RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311803
ทั่วไป:13506298
ทั้งหมด:13818101
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 569, 570, 571, 572  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43454
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2024 10:19 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ- วีริศ” ดันบอร์ดกพอ.ไฟเขียว แก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:00 น.

“สุริยะ” กางแผนคืบหน้าแก้สัญญา “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เผยช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล จ่อตั้งประธานบอร์ดกพอ.คนใหม่ ลุ้นไฟเขียวร่างสัญญาก่อนชงครม.เคาะ จ่อดึงเอกชนเข้าพื้นที่-ตอกเสาเข็ม ภายในปีนี้ ด้าน วีริศ ผู้ว่ารฟท.คนใหม่ ดันเต็มสูบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ปริมาณผู้โดยสารและรายได้จากการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลดลง ส่งผลถึง “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนาบิน”

ที่ยังคงรอการแก้ไขร่างสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด หรือซีพี ที่ปัจจุบันได้ข้อสรุปในหลักการแล้ว พร้อมเข็นร่างสัญญาดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ กพอ.ไฟเขียวทันที

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) หรือ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

ปัจจุบันทราบว่าอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณารายละเอียดแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน เนื่องจากโครงการนี้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

จากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ส่งผลให้มีการแต่งตั้งประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งน่าจะเป็น นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



“ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องรอให้มีการนัดประชุม กพอ.และพิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมทุน จึงจะทราบรายละเอียดของการแก้ไขสัญญาร่วมทุน และมีการพิจารณาก่อนเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป” นายสุริยะ กล่าว

ทั้งนี้ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน คือ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

โดยทางเอกชนยังยืนยันก่อสร้างโครงสร้างร่วมในโครงการรถไฟไทย - จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง

ขณะที่ภาครัฐยังรับเงื่อนไขการสร้างไปจ่ายไป โดยทางเอกชนขอให้ภาครัฐจ่ายค่าที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 119,000 ล้านบาท

โดยให้จ่ายเป็นงวดงานตามที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จากเดิมภาครัฐต้องจ่ายหลังเอกชนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ

สำหรับเงื่อนไขที่เสนอให้รัฐเร่งจ่ายค่าร่วมลงทุนเร็วขึ้น เพื่อไม่ให้รัฐรับความเสี่ยงและการันตีได้ว่าเอกชนรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐไปแล้วจะยังคงดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง

จึงมีข้อตกลงร่วมกันให้เอกชนจัดหาหลักประกันทางการเงิน หรือแบงก์การันตี ในกรอบวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท หลังจากนั้นจะทยอยคืนหลักประกันเมื่อเอกชนส่งมอบงานเป็นงวด

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ในฐานะที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นคู่สัญญาและดูแลโครงการไฮสปีดฯสายนี้ ยังมั่นใจว่าการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนนั้นจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้

คาดว่าจะเห็นความชัดเจนหลังมีการประชุม กพอ. เนื่องจากจากผลการเจรจากับเอกชนก็มีข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน

ดังนั้นเชื่อว่าโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ในเร็วๆ นี้ และในส่วนของ รฟท.ปัจจุบันมีความพร้อมส่งมอบพื้นที่แล้ว

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า พร้อมผลักดันโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินให้เดินหน้าตามแผน โดยภายหลังเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. จะเร่งศึกษารายละเอียดของสัญญาร่วมลงทุน

“หากภาคเอกชนมีประเด็นที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็พร้อมสนับสนุนเต็มที่ เพราะโครงการรถไฟไฮสปีดสายนี้มีความสำคัญต่อการคมนาคม และการท่องเที่ยวอย่างมาก” นายวีริศ กล่าว

“สุริยะ- วีริศ” ดันบอร์ดกพอ.ไฟเขียว แก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า หากการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุม กพอ.

และเสนอไปยัง ครม.พิจารณาแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาฉบับใหม่ และสามารถส่งมอบพื้นที่ พร้อมออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ให้เอกชนได้ภายในปีนี้

นอกจากนี้ในส่วนของ รฟท.พร้อมส่งมอบพื้นที่ตามสัญญา 100% หากโครงการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ก็จะใช้เวลาสร้างราว 5 ปีแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการในปี 2572

เมกะโปรเจ็กต์ หน้า 8 ฉบับที่ 4,030 วันที่ 26 - 28 กันยายน พ.ศ. 2567
https://www.thansettakij.com/business/economy/607572
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46450
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2024 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สุริยะ- วีริศ” ดันบอร์ดกพอ.ไฟเขียว แก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:00 น.

'ไฮสปีดสามสนามบิน' ลุ้น กพอ.ชุดใหม่ เคาะแก้สัญญาร่วมทุน 'ซีพี'
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Wednesday, September 25, 2024 16:33

“สุริยะ” เผยคืบหน้าโครงการไฮสปีดสามสนามบิน ระบุ “ซีพี” ยังยืนยันก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง รอประชุม กพอ.คาดเสนอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ก่อนชง ครม.อนุมัติ ขณะที่การรถไฟฯ พร้อมส่งมอบพื้นที่ 100%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า เนื่องด้วยโครงการนี้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งปัจจุบันทราบว่าอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณารายละเอียดแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน

แต่สืบเนื่องจากมีการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลให้ต้องมีการแต่งตั้งประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งน่าจะเป็น นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องรอให้มีการนัดประชุม กพอ.และพิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมทุน จึงจะทราบรายละเอียดของการแก้ไขสัญญาร่วมทุน และมีการพิจารณาก่อนเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)

อย่างไรก็ดี ตนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน คือ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยทางเอกชนยังยืนยันก่อสร้างโครงสร้างร่วมในโครงการรถไฟไทย - จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ขณะเดียวกัน ภาครัฐยังรับเงื่อนไขการสร้างไปจ่ายไป โดยทางเอกชนขอให้ภาครัฐจ่ายค่าที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 119,000 ล้านบาท โดยให้จ่ายเป็นงวดงานตามที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จากเดิมภาครัฐต้องจ่ายหลังเอกชนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ จากเงื่อนไขที่เสนอให้รัฐเร่งจ่ายค่าร่วมลงทุนเร็วขึ้น เพื่อไม่ให้รัฐรับความเสี่ยง และการันตีได้ว่าเอกชนรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐไปแล้วจะยังคงดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง จึงมีข้อตกลงร่วมกันให้เอกชนจัดหาหลักประกันทางการเงิน หรือแบงก์การันตี ในกรอบวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท และจะทยอยคืนหลักประกันเมื่อเอกชนส่งมอบงานเป็นงวด

นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า กระทรวงฯ ในฐานะที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นคู่สัญญา และดูแลโครงการไฮสปีดเทรนสายนี้ ยังมั่นใจว่าการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนนั้นจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ คาดว่าจะเห็นความชัดเจนหลังมีการประชุม กพอ. เพราะจากผลการเจรจากับเอกชนก็มีข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน ดังนั้นเชื่อว่าโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ในเร็วๆ นี้ และในส่วนของ รฟท.ปัจจุบันมีความพร้อมส่งมอบพื้นที่แล้ว

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เผยว่า ตนพร้อมที่จะผลักดันโครงการไฮสปีดสามสนามบินให้เดินหน้าตามแผน โดยภายหลังเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. จะเร่งศึกษารายละเอียดของสัญญาร่วมลงทุน และหากภาคเอกชนมีประเด็นที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็พร้อมสนับสนุนเต็มที่ เพราะโครงการรถไฟไฮสปีดสายนี้มีความสำคัญต่อการคมนาคม และการท่องเที่ยวอย่างมาก

รายงานข่าวจาก รฟท.ระบุว่า หากการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุม กพอ. และเสนอไปยัง ครม.พิจารณาแล้ว ก็คาดว่าจะลงนามสัญญาฉบับใหม่ และสามารถส่งมอบพื้นที่ พร้อมออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ให้เอกชนได้ภายในปีนี้ โดยในส่วนของ รฟท.พร้อมส่งมอบพื้นที่ตามสัญญา 100% หากโครงการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ก็จะใช้เวลาสร้างราว 5 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2572


"High-Speed Rail for Three Airports" Awaits New EEC Board to Approve Joint Investment Contract Revision with CP Group

Source: Krungthep Turakij Online
Wednesday, September 25, 2024, 16:33


"Suriya" reveals progress on the high-speed rail project connecting three airports, stating that CP Group is still insisting on constructing the overlapping area between Bang Sue and Don Mueang. The EEC board meeting is awaited to propose contract amendments before submission to the cabinet for approval. Meanwhile, the State Railway of Thailand (SRT) is ready to hand over 100% of the required land.

Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, provided an update on the progress of the high-speed rail project linking the three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao). He noted that the project is under the responsibility of the Eastern Economic Corridor (EEC) Office. It is currently awaiting the consideration of details for amending the joint investment contract with the private sector.

Due to the recent formation of the government, a new chairman for the EEC board needs to be appointed, expected to be Deputy Prime Minister and Finance Minister Phichai Chunhavachira. A meeting must be scheduled for the EEC board to review and amend the contract before the proposal is submitted to the cabinet for approval.

Suriya mentioned that the private party involved, Asia Era One Co., Ltd., with CP Group as the major shareholder, has confirmed their intention to proceed with the construction of the joint infrastructure on the Thai-Chinese rail project between Bang Sue and Don Mueang. The government has also agreed to a pay-as-you-go approach, where the government would pay the investment amount of 119 billion baht in installments as the construction progresses, rather than paying after the project’s completion.

The proposed earlier payment schedule aims to mitigate risks for the state and ensure that the private sector continues construction after receiving government subsidies. In return, the private sector must provide financial guarantees or bank guarantees of around 100 billion baht, to be gradually returned as each construction phase is completed.

Suriya is confident that negotiations on the contract amendments will be finalized soon, anticipating clarity after the EEC board meeting. Both sides have reached an agreement on the key issues, suggesting that the project could commence construction soon. The SRT is currently ready to hand over the land.

Mr. Veeris Ammarapala, Governor of the SRT, expressed readiness to push the high-speed rail project forward as planned. After assuming his role as governor, he will review the details of the joint investment contract and support any issues raised by the private sector. He emphasized that this high-speed rail line is crucial for transportation and tourism.

An SRT source reported that if the contract revision is approved by the EEC board and the cabinet, the new contract could be signed, the land handed over, and the Notice to Proceed (NTP) issued to the private sector within this year. If construction begins this year, the project is expected to take about five years to complete, with operations commencing in 2029.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43454
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2024 2:45 pm    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” หารือคมนาคม "ไทย-จีน" อัปเดตไฮสปีด พร้อมชวนจีนหนุนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง สปป.ลาว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:37 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:56 น.

KEY POINTS
1. •*สุริยะ เปิดงาน GSTF 2024: ร่วมหารือพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนกับจีน
2. •*อัปเดตโครงการรถไฟความเร็วสูง: เร่งสร้างเฟสแรกตามแผน
3. •*กระชับความสัมพันธ์ไทย-จีนครบรอบ 50 ปี:
4. •*เชิญชวนจีนร่วมศึกษาสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง: เชื่อม สปป.ลาว-ไทย ไร้รอยต่อ

"สุริยะ" เปิดงาน "GSTF 2024" ร่วมหารือการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนระหว่าง 2 ประเทศ “ไทย-จีน” อัปเดตโปรเจกต์ไฮสปีด เร่งสร้างเฟสแรกให้เสร็จตามแผน กระชับความสัมพันธ์ครบรอบ 50 ปี พร้อมเชิญชวนจีนร่วมหนุนศึกษาสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง เชื่อม สปป.ลาว-ไทย ไร้รอยต่อ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการเปิดงานประชุม Global Sustainable Transport Forum 2024 (GSTF 2024) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ว่า ปัจจุบันการพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืนถือเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศส่งผลให้หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาภัยพิบัติต่างๆ เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไต้ฝุ่นยางิ ที่สร้างความเสียหายต่อมณฑลไห่หนานที่จีน ตลอดจนสถานการณ์น้ำท่วมทางตอนเหนือของไทย ทำให้บ้านเรือนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างมาก ทุกประเทศจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยปกป้องทรัพยากรที่มีคุณค่า

นอกจากนี้ ในงานประชุมดังกล่าวยังกล่าวถึงความร่วมมือในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและจีน เห็นพ้องต้องกันในการผลักดันให้โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน ประสบผลสำเร็จ ซึ่งขณะนี้รถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้ (คุนหมิง) ไปเวียงจันทน์ สปป.ลาว เปิดใช้งานมา 2 ปีแล้ว มีจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากการเชื่อมต่อดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อไปยังไทยได้จะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ



@ ไฮสปีดไทย-จีน เฟสแรก คืบหน้า 35%

นายสุริยะกล่าวว่า ตนยังได้แจ้งให้ฝ่ายจีนทราบว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 35% คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571 และคาดว่าจะเริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ในปี 2568 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ 50 ปี พร้อมกันนี้ ได้ขอให้รัฐบาลจีน พิจารณาให้ความช่วยเหลือการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงจาก สปป.ลาว มายังประเทศไทย เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์โดยเร็ว

@หวังจีนสร้างรถไฟเชื่อม สปป.ลาว-เชียงของ เติมเต็มโครงข่าย

ขณะที่เส้นทางการขนส่งสินค้าระบบรางทางจากเมืองโม่หาน ในจีน ผ่าน สปป.ลาว มายังอำเภอเชียงของ ภาคเหนือของไทย ยังมีเส้นทางส่วนที่ขาดอยู่ใน สปป.ลาว ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งได้ขอให้รัฐบาลจีนพิจารณาก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ เพื่อมาเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟทางคู่ของไทยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงของ คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 4 ปีข้างหน้า เนื่องจากเส้นทางรถไฟจะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะจากจีนตอนใต้ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ที่ท่าเรือระนอง

ส่วนในด้านการคมนาคมของไทยมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการขนส่งที่มุ่งเน้นความสะดวกสบาย (Efficiency) ทั่วถึง (Inclusivity) ปลอดภัย (safe) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green) ผ่านการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานที่สะอาด เช่น พลังงานทางเลือก การปรับเปลี่ยนช่องทางการขนส่งหลักจากถนนสู่ราง และการขนส่งทางน้ำ ในส่วนเขตเมืองมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนไปแล้วกว่า 554 กม. และอยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบทางคู่ เพื่อใช้เป็นช่องทางหลักในการขนส่งสินค้าเพื่อลดการปล่อยมลภาวะ รวมถึงจะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมให้มีการใช้เรือไฟฟ้าในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ อีกทั้งในฐานะประเทศที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะเชื่อมเส้นทางรถไฟของประเทศในภูมิภาคเข้าด้วยกัน



ด้าน นายเหอ หลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ตนมีความประทับใจที่มีรัฐมนตรีด้านการขนส่งจากหลายประเทศมาเข้าร่วมการประชุม GSTF 2024 ในครั้งนี้ พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน ตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (2030) หรือ SDGs เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และด้านสภาพอากาศ ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อให้รับมือได้อย่างเท่าทันสภาวะโลก จีนในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการคมนาคมขนส่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผ่านการส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งที่ยั่งยืนระดับโลก

ในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้จีน และประเทศเพื่อนบ้านให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน โดยยึดหลักการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN (2030) เป็นโอกาสสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่งจากประเทศต่างๆ จะได้ร่วมกันผลักดันการพัฒนาด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนอย่างจริงจัง ร่วมกันสร้างระบบการขนส่งชนบทที่เป็นธรรม ครอบคลุม และยั่งยืน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเดินทางที่ปลอดภัยและสะดวกสบายสำหรับทุกคน

นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วย AI และสร้างเครื่องยนต์ใหม่สำหรับเศรษฐกิจระดับต่ำ (Low-altitude Economy) และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการกำกับดูแลและการตอบสนอง ฉุกเฉิน รวมถึงการสร้างโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทางระบบนิเวศ ก่อเกิดการพัฒนาพลังงานใหม่ที่จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและคาร์บอนต่ำในภาคการขนส่งระดับโลก



ขณะที่ นายอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Mr. Asif Ali Zardari) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน และ Mr. Bishnu Prasad Paudel รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล กล่าวว่า การพัฒนาด้านการขนส่งนั้นมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเหลือให้ประเทศกำลังพัฒนามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และกระจายความเจริญสู่ชนบท การหารือในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งในภูมิภาคให้มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน และนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

นายหลี่ จินหัว (Mr. li Junhua) ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ทุกประเทศได้พยายามผลักดันกันอย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานทางเลือก ภายหลังการประชุม Cop 29 (2024 United Nation Climate Change Conference หรือ Conference of the Parties of the UNFCCC) ซึ่งมีสาระสำคัญและเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 35% ในปี 2030 และ 40% ในปี 2040 จากภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง ซึ่งองค์การสหประชาชาติต้องการผลักดันให้ทั้งรัฐภาคี ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจึงจะเกิดผลสำเร็จ

"สุริยะ" เปิดงาน GSTF 2024 ชวนจีนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:08 น.
อัพเดตล่าสุด :วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:17 น.

"สุริยะ" เปิดงาน "GSTF 2024" ถกแผนพัฒนาขนส่งยั่งยืน เชื่อม 2 ประเทศ “ไทย-จีน” ดึงรัฐบาลจีน ศึกษาสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการเปิดงานประชุม Global Sustainable Transport Forum 2024 (GSTF 2024) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า

การพัฒนาด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนว่า การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน ถือเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศส่งผลให้หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ

ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นอย่างมาก รวมถึงปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อทุกประเทศอย่างไร้พรหมแดน ทุกประเทศจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยปกป้องทรัพยากรที่มีคุณค่า

ขณะเดียวกันในงานประชุมดังกล่าว ยังกล่าวถึงความร่วมมือในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน

ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและจีน เห็นพ้องต้องกันว่า อยากให้โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาวจีนประสบผลสำเร็จ

ขณะนี้รถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้ (คุนหมิง) ไปเวียงจันทน์ สปป. ลาว เปิดใช้งานมา 2 ปีแล้ว มีจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากการเชื่อมต่อดังกล่าว สามารถเชื่อมต่อไปยังไทยได้ จะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ตนยังได้แจ้งให้ฝ่ายจีนทราบว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 35% จะแล้วเสร็จในปี 2571

\"สุริยะ\" เปิดงาน GSTF 2024 ชวนจีนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง

คาดว่าจะเริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ในปี 2568

ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ 50 ปี

"ได้ขอให้รัฐบาลจีน พิจารณาให้ความช่วยเหลือการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง จาก สปป.ลาว มายังประเทศไทย เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์โดยเร็ว" นายสุริยะ กล่าว


ขณะที่เส้นทางการขนส่งสินค้าระบบรางทางจากเมืองโม่หาน ในจีน ผ่าน สปป.ลาว มายังอำเภอเชียง ภาคเหนือของไทย

ขณะนี้มีส่วนที่ขาดหายใน สปป.ลาว ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร (กม.) เบื้องต้นได้ขอให้รัฐบาลจีน พิจารณาก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ในส่วนที่ขาดหายดังกล่าว

เพื่อมาเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟทางคู่ของไทย ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางเด่นชัย-เชียงของ คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 4 ปีข้างหน้า

โดยเส้นทางรถไฟสายนี้จะเป็นประโยชน์กับการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะจากจีนตอนใต้ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ที่ท่าเรือระนอง

นายเหอ หลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ตนมีความประทับใจที่มีรัฐมนตรีด้านการขนส่งจากหลายประเทศมาเข้าร่วมการประชุม GSTF 2024 ในครั้งนี้

พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน

\"สุริยะ\" เปิดงาน GSTF 2024 ชวนจีนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง

ตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาติ (2030) หรือ SDGs เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

และด้านสภาพอากาศซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อให้รับมือได้อย่างเท่าทันสภาวะโลก

จีนในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการคมนาคมขนส่ง จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผ่านการส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งที่ยั่งยืนระดับโลก


สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน

โดยยึดหลักการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาติ หรือ UN (2030) เป็นโอกาสสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

และผู้แทนหน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่งจากประเทศต่างๆ จะได้ร่วมกันผลักดันการพัฒนาด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนอย่างจริงจัง

ร่วมกันสร้างระบบการขนส่งชนบทที่เป็นธรรม ครอบคลุม และยั่งยืน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเดินทางที่ปลอดภัยและสะดวกสบายสำหรับทุกคน

นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วย AI และสร้างเครื่องยนต์ใหม่สำหรับเศรษฐกิจระดับต่ำ (Low-altitude Economy)

และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการกำกับดูแลและการตอบสนองฉุกเฉิน รวมถึงการสร้างโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทางระบบนิเวศ

ก่อเกิดการพัฒนาพลังงานใหม่ที่จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและคาร์บอนต่ำในภาคการขนส่งระดับโลก

\"สุริยะ\" เปิดงาน GSTF 2024 ชวนจีนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง

นายหลี่ จินหัว ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ทุกประเทศได้พยายามผลักดันกันอย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานทางเลือก

ภายหลังการประชุม Cop 29 (2024 United Nation Climate Change Conference หรือ Conference of the Parties of the UNFCCC)

ซึ่งมีสาระสำคัญในการลดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 35% ในปี 2030

และ 40% ในปี 2040 จากภาคอุตสาหกรรมอละการขนส่ง ซึ่งองค์การสหประชาชาติต้องการผลักดันให้ทั้งรัฐภาคี ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจึงจะเกิดผล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43454
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2024 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

เมืองใหม่ที่ห้วยใหญ่นี้ ถ้าจะทำจะเชื่อมกะสถานีรถไฟความไวสูง รถไฟฟ้าชานเมือง และ รถไฟโมโนเรลกันอีท่าไหนหละหว่า
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/869240682018187/?rdid=rsCjRsOgwxWnugck
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46450
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2024 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับเหนือชุมชนรถไฟ สถานีชุมทางแก่งคอย สระบุรี
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Sep 28, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=q-UOPbfyF_U

The elevated high-speed railway over the railway community at Kaeng Khoi Junction Station, Saraburi.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43454
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2024 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

ยก “สถานีรถไฟโคโลญ” ต้นแบบ “สถานีอยุธยา” ใกล้แหล่งมรดกโลก ลุยพัฒนาคู่อนุรักษ์
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:58 น.

“กรมราง” ยก “สถานีรถไฟโคโลญ” เป็นต้นแบบประยุกต์ใช้กับสถานีรถไฟไฮสปีด “อยุธยา” อยู่ห่างมหาวิหารโคโลญ แหล่งมรดกโลก 46 เมตร ยกระดับระบบรางไทย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคู่กับการอนุรักษ์
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ร่วมเยี่ยมชมสถานีรถไฟกลางโคโลญ (Cologne Hauptbahnhof) ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เพื่อศึกษาแนวทางบริหารจัดการสถานีรถไฟโคโลญ ซึ่งเป็นสถานีที่มีความสำคัญ และมีประวัติศาสตร์ยาวนานของเยอรมนี รวมทั้งเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมมหาวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่มรดกโลก เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานทางรางกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเยอรมนี 


โดยมหาวิหารโคโลญ หรือ Kölner Dom เป็นโบสถ์แบบโกธิคที่ตั้งอยู่ในเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี 1996 มีระยะทางจากสถานีรถไฟกลางโคโลญ (Cologne Central Station) ไปยังมหาวิหารโคโลญ ประมาณ 46 เมตร โดยใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 1 นาที อย่างไรก็ตาม การมาศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อยกระดับระบบรางของประเทศไทย โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยควบคู่ไปกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างระบบขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนสำหรับประชาชนชาวไทย 

ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟโคโลญ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการผสมผสานระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ กับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยจะนำแนวคิดที่ได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยต่อไป....
https://www.dailynews.co.th/news/3913352/

"สุรพงษ์"เยี่ยมชม "สถานีรถไฟกลางโคโลญ"ศึกษาแนวทางบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพไฮสปีดไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเส่าร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:27 น.
ปรับปรุง:วันเส่าร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:27 น.

• นายสุรพงษ์ พร้อมคณะ เดินทางเยี่ยมชม Cologne Cathedral และ Cologne Hauptbahnhof ในเยอรมนี
• เป้าหมายการเยี่ยมชมคือเพื่อศึกษาแนวทางบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรางไทย
• Cologne Hauptbahnhof ถือเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดในยุโรป
• การศึกษาแนวทางจากเยอรมนีคาดว่าจะนำไปสู่การปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




"สุรพงษ์"และคณะ เยี่ยมชม Cologne Cathedral และสถานีรถไฟกลางโคโลญ (Cologne Hauptbahnhof) หนึ่งในสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ศึกษาแนวทางบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรางไทย

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะ ผู้บริหารระดับสูงประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยมีนายณัฐพงศ์ ลัทธพิพัฒน์ กงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ให้การต้อนรับ ณ สถานี Cologne Messe/Deutz ก่อนที่จะร่วมเยี่ยมชม Cologne Cathedral และสถานีรถไฟกลางโคโลญ (Cologne Hauptbahnhof) ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป



การเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางบริหารจัดการสถานีรถไฟโคโลญ ซึ่งเป็นสถานีที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ยาวนานของเยอรมนี และได้เยี่ยมชมมหาวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่มรดกโลกเพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานทางรางกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเยอรมนี โดยมหาวิหารโคโลญ หรือ Kölner Dom เป็นโบสถ์แบบโกธิคที่ตั้งอยู่ในเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย ยูเนสโกในปี 1996 มีระยะทางจากสถานีรถไฟกลางโคโลญ (Cologne Central Station) ไปยังมหาวิหารโคโลญ ประมาณ 46 เมตร โดยใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 1 นาที



นายสุรพงษ์กล่าวว่า การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นเพื่อการยกระดับระบบรางของประเทศไทย โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยควบคู่ไปกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างระบบขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนสำหรับประชาชนชาวไทย



ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟโคโลญ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการผสมผสานระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยจะนำแนวคิดที่ได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยต่อไป

https://mgronline.com/business/detail/9670000091384


Last edited by Wisarut on 01/10/2024 3:52 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46450
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/09/2024 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

สตง.ชำแหละ! 4 ต้นเหตุ "ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน" 2.24 แสนล้าน เมกะโปรเจกยุคลุง "ล่าช้า" มหากาพย์ 5 ปี ยังไม่มีตอม่อ
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, September 30, 2024 17:27

สตง.ชำแหละ! "ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน" 2.24 แสนล้าน ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา เปิด 4 ข้อ ต้นเหตุเมกะโปรเจกยุคลุง มหากาพย์ใหม่ 5 ปี ยังไม่มีตอม่อ โยนปมข้อมูลเอกสารร่วมมากทำให้เซ็นล่าช้า-รฟท.ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายเวนคืนรื้อถอนหมู่บ้านหรูได้สำเร็จ ปัญหาลำรางสาธารณประโยชน์มักกะสัน-ศรีราชา การขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งมอบพื้นที่แอร์พอร์ต เรลลิงก์ "พญาไท - สุวรรณภูมิ" ให้คู่สัญญายังไม่สมบูรณ์ ค้นเหตุทำล่าช้ากว่า 3 ปี

วันนี้ (30 ก.ย.2567) มีรายงานจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สตง. ได้เผยแพร่ ผลตรวจสอบการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา

ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุนโครงการมูลค่ารวม 224,544.36 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี โดย บจ.เอเชีย เอรา วัน (กลุ่มซีพี) เป็นผู้รับสัมปทาน ในฐานะที่เสนอราคาขอให้รัฐอุดหนุนต่ำที่สุด

ที่ลงนามสัญญาโครงการตั้งแต่ ปี 2562 ผ่านไป 5 ปี ยังไม่เริ่มการก่อสร้างแม้แต่เสาตอม่อต้นเดียว

ตรวจสอบโดย สำนักตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ 3 ภายใต้ชื่อการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

สตง. ตรวจพบ การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังไม่สามารถเริ่มต้นดำเนินโครงการฯ ได้

โดยล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี 10 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 28 ส.ค. 2567) มีประเด็นปัญหาการดำเนินการในพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟ ช่วง สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา (นอกเมือง)

พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (พื้นที่มักกะสันและ ศรีราชา) และการดำเนินการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการดำเนินการในพื้นที่อื่นล่าช้า กว่าแผนที่กำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การดำเนินการในพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟ ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา (นอกเมือง) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยที่ผ่านมา ภายหลังจากเอกชนคู่สัญญาได้รับเอกสารการส่งมอบพื้นที่ จาก รฟท. เมื่อ 15 ต.ค. 2564 ได้จัดทำแผนร่วมกันสำหรับลงสำรวจพื้นที่

และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูลที่มีจำนวนมากก่อนลงนามในเอกสารการตรวจร่วม และจัดทำบันทึกข้อตกลงที่เอกชน คู่สัญญาตกลงและยินยอมรับมอบพื้นที่ เมื่อวันที่ 7 ม.ย. 2567

"ทำให้การส่งมอบพื้นที่ล่าช้ากว่า แผนที่กำหนดไว้ตามสัญญาร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 7 ม.ย. 2567)"

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหา "การเวนคืนบริเวณหมู่บ้านประชาสุข 6" ที่ รฟท. ยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในการรื้อถอนได้สำเร็จ

และปัญหาเอกชนคู่สัญญาของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มีการปรับเปลี่ยนแผนแม่บท ทำให้ตำแหน่งสถานีและแนวเส้นทางของ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปลี่ยนแปลงไป

2. การดำเนินการในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (พื้นที่มักกะสันและ ศรีราชา) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยที่ผ่านมา รฟท. ส่งมอบพื้นที่ เมื่อ 15 ต.ค. 2564 และ เอกชนคู่สัญญาตกลงและยินยอมรับมอบพื้นที่ เมื่อ 7 ม.ย. 2567

ทำให้การส่งมอบพื้นที่เสร็จสิ้น และสมบูรณ์ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี 8 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 7 ม.ย. 2567) ยกเว้นการจัดหาพื้นที่ทดแทนพื้นที่ส่วนที่เป็นลำรางสาธารณประโยชน์

"โดยต้องให้ได้ข้อสรุปก่อนการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนคู่สัญญา โดยเบื้องต้น จะพิจารณาพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่ TOD เป็นพื้นที่ทดแทน"

ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากเอกชนคู่สัญญาพบว่า ในโฉนดที่ดินมีการระบุลำรางสาธารณประโยชน์ จำนวน 2 ลำราง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ให้เต็มศักยภาพ และการดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย

โดยมีสาเหตุจาก รฟท. ตรวจสอบพื้นที่จากผังกรรมสิทธิ์ ที่อ้างอิงจากพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่มีข้อมูล ครอบคลุมถึงทางสาธารณประโยชน์หรือลำรางสาธารณประโยชน์

เทียบเท่ากับโฉนดที่ดินที่เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนที่จะออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP)

ประกอบกับการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่และความพร้อมของพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ ในรายงาน ผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (ฉบับสมบูรณ์) ยังไม่ครอบคลุมเรื่องกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ TOD

นอกจากนี้ เอกชนคู่สัญญาได้ร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ "บึงเสือดำ" ซึ่งอยู่ภายใน พื้นที่มักกะสัน และเป็นพื้นที่รองรับน้ำและเก็บกักน้ำฝน โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบ และรับทราบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เก็บกักนํ้าทดแทนบึงเสือดําแล้ว

3. การดำเนินการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ยังไม่แล้วเสร็จ เอกชนคู่สัญญามีความเห็นว่าข้อมูลที่สำคัญของโครงการฯ บางส่วนมีความไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถระบุข้อมูลโครงการฯ

เช่น ข้อมูลเรื่องแหล่งเงินกู้ที่คาดว่าจะได้รับ เนื่องจากเอกชนคู่สัญญา ไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินได้ และปัญหาโครงสร้างโยธาร่วมช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทำให้ไม่สามารถระบุแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

โดยปัญหาการจัดหาแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินของเอกชนคู่สัญญา เกิดจากสมมติฐานทางการเงินของโครงการฯ เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีสาเหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสงครามรัสเซีย - ยูเครน

ประกอบกับ ในขณะนั้น รฟท. ก็ยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้เสร็จสิ้นและสมบูรณ์ โดย รฟท. และ เอกชนคู่สัญญาร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยตกลงปรับวิธีการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ (Public Investment Cost: PIC) ทั้งโครงการ จำนวนไม่เกิน 149,650.00 ล้านบาท

โดยรัฐต้องจ่ายเร็วขึ้น จากเดิมกำหนดชำระเงินเมื่อก่อสร้างโครงการฯ แล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการเดินรถของโครงการฯ แล้ว และการแบ่งชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ของเอกชนคู่สัญญาให้แก่ รฟท. จำนวน 10,671.09 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 7 งวด

จากเดิมกำหนดชำระงวดเดียวภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขหลักการหรือเงื่อนไขของโครงการฯ ต่อไป

นอกจากนี้ ปัญหา "โครงสร้างโยธาร่วมช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง" กับ "โครงการรถไฟ ความเร็วสูงไทย - จีน" ซึ่งต้องให้ใช้โครงสร้างร่วมกัน แต่กำหนดความเร็วการเดินรถสูงสุด และมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน

ซึ่งมีสาเหตุเกิดจาก รฟท. ไม่ได้นำรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน มาประกอบการพิจารณาจัดทำโครงการฯ

ทั้งนี้ รฟท. ได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างโยธาร่วมช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง โดยฝ่ายจีนตกลงปรับงาน ออกแบบรายละเอียดความเร็วที่ใช้เดินรถ แต่ต้องให้ฝ่ายจีนพิจารณาก่อนเพื่อรักษาความยืดหยุ่นและ สอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิคของรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน

4. การดำเนินการในพื้นที่อื่นล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด การส่งมอบพื้นที่โครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ (สถานีพญาไท - สถานีสุวรรณภูมิ) ให้เอกชนคู่สัญญายังไม่เสร็จสมบูรณ์และ ครบถ้วน

โดยล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี 10 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 28 ส.ค. 2567) และการส่งมอบพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท - ดอนเมือง) ให้เอกชนคู่สัญญายังไม่เสร็จสิ้นและสมบูรณ์

โดย รฟท. ส่งมอบพื้นที่ และยินยอมให้เอกชนคู่สัญญาสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เมื่อ 30 พ.ย. 2565 แต่ยังไม่เสร็จสิ้นและสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่บางส่วนยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ

และเอกชนคู่สัญญา ยังไม่ตกลงรับมอบพื้นที่ ทำให้ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือน ( 24 ต.ค. 2566 - 28 ส.ค. 2567) รายละเอียดดังนี้

4.1 พื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (สถานีพญาไท - สถานีสุวรรณภูมิ) พบปัญหาการดำเนินการของงานระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ของเอกชนคู่สัญญาล่าช้า โดยสาเหตุเกิดจากเอกชนคู่สัญญาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019

ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และความล่าช้าในการสั่งซื้อและจัดส่ง อุปกรณ์บางรายการ ประกอบกับเอกชนคู่สัญญาขาดบุคลากรที่มีความชำนาญและประสบการณ์ด้าน การจัดเตรียมเอกสารทางเทคนิค

รวมทั้งปัญหาเอกชนคู่สัญญายังไม่ชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ให้แก่ รฟท. อันเนื่องมาจากเอกชนคู่สัญญาประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน และปัญหา การจัดหาแหล่งเงินทุน

4.2 พื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท - ดอนเมือง) พบปัญหาความล่าช้า ในการขอใช้พื้นที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี โดยสาเหตุเกิดจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ถูกเวนคืนในรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการ (ฉบับสมบูรณ์)

ยังไม่ครอบคลุมรายละเอียดของที่ดินมากเพียงพอ จึงต้องชะลอการดำเนินการ ก่อสร้างในบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะได้รับพระบรมราชานุญาต ในส่วนการรื้อย้ายระบบบำบัดน้ำเสีย ของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร บริเวณคลองสามเสน ยังไม่เริ่มต้นดำเนินการ

เกิดจากการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงของ กรุงเทพมหานครมีความล่าช้า โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการ รวมถึงการขยาย ระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณล่าช้า

นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการขอขยายระยะเวลา การดำเนินโครงการ ซึ่งยังไม่เสนอวาระดังกล่าวต่อสภากรุงเทพมหานคร ในขณะที่การรื้อย้ายท่อขนส่งน้ำมันของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด พบว่า การก่อสร้างท่อขนส่งน้ำมันใหม่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

โดยอยู่ระหว่างการทดสอบท่อขนส่งน้ำมันและบ่อวาล์วช่วงสุดท้าย ซึ่งดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากในระหว่างดำเนินการขุดเจาะ บริษัทฯ พบปัญหาอุปสรรคนอกเหนือจากการคาดการณ์

เช่น อุปสรรคฐานรากคอนกรีตใต้ดิน ระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ทำให้ต้องใช้ระยะเวลา ในการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด

ท้ายสุด สตง. สรุปว่า การเริ่มต้นดำเนินโครงการฯ ล่าช้า ทำให้การก่อสร้างและการเปิดให้บริการเดินรถของโครงการฯ ล่าช้า

ส่งผลให้ประชาชนเสียโอกาสในการใช้บริการรถไฟความเร็วสูง และ รฟท. เสียโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเอกชนคู่สัญญาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่อง

การดำเนินกิจการ หรือลงทุนในโครงการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ รวมถึงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่จะต้องชดเชยความเสียหายจากการดำเนินโครงการฯ ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับโครงการอื่น ได้แก่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน

นอกจากนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการฯ ของเอกชนคู่สัญญา โดยการปรับการชำระเงินโดยรัฐต้องจ่ายเร็วขึ้น และการแบ่งชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่ รฟท.ยังไม่ได้รับการชำระจากเอกชนคู่สัญญา

มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนบางส่วนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลงทุนและลดภาระทางการเงินและการคลังของรัฐ และวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงให้เอกชน

อีกทั้งจะทำให้ รฟท. และรัฐเสียโอกาสในการนำเงิน ที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ เพื่อไปใช้สำหรับการบริหารงานหรือดำเนินโครงการอื่น ๆ ที่จำเป็นเร่งด่วน

ทั้งนี้ ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน สตง.ได้มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเชิงป้องกัน เพื่อให้ รฟท. ดำเนินการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการฯ

โดยต้องให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย และให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

อีกทั้ง คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ เพื่อให้โครงการฯ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชน และไม่สูญเสียหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน.


## State Audit Office dissects 4 causes of delay in the 224-billion-baht "High-Speed Train Connecting 3 Airports" project, a 5-year saga with no progress

**Bangkok, 30 September 2024** - The State Audit Office (SAO) of Thailand has released a report detailing the results of its audit of the High-Speed Train Connecting 3 Airports project (Don Mueang - Suvarnabhumi - U-Tapao), undertaken by the State Railway of Thailand (SRT). This 220 km rail project, with a total investment value of 224.544 billion baht and a 50-year concession period, was awarded to Asia Era One Co., Ltd. (CP Group) in 2019 as the bidder requiring the lowest government subsidy. However, five years later, construction has yet to commence.

The SAO's audit reveals that the project is significantly behind schedule, with a delay of at least 2 years and 10 months. The key issues identified are related to land delivery, land ownership documentation, Board of Investment (BOI) promotion applications, and the handover of the Airport Rail Link.

**1. Land Delivery Issues:**

* **Suvarnabhumi - U-Tapao Section:** Land delivery in this section was delayed by 2 years and 8 months due to the concessionaire's extensive time spent reviewing a large volume of data before signing the joint inspection documents.
* **Land Expropriation:** Expropriation of land in the Prachasuk 6 village area has been stalled as the SRT has been unable to enforce demolition orders.
* **U-Tapao Airport Master Plan Changes:** Changes to the U-Tapao Airport and Eastern Aviation City master plan have necessitated alterations to the high-speed rail line's station locations and route.

**2. Land Ownership Documentation Issues:**

* **Makkasan and Sriracha Areas:** Land delivery for these areas, intended to support rail services, was delayed by 2 years and 8 months.
* **Public Canals:** The discovery of public canals within the land deeds, which were not identified in the SRT's initial land surveys, has created obstacles for development.
* **Black Tiger Swamp:** The concessionaire has requested changes to the "Black Tiger Swamp" area within Makkasan, a water retention area, which requires government approval.

**3. Board of Investment (BOI) Promotion Application Issues:**

* **Incomplete Information:** The concessionaire has been unable to provide complete information for the BOI application, including details about loan sources, due to difficulties in securing funding and uncertainties surrounding the shared infrastructure with the Thai-Chinese high-speed rail project.
* **Financial Challenges:** The COVID-19 pandemic and the Russia-Ukraine war have impacted the project's financial assumptions, making it difficult to secure loans.
* **Shared Infrastructure:** Differences in design standards and maximum speeds between the 3 Airports project and the Thai-Chinese high-speed rail project, which will share infrastructure in the Bang Sue - Don Mueang section, have caused further complications.

**4. Airport Rail Link Handover Issues:**

* **Phaya Thai - Suvarnabhumi Section:** Handover of the existing Airport Rail Link to the concessionaire is incomplete and delayed by over 2 years and 10 months.
* **Phaya Thai - Don Mueang Extension:** Handover of this section is also incomplete, with some areas still under construction and the concessionaire yet to accept the delivered areas.
* **Concessionaire Delays:** The concessionaire's work on the Airport Rail Link has been delayed due to the COVID-19 pandemic, supply chain issues, lack of skilled personnel, and financial difficulties.
* **Land Acquisition and Utility Relocation:** Further delays stem from incomplete land acquisition data and delays in relocating a wastewater treatment system and an oil pipeline.

**Impact of Delays:**

* **Loss of Public Service:** The public is deprived of the benefits of the high-speed rail service.
* **Loss of Revenue for SRT:** The SRT is losing potential revenue from the concessionaire.
* **Financial Risks:** Delays increase the risk of financial penalties and losses for both the SRT and the government.
* **Opportunity Costs:** The government may need to accelerate its investment payments and lose the opportunity to allocate funds to other projects.

**SAO Recommendations:**

* The SRT must address the delays, ensuring fairness to both parties involved.
* The project must adhere to the principles of public-private partnerships.
* Public interest must be prioritized to ensure the project's successful completion and operation.

This delay highlights the challenges inherent in large-scale infrastructure projects and the importance of thorough planning, efficient execution, and effective collaboration between public and private sectors.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46450
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/10/2024 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 โคกกรวด-นครราชสีมา ประจำเดือนกันยายน 2567
SPTK กิจการร่วมค้า
Oct 1, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=mEehZIUPcbc

September 2024 progress report for Contract 3-5 of the Thai-Chinese high-speed railway project, covering the Khok Kruat to Nakhon Ratchasima section.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46450
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/10/2024 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

Update HSR Thailand in Sep 2024 from Kaengkhoi to Ayutthaya
Iron Wheels Roaming
Sep 30, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=z00FOHUY3CM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43454
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2024 9:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 โคกกรวด-นครราชสีมา ประจำเดือนกันยายน 2567
SPTK กิจการร่วมค้า
Oct 1, 2024

https://www.youtube.com/watch?v=mEehZIUPcbc

September 2024 progress report for Contract 3-5 of the Thai-Chinese high-speed railway project, covering the Khok Kruat to Nakhon Ratchasima section.


เริ่มรื้อย่านสถานีนครราชสีมาเหลือแต่รางที่จำเป็นเพื่อเริ่มวางรากทำสถานีนครราชสีมาหลังใหม่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 569, 570, 571, 572  Next
Page 570 of 572

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©