View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/10/2024 7:08 am Post subject:
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร
28 ต.ค. 67 15:57 น.
ภาพถ่ายมุมสูง ประจำเดือน ตุลาคม 2567
สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม หนองปลาไหล
บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นยิเนี่ยริ่ง จำกัด (1964)
Southern Line Double-Track Railway Construction Project: Nakhon Pathom Chumphon Section
Aerial Video
October 2023
Contract 1: Nakhon Pathom Nong Pla Lai Section
A.S. Associated Engineering (1964) Co., Ltd.
https://fb.watch/vvU7WBKlEA/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 30/10/2024 10:09 am Post subject:
ชาวโคราชร้อง ชานชาลารถไฟ หลบแดด-ฝนไม่ได้ | จับตารอบทิศ Thai PBS
ThaiPBS-ESAN
28 ต.ค. 2024
สถานีรถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น เปิดใช้งานมานานกว่า 5 ปีแล้ว แต่ช่วงที่ตัดผ่าน จ.นครราชสีมา ยังคงถูกร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่ชาวบ้านบอกว่า บางอย่าง นอกจากจะใช้งานไม่สะดวกแล้ว ก็ยังไม่สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศในพื้นที่
https://www.youtube.com/watch?v=xMvmtcaEFrM
แมวย่องบ้นให้ผมฟังว่า:
แมวย่อง wrote: หลังคาชานชาลาสูงเกิน ถ้าเทียบกับแบบเก่าทรงนี้นะ นี่ยังกะให้รถไฟ 2 ชั้นผ่านได้ แบบเก่ายังเตี้ยกว่า แถมคลุมหลังคารถดีกว่า
หรือว่าเผื่อไว้ติดระบบไฟฟ้าเหรอ...
ส่วนสะพานลอย ก็สูงแหละ คงเผื่อติดระบบสายส่งไฟฟ้าหรือเปล่า จะให้ข้ามตรงๆก็ไม่ได้ ทางลาดอยู่หัว-ท้ายชาน แล้วหัว-ท้ายชานก็ไกลเกิ๊นนนนนน ความยาวชานของบัวใหญ่ก็ราวๆ 500 เมตร พี่แกกะให้จอดขบวน 25/26 ได้ 2 ขบวนในชานชาลาเดียว 🤣
อย่างว่า คนออกแบบไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ออกแบบ ขนาดลิฟท์ขนของที่สถานีขอนแก่น ทั้งที่ปรึกษา ทั้งเจ้าของพื้นที่อยากได้ แต่เจ้าของโครงการ ไม่เอา แถมบางสถานีก็เอาซะใหญ่เวอร์อลังการ บางทีมันไมีต้องใหญ่ขนาดนั้นก็ได้ บางสถานี ชานชาลาก็ยาวโคตรรรรร แม้แต่ที่หยุดรถ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/10/2024 5:04 pm Post subject:
การรถไฟแห่งประเทศไทย ประชุมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 งานศึกษารูปแบบ ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร
Source - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Wednesday, October 30, 2024 13:31
โดยวันนี้ 30 ต.ค.2567 ที่อาคารหอประชุมจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เปิดการประชุมประชุมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 งานศึกษารูปแบบ ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร มีผู้แทนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สื่อมวลชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากพื้นที่ 5 ตำบล 1 อำเภอ ได้แก่ ตำบลปากเพรียว ตำบลนาโฉง ตำบลโคกสว่าง ตำบลตะกุด และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง เช้าร่วมประชุม โดยมี ดร.สุวัฒน์ กันภูมิ หัวหน้าฝ่ายกองพัฒนาโครงการและควบคุมสิ่งแวดล้อม รฟท.รายงานวัตถุประสงค์
ด้วยคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่องของประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี ขอการสนับสนุนยกรางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ที่มีถนนพหลโยธินผ่านเมืองตัดกับทางรถไฟ เกิดปัญหาจากการจอดรอรถไฟวิ่งผ่านหลายขบวน ซึ่งหอการค้าจังหวัดสระบุรีได้ร่วมกับภาคเอกชนนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาจราจร โดยเสนอยกรางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี ตลอด 7 กิโลเมตร จะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างสมบรูณ์ และจังหวัดสระบุรีได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสระบุรี (กรอ.จ.สระบุรี) ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมมีมติขอความอนุเคราะห์การรถไฟฯ พิจารณาให้มีการยกระดับทางรถไฟรางคู่เดิม บริเวณจุดตัดระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี โดยขอให้การรถไฟฯ พิจารณาศึกษาความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ และแนวทางการดำเนินการยกระดับทางรถไฟรางคู่เดิม เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในเขตชุมชนเมือง
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาจราจรในเขตชุมชนเมืองสระบุรี ตามที่หอการค้าจังหวัดสระบุรีร่วมกับภาคเอกชนจังหวัดสระบุรี เสนอขอให้ยกระดับทางรถไฟเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการศึกษารูปแบบ ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรีเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรให้เป็น ไปตามหลักวิศวกรรมและขั้นตอนต่อไป
การเปิดเวทีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรับฟังความคิดเห็น การศึกษาความเหมาะสม การออกแบบรายละเอียด และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในงานการยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร เพื่อให้สาธารณชนได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของงานการยกระดับทางรถไฟในโครงการ พร้อมทั้งสร้าง แนวร่วม จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจยอมรับ และมีส่วนร่วมกับการรถไฟฯ ในการผลักดันโครงการไปสู่ความสำเร็จเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล และข้อเสนอแนะ โดยนำความเห็นที่ได้มาประกอบการศึกษา เพื่อให้การพัฒนาโครงการสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของโครงการ
สำหรับพื้นที่ศึกษาโครงการ เป็นพื้นที่ศึกษาครอบคลุมประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของโครงการในรัศมี 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 5 ตำบล 1 อำเภอ 1 จังหวัด ได้แก่ ตำบลปากเพรียว ตำบลนาโฉง ตำบลโคกสว่าง ตำบลตะกุด และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี รายละเอียดดังตารางและรูปด้านล่างแนวคิดเบื้องต้นของโครงการ
ที่ปรึกษาได้จัดทำแนวคิดเบื้องต้นของการแก้ไขปัญหาจราจร เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนในเขตชุมชนเมืองสระบุรีอย่างบูรณาการ และเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบเดินรถไฟในปัจจุบัน รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ
โดยแนวเส้นทางของโครงการมีจุดเริ่มต้นที่ กม.110+215 บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองสระบุรีฝั่งตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 362) โดยทางรถไฟจะเป็นคันทางอยู่ที่ระดับพื้นตามแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบัน (รถไฟทางคู่) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกลอดผ่านใต้โครงสร้างทางรถไฟยกระดับของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ห่างจากสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร) จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะเริ่มเบี่ยงไปอยู่ฝั่งขวาของแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบัน และเริ่มต้นไต่ระดับเป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับผ่านจุดตัดที่ 1 ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1) และยกระดับเข้าสู่บริเวณพื้นที่ย่านสถานีรถไฟสระบุรี โดยแนวเส้นทางของโครงการจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารสถานีเดิมและยกระดับข้ามผ่านจุดตัดที่ 2 ถนนพิชัยณรงค์สงคราม 1 และผ่านข้ามคลองเพรียว จนกระทั่งยกระดับข้ามผ่านจุดตัดที่ 3 ถนนทางเข้าศูนย์ราชการฯ จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะลดระดับทางวิ่งลงสู่ระดับพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทางรถไฟระดับพื้นพร้อมเบี่ยงแนวเส้นทางไปเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เพื่อเข้าสู่ชานชาลาสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรีของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ได้ออกแบบและก่อสร้างสถานีให้สามารถรองรับผู้โดยสารและเชื่อมโยงการใช้บริการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนไว้แล้ว จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่และไปสิ้นสุดที่ตำแหน่ง กม.117+323 บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 362) รวมระยะทางของโครงการประมาณ 7 กิโลเมตร
ด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขอบเขตพื้นที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการงานศึกษารูปแบบ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการงานยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร มีพื้นที่รวมตามแนวเส้นทางรถไฟเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร จะครอบคลุมพื้นที่ในระยะห่างจากศูนย์กลางทางรถไฟข้างละ 500 เมตรหรือมากกว่าหากพิจารณาแล้วเห็นว่าผลกระทบอาจจะไปถึงและในกรณีศึกษาแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์จะครอบคลุมพื้นที่ข้างละ 1 กิโลเมตร ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสว่าง ตำบลนาโฉง ตำบลปากเพรียว ตำบลตะกุด และตำบลตลิ่งชัน โดยเป็นไปตามแนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเภทโครงการด้านคมนาคมทางบก ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พ.ศ. 2549
ทั้งนี้หอการค้าจังหวัดสระบุรีได้ขอเสนอรูปแบบการยกทางรถไฟทางคู่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมจำนวน 5 เรื่อง คือ 1.ใต้ทางรถไฟพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อการสันทนาการเศรษฐกิจ 2.รถไฟทางคู่ที่ยกขึ้นขอให้ติดผนังป้องกันมลภาวะทางเสียงและสภาพแวดล้อมและป้องกันสิ่งของตกหล่น 3.ควรออกแบบยกรางรถไฟทางคู่ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเข้ากันและสวยงาม 4.ถนนเลียบทางรถไฟทั้ง 2 ข้างควรมีระบบเชื่อมตลาด หน่วยงานราชการ รถไฟ มีระบบขนส่งที่สะดวก และ 5.การสร้างอาคารสถานีรถไฟใหม่รับการยกทางรถไฟโดยออกแบบสถานมีเป็นแบบสถาปัตยกรรมให้มีเอกลักษณ์สวยงามเช่นสถานีรถไฟหัวหิน
https://thainews.prd.go.th/thainews/news/view/659823/?bid=1
Summary of the Public Hearing on the Saraburi Railway Elevation Project
Saraburi, Thailand, October 30, 2024: A public hearing was held today in Saraburi province to discuss the proposed elevation of the railway line within Saraburi city. The project aims to alleviate traffic congestion caused by trains crossing the main highway (Phahonyothin Road).
Key takeaways:
* Project Goals: The State Railway of Thailand (SRT) plans to elevate a 7-kilometer section of the existing double-track railway line to eliminate traffic bottlenecks at intersections with Phahonyothin Road and other major roads in Saraburi city. This initiative responds to concerns raised by the Saraburi Chamber of Commerce and local businesses.
* Environmental Impact Assessment: The project will undergo a comprehensive environmental impact assessment (EIA) to identify and mitigate potential environmental consequences. The study area will include a 500-meter radius from the railway line, extending to 1 kilometer for areas with archaeological or historical significance.
* Public Input: The public hearing provided a platform for stakeholders, including government agencies, local communities, and the private sector, to voice their opinions and suggestions. This feedback will be incorporated into the project design and EIA.
* Proposed Design: The elevated railway will begin near the western bypass road and run eastward, passing under the high-speed rail line currently under construction. It will then rise to cross over Phahonyothin Road and other major roads before descending and connecting to the high-speed rail station.
* Community Benefits: The Saraburi Chamber of Commerce proposed developing the area under the elevated railway for public and recreational use, installing noise barriers, and designing the elevated structure to complement the aesthetics of the high-speed rail line. They also suggested improving road connections to markets and government offices and constructing a new railway station with a distinctive architectural design.
Next Steps: The SRT will proceed with detailed design and EIA studies, taking into account the feedback gathered during the public hearing. The project aims to improve traffic flow in Saraburi city while minimizing disruption to communities and the environment.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 04/11/2024 10:54 am Post subject:
คมนาคมถกแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ มอบกรมรางลงพื้นที่ช่วงลพบุรี ปากน้ำโพ หลังชาวไร่อ้อยขอเปิดจุดตัดเดิม
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:14 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:14 น.
คมนาคมถกแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ มอบกรมรางลงพื้นที่จุดตัดตาคลี ทางคู่ช่วงลพบุรี ปากน้ำโพ หลัง ชาวไร่อ้อย ขอผ่อนปรนเปิดใช้จุดตัดระดับดิน ในช่วงหีบอ้อย แทนสะพานข้ามทางรถไฟ ย้ำฟังความคิดเห็นยึดความปลอดภัยยั่งยืน
วันที่ 1 พ.ย. 2567นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาการขออนุญาตและการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) สำนักงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุม
ad
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 11 นครสวรรค์ ขอผ่อนปรนให้เปิดใช้งานทางจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ กม. 211+238.00 ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวไร่อ้อยและชาวบ้าน ให้สามารถใช้งานได้ในช่วงหีบอ้อยระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคมที่จะถึงนี้
ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟรูปตัวยู (U-Bridge) ที่อยู่ใกล้เคียงกับจุดตัดทางผ่านดังกล่าวแล้วเสร็จและได้เปิดใช้งานแล้ว จึงทำการปิดใช้งานทางผ่านเสมอระดับเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เพิ่มความปลอดภัยแก่ประชาชนและผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบราง รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินรถได้รวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาองค์กรของผู้บริโภค กรมทางหลวง สำนักขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ ณ บริเวณสะพานกลับรถรูปตัวยู เพื่อทดสอบบรรทุกเสมือนจริง และยืนยันความปลอดภัยในการใช้รถบรรทุกสินค้าเกษตรที่บรรทุกตามที่กฎหมายกำหนดว่าสามารถใช้งานสะพานกลับรถรูปตัวยูก่อนจะนำผลการทดสอบข้างต้นมาพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายสรพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางระบบราง โดยให้ความสำคัญถึงการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดินทางเรื่องจุดตัดและทางลักผ่านต่าง ๆ โดยมุ่งให้มีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วยการบูรณาการและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน มุ่งเน้นประชาชนส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 07/11/2024 9:48 am Post subject:
Lopburi 2 station at Tha Wung is ready for service for rapid trains, express trains and cargo trains. Only local trains, ordinary trains and Commuter trains still use the old Lopburi station at downtown Lopburi city
https://www.facebook.com/NicklePaatour/posts/1249568406083864
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 11/11/2024 9:56 am Post subject:
สุดสลด! พ่อเฒ่าวัยเกือบ 70 ขี่ จยย.ข้ามทางรถไฟ คาดวูบร่างร่วงสะพานเกือกม้าสูง 20 เมตรดับ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:42 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:25 น.
นครสวรรค์ - อุทาหรณ์สุดสลด..พ่อเฒ่าวัยเกือบ 70 ปีควบ จยย.ขึ้นสะพานลอยรูปเกือกม้าข้ามทางรถไฟตาคลี นครสวรรค์ คาดวูบกะทันหันรถชนขอบสะพาน ร่างกระเด็นร่วง 20 เมตร กระแทกพื้นกระดูกหักทั้งตัวเสียชีวิตคาที่
วันนี้ (10 พ.ย.) ร.ต.อ.อุทัย อุตยา ร้อยเวร สภ.ตาคลี ได้รับแจ้งว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุ ขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วร่วงตกสะพานลอยรูปเกือกม้าข้ามรางรถไฟจนเสียชีวิต ในพื้นที่หมู่ 14 บ้านหลาสะแก ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ จึงรีบเดินทางไปตรวจสอบพร้อมแพทย์เวรโรงพยาบาล และอาสาหน่วยบรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิการกุศลตาคลี
เมื่อไปถึงพบร่างผู้เสียชีวิตนอนตะแคงข้างอยู่ที่ข้างรางรถไฟ สภาพกระดูกหักเกือบทั่วทั้งตัว กะโหลกศีรษะแตก ทางแพทย์เวรจึงได้ทำการชันสูตรตรวจสอบสภาพศพ จึงทราบชื่อผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมา คือ นายณรรฐพงษ์ จิตตะ อายุ 67 ปี
ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางขึ้นไปตรวจสอบบนสะพานเกือกม้าข้ามรางรถไฟที่อยู่ใกล้กัน ก็พบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ สีดำ หมายเลขทะเบียน ขนง 419 นครสวรรค์ ของผู้ตายล้มคว่ำอยู่บนสะพาน ตรวจสอบไม่พบรอยเบรกบนพื้นถนนแต่อย่างใด แต่มีรอยครูดอยู่ที่กำแพงขอบสะพาน จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุเองโดยไม่มีคู่กรณี
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าผู้ตายได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันที่ประสบอุบัติเหตุออกจากบ้านพักในพื้นที่ ต.ตาคลี ซึ่งคาดว่าน่าจะไปทำธุระในพื้นที่ ต.ช่องแค เพราะสะพานเกือกม้าข้ามรางรถไฟตรงจุดเกิดเหตุเป็นสะพานข้ามระหว่างตำบล ระหว่างขับขี่ขึ้นสะพาน นายณรรฐพงษ์น่าจะเกิดอาการวูบ จนทำให้รถจักรยานยนต์เสียหลักพุ่งชนกำแพงขอบสะพานอย่างแรงก่อนที่เจ้าตัวจะกระเด็นตกสะพานลงมากระแทกพื้นข้างรางรถไฟจนเสียชีวิต ซึ่งตรวจสอบพบว่าสะพานกับพื้นรางรถไฟนั้น มีความสูงกว่า 20 เมตรเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม จะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนจะสรุปสำนวนคดีอีกครั้ง ส่วนร่างผู้เสียชีวิตเจ้าหน้าที่อาสาหน่วยบรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิการกุศลตาคลี ได้มีการนำศพส่งไปตรวจพิสูจน์ยังโรงพยาบาลตาคลี ก่อนจะรอให้ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิตมาติดต่อขอรับมอบศพนำกลับไปทำพิธีทางศาสนาต่อไป
Back to top