญหา โดยเฉพาะช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อาจต้องปรับเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา จากเดิมเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งยังไม่ผ่านอีไอเอ...
https://www.dailynews.co.th/news/3699016/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1034284548148779
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46614
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2024 8:08 am    Post subject: Reply with quote

ชงครม.ใหม่เคาะระบบราง6.6แสนล.
Source - ไทยโพสต์
Thursday, September 05, 2024 04:51

"สุรพงษ์" กางแผนเดินหน้าเข็นระบบรางชง ครม.ชุดใหม่ภายในปีนี้ ลุยประมูล รถไฟไทย-จีน เฟส 2-ทางคู่ค้าง ท่อ 6 เส้นทาง และรถไฟชาน เมืองสายสีแดง รวมวงเงินกว่า 6.6 แสนล้านบาท

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือนตุลาคมนี้ กระทรวงจะทยอยเสนอ โครงการลงทุนระบบรางที่มีความ พร้อม และค้างจากการพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดเก่า จะนำมาเสนอเข้าสู่การประชุม ครม.ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยโครงการสำคัญที่กระทรวงจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เป็น แพ็กเกจระบบรางรวม 9 โครง การ มูลค่า 661,060.42 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) รวมมูลค่าการลงทุน 341,351.42 ล้านบาท

นอกจากนี้ จะเสนอแพ็กเกจ ระบบรถไฟทางคู่ ระยะ 2 ที่ค้าง จากการเสนอเข้า ครม.ชุดก่อนหน้า รวม 6 เส้นทาง มูลค่า 298,060 ล้านบาท ประกอบด้วย ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143 ล้านบาท, ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 30,422 ล้านบาท, ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 66,270 ล้านบาท, ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กิโลเมตร วงเงิน 68,222 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103 ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900 ล้านบาท

นายสุรพงษ์กล่าวว่า กระ ทรวงจะเสนอโครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้า ครม. เพื่อทำให้ระบบขนส่งสายนี้เชื่อมต่อชานเมืองเข้าสู่เมืองชั้นในอย่างสะดวก โดยจะเสนอโครงการสายสีแดง ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,473 ล้านบาท และส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 15,176 ล้าน โดยภายหลัง ครม.อนุมัติ กระทรวงจะเร่งรัดเปิดประมูลก่อสร้างทันที

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 5 ก.ย. 2567


New Cabinet to approve 660 billion baht rail system

Source - Thai Post
Thursday, September 05, 2024 04:51


"Surapong" unveils plans to push forward rail system projects to the new Cabinet within this year. Bidding will proceed for the Thai-Chinese high-speed rail Phase 2, remaining double-track lines, 6 routes, and the Red Line suburban railway, with a total value of over 660 billion baht.

Mr. Surapong Piyachoti, Deputy Minister of Transport, revealed that within October, the Ministry will gradually propose investment projects for the rail system that are ready and pending consideration from the previous Cabinet. These will be presented to the new Cabinet meeting for completion within this year. The key projects that the Ministry will propose to the Cabinet meeting are a package of 9 rail system projects with a value of 661,060.42 million baht, including:

* The high-speed rail project (high-speed) under the Thai-Chinese cooperation framework, Phase 2, Nakhon Ratchasima-Nong Khai section, with a distance of 356 kilometers (km) and a total investment value of 341,351.42 million baht.

In addition, a package of Phase 2 double-track railway systems will be proposed, which were pending from the previous Cabinet submission, including 6 routes with a value of 298,060 million baht, consisting of:

* Pak Nam Pho-Den Chai section, 281 km, budget of 81,143 million baht
* Chumphon-Surat Thani section, 168 km, budget of 30,422 million baht
* Surat Thani-Hat Yai Junction-Songkhla section, 321 km, budget of 66,270 million baht
* Den Chai-Chiang Mai section, 189 kilometers, budget of 68,222 million baht
* Chumphon Junction-Ubon Ratchathani section, 308 km, budget of 44,103 million baht
* Hat Yai Junction-Padang Besar section, 45 km, budget of 7,900 million baht

Mr. Surapong said that the Ministry will also propose the Red Line suburban railway extension project to the Cabinet to enable convenient connections from the suburbs to the inner city. The proposed projects include the Red Line Rangsit-Thammasat University Rangsit Center section, with a budget of 6,473 million baht, and the Red Line extension Siriraj-Taling Chan-Salaya section, with a budget of 15,176 million baht. After the Cabinet's approval, the Ministry will expedite the bidding process for construction.

Source: Thai Post Newspaper, September 5, 2024 issue.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14
Page 14 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©