RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312001
ทั่วไป:13618620
ทั้งหมด:13930621
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 571, 572, 573 ... 578, 579, 580  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2024 8:52 am    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ผู้ว่าฯการรถไฟคนใหม่มาโคราช นายวีริศ อัมระปาล คนโคราชยินดีต้อนรับครับ
รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย เริ่มก่อสร้างช่วงแรกจากกรุงเทพถึงนครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 179,413 ล้านบาท
อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 80 บาท บวกกิโลเมตรละ 1.83 บาท ตัวอย่างเช่น:
- กรุงเทพ-อยุธยา: 195 บาท
- กรุงเทพ-สระบุรี: 278 บาท
- กรุงเทพ-ปากช่อง: 393 บาท
- กรุงเทพ-นครราชสีมา: 535 บาท
โครงการนี้จะช่วยพัฒนาการคมนาคมและเศรษฐกิจระหว่างกรุงเทพและภาคอีสาน คาดว่าจะเปิดใช้การได้ในปี 2572
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/841271171503083
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2024 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

อลังการ อัพเดตรถไฟความเร็วสูง ช่วงเชียงรากน้อย อยุธยา สัญญาที่ 4-3 ล่าสุดไปไวมากแล้วจ้า
nanny official
Oct 11, 2024

งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-3 ช่วงเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


https://www.youtube.com/watch?v=Rc7_GoL14M8

Contract 4-3 of the Thai-Chinese High-Speed Railway construction project, specifically the section located in Chiang Rak Noi, Bang Pa-in District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province


อัพเดทงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย Update on Thai high-speed rail construction work
รถไฟไทยสดใส
Oct 12, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=IkGkpxXaBDs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/10/2024 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

EEC แก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน | เศรษฐกิจInsight 14 ต.ค.67
TNN
Oct 14, 2024

บอร์ด EEC ยอมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รฟท. เตรียมออก NTP ทันที เผย 9 เดือนดึง 5 คลัสเตอร์ ลงทุนได้ถึง 12 โครงการ มูลค่า 135,000 ล้านบาท


https://www.youtube.com/watch?v=GHFYo9lwmUQ


"พิชัย" เรียกประชุมด่วน ทุบ "รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน" ต้องเสร็จใน 5 ปี
TOP NEWS LIVE
Oct 14, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=cJKO5C0xYwQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2024 10:45 am    Post subject: Reply with quote

กพอ.เร่งปรับข้อสัญญา ดันรถไฟฟ้าอีอีซีเสร็จ
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567 เวลา 13:43 น.

กพอ. งัด 5 ข้อเสนอ ดันโครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี ลุยปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุน หวังรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดได้ภายใน 5 ปี

14 ต.ค. 2567 – นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่า กพอ. ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องสำคัญ ดังนี้ เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น

ประกอบด้วย 1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท. ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา 3. กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป


4. การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้ และ 5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

ทั้งนี้ ที่ประชุม กพอ. มีมติให้ สกพอ. ดำเนินการนำเสนอหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ใน 5 ประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา และนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนำเสนอ กพอ. และ ครม. เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญาอีกครั้ง ก่อนคู่สัญญาจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขต่อไป
https://www.thaipost.net/economy-news/673658/

ฉลุย! แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน บอร์ดอีอีซีไฟเขียว เร่งชง ครม.ใน ต.ค.นี้ - ซี.พี.วางแบงก์การันตีเพิ่มกว่า 1.7 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 13:44 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 14:02 น.

- บอร์ดอีอีซีเห็นชอบหลักการแก้สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
- เปลี่ยนวิธีจ่ายเงิน และเอกชนวางหลักประกันเพิ่ม 1.6 แสนล้านบาท
- แบ่งจ่ายเงินให้ ARL พร้อมหลักประกัน
- คาดเสนอครม.ภายในตุลาคมนี้ เริ่มก่อสร้างมกราคม 2568
- บอร์ดอีอีซีไฟเขียว ยกเลิกสิทธิ์ร่วมทุน”การบินไทย”พัฒนา MRO
- สกพอ.พร้อมเปิดประมูลหาผู้ร่วมทุนใหม่ คาดได้ตัวภายในธันวาคมนี้




บอร์ดอีอีซี เห็นชอบหลักการ แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เปลี่ยนวิธีจ่ายเงิน เอกชนวางหลักประกันเพิ่ม 1.6 แสนล้านบาท แบ่งจ่าย ARL พ่วงหลักประกัน ชง ครม.ใน ต.ค.นี้ เริ่มก่อสร้าง ม.ค. 68 พร้อมไฟเขียว ยกเลิกสิทธิ์ร่วมทุนการบินไทยพัฒนา MRO สกพอ.พร้อมเปิดประมูล ได้ตัวใน ธ.ค.นี้

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

ad

1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม จ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ แล้ว รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน รวมเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนเป็น จ่ายเป็นงวด ตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท. ) ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท (สำหรับค่างานโยธาและค่าระบบรถไฟฟ้า) เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2. กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก 
ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ

3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น


นายจุฬากล่าวว่า ที่ประชุม กพอ. มีมติให้ สกพอ. ดำเนินการ โดยคาดนำเสนอหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ใน 5 ประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนต.ค. 2567 เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา ก่อนนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา จากนั้น ให้ นำเสนอ กพอ. และ ครม. อีกครั้ง เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญา คาดว่าจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขได้ภายในเดือนธ.ค. 2567 และออก NTP ให้เริ่มงานได้ไม่เกินเดือนม.ค. 2568



@ไฟเขียวยกเลิกสิทธิ์ร่วมทุน "การบินไทย" พัฒนา MRO

นอกจากนี้ ที่ประชุม กพอ. ยังเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา จากการที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ไม่สามารถเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภาได้ และ สกพอ. เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานของประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของช่างอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจำเป็นต้องขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่อไปให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

กพอ.จึงมีมติเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้ยกเลิกการเป็นโครงการร่วมลงทุนตามที่ ครม. อนุมัติไว้ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และให้ สกพอ. ดำเนินการจัดหาผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เพื่อดำเนินกิจกรรมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 และ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การเช่าที่ดินราชพัสดุที่ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2562 ต่อไป โดย สกพอ. จะนำเสนอให้ ครม. รับทราบมติ กพอ. ดังกล่าว และพิจารณายกเลิกมติ ครม. วันที่ 30 ตุลาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

“MRO อู่ตะเภา บนพื้นที่ 210 ไร่ โดย เมื่อครม.เห็นชอบ ยกเลิกมติครม. ปี 61 อีอีซีจะนำพื้นที่มาเปิดหาเอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ประกอบการโครงการ MRO ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ระเบียบ อัตราค่าเช่ากำหนดไว้แล้ว และเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผู้ประกอบการน้อยราย จะใช้วิธีเปิดให้ผู้สนใจให้เข้ามายื่นข้อเสนอ ซึ่งทราบว่าการบินไทยมีความสนใจ MRO และจะเป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับการเชิญเช้าร่วมยื่นข้อเสนอ โดยตั้งเป้าว่าจะสรุปผลในเดือนธ.ค.2567 เพื่อให้เริ่มงานในต้นปี 2568”



@รับทราบคืบหน้า ยื่นลงทุนเพิ่ม 12 โครงการกว่า 1.3 แสนล.

นายจุฬากล่าวอีกว่า ที่ประชุม กพอ. ยังได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 4 โครงการใหญ่ และการชักชวนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ เศรษฐกิจ BCG และบริการ โดยในช่วงตั้งแต่มกราคม 2566 ถึงกันยายน 2567 สกพอ. ได้ดำเนินการชักชวนนักลงทุน 139 ราย โดยมีนักลงทุนที่สนใจการลงทุนใน 5 กลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าวและได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) รวม 35 ราย จำนวน 36 โครงการ มีการยื่นข้อเสนอโครงการฯ เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอีอีซีแล้ว จำนวน 12 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 135,000 ล้านบาท
Mongwin wrote:
EEC แก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน | เศรษฐกิจInsight 14 ต.ค.67
TNN
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567

บอร์ด EEC ยอมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รฟท. เตรียมออก NTP ทันที เผย 9 เดือนดึง 5 คลัสเตอร์ ลงทุนได้ถึง 12 โครงการ มูลค่า 135,000 ล้านบาท

https://www.youtube.com/watch?v=GHFYo9lwmUQ


"พิชัย" เรียกประชุมด่วน ทุบ "รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน" ต้องเสร็จใน 5 ปี
TOP NEWS LIVE
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567

https://www.youtube.com/watch?v=cJKO5C0xYwQ


Last edited by Wisarut on 15/10/2024 5:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2024 12:09 pm    Post subject: Reply with quote


สุดอลังการ งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงสถานีเชียงรากน้อย สัญญาที่ 4-3 ชมคลิปอัพเดต⬇️
https://www.youtube.com/watch?v=Rc7_GoL14M8
งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-3 ช่วงเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อัพเดตล่าสุด เป็นอีก 1 ในจุดที่ก่อสร้างที่ค่อนข้างคืบหน้าที่สุดในตอนนี้แล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=523478346983547&id=100079641581769
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2024 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

ชงแก้สัญญา “ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน” เข้าครม. ปลายต.ค.นี้

ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:07 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:16 น.

รองนายกฯ “พิชัย ชุณหวชิร” แย้มแก้ไขสัญญา ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน คาด 2 สัปดาห์ เสนอเข้า ครม. ไฟเขียวแก้ 5 ประเด็นใหญ่ หลังผ่านเรื่องบอร์ดอีอีซี เรียบร้อย
วันนี้ (15 ตุลาคม 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท ได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมกพอ. เกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนแล้ว คาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์นี้จะเสนอเข้ามายังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้

“ไทม์ไลน์ขณะนี้ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูก่อน ซึ่งปกติ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์บวกลบ จึงจะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.ได้ โดยยังไม่ขอเปิดเผยในรายละเอียด ขอเวียนดูความเห็นของแต่ละกระทรวงก่อน” นายพิชัย ระบุ


ก่อนหน้านี้ บอร์ดกพอ. ได้มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุน เพื่อผลักดันให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นโครงการสำคัญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ดังนี้

1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) : จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท. ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท

โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน


เปิด5 เงื่อนไข แก้ไขสัญญาไฮสปีด 3สนามบิน บนพื้นฐานรัฐไม่เสียประโยชน์
2. กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) : โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ

3. กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม : หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4. การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) : โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมด

5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น : จากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น
Wisarut wrote:
กพอ.เร่งปรับข้อสัญญา ดันรถไฟฟ้าอีอีซีเสร็จ
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567 เวลา 13:43 น.

https://www.thaipost.net/economy-news/673658/

ฉลุย! แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน บอร์ดอีอีซีไฟเขียว เร่งชง ครม.ใน ต.ค.นี้ - ซี.พี.วางแบงก์การันตีเพิ่มกว่า 1.7 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 13:44 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 14:02 น.

- บอร์ดอีอีซีเห็นชอบหลักการแก้สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
- เปลี่ยนวิธีจ่ายเงิน และเอกชนวางหลักประกันเพิ่ม 1.6 แสนล้านบาท
- แบ่งจ่ายเงินให้ ARL พร้อมหลักประกัน
- คาดเสนอครม.ภายในตุลาคมนี้ เริ่มก่อสร้างมกราคม 2568
- บอร์ดอีอีซีไฟเขียว ยกเลิกสิทธิ์ร่วมทุน”การบินไทย”พัฒนา MRO
- สกพอ.พร้อมเปิดประมูลหาผู้ร่วมทุนใหม่ คาดได้ตัวภายในธันวาคมนี้

Mongwin wrote:
EEC แก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน | เศรษฐกิจInsight 14 ต.ค.67
TNN
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567

บอร์ด EEC ยอมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รฟท. เตรียมออก NTP ทันที เผย 9 เดือนดึง 5 คลัสเตอร์ ลงทุนได้ถึง 12 โครงการ มูลค่า 135,000 ล้านบาท

https://www.youtube.com/watch?v=GHFYo9lwmUQ


"พิชัย" เรียกประชุมด่วน ทุบ "รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน" ต้องเสร็จใน 5 ปี
TOP NEWS LIVE
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567

https://www.youtube.com/watch?v=cJKO5C0xYwQ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2024 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

อีอีซีคึก! แก้สัญญาไฮสปีด3สนามบินฉลุย ลงนาม ธ.ค.67 ชงครม.ไฟเขียว ลุยตอกเข็ม
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:26 น.
อัปเดตล่าสุด : วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:40 น.
อีอีซีคึก!แก้สัญญาไฮสปีด3สนามบินผ่านฉลุย ลงนามธ.ค.67 หลัง บอร์ดEEC ไฟเขียวชงครม. ทบทวนมติ ครม. 27 มีนาคม 2561 ภายในเดือนต.ค. 67 พร้อม ออก NTP ให้เริ่มงานได้ไม่เกินเดือนม.ค. 2568
รัฐบาลเร่งรัดการลงลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานรัฐซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่แม่เหล็กสำคัญดึงดูดภาคเอกชนทั้งไทยและต่างชาติขนเม็ดเงินเข้าลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีด 3 สนามบิน ระยะทาง220 กิโลเมตร มูลค่า2.24แสนล้านบาท

เชื่อมการเดินทางผ่าน3สนามบินหลักดึงนักลงทุน ดีเวลอปเปอร์ภาคอสังหาริมทรัพย์นักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ตลอดจนเชื่อมการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจใจกลางกรุงเทพมหานครที่มีบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี คู่สัญญา การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เป็นผู้รับสัมปทาน หลังรอคอยมานาน ไม่ต่ำกว่า6ปีใน3รัฐบาล

ผ่านฉลุยแก้สัญญาไฮสปีด
ผ่านฉลุยแก้สัญญาไฮสปีด





นับตั้งแต่ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลักดัน ต่อยอดอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่พัฒนา กว่า30ปี ที่จะเปิดประตูการค้าและการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิกโดยมีรถไฟความเร็วสูงเป็นเรือธง

ที่มีแนวคิด พัฒนา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสนับสนุนการเดินทางการขนส่งสินค้าและเป็นปัจจัยบวกต่อการท่องเที่ยวเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ เข้าสู่ เมืองอีอีซีไม่เกิน 60 นาที มีรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ PPP Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี


แบ่งเป็น ออกแบบและก่อสร้าง 5 ปี และระยะเวลาดำเนินการ 45 ปี ซึ่งผู้ชนะประมูลได้สิทธิบริหารโครงการระยะทาง 220 กิโลเมตร รวมการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีมักกะสัน 150 ไร่ รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา 25 ไร่ และดูเหมือนการเดินหน้าลงทุนจะไปได้ดี

จากสถานการณ์โควิดส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อธุรกิจการลงทุน รวมถึงโครงการขนาดใหญ่อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จึงนำมาสู่การแก้ไขสัญญา โดยรัฐผ่อนคลายกฎกติกามากขึ้นเพื่อให้โครงการเดินต่อได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทซ ซึ่งรัฐบาลเศรษฐา ได้ให้ความสำคัญและสานต่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แต่ ต้องเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเสียก่อน และต่อมาได้สานต่อโดยรัฐบาลแพทองธาร

ล่าสุด พื้นที่อีอีซีน่าจะคึกคักขึ้นเมื่อ นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)

โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม.ภายในเดือนต.ค. 2567


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
1 เดือนที่แล้ว
เริ่มงานวันแรก "วีริศ" ผู้ว่ารฟท. ลุยนโยบายไฮสปีด-ล้างหนี้ 2.3 แสนล้าน
20 วันที่แล้ว
“สุริยะ- วีริศ” ดันบอร์ดกพอ.ไฟเขียว แก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน
19 วันที่แล้ว
"สนข." ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
7 วันที่แล้ว
“วีริศ” ผู้ว่ารฟท. เช็คความคืบหน้าไฮสปีด-รถไฟทางคู่ รุกอุตสาหกรรมระบบราง
5 วันที่แล้ว
ทะลวงงบปี 68 ปูพรมระบบรางไฮสปีด-ทางคู่ ลุย 44 โปรเจ็กต์ ลงทุน 2.31 ล้านล้าน
เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา ก่อนนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา จากนั้น ให้ นำเสนอ กพอ. และ ครม. อีกครั้ง เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญา คาดว่าจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขได้ภายในเดือนธ.ค. 2567 และออก NTP ให้เริ่มงานได้ไม่เกินเดือนม.ค. 2568

สำหรับ 5 ประเด็น การแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท. ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรกณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ

3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

“ที่ประชุม กพอ. มีมติให้ สกพอ. ดำเนินการนำเสนอหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ใน 5 ประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา และนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนำเสนอ กพอ. และ ครม. เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญาอีกครั้ง ก่อนคู่สัญญาจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47077
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2024 9:07 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อีอีซีคึก! แก้สัญญาไฮสปีด3สนามบินฉลุย ลงนาม ธ.ค.67 ชงครม.ไฟเขียว ลุยตอกเข็ม
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:26 น.
อัปเดตล่าสุด : วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:40 น.

ลุยแก้สัญญาไฮสปีดเทรน นับ1ใหม่ลุ้น'แบงก์ไทย-เทศ'ปล่อยกู้
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, October 16, 2024 04:57

บอร์ดอีอีซีปลดล็อกเคาะ 5 ข้อตกลงแก้ไขสัญญา "ไฮสปีด" เชื่อม 3 สนามบิน ลุ้นนับหนึ่งใหม่ หลังโครงการสะดุดมา 5 ปี ด้านรองนายกฯพิชัยเผยเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 2 สัปดาห์ ต้องพิจารณาความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน แบงก์พาณิชย์ไทยชี้โครงการเสี่ยงสูง ยังไม่ได้ตัดสินใจร่วมวงปล่อยกู้ เผยโจทย์สำคัญอยู่ที่ "แหล่งเงิน" ลุ้นแบงก์ต่างชาติรับความเสี่ยง ได้หรือไม่ วงในจี้รัฐตอบ 3 ปมแก้สัญญา หวั่นรัฐต้องรับความเสี่ยงกรณีผู้โดยสารไม่เป็นไป ตามเป้า ให้จับตาราคาที่ดิน EEC พุ่งขึ้นตามแนวคอมมิวนิตี้ สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา-สัตหีบ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่าการลงทุน 224,544 ล้านบาท ที่เซ็นสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท เอเซีย เอราวัณ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 หรือเกือบ 5 ปีมาแล้ว โดยที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างโครงการ มีเพียง การเข้าไปบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ได้เต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการ ทั้งการระบาดของโควิด-19 การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า การติดเงื่อนไขการขอรับส่งเสริมการลงทุน (BOI) มาบัดนี้เริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้น หลัง 2 ฝ่ายเจรจาขอแก้ไขสัญญา อันจะนำไปสู่การพิจารณาของสถาบันการเงิน ที่จะปล่อยกู้โครงการนี้

ปลดล็อก 5 เรื่องใหญ่

ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม ปรากฏที่ประชุมมีมติ "เห็นชอบ" หลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็นด้วยกัน คือ

1) วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ ร.ฟ.ท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลัก ประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็น จำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกัน ว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (ร.ฟ.ท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2) กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระ

3) กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% ร.ฟ.ท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4) การ "ยกเว้น" เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำ "บันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ" เพื่อให้ ร.ฟ.ท.สามารถออก NTP ได้ทันที เมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

และ 5) การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

"หลังจากบอร์ด EEC มีมติให้ปรับแก้ไขสัญญา ไทม์ไลน์ขณะนี้ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูก่อน ซึ่งปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์บวกลบ จึงจะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ ส่วนรายละเอียดในการแก้ไขสัญญานั้น ขอยังไม่เปิดเผยในรายละเอียดตอนนี้ เพราะต้องรอดูความเห็นของแต่ละกระทรวงก่อน"
เลขาฯอีอีซีรับโครงการล่าช้า

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินดำเนินการล่าช้ากว่าแผน และเอกชนผู้ชนะ การประมูล (เอเซีย เอราวัณ)ได้ขอแก้ไข สัญญา ซึ่งทาง EEC ได้ทำการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด ล่าสุดในการประชุม กพอ.ได้เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ส่วนการจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน NTP น่าจะออกให้ได้ภายในปี 2567 และสามารถเริ่มโครงการก่อสร้างได้ภายในปี 2568 เนื่องจากการดำเนินงานในส่วนอื่น ๆ เช่น การเวนคืน การเคลียร์พื้นที่ การรื้อท่อก๊าซ สายไฟ ตามเส้นทางที่จะก่อสร้างรางของรถไฟฟ้าได้ทยอยดำเนินการไว้แล้ว และคาดรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะเปิดให้บริการในปี 2572

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวเข้ามาว่า ทางบริษัท เอเซีย เอราวัณ จะยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ใหม่ หลังพ้นกำหนดเส้นตายที่ขยายเวลายื่นขอรับส่งเสริมมาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยการยื่นขอ BOI ใหม่จะเป็นการยื่นแทนการรับสิทธิประโยชน์จาก EEC

ด้าน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การแก้ไขสัญญาที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นเพราะทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายรัฐในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนก็ส่งให้ไม่ได้ ในส่วนของเอกชนก็มีความผิดจึงมีการคุยกันเพื่อโครงการนี้เดินให้ได้ "โครงการนี้เป็น โครงการยุทธศาสตร์ เรื่องเชื่อม 3 สนามบิน มีความจำเป็นก็เลยมีความตกลงกัน โดยหลักการเดิมสร้างเสร็จแล้วค่อยจ่าย โดยรัฐบาลจะจ่าย 10 งวด ทีนี้ก็เปลี่ยนเป็นว่า ให้ก่อสร้างไปจ่ายไป

ดังนั้นการที่ก่อสร้างไปจ่ายไป ทางด้าน CP ก็ต้องไปหาแบงก์วางค้ำประกันการันตีก่อน เพราะฉะนั้น เท่ากับว่าพอก่อสร้างแล้ว รัฐเป็นคนจ่ายเงิน ส่วนหนึ่งก็ตกเป็นของรัฐ

จับตาราคาที่ดินพุ่ง

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวถึงการปรับแก้ไขสัญญาว่า ตามสัญญาร่วมลงทุนเดิมไม่สามารถจะเดินต่อได้ เนื่องจากหลังจากเหตุโควิดในปี 2563 และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภาวะสงครามรัสเซีย- ยูเครน ทำให้ Demand ของผู้โดยสารและค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ความเป็นไปได้ (Feasibility) ของโครงการจากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนเริ่มโครงการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีสาระสำคัญ กล่าวคือ ทำให้ความเป็นไปได้ที่ธนาคารจะสามารถให้กู้เงินมาทำโครงการ (Bankable) "น้อยลงมาก" จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักการโครงการ เพื่อให้มีความเป็นไปได้ทางการเงินมากขึ้น เพียงพอที่จะทำให้โครงการหาแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

การแก้ไขสัญญาครั้งนี้ ประโยชน์ของภาคเอกชนก็คือ จะทำให้สามารถกู้เงินมาทำโครงการได้ง่ายขึ้น ในอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไป สามารถเริ่มโครงการได้หลังจากที่ชะลอมานานหลายปี ขณะที่ภาครัฐ จะสามารถประหยัดเงินที่ต้องจ่ายไปให้เอกชนในอนาคตไปประมาณ 26,000 ล้านบาท

ด้าน นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สาเหตุของการที่รัฐยอมแก้ไขสัญญา คาดว่าเป็นผลมาจากการกำหนดไว้ในแผนตั้งแต่แรกเริ่มต้นโครงการที่จะมีการพัฒนาตาม สถานีรถไฟใหญ่ ๆ ให้เป็น "คอมมิวนิตี้" เช่น สถานีฉะเชิงเทรา สัตหีบ และในขณะนี้ทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้นเป็นเท่าตัว จากนั้นภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างเตรียมผุดโครงการขึ้นตามเส้นทางรถไฟ ซึ่งเชื่อว่าด้วยเหตุนี้น่าจะเป็นอีกเหตุผลที่ต้องเร่งให้เกิดการก่อสร้าง โดยไม่ต้องกลับไปนับ 1 ใหม่ด้วยการหาผู้ชนะการประมูลด้วยรูปแบบ PPP

"โครงการนี้ทำแล้วมันไม่คุ้มทุนกับที่ลงทุนไป จะเอาแค่เรื่องค่าตั๋วมาเป็นรายได้ มันไม่คุ้มอยู่แล้ว แต่แผนของรัฐบาลคือ ต้องการพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทางรถไฟ นี่จึงเป็นที่มาว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กว้านซื้อที่ทำราคาที่แพง แต่พอโครงสะดุดแผนจะทำอสังหาริมทรัพย์มันก็ต้องชะลอไปด้วย" นายอิศเรศกล่าว
แบงก์ชี้โครงการเสี่ยงสูง

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศแห่งหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้ธนาคารยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดการแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามสัญญาใหม่มากนัก แต่จากเดิมโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ธนาคารจึงระมัดระวังในการเข้าร่วม เนื่องจากเป็นโครงการที่มีมูลค่าลงทุนค่อนข้างสูงหลักแสนล้านบาท และเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงไปยังโครงการอื่นร่วมด้วย จึงต้องพิจารณาหลายส่วนก่อนตัดสินใจเข้าร่วม

เช่น การเชื่อมโยงกับโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา หากโครงการไม่สามารถสร้างได้แล้วเสร็จและไม่สามารถลิงก์ไปยังสนามบินได้ จะมีผลต่อการใช้บริการไฮสปีด ซึ่งจะกระทบต่อประมาณการรายได้อย่างแน่นอน ส่งผลให้โครงการมีความเสี่ยงสูงที่รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถการชำระหนี้ในอนาคต ทำให้ธนาคารจึงมองว่าเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ดี หากมีการปรับแก้สัญญาใหม่บนหลักการพิจารณาเข้าร่วมปล่อยสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่มูลค่าสูง ก็จะต้อง ดูความเป็นไปได้ของโครงการและโครงการเกี่ยวเนื่อง จะต้องเป็นโครงการที่มีรายได้ชัดเจนและมีความสามารถในการชำระคืนในอนาคต ซึ่งแหล่งเงินทุนในการเข้าร่วมอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การปล่อยสินเชื่อร่วม (Syndication Loan) และระดมทุนผ่านวิธีอื่น ๆ เป็นต้น แต่เบื้องต้นอาจจะต้องขอดูรายละเอียดสัญญาที่ออกมาให้ชัดเจนก่อนจะพิจารณาเข้าร่วมหรือไม่

"โครงการนี้มีการประมูลและเซ็นสัญญามานาน 5-6 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถเจรจาผลประโยชน์กันได้ ก็มีการแก้ไขสัญญากันมาเรื่อย เพื่อให้ ผู้ลงทุนคุ้มประโยชน์ที่สุด แต่ในแง่ของแบงก์ในการปล่อยแหล่งเงินทุนจะต้องดูความเสี่ยงรอบด้าน เพราะเป็น Project Connect ค่อนข้างเยอะ หากส่วนใดส่วนหนึ่งทำไม่ได้ตามเป้าหมายก็เป็นความเสี่ยง แต่เชื่อว่าโครงการนี้ผู้ลงทุนอาจจะใช้วงเงินกู้จากแบงก์ต่างประเทศ โดยเฉพาะแบงก์จีน เพราะกลุ่ม ซี.พี.แหล่งเงินในประเทศอาจเต็มเพดานกู้ตามเกณฑ์แล้ว"
จี้รัฐตอบ 3 ปมแก้สัญญา

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินอีกแห่งกล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญของโครงการไฮสปีด คือ "แหล่งเงิน" ที่ผู้ลงทุนไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินได้ ประกอบกับการเกิดโควิด-19 ทำให้สถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนไป ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาที่เกิดขึ้น รัฐต้องตอบคำถาม 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) สัญญาที่แก้ไขจาก PPP (Public Private Partnership) เป็น PIC (Public Investment Cost) นั้น "ใครจะเป็นผู้รับความเสี่ยง" ในกรณีที่จำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามประมาณการ ซึ่งเดิมจะเป็นเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยง แต่หากแก้สัญญาแล้ว รัฐต้องรับความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล

2) โครงการไฮสปีดยังคุ้มค่าที่จะลงทุนอยู่หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมีโครงการรถไฟทางคู่จากลาดกระบังไปอู่ตะเภา ที่หากจะพัฒนานำรถไฟความเร็วปานกลางมาวิ่งเพื่อขนส่งคน ก็คาดว่าจะลงทุนเพิ่มน้อยกว่าทำไฮสปีด และ 3) เมื่อการแก้ไขสัญญาใหม่เช่นนี้ ควรจะต้องเปิดประมูลใหม่หรือไม่ "3 ประเด็นสำคัญนี้ รัฐควรจะต้องตอบคำถาม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความเสี่ยง ว่าใครจะรับความเสี่ยง ในกรณีผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า" แหล่งข่าวกล่าว

ธุรกิจลุ้นอานิสงส์

ด้านนายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า หากโครงการสามารถดำเนินการแก้ไขสัญญาได้สำเร็จตามที่ตั้งไว้ จะเป็นบวกกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแถบ EEC เช่น กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากจะช่วยให้มูลค่าที่ดินสูงมากขึ้น รวมถึงพื้นที่ในสนามบินอู่ตะเภาจะมีความพร้อมมากขึ้น จากเดิมที่โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดีมากนัก ซึ่งจะเป็นบวกกับ บางกอกแอร์เวย์ส, สเตคอน กรุ๊ป ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภา ขณะที่กลุ่มรับเหมายังไม่มั่นใจว่า CP จะจ้างใคร หากเป็นผู้รับเหมาจีน ธุรกิจไทยอาจจะได้ประโยชน์ไม่มากนัก "มองว่าโครงการน่าจะขับเคลื่อนไปได้ เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วยในการเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ และเป็นโครงการที่ระยะเวลาที่ยาวนาน 5-6 ปีแล้ว ควรจะมีความคืบหน้ามากขึ้น"

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 - 20 ต.ค. 2567


The Eastern Economic Corridor (EEC) board has approved five key revisions to the contract for the high-speed rail project connecting three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao). The project has faced delays for five years, hindered by issues like COVID-19, land acquisition delays, and challenges with investment incentives. The revisions aim to unlock funding from Thai and foreign banks, though domestic banks remain cautious due to the project's high risk.

The new contract terms include staggered payments, adjustments to public investment costs, revenue-sharing provisions, and guarantees from private investors. The government will propose these revisions to the Cabinet within two weeks. The construction is expected to begin in 2025, with the railway service projected to start by 2029.

However, concerns remain over who will bear the risk if passenger numbers do not meet targets. Some financial experts suggest that international banks, particularly Chinese banks, may be more likely to support the project. The real estate sector, especially in the EEC zone, anticipates rising land prices due to the development along the railway route.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2024 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
อีอีซีคึก! แก้สัญญาไฮสปีด3สนามบินฉลุย ลงนาม ธ.ค.67 ชงครม.ไฟเขียว ลุยตอกเข็ม
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:26 น.
อัปเดตล่าสุด : วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:40 น.

ลุยแก้สัญญาไฮสปีดเทรน นับ1ใหม่ลุ้น'แบงก์ไทย-เทศ'ปล่อยกู้
Source - ประชาชาติธุรกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 04:57 น.


ลิงก์มาแล้ว
ลุยแก้สัญญาไฮสปีดเทรน นับ 1 ใหม่ลุ้น “แบงก์ไทย-เทศ” ปล่อยกู้
เศรษฐกิจในประเทศ
ประชาชาติธุรกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:02 น
บอร์ดอีอีซีปลดล็อกเคาะ 5 ข้อตกลงแก้ไขสัญญา “ไฮสปีด” เชื่อม 3 สนามบิน ลุ้นนับหนึ่งใหม่หลังโครงการสะดุดมา 5 ปี ด้านรองนายกฯพิชัยเผยเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 2 สัปดาห์ ต้องพิจารณาความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน แบงก์พาณิชย์ไทยชี้โครงการเสี่ยงสูง ยังไม่ได้ตัดสินใจร่วมวงปล่อยกู้ เผยโจทย์สำคัญอยู่ที่ “แหล่งเงิน” ลุ้นแบงก์ต่างชาติรับความเสี่ยงได้หรือไม่ วงในจี้รัฐตอบ 3 ปมแก้สัญญา หวั่นรัฐต้องรับความเสี่ยงกรณีผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า ให้จับตาราคาที่ดิน EEC พุ่งขึ้นตามแนวคอมมิวนิตี้ สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา-สัตหีบ...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1674386
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43879
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2024 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ตอกเสาเข็มอู่ตะเภา ต้นปี 68 เฟสแรก 1 แสนล้าน จ่อตัดอุโมงค์ไฮสปีดให้รัฐสร้าง
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 04:29 น.

เร่งเครื่องตอกเสาเข็มสนามบินอู่ตะเภา ต้นปี 68 UTA แจงครบ 5 ปีตามสัญญาต้องลงทุน เปิดเฟสแรก 1 แสนล้านบาท อีอีซี หารือรฟท.-เอเชีย เอรา วัน ตัดเนื้องานสร้างอุโมงค์ลอดใต้รันเวย์เข้าอาคารผู้โดยสาร ออกจากสัญญาร่วมทุน ให้รัฐสร้างเอง หากรถไฟความเร็วสูงยังไม่ชัดเจนในสิ้นปีนี้
เร่งเครื่องอู่ตะเภาตอกเสาเข็ม ต้นปี 2568
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพันธมิตรผู้คว้าประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการลงทุนในโครงการสนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2568

เพราะจะครบข้อตกลง 5 ปี ตามสัญญากับภาครัฐ ที่กำหนดให้ UTA จะต้องเริ่มลงทุน ซึ่งบริษัทได้เพิ่มทุนจาก 4,500 ล้านบาท เป็น 15,000 ล้านบาทครบแล้ว เพียงพอสำหรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในเฟสแรก ขณะนี้เหลือรอการสรุปของการรถไฟ เรื่องสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่จะเชื่อมต่อเข้ามาในอาคารผู้โดยสารด้วย เพราะเป็นเงื่อนไขเดียวที่ยังเหลืออยู่

สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

ทั้งนี้ UTA ได้เตรียมการลงทุนไว้หมดแล้ว โดยจะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่จะขยายออกเป็น 6 เฟส ซึ่งที่ผ่านมา UTA มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท หลักๆเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ เช่น ค่าที่ปรึกษา การทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) การออกแบบสนามบิน


ดึงเอกชนร่วมลงทุนเมืองการบินอู่ตะเภา
การลงทุนในโครงการนี้นอกจากจะมีการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยเฟสแรก จะรองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคนต่อปี ยังจะมีการลงทุนในช่วงของพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ Airport City ที่จะประกอบไปด้วย โรงแรม, ศูนย์การค้า, MICE, Indoor Arena, สนามแข่งรถ ซึ่งสามารถรองรับการแข่งขันฟอร์มูลาวัน, ร้านอาหาร, Medical Tourism Hub,ดิวตี้ฟรี,อาคารสำนักงาน

การเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ UTA จะทยอยคัดเลือกผู้สนใจเข้าลงทุน อาทิ ศูนย์การค้า ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ โรงแรม อาจจะเป็นการหาพาร์ทเนอร์มาเช่าพื้นที่ เพื่อดำเนินการ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ หากพันธมิตรในกลุ่ม UTA สนใจในกิจกรรมไหนก็อาจจะเข้าไปร่วมลงทุนด้วยก็ได้ ซึ่งการคัดเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการ ก็คงจะทยอยดำเนินการไปพร้อมๆกับการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และสิทธิใช้พื้นที่ก็เป็นไปตามอายุที่ใช้ 30 ปี



การบินไทย จ่อทุ่มหมื่นล้าน ดึงบางกอกแอร์เวย์ส ร่วมลงทุน MRO อู่ตะเภา
ในส่วนของเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ที่มีกาสิโน คงอยู่ที่ความชัดเจนของรัฐบาลว่าจะเปิดให้มีการลงทุนในพื้นที่ไหนบ้าง ถ้ามีในพื้นที่อีอีซี เราในฐานะแลนด์ลอร์ดในพื้นที่เมืองการบินอู่ตะเภา ก็ต้องมาพิจารณาว่าควรจะมีในเรื่องนี้ไหม จะให้เช่า หรือพาร์ทเนอร์ใน UTA จะสนใจหรือไม่ แต่สำหรับบางกอกแอร์เวย์สคงไม่ลงทุนในส่วนนี้ ซึ่งในแง่ของพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ปิดมีขอบเขต ถ้ามองในแง่เอ็กคลูซีฟหรือการกำกับดูแล ก็จะง่ายกว่าที่อื่นที่ไม่มีขอบเขตเรื่องของพื้นที่ นายพุฒิพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

เปิดเฟสแรก ลงทุน 1 แสนล้านบาท
สำหรับแผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก จะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี บนพื้นที่รวม 6,500 ไร่ ประกอบไปด้วย 3 โครงการ คือ 1. Airport Terminal พื้นที่ 1,482 ไร่ 2. Air Cargo & Logistics พื้นที่ 348 ไร่ 3. Airport City พื้นที่ 1,058 ไร่ มูลค่าลงทุนรวม 320,000 ล้านบาท โดยคาดว่าเฟสแรกลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท

ส่วนของสนามบินประมาณ 40,000 ล้านบาท
ส่วน Airport City ลงทุนประมาณ 60,000-80,000 ล้านบาท
การพัฒนาจะแบ่งเป็น 6 เฟส แฟสแรก รองรับผู้โดยสาร 12 ล้านคน เปิดให้บริการปี 2571 และเฟสสุดท้ายรองรับ เป็น 60 ล้านคน

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกว่า ภายในปีนี้จะเริ่มก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และทางขับ (แท็กซี่เวย์) ที่กองทัพเรือ (ทร.) รับผิดชอบได้ และในต้นปี 2568 คาดว่า UTA ผู้รับสัมปทาน จะเริ่มก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

ส่วนการก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่จะต้องลอดใต้รันเวย์นั้น มีการประสานแบบและแผนการก่อสร้างไว้แล้ว โดยสัญญาก่อสร้างรันเวย์มีระยะเวลา 36 เดือน ซึ่งช่วงแรกจะก่อสร้างรันเวย์จากจุดอื่นก่อน ขณะที่ตามสัญญากำหนดว่ากองทัพเรือจะต้องส่งมอบพื้นที่รันเวย์บริเวณที่มีอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงลอดผ่านด้านใต้ให้ผู้รับเหมาในเดือนที่ 18 หมายความว่า อุโมงค์รถไฟความเร็วสูงต้องก่อสร้างเสร็จแล้วภายใน 18 เดือน (นับจากสัญญารันเวย์ระหว่างกองทัพเรือ กับ ITD เริ่มต้น)

ตอกเสาเข็มอู่ตะเภา ต้นปี 68 เฟสแรก 1 แสนล้าน จ่อตัดอุโมงค์ไฮสปีดให้รัฐสร้าง



จ่อตั้งอุโมงค์ไฮสปีดลอดอาคารผู้โดยสารให้รัฐลงทุน
ด้านนายธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการอีอีซี สายงานโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า อีอีซีได้หารือกับกองทัพเรือ กรณีที่ไม่สามารถก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงลอดรันเวย์เสร็จภายใน 18 เดือน โดยสิ้นปี 2567 หรือไม่เกินต้นปี 2568 หากโครงการรถไฟความเร็วสูงยังไม่มีความชัดเจน เรื่องการก่อสร้าง จะมีการเสนอขอตัดเนื้องานและเงินลงทุนค่าก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงออกจากสัญญาร่วมทุนฯกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.)


โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างอุโมงค์รถไฟเอง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบต่อการก่อสร้างรันเวย์ของสนามบิน โดยเรื่องนี้แจ้งข้อมูลกับ รฟท.และ ซี.พี.แล้ว ทุกฝ่ายรับทราบทางออกแล้ว โดยช่วงที่เป็นอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ลอดใต้รันเวย์เข้าสู่อาคารผู้โดยสารมีระยะทางประมาณ 3-4 กม. ค่าก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 571, 572, 573 ... 578, 579, 580  Next
Page 572 of 580

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©