Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311898
ทั่วไป:13571314
ทั้งหมด:13883212
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 156, 157, 158
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2024 8:34 am    Post subject: Reply with quote

BTS ติดหล่ม ขาดทุนยับ สายเหลือง-ชมพู ตัวฉุด น่านน้ำธุรกิจใหม่ สูบ ปังหรือพัง?
ผู้จัดการออนไลน์ 8 มิ.ย. 2567 06:43

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ความพยายามสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในเครือ BTS ทั้งรถไฟฟ้า สื่อโฆษณา โลจิสติกส์ อี-วอลเล็ต เพื่อโอกาสทางธุรกิจของตระกูล “กาญจนพาสน์” กลับฉุดให้ BTS ร่วงสู่หุบเหว จากผลประกอบการปี 2566/2567 ที่ขาดทุนกว่า 5 พันล้านบาท ทำให้นักเล่นหุ้นถล่มขาย BTS กดราคาร่วงนิวโลว์ในรอบ 11 ปี กันเลยทีเดียว

ไม่เพียงแต่ตัวแม่ BTS เท่านั้น บริษัทลูกและพันธมิตรธุรกิจที่ BTS ขนเงินไปร่วมลงทุน ต่างทิ้งดิ่งยกแผงเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 หุ้น BTS ร่วงต่ำสุดในรอบ 11 ปี 6 เดือน ราคาปรับตัวลง 4.17% มาอยู่ที่ 4.60 บาท, VGI ลบ 4.00% มาอยู่ที่ 1.44 บาท, RABBIT ร่วง 13.16% มาอยู่ที่ 0.33 บาท, JMART ร่วง 10.40% มาอยู่ที่ 11.20 บาท, JMT ร่วง 8.44% มาอยู่ที่ 14.10 บาท, SINGER ร่วง 16.04% มาอยู่ที่ 7.85 บาท ลดลง 1.50 บาท

การขาดทุนยับเยินจากการขนเงินไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัทต่างๆ เพื่อขยายธุรกิจ จนทำให้เกิดความเสียหาย สะเทือนถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย BTS ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 107,896 ราย ถือว่ามากที่สุดรองจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 1.6 แสนราย โดยผู้ถือหุ้นรายย่อย BTS ส่วนใหญ่แบกหุ้นต้นทุนสูง และ “ติดดอย” อันหนาวเหน็บอยู่แทบทั้งสิ้น

ที่ผ่านมา BTS จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงหลายปีติดต่อกัน นักลงทุนรายย่อยจึงแห่ถือหุ้นลงทุนระยะยาว แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่ประกาศงดจ่ายเงินปันผล เนื่องจากผลประกอบการขาดทุน ซึ่งเป็นการขาดทุนจากการลงทุนในบริษัทย่อย นั่นคือ KEX หรือบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

BTS เข้าไปลงทุนซื้อหุ้น บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย ) จำกัด (มหาชน) ในราคาหุ้นละ 65 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2,247 ล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ทำให้กลุ่มบีทีเอส กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนมากกว่า 20% แต่ทว่าธุรกิจรับส่งพัสดุที่มีการแข่งขันรุนแรง ยอดผู้ใช้บริการลดต่ำลง ทำให้ เคอรี่ ประสบปัญหาการขาดทุน ฉุดผลประกอบการของ บีทีเอส ลดต่ำลงตามไปด้วย และสุดท้าย BTS ตัดใจขายหุ้น KEX ทิ้งไป

หากย้อนกลับไปดูผลประกอบการย้อนหลังของ KEX ปี 2563 รายได้ 18,917 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 18,972 ล้านบาท กำไร 46 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 17,145 ล้านบาท ขาดทุน 2,829 ล้านบาท และปี 2566 รายได้ 11,541 ล้านบาท ขาดทุน 3,880 ล้านบาท

ส่วนผลประกอบการย้อนหลังของ BTS พบว่า ปี 2563 รายได้ 34,947 ล้านบาท กำไร 8,161 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 34,716 ล้านบาท กำไร 4,576 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 25,763 ล้านบาท กำไร 3,825 ล้านบาท ปี 2566 รายได้ 18,018 ล้านบาท กำไร 1,836 ล้านบาท และล่าสุด งบปี 2566/2567 (เมษายน 2566 - มีนาคม 2567) BTS ขาดทุนยับเยิน 5,241 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการขาดทุนของ KEX เกือบ 4,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) หรือ BTS แจ้งผลการดำเนินงานในปี 2566/2567 มีรายได้รวม 24,387 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.0% หรือ 248 ล้านบาท จากปีก่อน

รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยรับ 1,094 ล้านบาท รายได้จากการบริการและการขายที่เพิ่มขึ้น 726 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนจากการเติบโตของรายได้ธุรกิจสื่อโฆษณา และการรับรู้รายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู รวมทั้งรายได้จากการการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แต่ถูกหักลบด้วยการลดลงของรายได้จากการให้บริการรับเหมา 904 ล้านบาท จากโครงการสายสีเหลืองและสายสีชมพูหลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์

ด้านค่าใช้จ่ายรวม เพิ่มขึ้น 24.7% หรือ 4,333 ล้านบาท จากปีก่อน เป็น 21,843 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าและจําหน่ายเงินลงทุนที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) (KEX) จํานวน 4,363 ล้านบาท

บีทีเอส กรุ๊ป บันทึกกําไรจากการดําเนินงานที่เกิดขึ้นเป็นประจําก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจําหน่าย ดอกเบี้ยและภาษี (Recurring EBITDA) จํานวน 8,138 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.1% หรือ 469 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยรับในโครงการรถไฟฟ้า ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF)

แต่กำไรข้างต้น ถูกหักลบจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จากการขยายธุรกิจ บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จํากัด (มหาชน) (TURTLE) และบริษัท แรบบิท แคช จํากัด (RCash) และการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (ผลขาดทุนจากการดําเนินงานที่เพิ่มขึ้นใน KEX และผลขาดทุนจากการดําเนินงานในบริษัท เจ มาร์ท จํากัด (มหาชน) (JMART) และการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนจากการดําเนินงาน ในบริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) (แรบบิท โฮลดิ้งส์)

ทั้งนี้ บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จํานวน 5,241 ล้านบาท ปัจจัยหลักจาก (1) ผลกระทบจากการรับรู้รายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ของผลขาดทุนจากการด้อยค่าและจําหน่ายเงินลงทุนใน KEX (2) การบันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ส่วนใหญ่มาจากแรบบิท โฮลดิ้งส์ ควบคู่กับส่วนแบ่งขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนใน KEX และ (3) ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

สรุปอย่างรวบรัดก็คือ บีทีเอส เอากำไรจากรถไฟฟ้าไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ แล้วขาดทุน จนในหมู่นักลงทุนมีคำพูดกันถึงนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ BTS ว่า “ลงทุนอะไรก็เจ๊ง เก่งแต่ธุรกิจรถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว”
แต่อย่างไรตาม ใช่ว่าธุรกิจรถไฟฟ้าของบีทีเอสกรุ๊ป จะไปได้ดีเสมอไป อาจมีเพียงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่พอไปได้ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ยังคงลุ่มๆ ดอนๆ จากจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าคาด และที่สำคัญคือมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

บล.ทิสโก้ วิเคราะห์ว่า ราคาหุ้นบมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ปรับลดลงถึง 18% หลังประกาศผลประกอบการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ที่ยังคงอ่อนแอ และความกังวลเรื่องเพิ่มทุน ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ของ BTS คือ จำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้าที่ต่ำกว่าคาดในสายสีเหลืองและชมพู ขณะที่มีค่าใช้จ่ายจากการให้บริการมากกว่าที่คิด รวมถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

การขาดทุนจากสายสีเหลืองและสีชมพู ยังจะฉุดกำไรบีทีเอส แต่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดในรายงานผลประกอบการปี 2566/2567 ไปแล้ว เนื่องจากไม่มีการตั้งด้อยค่าเงินลงทุนมากเหมือนปีที่แล้ว รายได้จากการรับจ้างเดินรถ และส่วนแบ่งกำไรจากกองทุน บีทีเอสโกรท ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้โดยสาร รายได้สื่อโฆษณาเติบโต และไม่มีส่วนแบ่งขาดทุนจาก KEX อีก และคาดส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในแรบบิทโฮลดิ้งส์กับ JMART มีแนวโน้มจะลดลง

แต่อย่างไรก็ตาม ทิสโก้ คาดว่ากำไรจะยังคงอ่อนแอ จากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพูที่จะยังขาดทุนจาก Financing Cost ประมาณ 1.6 พันล้านบาท/ปี และต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีกว่าที่จะถึงระดับ Breakeven

ที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับสายสีชมพู เป็นยวดยานที่ช่วยให้การเดินทางไปมาสะดวกสบาย แต่อีกด้านหนึ่งกลับประสบปัญหาอุบัติเหตุเกิดขึ้นซ้ำซาก

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ตอนเช้ามืด ได้เกิดเหตุรางจ่ายกระแสไฟฟ้าของรถไฟสายสีชมพู ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM ในเครือ รถไฟฟ้า BTS หลุดร่วงลงมากระแทกพื้นราบเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ยังผลให้เสาไฟฟ้าด้านล่างหักโค่น และรถยนต์หลายคันได้รับความเสียหาย จนต้องประกาศปิดให้บริการชั่วคราว ถึง 7 สถานี

หลังจากนั้นเพียงสัปดาห์เดียว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ของ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM เกิดอุบัติเหตุล้อยาง ซึ่งเป็นล้อประคองตัวรถหลุดร่วงลงมาใส่ผู้สัญจรไปมาบริเวณถนนเทพารักษ์ หลักกิโลเมตรที่ 3 ทำให้มีรถยนต์ได้รับความเสียหาย 1 คัน แต่โชคดีไม่มีผู้บาดเจ็บ

จากนั้น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม โดยรางนำไฟฟ้าของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองร่วงหล่น เป็นระยะทางยาวถึง 5 สถานี ตั้งแต่สถานีกลันตัน ถึงสถานีสวนหลวง ร.9 รวมเป็นระยะทาง เกือบ 5 กิโลเมตร ทำให้มีรถยนต์ได้รับความเสียหาย 12 คัน และผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้รับบาดเจ็บ 2 คน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการเดินรถและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง หลังเกิดอุบัติเหตุแผ่นเหล็ก (finger plate) และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยึดรางนำไฟฟ้าหลุดร่วง ช่วงระหว่างสถานีกลันตัน ถึงสถานีศรีอุดม ฝั่งมุ่งหน้าสถานีสำโรง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 นั้น

ขณะนี้ทางบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข โดยติดตั้งแผ่น finger plate ใหม่ เปลี่ยน Bolt หรือน็อตยึดแผ่น finger plate กับคานทางวิ่ง (Guideway Beam) ที่มีปัญหา และตรวจสอบน็อตจุดอื่นๆ จำนวน 40,000 ตัว เสร็จเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ ยังติดตั้งระบบเซ็นเซอร์จับความร้อนเพิ่มเติม หากมีปัญหาระบบจะแจ้งเตือนเพื่อหยุดการทำงานป้องกันไม่ให้วัสดุหลุดร่วงลงมาอีก คาดว่าจะเปิดให้บริการเดินรถได้ วันที่ 10 มิถุนายน 2567 โดยเก็บค่าโดยสารอัตราปกติ จากที่ให้ส่วนลด 20% ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขระบบ

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายในเมืองทองธานี เป็นกรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำปูนหล่นใส่รถยนต์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 ได้กำชับให้เพิ่มมาตรการเข้มงวดด้านความปลอดภัย และให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงคมนาคม กำหนดอย่างเคร่งครัด หากเกิดเหตุซ้ำขึ้นอีกจะต้องบันทึกเพื่อตัดแต้มคะแนน และถูกลงโทษตามแต้มที่ถูกตัดไว้ด้วย

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้กลุ่ม BTS ต้องควักเงินทุนจัดการแก้ไข ซ้ำยังต้องลดราคาค่าโดยสารเพื่อเยียวยาจิตใจผู้โดยสาร แถมยังถูกคาดโทษตัดแต้ม เรียกค่าปรับ กระทบกับรายได้ของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) วิเคราะห์ประเด็นกดดันสำคัญมี 3 เรื่องที่ต้องติดตาม นั่นก็คือ

หนึ่ง โครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปัจจุบัน (เขียวเข้ม และเขียวอ่อน) จะหมดอายุในปี 2572 ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ต่ออายุโครงการนี้ และอาจจะทำให้ธุรกิจของ BTS ทั้งเครือ และราคาหุ้นมีโอกาส downside อีก

ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2567 กรุงเทพมหานคร ได้ชำระหนี้ ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ให้กับ BTS สำหรับงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล(E&M) สายสีเขียว และยังมีส่วนค้างจ่ายอีก 2.7 หมื่นล้านบาท จากยอดหนี้ค้างจ่าย รวม 5 หมื่นล้านบาท

สอง จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองต่ำเกินคาด ฝ่ายวิเคราะห์ ประเมินเบื้องต้นว่า จำนวนผู้โดยสารของทั้งสองโครงการจะอยู่ที่ 100,000 คน แต่จำนวนผู้โดยสารในปัจจุบันของสายสีชมพู อยู่ที่ประมาณ 50,000 คน และสายสีเหลืองอยู่ที่ประมาณ 3.5 หมื่นคน

และ สาม ความเสี่ยงจากการลงทุนของ BTS นอกจาก KEX ซึ่งขายทิ้งไปแล้ว BTS ยังรับรู้ผลขาดทุนก้อนใหญ่จากการลงทุนอื่นๆ อีก ได้แก่ SINGER , JMART , RABBIT ซึ่งฝ่ายวิเคราะห์ เคจีไอ คาดว่าการลงทุนของบริษัท จะทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมมี downside อีก

ไม่เพียงแต่ BTS เท่านั้นที่สะเทือน ชิโนไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู เสี่ยงต่อการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 6 ปีนี้ เช่นกัน

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส คาดผลการดำเนินงานของ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท นับเป็นการพลิกกลับมาขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หลังจากการขาดทุนครั้งสุดท้ายในงวดไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนจากการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีผลขาดทุนมากขึ้น จากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR เป็นผู้ชนะประมูล ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง BTS ถือหุ้น 75% , STEC ถือ 15% และ RATCH ถือ 10%

เวลานี้ บีทีเอส ได้ขอเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ในการขอพิจารณาและอนุมัติการโอนทุนสำรองตามกฎหมาย 3,283 ล้านบาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสม ตามงบการเงินเฉพาะกิจการของสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 จำนวน 3,283 ล้านบาท

ทั้งนี้ หลังการโอนทุนสำรองตามกฎหมายเพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมดังกล่าว บริษัทฯ จะไม่มีผลขาดทุนสะสมในงบการเงิน เฉพาะกิจการของบริษัทฯ และจะมีทุนสำรองตามกฎหมายคงเหลือจำนวน 178 ล้านบาท และเสนอขอเพิ่มทุนแบบ PP จำนวน 650 ล้านหุ้น อีกด้วย

ถึงตอนนี้ ในแวดวงนักลงทุนอาจเปลี่ยนมุมมอง BTS เป็นว่า “ลงทุนอะไรก็เจ๊ง ธุรกิจรถไฟฟ้าที่ว่าเก่งก็ไม่ใช่” แล้วรอคอยวันลงจาก “ดอยบีทีเอส” ซึ่งไม่รู้จะใช้เวลาอีกยาวนานแค่ไหน


BTS Faces Major Losses: Yellow and Pink Lines Dragging It Down – Will New Ventures Succeed or Fail?

Manager Online, June 8, 2024, 06:43

Weekend Manager – The BTS Group's attempts to strengthen its various business sectors – including electric trains, advertising media, logistics, and e-wallets – to boost the "Kanjanapas" family business have resulted in significant setbacks. The financial performance for the fiscal year 2023/2024 showed a loss of over 5 billion baht, causing a massive sell-off of BTS shares and driving the stock price to an 11-year low.

Not only has the main company, BTS, suffered, but its subsidiaries and business partners into which BTS has invested heavily are also plunging. As of June 4, 2024, BTS shares hit an 11-year and 6-month low, dropping 4.17% to 4.60 baht. VGI shares fell 4.00% to 1.44 baht, RABBIT dropped 13.16% to 0.33 baht, JMART declined 10.40% to 11.20 baht, JMT decreased 8.44% to 14.10 baht, and SINGER dropped 16.04% to 7.85 baht.

The substantial losses stem from heavy investments in other companies' shares to expand the business, impacting the 107,896 small BTS shareholders, the second-highest number after PTT with over 160,000 small shareholders. Most BTS small shareholders are now stuck with high-cost stocks, enduring significant losses.

Previously, BTS consistently paid high dividends for several years, attracting long-term investors. However, this year marks the first time BTS announced it will not pay dividends due to its financial losses, mainly resulting from its investment in Kerry Express (Thailand) Public Company Limited (KEX).

BTS invested in KEX shares at 65 baht each, totaling approximately 2.247 billion baht in December 2023, making BTS a major shareholder with over 20% stakes. However, fierce competition in the parcel delivery business and declining user numbers caused KEX to incur losses, dragging down BTS's performance. Ultimately, BTS decided to sell its KEX shares.

Reviewing KEX's financial performance: in 2020, it had a revenue of 18.917 billion baht and a profit of 1.405 billion baht. In 2021, the revenue was 18.972 billion baht with a profit of 46 million baht. In 2022, revenue was 17.145 billion baht with a loss of 2.829 billion baht. In 2023, revenue was 11.541 billion baht with a loss of 3.880 billion baht.

For BTS, in 2020, the revenue was 34.947 billion baht with a profit of 8.161 billion baht. In 2021, the revenue was 34.716 billion baht with a profit of 4.576 billion baht. In 2022, the revenue was 25.763 billion baht with a profit of 3.825 billion baht. In 2023, the revenue was 18.018 billion baht with a profit of 1.836 billion baht. The most recent fiscal year 2023/2024 (April 2023 - March 2024) showed a severe loss of 5.241 billion baht, largely due to KEX's almost 4 billion baht loss.

BTS Group Holdings Public Company Limited (BTS) reported a total revenue of 24.387 billion baht for the fiscal year 2023/2024, a 1.0% increase or 248 million baht from the previous year.

The revenue increase came from higher interest income of 1.094 billion baht and a 726 million baht increase in service and sales revenue, supported by advertising media business growth and fare revenue from the Yellow and Pink Line electric trains. However, this was offset by a 904 million baht decrease in construction service revenue from the Yellow and Pink Lines after they commenced commercial service.

Total expenses increased by 24.7% or 4.333 billion baht from the previous year, amounting to 21.843 billion baht. This was mainly due to a one-time impairment and disposal loss on investments in KEX totaling 4.363 billion baht.

BTS Group recorded recurring EBITDA of 8.138 billion baht, a 6.1% increase or 469 million baht from the previous year, primarily from higher interest income from the electric train project and profit sharing from investments in the BTS Rail Mass Transit Growth Infrastructure Fund (BTSGIF).

However, these gains were offset by increased selling and administrative expenses from business expansions in Super Turtle Public Company Limited (TURTLE) and Rabbit Cash Company Limited (RCash), and increased loss sharing from investments in associates (including KEX and JMART), and increased operating losses in Rabbit Holdings Public Company Limited.

BTS reported a net loss attributable to shareholders of 5.241 billion baht, primarily due to (1) one-time impairment and disposal loss on KEX investments, (2) increased loss sharing from investments in Rabbit Holdings and KEX, and (3) increased financial costs.

In summary, BTS's strategy of investing profits from its electric train operations into various businesses has resulted in significant losses. This has led investors to describe Keeree Kanjanapas, the chairman and major shareholder of BTS, as successful only in the electric train business.

However, even the electric train business isn't performing consistently well. The Green Line is doing relatively fine, but the Yellow and Pink Lines are struggling with lower-than-expected passenger numbers and frequent safety issues.

TISCO Securities analyzed that BTS Group Holdings (BTS) stock prices fell by 18% after the weak performance announcement on May 31, 2024, amid concerns about raising capital. Key risk factors for BTS include lower-than-expected passenger numbers on the Yellow and Pink Lines, higher-than-anticipated service costs, and a sluggish economy.

Losses from the Yellow and Pink Lines will continue to weigh on BTS's profits, although the worst may be over as the 2023/2024 financial report shows no major impairment charges like the previous year. Increased revenue from train operations, profit sharing from BTSGIF, and no further losses from KEX are expected. Loss sharing from Rabbit Holdings and JMART is also likely to decrease.

However, TISCO expects profits to remain weak due to the Yellow and Pink Lines' financing costs, estimated at 1.6 billion baht per year, which will take about 3-4 years to reach breakeven.

The Yellow and Pink Lines, while improving travel convenience, have faced repeated accidents.

On December 24, 2023, early in the morning, the power rail of the Pink Line operated by Northern Bangkok Monorail Company Limited (NBM) of the BTS Group fell to the ground over several kilometers, damaging power poles and several cars, leading to the temporary closure of 7 stations.

A week later, a tire from the Yellow Line operated by Eastern Bangkok Monorail Company Limited (EBM) fell, damaging a car on Thepharak Road but causing no injuries.

On March 28, another incident occurred with the Yellow Line when the electric rail fell over a 5-station stretch from Khlong Tan to Suan Luang Rama IX, damaging 12 cars and injuring 2 motorcyclists.

The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) reported that EBM is addressing the issues by installing new finger plates, replacing problematic bolts, and inspecting 40,000 bolts. They are also installing heat sensors to prevent future material falls, with the Yellow Line expected to resume normal operations on June 10, 2024.

The Pink Line extension in Muang Thong Thani also had safety issues, with a concrete spill damaging a car on March 30, 2024. The MRTA has imposed stricter safety measures and penalties for future incidents.

Repeated accidents have forced BTS to spend heavily on repairs, reduce fares to appease passengers, and face fines, impacting company revenues.

KGI Securities (Thailand) highlights three critical issues for BTS:
1. The Green Line extension concession expiring in 2029 without renewal, potentially causing significant downside risk.
2. Lower-than-expected passenger numbers on the Pink and Yellow Lines, currently at 50,000 and 35,000 daily passengers respectively, versus an expected 100,000.
3. Investment risks from other ventures like SINGER, JMART, and RABBIT, expected to continue dragging down overall performance.

Even BTS's partner Sino-Thai Engineering and Construction Public Company Limited (STEC) faces its first loss in six years, attributed to the Yellow Line's lower passenger numbers.

BTS will propose at the 2024 annual shareholders' meeting on July 25, 2024, to transfer 3.283 billion baht from legal reserves to offset accumulated losses, leaving 178 million baht in legal reserves. They also plan to issue 650 million new shares as private placement.

Investors now view BTS as struggling beyond its once-successful electric train business, questioning how long it will take to recover.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2024 2:21 pm    Post subject: Reply with quote


ศาล ปค.สูงสุดสั่ง 'กทม.-กท.ธนาคม' จ่ายหนี้ BTS รถไฟฟ้าสายสีเขียว 1.2 หมื่นล้าน
https://www.youtube.com/watch?v=seEjkmVPLOM


ศาลปกครองสูงสุด สั่งกทม.-กรุงเทพธนาคม จ่ายหนี้ BTSC รถไฟฟ้าสายสีเขียว 1.17 หมื่นล้าน ใน 180 วัน
https://www.youtube.com/watch?v=fGCJY5tlNzc

เปิดไทม์ไลน์หนี้หมื่นล้านบาท ‘บีทีเอสสายสีเขียว’
.
วันนี้ (26 กรกฎาคม) ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ฟ้องกรุงเทพมหานครกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT)
.
โดยพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องทั้งสอง ‘ร่วมรับผิดชำระหนี้’ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง (O&M) ภายในระยะเวลา 180 วัน ประกอบด้วย
.
🚄 ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232 บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้นจำนวน 2,199,091,830.27 บาท
🚄 ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719 บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้นจำนวน 8,786,765,195 บาท
.
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา กทม. ชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ส่วนงานระบบการเดินรถไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ผ่าน KT ไปแล้ว จำนวน 23,312,577,476.49 บาท
.
THE STANDARD สรุปไทม์ไลน์การฟ้องร้องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
https://www.facebook.com/thestandardth/posts/828740549385290
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2024 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

บังคับคดี กทม.จ่ายหนี้ BTS ต้นรวมดอกกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ชงสภา กทม.ของบ
ข่าวทั่วไทยกทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:09 น.

กรมบังคับคดีส่งเอกสารถึง กทม.แจ้งบังคับจ่ายหนี้บีทีเอส คิดต้นรวมดอก ตามกรอบ 180 วัน กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เตรียมชงสภา กทม.ของบ พร้อมเดินหน้ายื่นศาลคลายปม ป.ป.ช.

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึง แนวทางการดำเนินงาน ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เรื่องการชำระหนี้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนที่ 1 และ 2 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ให้กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (บีทีเอสซี) ว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมบังคับคดี ได้ส่งหนังสือแจ้งบังคับให้ กทม.ชำระหนี้คดีบีทีเอส ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เป็นจำนวนเงิน 14,549,303,752 บาท รวมเงินต้นและดอกเบี้ย โดยคิดถึงวันที่ 21 ม.ค.68 หรือ 180 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ขั้นตอนต่อไป สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เตรียมทำเรื่องเสนอที่ประชุมสภา กทม.เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบให้ใช้เงินสะสมจ่ายขาดเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว โดยเสนอของบเต็มตามจำนวนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการตามขั้นตอนแล้วเสร็จและสามารถจ่ายเงินได้เร็ว ก็จะจ่ายตามยอดจริงในเวลานั้น

นายวิศณุกล่าวว่า ขณะเดียวกันได้มีการประชุมหารือกับอัยการสูงสุดเรื่องรายละเอียดของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในประเด็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการชี้มูลความผิดอดีตผู้ว่าฯกทม. กับพวกรวม 13 คน กรณีขยายอายุสัญญาสัมปทานหรือทำสัญญาเพิ่มเติมให้กับบีทีเอสซี ต่อไปอีก
13 ปี ทั้งที่ยังเหลืออายุตามสัญญาเดิมอีก 17 ปี ขณะที่ศาลเห็นว่า ประเด็นดังกล่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่มีการชี้มูลความผิด จึงไม่มีผลต่อสัญญาพิพาทในคดีนี้แต่อย่างใด เข้าใจว่าวันที่ศาลปกครองสูงสุด นั่งบัลลังก์พิจารณาคดีเรื่องหนี้ค่าจ้างเดินรถบีทีเอส อยู่ในช่วงเดือน ส.ค.66 ซึ่งขณะนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่มีการชี้มูลความผิด ต่อมามีข้อเท็จจริงปรากฏว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดประเด็นดังกล่าวไปแล้วเมื่อเดือน ก.ย.66 ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุด โดยที่ประชุมใหญ่ จะมีคำสั่งให้ กทม.ชำระหนี้ เมื่อวันที่ 26 ก.ค.67 ที่ผ่านมา


ทั้งนี้อัยการสูงสุด ในฐานะทนายความมีความเห็นให้ กทม.รวบรวมข้อมูลรายละเอียดตามข้อเท็จจริงทั้งหมดส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อทำเรื่องถึงศาลปกครองสูงสุด พิจารณาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว ส่วนศาลจะรับพิจารณาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2024 9:38 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ชวนร่วมประสบการณ์ SkyTrain Music Fest สุดพิเศษครั้งเเรกในเอเชีย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:45 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:45 น.

บีทีเอส ชวนร่วมประสบการณ์ SkyTrain Music Fest สุดพิเศษครั้งเเรกในเอเชีย!! พร้อมเปิดไลน์อัพ 7 ศิลปิน วันที่ 23-24 พ.ย. 2567

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส นำโดย นายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ และนางสาวนริศรา ศรีสันต์ ที่ปรึกษากลยุทธ์สื่อสารองค์กร พร้อมด้วยคุณอรนุช รุจิราวรรณ ผู้อำนวยการใหญ่ สายงานการขาย บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ชวนผู้โดยสารร่วมประสบการณ์ “SkyTrain Music Fest” ครั้งแรกในเอเชีย กับการจัด Music Fest ในขบวนรถไฟฟ้า



สำหรับ “SkyTrain Music Fest” จะจัดขึ้นในวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2567 นี้ พร้อมเปิดไลน์อัพ ประกาศรายชื่อ 7 ศิลปิน ระดับ A-List ที่จะมาสร้างเซอร์ไพรส์ ได้แก่ 4EVE, ATLAS, BOWKYLION, INK WARUNTORN, JEFF SATUR, NONT TANONT และ THE TOYS ซึ่งผู้ชมสามารถร่วมขบวนไปกับศิลปินที่ชื่นชอบอย่างใกล้ชิด ถือเป็นสุดยอดความร่วมมือครั้งสำคัญของเหล่าพันธมิตร VGI , BTS , Goodthings Happen, ZAAP WORLD ENTERTAINMENT, XOXO Entertainment, LOVEiS ENTERTAINMENT, What The Duck, Warner Music Thailand และ Boxx Music พร้อมเปิดจองบัตร ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ SkyTrain Music Fest และ เพจ รถไฟฟ้าบีทีเอส
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2024 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯ กทม. มั่นใจจ่ายหนี้ O&M ก้อนแรกให้บีทีเอสได้ก่อน 180 วัน
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.15 น.


ผู้ว่าฯ กทม. มั่นใจจ่ายหนี้ O&M ก้อนแรกให้บีทีเอสได้ก่อน 180 วัน พร้อมตั้งคณะกรรมการร่วมกทม. - เคที - บีทีเอส เคลียร์หนี้ O&M ก้อนที่ 2-3

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า วันนี้ทางนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้ามาหารือกับกรุงเทพมหานคร
หรือกทม. ในเรื่องของภาระหนี้รถไฟฟ้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งขณะนี้ทางกทม.มีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายอยู่ทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่



1) ส่วนที่ 1 ยอดหนี้ค่าเดินรถ และซ่อมบำรุง หรือ O&M ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่
26 ก.ค. 2567 ที่ให้กทม.และกรุงเทพธนาคม หรือ เคที ร่วมกันชำระให้กับบีทีเอสเป็นเงินจำนวนกว่า
11,755 ล้านบาท ภายใน 180 วัน (หากชำระหนี้ในวันที่ 21 มกราคม 2568 หรือครบ 180 วันจะต้องชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 14,549 บาท) อย่างไรก็ตามยอดหนี้ O&M ส่วนที่ 1 ได้มีการนำเรื่องเข้าสู่สภา กรุงเทพมหานคร( สภา กทม.) เพื่อขออนุมัติใช้เงินสะสมจ่ายขาดมาดำเนินการแล้ว พร้อมกับตั้งคณะกรรมการวิสามัญมาพิจารณาเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ตามกรอบระยะเวลา 180 วัน หรือเร็วกว่านั้น ดังนั้นหนี้ในส่วนแรกไม่น่าจะมีปัญหา

ADVERTISEMENT



2) ยอดหนี้ O&M ส่วนที่ 2 (ระหว่าง เดือนมิถุนายน 2564 - ตุลาคม 2565) ที่ฟ้องอยู่ในศาลชั้นต้น
ประมาณ 11,811 ล้านบาท และยอดหนี้ O&M ส่วนที่ 3 (ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2565 - มิถุนายน 2567) ประมาณ 13,513 ล้านบาท ซึ่งหนี้ทั้ง 2 ก้อนนี้ ทางกทม. เคที และบีทีเอส ได้มีข้อตกลงว่าจะตั้งคณะกรรมการ
มาทำงานร่วมกัน ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งเรื่องการดำเนินการ และวิธีการจ่ายหนี้ รวมถึงเรื่องที่ค้างอยู่ในศาลปกครอง และยังไม่มีคำพิพากษาออกมา

3) ส่วนที่ 4 เป็นยอดหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นั่นคือยอดหนี้ O&M ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยาย
ที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ต้องมีการจ่ายวันที่ 20 ของทุกเดือน ประมาณ800 ล้านบาท และมีการเก็บค่าโดยสารมาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบันเรายังไม่ได้จ่ายต่อไปให้ทางบีทีเอส ดังนั้นหากเคทีจ่ายมาก่อนได้ก็จะช่วยบรรเทาภาระของทางบีทีเอส ซึ่งในเรื่องนี้ทางฝ่ายบริหารจะรีบไปดำเนินการ
และพิจารณา โดยเฉพาะเรื่องในอนาคต ที่มีสัญญาต่อถึงปี 2585 ที่สำคัญหนี้ในส่วนนี้ยังไม่เคยมีการนำเข้าหารือกับทางสภา กทม. ดังนั้นเพื่อความถูกต้อง ต้องนำเรื่องหนี้ก้อนนี้ ให้คณะกรรมการของสภา กทม. พิจารณาด้วย เพื่อให้การจ่ายหนี้มีความรอบคอบ และรวดเร็วมากขึ้น


"ยอมรับว่าส่วนตัวเห็นใจทางบีทีเอส เพราะตนใช้บริการทุกวัน และเห็นพนักงานมีภาระค่าใช้จ่าย แต่ทางกทม.ก็ต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตามระเบียบ ดังนั้นต้องพยายามหาทางออกร่วมกัน และต้องขอบคุณบีทีเอส ที่ยังเดินรถต่อเนื่อง" นายชัชชาติ กล่าว

ด้าน นายคีรี กล่าวว่า จากการหารือวันนี้ ท่านผู้ว่าฯ กทม. มีความเข้าใจถึงความเดือดร้อนของทางบริษัทฯ ที่เสียสละเดินรถทุกวัน แม้ยังไม่ได้รับค่าจ้างเดินรถ รวมทั้งท่านได้กล่าวว่าจะพยายามเข้าใจทุกกระบวนการ จึงต้องขอขอบคุณท่าน

ผู้ว่าฯ กทม. และคณะทำงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางบริษัทฯ จะได้รับการชำระเงินก้อนนี้ได้เร็วที่สุด เพื่อเราจะได้นำมาพัฒนาการให้บริการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2024 2:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ว่าฯ กทม. มั่นใจจ่ายหนี้ O&M ก้อนแรกให้บีทีเอสได้ก่อน 180 วัน
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.15 น.



"คีรี-ชัชชาติ" ชื่นมื่น ปิดดีลหนี้ BTS 1.4 หมื่นล้าน
https://www.youtube.com/watch?v=4qAxM6aIvgI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2024 10:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า BTS รุ่น CNR Model ( EMU-B ) ที่กำลังอยู่ในการทดสอบระบบเดินรถภายในโรงงานผลิตขวนรถไฟฟ้าโดยบริษัท CRRC Changchun Railway Vehicles ณ เมืองฉางชุน ประเทศจีน
.
ซึ่งเป็นภาพก่อนที่เตรียมการส่งมอบให้ประเทศไทย
เพื่อรองรับการให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ส่วนต่อขยายช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน - บางหว้า
.
โดยรุ่น CNR Model ได้มีการส่งมอบ 2 ชุด
ชุดที่ 1 คือ EMU-B1 จำนวน 12 ขบวน หมายเลข 36-47
เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2553
ชุดที่ 2 คือ EMU-B2 จำนวน 4 ขบวน หมายเลข 48-52
เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2554
https://www.facebook.com/krungthepMK/posts/558778396514556
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2024 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ทช.ร่อนหนังสือแจ้ง กทม.ชำระหนี้ค่าใช้พื้นที่ ก่อสร้างรถไฟฟ้า”สีเขียว-สีทอง”เกือบ 200 ล้านบาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:40 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:40 น.

• กรมทางหลวงชนบท เรียกเก็บค่าเช่าจาก กทม. เกือบ 200 ล้านบาท
• ค่าเช่าใช้พื้นที่เขตทางตามกฎกระทรวง
• พื้นที่ใช้สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีทอง และสถานีจ่ายไฟฟ้า
• แนวถนนราชพฤกษ์ และถนนกรุงธนบุรี
• เริ่มเรียกเก็บค่าเช่าตั้งแต่ปี 2565 จำนวน 3 จุด




กรมทางหลวงชนบท ส่งหนังสือถึงกทม. แจ้งชำระหนี้ค่าเช่าใช้พื้นที่เขตทางตามกฎกระทรวง แนวถนนราชพฤกษ์และ ถนนกรุงธนบุรี ก่อสร้างรถไฟฟ้า”สายสีเขียวและสีทอง”และสถานีจ่ายไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2565 จำนวน 3 จุด ยอดรวมเกือบ 200 ล้านบาท

นายพิชิต หุ่นศิริ รองอธิบดี (ด้านบำรุงทาง) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ประกาศกฎกระทรวงกําหนดค่าใช้เขตทางพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2565 ซึ่ง ทางทช.ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลการใช้พื้นที่เขตทาง เพื่อดำเนินการจัดเก็บค่าเช่าตามกฎกระทรวงฯ ซึ่งพบว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการขอใช้พื้นที่เขตทางของทช. จำนวน 3 จุด บริเวณถนนราชพฤกษ์ และ ช่วงสะพานสาทร เพื่อใช้ในการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากสถานีกรุงธนบุรี -สถานีบางหว้าและระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน

ad

สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วง จากสถานีกรุงธนบุรี -สถานีบางหว้า กทม.มีการใช้พื้นที่เขตทางถนนราชพฤกษ์ ซึ่ง ตามกฎกระทรวงฯ คิดค่าใช้พื้นที่เขตทางต่อตารางเมตร ที่อัตรา 1,600 บาท ต่อตรม. แต่เนื่องจากในเงื่อนไขเป็นระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ประชาชนเข้าถึงได้ โดยเสียค่าบริการ ให้ส่วนลด 50% ทำให้อัตราค่าเช่าอยู่ที่ 64,698,400 บาทต่อปี โดยมีการค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน (เดือนก.ย.2567) รวมวงเงินประมาณ 177,523,800 บาท

2.อาคารสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย บริเวณสถานีบางหว้า พื้นที่เกาะกลาง ถนนราชพฤกษ์ ประมาณ 2,000 ตรม.อัตรา 100 บาทต่อ ตรม.รวมค่าเช่า 200,000บาทต่อปี ได้รับส่วนลด 50% เหลือ ประมาณ 140,000 บาทต่อปี ค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน วงเงินกว่า 400,000 บาท

3.ค่าเช่าพื้นที่เขตทาง สำหรับก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงถนนกรุงธนบุรี เชื่อมต่อถนนเจริญนคร วงเงิน 12.59 ล้านต่อปี ลด 50% เหลือ 6,295,200 บาทต่อปี ค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบันวงเงินเกือบ 20 ล้านบาท



“ก่อนหน้านี้ ทางกทม.ได้ขอใช้พื้นที่ชั่วคราว เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีทอง ซึ่งทช.อนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยสงวนสิทธิ์ สามารถขอพื้นที่คืนได้ กรณี ทช.ต้องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวสำหรับ การก่อสร้างถนนตามวัตถุประสงค์การเวนคืนที่ดิน ต่อมาเมื่อกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ให้จัดเก็บค่าเช่าใช้พื้นที่ ทช.จึงได้ทำหนังสือถึงกทม.สอบถามถึงการใช้พื้นที่จำนวนเท่าไร เพื่อนำมาคำนวนอัตราค่าเช่าใช้เตตทาง และล่าสุด ทช.ได้มีหนังสือแจ้งกทม.เพื่อเรียกเก็บค่าเช่าช้าเขตทางตามระเบียบและขั้นตอนแล้ว ซึ่งกทม.ยังไม่ได้ชำระเข้ามาแต่อย่างใด”


กรมทางหลวงชนบท ทวงเงิน กทม. 200 ล้าน ติดค่าใช้พื้นที่เขตทางถนนราชพฤกษ์ทำ BTS บางหว้า
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันเสาร์ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:01 น.

นายพิชิต หุ่นศิริ รองอธิบดี (ด้านบำรุงทาง) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ.2564 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2565 ทาง ทช.ได้ตรวจสอบข้อมูลการใช้พื้นที่เขตทาง เพื่อจัดเก็บค่าเช่าตามกฎกระทรวงฯ พบว่า กทม. มีการขอใช้พื้นที่เขตทางจำนวน 3 จุด บริเวณถนนราชพฤกษ์ และช่วงสะพานสาทร เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสานได้แก่ 1.พื้นที่เขตทางถนนราชพฤกษ์ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากสถานีกรุงธนบุรี -สถานีบางหว้า ซึ่งตามกฎกระทรวงฯคิดค่าใช้พื้นที่เขตทางอัตรา 1,600 บาท ต่อ ตรม. แต่เนื่องจากในเงื่อนไขเป็นระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ประชาชนเข้าถึงได้ โดยเสียค่าบริการ ให้ส่วนลด 50% ทำให้อัตราค่าเช่าอยู่ที่ 64,698,400 บาทต่อปี โดยมีการค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน (เดือน ก.ย.2567) รวมวงเงินประมาณ 177,523,800 บาท 2.กทม.ก่อสร้างอาคารสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบริเวณสถานีบางหว้า พื้นที่เกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ค่าเช่า 100 บาท ต่อ ตรม. ลด 50% คิดเป็นเงิน 140,000 บาทต่อปี ค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน วงเงินกว่า 400,000 บาท 3.ค่าเช่าพื้นที่เขตทางสำหรับก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงถนนกรุงธนบุรี เชื่อมต่อถนนเจริญนคร วงเงิน 12.59 ล้านต่อปี ลด 50% เหลือ 6,295,200 บาทต่อปี ค้างชำระตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบันวงเงินเกือบ 20 ล้านบาท

นายพิชิตกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทาง กทม.ได้ขอใช้พื้นที่ชั่วคราวเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีทอง ซึ่ง ทช.อนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยสงวนสิทธิ์สามารถขอพื้นที่คืนได้ ต่อมาเมื่อกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ให้จัดเก็บค่าเช่าใช้พื้นที่ ทช.จึงได้ทำหนังสือถึง กทม.สอบถามถึงการใช้จำนวนพื้นที่ เพื่อคำนวณอัตราค่าเช่าใช้เขตทาง และแจ้ง กทม.เพื่อเรียกเก็บค่าเช่าใช้เขตทางไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ กทม.ยังไม่ได้ชำระแต่อย่างใด.
.


Last edited by Wisarut on 22/10/2024 6:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2024 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ลุยศึกษาเดินรถสายสีเขียว เผยสัญญาเปิดบีทีเอสยื่นเจรจาต่อสัมปทาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:37 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05:37 น.

KEY POINTS
• กทม. ตั้งงบประมาณปี 68 จ้างที่ปรึกษาศึกษาแบบเดินรถสายสีเขียว (เส้นทางหลักไข่แดง) หลังบีทีเอสหมดสัญญาสัมปทาน ธ.ค. 72
• กทม. เปิดเงื่อนไขเดิม ให้บีทีเอสยื่นเจรจาต่อสัญญาได้ภายใน ธ.ค. 67
• กทม. จ้างศึกษา PPP ต่อขยายสายสีเขียวช่วง "บางหว้า - ตลิ่งชัน"




กทม.ตั้งงบปี 68 จ้างที่ปรึกษา ศึกษารูปแบบเดินรถสายสีเขียว เส้นทางหลักไข่แดง หลังบีทีเอสหมดสัญญาสัมปทาน ธ.ค.72 เปิดเงื่อนไขเดิม ให้สิทธิ์รายเดิมยื่นเจรจาต่อสัญญาได้ภายในธ.ค.67 และจ้างศึกษา PPP ต่อขยาย”บางหว้า-ตลิ่งชัน”

นายวิษณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่าขณะนี้ กทม.ได้มอบให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางหลัก สายสุขุมวิท หมอชิต-อ่อนนุชและสายสีสม สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งปัจจุบันมี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานโครงการ ซึ่งเริ่มให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2542 ระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยจะสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 4 ธ.ค.2572 นั้น




โดยกทม.ตั้งงบประมาณปี 2568 วงเงิน 27,680,000 บาท สำหรับว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังหมดสัญญาสัมปทาน 30 ปี ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาดำเนินการ 270 วัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) จัดจ้างที่ปรึกษา คาดว่าทีโออาร์ จะแล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค. นี้ และเปิดประกวดราคาเดือน พ.ย. ลงนามสัญญาจ้างเดือนธ.ค.2567

ทั้งนี้ เงื่อนไขสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางหลัก นั้น ระบุให้สิทธิ์เอกชนคู่สัญญา กรณีต้องการต่อสัญญาสัมปทานการเดินรถ สามารถยื่นแสดงความจำนงสนใจ ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี และก่อนหมดสัญญาและต้องเจรจาให้แล้วเสร็จสัมทปาน 3 ปี ซึ่งขณะนี้สัญญาจะครบ 5 ปี ในเดือนธ.ค. 2567 ซึ่งหากเอกชนต้องการใช้สิทธิ์ต่อสัญญาเดินรถต่อต้องทำหนังสือส่งให้กทม.ภายในกำหนด ขณะที่ยังมีเรื่องสัญญาจ้างเอกชนเดินรถหลังหมดสัญญาสัมปทานเส้นทางหลัก รวมต่อส่วนต่อขยาย 1 และ 2 ไปจนถึงปี 2585 ดังนั้น การจะให้เอกชนรายใหม่เข้ามา จึงเป็นเรื่องยาก กทม. จึงมีเหตุผลและเงื่อนไข กรณีหากมีการเจรจากับเอกชนรายเดิม

“ในทางคู่ขนานกทม.จึงต้องจ้างที่ปรึกษา เร่งศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถในรอบใหม่ เพื่อรองรับกรณีหากมีการเจรจาเกิดขึ้น โดยดำเนินการตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯปี 2556) กำหนดจั้นตอน เมื่อเสร็จแล้วต้องเสนอกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าจะต่อสัญญาให้เอกชนรายเดิมหรือไม่ หรือเห็นชอบรูปแบบอื่นๆ“ นายวิษณุ กล่าว



@จ้างศึกษา PPP สีเขียวต่อขยายช่วง”บางหว้า-ตลิ่งชัน”

นอกจากนี้เตรียมจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ตอนที่ 3 ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ (PPP) ระยะเวลา 290 วัน งบประมาณทั้งหมด 24.8 ล้านบาท
บาท ใช้งบปี 68 จำนวน 12.4 ล้านบาท และงบผูกพันปี 69 จำนวน 12.4 ล้านบาท อยู่ระหว่างร่างทีโออาร์ คาดว่าขบวนการจัดจ้างแล้วเสร็จพร้อมได้ตัวบริษัทที่ปรึกษาภายในเดือนธ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2024 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสขยายบริการถึงตี 2 รองรับงาน Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:37 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:37 น.

340
KEY POINTS
- BTS ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2 เพื่อรองรับการจัดงานวิ่ง Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024
- การขยายเวลาให้บริการนี้มีผลในวันที่ 10 มิถุนายน 2567
- การขยายเวลาให้บริการจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักวิ่งและผู้ชม
- BTS ยังได้จัดเตรียมแผนการให้บริการพิเศษเพิ่มเติมเพื่อรองรับการจัดงาน




บีทีเอสขยายเวลาให้บริการถึงตี 2 รองรับจัดงาน Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024

นางสาวนริศรา ศรีสันต์ ที่ปรึกษากลยุทธ์สื่อสารองค์กร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอนส่งเสริมการท่องเที่ยว “ วิ่งผ่าเมือง ครั้งที่ 7 ” รายการ Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024 presented by TOYOTA วันที่ 1 ธ.ค. 2567 ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมกรีฑาโลก ให้เป็นการแข่งขันมาราธอนในเมืองหลวงอันดับต้น ๆ ของโลก โดยในครั้งนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันถึง 33,712 คน จาก 77 ประเทศทั่วโลก และอีกหนึ่งความพิเศษของการจัดงานในปีนี้

ad

คือการได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ พระราชทานถ้วยรางวัล จำนวนทั้งสิ้น 8 รางวัล นอกจากนี้ยังแบ่งการแข่งขันเป็นกลุ่มอายุต่าง ๆ โดยมีถ้วยรางวัลให้ชิงชัยกันทั้งสิ้น จำนวน 221 รางวัล รวมเงินรางวัล 2,440,500 บาท

ทั้งนี้รถไฟฟ้าบีทีเอสจะอำนวยความสะดวกให้กับนักวิ่งในระยะทาง 42.195 กม. และ 21.1 กม. ที่มีจุดปล่อยตัว บริเวณหน้าศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ด้วยการขยายเวลาให้บริการในคืนวันที่ 30 พ.ย.2567 ถึงวันที่ 1 ธ.ค.2567 ในเวลา 02.00 น. พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ประจำสถานีสยาม (CEN) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ให้อำนวยความสะดวก และดูแลรักษาความปลอดภัยผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวด



โดยรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนสุดท้ายจะให้บริการตามตารางเส้นทางเดินรถดังนี้
สายสีลม
• ต้นทางสถานีบางหว้า (S12) ออกเวลา 01:30 น. ถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) เวลา 01:55 น.

สายสุขุมวิท
• ต้นทางสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (N17) ออกเวลา 01:20 น. ถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) เวลา 01:55 น.
• ต้นทางสถานีสำโรง (E15) ออกเวลา 01:20 น. ถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) เวลา เวลา 01:55 น.

สำหรับลานจอดแล้วจร (สถานีหมอชิต) จะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่เดินทางไปร่วมกิจกรรมงานวิ่ง และต้องการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าไปยังพื้นที่จุดปล่อยตัว สามารถเช็กสถานะตารางเวลารถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายของแต่ละสถานีได้ที่ Application : THE SKYTRAINs หรือห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 156, 157, 158
Page 158 of 158

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©