RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312278
ทั่วไป:13922446
ทั้งหมด:14234724
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2024 9:10 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” หนุนคลังตั้งกองทุนรวมฯ ซื้อคืนรถไฟฟ้าแก้ปัญหายั่งยืน ดีเดย์ 20 บาททุกสาย ก.ย. 68 คาดชดเชยเอกชนปีละ 8 พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 20:28 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 21:19 น.

“สุริยะ” ขยายผลรถไฟฟ้า 20 บาท การันตี ก.ย. 68 ใช้ได้ทุกสาย เผย "คลัง" รับลูกนโยบายซื้อคืนสัมปทานเร่งจ้างศึกษา ลุยตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแก้ปัญหาระยะยาว หากไม่ทันคมนาคมจ่อตั้งกองทุนดึงรายได้ รฟม.ชดเชยเอกชนไปก่อน คาดใช้ปีละ 8 พันล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะเร่งขยายผลนโยบายรถไฟฟ้าในอัตรา 20 บาทตลอดเส้นทาง (20 บาทตลอดสาย) ไปเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาล โดยยืนยันว่าจะเริ่มใช้ได้ทุกสายในเดือนก.ย. 2568 โดยให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งผลักดันกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ให้ประกาศใช้โดยเร็ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม, เดินหน้ารถไฟทางคู่, รถไฟความเร็วสูง ทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2, แนวทางการเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากถนนสู่ระบบราง, พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในภูมิภาค เป็นต้น

ส่วนนโยบายซื้อคืนสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าจากภาคเอกชนกลับมาเป็นของรัฐบาลนั้น นายสุริยะกล่าวว่า เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังจะต้องมีการระดมทุน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีการชี้แจงไปบ้างแล้วว่ามีแนวคิดจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมา ขณะที่กระทรวงคมนาคมจะร่วมให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมกับคลัง ซึ่งเชื่อว่าหากมีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีประชาชนสนใจเข้าซื้อกองทุนจำนวนมาก เพราะผลตอบแทนการลงทุนจะคุ้มทุน เนื่องจากกองทุนฯ จะมีการจัดรถยนต์ที่วิ่งเข้าเขตเมืองที่มีรถไฟฟ้าบริการ หรือ Congestion Charge เช่น ถนนสุขุมวิท หากรถยนต์ที่วิ่งเข้าไปในเขตนั้นก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการคลังจะจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดทั้งหมด

นายสุริยะกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมนโยบายรถไฟฟ้าในอัตรา 20 บาทตลอดเส้นทาง ใช้ทุกสายในเดือน ก.ย. 2568 ส่วนทางคลังก็ดำเนินการศึกษาและดำเนินการเรื่องซื้อคืนสัมปทานแบบคู่ขนานกันไป ซึ่งหาก ก.คลังดำเนินการจััดตั้งกองทุนได้ก่อน ก.ย. 68 กระทรวงคมนาคมก็จะเข้าไปร่วมเพราะจะสามารถดำเนินนโยบายค่าโดยสารอัตรา 20 บาทตลอดเส้นทางได้เลย แต่หากกองทุนฯ ซื้อคืนรถไฟฟ้าของ ก.คลังยังไม่เสร็จ ทางคมนาคมก็จะมีการดำเนินการรองรับไว้คือ จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่ออุดหนุนและชดเชยรายได้ให้เอกชน ซึ่งแหล่งเงินกองทุนจะมาจากรายได้สะสมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และขอสนับสนุนเงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน หากไม่พอก็จะขอรับจัดสรรงบกลางมาช่วย

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ประเมินว่าหากเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดเส้นทาง จะต้องชดเชยรายได้ให้เอกชนทั้งโครงข่ายทุกสายประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าอาจจะต้องบริหารจัดการกองทุนนี้ประมาณ 2 ปี รวมเป็นเงินชดเชยประมาณ 16,000 ล้านบาทระหว่างรอกระทรวงการคลังตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

“เรื่องเงินรายได้ของ รฟม.นั้นปัจจุบันมีสะสมกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่การจะนำมาใช้จะต้องดูรายละเอียดกันอีกที เพราะจะต้องไม่ให้กระทบการบริหารงานของ รฟม. ซึ่งอาจจะของบกลางช่วยด้วย ซึ่งการตั้งไว้ 2 ปีก่อน เพราะการอุดหนุนส่วนต่างรายได้จากการเก็บ 20 บาทตลอดสายคงทำได้ในระดับหนึ่ง ไม่ยั่งยืนแม้จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแต่ก็จะอยู่ในระดับหนึ่งนอกจากนี้ การเดินรถจะต้องมีเรื่องซ่อมบำรุงและจัดซื้อรถเพิ่มเติม ดังนั้น กองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะแก้ปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืนกว่า การอุดหนุนอย่างเดียวไม่ยั่งยืน ซึ่งนอกจากซื้อคืนรถไฟฟ้าแล้ว ยังเข้าไปช่วยลดค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนระบบอื่น เช่น รถเมล์ เรือโดยสาร จะอยู่ภายใต้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ด้วย”

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น สายสีน้ำตาล (ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ซึ่ง รฟม.ศึกษาเสร็จแล้วเตรียมเสนอขออนุมัติโครงการ จะต้องหยุดรอการจัดตั้งกองทุนฯ หรือไม่อย่างไร นายสุริยะกล่าวว่า ไม่ต้องรอ โครงการสามารถเดินหน้าตามขั้นตอนได้เลย เพราะค่าโดยสาร 20 บาทสามารถปรับไปใช้ได้เลยภายใต้พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2024 9:38 am    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ' ผุดตั้งคณะทำงาน ดันรถไฟฟ้า20บาททุกสาย
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:30 น.

“สุริยะ” สั่งตั้งคณะทำงาน เร่งทุกขั้นตอนดันรถไฟฟ้า 20 บาททุกสีทุกสายให้ทัน ก.ย.68 ลุยคลอดกฎหมาย ชี้ 2 ปี คาดใช้เงิน 1.6 หมื่นล้าน ยังติดปมหาก กม.ไม่ผ่าน จะใช้เงินอุดหนุนสายสีเขียวไม่ได้

10 ก.ย. 2567 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำให้นโยบายมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นได้จริง กับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทุกสีทุกสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย.68 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 กระทรวงคมนาคม นำร่องมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าแล้ว 2 สาย ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการมีคณะทำงาน และมอบหมายแบ่งกันติดตามดูแลรายละเอียดในแต่ละเรื่องว่าติดตรงไหน อย่างไร จะทำให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น อาทิ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการจัดหาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม สิ่งเหล่านี้ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะร่างกฎหมายตั๋วร่วม ต้องพยายามผลักดันให้มีผลบังคับใช้ก่อนเดือน ก.ย.68 เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน และลดข้อจำกัดจากสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งเวลานี้การผลักดันร่างกฎหมายอาจล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล

นายสุริยะ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากว่ากฎหมายแต่ละฉบับ จะมีผลบังคับใช้ได้ ต้องผ่านหลายกระบวนการ ทั้งการตรวจร่างกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(สคก.) ซึ่งจากที่ตนประสานขอหารือกับ สคก. ระบุว่าต้องใช้เวลาตรวจประมาณ 4 เดือน โดยตนเกรงว่าจะช้าเกินไป และไม่ทันกับเป้าหมายที่วางไว้ ทาง สคก. ก็รับจะช่วยเร่งรัดในการดำเนินการให้ ขณะเดียวกันต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใหม่ และเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และประกาศใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวต่อไป


ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าทุกสีได้ภายในเดือน ก.ย.68 ตามที่ได้เคยประกาศไว้ ทั้งนี้จากการสอบถามกรมการขนส่งทางราง(ขร.) พบว่า หากดำเนินมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าทุกสีทุกสายตั้งแต่เดือน ก.ย.68 จนครบวาระรัฐบาล ซึ่งเหลืออีกประมาณ 2 ปี ต้องใช้เงินสนับสนุนมาตรการดังกล่าวปีละประมาณ 8 พันล้านบาท หรือ 2 ปีประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นเงินที่จะสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม จะนำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่งเป็นเงินส่วนแบ่งรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาสมทบเข้ากองทุนฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยทาง รฟม. ก็ยินดี

นอกจากนี้ จะหาเงินสมทบจากแหล่งเงินอื่นด้วย อาทิ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรื่องเงินสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม ไม่น่ามีปัญหา โดยเงินในส่วนของ รฟม. ทางกระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบกับ สคก. แล้วว่า สามารถดำเนินการได้ แต่จะมีปัญหาว่า หากร่างกฎหมายตั๋วร่วม ยังไม่ประกาศใช้ จะไม่สามารถนำเงิน รฟม. มาใช้สนับสนุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ จะใช้เงินดังกล่าวได้กับรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีคณะทำงาน เพื่อเข้าไปเร่งรัดในรายละเอียดต่างๆ ทุกจุดให้กฎหมายประกาศใช้โดยเร็ว โดยหากพบว่ายังมีปัญหาจุดใด ตนจะได้เข้าไปช่วยเร่งรัด และแก้ปัญหา.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2024 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

กรณีสถานีลุพินีที่จะเป็น Interchange ในอนาคตนั้น มันติดเงื่อนไขดั่งนี้
กรณี รถไฟฟ้าสายสีฟ้า นี่เนื่องจากต้องผ่านถนนวิทยุ คงไม่พ้นต้องลงใต้ดินครับ และ ท่านทูตอเมริกัน คงไม่ยอมให้ตั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ระหว่างสถานีเพลินจิต และ สถานีลุมพินี โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะ บริเวณที่ใกล้สถานเอกอัครราชทูตอเมริกาเพราะ อาจเป็นอันตรายต่อระบบรักษาความปลอดภัยของสถานเอกอัครราชทูตครับ
ส่วนสายสีเทานั้น น่าจะเป็นช่วงที่สองที่ผ่านจากสถานีพระโขนง ไปตามถนนพระรามสี่พอถึงที่สถานีลุมพินี ก็ออกถนนสาทร ไปเจอช่องนนทรีก่อนไปตามเส้นบีอาร์ทีถึงท่าพระ เป็นการเลิก บีอาร์ทีไปโดยปริยาย และ อาจต้องถอนสถานีไปปลูกที่ถนนเส้นอื่นที่เหมาะสมกว่า
https://www.facebook.com/ThailandUpdateFanPage/posts/497019456540410
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2024 10:41 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” ยัน ก.ย. 68 ขยายรถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย เผยผลศึกษาชี้เก็บค่าธรรมเนียมรถติดแหล่งเงินหลัก "กองทุนซื้อคืน"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:11 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19:26 น.

KEY POINTS
• กระทรวงคมนาคมและคลัง กำลังศึกษาโมเดลการตั้งกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้บริการรถไฟฟ้า 20 บาท ทุกสายในปี 2568
• เป้าหมายคือให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ใช้ได้ทุกสายภายในเดือนกันยายน 2568
• รายได้หลักของกองทุนนี้มาจากค่าธรรมเนียมรถติด
• ผลสำรวจพบรถยนต์ในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 7 แสนคันต่อวัน




“สุริยะ” เผย"คมนาคม-คลัง" เร่งศึกษาโมเดล ตั้งกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า ลั่นก.ย. 68 ค่าโดยสาร 20 บาทใช้ได้ทุกสาย เผยค่าธรรมเนียมรถติด รายได้หลักเข้ากองทุนซื้อคืนฯ ผลสำรวจพบมีรถ 7 แสนคัน/วัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 15 ต.ค. 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ร่วมกันศึกษาแนวทางการดำเนินการ นโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายและการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคม นั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการศึกษาเบื้องต้นกรณีการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น

กรณีการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้านั้น ทางกระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทาง การจัดตั้งกองทุนต่างๆ และแหล่งเงินของกองทุน ซึ่งส่วนหนึ่งจะมาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจราจรคับคั่ง (Congestion charge) ซึ่งเรื่องนี้ทางสนข.ได้มีการศึกษา โดยความร่วมมือกับ สำนักงานองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ประจำประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ซึ่งมีการสำรวจถนนที่อยู่ในใจกลาง กทม. ที่เส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้สมบูรณ์ และคาดว่าจะมีการจัดเก็บ Congestion charge ได้ประมาณ 6 เส้นทาง ซึ่งพบว่ามีปริมาณจราจรรวมกันประมาณ 700,000 คัน/วัน ดังนั้นยกตัวอย่าง หากจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ คันละ 50 บาท ตรงนี้ประเมินเบื้องต้นจะมีรายได้เข้ากองทุนเพียงพอสำหรับการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า

“ถนนที่จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมจะเน้นที่ถนนที่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เช่น สุขุมวิท เพชรบุรี สีลม รัชดาภิเษก เป็นหลัก” นายสุริยะกล่าว

@ก.ย. 68 ขยาย 20 บาทใช้กับรถไฟฟ้าทุกสาย

นายสุริยะกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินนโยบายรัฐบาลค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท กับรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสายสีม่วง ซึ่งพบว่าทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 โดยจะช่วยให้มลภาวะดีขึ้น และลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีต้องการที่จะให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และในทุกสายในเดือน ก.ย. 2568 ดังนั้น หากกระทรวงการคลังดำเนินการตั้งกองทุนเพื่อไปซื้อรถไฟฟ้าคืนได้เรียบร้อย ก็จะใช้วิธีการซื้อคืนได้เลย แต่หากกระทรวงการคลังยังดำเนินการไม่ทัน กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการไปก่อน โดยมีแนวทางการจัดหาแหล่งเงินที่จะมาชดเชย คือ ส่วนแบ่งรายได้ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมาจากสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และจากงบประมาณส่วนหนึ่ง

“ประชาชนมั่นใจได้ว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทของรัฐบาลที่ประกาศไว้จะขยายไปทุกสายในเดือน ก.ย. 2568 แน่นอน ผมพูดไปแล้วอยากให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าในราคา 20 บาท มีการศึกษาแหล่งเงินที่จะมาชดเชยแล้ว แต่หากกระบวนการศึกษาระหว่างคลังกับคมนาคมเรื่องซื้อคืนเสร็จก่อนก็จะใช้กระบวนการตรงนั้น”

ส่วนจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการเงินและนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น นายสุริยะกล่าวว่า การตั้งกองทุนจะต้องมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำเป็นจะต้องศึกษาให้ดีเพราะจะต้องมีแหล่งเงินที่จะต้องจัดเก็บรายได้ และนำเงินไปซื้อรถไฟฟ้าคืน แต่ทั้งนี้ก็ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อไปดำเนินการ เรื่องนี้พรรคร่วมรัฐบาลก็เห็นด้วยซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เชื่อว่าพรรคร่วมจะไม่มีปัญหา เพราะถือว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2024 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สุริยะ” ยัน ก.ย. 68 ขยายรถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย เผยผลศึกษาชี้เก็บค่าธรรมเนียมรถติดแหล่งเงินหลัก "กองทุนซื้อคืน"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:11 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19:26 น.

สุริยะ คอนเฟิร์มรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบทุกสายภายใน ก.ย.68
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, October 16, 2024 19:10

รมว.สุริยะ ยืนยันประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายครบทุกสี-ทุกสายภายใน ก.ย. 68 แน่นอน จ่อชง ครม. ต่ออายุมาตรการภายใน 30 พ.ย.นี้ เร่งดัน พ.ร.บ.ตั๋วร่วม เสนอเปิดสมัยประชุมสภา ธ.ค. 67 ลุยถกร่วม ก.คลัง ศึกษาตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า 2 แสนล้าน

วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่ในปัจจุบันได้ดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยได้ผลตอบรับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดีนั้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะใช้ในโครงการรถไฟฟ้าทุกสี ทุกสาย และทุกเส้นทางภายในเดือนกันยายน 2568 ตามที่เคยประกาศไว้อย่างแน่นอน

ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่ออายุมาตรการนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่จะครบในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 อีกทั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. …. ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยการประชุมช่วงเดือนธันวาคม 2567 โดยเมื่อ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว จะมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม เพื่อจัดหาเงินทุนมาสนับสนุนนโยบายฯ อาทิ ส่วนแบ่งรายได้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, กองทุนอนุรักษ์พลังงาน และงบประมาณ

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง เตรียมร่วมกันศึกษาแนวทางการดำเนินการนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า โดยการระดมทุนจากนักลงทุน ระยะเวลา 30 ปี วงเงินประมาณ 200,000 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อคืนสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง เพื่อให้ภาครัฐ สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกลง และเป็นธรรม เข้าถึงได้ง่ายด้วย

นอกจากนี้ จะดำเนินการศึกษาเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion charge) เพื่อนำเงินเข้ากองทุนฯ และอาจจะพิจารณานำไปเป็นดอกเบี้ย (ผลตอบแทน) ให้กับผู้ระดมทุน โดยจะดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพฯ ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น ถนนสุขุมวิท ถนนสีลม ถนนรัชดาภิเษก เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว เป็นรูปแบบที่ได้ดำเนินการในต่างประเทศ และประสบผลสำเร็จ อย่างเช่น ประเทศอังกฤษ

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวนั้น จะช่วยให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น อีกทั้ง ยังช่วยแก้ปัญหามลภาวะ และฝุ่นละออง PM 2.5 ด้วย อย่างไรก็ตาม เตรียมว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาพื้นที่การจัดเก็บค่าธรรมเนียม, รวมทั้งพิจารณางบประมาณที่จะซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทาง อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะเห็นความชัดเจนภายในกลางปี 2568

สำหรับการคาดการณ์แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเบื้องต้นนั้น มีแนวทางจะเริ่มจัดเก็บในระยะ 5 ปีแรก ในอัตรา 40-50 บาท และในช่วง 5 ปีถัดไป จะทยอยเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในขณะนั้น ซึ่งคาดว่า จะสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่ที่กำหนดได้วันละประมาณ 700,000 คัน หรือประมาณ 35 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อนำมาสนับสนุนการซื้อคืนสัมปทานด้วยเช่นกัน


Suriya Confirms 20 Baht Flat Fare for All BTS Lines by September 2025

Source - Prachachat Business Website
Wednesday, October 16, 2024 19:10


Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Suriya Jungrungreangkit, confirmed that the public will be able to use all BTS Skytrain lines for a flat fare of 20 baht by September 2025. This policy is currently implemented on the Purple Line (Tao Poon - Khlong Bang Phai) and the Red Line (Bang Sue - Rangsit and Bang Sue - Taling Chan) with positive public feedback.

The Ministry of Transport is preparing to propose to the Cabinet an extension of the 20 baht flat fare policy, which is set to expire on November 30, 2024. They are also drafting the Common Ticket Management Act, which is currently under review by the Council of State before being submitted to the House of Representatives in December 2024. Once this Act comes into effect, a Common Ticket Fund will be established to support the policy, drawing funds from sources like revenue sharing from the Blue Line, the Energy Conservation Fund, and the national budget.

Furthermore, the Ministry of Transport and the Ministry of Finance are preparing to jointly study the implementation of the 20 baht flat fare policy by establishing an infrastructure fund to buy back BTS concessions. This fund, with an estimated value of 200 billion baht, will be raised from investors over 30 years to buy back concessions for all BTS lines, allowing the government to determine lower and fairer fares.

The study will also include the implementation of a congestion charge to contribute to the fund and potentially provide returns to investors. This charge will be implemented in Bangkok along BTS lines such as Sukhumvit Road, Silom Road, and Ratchadaphisek Road, following successful models in countries like England.

These initiatives aim to encourage greater public use of the BTS, addressing pollution and PM 2.5 issues. A consulting firm will be hired to determine the areas for congestion charges and the budget for buying back BTS concessions. Further details are expected by mid-2025.

The proposed congestion charge is expected to be 40-50 baht for the first 5 years, gradually increasing in the following years. It is estimated to be collected from approximately 700,000 vehicles per day in designated areas, generating around 35 million baht per day or 12 billion baht per year to support the buyback of concessions.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2024 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

กดปุ่ม 20 บาทตลอดสาย “คมนาคม-คลัง” ผ่างบ 3 แสนล. ปลุกกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า
ฐานเศรษฐกิจ
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:00 น.
อัปเดตล่าสุด : วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:26 น.
KEYPOINTS

ถอดสูตรรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
“คมนาคม-คลัง” ตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 3 แสนล้าน ซื้อสัมปทานคืน-ลุยเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเข้าเมือง 40-50 บาท
เปิดโอกาสประชาชนระดมทุน หนุนค่าโดยสาร
คาดสารพัดสี ได้ใช้ภายในเดือน ก.ย.68
ด้าน “บีทีเอส” แนะทุกฝ่ายควรได้รับความยุติธรรม

รถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายหนึ่ง ในนโยบายเรือธงของรัฐบาลเพื่อไทย ที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เดินหน้าผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

หลังนำร่องไปแล้ว 2 เส้นทาง ในสมัยรัฐบาลเศรษฐา เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หลังจากรัฐใช้เม็ดเงินลงทุนขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจำนวนมหาศาล ครอบคลุมพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมุ่งหวังให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้ระบบรางมากขึ้น

ทั้งนี้หัวใจสำคัญของการดึงคนเข้าใช้รถไฟฟ้า 1. ต้องลงทุนโครงข่ายให้เชื่อมต่อกัน และมีระบบฟีดเดอร์รองรับ 2.มีพื้นที่จอดรถยนต์บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเพียงพอ

3. มีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าเพียงพอให้บริการรวดเร็วทันเวลา 4.ราคาเข้าถึงได้ 5.มีมาตรการเข้มงวดทางภาษีอย่างจริงจังฯลฯ

กดปุ่มเดินหน้า20บาทตลอดสาย

อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่ต้องใช้งบประมาณซื้อคืนสัมปทานรวมถึงค่าจ้างเดินรถซ่อมบำรุง คือตัวแปรสำคัญ ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้ กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง ร่วมกันศึกษาแนวทางการดำเนินการ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ลดมลพิษ

ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ สร้างความคุ้มค่าทาง การเงิน และประชาชนต้องได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้โดยเร็ว หลังนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ใน2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ได้รับความนิยม

จากข้อมูลของ กรมการขนส่งทางราง พบว่า มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 87,633 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 42,678 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมา(นิวไฮ) หลังจากมีนโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ยังระบุอีกว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดง มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 51.15% และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เพิ่มขึ้น 17.39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะเดียวกัน ปริมาณผู้โดยสารยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งกรมฯพร้อมดำเนินการตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เบื้องต้นเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ต่ออายุมาตรการที่จะครบในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งจะต้องรอแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนมาตรการฯนี้จะหมดอายุ

กระแสซื้อคืนรถไฟฟ้า กดหุ้นร่วง

ขณะปมร้อนกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ ในหัวข้อ Vision for Thailand ในงาน Nation TV Dinner Talk : Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567

โดยมีประเด็นหนึ่งได้พูดถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายรวมด้วย พร้อมระบุว่า เป็นสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้เคยพูดไปแล้ว ต้องทำให้ได้ โดยอาจจะต้องเวนคืนรถไฟฟ้าที่เอกชนบริหารกลับมาเป็นของภาครัฐแล้วจ้างเอกชนบริหาร แต่ภาครัฐจะเป็นผู้กำหนดค่าตั๋วเอง

กลายเป็นกระแสร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมาเมื่อนายสุริยะ ขานรับวิสัยทัศน์ของนายทักษิณทันที โดยประกาศว่าจะมีการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสายคืนจากเอกชนเพื่อให้สอดรับกับการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้น บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM วันที่ 23 ส.ค.2567 ณ เวลา 12.40 น. ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 7.75 บาท ลดลง 0.15 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 1.90% ระหว่างเปิดทำการซื้อขายในช่วงเช้าราคาปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 7.80 บาท

ก่อนที่จะย่อตัวลงมาทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 7.10 บาท โดยที่ปิดตลาดก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 7.90 บาท มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 542.69 ล้านบาท

ส่วนราคาหุ้น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS วันที่ 23 ส.ค.2567 ณ เวลา 12.40 น. ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 4.20 บาท ลดลง 0.02 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 0.47%


ปรับแผนร่วมทุน PPP Gross Cost

ส่งผลให้นายสุริยะได้มีการชี้แจงถึงการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนกลับมาเป็นของรัฐบาลถึงแนวคิดดังกล่าว ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ทำการศึกษาอยู่แล้ว โดยศึกษาจากต่างประเทศหลายๆประเทศ เพื่อให้รัฐบาลสามารถควบคุมอัตราค่าโดยสาร สอดคล้องนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของรัฐบาลที่ต้องการลดค่าครองชีพด้านการเดินทางให้กับประชาชน

กระทรวงคมนาคมยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ยึดสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าโดยไม่คำนึงถึงสัญญาที่จัดทำไว้กับเอกชนผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยจะยึดถือสัญญาที่ได้ทำไว้กับเอกชนเป็นหลัก

แต่ยังเป็นเพียงแนวคิดที่รัฐบาลอาจจะพิจารณาถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการซื้อคืนระบบการเดินรถที่เอกชนได้ลงทุนไป รวมถึงสิทธิ์ในการให้บริการเดินรถตามสัญญาที่รัฐบาลได้ทำไว้กับเอกชนกลับคืนมา

ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลยังคงยืนกรานที่จะจ้างเอกชนรายเดิมเป็นผู้เดินรถต่อไป โดยเปลี่ยนสัญญาจากรูปแบบ PPP Net Cross เป็น PPP Gross Cost ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์

ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า รัฐไม่ได้ไปยึดสัมปทาน อาจจะมีการตีความผิด เพราะถ้าพูดแบบนั้น ต่อไปใครจะกล้าเข้ามาลงทุนกับรัฐอีกในอนาคต

สำหรับแนวทางการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจะทำให้รัฐบาลมีอิสระในการกำหนดนโยบายในเรื่องอัตราค่าโดยสาร และสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้โดยไม่กระทบกับสัญญาสัมปทานเดิม ต่อเรื่องนี้

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ออกมายืนยันว่า นโยบาย20บาทตลอดสายสามารถทำได้จริง เหมือนกับประเทศอื่นทั่วโลก ที่ผ่านมาได้ศึกษามาก่อนหน้านี้

อัด 3 แสนล้าน ซื้อสัมปทานคืน

ขณะความชัดเจน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาเรื่องแหล่งเงินทุน โดยให้ทั้ง 2 กระทรวง คำนึงถึงเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับและความคุ้มค่าทางการเงิน รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินด้วยว่าจะจัดการและชี้แจงได้อย่างไรเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ให้เร็วที่สุด

โดยนายสุริยะ ยังคงย้ำอีกว่านโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ได้ตั้งเป้าเปิดให้บริการทุกเส้นทาง แก่ประชาชนสามารถใช้งานได้ภายในเดือนกันยายน 2568 เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 แนวทาง

แนวทางแรก คือ การซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนกลับมาเป็นของภาครัฐ ซึ่งมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในการจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

ตั้ง 2 กองทุนรถติด-ตั๋วร่วม/กำหนดโซน

ทั้งนี้แนวทางแรกจะใช้รูปแบบการลงทุนจาก PPP Net Cost เป็น PPP Gross Cost โดยกองทุนนี้มีระยะเวลา 30 ปี คาดว่าจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ใน 5ปีแรก ซึ่งดำเนินการจัดเก็บในอัตรา 40-50 บาท

หลังจากนั้นจะเพิ่มการจัดเก็บค่าธรรมเนียมทุกๆ 5 ปี คาดว่าผลการศึกษาจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในกลางปี 2568

สำหรับพื้นที่ที่คาดว่าจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด(Congestion Charge) เช่น รัชดาภิเษก, สุขุมวิท , สยามพารากอน, สีลม เนื่องจากเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ปัจจุบันมีรถใช้บริการกว่า 700,000 คันต่อวัน

โดยกระทรวงการคลังจะต้องศึกษาข้อกฎหมายมารองรับ อีกทั้งต้องขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นของกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการจัดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้

หากการตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนนั้นมีข้อมูลที่ชัดเจนถึงรายได้ในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนด

ขณะเดียวกันกองทุนนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมระดมทุนได้ เชื่อว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจด้วย ส่วน

แนวทางที่ 2 กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ สนข.ดำเนินการเร่งรัดจัดตั้งกองทุนระบบตั๋วร่วม คาดว่าจะใช้งบประมาณชดเชย 7,000-8,000 ล้านบาทต่อปี โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติระบบตั๋วร่วม พ.ศ ..... อยู่ระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คาดว่าจะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาะที่ 2 ภายในเดือนธันวาคมนี้

ขณะที่การนำรายได้ของรฟม.จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ปัจจุบันมีรายได้ 10,000 ล้านบาทต่อปี ตลอดจนนำกองทุนอนุรักษ์พลังงานจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 50 สตางค์ มาช่วยอุดหนุนเพื่อชดเชยรายได้ให้เอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า เพื่อรองรับนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้หากผลการศึกษาการตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้ายังไม่แล้วเสร็จ กระทรวงคมนาคมจะนำแนวทางที่ 2 มาดำเนินการแทนเพื่อให้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทันตามแผนที่ตั้งเป้าไว้ภายในเดือนกันยายน 2568


ฟากกระทรวงการคลัง โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เล่าถึงการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อสัมปทานการบริหารโครงการรถไฟฟ้าจากภาคเอกชนคืนกลับมาเป็นของรัฐบาลต่อการกำหนดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนั้น

กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะร่วมกันศึกษาแนวทาง คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ซึ่งจะต้องมาดูรายละเอียด ทั้งการวางข้อสมมติฐาน การประเมิน หาผู้สนใจ และการออกกฎหมาย เรื่องเหล่านี้มีระยะเวลาในการดำเนินการ โดยตั้งเป้าใช้งบประมาณ 300,000 ล้านบาท

ขณะที่เม็ดเงินที่จะนำมาใช้ในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนั้น แน่นอนว่า จะไม่ได้นำมาจากงบประมาณ แต่จะมาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้ลงทุนจากการซื้อหน่วยลงทุนและส่วนของผู้ให้กู้ยืม ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ ผลตอบแทนจะไม่เท่ากัน

ดังนั้น กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะต้องศึกษาเรื่องนี้ด้วย ทุกสายทุกสี ให้บริการ ก.ย.68 สำหรับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หลัก) ช่วงหมอชิต-อ่อนนุชและช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน (เปลี่ยนสัญญาจ้างเดินรถปี 2585)ระยะทาง 23.5 กม.มูลค่า 50,000 ล้านบาท สิ้นสุดปี 2572 ผู้รับสัมปทาน BTS

สายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคตและแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 32 กม. มูลค่า 27,673 ล้านบาท สิ้นสุดปี 2585 ผู้รับสัมปทาน BTS

สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อระยะทาง 20 กม. มูลค่า 115,812 ล้านบาท สิ้นสุดปี 2592 ผู้รับสัมปทาน BEMสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. มูลค่า 81,887 ล้านบาท สิ้นสุดปี 2592 ผู้รับสัมปทาน BEM

สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. มูลค่า 51,381 ล้านบาท สิ้นสุดปี2595 ผู้รับสัมปทาน NBM (BTS STEC RATCH) สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. มูลค่า 48,424 ล้านบาทสิ้นสุดปี2595 ผู้รับสัมปทาน EBM (BTS STEC RATCH)

สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. มูลค่า 140,000 ล้านบาทสิ้นสุดปี 2597 ผู้รับสัมปทาน BEM

กดปุ่ม 20 บาทตลอดสาย “คมนาคม-คลัง” ผ่างบ 3 แสนล. ปลุกกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า

บีทีเอส ลั่นผู้โดยสารได้ประโยชน์

ด้านเอกชน โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีเหลืองและสายสีชมพู เล่าว่าเพิ่งได้ยินเรื่องนี้ไม่นาน ซึ่งต้องลงในรายละเอียด

หากทำแล้วทุกฝ่ายได้ประโยชน์ก็ควรช่วยๆ กัน ทั้งการคิดวิธีการทำให้ทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรมและเป็นประโยชน์กับผู้โดยสาร

สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสายจะมีผลใช้ในเดือนกันยายนปีหน้าโดยระยะแรกจะเกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนที่ภาครัฐจะให้กับผู้ประกอบการ ผ่านกฎหมายมาตรฐานระบบบัตรโดยสารร่วม เพื่อบังคับให้ผู้ประกอบการนำโครงการค่าโดยสารแบบเหมาจ่ายมาใช้ มองว่าเอกชนผู้รับสัมปทาน จะได้รับประโยชน์

//--------------------------------------------

กูรูชี้ BTS- BEM ลุ้นรับเม็ดเงินก้อนใหญ่ รัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้ากลับ
หน้าการเงิน-การลงทุน

ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.

"วิจิตร อารยะพิศิษฐ" มองรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายรัฐเอาจริง แนะต้องชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าการลงทุนประชาชนได้ประโชยน์แค่ไหน พร้อมคาด BTS-BEM รับทรัพย์รัฐจ่ายเงินซื้อสัมปทานคืน
จากประเด็นนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของภาครัฐฯ นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) ได้ให้มุมมองว่า ดูเหมือนว่าโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลค่อนข้างเอาจริงพอสมควร

จากนี้ก็ต้องรอดูว่า การจัดการแหล่งเงินทุนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะด้วยเม็ดเงินก้อนใหญ่มูลค่าหลักแสนล้านบาท ซึ่งสูงพอสมควร โดยล่าสุดภาครัฐฯ ได้ทำการศึกษาการดำเนินงาน โดยได้พูดถึงความเป็นไปได้ที่จะรูปแบบการตั้งกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า ที่เป็นการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปให้เข้ามาลงทุน

รวมถึงส่วนแบ่งรายได้จาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เงินจากองทุนอนุรักษ์พลังงาน และ งบประมาณประจำปี ตลอดจนเงินที่ได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่รถติดที่คาดว่าจะมีรถเข้ามาในพื้นที่สำคัญ เช่น ถนนสีลม, รัชดา และสุขุมวิท ที่รถติดกว่า 700,000 คันต่อวัน


ซึ่งคาดว่าจะจัดเก็บได้กว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่กองทุนจะมีระยะเวลาลงทุน 30 ปี ขณะเดียวกันจะต้องขอความเห็นจากกฤษฎีกาในการออกกฎหมายเพื่อขอจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่ กทม. เพื่อนำเงินที่ได้มาซื้อสัมปทานรถไฟฟ้านำกลับมาเป็นของรัฐ และเพื่อทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดราคาค่าโดยสารได้

แต่อย่างไรก็ดี มองว่าในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนและยังอยู่ในกระบวนการศึกษา เบื้องต้นคาดว่ากว่าจะได้เห็นข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม อาจกินเวลาไปถึงไตรมาส 2-3 ปี 2568

ส่วนตัวมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ เรื่องของการจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อมาสนับสนุนการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้านำกลับมาเป็นของรัฐ รัฐบาลอาจต้องไปชั่งน้ำหนักด้วยว่าการลงทุนดังกล่าวคุ้มค่าหรือไม่ ประชาชนจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับการนำเอาเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ

ทั้งนี้ นักลงทุนอาจมีความกังวลใจว่าเมื่อมีการดึงสัมปทานรถไฟฟ้านำกลับมาเป็นของรัฐ โมเมนตัมในเชิงของผู้ประกอบการ อย่าง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผลออกมาอาจไม่ได้ดีนักหากจะเวนคืนรถไฟฟ้าจากเอกชนทั้งหมด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานอยู่นั้นเสียเปรียบ

แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่า การดึงสัมปทานรถไฟฟ้านำกลับมาเป็นของรัฐ ถ้าทำจริงต้องเป็นการซื้อคืนจากผู้รับสัมปทานเดิม ดังนั้นแล้วทั้ง BTS และ BEM จะได้รับเงินก้อนมาจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรืออะไรก็ตามแต่ อีกทั้งหลังจากคืนสัมปทานแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าอีกแล้ว

ซึ่งก็คงต้องไปรอดูกันอีกว่า หลังจากที่ BTS และ BEM ได้รับเงินมาแล้วจะวางแผนนำไปบริหารจัดการต่ออย่างไร เพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจ และชดเชยรายได้และกำไรในส่วนที่จะต้องสูญเสียไป ทำให้มองว่าหลังจากคืนสัมปทานแล้วจะเป็นอานิสงส์เชิงบวกต่อหน้าหุ้นในระยะสั้นๆ ได้มากกว่า

"มองว่าโครงการรถไฟฟ้า 20 ตลอดสายของรัฐ ค่อนข้างเอาจริงพอสมควร การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดหาแหล่งเงินทุนจำนวนมหาศาล มูลค่าหลักแสนล้านบาท ภาครัฐอาจต้องชั่งน้ำหนักความสำคัญด้วยว่าประชาชนได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับการนำเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอื่นๆ นักลงทุนอาจมองว่าจะเป็นเรื่องที่กดดัน BTS-BEM แต่ส่วนตัวมองว่า การดึงสัมปทานรถไฟฟ้ากลับ ต้องเป็นการซื้อคืน ฉะนั้น BTS-BEMจะได้รับเงินก้อนจำนวนมากบุ๊คเข้ามา ซึ่งจะดีกับหน้าหุ้นดังกล่าว"

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น BTS วันที่ 17 ต.ค.67 ณ เวลา 13.18 น. อยู่ที่ระดับ 4.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.06 บาท เปลี่ยนแปลง 1.32% มีมูลค่าการซื้อขายที่ 278.62 ล้านบาท โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) ที่ 59,781.08 ล้านบาท

ขณะที่ราคาหุ้น BEM อยู่ที่ระดับ 8.25 บาท โดยราคาหุ้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีมูลค่าการซื้อขายที่ 134.12 ล้านบาท มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ 126,101.25 ล้านบาท และ P/E 33.59 เท่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2024 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
“สุริยะ” ยัน ก.ย. 68 ขยายรถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย เผยผลศึกษาชี้เก็บค่าธรรมเนียมรถติดแหล่งเงินหลัก "กองทุนซื้อคืน"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:11 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19:26 น.

สุริยะ คอนเฟิร์มรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบทุกสายภายใน ก.ย.68
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19:10 น.



"รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" สุริยะ ประกาศ เริ่ม ก.ย. 68 ทุกเส้นทาง
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:30 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:34 น.
ความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล ล่าสุด "นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร” สั่ง คมนาคม-คลัง เร่งศึกษาหาข้อสรุป “พิชัย” จ่อตั้งกองทุน 2-3 แสนล้าน ขณะ “สุริยะ” ยันเริ่มก.ย.2568 ตามกำหนด

วันนี้ (15 ตุลาคม 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ร่วมกันศึกษาแนวทางการดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล


“นโยบายนี้ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย และถ้าคนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นก็จะช่วยลดมลพิษด้วย โดยการศึกษาของทั้ง 2 กระทรวง ขอให้คำนึงผลประโยชน์ที่ได้รับ ความคุ้มค่าทางการเงิน รวมไปถึงแหล่งที่มาของกิจการว่าจะจัดการอย่างไร และจะชี้แจงได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ได้เร็วที่สุด” นายกฯ ระบุ


นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า นายกฯ ได้สั่งการเรื่องนี้ให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันศึกษา เนื่องจากเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งการศึกษาจะครอบคลุมไปถึงผลประโยชน์ที่อาจได้รับความคุ้มค่าทางการเงิน แหล่งเงินทุน เพื่อหาโครงสร้างในการจัดทำค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายต่อไป

ส่วนประเด็นการการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อคืนรถไฟฟ้าจากภาคเอกชนนั้น จะมีกรอบวงเงินอยู่ที่ใดนั้น เบื้องต้นกระทรวงการคลัง ขอไปศึกษารายละเอียดก่อน แต่คาดว่ากองทุนน่าจะมีขนาดประมาณ 2-3 แสนล้านบาท

ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม กล่าวว่า การศึกษาการดำเนินงานอาจเป็นรูปแบบตั้งกองทุน สำหรับซื้อสัมปทานรถไฟฟ้านำกลับมาเป็นของรัฐ เพื่อจะได้กำหนดราคาค่าโดยสารได้

โดยที่ผ่านมาจากนำร่องรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในบางเส้นทาง ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% สะท้อนว่าหากมีการปรับลดค่าโดยสารลง ประชาชนจะหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และลดปัญหา PM 2.5

“กระทรวงคมนาคมยังสามารถให้คำมั่นได้ว่าในเดือนกันยายน 2568 รถไฟฟ้าทุกเส้นทาง จะคิดค่าโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสายได้ทั้งหมด เพราะได้เตรียมแหล่งเงินสำหรับใช้ชดเชยเอาไว้แล้ว บางส่วนนำมาจากส่วนแบ่งที่ได้จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ดังนั้นประชาชน จะได้ใช้บริการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกเส้นทาง ในเดือนกันยายน ปีหน้า อย่างแน่นอน” นายสุริยะ ระบุ

"คมนาคม" จับมือ คลัง ศึกษาตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า รับ 20 บาทตลอดสาย
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:00 น.

"คมนาคม-คลัง" เดินหน้าศึกษาตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า เล็งหาแหล่งเงินทุน ปักธงก.ย.68 ขึ้นรถไฟฟ้าสารพัดสี 20 บาทตลอดสาย
นายสุริยะ จึง​รุ่งเรือง​กิจ รองนายกรัฐมนตรี​และรัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวงคมนาค​ม ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี​ (ครม.) มีการพิจารณา​นโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยให้ทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังไปศึกษา เพื่อเป็นการลดภาระให้กับประชาชน และหากประชาชนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นจะเป็นการลดมลพิษ

ทั้งนี้ครม.ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาเรื่องแหล่งเงินทุน โดยให้ทั้ง 2 กระทรวง คำนึงถึงเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับและความคุ้มค่าทางการเงิน และแหล่งที่มาของเงินด้วยว่าจะจัดการและชี้แจงได้อย่างไรเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ให้เร็วที่สุด

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ได้ตั้งเป้าเปิดให้บริการทุกเส้นทาง ประชาชนจะสามารถใช้งานได้ภายในเดือนกันยายน​ 2568


นอกจากนี้หากยังศึกษาไม่เสร็จ ก็ยังยืนยันว่า ในเดือนกันยายน 2568 รถไฟฟ้าทุกเส้นทาง จะคิดค่าโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสายได้ทั้งหมด แต่จะใช้เงินจากส่วนแบ่งรายได้รฟม.ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ มาชดเชยค่าโดยสารให้ประชาชนระหว่างที่รอผลการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ส่วนการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภาพรวทั้งหมด ต้องไปศึกษาให้เสร็จแล้วว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากที่ไหน และให้ทั้งสองกระทรวงเร่งหารือกันเพื่อประชาชนจะได้ใช้บริการ

ขณะเดียวกันคาดว่าแหล่งเงินที่จะใช้อาจจะเอามาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อรถเข้าเมือง หรือ Congestion Charge เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อมีการนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าเขตใจกลางเมือง


สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะมุ่งเน้นบริเวณที่เป็นเส้นทางของรถไฟฟ้า เช่น สุขุมวิท​ สีลม เพชรบุรี​และรัชดา ขณะนี้ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาว่าจะจัดเก็บอย่างไรในราคาเท่าไหร่

"มั่นใจว่า เงินที่จัดเก็บจะมีเพียงพอในการซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน เนื่องจากทุกเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าผ่านมีรถยนต​์ที่ใช้งาน 700,000 คันต่อวัน" นายสุริยะ กล่าว

ประชาชนเฮ “คมนาคม-คลัง” เปิดโอกาสซื้อกองทุนสัมปทานรถไฟฟ้า รับ 20 บาทตลอดสาย
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:15 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา17:27 น.
“คมนาคม-คลัง” เดินหน้าศึกษาเก็บค่าธรรมเนียมรถติด 50 บาท ลุยตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน 2 แสนล้านบาท เปิดโอกาสประชาชนระดมทุน หนุนจ่ายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย คาดได้ข้อสรุปกลางปี 68
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้วางแนวทางไว้ 2 ส่วน โดยแนวทางแรก คือ การซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนกลับมาเป็นของภาครัฐ คาดใช้งบประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในการจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

ทั้งนี้แนวทางแรกจะใช้รูปแบบการลงทุนจาก PPP Net Cost เป็น PPP Gross Cost โดยกองทุนมีระยะเวลา 30 ปี คาดว่าจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ใน 5 ปีแรก จะดำเนินการจัดเก็บในอัตรา 40-50 บาท หลังจากนั้นจะเพิ่มการจัดเก็บค่าธรรมเนียมทุกๆ 5 ปี คาดว่าผลการศึกษาจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในกลางปี 68



สำหรับพื้นที่ที่คาดว่าจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) เช่น รัชดาภิเษก,สุขุมวิท ,สยามพารากอน,สีลม เนื่องจากเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง โดยปัจจุบันมีรถใช้บริการกว่า 700,000 คันต่อวัน โดยกระทรวงการคลังจะต้องศึกษาข้อกฎหมายมารองรับ อีกทั้งต้องขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นของกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการจัดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้

“หากการตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนนั้นมีข้อมูลที่ชัดเจนถึงรายได้ในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนด ขณะเดียวกันกองทุนนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมระดมทุนได้ เชื่อว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจด้วย” นายสุริยะ กล่าว


ส่วนแนวทางที่ 2 กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ สนข.ดำเนินการเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติระบบตั๋วร่วม พ.ศ ..... ปัจจุบันอยู่ระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คาดว่าจะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาะที่ 2 ภายในเดือนธ.ค.นี้ และการนำรายได้ของรฟม.จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตลอดจนนำกองทุนอนุรักษ์พลังงานมาช่วยอุดหนุนเพื่อชดเชยรายได้ให้เอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า เพื่อรองรับนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้หากผลการศึกษาการตั้งกองทุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้ายังไม่แล้วเสร็จ กระทรวงคมนาคมจะนำแนวทางที่ 2 มาดำเนินการแทนเพื่อให้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทันตามแผนที่ตั้งเป้าไว้ภายในเดือนก.ย.68
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2024 6:00 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" สุริยะ ประกาศ เริ่ม ก.ย. 68 ทุกเส้นทาง
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:30 น.

รฟม.ลุ้นขั้นตอนขยาย "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" จบ พ.ย.นี้ ดันสายสีม่วงลดราคาต่อ
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Monday, October 21, 2024 14:19

วันที่ 21 ต.ค.67 นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ รักษาการแทน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เผยว่า ยอมรับว่าขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างรอกระบวนการทางกฎหมายในการต่ออายุ โครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท. ภายหลังนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าจะมีการต่ออายุโครงการออกไปอีกจนกว่าจะเริ่มโครงการ 20 บาทตลอดสายทุกสาย ที่จะเริ่มในเดือน ก.ย. 68

ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป รฟม. จะรอให้ ครม. มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการหรือบอร์ด รฟม. ให้แล้วเสร็จ จากนั้นมีการเรียกประชุมบอร์ดเพื่ออนุมัติการขยายอายุโครงการ ก่อนที่จะนำมติเสนอให้กระทรวงคมนาคมเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และจะนำกลับเข้ามาพิจารณาในคณะกรรมการอีกครั้ง ซึ่งคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จในวันที่ 26 พ.ย. 67 ก่อนหมดอายุมาตรการวันที่ 30 พ.ย. 67 เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง

สำหรับภาพรวมการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีผู้โดยสารมากที่สุด(พีค) วันละ 87,000 คน ขณะที่ผู้โดยสารช่วงวันหยุด เฉลี่ย 20,000 - 30,000 คนต่อวัน คิดเป็นผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 17% หลังจากเริ่มมีโครงการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายเมื่อ พ.ย. 66

"ผลกำไรของโครงการถือว่าติดลบ น้อยลงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย จากเดิมที่ติดลบปีละ 400 ล้านบาท เหลือติดลบเพียงปีละ 250 ล้านบาทเท่านั้น และในปี 2568 คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอีก 7% ก็จะทำให้ตัวเลข ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นอีก โดยย้ำว่า รฟม. ไม่ได้มีการขอชดเชยผลกำไรดังกล่าวจากภาครัฐเนื่องจากในภาพรวมขององค์กร การให้บริการด้านอื่นๆ รวมถึงรายได้จากสัมปทานและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินขณะนี้ รฟม. ยังมีผลประกอบการที่มีกำไรอยู่"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในส่วนของกระทรวงคมนาคมมีแนวทางที่จะต่ออายุโครงการ 20 บาทตลอดสายสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดงออกไป ก่อนที่ในอนาคตกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเป้าหมายให้เดือนกันยายน 2 568 รถไฟฟ้าทุกสายจะเก็บค่าโดยสารในราคา 20 บาทโดยหลังจากนี้ภาครัฐจะเร่งเจรจากับเอกชนผู้สัมปทานเดินรถให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา


MRTA hopes to finalize "20 baht flat fare" extension by November, pushing for Purple Line fare reduction

Source - Siam Rath Website
Monday, October 21, 2024, 2:19 PM


On October 21, 2024, Mr. Wittaya Panmongkol, Deputy Governor, Acting Governor of the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA), revealed that the MRTA is currently awaiting legal procedures to extend the 20 baht flat fare project for the Chalong Ratchadham Line (Purple Line) under the supervision of the MRTA, in conjunction with the SRT Red Line commuter train. This comes after Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, confirmed that the project would be extended until the launch of the 20 baht flat fare project for all lines, scheduled to begin in September 2025.

The next step is for the MRTA to wait for the Cabinet's resolution to appoint the MRTA board of directors. Following this, a board meeting will be called to approve the project extension. The resolution will then be proposed to the Ministry of Transport for approval by the Cabinet and will be brought back for consideration by the board again. This entire process is expected to be completed by November 26, 2024, before the measure expires on November 30, 2024, ensuring the project's continued implementation.

Currently, the Purple Line has a peak ridership of 87,000 passengers per day. Weekend ridership averages 20,000-30,000 passengers per day, representing a 17% increase since the implementation of the 20 baht flat fare in November 2023.

"The project's profit is negative, with losses decreasing compared to expenses. The previous annual loss of 400 million baht has been reduced to 250 million baht. In 2025, ridership is expected to increase by another 7%, further improving financial performance. The MRTA emphasizes that it has not requested compensation for these losses from the government, as the organization's overall operations, including revenue from concessions and the Blue Line, remain profitable."

Reporters indicated that the Ministry of Transport plans to extend the 20 baht flat fare project for the Purple and Red Lines. The Ministry aims to implement a 20 baht fare across all train lines by September 2025. The government will expedite negotiations with private concessionaires to complete this objective within the timeframe.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2024 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

เก็บค่าธรรมเนียมรถติด หนุนกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า ใครได้ประโยชน์?
สกู๊ปไทยรัฐ - THE ISSUE
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:47 น.

เก็บค่าธรรมเนียมรถติด กทม. เล็งนำร่อง สีลม, รัชดา, สุขุมวิท หนุนกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า หวังค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ปี 68 หัวหน้าพรรคประชาชน มองนโยบายเอื้อกลุ่มทุน ระบบขนส่งเส้นเลือดฝอยจากหน้าบ้านประชาชนไม่ถูกแก้ไข ต้นเหตุค่าโดยสารซ้ำซ้อน รัฐหาข้ออ้างต่อสัมปทานเอกชน


กลายเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถาม เมื่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงแนวทางการศึกษา การแก้ปัญหารถติดในพื้นที่แออัดของกรุงเทพฯ ซึ่งปี 2568 จะเร่งสรุปถึงแนวทางการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า โดยกระทรวงการคลังกำหนดรูปแบบจัดตั้ง "กองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า" เป็นการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปให้เข้ามาลงทุน รวมถึงเงินที่ได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น สีลม, รัชดา, สุขุมวิท ที่รถติดกว่า 700,000 คัน/วัน คาดจัดเก็บได้กว่า 10,000 ล้านบาท/ปี โดยกองทุนมีระยะเวลาลงทุน 30 ปี

แต่ในการดำเนินการต้องขอความเห็นจากกฤษฎีกาในการออกกฎหมายขอจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งในส่วนของนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย รัฐบาลยังคงเดินหน้านโยบาย และส่วนแบ่งรายได้จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และงบประมาณประจำปี ยืนยันว่า พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ กับ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ผ่านสภาฯ ได้ภายในเดือนกันยายน 2568 จะทำให้รัฐกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้



ค่าธรรมเนียมรถติดยังไม่แก้ปัญหาภาพใหญ่
แต่ในอีกมุมหนึ่ง การเก็บค่าธรรมเนียมรถติดก็ยังไม่แก้ปัญหาระบบขนส่งของประชาชนในภาพรวม นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน วิเคราะห์ว่า ปัญหาหลักตอนนี้คือเรื่องระบบขนส่งสาธารณะจากหน้าบ้านไปจนถึงขนส่งสายหลักหรือรถไฟฟ้ามากกว่า หากวันนี้รัฐบาลเร่งเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเพื่อไปซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน มองว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชน เพราะไม่สามารถเดินทางจากหน้าบ้านไปถึงรถไฟฟ้าได้ สิ่งสำคัญกว่าจึงเป็นการจัดสรรงบอุดหนุนไปยัง Feeder หรือเส้นเลือดฝอย ส่วนอนาคตจะพิจารณาเรื่องนี้ต่อไปก็ทำได้

"เราไม่ได้ค้านในเชิงหลักการ แต่ที่ยังไม่อยากบอกว่าเห็นด้วยนั้น เป็นเพราะบริบทต่างๆ ยังไม่พร้อม อยากให้รัฐบาลกลับมาทบทวนให้มีความรอบคอบก่อนจะดำเนินการต่อไป"

การเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามาใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น แต่ในภาพรวมทั้งระบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐ แต่ยังไม่เห็นการเอาจริงในเรื่องนี้ เช่น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ที่พรรคประชาชนเสนอเข้าสู่สภาฯ เพื่อกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นทุกจังหวัดสามารถจัดทำสายรถเมล์เส้นเลือดฝอยได้ แต่รัฐบาลก็คว่ำร่างไป มองว่ามีความจำเป็นมากกว่าในวันนี้ ก่อนจะไปสู่การพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมรถติดในอนาคตได้


หากรัฐบาลเร่งดำเนินการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด โดยไม่กลับมาแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอยก่อน พรรคประชาชนจึงขอตั้งคำถามว่าเป็นการออกนโยบายเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใดอีกหรือไม่

ส่วนเงินกองทุนควรนำไปใช้ซื้อสัมปทานสายสีอะไรก่อน นายณัฐพงษ์มองว่าเป็นปัญหาการให้สัมปทานในอดีตมากกว่า และปัญหาขนส่งสาธารณะในไทยคือ "ค่าโดยสารร่วม" ที่เสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ประกอบกับการต่ออายุสัมปทานไปเรื่อยๆ ทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้า หากใกล้สิ้นอายุสัมปทาน รัฐบาลที่ดีไม่ควรหาข้ออ้างมาต่ออายุต่อไปเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคือการนำระบบขนส่งทั้งหมดเข้ามาอยู่รวมกัน.

เก็บ‘ภาษีรถติด’!สุริยะขอศึกษา 6 เดือน-1 ปี แย้ม‘รถเก๋ง’ส่อโดนก่อน หาเงินซื้อ‘รถไฟฟ้า’
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.50 น.

‘สุริยะ’แจงเก็บ‘ภาษีรถติด’ ขอเวลาศึกษา 6 เดือน-1 ปี​ รับต้องหาเงินซื้อ‘รถไฟฟ้า’ วางตุ๊กตาเก็บแค่‘รถเก๋ง’40-50 ต่อวัน​ เฉพาะเส้นมีรถไฟฟ้า ส่วน‘​รถไฟฟ้า 20 บาท’ตลอดสาย​ ต้องทำให้เสร็จก่อนเดือนกันยายนปีหน้า​แน่

เมื่อเวลา 09.15 น.วันที่ 22 ต.ค.67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม​ กล่าวชี้แจงกรณีที่พรรคเพื่อไทย​โพสต์​สำรวจความเห็นเรื่องเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เพื่อทุกคนได้ใช้รถไฟฟ้า​ 20​บาทตลอดสาย​ ว่า​ เราพยายามขยายไปให้มีรถไฟฟ้า 20 บาทในเส้นอื่นๆ​ และกำลังเร่งดำเนินการเรื่อง​ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม จะเริ่มได้เดือนกันยายนปี 2568​ ต่อมาก็มีการพูดถึงเรื่องของการตั้งกองทุนขึ้นมา​ เพื่อที่จะซื้อรถไฟฟ้าทุกสาย ซึ่งการที่จะซื้อรถไฟฟ้าทุกสายได้ การขนส่งทางรางก็ต้องมีแหล่งรายได้ด้วย เพื่อที่จะมีเงินไปซื้อรถไฟฟ้า และเมื่อดูการศึกษาในหลายประเทศ เรื่องแก้ปัญหาเรื่องรถติด ก็พบว่า​ มีการเก็บเงินหรือเรียกว่าภาษีรถติด​


นายสุริยะ กล่าวว่า ดังนั้น​ ตอนนี้ทางกระทรวงคมนาคม​กำลังศึกษาว่าจะเก็บที่ไหนอย่างไร​ ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และเชื่อว่าหากประชาชนใช้รถไฟฟ้าในราคาถูกมากๆ​ ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบัน​ เราก็รู้ดีว่า​ การใช้รถยนต์ของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก​ และกว่าจะกลับถึงบ้านก็ใช้เวลานานมาก​ ความสุขในครอบครัวก็ไม่มี อย่างไรก็แล้วแต่​ เรื่องของการเก็บภาษีรถติดเราจะให้มีการศึกษาก่อน ว่า​ ผลออกมาดีไม่ดีอย่างไร หลังจากนั้นก็จะอธิบายให้ประชาชนฟัง


ทั้งนี้​ ผลการศึกษาดังกล่าวน่าจะใช้เวลาประมาณสัก 6 เดือนถึง​1 ปี​ แต่เรื่องของรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต้องทำให้เสร็จก่อนโดยยืนยันว่า​ ปีหน้าได้แน่นอน​

“สำหรับตุ๊กตาที่วางไว้มันมีตั้งแต่ 40 -​ 50 บาท​ต่อวัน​ โดยเป้าหมายจะเก็บในเส้นทางที่มีรถไฟฟ้า เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าแล้ว ยังจะใช้รถส่วนตัว มันก็จะทำให้เกิดมลภาวะ เราก็อาจต้องเรียกเก็บ แต่เราก็จะมีทางเลือกให้กับรถยนต์ด้วย เช่น เราเก็บเส้นสยามพารากอน ประชาชนที่จะผ่านเส้นพารากอน เพื่อไปพระโขนง เขาก็จะเปลี่ยนเส้นทางได้ ไปทางเพชรบุรีหรือพระราม 4 ก็ได้ เราต้องมีทางเลือกให้เขา” นายสุริยะ กล่าว

เมื่อถามเรื่องของการเก็บภาษีรถติดอาจจะต้องทำให้ระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อกันก่อน นายสุริยะ​ กล่าวว่า​ ถูกต้อง ก่อนผลการศึกษาออกมาเราต้องเตรียมระบบขนส่งสาธารณะให้เรียบร้อยก่อน

เมื่อถามว่าการเก็บภาษีรถติดจะกระทบกับภาคธุรกิจในเขตเมืองหรือไม่​ นายสุริยะ​ กล่าวว่า​ รถปิกอัพไม่เก็บ​ เก็บเฉพาะรถเก๋ง​ พร้อมเชื่อว่าหากเปลี่ยนพฤติกรรมจากรถเก๋งไปใช้รถไฟฟ้ามลภาวะไม่มีแน่นอน

-005
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2024 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เก็บค่าธรรมเนียมรถติด หนุนกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า ใครได้ประโยชน์?
สกู๊ปไทยรัฐ - THE ISSUE
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:47 น.

เก็บ‘ภาษีรถติด’!สุริยะขอศึกษา 6 เดือน-1 ปี แย้ม‘รถเก๋ง’ส่อโดนก่อน หาเงินซื้อ‘รถไฟฟ้า’
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.50 น.




เก็บเฉพาะ “รถเก๋ง”50บาท/คัน 6โซนพื้นที่รถติดหนักเข้ากองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้าค่าโดยสาร20บาท
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:26 น.

เปิด 6 โซนรถติดหนักๆ ที่จะเก็บเงินเฉพาะรถเก๋งคันละ 50 บาท เข้ากองทุนซื้อคืนกิจการรถไฟฟ้าจากเอกชนมาเก็บค่าโดยสารทุกสายไม่เกิน 20 บาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม  เปิดเผยว่า  ยังอยู่ระหว่างการศึกษาจัดตั้งกองทุนเพื่อระดมทุนประมาณ 2 แสนล้านบาทในการซื้อคืนกิจการรถไฟฟ้าจากเอกชนกลับคืนมาเป็นของรัฐ เพื่อจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายไม่เกิน  20 บาทตามนโยบาย 

โดยในการระดมทุนส่วนหนึ่งจะมาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจราจรคับคั่ง หรือพื้นที่รถติด (Congestion charge)  เบื้องต้นจะเก็บจากรถเก๋งเท่านั้น และพื้นที่จัดเก็บเป็นโซนตามแนวรถไฟฟ้าและเชื่อมต่อถนนสายหลักให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้รถไฟฟ้าแทนใช้รถส่วนตัว และขับเลี่ยงออกถนนนอกโซนพื้นที่จัดเก็บเพื่อลดปริมาณการจราจรและลดมลพิษคาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน-1 ปี


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)  ศึกษาสำรวจถนนที่มีปริมาณจราจรหนาแน่นประมาณ 700,000 คัน/วัน หากจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯคันละ 50  บาท ประเมินเบื้องต้นจะมีรายได้ประมาณ 35 ล้านบาทต่อวัน หรือ 12,000 ล้านบาทต่อปี มาสนับสนุนกองทุนฯซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าจากเอกชนได้

ทั้งนี้เบื้องต้นสำหรับพื้นที่ 6 โซนที่จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด  ได้แก่

1.ทางแยก เพชรบุรี-ทองหล่อ (ช่วงถนนเพชรบุรี และ ทองหล่อ) มีปริมาณจราจร 60,112 คัน/วัน

2.ทางแยก สีลม-นคราธิวาส (ช่วงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และ ถนนสีสม) มีปริมาณจราจร 62,453 คัน/วัน

3.ทางแยก สาทร-นราธิวาส (ช่วงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และ ถนนสาทร) มีปริมาณจราจร 83,368 คัน/วัน

4.ทางแยก ปทุมวัน (ช่วงถนนพญาไท และ ถนนพระรามที่ 1) มีปริมาณจราจร 62,453 คัน/วัน

5.ทางแยก ราชประสงค์ (ช่วงถนนราชดำริ ถนนพระราม 1 และถนนเพลินจิต) มีปริมาณจราจร 56,235 คัน/วัน

6.ทางแยกประตูน้ำ  (ช่วงถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ และถนนเพชรบุรี) มีปริมาณจราจร 68,473 คัน/วัน... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4000479/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 287, 288, 289  Next
Page 283 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©