Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/10/2024 6:24 pm Post subject:
สุริยะ คาดแก้สัญญารถไฟ 3 สนามบิน รอเข้า ครม.อีก 1-2 สัปดาห์ ยันรัฐไม่เสียประโยชน์ เริ่มก่อสร้างต้นปี 68
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Tuesday, October 29, 2024 12:10
สุริยะ เผย วันนี้ (29 ต.ค.) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่เข้า ครม.คาด นำเสนอได้ใน 1-2 สัปดาห์ หลังจากนี้ ยันรัฐไม่เสียประโยชน์แน่นอน และเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 68 ปัดไม่รู้โครงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ เข้า ครม.เมื่อไหร่ ยันไม่เกี่ยวข้อง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า เบื้องต้นวันนี้ (29 ต.ค.) ยังไม่ได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมชี้แจงว่า เรื่องการแก้ไขสัญญาเชื่อม 3 สนามบิน เป็นเรื่องที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เจรจากับภาคเอกชน ซึ่งภายหลังการเจรจาภาคเอกชน ชี้แจงว่า ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงอยากให้รัฐบาลเยียวยาแก้ปัญหาให้เอกชน ซึ่งเอกชนเรียกร้องมา 6 ข้อ แต่มีข้อเดียวที่คณะกรรมการกำกับดูแลสัญญารถไฟ เห็นว่า มีข้อเดียวที่รับได้ คือ เรื่องต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น จากสงครามยูเครน-รัสเซีย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย เรื่องการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ทำให้เอกชนจะขอแก้ไขสัญญาในส่วนนั้น ทางการรถไฟฯ ไม่ได้นำมาพิจารณาให้ จึงอยากชี้แจงประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อน
นายสุริยะ กล่าวว่า สำหรับเรื่องผลกระทบของโควิด-19 เป็นเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาว่าเป็นเรื่องของเหตุสุวิสัยจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขสัญญา โดยดูให้ครบถ้วนทุกประเด็นว่าการแก้ไขในแต่ละข้อจะต้องเป็นการแก้ไขที่รัฐไม่เสียประโยชน์ และเหตุที่ว่าเราจำเป็นต้องอยากให้มีโครงการเดินนี้เดินต่อไปถ้าเกิดต่างฝ่ายต่างยกเลิกสัญญาจะเกิดปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งทางรัฐเองต้องยอมรับว่า ไม่สามารถส่งพื้นที่การก่อสร้างกับทางเอกชนได้ ขณะที่ ทางเอกชนก็จะต้องจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงค์ก็ไม่ได้จ่าย ทำให้ต้องมาเจรจากัน
นายสุริยะ ย้ำว่า โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชน จากสนามบินอู่ตะเภา เดินทางมาถึงสุวรรณภูมิ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง จากปัจจุบันต้องขับรถใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ดังนั้น หากโครงการนี้เดินหน้าต่อไปได้ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การเจรจาต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าภาครัฐไม่เสียประโยชน์ ยืนยันว่า รัฐไม่เสียประโยชน์ 100% แน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อมีการแก้ไขสัญญาจะทำให้การดำเนินโครงการแล้วเสร็จในปีไหน นายสุริยะ ระบุว่า ขณะนี้ หากไม่รีบเจรจา จะทำให้โครงการล่าช้าและไม่แล้วเสร็จในปี 2571 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา โดยผู้ลงทุนได้ยื่นเงื่อนไขสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบินให้แล้วเสร็จก่อน หากล่าช้าอาจจะทำให้ถูกเอกชนฟ้องร้องได้ ดังนั้น จะพยายามดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนปี 2571
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการเรียกภาคเอกชนเข้ามาเจรจาเพิ่มเติมหรือไม่ นายสุริยะ ระบุว่า เรื่องนี้การรถไฟฯ ได้มีการเจรจากับภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว เพราะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ยืนยันว่า เรื่องนี้ ตนไม่ใช่เป็นคนให้เริ่มเจรจา ซึ่งการรถไฟฯ เป็นผู้เริ่มเจรจาและส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคม โดยมีสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่ทำหน้าที่กรองเรื่องที่เสนอเข้ามา ว่า มีความสมเหตุผลหรือไม่ ซึ่งทาง สนข. จะเลือกโครงการที่เป็นประโยชน์และการแก้ไขสัญญานี้ ก็ไม่เสียเปรียบ ตนจึงได้ลงนามอนุมัติเรื่องนี้ไปให้ทางคณะกรรมการดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ ครม. พิจารณาเพื่อเซ็นสัญญาฉบับใหม่ได้เมื่อไหร่ นายสุริยะ ระบุว่า ในการดำเนินการยังมีขั้นตอน คาดว่า น่าจะไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ หลังจากนี้ ซึ่งเป็นการเสนอเพื่อแก้ไขมติ ครม.เดิม ซึ่งเมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว จะต้องนำกลับมาเจรจากับเอกชน ตามหลักการที่ ครม. ให้ไว้ จากนั้น ก็จะนำเรื่องเข้า ครม. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อไปรายงาน ครม. ว่า มีการเจรจาออกมาเป็นอย่างไร และทางอัยการมีความเห็นดังนี้ เพื่อให้ ครม. อนุมัติ หลังจากนั้น การก่อสร้างน่าจะเริ่มต้นภายในปี 2568
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ ว่า จะนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อใด นายสุริยะ ระบุว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องนี้ และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, stated that the high-speed rail project linking 3 airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao) has not yet been presented to the Cabinet. He expects it to be presented within 1-2 weeks.
The project has faced delays due to the COVID-19 pandemic, which has impacted the private sector partner. The government and the private sector have been in negotiations to amend the contract to address these issues, with a focus on ensuring that the government does not suffer any disadvantages.
Jungrungreangkit emphasized the importance of the project for public transportation and the Eastern Economic Corridor (EEC). He assured that the government will not experience any losses from the contract amendment and that the project will be completed before 2028 to avoid potential lawsuits from investors in the U-Tapao aviation city project.
The amendment will need to be approved by the Cabinet, after which negotiations with the private sector will continue. Construction is expected to begin in 2025.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/10/2024 8:34 pm Post subject:
เรียงเป็นตับ ตอม่อทางรถไฟความเร็วสูงช่วงบางปะอิน อยุธยา สัญญาที่ 4-3 นวนคร-บ้านโพ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Oct 29, 2024
https://www.youtube.com/watch?v=BS271cHxIyk
A row of piers for the high-speed railway line in the Bang Pa-in - Ayutthaya section, contract 4-3, Nong Khae - Ban Pho.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43884
Location: NECTEC
Posted: 30/10/2024 9:24 am Post subject:
สุริยะ เผย แก้สัญญาไฮสปีดยังไม่เข้าครม. แต่คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์อนุมัติแน่
เขียนโดย isranews
เขียนวันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 11:41 น.
แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบินสะดุด พรรคร่วมฯยังไม่เห็นด้วย ยื้อเข้าครม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:51 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:51 น.
พรรคร่วมฯ ขวาง ดันแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบินเข้า ครม.
เขียนโดย isranews
เขียนวันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 15:45 น.
สุริยะเผย แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน ยังไม่เข้าครม. คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์ต้องเข้า หวั่นยิ่งช้ากระทบโปรเจ็กต์อู่ตะเภาเมืองการบิน วงในเผยแก้สัญญาสะดุด พรรคร่วมฯ ยังไม่เห็นด้วยคาดเพื่อไทยเร่งเคลียร์ภายใน 2 สัปดาห์
นายสุริยะ จึงรุ่งเรือง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ยังไม่มีการเสนอการแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) เข้าสู่การพิจารณา ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการ (บอร์ด) นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 และมีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการใน 5 ประเด็นไปแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
นายสุริยะกล่าวว่า ถ้าไม่รีบเจรจาและเห็นชอบการแก้ไขสัญญา กำหนดที่วางไว้ว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571 จะเลื่อนออกไปอีก เพราะโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะสอดคล้องกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ถ้ารถไฟความเร็วสูงไม่เกิด อาจจะถูกเอกชนในโครงการสนามบินอู่ตะเภาฟ้องร้องได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องแก้ไขสัญญา จะสามารเสนอครม.เห็นชอบได้เมื่อไร นายสุริยะกล่าวว่า คาดว่าไม่เกิน 1-2 สัปดาห์นี้ จะเสนอให้ครม.เห็นชอบได้แน่นอน เมื่อเห็นชอบแล้ว ทางอีอีซีก็จะกลับไปคุยกับเอกชนอีกครั้ง แล้วนำกลับมาให้ที่ประชุมครม.รับทราบการเจรจาอีกครั้ง รวมถึงความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยคาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้ประมาณต้นปี 2568
สำหรับ มติบอร์ดอีอีซี เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย
1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม จ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ แล้ว รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน รวมเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนเป็น จ่ายเป็นงวด ตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท. ) ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท (สำหรับค่างานโยธาและค่าระบบรถไฟฟ้า) เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน
2. กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ
3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป
4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้
5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่นนั้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามแผนงานเดิม กำหนดว่าจะมีการเสนอครม.ในวันที่ 29 ต.ค. 2567 เพื่อเห็นชอบหลักการ การแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพราะหลังจากนั้นจะมีขั้นตอน ในการส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาที่ปรับปรุงแก้ไข จากนั้น ต้องนำเสนอ กพอ.หรือบอร์ดอีอีซี และ ครม.เห็นชอบอีกครั้ง โดยคาดว่าจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขได้ภายในเดือนธ.ค. 2567 และออก NTP ให้เริ่มงานได้ไม่เกินเดือนม.ค. 2568
ซึ่งแหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า สาเหตุที่ยังไม่สามารถเสนอครม.เห็นชอบหลักการแก้ไขสัญญา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในวันที่ 29 พ.ย. 2567 ได้ เนื่องจากยังมีพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีการเปิดเผยถึงเหตุผลที่พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่เห็นด้วยในการเสนอครม.ขออนุมัติ อย่างไรก็ตาม คาดหมายว่าพรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลน่าจะเคลียร์ใจกับพรรคร่วมรัฐบาลได้
สำหรับการเสนอให้ที่ประชุมครม.เห็นชอบการแก้ไขสัญญา จะต้องเสนอ 2 ครั้ง โดยครั้งแรก ครม.จะต้องพิจารณาในหลักการตามที่บอร์ดกพอ. ซึ่งจะเป็นการแก้ไขมติครม.เดิมเมื่อปี 2561 จากนั้นทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องนำหลักการที่ ครม.อนุมัติไปเจรจากับ บจ.เอเชีย เอราวัน (ซี.พี.) อีกครั้ง เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีประเด็นอะไรแล้ว ทางรฟท.จะต้องส่งร่างสัญญาที่ได้การอนุมัติในหลักการจาก ครม. ไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบในถ้อยคำและเงื่อนไขต่างๆที่มีการแก้ไข ซึ่งในกระบวนการนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
โดยเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจสอบร่างสัญญาแล้ว ทางรฟท.จะต้องส่งร่างสัญญาที่ได้รับการตรวจทานไปที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อเสนอให้ ครม.อนุมัติร่างสัญญาที่ได้รับการแก้ไขอีกครั้ง หลังจากนั้น จึงจะลงนามแก้ไขสัญญากับเอกชน
https://mgronline.com/business/detail/9670000104282
https://www.isranews.org/article/isranews/132949-transport-81.html
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43884
Location: NECTEC
Posted: 31/10/2024 12:47 pm Post subject:
สุริยะยังไม่ชง แก้สัญญา 3 สนามบิน เข้า ครม. เผยเอกชนขอเยียวยา 6 ข้อ รับเรื่องเดียว
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 10:46 น.
สุริยะเผยยังไม่ชง แก้สัญญา 3 สนามบิน เข้า ครม. ยันเดินหน้า-รัฐไม่เสียประโยชน์ 100% เผยเอกชนขอเยียวยา 6 ข้อ คณะกรรมการรับแค่เรื่องต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่ายังไม่มีการนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ ครม.ในสัปดาห์นี้ คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้าหรือสัปดาห์ถัดไป
แต่ยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้เจรจากับภาคเอกชน โดยเอกชนได้รับผลกระทบจากโควิด อยากให้รัฐบาลแก้ไขเยียวยา ซึ่งมีข้อเสนอมา 6 ข้อ แต่คณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาเห็นว่ามีเพียงข้อเดียวที่จะรับได้ คือเรื่องต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น เนื่องจากมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
close
arrow_forward_iosคลิก
Pause
00:00
00:15
00:40
Mute
ส่วนข้อเรียกร้องประเด็นค่าก่อสร้างเพิ่มเติมที่เอกชนขอมานั้น ร.ฟ.ท.ไม่ได้ให้ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบโควิด เรามองว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงต้องแก้สัญญา โดยได้ดูครบถ้วนทุกประเด็นที่รัฐไม่เสียประโยชน์ ประกอบกับเราอยากให้โครงการนี้เดินต่อ หากมีการยกเลิกสัญญาปัญหาจะตามมา รัฐเองต้องยอมรับว่าไม่สามารถส่งพื้นที่ก่อสร้างให้กับเอกชนได้ เอกชนเองที่ต้องจ่ายในส่วนของแอร์พอร์ตลิงก์ให้ก็ไม่ได้จ่าย ทำให้ต้องเจรจากัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการเจรจาตนไม่ใช่ผู้ริเริ่มเจรจา แต่เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจาก ร.ฟ.ท. และเข้ามาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เป็นผู้กรองเรื่อง ซึ่งเห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์ ไม่เสียเปรียบ ตนจึงได้เซ็นเรื่องไป
โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ลดระยะเวลาเดินทางจาก กทม.ไปอู่ตะเภาได้มาก การเดินหน้าโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ ยืนยันการเดินหน้าโครงการนี้รัฐบาลไม่เสียเปรียบเอกชน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะการแก้ไขสัญญาต่าง ๆ มีอัยการเข้ามาช่วยดูแล
Advertisment
เมื่อถามว่า หากการแก้ไขสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว โครงการจะแล้วเสร็จเมื่อใด นายสุริยะกล่าวว่า หากเราไม่รีบเจรจาแก้ไขสัญญา โครงการจะแล้วเสร็จล่าช้ากว่าปี71 จะมีผลกระทบไปถึงโครงการเมืองการบินที่การยื่นเงื่อนไขการยื่นประมูลมีเรื่องของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งหากล่าช้ากว่าปี71 อาจจะถูกฟ้องร้องจากเอกชน เราพยายามจะทำให้เสร็จตามกรอบเวลาดังกล่าว
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/politics/news-1682784
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43884
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43884
Location: NECTEC
Posted: 01/11/2024 10:13 am Post subject:
คมนาคม ถกปม สร้าง ไฮสปีดไทย-จีน กระทบที่อยู่อาศัยชาวบ้านหนองแซง สระบุรี
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 08:00 น.
คมนาคม สั่งกรมราง-รฟท. เร่งปรับแผนออกแบบ ปมชาวบ้าน หนองแซง จ.สระบุรี โวย หลังสร้างไฮสปีดไทย-จีน ช่วงพระแก้ว - สระบุรี กระทบที่อยู่อาศัย-เดินทางลำบาก
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังเป็นประธานประชุมหารือการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนต่อการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา นั้น
กรณีมีกลุ่มผู้แทนประชาชนอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ร้องเรียนกรณีได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา งานโยธาสำหรับสัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี ในเขตอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี
ทั้งนี้จากการร้องเรียนดังกล่าว ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากรูปแบบการก่อสร้างทางวิ่งระดับดิน ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณที่ผ่านพื้นที่อำเภอหนองแซง
คมนาคม ถกปม สร้าง ไฮสปีดไทย-จีน กระทบที่อยู่อาศัยชาวบ้านหนองแซง สระบุรี
โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนเปลี่ยน การเดินทางยากลำบาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน แบ่งแยกชุมชนออกเป็นสองฝั่ง บดบังทัศนียภาพ และทางน้ำเกิดการเปลี่ยนทิศทาง
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า รฟท. ได้เสนอรูปแบบการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ ก่อสร้างสะพานช่องลอด (Frame bridge) ในช่วงที่ชุมชนหนาแน่น ระยะทาง 400 เมตร และสะพานบก แต่เนื่องจากกลุ่มผู้แทนประชาชนฯ ต้องการให้ รฟท. ปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้างเป็นโครงสร้างสะพานต่ำตลอดระยะทาง
คมนาคม ถกปม สร้าง ไฮสปีดไทย-จีน กระทบที่อยู่อาศัยชาวบ้านหนองแซง สระบุรี
ได้มอบหมายให้ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และผู้แทน รฟท. ลงพื้นที่โดยเร็วเพื่อชี้แจงและหารือกับประชาชนในพื้นที่ ให้มีการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพชุมชนที่แท้จริงและเป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ และต้องไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณในภาพรวมของโครงการฯ นายสรพงศ์ กล่าว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 01/11/2024 2:25 pm Post subject:
พามาอัพเดต รถไฟความเร็วสูงช่วงอำเภอสูงเนิน ล่าสุดงานโยธาสร้างเสร็จแล้วน้าาา รอเพื่อนสวยๆไปเลยค่ะ
nanny official
Nov 1, 2024
ช่วงอำเภอสูงเนิน รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก เป็นงานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างแบบยกระดับ ระยะทาง 11 กิโลเมตร หรือประมาณ 6.8 ไมล์ งบประมาณในการก่อสร้าง 3,115 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง ปัจจุบัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 ปัจจุบัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=QMYKZFyCEZA
In the Sung Noen district, the Thai-Chinese high-speed railway Contract 2-1 section Sikhio - Kut Chik involves ground-level formation and elevated structures, covering 11 kilometers (approximately 6.8 miles). Civil Engineering Co., Ltd. was awarded the 3,115 million baht construction contract. As of November 2024, construction of this section has been completed.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/11/2024 2:13 pm Post subject:
รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน "กรุงเทพฯ-โคราช" คืบ 34% | จับตารอบทิศ | 4 พ.ย. 67
Thai PBS
Nov 4, 2024
10 ปี 3 รัฐบาล กับความคืบหน้าร้อยละ 34 สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ - นครราชสีมา / สาเหตุส่วนหนึ่ง คือเรื่องบประมาณในการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากการปรับแบบ และยังมีกรณีล่าสุด อย่างอุบัติเหตุงานก่อสร้างอุโมงค์ถล่มเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถ้าเจาะเฉพาะจ.นครราชสีมา ที่เป็นแนวเขตก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกว่า 120 กิโลเมตร
https://www.youtube.com/watch?v=N9YNqII_RNw
10 years and 3 governments have passed with only 34% progress on the Thai-Chinese high-speed rail project, phase 1, Bangkok - Nakhon Ratchasima. Part of the reason is the increased construction budget due to design adjustments. There is also the recent case of the tunnel collapse accident in August. Focusing specifically on Nakhon Ratchasima province, which has over 120 kilometers of high-speed rail construction.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43884
Location: NECTEC
Posted: 04/11/2024 2:25 pm Post subject:
อยุธยาดันเมืองใหม่บ้านม้า ชู บ้านภาชี 800 ไร่ฮับโลจิสติกส์
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันอาทิตย์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:10 น.
คอลัมน์ : สัมภาษณ์
พระนครศรีอยุธยา หรืออยุธยา เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น เมืองมรดกโลก จากยูเนสโก (UNESCO) ทำให้การท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันด้วยโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อการเดินทางสู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้ทั้งทางถนน ทางราง และมีเส้นทางขนส่งทางน้ำเชื่อมต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้ ทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เกือบ 2,000 แห่ง มีนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม 5 แห่ง และในอนาคตจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูง และมอเตอร์เวย์พาดผ่าน
ประชาชาติธุรกิจ สัมภาษณ์ ชัยกฤต พุ่มเข็ม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงแผนที่จังหวัดตั้งเป้าพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์
ชง ครม.ท่าเรือบกบ้านภาชี
อยุธยามีความพร้อมด้านระบบขนส่งเชื่อมต่อทั้งทางน้ำ ทางราง และทางบก และตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ ปัจจุบัน อ.วังน้อย เป็นที่ตั้งคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่หลายแห่ง มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี อยุธยามีการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม การลงทุน และการจ้างงาน เป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม 5 แห่ง มีผู้ประกอบการกว่า 1,933 บริษัท จึงจำเป็นต้องบูรณาการระบบโลจิสติกส์
โดยการผลักดันจัดตั้ง โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) บริเวณริมทางรถไฟชุมชนทางรถไฟบ้านภาชี มีพื้นที่อยู่ 872 ไร่ จัดทำเป็นแผนแม่บท เพื่อเชื่อมโยงระบบ การขนส่งทางน้ำ-ราง-บก ที่มีอยู่ ให้เป็นระบบการขนส่งหลากหลายรูปแบบ (Multitransport) นำไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ให้เกิดประสิทธิผล ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า เพิ่มโอกาส และสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี เป็นโครงข่ายเชื่อมสถานีรถไฟ 10 แห่ง ทั้งสายเหนือ สายอีสาน ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนขยายจากรังสิต-อยุธยา), สถานีรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-หนองคาย) และสถานีรถไฟรางคู่เพื่อรองรับการขนส่งจากประเทศจีน
ส่วนเส้นทางการเดินเรือในแม่น้ำป่าสัก ที่ อ.นครหลวง มีปริมาณการขนส่งสินค้ากว่า 28 ล้านตันต่อปี มูลค่ากว่าแสนล้านบาท เชื่อมต่อภาคเหนือและภาคอีสาน ผ่าน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา เชื่อมกับแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำสำคัญของประเทศ
ด้านคมนาคมทางบกเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือ อีสาน และภาคตะวันตก โดยมีทางหลวงแผ่นดิน (ทล.) รองรับหลายเส้นทาง เช่น ทางหลวงหมายเลข 9 ช่วงต่างระดับเชียงรากน้อย-บางปะอิน เป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ผ่าน จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา มีรถขนาดใหญ่ใช้เส้นทางถึง 60.55%, ถนนพหลโยธิน มีรถขนาดใหญ่
Advertisment
เช่น รถบรรทุก รถบัส ใช้เส้นทาง 39.00% และทางหลวง 32 มีรถขนาดใหญ่ 24.08% นอกจากนี้ อยู่ระหว่างก่อสร้างทางหลวงพิเศษ MR6 (สายบางปะอิน-นครราชสีมา) ปัจจุบันเปิดใช้งานในส่วน อ.ปากช่อง-นครราชสีมา ส่วนช่วงบางปะอิน-สระบุรี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และในอนาคตมีแผนพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์ MR10 (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3)
อย่างไรก็ตาม จังหวัดจำเป็นต้องปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัด ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อขอแก้พื้นที่สีเขียว (พื้นที่เกษตรกรรม) ให้เป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) โดยเฉพาะพื้นที่ด้านตะวันออก ครอบคลุม อ.ภาชี อ.นครหลวง อ.วังน้อย เพื่อรองรับโครงการท่าเรือบก อ.ภาชี ในรัศมี 50 กม. ที่ยังขาดการพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภค หรือด้านระบบขนส่งภายใน จึงเหมาะแก่การเป็น เมืองใหม่ (New Towns) สำหรับภาคอุตสาหกรรม
ดันสถานีไฮสปีดไปบ้านม้า
ปัจจุบันอยุธยามีปัญหาในการวางโครงข่ายเส้นทางคมนาคมอีกหลายเรื่อง เนื่องจากหน่วยงานที่ทำโครงการไม่ได้มองภาพรวมทั้งจังหวัด เช่น การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วางแผนตั้งสถานีรถไฟไฮสปีดอยู่ที่สถานีอยุธยาเดิม โดยให้ใช้ร่วมกับรถไฟของ ร.ฟ.ท. โดยชานชาลารถไฟของ ร.ฟ.ท.จะอยู่ที่ระดับพื้นดิน
ส่วนรถไฟไฮสปีดจะอยู่ชั้นที่ 3 ผมเห็นว่า ไม่มีความเหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ (TOD) เพราะปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถขยายเมืองได้อีกเพียง 30% ควรย้ายไปตั้งที่ สถานีรถไฟบ้านม้า ต.บ้านเกาะ ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศเหนือเพียง 3,600 เมตร สามารถพัฒนาเมืองต่อไปได้ตามต้นแบบหลักการพัฒนา TOD
สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ แยกได้ 5 ประการ ได้แก่ 1.บริเวณรัศมี 1 กิโลเมตรรอบสถานีรถไฟอยุธยา เหลือพื้นที่ของภาคเอกชนที่จะพัฒนาได้เพียงร้อยละ 39.42 ทำให้การเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะยากต่อการพัฒนาให้การใช้บริการครอบคลุม 2.สภาพจราจรช่วงเวลาเร่งด่วนมีความแออัด ทำให้การรองรับของถนนที่ต้องเชื่อมโยงภายในเมืองไม่สามารถรองรับได้ถึง 3 สถานี
3.ห่างจากแหล่งจ้างงาน ส่งผลต่อปริมาณผู้เข้าใช้บริการสถานีรถไฟทั้ง 3 แห่ง ทั้งสถานีรถไฟรางคู่ สถานีรถไฟชานเมือง และสถานีรถไฟไฮสปีด นอกจากนี้ ตัวสถานีเดิมยังติดกับทางหลวงหมายเลข 3053 เพียงเส้นเดียว ไม่สามารถรองรับประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงได้ เช่น อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี 4.มีข้อจำกัดด้านพื้นที่โบราณสถานกว่า 14 แห่ง จึงยากต่อการขยายเมือง
5.หากสร้างสถานีไว้ในตำแหน่งเดิม อาจต้องใช้งบประมาณสูงสำหรับการเวนคืนที่ดิน ซึ่งไม่สอดคล้องต่อการทิศทางการพัฒนาเมือง เนื่องจากพื้นที่เกาะเมืองเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ยากต่อปรับเปลี่ยนสถานภาพของพื้นที่
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ของจังหวัดได้มีความเห็นตรงกันว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมในการสร้างรถไฟไฮสปีด พร้อมเสนอสถานีรถไฟบ้านม้า เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเมือง มีระยะห่างจากสถานีเดิม 3,600 เมตร เพราะ 1.สถานีบ้านม้า เป็นสถานีต้นน้ำขึ้นสายเหนือและสายอีสาน และเชื่อมต่อสนามบิน 2.พื้นที่สถานีบ้านม้า มีที่ตั้งใกล้ทางหลวงหมายเลข 32, 3053 และ 3061 สามารถลดความแออัดจราจรในเมืองได้
3.สถานีบ้านม้า มีความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองต้นแบบตามนโยบายและมาตรการ การคัดเลือกเมืองต้นแบบ TOD เช่น เศรษฐกิจเข้มแข็ง, แหล่งงานขนาดใหญ่, อัตราส่วนการเพิ่มของประชากรเมืองสูง และพื้นที่มีความพร้อมต่อการเป็น เมืองใหม่ หรือ New Town พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสู่ภูมิภาค
4.ไม่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน เมืองมรดกโลก เพราะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี 5.หากย้ายไปที่สถานีบ้านม้า จะมีพื้นที่ใกล้เคียงติดกับทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) สามารถสร้างสถานีขนส่ง บขส. ได้ เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ ถนน กับราง
ขอให้ กรอ.ยับยั้งการลงนาม ทำสัญญาก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง และขอให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ทำการศึกษาพัฒนาเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ตามแนวโครงข่ายสถานีรถไฟบ้านม้า ที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเมืองให้มีการเติบโตและสามารถจัดสรรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคม ตามหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง เพื่อให้ผลการศึกษาสามารถนำมาปฏิบัติให้ได้ผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม เราได้ยื่นเหตุผลและความจำเป็นทั้งหมดไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา
ขอย้ายบ้านโพธิ์เชื่อมเส้น 356
ส่วนกรมทางหลวงที่มีโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 356 (ทางเลี่ยงเมืองอยุธยาด้านใต้) จาก 2 ช่องจราจร ให้เป็น 4 ช่องจราจร ทาง กรอ.เล็งเห็นปัญหาในระยะยาวรถติด จึงเสนอว่าควรขยายเป็น 6 ช่องจราจรเลย ขณะเดียวกัน เสนอให้ย้ายสถานีรถไฟบ้านโพธิ์ ทำรางให้เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 356 เพื่อเพิ่มอัตราการใช้บริการ ปัจจุบันมีคนใช้บริการเพียง 0.2% เพราะตัวสถานีห่างกับถนน 356 ประมาณ 2 กม.
ปรับโครงข่ายวงแหวนรอบ 3
สำหรับถนนกาญจนาภิเษกที่มีปริมาณรถจนเต็มศักยภาพ กรมทางหลวงได้เริ่มโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายถนนวงแหวนรอบนอก กทม. รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) ตอนแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 32-บรรจบทางหลวงหมายเลข 305 ส่วนที่ 1 เห็นด้วย แต่เส้นทางเดิมที่กำหนดไว้ต้องวิ่งจากทางหลวงหมายเลข 32 กม.0+000 ต.หันสัง อ.บางปะหัน ผ่าน อ.นครหลวง อ.ภาชี อ.มหาราช อ.อุทัย ผ่านนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องเวนคืนพื้นที่เมือง และชุมชน
ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับเปลี่ยน เลี่ยงขึ้นไปทางทิศเหนือ แล้ววนมาบรรจบที่ อ.ภาชี อ.อุทัย และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (บางปะอิน-นครราชสีมา) บริเวณ กม.36+000 รวมระยะทาง 36 กิโลเมตร หากยึดรูปแบบตามเดิม จะทำให้การพัฒนาเมืองไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร จะกลายเป็น เมืองอกแตก ทันที เพราะการสร้างถนนวงแหวนจะต้องไม่ผ่านพื้นที่เมือง
ซึ่งจะกระทบต่อวิถีชุมชนเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น การพัฒนาเมืองอย่าไปกังวลเรื่องการเวนคืน แต่ต้องส่งเสริมการ
บูรณาการระบบขนส่งสาธารณะ เพราะการพัฒนาควรทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ หากไม่คิดจะทำ เพราะติดเงื่อนไขเรื่องการเวนคืน แล้วเมื่อไหร่เมืองจะเติบโต
เอกชนฝุ่นตลบ ปมสถานีไฮสปีด
ความขัดแย้งเรื่องจุดตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงวันนี้ยังมีควันคุกรุ่น โดยภาคเอกชนในจังหวัด มีความเห็นต่างเนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างมีเหตุผล และผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ขณะที่กรมศิลปากรเป็นห่วงผลกระทบต่อโบราณสถานที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก
โดย นายเรียงทองบาท มีพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวกับ ประชาชาติธุรกิจ ว่า ที่ผ่านมามีการสำรวจความคิดเห็นในพื้นที่ อ.พระนครศรีอยุธยา ประชาชนในเกาะเมือง ชุมชนต่าง ๆ และผู้ประกอบการใน อ.พระนครศรีอยุธยา ต่างต้องการให้สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่สถานีรถไฟอยุธยาเดิม เพราะเดินทางสะดวก และคนที่ใช้รถไฟความเร็วสูงน่าจะเป็นคนที่ทำงานในกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวไป-กลับ
หากการตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่สถานีบ้านม้า อาจเป็นไปได้ยาก เพราะอยู่ค่อนข้างไกลจากจุดท่องเที่ยว จำนวนประชาชนที่อาศัยบริเวณชุมชนบ้านม้า มีน้อยกว่าชุมชนในเกาะเมือง ดังนั้น จึงต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ การสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงที่สถานีบ้านม้า แล้วสร้างระบบฟีดเดอร์มารองรับ เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่มีใครรู้ว่าจะทำได้จริงหรือไม่
ตอนนี้โครงการมีความคืบหน้าไปมากแล้ว หากปรับเปลี่ยนจากสถานีอยุธยาเดิมไปสถานีบ้านไม้ ต้องทำการศึกษาใหม่ ระยะเวลาที่ต้องเลื่อนออกไปไม่เกิดความคุ้มค่า จะเป็นการเสียโอกาส การพัฒนา รายได้ เราไม่มีทางรู้อนาคต จะรอย่ำอยู่กับที่ โดยที่ไม่ไปไหนเลย ยกตัวอย่าง ใน 1 ปี อยุธยามีรายได้ 100 ล้านบาท หากขยับไปสร้างที่สถานีบ้านม้าต้องรออีกกี่ปี อาจจะ 10 ปี จะเสียรายได้มหาศาล แต่ถ้าหากสร้างที่สถานีอยุธยา อีก 5 ปี รถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ อาจสร้างรายได้เพิ่มเป็น 150 ล้าน/ปี แค่นี้ก็เห็นรายได้มหาศาล
จึงอยากให้ภาครัฐหรือคนที่คัดค้าน ลองพิจารณาตัวเลือก (Option) ที่ 3 คือ การสร้าง 2 สถานี คือสร้างสถานีอยุธยาเป็นสถานีหลักสำหรับนักท่องเที่ยว ส่วนสถานีบ้านม้าอนาคตอาจสร้างเพิ่มเติมเป็นจุดขนส่งสินค้า เพราะสถานีรถไฟความเร็วสูงไม่จำเป็นว่าต้องมีเพียง 1 สถานีต่อ 1 เมือง การใช้งบประมาณเพิ่มอีก 500-800 ล้านบาท เพื่อสร้างอีกสถานี เงินไม่ใช่อุปสรรคสำคัญต่อการจัดการ
แต่ระยะเวลาที่ใช้งานต่างหากที่ต้องถูกเลื่อนออกไป จะมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน ยิ่งล่าช้า และอาจจะเกิดความเสี่ยงจากตัวเลือกที่ 4 สูงมากเช่นกัน อาจทำให้การตั้งสถานีอาจถูกข้ามไป คือ การไม่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ผมไม่อยากรับความเสี่ยงใน Option นี้ นายเรียงทองบาทกล่าวและว่า
ส่วนข้อกังวลที่หลายคนมองว่า อาจทำให้โบราณสถานถูกถอดถอนจากเมืองมรดกโลกของยูเนสโก ตนมองว่าไม่กระทบแน่นอน เนื่องจากการสร้างสถานี เป็นการสร้างครอบทับพื้นที่เดิมที่ควรอนุรักษ์ การพัฒนาและการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่สามารถทำพร้อมกันได้ เพราะความเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ คือ จุดขายสำคัญของจังหวัด
เชื่อมั่นว่าคนที่ทำธุรกิจในจังหวัดต้องการคงจุดขายนี้ไว้ ทางกรมศิลปากรได้พยายามควบคุมการออกแบบอาคารต่าง ๆ ในตัวเมือง ให้ความเป็นเมืองโบราณล้อไปกับยุคสมัยใหม่ เพียงแต่อาจดึงการพัฒนาในรูปแบบเทคโนโลยีมาเป็นตัวเลือกให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งจะสามารถดึงเม็ดเงินภาคการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้ ช่วยให้คนในท้องถิ่นมีรายได้ ภาครัฐมีรายได้นำมาพัฒนาเมืองเพิ่มขึ้น เช่น เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยังมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่านตัวเมือง ประเทศอิตาลี มีรถไฟใต้ดินวิ่งผ่านเป็นจุดท่องเที่ยวได้... https://www.prachachat.net/local-economy/news-1686278
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group