RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13636785
ทั้งหมด:13948835
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99, 100, 101  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2024 8:31 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ยังไม่สรุปค่ายรถไฟฟ้าสายสีส้ม
Source - เดลินิวส์
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 03:25 น.


BEMเลือก”ซีเมนส์”ผลิตรถไฟฟ้าสายสีส้ม32 ขบวนทยอยนำมา16ขบวนบริการปลายปี70
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:18 น.


BEMเลือก "ซีเมนส์" ผลิตรถไฟฟ้าสายสีส้ม32 ขบวน ทยอยนำมา 16 ขบวนให้บริการส่วนตะวันออกที่สร้างเสร็จปลายปี70 รฟม.พร้อมตัดเชือกที่ปรึกษาคุมงาน4,337ล้านชงบอร์ด
“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเปิดซองข้อเสนอราคาของ 2 กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาPCORและPCOL ในงานจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการและควบคุมงาน(Project Consultant) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)  โดยวิธีคัดเลือกครั้งที่ 2 วงเงิน 4,337 ล้านบาท หลังจากยกเลิกการประมูลครั้งที่ 1 ที่มีกลุ่มที่ปรึกษายื่นรายเดียว ทำให้ไม่มีคู่แข่งขัน  เพื่อนำผลการคัดเลือกเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ชุดใหม่พิจารณาเพื่อเริ่มงานทันที




เนื่องจากขณะนี้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯมีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือCK เป็นผู้รับจ้างงานโยธา ได้เริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กม.แล้วบางจุด เพื่อสำรวจเจาะดิน รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอใช้พื้นที่สาธารณะและรื้อย้ายสาธารณูปโภคแล้ว  มีแผนก่อสร้างจุดแรกบริเวณประตูน้ำต้นปี 68 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการจราจรอย่างมาก เนื่องจากต้องรื้อสะพานข้ามแยกประตูน้ำ แยกราชเทวี และแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ด้วย  ภาพรวมโครงการขณะนี้มีความคืบหน้า 1.01% แล้ว


ADVERTISEMENT


 ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่า  ล่าสุด BEM ได้ข้อสรุปโดยคัดเลือกให้“ซีเมนส์” เป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว รูปแบบรูปคล้ายรถไฟฟ้าของสายสีน้ำเงินโดยจะผลิตในยุโรป  อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ของขบวนรถไฟฟ้าสายสีส้ม เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องขอเตรียมความพร้อมเพื่อแถลงรายละเอียดต่อไป

“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานด้วยว่า  ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 ก.ค.67 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ(ราชประสงค์) ในวันทำพิธีลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธาและจัดหาระบบรถไฟฟ้าระหว่างนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM และนายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CK นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ประธานกรรมการบริหาร BEM และรองประธานกรรมการบริหาร CK ในฐานะสักขีพยานให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในประเด็นเรื่องขบวนรถเพื่อมาใช้เดินรถไฟฟ้าสายสีส้มว่าจะจัดหาทั้งหมด 32 ขบวน (ขบวนละ 3 ตู้) เงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จะทยอยนำมา 16 ขบวนก่อน เพื่อมาเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีที่ก่อสร้างเสร็จ100%ประมาณปลายปี70 ที่เหลืออีก 16 ขบวน จะนำมาใช้เดินรถส่วนตะวันตกประมาณกลางปี 73  


ด้านนายสมบัติ ให้สัมภาษณ์ในช่วงนั้นว่า กำลังพิจารณาคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้าเหลือ 2 รายซึ่งเป็นรายเดิมที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันโดยสายสีม่วง เป็นของบริษัทญี่ปุ่น ส่วนสายสีน้ำเงินเป็นของบริษัทเยอรมัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือนนี้  พร้อมจะเพิ่มขบวนรถใหม่ของสายสีน้ำเงินจะสะดวกกว่าการเพิ่มตู้ขบวนรถ เพราะขบวนรถเป็นฟีดเดอร์ที่จะป้อนเข้าระบบ เพิ่มความถี่ในการให้บริการ รองรับผู้โดยสารได้มากหากใช้วิธีเพิ่มตู้จาก 3 เป็น 4 ตู้ต่อขบวน ต้องปรับปรุงชานชลา ประตูกั้นชานชาลาและระบบอาณัติสัญญาณ โดยจะทยอยสั่งซื้อขบวนรถสายสีน้ำเงิน 21 ขบวน(ขบวนละ 3 ตู้) วงเงินหลักพันล้านบาท ให้ความสำคัญกับขบวนรถสายสีส้มก่อน ส่วนสีน้ำเงินจะพ่วงซื้อตามทีหลัง ปัจจุบันสายสีน้ำเงินมีรถให้บริการ 54 ขบวน ทั้งนี้ขบวนรถใหม่สายสีน้ำเงินจะทยอยมาทันก่อนการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการมากขึ้น


 “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานด้วยว่า สำหรับขบวนรถไฟฟ้าของสายสีน้ำเงิน54 ขบวนในปัจจุบันเป็นของ         ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-IBL)  57 ตู้ (19 ขบวน) ขบวนละ 3 ตู้และซีเมนส์ บีแอลอี (EMU-BLE) 105 ตู้ (35 ขบวน)  ขบวนละ 3 ตู้


ในส่วนของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาที่ยื่นข้อเสนอ2ราย คือกลุ่มPCOR ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท โชติจินดาคอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท ไทย ทรานซิท โซลูชั่นส์ จำกัด, บริษัท อีจีส เรล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อลานา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ยื่นรายเดียว  ส่วนคู่แข่งขันคือกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCOL ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท ดับเบิลยูเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด(มหาชน), บริษัท ดอร์ช คอนซัลท์ เอซีย จำกัด, บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด  
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2024 10:20 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทม.เห็นชอบ มอบพื้นที่ก่อสร้างสายสีส้ม ย้ำ รฟม.ทำแผนรับมือรถติด
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:25 น.

เริ่มขุดสำรวจดินสายสีส้ม ช.การช่างถกนครบาล รื้อ 3 สะพานข้ามแยก
ข่าวทั่วไทยกทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:20 น.




รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และบริษัท ช.การช่าง จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการขุดเจาะสำรวจระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน และชั้นดิน ตำแหน่งก่อสร้างทุกสถานีใต้ดิน พร้อมกันตลอดแนวเส้นทาง เพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากโครงการมีระยะเวลาก่อสร้างกำหนดต้องแล้วเสร็จภายใน 5 ปี โดยผู้รับเหมาจะทำงานช่วงกลางคืนเท่านั้น เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร ขนาดหลุมที่ขุดเจาะกว้าง 1 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร สำหรับข้อมูลที่ขุดเจาะสำรวจได้มานั้นจะนำมาประกอบในการออกแบบ เนื่องจากโครงการดังกล่าวใช้วิธีการก่อสร้างแบบดีไซน์ แอนด์ บิลต์ กล่าวคือ ออกแบบไปก่อสร้างไป ทั้งนี้ คาดว่าการขุดเจาะสำรวจใต้ดินจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะเริ่มทยอยนำอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แผ่นคอนกรีตสำหรับปิดกั้นช่องจราจรเข้ามาในพื้นที่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการก่อสร้างต้นปี 2568

นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานและผู้รับเหมาได้มีการประชุมหารือร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา เรื่องแผนจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รวมถึงมาตรการลดผลกระทบจากการก่อสร้างจุดต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการรื้อสะพานรถยนต์ข้ามแยก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ สะพานข้ามแยกราชเทวี และสะพานข้ามแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ รายละเอียดทั้งหมด รฟม.ร่วมกับ บช.น. และเอกชน จะจัดการแถลงข่าวชี้แจงรายละเอียดโครงการและแผนการก่อสร้างและมาตรการรองรับผลกระทบด้านต่างๆ ในวันที่ 1 พ.ย. เวลา 09.00 น. ที่สถานีจรัญฯ MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2024 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

“สายสีส้ม” เข้าพื้นที่แล้วลุยสำรวจสาธารณูปโภค ปักธง ก.พ. 68 เปิดไซต์ก่อสร้างจุดแรก 'ประตูน้ำ'
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:04 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:24 น.

KEY POINTS
• สายสีส้ม:
• เข้าพื้นที่ก่อสร้างเร็วกว่าแผน 1 เดือน
• เริ่มสำรวจระบบสาธารณูปโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
• เปิดไซด์ก่อสร้างจุดแรกที่ "ประตูน้ำ"
• เร่งหารือกรุงเทพมหานครเพื่อรื้อสะพานข้ามแยกถนนเพชรบุรี
• สายสีม่วงใต้:
• ก่อสร้างเร็วกว่าแผน
• เตรียมสรุปผลศึกษาเดินรถและเสนอต่อบอร์ดในเดือนพฤศจิกายน 2567



เข้าพื้นที่แล้ว! สายสีส้มตะวันตก รฟม.เคาะซีเมนต์สร้างขบวนรถ

รฟม.เผย "สายสีส้ม" เข้าพื้นที่เร็วกว่าแผน 1 เดือน ลุยสำรวจระบบสาธารณูปโภคปักธง ก.พ. 68 เปิดไซต์ก่อสร้างจุดแรก "ประตูน้ำ" เร่งหารือ กทม.รื้อสะพานข้ามแยก ถ.เพชรบุรี ส่วนสีม่วงใต้สร้างเร็วกว่าแผน เตรียมสรุปผลศึกษาเดินรถ ชงบอร์ด พ.ย. 67

นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากที่รฟม.ได้ออกหนังสือเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือ BEM ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แล้วนั้น ขณะนี้ทาง BEM อยู่ระหว่างเตรียมการจัดหาระบบไฟฟ้า-เครื่องกล (M&E) สำหรับช่วงตะวันออก จากศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 3 ปี 6 เดือน โดยจะเร่งเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2570 หรือในต้นปี 2571

ad

ส่วนการก่อสร้างงานโยธา อุโมงค์และสถานีใต้ดิน พร้อมติดตั้งระบบรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตกจากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขณะนี้ได้เข้าพื้นที่สาธารณะที่ได้รับมอบจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) แล้ว ซึ่งเร็วกว่าแผนประมาณ 1 เดือน โดยจะเป็นขั้นตอนการเข้าสำรวจระบบสาธารณูปโภค ท่อประปา ระบบสื่อสารต่างๆ เพื่อวางแผนในการรื้อย้าย โดยมีระยะเวลารื้อย้ายประมาณ 4-9 เดือน ส่วนพื้นที่เวนคืนจะเริ่มดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2568 ดำเนินการในปีแรก สายสีส้ม ส่วนตะวันตก มีค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ กรอบวงเงิน 14,661 ล้านบาท ประกอบด้วยมีที่ดินต้องเวนคืน 380 แปลง อสังหาริมทรัพย์ 410 แปลง และต้องรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างประมาณ 400 หลัง

นายวิทยากล่าวว่า ตามแผนจะเริ่มการก่อสร้างงานโยธาจุดแรก คือ บริเวณประตูน้ำ ในเดือน ก.พ. 2568 นอกจากนี้ จะมีการหารือกับ กทม.ในการรื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ แยกราชเทวี และแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ และการก่อสร้างในพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ที่คาดว่าใต้ดินอาจจะมีโบราณสถาน หรือวัตถุโบราณ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกรมศิลปากรที่ต้องวางแผนดำเนินการร่วมกัน โดยงานโยธาจะใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการด้านตะวันตกได้ปลายปี 2573



@สรุปผลศึกษาเดินรถสายสีม่วงใต้ ชงบอร์ด พ.ย. 67

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวม 23.63 กม. ความก้าวหน้างานโยธา สิ้นเดือน ก.ย. 2567 ภาพรวม 42.18% ถือว่างานมีความก้าวหน้าเร็วกว่าแผน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยในส่วนของการเดินรถนั้น รฟม.มีการศึกษาเบื้องต้นรูปแบบการคัดเลือกเอกชน ซึ่งยังคงหลักการ ให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง(Through Operation) เพื่อความปลอดภัย โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ที่คลองบางไผ่ ให้บริการตลอดเส้นทางทั้งสีม่วงเหนือ และสีม่วงใต้

คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาการเดินรถสายสีม่วงใต้ เสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้ในเดือน พ.ย. 2567 จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการ PPP ต่อไป คาดว่าจะได้รับการอนุมัติและเริ่มกระบวนการคัดเลือกผู้รับสัมปทานในต้นปี 2568 ได้ตัวผู้รับสัมปทานต้นปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572

ผู้สื่อข่าวถามว่า การคัดเลือกผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีม่วงใต้จะต้องรอนโยบายซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า และเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลหรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า การคัดเลือกผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีม่วงใต้นั้น รฟม.จะเดินหน้าตามกรอบที่กำหนด เนื่องจากการก่อสร้าง สายสีม่วงทั้ง 6 สัญญามีความก้าวหน้า งานโยธาภาพรวมกว่า 42.18% แล้ว ดังนั้นการคัดเลือกผู้รับสัมปทานเดินรถต้องดำเนินการให้พอดีกับงานโยธาที่จะแล้วเสร็จเพื่อเปิดบริการได้ตามกำหนด

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทางประมาณ 3 กม.
จำนวน 2 สถานี ความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนก.ย. 2567 ในภาพรวม 71.09% งานโยธา มีความก้าวหน้า 76.29% งานระบบรถไฟฟ้ามีความก้าวหน้า 60.84% คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน มิ.ย. 2568
https://www.youtube.com/watch?v=4rdVOoB6KQU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2024 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

Home Survey อัปเดต! รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ณ ต.ค. 67)
Home Buyers

เริ่มก่อสร้างแล้วค่ะ !! รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดให้บริการในปี 2573 #HomeSurvey คลิปนี้ พาไปอัปเดตการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เส้นทางนี้กันค่ะ
.
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ฯ หรือ สายสีส้มตะวันตก มีระยะทางประมาณ 13.4 กิโลเมตร เป็นสถานีใต้ดินทั้งหมดจำนวน 12 สถานี ซึ่งเส้นทางนี้ จะเป็นส่วนต่อขยายมาจากรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม -มีนบุรี ที่ตอนนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว และรอเปิดให้บริการอยู่
.
และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ จำนวน 7 จุดด้วยกัน จะเป็นสถานีไหน เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีอะไร ไปหาคำตอบได้ในคลิปนี้กันค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=bysOOgN_QlM

Construction has begun!! on the western section of the Orange Line from Bang Khun Non to the Thailand Cultural Center, which is expected to open in 2030.

This video provides an update on the construction of the western Orange Line. This 13.4 kilometer section will consist of 12 underground stations. It will extend the existing eastern section of the Orange Line from the Thailand Cultural Center to Min Buri, which has already been completed and is awaiting operation.

The western Orange Line will also have 7 interchange stations connecting it to other lines. Watch the video to find out which stations and lines will be connected.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2024 10:47 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดตล่าสุด สร้าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้าน ถึงไหนแล้ว
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์ วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:08 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา| 15:15 น.
“รฟม.” กางแผนคืบหน้า สร้าง“รถไฟฟ้าสายสีส้ม” วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท เผยไทม์ไลน์เอกชนตอกเสาเข็ม-เข้าพื้นที่แรก ย่านประตูน้ำ มั่นใจเปิดให้บริการได้ตามเป้า
หลังจาก “รฟม.” และ BEM หรือ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้มได้มีการลงนามสัญญาร่วมกันเมื่อช่วงกลางปี 67 ที่ผ่านมา

ล่าสุดนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ที่ผ่านมาเอกชนผู้รับสัมปทานได้เข้าพื้นที่เพื่อเริ่มงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567


ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร ตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 6 ปี และเปิดให้บริการปลายปี 2573

ทั้งนี้ปัจจุบันพบว่า BEM สามารถเข้าพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสำรวจแนวทางการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ระบบสื่อสาร ท่อประปาแล้ว ซึ่งเร็วกว่าแผน 1 เดือน เนื่องจากได้รับการอนุญาตจากกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ส่วนพื้นที่แรกที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกได้ คือ ประตูน้ำ คาดว่าจะลงพื้นที่ได้ภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2568

นอกจากนี้พบว่ามีพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องรื้อย้ายสะพานในกรุงเทพฯบางแห่ง โดยเฉพาะสะพานข้ามแยกประตูน้ำ แยกราชเทวี


ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ตามแผนจะเปิดเดินรถได้ภายในปลายปี 2570 หรือต้นปี 2571ปัจจุบันผู้รับสัมปทานได้เตรียมนำระบบรถไฟฟ้า (M&E) เข้าไปดำเนินการ โดยในระหว่างนี้ได้ดำเนินการคัดเลือกจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ด้วย

อย่างไรก็ดีหากกระบวนการแล้วเสร็จจะสามารถเดินหน้าได้ทันที นอกจากนี้การจัดหารถสายตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 2 ปี

ขณะเดียวกันในปัจจุบันอยู่ระหว่างรอ BEM พิจารณารูปแบบของขบวนรถไฟฟ้า ที่ต้องหารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้วย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบขบวนรถไฟฟ้าใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างกัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร จำนวน 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

ปักหมุดต้นปี 68 “รฟม.” ประเดิมตอกเสาเข็ม สร้าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์ วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:00 น.


“รฟม.” กางแผนสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้านบาท
ฟาก BEM ลุยเข้าพื้นที่สายตะวันตก เคลียร์ระบบสาธารณูปโภค เตรียมรื้อย้ายสะพานข้ามแยก 2 แห่ง
คาดตอกเสาเข็มพื้นที่แรกย่านประตูภายในเดือนม.ค.-ก.พ.68
ตะวันออกเร่งจัดหาขบวนรถ 2 ปี มั่นใจเปิดให้บริการตลอดเส้นทาง ปลายปี 73
ปัจจุบัน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ได้ฤกษ์เดินหน้าเตรียมก่อสร้างแล้ว หลังจากติดปัญหาการฟ้องร้องต่อศาลปกครองถึงการประมูลโครงการฯ ที่อาจไม่เป็นธรรมกับเอกชนบางราย จนได้ข้อสรุปเป็นที่สิ้นสุดมานานกว่า 2-3 ปี

นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท

ขณะนี้ยังมีเวลาพอสมควร เพราะต้องดำเนินการก่อสร้างงานโยธาสายตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร แล้วเสร็จก่อน

โดยเฉพาะการเข้าพื้นที่ ซึ่งเอกชนผู้รับสัมปทาน หรือ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้เริ่มงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 จะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 6 ปี และเปิดให้บริการปลายปี 2573


ทั้งนี้ตามแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เอกชนผู้รับสัมปทานต้องเข้าพื้นที่สาธารณะที่แรกเพื่อดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคก่อน ภายใน 4 เดือน หรือประมาณเดือนพฤศจิกายน 2567

ปัจจุบันพบว่า BEM สามารถเข้าพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสำรวจแนวทางการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ระบบสื่อสาร ท่อประปาแล้ว ซึ่งเร็วกว่าแผน 1 เดือน เนื่องจากได้รับการอนุญาตจากกรุงเทพมหานคร (กทม.)

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ส่วนแผนการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคนั้น เบื้องต้นจะดำเนินการออกแบบรายละเอียดเพื่อขุดสำรวจและรื้อย้ายระบบฯก่อนลงพื้นที่ก่อสร้างต่อไป จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-11 เดือน

โดยเฉพาะพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ สถานีสนามหลวง สถานีศิริราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนผ่านฟ้าลีลาศ จะใช้เวลาขุดเจาะด้านโบราณคดีเพื่อสำรวจประมาณ 4-6 เดือน

ส่วนพื้นที่แรกที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ คือ ประตูน้ำ คาดว่าจะลงพื้นที่ได้ภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2568

ขณะเดียวกันพบว่ามีพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องรื้อย้ายสะพานในกรุงเทพฯบางแห่ง โดยเฉพาะสะพานข้ามแยกประตูน้ำ แยกราชเทวี

ทั้งนี้ต้องรอออกออกแบบรายละเอียดก่อนว่าจะดำเนินการรื้อย้ายออกไปเลยหรือก่อสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานรากเดิมของสะพาน เบื้องต้นจากการหารือกับกทม.นั้นมีความเห็นว่าอยากให้ปรับปรุงสะพานบริเวณดังกล่าวด้วย


นายวิทยา กล่าวต่อว่า ด้านการเวนคืนที่ดินนั้น ยังเป็นไปตามแผน ปัจจุบันได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่ที่ความจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินก่อนเพื่อดำเนินการก่อสร้างภายใน 300-400 วันหลังจากลงนามสัญญา มั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้แก่เอกชนได้ตามสัญญา ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับพื้นที่การเวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่แนวทางขึ้น-ลง แต่ละสถานีรถไฟฟ้า และปล่องระบายอากาศบริเวณภายนอกสถานี

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบ ที่ดินที่ถูกเวนคืน 380 แปลง และที่ดินที่ต้องกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ 410 แปลง และต้องรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างประมาณ 400 หลัง

โดยมีค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการส่วนตะวันตกมีกรอบวงเงิน 14,661 ล้านบาท

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ปัจจุบันผู้รับสัมปทานได้เตรียมนำระบบรถไฟฟ้า (M&E) เข้าไปดำเนินการ โดยในระหว่างนี้ได้ดำเนินการคัดเลือกจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ด้วย

หากกระบวนการแล้วเสร็จจะสามารถเดินหน้าได้ทันที นอกจากนี้การจัดหารถสายตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 2 ปี

ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอ BEM พิจารณารูปแบบของขบวนรถไฟฟ้า ที่ต้องหารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้วย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบขบวนรถไฟฟ้าใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างกัน ตามแผนคาดว่าจะเดินรถได้ภายในปลายปี 2570 หรือต้นปี 2571

ปักหมุดต้นปี 68 “รฟม.” ประเดิมตอกเสาเข็ม สร้าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร จำนวน 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

เมกะโปรเจ็กต์หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,040 วันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. พ.ศ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2024 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

[LIVE] แถลงข่าวการจัดการจราจร เพื่อเตรียมงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก
BANGKOK ON SITE
Bangkok On Site Live

พาติดตามบรรยากาศสดในงานแถลงข่าวการจัดการจราจร เพื่อเตรียมงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


https://www.youtube.com/watch?v=IvYJHUyKJeU

Let's follow the live atmosphere at the press conference on traffic management in preparation for the construction of the Orange Line MRT Project (West Section) Bang Khun Non - Thailand Cultural Center by the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2024 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนสร้าง 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' ผ่านพื้นที่มรดก 'เกาะรัตนโกสินทร์'
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Saturday, November 02, 2024 06:27

รฟม.กางแผนสร้าง 5 สถานีแรก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” เตรียมกันพื้นที่ปิดช่องจราจรเริ่ม 15 พ.ย.นี้ เปิดแนวเส้นทางผ่านพื้นที่มรดก “เกาะรัตนโกสินทร์” ด้าน BEM ย้ำไม่กระทบโบราณสถานและโบราณวัตถุ หารือร่วมคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ เล็งพัฒนาสถานีท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดแนวเส้นทางก่อสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 12 สถานี ซึ่งจะเริ่มต้นสถานีบางขุนนนท์ เป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช

จากนั้นจึงวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ไปยังสถานีสนามหลวง และสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นเบี่ยงแนวเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวง โดยจะมีสถานีหลานหลวง และสถานียมราช

หลังจากนั้นจะเลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ โดยจะมีการก่อสร้างสถานีราชเทวี และสถานีประตูน้ำ ก่อนเลี้ยวซ้ายลอดใต้ถนนราชปรารภ ไปยังสถานีราชปรารภ ตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนนดินแดง บริเวณนั้นจะมีสถานีดินแดง

ก่อนจะเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต แล้วเลี้ยวขวาผ่านกรุงเทพมหานคร 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เป็นสถานีประชาสงเคราะห์ และเชื่อมต่อไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งสถานีนี้จะสามารถเดินทางเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวมทั้งสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน

“กิตติกร ตันเปาว์” รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม.เผยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ขณะนี้ทางเอกชนผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้เริ่มดำเนินงานเข้าไปสำรวจสาธารณูปโภคแล้ว โดยภาพรวมมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2567 อยู่ที่ 1.90%

อย่างไรก็ดี BEM จะเริ่มงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคในวันที่ 15 พ.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งทราบว่าตามแผนจะทยอยดำเนินการ 5 สถานีแรก ประกอบด้วย สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราชจะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้

“ทรงวุฒิ ศิริอุดมเลิศ” ผู้แทนจาก BEM กล่าวว่า การก่อสร้างงานโยธา หลังจากสำรวจและรื้อย้ายสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ คาดว่าในช่วงต้นปี 2568 จะสามารถนำเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มเตรียมก่อสร้างโครงการได้ โดยจะทยอยก่อสร้างส่วนของ 5 สถานีแรก ซึ่งงานโยธาส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 6 ปี โดย BEM คาดว่าจะเร่งรัดงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573

“พื้นที่ก่อสร้างที่อยู่ในเขตเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ ทาง BEM ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ และกรมศิลปากร เพื่อประเมินแบบก่อสร้าง และกรณีการขุดเจาะพบโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งยืนยันได้ว่าการทำงานในพื้นที่เหล่านี้ จะไม่กระทบต่อโบราณสถาน และโบราณวัตถุ อีกทั้ง BEM ยังมีแผนพัฒนาจัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบไว้ในสถานีรถไฟฟ้า รวมไปถึงออกแบบสถานีให้สอดคล้องกับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์”

สำหรับพื้นที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ที่ BEM ทำงานหารือร่วมกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ จะครอบคลุม 4 สถานีหลัก ประกอบด้วย สถานีศิริราช สถานีสนามหลวง สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสถานีหลานหลวง โดยการออกแบบก่อสร้าง BEM จะเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณา พร้อมทั้งหารือถึงความเป็นไปได้ของแนวเส้นทางที่จะผ่านบริเวณพื้นที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะมีโบราณวัตถุและต้องใช้ความระมัดระวังในการขุดเจาะ

ทั้งนี้ BEM คาดว่าคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์จะพิจารณาเห็นชอบแบบก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีส้มทันต่อเป้าหมายก่อสร้างในต้นปี 2568 โดยหลังจากผ่านการเห็นชอบแล้ว BEM จะว่าจ้างนักโบราณคดีเข้ามาร่วมรื้อย้ายโบราณสถานและโบราณวัตถุ รวมทั้ง BEM จะออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าเหล่านี้ร่วมกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ เพื่อให้สถานีรถไฟฟ้าสอดคล้องกับพื้นที่ประวัติศาสตร์ พร้อมนำโบราณวัตถุต่างๆ มาจัดแสดงเป็นแหล่งท่องเที่ยว


The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) has revealed the planned route for the Orange Line metro project, linking Bang Khun Non and the Thailand Cultural Centre. This 12-station section will begin at Bang Khun Non, running underground along the existing railway line towards Siriraj Hospital.

The line will then continue under the Chao Phraya River, parallel to the Phra Pin Klao Bridge, before passing beneath Ratchadamnoen Road towards Sanam Luang and Democracy Monument stations. It will then turn onto Lan Luang Road, with stations at Lan Luang and Amorn Rat.

The route then turns right onto Phetchaburi Road until reaching Pratunam Intersection, where Ratchaprarop and Pratunam stations will be constructed. It will then turn left under Ratchaprarop Road, continuing to Din Daeng station.

Finally, the line will turn left onto Vibhavadi Rangsit Road, then right past Bangkok Metropolitan Administration 2, and veer right through the Pracha Songkhro community to Pracha Songkhro station. It will then connect to the Thailand Cultural Centre station, where passengers can transfer to the eastern section of the Orange Line (Thailand Cultural Centre – Min Buri) and the Blue Line.

MRTA Deputy Governor Kittikorn Tanpao stated that the concessionaire, Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited (BEM), has begun surveying utilities, with overall progress at 1.90% as of the end of October 2024.

BEM will commence utility relocation on November 15th, starting with five stations: Bang Khun Non, Siriraj, Democracy Monument, Amorn Rat, and Pratunam. This will involve closing one lane of traffic adjacent to the sidewalk, except at Siriraj station where traffic management will be implemented without lane closures. Lane closures for the remaining stations will begin at the end of November.

BEM representative Songwut Siriudomlert stated that civil works are expected to begin in early 2025, after the completion of surveys and utility relocation. The western section (Bang Khun Non – Thailand Cultural Centre) is scheduled for completion within six years, but BEM aims to expedite the work and open the line by 2030.

Regarding construction in the Rattanakosin Island area, BEM has consulted with the Rattanakosin Island Committee and the Fine Arts Department to assess construction plans and address potential archaeological discoveries. BEM assures that work will not impact historical sites or artifacts, and plans to exhibit any excavated artifacts within the stations, incorporating historical elements into the station designs.

Four stations (Siriraj, Sanam Luang, Democracy Monument, and Lan Luang) fall within the Rattanakosin Island area. BEM will submit construction plans to the Rattanakosin Island Committee for approval and discuss the route alignment through historical areas.

BEM expects approval by early 2025, after which archaeologists will be hired to assist with the relocation of any archaeological finds. The station designs will be developed in collaboration with the Rattanakosin Island Committee to ensure they complement the historical surroundings and incorporate excavated artifacts for public display.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2024 9:37 pm    Post subject: Reply with quote

BEM-ช.การช่างเตรียม7หัวเจาะทรงพลังขุด“สายสีส้ม”
*อุโมงค์ทางวิ่งตะวันตกศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์
*ลอดเจ้าพระยาลึก30เมตรประสบการณ์30ปีสบายๆ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1099626864947880
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2024 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จ้าง AECOM ออกแบบระบบโครงสร้างและสถาปนิกรถไฟฟ้าสายสีส้ม จากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยไปบางขุนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร รวมถึง อุโมงค์คู่ ระบบระบายอากาศ และอาคารสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 11 สถานี และ โรงเก็บ
ttps://railway-news.com/aecom-to-design-bangkoks-mrt-orange-line-west/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2024 7:47 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันออก หนุน ตลาดที่อยู่อาศัยคึก จุดพุลทำเลทอง ราคาที่พุ่ง

ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์ วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:57 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:20 น.

“รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก”จุดพลุทำเลทองใหม่ หนุนตลาดที่อยู่อาศัยคึกคัก "SCB EIC" คาดว่า ราคาที่ดินขยับสูงขึ้น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องระวัดระวัง การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย กลุ่มกลาง-ล่าง ทั้งต้นทุนสูงขึ้น


ทำเลโซนตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพมหานคร คึกคักมีสีสันขึ้น เมื่อ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคู่สัญญา บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM ผู้รับสัมปทาน ขยับเดินหน้าโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) มูลค่า1.4แสนล้านบาท


โดยเริ่มวางแผนก่อสร้างในส่วนช่วงตะวันตก ในขณะช่วงตะวันออกก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ100%ซึ่งเหลือติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ อย่างไรก็ตามหากแล้วเสร็จนอกจากขยายเส้นทางรถไฟฟ้าแล้ว ยัง เปิดทำเลทองใหม่ พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย การลงทุนทนเชิงพาณิชย์

เปิดโซนทำเลทองใหม่

สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (ส่วนตะวันออก) มีแผนเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2027 (พ.ศ.2570) หรือไม่เกินต้นปี 2028 ( พ.ศ. 2571) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ตั้งแต่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แยกลำสาลี ไปจนถึงพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ

ได้แก่ คันนายาว มีนบุรี คลองสามวา และหนองจอก ประกอบกับการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-หัวลำโพง) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-หัวหมาก-สำโรง) และสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-วัดพระศรีมหาธาตุ-มีนบุรี) เป็นการเปิดโอกาสสำหรับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใหม่ ๆ


อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกจะหนุนตลาดที่อยู่อาศัยให้คึกคักขึ้น

SCB EIC คาดว่าการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกในช่วงปลายปี 2027(พ.ศ.2570)หรือไม่เกินช่วงต้นปี 2028 ( พ.ศ. 2571) จะหนุนตลาดที่อยู่อาศัยให้คึกคักขึ้น

ผลสำรวจ SCB EIC Real estate survey 2024 สะท้อนว่า ทำเลที่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก แต่ยังอยู่ใกล้เคียง หรือเชื่อมต่อกับทำเลในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกได้ อย่างกรุงเทพฯ ชั้นนอกฝั่งตะวันออก (ได้แก่ บางกะปิ บึงกุ่ม สะพานสูง ประเวศ ลาดกระบัง)

และกรุงเทพฯ ชั้นกลางฝั่งเหนือ (เช่น บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว) ยังมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากผู้ที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบ มากกว่าทำเลกรุงเทพฯ ชั้นนอก ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ (ได้แก่ คันนายาว มีนบุรี คลองสามวา และหนองจอก) ซึ่งเป็นทำเลในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกโดยตรง

ในส่วนของผู้ที่มีแผนจะซื้อคอนโดมิเนียม สนใจทำเลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-หัวลำโพง) ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ

SCB EIC มองว่า การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกตามแผนในช่วงปลายปี 2027 หรือไม่เกินช่วงต้นปี 2028 จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งจะหนุนตลาดที่อยู่อาศัยในทำเลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกให้มีความคึกคักขึ้น โดยเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในช่วงต้นสาย ถึงกลางสาย

สำหรับในช่วงปลายสาย ได้แก่ ทำเลกรุงเทพฯ ชั้นนอก ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยทำเลนี้เป็นพื้นที่ศักยภาพต่อเนื่องมาจากในแถบบางกะปิ บึงกุ่ม และสะพานสูง ประกอบกับราคาที่ดินในทำเลกรุงเทพฯ ชั้นนอก ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ

ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าทำเลบางกะปิ บึงกุ่ม และสะพานสูงค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบได้อีกมาก โดยเฉพาะโครงการระดับราคาปานกลางลงมา ไม่เกิน 5 ล้านบาท

สายสีส้มตะวันออก เปิดใช้ ดันต้นทุนที่ดินพุ่ง

ทำเลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก และพื้นที่ใกล้เคียงยังมีความท้าทายด้านหน่วยเหลือขาย ประกอบกับส่วนใหญ่พึ่งพากำลังซื้อปานกลาง-ล่าง รวมถึงราคาที่ดินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลนี้ยังต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะโครงการระดับราคาปานกลางลงมา ท่ามกลางแนวโน้มการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง และต้นทุนการพัฒนาโครงการที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นไปตามราคาที่ดิน

ภายหลังจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า หรือกรณีที่ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์หันไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลาง-บนในทำเลนี้ ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาการแข่งขันกับโครงการระดับราคาปานกลาง-บนในทำเลอื่น ๆ ซึ่งยังมีตัวเลือกตอบโจทย์ผู้ที่มีกำลังซื้ออยู่มากประกอบกันอีกด้วย
https://www.thansettakij.com/real-estate/611262



ผ่าแนวเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ตะวันตก-ตะวันออก มีกี่เส้นทาง
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์ วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:00 น.

เปิดแนวเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ตะวันตก-ตะวันออก ผ่านพื้นที่ไหน-มีกี่เส้นทาง พร้อมกางแผนเดินหน้าเปิดให้บริการบางช่วงเริ่มปลายปี 70
ปัจจุบัน “โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร (กม.) ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้เอกชนผู้รับสัมปทาน คือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้ร่วมลงทุน และ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างของผู้ร่วมลงทุน ได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกปัจจุบันมีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือน ต.ค.2567 ร้อยละ 1.90 โดยเป็นไปตามแผน ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 6 ปี และเปิดให้บริการปลายปี 2573

9 แนวเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์

แนวเส้นทางที่ 1 เริ่มต้นจากที่สถานีบางขุนนนท์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช
แนวเส้นทางที่ 2 ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
แนวเส้นทางที่ 3 ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค


แนวเส้นทางที่ 4 เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี
แนวเส้นทางที่ 5 เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ
แนวเส้นทางที่ 6 เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง


แนวเส้นทางที่ 7 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดี-รังสิต
แนวเส้นทางที่ 8 เลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์
แนวเส้นทางที่ 9 ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษภ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ส่วนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ตามแผนจะเปิดเดินรถได้ภายในปลายปี 2570 หรือต้นปี 2571ปัจจุบันผู้รับสัมปทานได้เตรียมนำระบบรถไฟฟ้า (M&E) เข้าไปดำเนินการ



6 แนวเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

แนวเส้นทางที่ 1 เริ่มต้นรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน)
แนวเส้นทางที่ 2 ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9
แนวเส้นทางที่ 3 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์)
แนวเส้นทางที่ 4 เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี
แนวเส้นทางที่ 5 เปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร
แนวเส้นทางที่ 6 ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99, 100, 101  Next
Page 98 of 101

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©