RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312004
ทั่วไป:13620979
ทั้งหมด:13932983
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 575, 576, 577, 578, 579, 580  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2024 10:58 am    Post subject: Reply with quote

เร่งแก้สัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Tuesday, November 05, 2024 08:12

บทบรรณาธิการ

หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติเห็นชอบ "หลักการ" ในการปรับปรุงสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ไปเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงสัญญาดังกล่าวถือเป็น "หัวใจ" สำคัญที่รัฐบาลเชื่อว่า จะสามารถผลักดันให้โครงการดำเนินการต่อไปได้หลังจากที่ประสบความล่าช้ามาไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยนับจากวันที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ในเดือนตุลาคม 2562

ความล่าช้าดังกล่าวอาจพูดได้ว่า ไม่ได้เกิดจากคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังเกิดจากการระบาดของโควิด-19 การส่งมอบพื้นที่โครงการล่าช้า และเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนของ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จนอาจเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า "ผิดทั้งคู่" แต่ในคำกล่าวนั้นจะต้องมาชั่งน้ำหนักดูว่า รัฐบาลชุดที่ผ่าน ๆ มาได้เร่งแก้ปัญหาและชดเชยความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากข้ออ้างการระบาดของโควิด-19 และการไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนใหญ่อันเป็นสาระสำคัญของโครงการได้หรือไม่

แต่มาครั้งนี้ การเจรจาเพื่อขอแก้สัญญาระหว่าง ร.ฟ.ท.กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ถือเป็นความหวังได้ว่า โครงการจะประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุที่ว่า สาระสำคัญในการขอแก้สัญญาครอบคลุมกับข้อเรียกร้องตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เริ่มต้นเซ็นสัญญา ไม่ว่าจะเป็น วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost) จากเดิมที่รัฐจะแบ่งจ่าย มาเป็นการจ่ายเป็นงวด ๆ ตามความก้าวหน้าของงาน นั้นหมายความว่า บริษัท เอเชีย เอรา วัน จะได้รับเงินค่าก่อสร้างเร็วขึ้น โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม

หรือการชำระค่าสิทธิในการร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้แบ่งชำระค่าสิทธิเป็น 7 งวดเป็นรายปีจำนวนเท่า ๆ กัน แต่บริษัทก็ต้องวางหนังสือค้ำประกันมีมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ (ARL) ที่ได้รับ และการกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติม หากดอกเบี้ยเงินกู้โครงการลดลงในอนาคต ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของบริษัทเพื่อขอบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 มาตั้งแต่ต้น

ที่สำคัญก็คือ การ "ยกเว้น" เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งเป็นข้อต่อรองหลังสิ้นสุดการระบาดของโควิด-19 เพื่อให้บริษัทไม่ต้องนำหนังสือ NTP มายื่นให้กับ ร.ฟ.ท.ให้เริ่มงานก่อสร้างโครงการได้

ด้านหนึ่งควรที่รัฐบาลจะต้องเร่งนำการปรับปรุงแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อที่จะนำไปสู่การลงนามในสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่อันเป็นผลผูกพันให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน เริ่มต้นการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเสียที อีกด้านหนึ่งก็ยังเป็นข้อพิสูจน์การบริหารจัดการในส่วนของการเงิน-การลงทุนของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน เองที่ว่า ยังมีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไปด้วยหรือไม่


Expediting Amendments to the High-Speed Rail Linking 3 Airports Contract

Editorial

Following the Eastern Economic Corridor Policy Committee's (EECPC) approval "in principle" on October 11th to amend the contract for the high-speed railway project linking Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao airports, the government believes these amendments are crucial to push the project forward after a delay of at least 5 years, dating back to the signing of the joint venture agreement between the State Railway of Thailand (SRT) and Asia Era One in October 2019.

It can be argued that the delay wasn't solely caused by Asia Era One. The COVID-19 pandemic, delays in project site handover, and investment promotion conditions set by the Board of Investment (BOI) all contributed, leading to the saying "both are at fault." However, it's important to consider whether previous governments took proactive steps to address and compensate for the delays caused by the pandemic and the inability to deliver the majority of the project site, which is a crucial aspect of the project.

The current negotiations for contract amendments between SRT and Asia Era One offer hope for the project's success. The key points of the requested amendments address the demands made throughout the 5 years since the contract signing. These include:

* Payment method for public investment cost: Changing from installment payments to payments based on work progress, meaning Asia Era One would receive construction payments faster, provided they provide additional guarantees beyond the original contract.
* Payment for the right to co-invest in the Airport Rail Link (ARL) project: Allowing payment in 7 equal annual installments, with the company providing a letter of guarantee equal to the value of the ARL rights.
* Additional profit-sharing arrangements: If loan interest rates for the project decrease in the future, which is a request the company made from the beginning to mitigate the impact of COVID-19.

Crucially, there's also the "waiver" of the Notice to Proceed (NTP) requirement from the BOI, a negotiation point that emerged after the end of the COVID-19 pandemic. This would allow the company to commence construction without having to submit the NTP to the SRT.

On one hand, the government should expedite the process of bringing the amended high-speed rail contract to the Cabinet for consideration. This would lead to signing a revised agreement, binding Asia Era One to finally begin construction. On the other hand, this also tests Asia Era One's financial and investment management capabilities and their readiness to proceed with the project.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2024 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เร่งแก้สัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:12 น.

บทบรรณาธิการ


อีอีซี ชงแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
นาทีลงทุน 5 พ.ย.67

สํานักข่าวไทย TNAMCOT (MCOT)
วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567



#นาทีลงทุน อีอีซี ชงแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เข้า ครม.สัปดาห์หน้า เริ่มก่อสร้าง ม.ค.68 และเปิดให้บริการในปี 2572-2573 คาดมีเม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปี 68 กว่า 2 แสนล้านบาท และเงินลงทุนตั้งฐานอุตสาหกรรมอีกกว่า 1 แสนล้านบาท
https://www.youtube.com/watch?v=KBwbvC1mns0
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 8:14 am    Post subject: Reply with quote

ผลกระทบจ่ายค่าเวนคืนล่าช้า รถไฟความเร็วสูง จ.นครราชสีมา | Thai PBS News
ThaiPBSNews
Nov 5, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=HRTOVJVb5tI

ความไม่ชัดเจนในการจ่ายเงินค่าเวนคืน รวมถึงความล่าช้าในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทำให้ชาวบ้านกว่า 50 ครอบครัว ที่อยู่ในแนวเขตก่อสร้างรถไฟไม่มีน้ำประปาใช้ และชาวบ้านก็ไม่สามารถย้ายออกได้ เพราะยังไม่ได้รับเงินเวนคืน เพื่อนำไปเริ่มต้นชีวิตใหม่

The lack of clarity in compensation payments and delays in high-speed rail construction have left more than 50 families living along the railway construction zone without access to water supply. These residents are unable to relocate because they haven't received their compensation payments to start their new lives.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงคร่อมอยู่บนรถไฟทางคู่แล้ว ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงสระบุรี-แก่งคอย
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Nov 6, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=rTZca-sVsq4

High-speed railway station structure is built over the double-track railway. Progress of the high-speed railway project in Saraburi-Kaeng Khoi section.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

โคราชยิ้ม ! ผู้ว่า รฟท. ย้ำรถไฟทางคู่ ไฮสปีดผ่านเมือง ทำตามฉันทานุมัติ เห็นแบบแน่ภายในปีนี้
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Wednesday, November 06, 2024 18:30

กรณีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ปรับรูปแบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ให้เป็นทางยกระดับและปรับกรอบวงเงินให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูง งานสัญญาที่ 3-5 ล่าสุด เมื่อวานนี้ ( 5 พฤศจิกายน) นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รอง ผวจ.นครราชสีมา พล.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์ ด่านสุวรรณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (ผบก.ภ.จ.) นครราชสีมา และแกนนำภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวร่วม 10 ปี คือนายสุรวุฒิ เชิดชัย อดีตนายกเทศมนตรีนคร (ทน.) นครราชสีมา และบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และนายชัยวัฒน์ วงษ์เบญจรัตน์ รองประธานหอการค้านครราชสีมา ได้ขอเข้าพบนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่า รฟท. ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามความคืบหน้าการปรับรูปแบบรถไฟทางคู่และความเร็วสูง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมมุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยรวมทั้งเพิ่มศักยภาพการขนส่งและการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สอดคล้องกับการเติบโตของเมืองโคราชในอนาคต

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน นายชัยวัฒน์ รองประธานหอการค้านครราชสีมา เปิดเผยว่า ข้อสรุปเบื้องต้นการยกระดับรถไฟทางคู่ข้ามสะพานเลี่ยงเมืองและสะพานสีมาธานี ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบ จากนั้นจะนำเสนอกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาเห็นชอบ คาดปลายเดือน พ.ย.-ธ.ค. จะนำรูปแบบเปิดเผยให้ชาวโคราชรับรู้ เพื่อใหก้เกิดการมีส่วนร่วมและลดผลกระทบ ปัญหาอุปสรรคระหว่างดำเนินการ ที่ผ่านมาชาวโคราชไม่เคยเห็นรูปแบบที่แท้จริง ทำให้เกิดข้อพิพาทจนขัดแย้งบานปลาย ผู้ว่า รฟท.ยินดีรับข้อเสนอนำไปพิจารณาปรับปรุงให้ตรงตามมติคณะอนุกรรมการการจัดการระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ซึ่งเป็นฉันทานุมัติของชาวโคราช

ส่วนจุดตัดทางรถไฟจำนวน 9 จุด กรณีจุดตัด ถ.สืบสิริ และหน้าทางเข้ากองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี ทั้ง 2 จุด ความสูงของตอม่อ ยืนยันเกิน 5.5 เมตร ยานพาหนะทุกชนิดสามารถแล่นผ่านได้ ซึ่งนายสุรวุฒิ อดีตนายกเล็ก ได้ขออนุรักษ์สถานีรถไฟนครราชสีมา อายุกว่า 90 ปี ซึ่งผูกพันเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย จึงมีประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า สามารถใช้งานร่วมกับสถานีรถไฟแห่งใหม่ เพื่อเป็นแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวเมืองเก่าโคราชและเสนอรูปแบบตอม่อรถไฟทางคู่และความเร็วสูง ควรตั้งอยู่ใกล้กัน จะเหลือพื้นที่ใต้ทางยกระดับเป็นเส้นทางสัญจรในอนาคตและมีพื้นที่ระบายน้ำชุมชน และ ผบก.จ.นครราชสีมา ได้ขอให้ รฟท. เปิดเส้นทางเขตก่อสร้างข้างโรงแรมสีมาธานีและจุดตัดข้างผับตะวันแดง เพื่อบรรเทาสภาพจราจรคับคั่ง ภาพรวมบรรยากาศค่อนข้างชื่นมื่น ถือเป็นทิศทางที่ดีมาก แม้นนายวีริศ ผว.รฟท. เพิ่งรับตำแหน่งใหม่และได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการแต่อาจไม่ทราบข้อมูลบางอย่างก็โทรศัพท์สอบถามทีมวิศวกร ได้รับจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการจัดมหกรรมพืชสวนโลก 2572 เน้นความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด


Nakhon Ratchasima High-Speed Rail Project Update: Elevated Tracks and Community Input

Nakhon Ratchasima, Thailand – The State Railway of Thailand (SRT) has reaffirmed its commitment to the dual-track and high-speed rail project passing through Nakhon Ratchasima City. Following a recent cabinet meeting and discussions with local officials and community leaders, the SRT confirmed the project will proceed with elevated tracks to minimize disruption and maximize land use.

The SRT Governor, Mr. Wirot Amrapal, met with stakeholders to discuss the project's progress and address concerns. Key updates include:

* Elevated Tracks: The dual-track railway will be elevated over the bypass bridge and Sima Thani bridge. Revised plans will be submitted to the Ministry of Transport for approval by the end of the year.
* Community Engagement: The SRT plans to disclose the finalized track model to the public by November or December, encouraging community participation and feedback to mitigate potential issues.
* Traffic Flow: Railway intersections at Sipsiri Road and the entrance to Suranaree Camp will have a minimum pier height of 5.5 meters, ensuring smooth traffic flow for all vehicles.
* Historical Preservation: The SRT will preserve the historic Nakhon Ratchasima Railway Station, integrating it with the new station as a landmark for the city's old town.
* Optimized Design: Dual-track and high-speed railway piers will be built close together to maximize space beneath the elevated tracks for future development and community drainage.
* Traffic Alleviation: The SRT will open construction zones near Sima Thani Hotel and Tawan Daeng Pub to ease traffic congestion.

Mr. Amrapal emphasized the project's value and assured stakeholders that it will be completed before the 2029 World Horticultural Exposition in Nakhon Ratchasima. This project represents a significant investment in Thailand's rail infrastructure, promising efficient and safe transportation between Bangkok and the Northeast region.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2024 9:35 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งแก้แบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา | Thai PBS News
ThaiPBSNews
Nov 7, 2024

การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างปรับแก้ไขแบบก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา เพื่อลดปัญหาผลกระทบต่อชุมชน


https://www.youtube.com/watch?v=ioC0vszu2Eo

The State Railway of Thailand is currently adjusting the construction plans for the high-speed train and double-track railway lines passing through Nakhon Ratchasima city center to mitigate the impact on the community.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2024 9:47 am    Post subject: Reply with quote

‘สุริยะ’ ส่งสัญญาณ รถไฟ 3 สนามบิน ‘ล้ม’
SpaceBar8 พ.ย. 2567 - 09:00

- โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินกลายเป็นปัญหา
- หลังการประมูลก็มีการฟ้องร้อง และการแก้ไขสัญญาแบบกลับด้าน
- รัฐมนตรีคมนาคม ออกอาการส่งสัญญาณล้มโครงการ

https://spacebar.th/deep-space/deep-space-3-airport-rail-link-project
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2024 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

ม.ค.68 เส้นตายรถไฟไฮสปีด เร่ง 'เอเชีย' เซ็นสัญญาหาเงินกู้
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, November 09, 2024 07:48

เร่งตัดจบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท หลังล่าช้ามา 5 ปี ทำ EEC เสียโอกาสในการพัฒนาโครงการต่อเนื่อง ทั้งสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบิน พื้นที่ตลอดแนวรถไฟฟ้า พร้อมกำหนดเส้นตายหลังแก้สัญญา 5 ข้อผ่าน ครม.ต้องเร่ง "เอเชีย เอรา วัน" ลงนามในสัญญารับหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ให้ได้ภายในเดือนมกราคม 2568 หากมีเหตุให้ไปต่อไม่ได้ พร้อมให้ รฟท.ลงมือก่อสร้างระบบรางเอง โดยใช้งบประมาณ 120,000 ล้านบาทที่เตรียมไว้และค่อยหาเอกชนเข้ามาบริหารการเดินรถต่อไป

เวลาได้ผ่านมาแล้วถึง 5 ปีนับจากวันที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) แบบไร้รอยต่อ กับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน มูลค่าการลงทุน 224,544.36 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 จนกระทั่งถึงปัจจุบันโครงการนี้ก็ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้าง เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ไม่สามารถออก หนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed หรือ NTP) ให้กับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน เหตุคู่สัญญา 2 ฝ่ายยังไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการออกหนังสือ NTP ได้

ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟของ ร.ฟ.ท.ให้แก่ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ได้แก่ พื้นที่โครงการรถไฟช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา , พื้นที่สนับสนุนบริการรถไฟในส่วนของมักกะสันกับศรีราชา ประสบความล่าช้า ในขณะเดียวกันกับที่ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ก็ไม่ยอมรับ "บัตรส่งเสริมการลงทุน" ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยขอเลื่อนการรับบัตรส่งเสริมมาโดยตลอด จนนำไปสู่การหารือ 3 ฝ่ายระหว่าง ร.ฟ.ท.-บริษัทเอเชีย เอรา วัน และคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อขอแก้ไขสัญญาร่วมทุนในสาระสำคัญให้โครงการเดินต่อไปได้ โดยจะมีการดำเนินการแก้ไขสัญญาใน 5 ประเด็นคือ

1) วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะ "แบ่งจ่าย" เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่า ๆ กันรวมเป็นเงินจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็น รัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ ร.ฟ.ท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อประกันว่า งานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้น ๆ

2) การกำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนใน โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) จะให้ บริษัทเอเชีย เอรา วัน แบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวด เป็นรายปี ในจำนวนแบ่งชำระเท่า ๆ กัน แต่บริษัทจะต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญากับ ร.ฟ.ท. และบริษัทยังต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่น ๆ ที่ ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระด้วย

3) การกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นผลทำให้ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.52% แล้วก็จะ "ให้สิทธิ" ร.ฟ.ท.เรียกให้บริษัทชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ตามแต่จะตกลงกันต่อไป

4) การ "ยกเว้น" เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้คู่สัญญาจัดทำ บันทึกความตกลง "ยกเว้น" เงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ (การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI) เพื่อให้ ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือ NTP ให้กับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ได้ทันทีหลัง 2 ฝ่ายลงนามในการแก้ไขสัญญา

และ 5) ป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยทำการปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของ "เหตุสุดวิสัย" กับ "เหตุผ่อนปรน" ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการอื่น

โดยประเด็นที่ตกลงจะแก้ไขปรับปรุงสัญญาทั้ง 5 ประเด็นข้างต้นถือเป็น "หลักการ" ร่วมกันระหว่าง ร.ฟ.ท.-บริษัทเอเชีย เอรา วัน ที่ผ่านบอร์ดคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องนำ "หลักการ" ในการแก้ไขสัญญาร่วมทุนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ซึ่งปรากฏความล่าช้ามาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน หลังจาก ครม.มีมติรับในหลักการแล้ว จะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายจัดทำร่างสัญญาผ่านการกลั่นกรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำกลับมาให้ ครม.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

# เริ่มก่อสร้างมกราคมปี 68

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอหลักการในการแก้ไขสัญญาที่ผ่านการพิจารณาของ กพอ.แล้วเข้าที่ประชุม ครม. แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันหลายครั้งเพื่อให้ ครม.รับทราบในหลักการก่อน จากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ บริษัทเอเชีย เอรา วัน ก็จะต้องมาเจรจาในรายละเอียดของสัญญาฉบับใหม่ที่จะแก้ไข หากไม่มีประเด็นโต้แย้งก็จะนำร่างสัญญาฉบับใหม่ส่งให้ สำนักงานอัยการสูงสุด ตรวจสอบในถ้อยคำและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีการแก้ไขและจะต้องเสนอเข้า ครม. พิจารณาอีกครั้ง เพื่ออนุมัติร่างสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะต้องให้เสร็จภายในสิ้นปี 2567 "เราต้องการทำให้เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ว่าโครงการรถไฟเชื่อมสนามบิน ได้เริ่มต้นก่อสร้างแล้วและจะต้องแล้วเสร็จเปิดการเดินรถได้ภายใน 5 ปี หรือในปี 2572"

สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากที่ 2 ฝ่ายเซ็นสัญญาแล้ว ทาง ร.ฟ.ท.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ทันที คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2568 ซึ่งหากบริษัทเอเชีย เอรา วัน ยังไม่ยอมเซ็นสัญญาอีกหรือเซ็นสัญญาฉบับแก้ไขปรับปรุงไปแล้วและทาง ร.ฟ.ท.ออกหนังสือ NTP ให้กับบริษัทภายในเวลาที่กำหนดแล้ว แต่บริษัทยังไม่มีการเริ่มการก่อสร้างก็จะถือว่า บริษัทเอเชีย เอรา วัน มีเจตนาส่อไปในทางที่จะไม่ดำเนินโครงการต่อ ในขั้นตอนนี้ทาง ร.ฟ.ท.สามารถยกเลิกสัญญาได้ ส่วนจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องหรือไม่นั้น "ต่างฝ่ายก็มีสิทธิที่จะทำเช่นกัน"

"เราไม่ต้องการให้โครงการดำเนินไปสู่จุดที่จะต้องบอกเลิกสัญญาเพราะเท่าที่ผ่านมาถือว่า โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีความล่าช้ามาก จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 การที่ฝ่าย ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่โครงการได้ตามที่กำหนดก็ถือว่าผิดเงื่อนไขทั้งคู่ ดังนั้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว เมื่อสัญญาถูกแก้ไขเพิ่อให้โครงการไปต่อได้และเป็นที่ยอมรับด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ต่อจากนี้ไปก็ขึ้นอยู่กับ บริษัทเอเชีย เอรา วัน จะดำเนินการต่ออย่างไร ผมว่าจะไปต่อไม่ไปต่อมันจะต้องจบให้ได้ภายในเดือนมกราคม 2568 อย่างลืมว่าโครงการนี้เป็น 1 ใน 4 EEC Project Lists ภายใต้การลงทุนรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) ตามแผนเดิมในปี 2567 เราจะต้องมีรถไฟวิ่งแล้ว

ถ้าจะนับจากวันที่บริษัทขอแก้สัญญาเพื่อเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 และยืดเยื้อมาตลอดช่วง 2 ปี ทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสในการที่จะพัฒนาเมือง พัฒนาสถานีฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-สัตหีบ โครงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟ รวมถึง สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เพราะทางรถไฟความเร็วสูงจะสร้างเป็นทางลอด เชื่อมเข้าสนามบิน ด้านบนจะเป็นรันเวย์ที่ 2 ของสนามบิน ทำให้การสร้างรันเวย์ที่ 2 ต้องพลอยชะงักไปด้วย โดยโครงการต่อเนื่องที่หยุดชะงักลง ผู้ชนะการประมูลก็อาจจะขอเยียวยาจากเหตุของความล่าช้าที่ต้นทางมาจากรถไฟเชื่อม 3 สนามบินด้วย" นายจุฬากล่าว

# พร้อมให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างเอง

ส่วนในกรณีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนภายใต้หลักการ 5 ข้อไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีการเริ่มต้นการก่อสร้าง แนวทางที่หารือกันไว้ก็คือ ร.ฟ.ท. จะเป็นผู้เข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแทน โดยจะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างในวงเงิน 120,000 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นวงเงินเดียวกันกับที่ ร.ฟ.ท.จะต้องเตรียมไว้จ่ายเป็นงวด ๆ ในการตรวจรับงานก่อสร้างตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างโครงสร้างระบบราง ส่วนตัวขบวนรถก็จะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อการเดินรถ ในส่วนนี้จะใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท

"มันคือความจำเป็นที่เราต้องยอมแก้ไขสัญญาเพื่อให้โครงการนี้ได้ไปต่อ ที่ผ่านมาเราล่าช้ามากว่า 5 ปีแล้ว ในส่วนของ EEC เวลาที่เสียไปถือเป็นการเสียโอกาสในการดึงการลงทุนเข้ามาใน EEC เพราะบางโครงการจำเป็นที่ต้องเห็นความชัดเจนของโครงการไฮสปีดเทรน" นายจุฬากล่าว

มีรายงานข่าวเข้ามาว่า เงื่อนไขการวางค้ำประกันเพิ่มเติมจะประกอบไปด้วย หลักประกันสัญญาวงเงิน 4,500 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี, หนังสือค้ำประกันผู้ถือหุ้นวงเงิน 160,000 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี, หนังสือค้ำประกันค่าก่อสร้างวงเงิน 120,000 ล้านบาท, หนังสือค้ำประกันค่างานระบบวงเงิน 16,000 ล้านบาท, หนังสือค้ำประกันคุณภาพเดินรถวงเงิน 750 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี และหนังสือค้ำประกันค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) รวมกับการชำระงวดที่ 1 ที่เหลือ (456.9 ล้านบาท) วงเงิน 9,147 ล้านบาท เฉพาะวงเงินหลังจะต้องวางหลักประกันไว้อีก 6 ฉบับ ฉบับละ 1,524 ล้านบาท

"เท่าที่ติดตามตอนนี้ ทางบริษัทเอเชีย เอรา วัน ต้องหาหนังสือค้ำประกันมาวาง รวมถึงเอาสัญญาที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงทั้ง 5 ข้อไปหารือกับธนาคารที่จะปล่อยกู้โครงการนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารเจ้าของแหล่งเงินลงทุนภายใต้วงเงิน 200,000 ล้านบาท มีความกังวลในความเสี่ยงของโครงการที่เกิดขึ้นมาก ทั้งค่าก่อสร้างที่ปรับสูงขึ้นมาจนมีการประเมินผลตอบแทนการลงทุน พบตัวเลขลดลงเหลือแค่ 2% เท่านั้น การพัฒนาพื้นที่มักกะสันผลตอบแทนการลงทุนก็ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ 10.5% ก็ลดลงเหลือ 5.5% จำนวนผู้โดยสารจะลดลงเหลือ 30% อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น จากที่ประเมินไว้ตอนต้นโครงการ โดยข้อจำกัดเหล่านี้ทางบริษัทได้ยื่นขอในการปรับแก้ไขสัญญามาถึง 6 ข้อ แต่ทางรัฐรับไว้พิจารณาเพียงข้อเดียวคือ เรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากที่เริ่มต้นโครงการประมาณ 2% มาเป็น 6-7% จึงเป็นที่มาของการแก้ไขปรับปรุงสัญญา 5 ข้อ แต่ก็กลัวว่าจะเสียเปรียบเอกชน เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดเงื่อนไขการวางค้ำประกันไว้ถึง 6 ฉบับเพื่อป้องกันความเสี่ยงภาครัฐและเป็นเครื่องยืนยันว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะเดินหน้าต่อไปตลอดรอดฝั่ง" แหล่งข่าวกล่าว

ล่าสุด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการแก้ไขสัญญาร่วมทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่า ยังจะไม่เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในสัปดาห์หน้าเพราะยังมีรายละเอียดที่ต้องดูอย่างรอบคอบ "เรียบร้อยเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น" เพราะแก้สัญญาเป็นเรื่องของหลักการเพียงอย่างเดียว ที่เปลี่ยนจากสร้างจนเสร็จเรียบร้อยแล้วรัฐบาลค่อยจ่าย เปลี่ยนมาเป็น สร้างไปจ่ายไป และมีการวางเงินค้ำประกัน ก็ต้องไปพิจารณาดูว่า ทำได้หรือไม่


The High-Speed Rail Linking Three Airports project in Thailand, valued at 224.5 billion baht, faces a deadline of January 2028 for the private partner, Asia Era One, to sign the construction contract and secure funding after a 5-year delay.

The project, which will connect Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao airports, has been stalled due to unresolved issues between the State Railway of Thailand (SRT) and Asia Era One, including land handover delays and disagreements over investment incentives.

To move forward, the contract will be amended to allow for phased payments from the government based on construction progress, with Asia Era One required to provide additional guarantees. Other revisions include payment adjustments for the Airport Rail Link, potential revenue sharing adjustments, and a waiver of certain conditions to expedite the process.

If Asia Era One fails to sign the amended contract by January 2028, the SRT is prepared to take over the project using the allocated budget of 120 billion baht and seek a separate operator for the train service.

The delay has impacted the Eastern Economic Corridor (EEC) development, hindering progress on related projects such as the U-Tapao airport expansion and surrounding areas. The government aims to finalize the contract amendments by the end of 2027, with construction expected to begin in January 2028 and be completed within 5 years.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2024 11:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ม.ค.68 เส้นตายรถไฟไฮสปีด เร่ง 'เอเชีย' เซ็นสัญญาหาเงินกู้
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, November 09, 2024 07:48


ดูนี่ก็ได้ครับ

จับตา! ไฮสปีด 3 สนามบิน CP ลุยต่อหรือ รฟท.ลุยเอง มค.68 นี้
https://www.youtube.com/watch?v=_FEP6UH2WDM
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2024 7:47 am    Post subject: Reply with quote

บทความพิเศษ: 5 ปี รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน อีอีซี ขีดเส้น มกราคม 2568 ไปต่อ หรือพอแค่นี้
Source - มติชนสุดสัปดาห์
Friday, November 15, 2024 04:02

ศัลยา ประชาชาติ

มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 เห็นชอบใน "หลักการ" ของการแก้ไขสัญญาของ "โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) นั้น

เป็นเหมือนการส่งสัญญาณให้รู้ว่า รถไฟไฮสปีดเทรนที่จะวิ่งตรงเข้าสู่ภาคตะวันออกโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง "ใกล้ความเป็นจริง" เข้ามาแล้ว

หลังจากที่โครงการนี้ต้องล่าช้ามากว่า 5 ปี จากเดิมที่จะต้องเห็นการเดินรถแล้วในปี 2567

ดังนั้น การผ่านมติ กพอ.เพื่อแก้ไขในสัญญาร่วมทุนเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจึงได้สร้างความหวังให้กับการพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟที่จะถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมรับความเจริญที่กำลังจะเกิดขึ้น

แต่ทว่า ความพยายามที่จะผลักดันโครงการดังกล่าวให้เดินหน้าต่อไปกลับดูยืดเยื้อ โดยที่ว่า หลังจากที่ กพอ.มีมติอนุมัติให้แก้ไขสัญญาผ่านมาได้ 1 เดือนแล้ว เรื่องก็ยังไปไม่ถึงที่ประชุม ครม. เพื่อขออนุมัติในหลักการของการแก้ไขสัญญา

ก่อนที่จะมีการร่างสัญญาร่วมทุนฉบับใหม่และยังจะต้องกลับเข้ามา ครม.อนุมัติให้เซ็นสัญญาระหว่าง รฟท. กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน อีกครั้ง

หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2559 การฟื้นโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดภายใต้ชื่อใหม่ "เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (EEC)" โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในยุคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการที่จะปลุกการลงทุนใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ขึ้นมาใหม่

โดยจัดให้มี พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขึ้นมาบริหารจัดการการลงทุน ประกาศแผนโครงการ 4 เมกะโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่านับล้านล้านบาทให้เกิดขึ้นภายใน 5 ปี ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือ "โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" ที่มีมูลค่าถึง 224,544.36 ล้านบาท

จากนั้นได้มีการอนุมัติร่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินระยะทาง 220 ก.ม. จากทาง ครม. ทำให้เห็นรูปร่างของเส้นทางตั้งแต่ท่าอากาศยานดอนเมือง บางซื่อ พญาไท เชื่อมเข้าสู่เส้นแอร์พอร์ตลิงก์ วิ่งตรงไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งตรงไปยังสถานีเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา และปลายทางที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost สัมปทาน 50 ปี เมื่อครบสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 กพอ.เริ่มประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูล โดยมีเอกชนซื้อซองประมูลทั้งหมด 31 ราย และยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า 2 รายจาก 8 บริษัท

ในที่สุดกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาที่ 117,227 ล้านบาท เป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ และวันที่ 24 ตุลาคม 2562 รฟท. และ EEC ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ "บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด" ที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการ

อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่างเตรียมการเคลียร์พื้นที่ทั้งการเวนคืนที่ดิน รื้อท่อก๊าซ สายส่ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ปรากฏ เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงทันที

ส่งผลให้ผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ลดลงกระทบรายได้ เอกชนไม่สามารถชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนจำนวน 10,671.090 ล้านบาทตามสัญญาร่วมลงทุนได้ และยังอ้างเหตุต้นทุนค่าดำเนินการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ผู้โดยสารลดจำนวนลง อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น

เป็นเหตุให้ บริษัท เอเชีย เอรา วันต้องยื่นขอแก้ไขสัญญาและขอขยายกรอบเวลาการทำงานออกไปโดยให้ถือว่า "เป็นเหตุสุดวิสัย"

การสูญเสียระยะเวลาในช่วงที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "หยุดชะงัก" ลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ รฟท.และ EEC สูญเสียโอกาสในการที่จะพัฒนาเมือง พัฒนาแต่ละสถานี พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟ รวมถึงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ด้วยทางเชื่อมเข้าสนามบินจะอยู่ใต้รันเวย์ที่ 2 ทำให้การสร้างรันเวย์ต้องชะงักไปด้วย

ระหว่างนี้ได้เกิดการเจรจาเพื่อแก้ไขสัญญาใหม่หลายครั้ง โดยที่ต่างฝ่ายต่างยืนกรานในเงื่อนไขของตนเอง ในขณะที่รัฐบาลเองจำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์ให้รัฐได้มากที่สุด สุดท้ายจึงเป็นที่มาของการกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาใหม่จากข้อเสนอ 6 ข้อของบริษัทเอเชีย เอรา วัน

ซึ่ง "นายพิชัย ชุณหวชิร" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC ได้เห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้สัญญาใหม่ 5 ข้อ คือ

1) วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะ "แบ่งจ่าย" เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กันรวมเป็นเงินจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็นรัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ รฟท.ตรวจรับวงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้เอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อประกันว่างานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ รฟท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้นๆ

2) การกำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) จะให้เอเชีย เอรา วัน แบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวดเป็นรายปี ในจำนวนแบ่งชำระเท่าๆ กัน แต่บริษัทจะต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญากับ รฟท. และบริษัทยังต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ที่ รฟท.จะต้องรับภาระด้วย

3) การกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นผลทำให้เอเชีย เอรา วัน ได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.52% แล้วก็จะให้สิทธิ รฟท.เรียกให้บริษัทชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ตามแต่จะตกลงกันต่อไป

4) การ "ยกเว้น" เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกความตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ (การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ) เพื่อให้ รฟท.สามารถออกหนังสือ NTP ให้กับเอเชีย เอรา วัน ได้ทันทีหลัง 2 ฝ่ายลงนามในการแก้ไขสัญญา และ

5) ป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยทำการปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของ "เหตุสุดวิสัย" กับ "เหตุผ่อนปรน" ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการอื่น

ขณะนี้จึงรอเพียงเวลาที่จะเสนอเข้า ครม.เพื่อพิจารณาในหลักการ โดย รฟท.และเอเชีย เอรา วัน ต้องเจรจายอมรับในการแก้ไขสัญญาฉบับใหม่ เพื่อส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบในถ้อยคำและเงื่อนไขต่างๆ และนำเข้า ครม.อีกครั้ง เพื่ออนุมัติร่างสัญญาฉบับใหม่

ทั้งหมดจะต้องให้เสร็จภายในสิ้นปี 2567 โดยบริษัทเอเชีย เอรา วัน จะต้องเซ็นสัญญาใหม่เพื่อที่ รฟท.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ทันที คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2568

แต่หากไม่เป็นไปตามนั้นรัฐมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้ามาดำเนินการลงทุนเอง ด้วยมูลค่า 120,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างโครงสร้างระบบราง ส่วนขบวนรถจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อการเดินรถ ในส่วนนี้จะใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท

ทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังจะต้องผ่านด่านอีก 3 ด่าน ได้แก่ การนำเรื่องเข้า ครม.อีก 2 ครั้ง กับการตัดสินใจเซ็นสัญญาฉบับใหม่ระหว่าง รฟท.กับบริษัทเอเชีย เอรา วัน จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ในเมื่อเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ไปต่อ ได้ถูกส่งกลับไปยังบริษัทเอเชีย เอรา วัน ที่จะต้องจัดหาเงินกู้และการวางหนังสือค้ำประกันเพื่อที่จะนำมาลงทุนในโครงการ

โดยสถาบันการเงินเองก็จะต้องพิจารณาความเสี่ยงและความสามารถของผู้กู้จากพื้นฐานการแก้ไขสัญญาร่วมทุน 5 ข้อเป็นสำคัญ

ท่ามกลางความเชื่อที่ว่า โครงการจะได้ไปต่อ โดยคนไทยจะได้ขึ้น "ไฮสปีดเทรน" รถไฟความเร็วสูงเส้นใหม่ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเร็วที่สุดก็ในปี 2572 นั่นเอง

ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 21 พ.ย. 2567


Special Report: 5 Years of the High-Speed Rail Linking 3 Airports - January 2025 Deadline: Move Forward or Stop Here?

Source - Matichon Weekly
Friday, November 15, 2024

Sanlaya Prachachart

On October 11, 2024, the Eastern Economic Corridor (EEC) Policy Committee approved the “principle” of contract amendments for the “High-Speed Rail Project Linking 3 Airports” (Don Mueang, Suvarnabhumi, U-Tapao). This move signaled that the high-speed train connecting Bangkok to the eastern region, taking less than an hour, is close to becoming a reality.

Originally, the project was expected to be operational by 2024, but delays pushed it back over five years. With the recent approval from the EEC Board to amend the joint venture contract, hopes have been renewed for developing areas along the railway line to accommodate the economic growth that this project is expected to bring.

However, progress remains slow. Although one month has passed since the EEC Board approved the contract amendments, it has yet to reach the Cabinet for principal approval, a necessary step before drafting a new contract and securing Cabinet approval to sign an agreement between the State Railway of Thailand (SRT) and Asia Era One Co., Ltd.

In 2016, the Eastern Seaboard Project was revived under the new name “Eastern Economic Corridor (EEC)” by then-Deputy Prime Minister Somkid Jatusripitak. The aim was to stimulate investment in three eastern provinces: Chachoengsao, Rayong, and Chonburi. The government introduced the EEC Act to oversee investments and announced a five-year plan featuring four mega-projects, including the 224.5-billion-baht High-Speed Rail Project Linking 3 Airports.

The Cabinet approved the project’s 220 km route, connecting Don Mueang Airport, Bang Sue, and Phaya Thai with the Airport Rail Link line, then continuing to Suvarnabhumi Airport and on to Chachoengsao, Chonburi, Si Racha, and U-Tapao Airport. SRT partnered with the private sector under a PPP-Net Cost concession model, where assets will be transferred to the government after 50 years.

In February 2018, the EEC Board invited bidders. The joint venture between Charoen Pokphand Holdings Co., Ltd., and its partners won with a bid of 117.2 billion baht. On October 24, 2019, SRT and the EEC signed a joint investment contract with Asia Era One Co., Ltd., established to manage the project.

However, during preparation, including land expropriation, pipeline removal, and land handover, the COVID-19 pandemic halted everything, reducing Airport Rail Link ridership and revenue. Asia Era One was unable to pay the 10.7 billion baht investment fee, citing increased construction costs, decreased passenger numbers, and rising interest rates, leading them to request contract amendments and an extension under a “force majeure” clause.

Delays in developing stations, areas along the rail route, and the Eastern Aviation City near U-Tapao Airport resulted. Negotiations have continued, with each party standing firm on its terms, leading to six proposals from Asia Era One.

In response, Deputy Prime Minister and Finance Minister Phichai Chunhavit chaired an EEC Board meeting that approved five key principles for a revised contract:

1) Public Investment Cost (PIC) Payment Method: The state will pay installments based on construction progress, not exceeding 120 billion baht, but Asia Era One must provide additional guarantees totaling 160 billion baht.

2) Airport Rail Link (ARL) Concession Payment: Asia Era One will pay the 10.7 billion baht ARL fee over seven annual installments, starting upon contract amendment signing.

3) Revenue Sharing: If project loan interest rates decrease significantly, SRT may request additional revenue sharing if Asia Era One’s internal rate of return (IRR) exceeds 5.52%.

4) Notice to Proceed (NTP) Exemption: An agreement will be made to waive NTP issuance conditions, allowing SRT to issue NTP to Asia Era One after contract signing.

5) Future Financial Stability Clause: Adjustments to “force majeure” and “relief” clauses to align with other state-private investment contracts.

The new contract must be finalized by the end of 2024, with signing expected in January 2025. If unsuccessful, the state has the right to cancel the contract and proceed with a government-led project investment of 120 billion baht.

If all conditions are met, Thailand could see its new high-speed train by 2029.

Source: Matichon Weekly, November 15-21, 2024
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 575, 576, 577, 578, 579, 580  Next
Page 576 of 580

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©