RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312065
ทั่วไป:13668891
ทั้งหมด:13980956
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 567, 568, 569 ... 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/09/2024 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

EEC ปักหมุดพัฒนา TOD ไฮสปีด 3 สนามบินปีนี้ 2 สถานี พัทยา-ฉะเชิงเทรา
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Friday, September 06, 2024 18:18

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 ก.ย. 67)

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยว่า จากการติดตามความคืบหน้าโครงการในอีอีซี ได้แก่ การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่ประกอบด้วย 9 สถานี ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน หรือ TOD ที่จะสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชน และสังคม

โดยอีอีซี ได้ดำเนินการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณรอบสถานี เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ เพื่อรองรับจำนวน 2 สถานี ในปี 2567 ได้แก่ การพัฒนา TOD บริเวณสถานีฉะเชิงเทรา พื้นที่ 321 ไร่ มีแนวคิดการพัฒนารวม 9 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 18,980 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน โครงการศูนย์สนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ระยะสั้น (5 ปี) โครงการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าชุมชน (OTOP) โครงการที่อยู่อาศัยชั้นดี อาคารสำนักงาน (home office) ระยะยาว (10 ปี) โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โรงแรมย่านการค้า เป็นต้น

และการพัฒนา TOD สถานีพัทยา พื้นที่ 280 ไร่ มีแนวคิดพัฒนารวม 7 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะสั้น (1-5 ปี) โครงการศูนย์ขนส่งต่อเนื่อง (ITF) แบบ Mixed Use Complex ระยะยาว (6-10 ปี) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรมใหม่ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า (MICE) เป็นต้น โดย อีอีซี ได้รับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนา TOD เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในพื้นที่และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง โดยกว่าร้อยละ 80 สนใจเข้าร่วมโครงการ และขณะนี้อยู่ระหว่างรอเสนอ คณะกรรมการ กพอ. เพื่อเห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชนที่ดิน บริเวณรอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ดังกล่าว และคาดว่าจะเสนอ ครม. ตามขั้นตอนต่อไป


UTA คาดเริ่มก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาฯ ต้นปี 68
สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ความก้าวหน้าในส่วนงานของภาครัฐ การส่งมอบพื้นที่โครงการฯ ส่วนแรกให้กับภาคเอกชน (UTA) พื้นที่ประมาณ 3,550 ไร่ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ การเตรียมการเพื่อให้บริการทางเดินอากาศ โดยบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารหอบังคับการบินสูง 59 เมตร และอาคารระบบสื่อสาร ระบบช่วยเดินอากาศ ติดตามอากาศยาน (CNS) ปัจจุบันงานออกแบบแล้วเสร็จ

งานก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 ทางขับ โดยกองทัพเรือ อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จะเริ่มก่อสร้างต้นปี 2568 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2571

ด้านงานระบบสาธารณูปโภคภายในสนามบินฯ งานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ดำเนินการแล้ว 26.48% โดยงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ก่อสร้างแล้ว 95.13% และเริ่มทดสอบระบบ งานระบบประปาและบำบัดน้ำเสีย ในส่วนการผลิตน้ำประปา ดำเนินการตามแผนแล้ว 100% งานระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ก่อสร้างคลังน้ำมันได้ตามแผน ความก้าวหน้าภาพรวม 50.84%

ในส่วนงานภาคเอกชน (UTA) คาดว่าจะสามารถแจ้งเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้ภายในต้นปี 2568 นี้ เพื่อเริ่มก่อสร้างงานสำคัญ ๆ เช่น อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 อาคารเทียบเครื่องบินรอง และศูนย์ธุรกิจการค้า เป็นต้น ซึ่งคาดว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะสามารถเปิดให้บริการในปี 2572 เฟสแกรองระบผู้โดยสารที่ 12 ล้านคนต่อปี

โดยการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะก้าวสู่ศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค เป็นสนามบินนานาชาติที่ได้มาตรฐานโลก รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบิน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวสู่ภาคธุรกิจ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และขนส่งทางอากาศแห่งภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นใจ และเป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดให้นักลงทุนเข้าสู่พื้นที่อีอีซี


เตรียมลุย EECiti เฟสแรก
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (EEC Capital City : EECiti) ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้เห็นชอบการจัดตั้งเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ บนพื้นที่ประมาณ 5,795 ไร่ สำหรับการพัฒนาระยะแรก และอยู่ระหว่างเสนอ ครม. เห็นชอบเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยอีอีซีมีแนวทางจะขอขยายเขตส่งเสริมฯ ดังกล่าว ให้ครบพื้นที่ประมาณ 14,619 ไร่ เพื่อให้รองรับการลงทุนในคลัสเตอร์ธุรกิจอุตสาหกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่สำคัญภายในโครงการ อาทิ ธุรกิจการแพทย์แม่นยำและการแพทย์อนาคต ธุรกิจ BCG ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยวและกีฬา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งศูนย์การศึกษา วิจัย พัฒนาระดับนานาชาติ ศูนย์บริการทางการเงินแห่งอนาคต เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับคนทุกกลุ่ม นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะเข้ามาผสมผสานการบริหารจัดการในเมือง มีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและน้ำที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีระดับมาตรฐานโลก ให้แก่คนอยู่อาศัยและพื้นที่โดยรอบอย่างยั่งยืน

นายจุฬา กล่าวว่า ความก้าวหน้าดำเนินงานขณะนี้ อีอีซี มีแผนจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากโครงการฯ ในพื้นที่ระยะแรกดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 นี้ รวมทั้งการพัฒนาเมือง EEC Capital City จะเร่งขับเคลื่อนในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ที่ประสานกับ กรมชลประทาน การประปาส่วนภูมิภาค เพื่อบริการจัดการน้ำให้รองรับเพียงพอภายในโครงการฯ ประสานกับกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เพื่อการศึกษาออกแบบ ก่อสร้างโครงข่ายถนนทั้งภายนอก และเชื่อมต่อภายในโครงการฯ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เอกชนเข้าลงทุนพัฒนาพื้นที่ธุรกิจเป้าหมายในโครงการต่อไป โดยอีอีซี มีแนวทางจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนา ในรูปแบบ PPP เพื่อลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ในช่วงปลายปี 2568 และคาดว่าจะสามารถเริ่มเข้าปรับพื้นที่ก่อสร้าง ภายในปี 2569

รวมทั้งได้มีแนวคิดที่จะตั้ง บริษัท พัฒนาเมือง ในลักษณะ EEC Holding เพื่อร่วมบริหารจัดการและพัฒนา EEC Capital City บริเวณพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ จ.ชลบุรี ในอนาคตจะเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ ต้นแบบเมืองอัจฉริยะน่าอยู่มาตรฐานสากล ที่จะรองรับการลงทุนรวมประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท สร้างงานตรงไม่น้อยกว่า 200,000 ตำแหน่ง มีมูลค่าการจ้างงานกว่า 1.2 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด จะสามารถเปิดดำเนินการในช่วงแรก ได้ภายในปี 2572 ซึ่งจะสอดคล้องกับระยะเวลาที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ จะก่อสร้างแล้วเสร็จ


**EEC Pins Development of TODs at 2 High-Speed Rail Stations this Year: Pattaya and Chachoengsao**

**Source - IQ Infoquest News Agency**

**Friday, September 06, 2024 18:18**

Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the Eastern Economic Corridor (EEC) Policy Committee, revealed that the EEC is closely monitoring the progress of projects within the EEC, including the development of the High-Speed Rail connecting three airports. This project includes 9 stations, and the EEC will develop Transit-Oriented Development (TOD) areas around these stations to create infrastructure that benefits the community and society.

The EEC has prepared land-use plans around the stations in the Special Economic Promotion Zone to accommodate 2 stations in 2024:

* **Chachoengsao Station TOD:** Covering 321 rai, with 9 development projects planned, and an investment of approximately 18.98 billion baht. The development phases include:
* **Immediate:** Transfer Support Center
* **Short-term (5 years):** Modern retail business center, community shops (OTOP), and high-quality residential buildings and home offices.
* **Long-term (10 years):** Residential projects for the elderly and hotels in commercial areas.

* **Pattaya Station TOD:** Covering 280 rai, with 7 development projects planned, and an investment of approximately 46 billion baht. The development phases include:
* **Short-term (1-5 years):** Mixed-Use Complex Integrated Transport Facility (ITF)
* **Long-term (6-10 years):** New commercial residential development and a Meeting, Incentive, Convention, and Exhibition (MICE) center.

The EEC has gathered opinions on the TOD development approach to ensure the participation of government agencies, private sectors in the area, and nearby communities. Over 80% are interested in joining the project. Currently, they are waiting to propose the (draft) land-use plan around the stations of the High-Speed Rail project to the EEC Policy Committee for approval. It is expected to be presented to the Cabinet according to the next steps.

**UTA Expects to Start Construction of U-Tapao Airport in Early 2025**

Regarding the U-Tapao Airport and Eastern Aviation City development project, progress has been made on the government side. The first part of the project area, approximately 3,550 rai, has been handed over to the private sector (UTA). Preparations for air traffic services are underway, with Aeronautical Radio of Thailand Ltd. (AEROTHAI) granting permission to use the area for the construction of a 59-meter-high air traffic control tower and a Communication, Navigation, Surveillance/Air Traffic Management (CNS/ATM) system building. The design is currently complete.

The construction of the second runway and taxiway by the Royal Thai Navy is in the process of selecting a contractor and construction supervision consultant. Construction will begin in early 2025 and is expected to be completed within 2028.

Regarding utilities within the airport, the electricity and chilled water systems are 26.48% complete, with the solar power plant construction at 95.13% and system testing has begun. For the water supply and wastewater treatment system, water production is 100% complete according to plan. The aviation fuel service system and fuel depot construction are also progressing according to plan, with an overall progress of 50.84%.

On the private sector side (UTA), it is expected that the Notice to Proceed (NTP) for construction can be issued by early 2025 to begin major construction works such as the third passenger terminal building, secondary concourse, and commercial center. It is anticipated that the U-Tapao Airport development project will be operational in 2029, with a phase accommodating 12 million passengers per year.

The development of U-Tapao Airport will transform it into a regional aviation hub, a world-class international airport that supports the growth of the aviation industry, connects tourism to the business sector, and serves as a regional center for tourism and air transportation. This will build confidence and be a key factor in attracting investors to the EEC.

**Preparing for EECiti's First Phase**

The EEC Business Center and Smart Livable City (EEC Capital City: EECiti) project has received approval from the Eastern Economic Corridor Policy Committee (EECPC) to establish a Special Economic Promotion Zone on an area of approximately 5,795 rai for the first phase of development. It is currently awaiting Cabinet approval for publication in the Royal Gazette. The EEC plans to request an expansion of this zone to cover the entire area of approximately 14,619 rai to accommodate investments in key industrial business clusters and related activities within the project, such as precision medicine and future medicine businesses, BCG businesses, service businesses, tourism and sports, creative economy, as well as international education, research, and development centers, and future financial service centers. It also includes the development of housing for all groups, incorporating smart technology and innovation into city management, and developing green spaces and water resources that meet international standards to create a livable city that is environmentally friendly and elevates the quality of life to world-class standards for residents and the surrounding areas in a sustainable manner.

Mr. Chula stated that the EEC plans to complete compensation payments to those entitled to compensation from the project in the first phase by 2025. The development of EEC Capital City will accelerate the development of infrastructure and utilities, coordinating with the Royal Irrigation Department and the Provincial Waterworks Authority to ensure adequate water supply within the project. Coordination with the Department of Highways and the Department of Rural Roads will also take place for the design and construction of road networks both outside and connecting within the project to prepare for private sector investment in target business areas within the project. The EEC plans to open for private sector participation in the development through Public-Private Partnerships (PPPs) to invest in infrastructure and utilities in late 2025, and it is expected that construction can begin within 2026.

There are also plans to establish an EEC Holding-style City Development Company to jointly manage and develop EEC Capital City in the Huai Yai sub-district of Chonburi province. In the future, it will be a central business district and a model smart livable city with international standards that will accommodate investments totaling approximately 1.34 trillion baht, create at least 200,000 direct jobs, and have an employment value of over 1.2 trillion baht. It is expected that the initial phase of the entire area development will be operational by 2029, coinciding with the completion of the High-Speed Rail connecting three airports and the U-Tapao Airport project.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2024 8:01 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.นี้ เซ็นสัญญา “บุญชัยฯ” ต้องสร้าง “สถานีอยุธยา” เปิด PPP เดินรถตลอดเส้น
เดลินิวส์ 9 ก.ย. 2567 7:31 น.

ต.ค.นี้ ลงนามสัญญา “บุญชัยพาณิชย์ฯ” ลุยงานสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ชี้ HIA ผ่านหรือไม่ผ่าน ก็ต้องสร้าง“สถานีรถไฟไฮสปีดอยุธยา” ชี้ทำทุกอย่างแล้วไม่ให้กระทบมรดกโลก ขณะที่ “ยูเนสโก” ไม่ได้ค้านก่อสร้างแค่ขอยืนยันข้อมูล ด้าน รฟท. พร้อมออก NTP ให้เอกชนไม่เกิน 2 เดือน เริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ ยังปักธงเปิดบริการปี71 ขณะที่การเดินรถไฟไฮสปีด รฟท. เตรียมศึกษา 6 เดือน รู้ผล มี.ค.68 ลุยต่อเฟส 2 ถึงหนองคาย ส่ง สลค. ก.ย.นี้เข้า ครม. ต.ค. ประมูลปลายปีนี้

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า จากการติดตามภาพรวมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พบว่า การดำเนินงานแต่ละสัญญามีความคืบหน้าไม่สอดคล้องกันทั้งโครงการ บางสัญญามีความคืบหน้าค่อนข้างมาก ขณะที่บางสัญญามีความคืบหน้าน้อยมาก ซึ่งต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง โดยตนจะตั้งคณะทำงาน เพื่อหารือร่วมกับผู้รับผิดชอบงานก่อสร้าง และผู้รับจ้างทั้ง 14 สัญญา เพื่อแก้ปัญหา บูรณาการงานร่วมกัน และผลักดันให้การก่อสร้างมีความคืบหน้า และแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า มั่นใจว่าจะแก้ไขทุกปัญหา และผลักดันให้โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่1 สามารถก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 71 ปัจจุบันโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนามสัญญา 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองระยะทาง 15.21 กิโลเมตร(กม.) อยู่ระหว่างรอการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน

และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ปัจจุบันได้บริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด เป็นผู้รับจ้าง แต่ยังไม่สามารถลงนามก่อสร้างได้ เนื่องจากยังมีข้อห่วงใยว่าการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ใกล้กับพื้นที่เกาะเมืองอยุธยา ที่เป็นพื้นที่มรดกโลก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA)  ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งปัจจุบันส่งรายงานฯไปยังองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) แล้ว ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ยูเนสโก ไม่ได้คัดค้านสร้างสถานีอยุธยา เพียงแต่สอบถามเพื่อยืนยันข้อมูลเท่านั้น

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตอบกลับข้อมูลมาเป็นปี ทำให้ยูเนสโกกังวลใจและทำหนังสือทวงถาม ปัจจุบัน รฟท. ชี้แจงทุกข้อมูลแล้ว และมั่นใจว่าการก่อสร้างสถานีอยุธยาจะไม่ขัดต่อการเป็นมรดกโลก เพราะที่ผ่านมา รฟท. พยายามลดข้อกังวลต่างๆ ให้หมดแล้ว ทั้งการปรับขนาดสถานี และลดความสูงระดับสันรางลงจากเดิม 19 เมตร เหลือ 17 เมตร อีกทั้งตำแหน่งสถานีอยุธยาก็อยู่ในเขตทางรถไฟเดิม ไม่ได้กระทบต่อมรดกโลก ซึ่ง แม้ HIA จะผ่านหรือไม่ผ่าน รฟท. ก็ต้องสร้าง เพราะถ้าให้ย้ายแนวเส้นทาง ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นและทำรายละเอียดใหม่ทั้งหมด ใช้เวลา 10 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามรถไฟไฮสปีดไทยจีนต้องมีสถานีอยุธยาจะให้ รฟท. ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างในเดือน ต.ค.67 ซึ่งภายหลังแถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วยว่า กระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องเดินหน้าเรื่องนี้

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท ยังมีความคืบหน้าไม่มาก การติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณต้องรอให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งเส้นก่อน ขณะที่เรื่องการเดินรถตลอดเส้นทางทั้งเฟส 1 และ 2 จะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) หรือไม่ ขอให้ รฟท. ได้ดำเนินการศึกษาก่อน ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 68 ไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อศึกษารูปแบบการเดินรถว่าต้อง PPP หรือไม่ คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.68

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงิน3.41 แสนล้านบาท เรื่องอยู่ที่ตนแล้ว แต่ก่อนหน้านี้อยู่ในช่วงรักษาการจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ โดยมีแผนว่าหลังจากแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในเดือน ก.ย.แล้วเสร็จ จะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) ทันทีเพื่อสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ได้ในเดือน ต.ค.นี้ และเปิดประมูลได้ปลายปี 67

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้างโครงการฯ 14 สัญญา ระยะทาง 357 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท มีความคืบหน้า 35.74% ล่าช้า 31.04% โดยหลายสัญญางานมีความคืบหน้าค่อนข้างมากกว่า 70-80% ขณะที่หลายสัญญามีความคืบหน้าน้อยมากไม่ถึง 10% ซึ่งในส่วนสัญญาที่ 4-5 ขณะนี้เอกชนยังคงยืนราคาเดิม10,325 ล้านบาท ทั้งนี้หากสามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้ในเดือน ต.ค.67 คาดว่า รฟท. จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน(NTP) ได้ไม่เกิน 2 เดือนภายหลังจากลงนามสัญญา เพื่อเริ่มงานก่อสร้างได้ในปลายปี 67


This October, "Boonchai Panich" will sign a contract to build "Ayutthaya Station" and open PPP for the entire route.

Daily News, September 9, 2024, 7:31 AM

This October, "Boonchai Panich" will sign contracts for sections 4-5 between Ban Pho and Phra Kaew. HIA approval or not, "Ayutthaya High-Speed Rail Station" must be built. Everything has been done to avoid impacting the World Heritage Site. UNESCO has not opposed the construction, just requested data confirmation. SRT is ready to issue NTP to the private sector within 2 months, with construction starting at the end of this year. The target is still to open the service in 2027. SRT is preparing a 6-month study on high-speed rail operations, with results expected in March 2025. Phase 2 to Nong Khai will continue, with the matter being submitted to the Cabinet in October for auction at the end of this year.

Mr. Surapong Piyachoti, Deputy Minister of Transport, revealed that after following up on the overall progress of the high-speed rail project (Phase 1) Bangkok-Nakhon Ratchasima section, it was found that the progress of each contract was not consistent throughout the project. Some contracts had made significant progress, while others had made very little progress, which needed to be addressed, especially the problem of contractors lacking liquidity. He will set up a working group to discuss with those responsible for the construction and the contractors of all 14 contracts to solve problems, integrate work together, and push for progress and completion on schedule.

Mr. Surapong continued that he was confident that all problems would be solved and the Thai-Chinese high-speed rail project Phase 1 could be completed and opened for service around mid-2027. Currently, the project has 2 contracts completed, 10 contracts under construction, and 2 contracts awaiting signing, namely Contract 4-1 Bang Sue-Don Mueang section, 15.21 kilometers (km), which is awaiting amendment to the joint investment contract for the high-speed rail project connecting three airports (Don Mueang-Suvarnabhumi-U-Tapao) due to overlapping structures.

And contract 4-5, Ban Pho-Phra Kaew section, 13.3 km. Currently, Boonchai Panich (1979) Co., Ltd. is the contractor, but the construction contract cannot be signed yet due to concerns about the construction of a high-speed rail station near the island city of Ayutthaya, a World Heritage Site. The project is currently under consideration for the Heritage Impact Assessment (HIA) of the Ayutthaya Historical Park World Heritage Site in connection with the Ayutthaya high-speed rail station, which has now been submitted to the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). However, a preliminary review of the information found that UNESCO did not object to the construction of Ayutthaya Station, but only inquired for confirmation of the information.

Mr. Surapong added that in the past, the relevant agencies did not respond to the information for a year, causing UNESCO to be concerned and send a letter of inquiry. Currently, SRT has clarified all the information and is confident that the construction of Ayutthaya Station will not violate the World Heritage status because SRT has tried to eliminate all concerns, including adjusting the size of the station and reducing the height of the rail crest from 19 meters to 17 meters. Moreover, the location of Ayutthaya Station is within the existing railway right-of-way and does not affect the World Heritage Site. Whether the HIA passes or not, SRT must build it because if the route is relocated, it will require additional budget and new details, taking 10 years to complete. However, the Thai-Chinese high-speed rail must have Ayutthaya Station. SRT will sign a contract with the contractor in October 2024, which after announcing the policy to the Parliament, will also inform the Prime Minister that the Ministry of Transport needs to move forward on this matter.

Mr. Surapong also said that for Contract 2.3, the rail system, electrical system, and machinery, including the procurement of trains and personnel training, worth 50,633 million baht, there has not been much progress. The installation of the signaling system must wait for the construction to be completed along the entire route. Meanwhile, the operation of trains along the entire route, both Phase 1 and 2, will be in the form of a Public-Private Partnership (PPP). Whether or not this will be the case, SRT will conduct a study first, which will use a budget of no more than 10 million baht in 2025 to study the train operation model to determine if PPP is necessary. The study is expected to be completed in March 2025.

As for the progress of the Thai-Chinese rail project Phase 2, Nakhon Ratchasima-Nong Khai section, 357.12 km long, worth 341 billion baht, the matter is now with him, but previously during the caretaker period, it could not be proceeded with. The plan is that after the policy announcement to the Parliament in September is completed, the matter will be sent to the Office of the Secretary-General of the Cabinet immediately to seek opinions from relevant agencies. It is expected to be considered by the Cabinet in October and open for bidding at the end of 2024.

Reporters reported that currently, the overall construction of the project's 14 contracts, 357 km long, worth 140 billion baht, has progressed 35.74%, delayed 31.04%. Many contracts have progressed quite a bit, more than 70-80%, while many contracts have progressed very little, less than 10%. For contract 4-5, the private sector still maintains the original price of 10,325 million baht. If the contract can be signed with the private sector in October 2024, it is expected that SRT will issue a Notice to Proceed (NTP) within 2 months after signing the contract to start construction at the end of 2024.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2024 9:54 am    Post subject: Reply with quote

'สุรพงษ์' จ่อหารือ 'แพทองธาร' เซ็นจ้างรับเหมา ไฮสปีดไทย-จีนเกือบหมื่นล้าน
09 กันยายน 2567 09:00 น. isranews

'รมช.คมนาคม' เตรียมหารือ นายกฯแพทองธาร เซ็นจ้างรับเหมา 'บุญชัยฯ' หลังประมูลงานไฮสปีดไทยจีนสัญญา 4-5 วงเงิน 9.9 พันล้านบาท หลังติดหล่มสถานีอยุธยามายาวนาน หวังเซ็นจ้าง ต.ค.นี้ คาด 14 สัญญาสร้างเสร็จต้นปี 71 ก่อนเร่งศึกษาปั้นเฟส 2 ในปี 68

https://www.isranews.org/article/isranews-news/131544-transport-62.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2024 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
EEC ปักหมุดพัฒนา TOD ไฮสปีด 3 สนามบินปีนี้ 2 สถานี พัทยา-ฉะเชิงเทรา
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Friday, September 06, 2024 18:18

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 ก.ย. 67)

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยว่า จากการติดตามความคืบหน้าโครงการในอีอีซี ได้แก่ การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่ประกอบด้วย 9 สถานี ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน หรือ TOD ที่จะสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชน และสังคม


ลิงก์มาแล้วครับ
EEC ปักหมุดพัฒนา TOD ไฮสปีด 3 สนามบินปีนี้ 2 สถานี พัทยา-ฉะเชิงเทรา
ข่าวเศรษฐกิจ
6 ก.ย. 67 18:18น.

1. การพัฒนา TOD บริเวณสถานีฉะเชิงเทรา พื้นที่ 321 ไร่ มีแนวคิดการพัฒนารวม 9 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 18,980 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน โครงการศูนย์สนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ระยะสั้น (5 ปี) โครงการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าชุมชน (OTOP) โครงการที่อยู่อาศัยชั้นดี อาคารสำนักงาน (home office) ระยะยาว (10 ปี) โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โรงแรมย่านการค้า เป็นต้น

2. การพัฒนา TOD สถานีพัทยา พื้นที่ 280 ไร่ มีแนวคิดพัฒนารวม 7 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะสั้น (1-5 ปี) โครงการศูนย์ขนส่งต่อเนื่อง (ITF) แบบ Mixed Use Complex ระยะยาว (6-10 ปี) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรมใหม่ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า (MICE) เป็นต้น โดย อีอีซี ได้รับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนา TOD เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในพื้นที่และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง โดยกว่าร้อยละ 80 สนใจเข้าร่วมโครงการ และขณะนี้อยู่ระหว่างรอเสนอ คณะกรรมการ กพอ. เพื่อเห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชนที่ดิน บริเวณรอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ดังกล่าว และคาดว่าจะเสนอ ครม. ตามขั้นตอนต่อไป

Note เชื่อม Pattaya Monorail สายเขียวและม่วงก็ดีนะครับ
https://www.infoquest.co.th/2024/427623
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2024 11:31 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ต.ค.นี้ เซ็นสัญญา “บุญชัยฯ” ต้องสร้าง “สถานีอยุธยา” เปิด PPP เดินรถตลอดเส้น
เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:31 น.

ต.ค.นี้ ลงนามสัญญา “บุญชัยพาณิชย์ฯ” ลุยงานสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ชี้ HIA ผ่านหรือไม่ผ่าน ก็ต้องสร้าง“สถานีรถไฟไฮสปีดอยุธยา” ชี้ทำทุกอย่างแล้วไม่ให้กระทบมรดกโลก ขณะที่ “ยูเนสโก” ไม่ได้ค้านก่อสร้างแค่ขอยืนยันข้อมูล ด้าน รฟท. พร้อมออก NTP ให้เอกชนไม่เกิน 2 เดือน เริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ ยังปักธงเปิดบริการปี71 ขณะที่การเดินรถไฟไฮสปีด รฟท. เตรียมศึกษา 6 เดือน รู้ผล มี.ค.68 ลุยต่อเฟส 2 ถึงหนองคาย ส่ง สลค. ก.ย.นี้เข้า ครม. ต.ค. ประมูลปลายปีนี้

Mongwin wrote:
'สุรพงษ์' จ่อหารือ 'แพทองธาร' เซ็นจ้างรับเหมา ไฮสปีดไทย-จีนเกือบหมื่นล้าน
09 กันยายน 2567 09:00 น. isranews

'รมช.คมนาคม' เตรียมหารือ นายกฯแพทองธาร เซ็นจ้างรับเหมา 'บุญชัยฯ' หลังประมูลงานไฮสปีดไทยจีนสัญญา 4-5 วงเงิน 9.9 พันล้านบาท หลังติดหล่มสถานีอยุธยามายาวนาน หวังเซ็นจ้าง ต.ค.นี้ คาด 14 สัญญาสร้างเสร็จต้นปี 71 ก่อนเร่งศึกษาปั้นเฟส 2 ในปี 68

https://www.isranews.org/article/isranews-news/131544-transport-62.html

แก้รถไฟ 'ไทย-จีน' ช้า ‘สุรพงษ์’ ปักธง ต.ค.เซ็นช่วงอยุธยา เล็งเปิด PPP เดินรถ "กรุงเทพฯ-หนองคาย"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:47 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:54 น.


“สุรพงษ์” ลั่นมีทางออกแก้ "รถไฟไทย-จีน" ล่าช้า เตรียมหารือ "แพทองธาร" เคาะเซ็นรับเหมาสร้างช่วงอยุธยา ต.ค.นี้ ชี้ศึกษามรดกโลกครบถ้วนแล้ว ตั้งเป้า 14 สัญญาเสร็จต้นปี 71 เปิดเดินรถปลายปี พร้อมชงครม.ลุยเฟส 2 เล็งเปิด PPP ร่วมทุนเอกชนรับเดินรถตลอดสาย กรุงเทพฯ-หนองคาย

นายสุรพงษ์​ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ว่า จากงานโยธาทั้งหมด 14 สัญญา ขณะนี้ยังเหลืออีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ที่มีประเด็นสถานีอยุธยา ซึ่งแนวทางขณะนี้คือต้องเดินหน้าลงนามสัญญาก่อสร้างที่ได้ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกไว้นานแล้ว โดยหลังรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.)​ ชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ตนจะนำเรื่องนี้หารือกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อตัดสินใจ คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในเดือน ต.ค. 2567



@ศึกษามรดกโลกครบถ้วน พร้อมก่อสร้างช่วงอยุธยา

ส่วนกรณีผลกระทบมรดกโลกช่วงสถานีอยุธยา การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) เสร็จแล้ว และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จัดส่งรายงานให้ยูเนสโกตามขั้นตอนครบถ้วนแล้ว การปรับแบบและดำเนินการตามที่ยูเนสโกร้องขอเพื่อไม่ให้กระทบต่อความกังวล เช่น มีการปรับลดความสูงโครงสร้างจาก 19 เมตร เหลือ 17 เมตรแล้ว แนวเส้นทางอยุธยาสร้างบนเขตทางรถไฟ ที่ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับยูเนสโก แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กิโลเมตร และมีแม่น้ำป่าสักคั่นอยู่ เป็นบับเบิลโซน

“ไม่ว่าผลมรดกโลกจะพิจารณาออกมาอย่างไร จะผ่านหรือไม่ผ่าน โครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้ก็ต้องก่อสร้างต่อไปตามเดิม ไม่มีการย้ายแนว เพราะจะทำให้งบประมาณเพิ่มและต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 10 ปี จึงเป็นเหตุผลที่ต้องตัดสินใจลงนามสัญญาก่อสร้าง เพราะไม่ว่าทางมรดกโลกจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ต้องก่อสร้าง และไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนมรดกโลก เพื่อลดความเสี่ยงไปครบทุกอย่างแล้ว เชื่อว่าจะไม่มีปัญหา และที่ต้องหารือกับนายกฯ ก่อนเพราะว่าเรื่องนี้มีหน่วยงานและกระทรวงอื่นเกี่ยวข้องด้วย” นายสุรพงษ์กล่าว

สำหรับสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ไว้แล้ว ซึ่งในเงื่อนไขให้ก่อสร้างแนวเส้นทางก่อน เว้นสถานีไว้รอเรื่องมรดกโลก และเมื่อปรับลดขนาดสถานีลงจะทำให้ค่าก่อสร้างลดลงไปด้วย

ส่วนสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ที่มีประเด็นโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ในส่วนของรถไฟไทย-จีน ตกลงที่ปรับสเปกลดความเร็วจาก 250 กม./ชม. เป็น 160 กม./ชม.ในช่วงดังกล่าว ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาทางอีอีซี โดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) เป็นผู้ก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเดินหน้าเร็วๆ นี้

ขณะที่สัญญา 3-2 (งานก่อสร้างอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง) ซึ่งเกิดอุบัติเหตุถล่มทรุดตัวระหว่างก่อสร้างนั้น งานอุโมงค์สัญญานี้มีการก่อสร้างเร็วกว่าแผน คือ ทำได้ 70% ขณะที่แผนกำหนด 50% ยังไม่น่ากังวล



@วางไทม์ไลน์ก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา จัดแผนเริ่มติดตั้งงานระบบ

นายสุรพงษ์กล่าวว่า นอกจากปัญหาทางการก่อสร้างแล้วยังพบว่างานบางสัญญาที่ล่าช้าเพราะผู้รับเหมาขาดสภาพคล่อง ซึ่งจะให้ รฟท.เชิญผู้รับเหมาเหล่านั้นมาพูดคุยหาทางแก้ปัญหา เช่น ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างไรเพื่อให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างให้เร็วที่สุด ขณะนี้แผนงานและเป้าหมายงานโยธาทั้ง 14 สัญญาจะต้องแล้วเสร็จต้นปี 2571

“ให้ รฟท.ประชุมใหญ่งานโยธา 14 สัญญาเอามาอัปเดตแก้ปัญหาอุปสรรคให้หมด และจัดทำไทม์ไลน์งานโยธาให้แล้วเสร็จในเวลาเดียวกัน เพื่อให้วางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ แต่จากนี้ต้องทำงานเป็นทีม ซึ่งหลังโยธาเสร็จระบบจะทดสอบประมาณ 1 ปี หรืออาจจะเร่งรัดกว่านั้น เป้าหมายอยากเปิดฟสแรกกลางปี 2571

ส่วนโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท หลังแถลงนโยบายที่รัฐสภาเสร็จจะเร่งนำเสนอเข้า ครม.ได้ ตามแผนคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในต้นปี 2568 ระหว่างเดือน ก.พ. 68 ถึง ต.ค. 2568 (ระยะเวลา 9 เดือน) เริ่มก่อสร้างโครงการฯ เดือน พ.ย. 2568 คาดแผนงานใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 72 เดือน คาดว่าเปิดให้บริการ พ.ย. 2574



@รฟท.ตั้งงบปี 68 ศึกษา PPP เดินรถตลอดสาย กรุงเทพฯ-หนองคาย

นายสุรพงษ์กล่าวถึงแผนการเปิดและเปิดเดินรถว่า รฟท.ตั้งงบปี 68 ประมาณ 10 ล้านบาทเพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบเดินรถที่เหมาะสม ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน คาดว่าเดือน มี.ค. 2568 จะเห็นภาพชัดเจนว่าจะเดินรถรูปแบบใดเหมาะสมที่สุด รวมถึงอัปเดตเทคโนโลยีให้เป็นปัจจุบันที่สุดด้วย เพราะรถไฟไทย-จีน ดีเลย์ จากแผนระบบและเทคโนโลยีที่เลือกไว้ก่อนหน้านี้อาจจะไม่เหมาะกับปัจจุบันแล้ว เบื้องต้นน่าจะเป็นรูปแบบ PPP เข้ามาบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงตลอดเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพฯ -นครราชสีมา-หนองคาย เพราะ รฟท.มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรรถไฟ และประสบการณ์

สำหรับมติ ครม.เมื่อปี 2560 ที่ให้กระทรวงคมนาคมศึกษา องค์กรพิเศษเพื่อเดินรถ และระบบที่เป็นข้อตกลงผูกพันจากรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งบางเรื่องต้องไปต่อ แต่บางเรื่องอาจต้องอัปเดตเทคโนโลยี แต่ยังเป็นมาตรฐานจีน เพราะเส้นทางนี้ต้องเชื่อมต่อสปป.ลาว และจีนเป็นโครงข่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2024 9:43 am    Post subject: Reply with quote

Saraburi high speed train station at Saraburi Government Complex starts to take shape as shown here:

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1247749009981977&id=100042406701608
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2024 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Saraburi high speed train station at Saraburi Government Complex starts to take shape as shown here:

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1247749009981977&id=100042406701608

ยิ่งใหญ่อลังการ งานก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี ในสัญญาที่ 4-7 สระบุรี-แก่งคอย  
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Sep 10, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=tIQarLJMGq0

Grand and Spectacular: The construction of the high-speed rail station in Saraburi, under contract 4-7 Saraburi-Kaeng Khoi.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2024 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีอยุธยา: ปมสะดุด ไฮสปีดไทย-จีน กระทบมรดกโลก? | THANTALK | 10 ก.ย. 67
ฐานเศรษฐกิจ
Sep 10, 2024 THANTALK On TV

สถานีอยุธยา จุดสะดุดไฮสปีดไทยจีน สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เร่งหารือนายกฯ แพทองธาร เซ็นจ้างรับเหมาตุลาคมนี้ หลังยูเนสโกห่วงกระทบมรดกโลก ปักธงลงนามสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ภายในต.ค.นี้


https://www.youtube.com/watch?v=DHBvRth-FTU

Ayutthaya Station, a Stumbling Block for the Thai-Chinese High-Speed Rail

Surapong Piyachoti, Deputy Minister of Transport, is urging Prime Minister Paetongtarn to sign a contractor agreement in October after UNESCO expressed concerns about the project's impact on the World Heritage site. The goal is to sign contract 4-5 for the Ban Pho - Phra Kaeo section within October.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2024 8:43 am    Post subject: Reply with quote

Progress on Kudjik - Khoon Kruad part of Section 3-4 (Lam Takhong - Sikiw and Kudjik - Khok Kruad of Thai - China high speed railway)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=909000534590350&id=100064412361050
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2024 9:34 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไขข้อสงสัยสร้าง 'อุโมงค์ไฮสปีด' รับเหมาไทยจ้าง 'จีน' สร้างผิดหรือไม่ ?
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 03:04 น.


ลิงก์มาแล้วครับ

ไขข้อสงสัยสร้าง 'อุโมงค์ไฮสปีด' รับเหมาไทยจ้าง 'จีน' สร้าง ผิดหรือไม่ ?
เศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2024 เวลา 6:14 น.


เปิดสัญญาพัฒนา "ไฮสปีดเทรน" สายแรกในไทย ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย - จีน คลายข้อสงสัยเอกชนไทยจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างชาติผิดข้อกำหนดหรือไม่
ข้อกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างไทย - จีน ชี้ชัดต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจีนออกแบบ ควบคุมงานก่อสร้าง และติดตั้งระบบรถไฟ
ขณะที่ "เนาวรัตน์พัฒนาการ" คู่สัญญาสร้างงานอุโมงค์ จ้างเหมาช่วงผู้รับเหมาจีนสามารถดำเนินการได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากการรถไฟฯ
ด้าน "คมนาคม" เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตรวจสอบสัญญาจ้างต่างๆ อย่างละเอียดอีกครั้ง
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1142621


“กรมราง” ชี้ “ความแปรปรวนทางธรณีวิทยา” ต้นเหตุ “ดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่ม”
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันพุธ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:33 น.

“กรมราง” ชี้ดินถล่มในอุโมงค์คลองไผ่ รถไฟไฮสปีด สัญญา 2.3 ต้นเหตุเกิดจากความแปรปรวนทางธรณีวิทยา ระบุผลสำรวจเป็นพื้นที่ที่ชั้นหินอ่อนแอ เสถียรภาพโดยรอบไม่ดี แนะ 5 แนวทางป้องกัน ขณะนี้ความผิดแห่งสัญญาจ้างเป็นหน้าที่ของ รฟท. อยู่ระหว่างสอบข้อเท็จจริง
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางราง ครั้งที่ 1/67 กรณีดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง รวมทั้งผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง, สภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เข้าร่วมประชุม และมีผู้แทนฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน และผู้รับจ้างงานก่อสร้างสัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง เข้าร่วมชี้แจง


นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้รับทราบข้อเท็จจริงจากผู้แทน รฟท. ว่า เมื่อวันที่ 24 ส.ค.67 เวลาประมาณ 23.00 น. มีพนักงานของผู้ก่อสร้างกำลังปฏิบัติงานขนย้ายดินออกจากอุโมงค์คลองไผ่ ขณะที่ทำงานมีหินพังทลายจากด้านบนหลังคาอุโมงค์ บริเวณอุโมงค์ทางออกคลองไผ่ กิโลเมตรที่ 189+410 ถึง กิโลเมตรที่ 189+454 ส่งผลให้ดิน และหินดังกล่าวถล่มทับผู้ปฏิบัติงานชาวต่างชาติเสียชีวิตเป็นเพศชาย 3 ราย พร้อมกับเครื่องจักร 2 คัน โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาหาสาเหตุของการเกิดเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ พบว่า ภายในอุโมงค์คลองไผ่ในช่วงกิโลเมตรที่ 189+390 ถึง 189+460 ระยะทาง 110 เมตร อยู่บนเส้นทางก่อสร้างที่เป็นส่วนโค้งเบี่ยงซ้ายตามในแบบก่อสร้างที่มีรัศมี 2,000 เมตร และอยู่บนทางลาดที่มีความชัน 6.3 มิลลิเมตร ต่อ 1,000 มิลลิเมตร (6.3%๐)

ประกอบกับเป็นบริเวณที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ไม่เอื้ออำนวย โดยรอบเป็นหินประเภท Vb (Very Poor Rock) เนื่องจากมีรอยแตกระหว่างชั้นหิน และการผุกร่อนที่รุนแรงของชั้นหินที่อ่อนแอ ซึ่งบางส่วนถูกผุกร่อนในดิน breccia และดินเหนียว และมีการผุกร่อนที่ไม่สม่ำเสมอ ค่าความดันของชั้นหินมีความไม่สม่ำเสมอ เสถียรภาพโดยรอบไม่ดี ซึ่งในช่วงกิโลเมตรที่ 188+590 ถึง 189+460 ระยะทาง 870 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีหินดินดานผสมกับชั้นหินทรายแป้ง(Siltstone) มีมวลหินที่แตก มีรอยแยกที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี มีมวลหินที่แตกหัก และมีหินโดยรอบเป็นหินประเภท Vb มีปริมาณน้ำอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับความสูงของผิวทางในอุโมงค์อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง

มีชั้นดินเหนืออุโมงค์ที่มีความบาง และมีชั้นหินแทรกซ้อนที่อ่อนแอ ซึ่งมีแนวโน้มให้น้ำทะลักเข้าตัวอุโมงค์ หลังคาถล่มและหินจะตกลงมาได้ง่ายในระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ต้องดำเนินการขุดโดยใช้กลไกเป็นหลัก เพื่อลดการรบกวน และลดความเสี่ยงต่อหินรอบๆ โดยการเสริมความแข็งแกร่งของมาตรการค้ำยัน การเสริมความแข็งแกร่งของท่อ Lock rock bolt และมาตรการอื่นๆ ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวข้างต้นในรายงานการประเมินความเสี่ยงอุโมงค์คลองไผ่ ฉบับเดือน มิ.ย.65 ได้กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงภัยจากการถล่ม (หลังคาอุโมงค์ถล่ม) โดยตัวอุโมงค์สร้าง ใช้วิธีการขุดแบบ Three Bench Method เจ็ดขั้นตอน และแบบ Temporary Inverted Arch สามระดับ ดำเนินการเสริมมาตรการ เช่น การค้ำยันเบื้องต้น การติดตั้ง Lock Bolt

มาตรการดังกล่าวจะต้องนำมาใช้สำหรับบริเวณที่มีหินประเภท V รอบๆ ในส่วนที่มีรอยแยกที่พัฒนาแล้ว ระยะห่างของ steel rib จะต้องลดลงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ช่วงกิโลเมตรที่ 187+650 ถึง 189+565 (ช่วงที่ดินกล่ม) ต้องเสริมความแข็งแรงด้วยการอัดฉีดน้ำปูน (Grouting) รวมทั้งบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต้องสร้างขึ้นตามขั้นตอนการก่อสร้างที่กำหนดไว้โดยแบบก่อสร้างอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการขยายตัวของความเสี่ยงในการก่อสร้างต่อไป และในระหว่างการก่อสร้าง ต้องเพิ่มการตรวจสอบ และวัดผลระบบค้ำยัน จากการวิเคราะห์ผลการเฝ้าติดตามและการวัดสำรวจ ให้เข้าใจสถานการณ์เคลื่อนตัวของหินโดยรอบ และส่วนค้ำยันโดยเร็วที่สุด เพื่อใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ และปรับการค้ำยันเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และดำเนินการก่อสร้าง Lining นอกจากนี้การก่อสร้างจะดำเนินการได้ ต่อเมื่อความเสี่ยงในการก่อสร้างได้รับการประเมินและดำเนินการลดระดับความเสี่ยง และต้องได้รับอนุมัติโดยหน่วยงานที่ปรึกษาและหน่วยงานออกแบบอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น


นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาข้อมูลจากการลงพื้นที่ และการรวบรวมข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ทั้งรายงานทางธรณีวิทยา รายงานวิธีการก่อสร้าง (method statement) รวมถึงแบบก่อสร้าง (shop drawing) มีความเห็นว่า สาเหตุอาจเกิดจากความแปรปรวนทางธรณีวิทยา (geological variability) ทำให้บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะหินที่มีความอ่อนแอ และไม่มีเสถียรภาพ หรือไม่มีความแข็งแรงเพียงพอทางโครงสร้าง จนอาจเกิดการพังทลาย หรือการวิบัติของหินด้านบนอุโมงค์ จนทำให้การก่อสร้างอุโมงค์ในส่วนที่อยู่ระหว่างการค้ำยันส่วนบนในชั้นแรก (first lining ที่ประกอบด้วย steel ribs, reinforcement และ shortcrete) ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และพังถล่มลงมา

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า คณะทำงานฯ เห็นว่า งานก่อสร้างอุโมงค์เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้าง จึงเห็นสมควรให้พิจารณาดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำ ดังนี้
1. ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของผนังอุโมงค์ (convergence) และหน้าผิว (face) ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่ให้ผลได้ใกล้เคียง real time ที่สุด
2. ใช้เครื่องวัด multipoint extensometer ติดตั้งเหนือจุดยอดของอุโมงค์ (crown) ในบริเวณ overburden ต่ำ ที่เป็นแบบอัตโนมัติ (automatic) เพื่อให้ได้ข้อมูลของการเคลื่อนตัวแบบเรียลไทม์ และใช้ในการเฝ้าระวัง
3. ก่อนการปฏิบัติงานในอุโมงค์ทุกครั้ง ให้มีการควบคุม และทบทวนวิธีการทำงานโดยผู้ควบคุมงานอย่างเข้มงวด และมีนักธรณีวิทยาอยู่ประจำหน้างาน (on site) เพื่อให้คำแนะนำในทุกช่วงของการก่อสร้าง
4. ในการปฏิบัติงานในอุโมงค์ทุกครั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการทำงาน (method statement) อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเสี่ยงที่ระบุไว้ในรายงานประเมินความเสี่ยง และ
5. กรณีมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่างานก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางโครงสร้างธรณีวิทยาที่สำคัญ เช่น รอยเลื่อน (fault zone) จะต้องทบทวนวิธีการทำงาน และวิธีการติดตาม (monitoring) ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะทางธรณีวิทยาที่พบ

อย่างไรก็ตามปัจจุบันงานสัญญา 3-2 มีความคืบหน้า 77.09% เร็วกว่าแผน 2.71% มีกำหนดสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มิ.ย.68 โดยหลังจากเกิดเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ กระทรวงคมนาคมได้ให้ รฟท. สั่งหยุดงานก่อสร้างจนกว่าจะมีผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของ รฟท. ซึ่งเหตุดังกล่าว รฟท. จะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องของการดำเนินการตามสัญญา รวมถึงการขยายระยะเวลา เนื่องจากการหยุดงานในช่วงดังกล่าวที่ผ่านมาต่อไป

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า คณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ทางราง มีหน้าที่วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะมาตรการเชิงป้องกันให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับการขนส่งทางราง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมิให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นคณะทำงานฯ นี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผู้กระทำความผิด และไม่ให้นำผลของรายงานการวิเคราะห์สาเหตุไปใช้อ้างอิงในทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามการหาผู้กระทำความผิดเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ส่วนความผิดแห่งสัญญาจ้างเป็นอำนาจหน้าที่ของ รฟท. ซึ่งที่ผ่านมานายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ได้มอบหมายให้ รฟท. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีวิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. เป็นประธาน....
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3849486/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 567, 568, 569 ... 581, 582, 583  Next
Page 568 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©