Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312001
ทั่วไป:13620582
ทั้งหมด:13932583
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 153, 154, 155  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2024 10:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สายสีแดง โชว์ผู้โดยสารโตรับ 20บาทตลอดสาย เตรียมชงบอร์ดรถไฟ30ก.ย.นี้
Source - บ้านเมืองออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13:40 น.

"สีแดง" ผู้โดยสารพุ่ง 50% เกินเป้าหมาย เตรียมชง ครม.ต่อมาตรการ 20 บาทตลอดสาย รฟฟท.จ่อผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:07 น.

รฟฟท.ชงข้อมูลมาตรการ 20 บาทตลอดสาย ผลตอบรับดีเกินคาด ดันผู้โดยสารเพิ่ม 50% สูงเกินเป้า อัปรายได้กลับมาเท่าจัดเก็บราคาปกติ ด้าน รฟท.เตรียมชงบอร์ด 30 ก.ย.นี้ก่อนเสนอ ครม.ต่อมาตรการปีที่ 2 พร้อมเตรียมผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทางรเข้าสถานีสายสีแดง ตั้งเป้าปี 68 ผู้โดยสารเพิ่ม 10%

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง 20 บาทตลอดสาย ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2566 ซึ่งจะครบระยะเวลา 1 ปีแล้ว ล่าสุดพบว่ามีตัวเลขผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่นำเสนอ ครม.เห็นชอบที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากมาตรการ 20 บาทตลอดสาย 10-15% หรือสูงสุดประมาณ 20% ถือว่า เกินความคาดหมายและประสบความสำเร็จอย่างมาก

เพื่อดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รฟฟท.ได้สรุปข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เสนอ ครม.ต่อขยายระยะเวลาออกไป ซึ่งประเมินว่าปี 2568 ผู้โดยสารจะเติบโตประมาณ 10%

ปัจจุบันรถไฟชานเมืองสายสีแดงมีขบวนรถ 25 ขบวน ใช้วิ่งให้บริการหมุนเวียน 10 ขบวนต่อวัน สายเหนือ (บางซื่อ-รังสิต) 178 เที่ยว/วัน สายตะวันออก บางซื่อ-ตลิ่งชัน 116 เที่ยว/วัน ความถี่ ในเวลาเร่งด่วน 10 นาที นอกเวลาเร่งด่วน 15 นาที รองรับผู้โดยสารได้ราว 2 แสนคนต่อวัน ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 คน/วันซึ่ง ล่าสุดทำนิวไฮไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาราว 4.2 หมื่นคน ทั้งปีคาดมีผู้โดยสาร 8-9 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มีเฉลี่ย 19,000คน/วัน และคาดว่าปี 2568 จะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 40,000 คน/วัน

ทั้งนี้ แม้มาตรการ 20 บาทตลอดสายรายได้ต่อคนจะหายไปราว 10 บาท เนื่องจากค่าเฉลี่ย ก่อนมาตรการจะใช้อัตราค่าโดยสารที่ 30 บาท/คน หลังใช้มาตรการ 20 บาทตลอดสายผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ทำให้รายได้กลับเข้ามาเท่ากับ ค่าเฉลี่ยค่าโดยสาร 30 บาท/คย

“ตามปกติรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางจะรีเทิร์นได้ราว 9-10 ปี ล่าสุดสายสีแดงพบว่าราว 3 ปีสามารถทำได้สำเร็จ ดังนั้นก็จะเทียบเท่าต้นทุนพื้นฐานการเดินรถไฟสายสีแดงราว 8.4 หมื่นคนต่อวัน โดยสถานีดอนเมืองจะเห็นภาพปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นชัดเจน”

นอกจากนี้ รฟฟท.ประเมินว่ากันยายนปี 2568 จะเชื่อมได้หลายสายมากขึ้น เช่นการ เชื่อมสายสีแดงกับสายสีม่วงที่บางซ่อน ยังคาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นราว 10-20% มั่นใจว่าปี 2568 จะเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 15%


@จ่อผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทาง นำร่องก่อน 3 เดือน

นายสุเทพกล่าวว่า ขณะนี้เตรียมทดลองทำฟีดเดอร์เชื่อม 3 พื้นที่กัยรถไฟสายสีแดง ได้แก่ 1.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตลาดนัดจตุจักร โดยใช้รถของรฟฟท.ให้บริการจำนวน 4 คัน เส้นทางวิ่งจะใช้พื้นที่ถนนด้านรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นหลัก กำหนดระยะเวลาวิ่งตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เริ่ม 5 ตุลาคม 2567 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ทดลองวิ่งให้บริการระยะเวลา 3 เดือน

เส้นทางที่ 2 เชื่อมจากตลิ่งชัน-สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางหว้า โดยรถชัตเติ้ลบัสของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้บริการโดยจะขอให้ผ่านจุดรับ-ส่งที่สถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงตลิ่งชัน

เส้นทางที่ 3 เชื่อมศูนย์ราชการ ผ่านรถไฟฟ้าสายสีแดง หลักสี่และผ่านศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ (เส้นทางหมายเลข 8) ด้านหลังศูนย์ราชการคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2024 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

5ต.ค.นั่งรถตู้ฟรีเชื่อมสถานีกลางฯ-จตุจักรต้นปีมีรถบัสอีวีสถานีตลิ่งชัน-MRT-BTSบางหว้า
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:33 น.

เริ่ม 5 ต.ค.นี้ รถไฟฟ้าสายสีแดงจัดรถตู้รับ-ส่งผู้โดยสารฟรีเชื่อม“จตุจักร”ทุกเสาร์-อาทิตย์ ต้นปีหน้าจัดรถบัสอีวีเชื่อมสถานีตลิ่งชันกับMRT-BTS บางหว้า เพื่อดึงยอดผู้โดยสารทะลุ4หมื่นคน ฟีดเดอร์เวิร์กสถานีหลักหกเชื่อมม.รังสิตผู้โดยสารเพิ่ม80%
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.67 รถไฟฟ้าสายสีแดง จะจัดบริการรถตู้รับ-ส่งผู้โดยสาร จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตึกแดงวินเทจ จตุจักร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางเชื่อมต่อ โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร และบริเวณใกล้เคียง อาทิ เจเจมอลล์ จตุจักร และตลาด อ.ต.ก. เป็นต้น  ให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ รถออกทุก 30 นาทีตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. จุดจอดอยู่ที่ประตู 13 สถานีกลางฯ หากผู้ใช้บริการจำนวนมาก จะปรับความถี่ในการให้บริการให้เหมาะสม



นายสุเทพ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้จัดเตรียมรถตู้ไว้คอยบริการ 4 คัน ทดลองวิ่ง 3 เดือน หากได้รับการตอบรับที่ดีจะจัดหารถเพิ่มเติม หรือเพิ่มความถี่ในการให้บริการต่อไป รถไฟฟ้าสายสีแดง พยายามปรับปรุง และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ทุกคนได้รับความพึงพอใจสูงสุด และได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ทั้งนี้คาดว่าการจัดบริการรถรับ-ส่งดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้มีผู้โดยสารหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้น 30% ของปริมาณผู้โดยสารวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ2.2 หมื่นคนต่อวัน

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ รฟฟท. ได้จัดให้บริการรถรับ-ส่งผู้โดยสารเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นจุดแรกนำร่องที่สถานีหลักหก-มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิต จัดเป็นรถสองแถว ได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะนักศึกษา และประชาชนในละแวกใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมาใช้บริการจำนวนมาก ส่งผลให้ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารสถานีหลักหกอยู่ที่ประมาณ 1,800 คนต่อวัน เพิ่มขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีรถรับ-ส่งให้บริการฟรี

ADVERTISEMENT



 นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังมีแผนจัดบริการรถรับ-ส่งผู้โดยสารเชื่อมต่อระหว่างสถานีตลิ่งชันและรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้า MRT สถานีบางหว้าด้วยรถบัสอีวี คาดว่าจะเริ่มบริการได้ภายในต้นปี 68 นอกจากทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกการเดินทางแล้ว ยังดึงดูดประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้นจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและลดมลพิษ

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ภาพรวมปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 3.3 หมื่นคนต่อวัน จากเดิมประมาณกว่า 2 หมื่นคนต่อวัน ทำสถิติผู้โดยสารผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) อยู่ที่ 39,566 คน เมื่อวันที่ 9 ก.พ.67 ทั้งนี้สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีผู้โดยสารสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 8,600 คนต่อวัน 2.สถานีดอนเมือง 4,500 คนต่อวัน และ 3.สถานีรังสิต 4,200 คนต่อวัน

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ให้บริการรถไฟฟ้า 8 ขบวน โดยสายเหนือ ช่วงสถานีกลางฯ-สถานีรังสิต (ธานีรัถยา) ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า เวลา 07.00-09.30 น.และเย็น เวลา 17.00 -19.30 น. ความถี่ในการให้บริการ 10 นาที ส่วนนอกช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า เวลา 05.00-07.00 น. และ 09.30-17.00 น. และเย็น เวลา 19.30-24.00 น. ความถี่ในการให้บริการ 15 นาที ขณะที่สายตะวันตกช่วงสถานีกลางฯ-ตลิ่งชัน(นครวิถี) ความถี่ในการให้บริการ 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47080
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2024 10:40 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.อนุมัติต่ออายุมาตรการ 20 บ.ตลอดสาย 'สายสีแดง' อีก 1 ปี
วันพุธ ที่ 02 ตุลาคม 2567 เวลา 10:00 น. isranews

https://www.isranews.org/article/isranews-news/132233-transport-68.html

The State Railway of Thailand (SRT) board has approved a one-year extension of the 20 baht flat fare for the Red Line commuter train service.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2024 10:53 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
5ต.ค.นั่งรถตู้ฟรีเชื่อมสถานีกลางฯ-จตุจักรต้นปีมีรถบัสอีวีสถานีตลิ่งชัน-MRT-BTSบางหว้า
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:33 น. .


ดีเดย์! 5 ต.ค.นี้สายสีแดงเปิดให้บริการฟรี Shuttle เสาร์-อาทิตย์ เชื่อมตลาดนัดจตุจักรอย่างไร้รอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:46 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19:23 น.
KEY POINTS
• เริ่มให้บริการ 5 ตุลาคมนี้: รถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้บริการ Free Shuttle เสาร์-อาทิตย์
• เชื่อมต่อตลาดนัดจตุจักรอย่างไร้รอยต่อ: บริการรับส่งฟรีช่วยให้เดินทางไปตลาดนัดจตุจักรสะดวกสบาย
• สนับสนุนนโยบายภาครัฐ: บริการนี้สอดคล้องกับนโยบายรัฐที่เน้นการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ
• เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่ง: รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วยเพิ่มทางเลือกด้านการขนส่งรอง




5 ตุลาคมนี้รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดให้บริการ Free Shuttle เสาร์-อาทิตย์ เชื่อมต่อตลาดนัดจตุจักรอย่างไร้รอยต่อ หนุนนโยบายภาครัฐในการเพิ่มขีดความสามารถด้วยการเข้าถึงระบบการขนส่งรองอย่างสะดวก

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางให้มีความสะดวก สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก และปลอดภัย รวมถึงลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทาง อีกทั้งเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบขนส่งรอง เพื่อเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ผ่านรูปแบบการเดินทางที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ หรือการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Transport) บริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบ Feeder เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยจัดรถตู้รับ-ส่งผู้โดยสารจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (ประตู 13) ไปยังตลาดนัดจตุจักร บริเวณตึกแดง และกลับมายังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกครั้ง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บริการในเส้นทางนี้ได้ในทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ให้บริการทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะทดลองให้บริการในระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน หากได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้บริการก็สามารถขยายระยะเวลาการให้บริการต่อไปได้



ระบบ Feeder ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง หากมีการพัฒนาระบบ Feeder ที่มีความสะดวก และครอบคลุม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โครงข่ายการคมนาคมขนส่งมีความยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ โดยบริษัทฯ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าด้วยมาตรฐานระดับสากล มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการอย่างเต็มความสามารถ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2024 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

(สัมภาษณ์) เจาะแผน “รฟฟท.” ดึงเอกชนเวียดนาม พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในไทย
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:27 น.
อัปเดตล่าสุด :วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:05 น.
“รฟฟท.” จับมือเวียดนามพัฒนาระบบราง เดินหน้าขยายบริการขนส่งทางรางเต็มสูบ ลุยใช้ทุนญี่ปุ่น รุกเทคโนโลยีเสริมศักยภาพ รัยนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ขยายผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงพุ่ง 50%
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รฟฟท. หนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคมที่เป็นผู้ดูแลกิจการรถไฟฟ้าต่างๆ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟสายสีแดง

ล่าสุด รฟฟท.ได้มีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาดูงานระบบขนส่งทางรางที่บริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 ในประเทศเวียดนาม เพื่อนำมาปรับใช้และต่อยอดระบบขนส่งทางรางในไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต

(สัมภาษณ์) เจาะแผน “รฟฟท.” ดึงเอกชนเวียดนาม พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในไทย

จับมือเวียดนามพัฒนาระบบราง
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือรฟฟท. ให้สัมภาษณ์ว่า รฟฟท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับบริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและการจัดการระบบรถไฟฟ้า คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะด้านการดำเนินงานและการซ่อมบำรุง

“จากการที่รถไฟฟ้าสายสีแดงของกรุงเทพฯ เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 3 ปี พร้อมด้วยประสบการณ์ในการให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ดำเนินงานมากว่า 12 ปี ความร่วมมือนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน” นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ต่อว่า บริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 ได้วางแผนที่จะส่งบุคลากรมาฝึกงานและเรียนรู้การดำเนินงานกับ SRTET ในกรุงเทพฯ

นับเป็นการสร้างโอกาสความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ระยะยาวทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีการวางแผนในอนาคตที่จะพัฒนาความร่วมมือเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ


ลุยใช้ทุนญี่ปุ่น รุกเทคโนโลยี
ขณะเดียวกันความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีนโยบายด้านการซ่อมบำรุง เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและเทคโนโลยี อีกทั้งมีจุดร่วมหลายอย่างที่คล้ายกัน โดยมุ่งเน้นการใช้ทุนจากญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และการใช้ระบบรถไฟฟ้าของฮิตาชิเป็นส่วนสำคัญ

สายสีแดง ดันผู้โดยสารพุ่ง 3 หมื่นคน
ส่วนความคืบหน้าการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟสายสีแดง ตามนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 50% เกินจากที่คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นที่คาดว่าจะเพิ่มมากสุด 20%

ทั้งนี้ยังพบว่าก่อนเริ่มนโยบายดังกล่าว มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 19,000 คนต่อวัน แต่หลังจากที่เริ่มใช้นโยบายฯ พบว่าในปี 2567 มีจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 30,000 คนต่อวัน หรือมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 50%

“เมื่อรวมทั้งปี มีผู้โดยสารมาใช้บริการอยู่ที่ 7-9 ล้านคน ถือว่าบริษัทมีส่วนช่วยให้ประชาชนที่มาใช้บริการลดค่าครองชีพได้ ในแง่ของรายได้ไม่ส่งผลกระทบให้รายได้ลดลง ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบว่ารายได้เทียบเท่ากับก่อนประกาศใช้นโยบายดังกล่าว นับว่าโครงการนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ” นายสุเทพ กล่าว


ทะลวงงบปี 68 ปูพรมระบบรางไฮสปีด-ทางคู่ ลุย 44 โปรเจ็กต์ ลงทุน 2.31 ล้านล้าน
นอกจากนี้บริษัทประเมินว่า ภายในปี 2568 จะมีผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟสายสีแดงเพิ่มขึ้นถึง 40,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับปีนี้ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน

ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้โดยสารที่ดำเนินการโดยนิด้าโพล โดยกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,000 คน พบว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านคุณภาพการบริการ คุณภาพพนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่คุ้มค่าอยู่ในระดับสูงราว 90%


ต่อเวลา 1 ปี รับ 20 บาทตลอดสาย
ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบนำร่องให้โครงการรถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดำเนินมาตรการตามนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 นั้น

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ,รฟท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการประชุมเพื่อพิจารณาและจัดทำข้อเสนอการต่ออายุมาตรการขยายเวลารถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ออกไปอีก 1 ปี เพื่อสอดรับกับนโยบายดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

ลุ้นปิดดีล “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
นายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ปิดท้ายว่า ส่วนประเด็นการเจรจาแก้ไขร่างสัญญาของรฟท.ร่วมกับบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ผู้รับสัมปทานในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเร่งรัดแก้ไขร่างสัญญาร่วมกัน

อย่างไรก็ตามหากมีการลงนามสัญญาแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจะดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินงานต่อ คาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายในปลายปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2024 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

(สัมภาษณ์) เจาะแผน “รฟฟท.” ดึงเอกชนเวียดนาม พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในไทย
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:27 น.
อัปเดตล่าสุด : วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:05 น.

“รฟฟท.” จับมือเวียดนามพัฒนาระบบราง เดินหน้าขยายบริการขนส่งทางรางเต็มสูบ ลุยใช้ทุนญี่ปุ่น รุกเทคโนโลยีเสริมศักยภาพ รัยนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ขยายผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงพุ่ง 50%
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รฟฟท. หนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคมที่เป็นผู้ดูแลกิจการรถไฟฟ้าต่างๆ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟสายสีแดง

ล่าสุด รฟฟท.ได้มีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาดูงานระบบขนส่งทางรางที่บริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 ในประเทศเวียดนาม เพื่อนำมาปรับใช้และต่อยอดระบบขนส่งทางรางในไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต

(สัมภาษณ์) เจาะแผน “รฟฟท.” ดึงเอกชนเวียดนาม พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในไทย

จับมือเวียดนามพัฒนาระบบราง
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือรฟฟท. ให้สัมภาษณ์ว่า รฟฟท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับบริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและการจัดการระบบรถไฟฟ้า คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะด้านการดำเนินงานและการซ่อมบำรุง

“จากการที่รถไฟฟ้าสายสีแดงของกรุงเทพฯ เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 3 ปี พร้อมด้วยประสบการณ์ในการให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ดำเนินงานมากว่า 12 ปี ความร่วมมือนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน” นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ต่อว่า บริษัท HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 ได้วางแผนที่จะส่งบุคลากรมาฝึกงานและเรียนรู้การดำเนินงานกับ SRTET ในกรุงเทพฯ

นับเป็นการสร้างโอกาสความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ระยะยาวทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีการวางแผนในอนาคตที่จะพัฒนาความร่วมมือเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ


ลุยใช้ทุนญี่ปุ่น รุกเทคโนโลยี
ขณะเดียวกันความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีนโยบายด้านการซ่อมบำรุง เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและเทคโนโลยี อีกทั้งมีจุดร่วมหลายอย่างที่คล้ายกัน โดยมุ่งเน้นการใช้ทุนจากญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และการใช้ระบบรถไฟฟ้าของฮิตาชิเป็นส่วนสำคัญ

สายสีแดง ดันผู้โดยสารพุ่ง 3 หมื่นคน
ส่วนความคืบหน้าการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟสายสีแดง ตามนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 50% เกินจากที่คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นที่คาดว่าจะเพิ่มมากสุด 20%

ทั้งนี้ยังพบว่าก่อนเริ่มนโยบายดังกล่าว มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 19,000 คนต่อวัน แต่หลังจากที่เริ่มใช้นโยบายฯ พบว่าในปี 2567 มีจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 30,000 คนต่อวัน หรือมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 50%

“เมื่อรวมทั้งปี มีผู้โดยสารมาใช้บริการอยู่ที่ 7-9 ล้านคน ถือว่าบริษัทมีส่วนช่วยให้ประชาชนที่มาใช้บริการลดค่าครองชีพได้ ในแง่ของรายได้ไม่ส่งผลกระทบให้รายได้ลดลง ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบว่ารายได้เทียบเท่ากับก่อนประกาศใช้นโยบายดังกล่าว นับว่าโครงการนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ” นายสุเทพ กล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
3 เดือนที่แล้ว
รฟฟท. ปลื้ม “สายสีแดง” ดันผู้โดยสารพุ่ง 7 ล้านคน รับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
18 วันที่แล้ว
“รฟฟท.” จับมือ บริษัทรถไฟฟ้าเวียดนาม อัพเกรดความรู้ รุกระบบราง
14 ชั่วโมงที่แล้ว
ทะลวงงบปี 68 ปูพรมระบบรางไฮสปีด-ทางคู่ ลุย 44 โปรเจ็กต์ ลงทุน 2.31 ล้านล้าน
นอกจากนี้บริษัทประเมินว่า ภายในปี 2568 จะมีผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟสายสีแดงเพิ่มขึ้นถึง 40,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับปีนี้ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน

ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้โดยสารที่ดำเนินการโดยนิด้าโพล โดยกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,000 คน พบว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านคุณภาพการบริการ คุณภาพพนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่คุ้มค่าอยู่ในระดับสูงราว 90%

สุเทพ พันธุ์เพ็ง
สุเทพ พันธุ์เพ็ง

ต่อเวลา 1 ปี รับ 20 บาทตลอดสาย
ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบนำร่องให้โครงการรถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดำเนินมาตรการตามนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 นั้น

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ,รฟท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการประชุมเพื่อพิจารณาและจัดทำข้อเสนอการต่ออายุมาตรการขยายเวลารถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ออกไปอีก 1 ปี เพื่อสอดรับกับนโยบายดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

ลุ้นปิดดีล “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
นายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ปิดท้ายว่า ส่วนประเด็นการเจรจาแก้ไขร่างสัญญาของรฟท.ร่วมกับบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ผู้รับสัมปทานในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเร่งรัดแก้ไขร่างสัญญาร่วมกัน

อย่างไรก็ตามหากมีการลงนามสัญญาแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจะดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินงานต่อ คาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายในปลายปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2024 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเส้นทาง "รถไฟฟ้าสายสีแดง" เชื่อมสถานีไหน ค่าโดยสารเท่าไร เช็กเลยที่นี่
ไลฟ์สไตล์ไลฟ์
ไทยรัฐออนไลน์
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567 14:39 น.


รถไฟฟ้าสายสีแดง คือ รถไฟชานเมือง สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางไปยังปริมณฑล ทั้งนี้ รถไฟฟ้า BTS สายสีแดงเพิ่งเปิดให้ใช้บริการได้ไม่นาน ใครที่ยังสับสนว่าสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ที่ไหน เชื่อมต่อสถานีใด และราคาเท่าไรบ้าง ติดตามสรุปข้อมูลเข้าใจง่ายได้ในบทความ

รถไฟฟ้าสายสีแดงคืออะไร สร้างขึ้นมีจุดประสงค์อะไร
รถไฟฟ้าสายสีแดง สร้างขึ้นเพื่อทดแทนระบบรถไฟเดิมที่มีความล่าช้า ในขณะเดียวกันก็สร้างขึ้นเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการในการเดินทางจากกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ต่างๆ ไปยังชานเมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงมีกี่เส้นทาง อะไรบ้าง
รถไฟฟ้าสีแดง ปัจจุบันแบ่งออกเป็นสีแดงเข้ม และสีแดงอ่อน ซึ่งมีเส้นทางและสถานี ดังนี้

รถไฟฟ้าสีแดงเข้ม
รถไฟฟ้าสีแดงเข้มเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ วิ่งขึ้นทางทิศเหนือ ปลายทางรังสิต มี 14 สถานี ดังนี้

สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
สถานีจตุจักร
สถานีวัดเสมียนนารี
สถานีบางเขน
สถานีทุ่งสองห้อง
สถานีหลักสี่
สถานีการเคหะ
สถานีดอนเมือง
สถานีหลักหก
สถานีรังสิต
สถานีคลองหนึ่ง
สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
สถานีเชียงราก
สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
อย่างไรก็ดี เส้นทางทิศเหนือ หากสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต สำเร็จภายในปี 2569 ก็จะมีการขยายเส้นทางไปยัง จ.พระนครศรีอยุธยาเพิ่ม ได้แก่

สถานีนวนคร
สถานีเชียงรากน้อย
สถานีบางปะอิน
สถานีบ้านโพธิ์
สถานีอยุธยา
สถานีบ้านม้า
สถานีมาบพระจันทร์
สถานีพระแก้ว
สถานีบ้านภาชี
...


ส่วนเส้นทางใต้ จะมีการสร้างส่วนขยายเพิ่มขึ้นจากสถานีกลางบางซื่อ ดังนี้

สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
สถานีสามเสน
สถานีแยกราชวิถี
สถานียมราช
สถานียศเส
สถานีหัวลำโพง
สถานีคลองสาน
สถานีวงเวียนใหญ่
สถานีตลาดพลู
สถานีวุฒากาศ
สถานีจอมทอง
สถานีวัดไทร
สถานีวัดสิงห์
สถานีบางบอน
สถานีรางสะแก
สถานีรางโพธิ์
สถานีสามแยก
สถานีพรมแดน
สถานีทุ่งสีทอง
สถานีบางน้ำจืด
สถานีคอกควาย
สถานีเอกชัย
สถานีมหาชัย
อย่างไรก็ดี ยังมีการวางแผนดำเนินการเปิดเส้นทางใหม่จากมหาชัยไปยังปากท่อ ทั้งนี้ อาจจะต้องรอความพร้อมและกำหนดการชัดเจนที่ชัดเจนในอนาคต

รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน
รถไฟฟ้าสีแดงเข้มเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ วิ่งทางทิศตะวันตก ปลายทางตลิ่งชัน และทิศตะวันออก ปลายทางหัวหมาก มีทั้งหมด 31 สถานี เปิดให้บริการทางด้านทิศตะวันตกแล้ว 3 สถานี ดังนี้

สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
สถานีบางซ่อน (เปิดให้บริการแล้ว)
สถานีบางบำหรุ (เปิดให้บริการแล้ว)
สถานีตลิ่งชัน (เปิดให้บริการแล้ว)
สถานีบ้านฉิมพลี
สถานีกาญจนาภิเษก
สถานีศาลาธรรมสพน์
สถานีศาลายา
นอกจากนี้ จะมีการส่วนขยายเพิ่มที่สถานีตลิ่งชัน ไปตามเส้นทาง คือ สถานีตลิ่งชัน > สถานีสำนักงานเขตตลิ่งชัน > สถานีบางขุนนนท์ และสิ้นสุดที่สถานีศิริราช

ส่วนเส้นทางส่วนขยายทางทิศตะวันออกนั้นยังไม่เปิดให้บริการ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนและเตรียมดำเนินการ ดังนี้

สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
สถานีแยกราชวิถี
สถานีพญาไท
สถานีมักกะสัน
สถานีรามคำแหง
สถานีหัวหมาก

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อ BTS หรือ MRT อะไรบ้าง
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และสีแดงอ่อน เชื่อมต่อกับสถานีสำคัญ ได้แก่

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน สายท่าอากาศยาน สายสีแดงอ่อน รวมถึงยังเชื่อมต่อกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สามารถเดินทางต่อด้วยรถไฟได้ทั่วประเทศไทยได้อย่างสะดวก
สถานีบางเขน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู
สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อกับสายท่าอากาศยาน
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน สายท่าอากาศยาน สายสีแดงอ่อน รวมถึงยังเชื่อมต่อกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสีม่วง
...

ADVERTISEMENT

เปิดข้อมูล "สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์" สถานีเริ่มต้นรถไฟฟ้าสายสีแดง
สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานีเริ่มต้นที่ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีทั้หงมด 4 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่จอดรถ รองรับรถได้สูงสุด 1,700 คัน
ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่สำหรับจำน่ายตั๋ว ร้านค้า ห้องควบคุม และโถงพักคอย
ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล รูปแบบชานชาลาตรงกลาง จำนวน 12 ชานชาลา
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมือง รูปแบบชานชาลาตรงกลาง จำนวน 12 ชานชาลา ในระยะแรกเปิดใช้เพียง 4 ชานชาลา
อย่างไรก็ดี ประตูทางเข้า-ออกรถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อหลายสถานที่ ได้แก่

ประตู 1-4 ฝั่งตะวันออก : ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, ถนนกำแพงเพชร 6, สถานีขนส่ง บขส. หมอชิต, ตลาด อ.ต.ก., ตลาดนัดจตุจักร และทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วน)
ประตู 1-4 ฝั่งตะวันตก : SCG สำนักงานใหญ่, สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ, ถนนกำแพงเพชร 2, ถนนเทอดดำริ, MRT บางซื่อ และป้ายรถประจำทาง
ทั้งนี้ ทางเชื่อมภายในอาคารบริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว 2 จะเชื่อมต่อกับ MRT บางซื่อ


...

แจกแผนที่รถไฟฟ้าสายสีแดง
หากใครที่ยังสับสนกับเส้นทางการเดินทาง หรือส่วนขยายของรถไฟฟ้าสายสีแดง แนะนำให้บันทึกแผนที่เก็บไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่


ขอบคุณภาพจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ค่าบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเท่าไรบ้าง
อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดงคิดตามระยะทาง โดยราคาเริ่มต้นที่ 12-42 บาท ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติปรับมาตรการสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยลดค่าครองชีพจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

รถไฟฟ้าสายสีแดงเริ่มให้บริการกี่โมง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 น. ส่วนขบวนสุดท้ายจะสิ้นสุดการให้บริการตอน 00.00 น. หากเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งขึ้นเหนือ ปลายทางรังสิตจะใช้เวลา 23 นาที แต่หากวิ่งทิศตะวันตกปลายทางตลิ่งชันจะใช้เวลา 16 นาที

...


แม้ว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงยังเปิดให้บริการไม่ครบทุกเส้นทาง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการเดินทางที่สะดวกสบาย ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด อีกทั้งหากในอนาคตเปิดเส้นทางส่วนขยายแล้วก็จะทำให้การเดินทางสะดวกสบายได้ยิ่งขึ้น
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2820710
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2024 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

🚇รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงแนะนำจุดรอขบวนรถไฟฟ้าเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการใช้บริการ
.
🚇ขบวนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงให้บริการทั้งขนาด 4 ตู้ และ 6 ตู้
.
📣ขอความร่วมมือท่านผู้โดยสาร
ยืนรอตามประตูหมายเลขบนชั้นชานชาลาดังนี้…
.
🚇รถไฟฟ้าขบวน 4 ตู้
🔺จุดจอดบนชานชาลาหมายเลข 4 - 15
.
🚇รถไฟฟ้าขบวน 6 ตู้
🔺จุดจอดบนชานชาลาหมายเลข 1 - 18
.
♿️สำหรับผู้โดยสารรถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair)
▶️ฝั่งไป สถานีรังสิต จุดจอดบนชานชาลาหมายเลข 10
▶️ฝั่งไป สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ จุดจอดบนชานชาลาหมายเลข 9
.
* ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะประชาสัมพันธ์เสียงประกาศให้ทราบก่อนเวลาขบวนรถไฟฟ้าเข้าเทียบชานชาลา
.
📌#หมายเหตุ : #เริ่มวันที่1พฤศจิกายน2567
https://www.facebook.com/REDLineSRTET/posts/531260656192544
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43880
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2024 10:36 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะเพิ่มค่างานระบบสายสีแดงอีก 847 ล้านบาท เหตุยืดก่อสร้างทำงบรวมทั้งโครงการทะลุ 9.84 หมื่นล้าน
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:29 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:29 น.



บอร์ดรฟท.อนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินรถไฟสายสีแดงสัญญา 3 งานติดตั้งระบบ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันอีก 847.74 ล้านบาท หลังขยายสัญญา 938 วัน เตรียมชงครม.พร้อมสัญญา 1 และ 2 ส่งผลวงเงินรวมเพิ่มกว่า 1,613.82 ล้านบาทเป็น 98,482.15 ล้านบาท

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ (บอร์ดรฟท.) ครั้งที่ 14/2567 เมื่อวันที่ 24 ต.ค.
2567 มีมติอนุมัติกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อ- ตลิ่งชัน อันเนื่องมาจากปัญหาอุปสรรค ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง จำนวน 938 วันเป็นจำนวนเงินทั้สิ้น 847,746,729.42 บาท


พร้อมทั้งอนุมัติในการปรับกรอบวงเงินโครงการรถไฟสายสีแดง เนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างงาน สัญญาที่ 1 ,สัญญาที่ 2,สัญญาที่ 3 รวมกันคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,613,824,075.42 บาท ทำให้กรอบวงเงินโครงการฯตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2565 อนุมัติจำนวน 96,868,332,434.95 บาท เพิ่มเป็น 98,482,156,510.37 บาท

โดยหลังจากนี้รฟท.จะรายงานต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอต่อครม.พิจารณาต่อไป และให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ จัดหาแหล่งเงินที่เหมาะสมในการดำเนินงานพร้อมทั้งค้ำประกันเงินกู้

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ- ตลิ่งชัน มี กลุ่มบริษัท MHSC ประกอบด้วย บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd. บริษัทHitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงานก่อสร้างวันที่28 มิ.ย. 2559 มีระยะเวลาดำเนินการ 1,440 วัน กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 6 มิ.ย. 2563



โดยมีการขยายเวลาก่อสร้างรวม 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ขยายเวลา 87 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 7 มิ.ย. 2563 - วันที่ 1 ก.ย. 2563 เนื่องจากปัญหาอุปสรรคซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยเป็นความล่าช้าจากการจัดหากระแสไฟฟ้าเพื่อทำการทดสอบและเดินรถเสมือนจริง

ครั้งที่ 2 ขยายเวลา 165 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 2 ก.ย. 2563 -วันที่ 13 ก.พ. 2564
เนื่องจาก ปัญหาอุปสรรคซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างโดยเป็นความล่าช้าจากการจัดหากระแสไฟฟ้าเพื่อทำการทดสอบและเดินรถเสมือนจริง

ครั้งที่ 3 ขยายเวลา 223 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 14 ก.พ. 2564 - วันที่24 ก.ย. 2564 เนื่องจากปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการเข้าพื้นที่ของสัญญาที่1 (งานโยธาสำหรับสถานีบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง)

ครั้งที่ 4 ขยายเวลา 463 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 24 ก.ย. 2564 -วันที่31 ธ.ค. 2565 เนื่องจากความล่าช้าจากการดำเนินงานเพิ่มเติมงานโยธาสถานีรังสิต และงานเชื่อมต่อระบบอาณัติสัญญาณของโครงการกับระบบอาณัติสัญญาณเดิม

โดยกลุ่มบริษัท MHSC เสนอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563- ธ.ค. 2565 เป็นจำนวนเงิน 2,035.39 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่าย 6 รายงาน ได้แก่ ด้านบุคลากร ผู้รับจ้างช่วง ค่าเสื่อมวัสดุและอุปกรณ์การบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งรฟท.ได้มีการตรวจสอบและพิจารณาตามเหตุผลและค่าใช้จ่ายจริง ปรับลดลงเหลือ 847.76 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสัญญาที่ 1 และ2 นั้น บอร์ดรฟท.ได้มีมติตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 อนุมัติค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมการขยายระยะเวลาก่อสร้าง โดยจะเสนอครม.ขอปรับกอบวงเงินโครงการในคราวกันทั้ง 3 สัญญา โดยสัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง )​มี กิจการร่วมค้า เอส ยู(บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ซึ่งเป็นรับจ้าง ขยายเวลาจำนวน 871 วัน (วันที่ 10 ก.ค.2560-วันที่ 28 พ.ย. 2562) เป็นจำนวนเงิน 680,057,076 บาทสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต) มีบมจ.อิตาเลียนไทยดีเวลล๊อปเมนต์ ( ITD) เป็นผู้รับจ้าง ขยายเวลาจำนวน 215 วัน (วันที่ 10 ก.ค.2560-วันที่ 10 ก.พ. 2561) เป็นจำนวนเงิน 86,020,270 บาท
https://mgronline.com/business/detail/9670000105960
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47080
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 7:33 am    Post subject: Reply with quote

EIA” ต่อขยาย “สายสีแดง” หมดอายุ! ชงครม. 10 ปี ยังไม่เข้าที่ประชุม
Source - เดลินิวส์
Wednesday, November 06, 2024 04:46

ชงครม.10ปีไม่ถึงที่ประชุม

ศิริราช-ศาลายากับมธ.รังสิต

"ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 67 กระทรวงคมนาคม ได้เสนอโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงศิริราชตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 15,176 ล้านบาท ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว เพื่อบรรจุเป็นวาระในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้เสนอส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473.98 ล้านบาท ไปยัง สลค.แล้ว แต่ก็ยังไม่บรรจุเข้าเป็นวาระในการพิจารณาของที่ประชุม ครม.

สำหรับช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ได้เสนอสลค. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ทาง สลค. ได้ส่งเรื่องคืนกลับกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาว่ายังจะเสนอเรื่องเข้าครม. เหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมยืนยันส่งโครงการกลับไปยัง สลค. แล้ว โดยเป็นเส้นแรกของโครงการต่อขยายสายสีแดง จนกระทั่งล่าสุดได้เสนอช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา เพื่อให้ ครม. พิจารณาเป็นเส้นที่สอง ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,573.85 ล้านบาท ขณะนี้ รฟท. เสนอเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว เพื่อพิจารณาเสนอ ครม.ต่อไป

หาก ครม. เห็นชอบโครงการฯ รฟท. สามารถเปิดประกวด ราคาได้ทันที แต่จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้ง 2 เส้นทางช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต และช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา หมดอายุแล้ว รฟท. ต้องหารือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ว่า ต้องศึกษาจัดทำ EIA ใหม่หรือไม่ หรือเพียงปรับปรุง EIA ฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบัน หาก EIA ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน EIA (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แม้จะประมูล และได้ผู้รับจ้างแล้ว แต่ก็จะไม่สามารถ ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ ต้องรอ EIA ผ่านเรียบร้อยก่อน

สำหรับรายงาน EIA ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ผ่านความเห็นชอบจาก สผ. เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 58 ขณะที่ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ผ่านความเห็นชอบจาก สผ. เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 59 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง มีการปรับแบบใหม่ จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA ด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก. อย่างไรก็ตาม EIA จะมีอายุ 5 ปี นับจากที่ สผ. แจ้งเห็นชอบ โดยตามปกติต้องดำเนินโครงการภายใน 5 ปี หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดจะต้องปรับปรุงหรือทำรายงาน EIA ใหม่

โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต และช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา เตรียมเรื่องเสนอ ครม. มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่บรรจุเป็นวาระพิจารณาของที่ประชุม ครม. ทั้งนี้แผนงานที่ปรับครั้งล่าสุดช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต มีแผนเปิดประมูลเดือน พ.ค. 67 เริ่มก่อสร้างเดือน ม.ค. 68 และเปิดบริการเดือน ม.ค. 71 ส่วนช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา เปิดประมูลเดือน ก.ย. 67 เริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 68 และเปิดบริการเดือน พ.ค.71

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องถึงความย้อนแย้ง ในการนำเสนอโครงการเข้าที่ประชุม ครม. ทั้งที่ EIA หมดอายุและประเด็นปัญหาที่โครงการไม่ถูกบรรจุในที่ประชุม ครม.แต่ ไม่มีผู้ใดอธิบายรายละเอียดได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 พ.ย. 2567


Red Line Extension Project Faces Delays Due to Expired Environmental Impact Assessments

The Ministry of Transport's proposal to extend the Red Line suburban train network faces significant hurdles due to expired Environmental Impact Assessment (EIA) reports. This affects two proposed extensions:

1. Siriraj-Taling Chan-Salaya Extension: This 20.5 km extension, with a budget of 15,176 million baht, aims to connect central Bangkok with the western suburbs.
2. Rangsit-Thammasat University (TU) Rangsit Center Extension: This 8.84 km extension, with a budget of 6,473.98 million baht, seeks to improve connectivity to the northern suburbs.

Both extensions have been under consideration for nearly a decade. The EIA report for the Rangsit-TU Rangsit Center section was approved by the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP) on March 18, 2015. The EIA for the Taling Chan-Siriraj and Taling Chan-Salaya sections was approved on July 12, 2016. However, EIA reports in Thailand are valid for five years. As neither project commenced construction within this timeframe, the EIAs have expired.

This presents a procedural challenge. Before proceeding with the bidding process, the State Railway of Thailand (SRT) must consult with ONEP to determine whether new EIA studies are required or if updates to the existing reports suffice. Until the EIA issue is resolved and approved by the EIA Report Review Committee (ECC) and the National Environment Board (NEB), contracts cannot be awarded, further delaying the project.

This delay highlights the critical importance of timely project implementation in infrastructure development. The lapse of EIAs necessitates additional bureaucratic processes, potentially incurring unforeseen costs and extending the project timeline. This situation underscores the need for efficient project management and coordination between relevant agencies to avoid such impediments.

Furthermore, the Ministry of Transport is also considering two additional extensions:

1. Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak Section: This section aims to enhance connectivity within central Bangkok.
2. Dark Red Line, Bang Sue-Hua Lamphong Section (Missing Link): This 25.9 km section, with a budget of 44,573.85 million baht, will fill a crucial gap in the Red Line network.

These sections require revisions to their EIA reports due to adjustments in the project plans. The revised reports are currently under review by the National Economic and Social Development Board (NESDB).

The delays caused by the expired EIAs raise concerns about the overall efficiency of infrastructure development in Thailand. Streamlining approval processes and ensuring timely project execution are crucial for meeting the nation's transportation needs and promoting economic growth.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 153, 154, 155  Next
Page 154 of 155

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©