Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312031
ทั่วไป:13626943
ทั้งหมด:13938974
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205, 206, 207, 208  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2024 10:59 am    Post subject: Reply with quote

ห้ามจัดคอนเสิร์ต! รฟท.ติดป้ายประกาศ แนวถ.กำแพงเพชร 6 ข้างสถานีหมอชิต 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:51 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:51 น.


การรถไฟฯ ปิดประกาศ คำสั่งศาลแพ่ง คุ้มครองชั่วคราว ห้ามจัดคอนเสิร์ตหรือมหรสพ บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ข้างสถานีขนส่งหมอชิต 2

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท ) แจ้งว่า จากที่นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด กับผู้ที่บุกรุกพื้นที่ของการรถไฟฯ บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ด้านข้างสถานีขนส่งหมอชิต 2 เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่า มีการจัดกิจกรรมและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะปัญหาขยะ และประชาชนที่อาศัยรวมถึงใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อนนั้น

ที่ผ่านมา การรถไฟฯ พยายามรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว แต่มีการยื่นคัดค้านกระบวนการพิจารณาคดีและคำพิพากษาของศาล ส่งผลให้ต้องมีการพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้บุกรุก อาศัยช่องว่างดังกล่าวหาผลประโยชน์ในพื้นที่โดยการจัดคอนเสิร์ตและมหรสพ สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง

ผู้ว่าการรถไฟฯ จึงให้เจ้าหน้าที่ไปยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอไต่สวนฉุกเฉิน ให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ จัดหรือให้บุคคลอื่นหรือบริวารเข้ามาจัดคอนเสิร์ตหรือมหรสพในที่ดินพิพาทดังกล่าว ซึ่งศาลพิจารณาหลักฐาน ประกอบคำเบิกความของพยานแล้ว เห็นว่ามีเหตุผลเพียงพอ จึงให้มีผลคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น



ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้ดำเนินการปิดประกาศคำสั่ง (หมายห้ามชั่วคราว) บริเวณพื้นที่บุกรุกเรียบร้อยแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการปกป้องทรัพย์สินและรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ อย่างเข้มงวด รวมถึงสร้างความเรียบร้อยและความปลอดภัยให้กับประชาชนที่อาศัยและสัญจรในพื้นที่โดยรอบ อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับทุกคนที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบต่อไป เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างในอนาคต และรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของระเบียบและหลักกฎหมาย

การรถไฟฯ จะยังคงติดตามกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากพบว่าผู้บุกรุกพื้นที่ของการรถไฟฯ ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ก็พร้อมที่จะยกระดับมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีกในอนาคต ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก และความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับประชาชนที่อาศัยและสัญจรในพื้นที่ดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2024 11:11 am    Post subject: Reply with quote

เล็งพัฒนาตลาดนัดจตุจักร เป็นศูนย์รวมซอฟต์พาวเวอร์ จ่อรื้อระบบค่าเช่า
ในประเทศ
วันพฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 18:16 น.


นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
กทม. และคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เล็งพัฒนาตลาดนัดจตุจักรเป็นศูนย์รวมซอฟต์พาวเวอร์ จ่อรื้อระบบเก็บค่าเช่าเกินจริง เดิม 1,800 บาทต่อเดือน แต่มีการเก็บทะลุหลักแสน หมอเลี้ยบโอดเงินไม่ถึง กทม.

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 (ครั้งที่ 8)

โดยมีนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทยทั้ง 12 ด้านเข้าร่วม ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เขตราชเทวี

สำหรับการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 จัดขึ้นเพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการภายใต้นโยบาย One Family One Soft Power (OFOS) และความคืบหน้าการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ อาทิ การจัดงาน Winter Festival งานเทศกาลไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2568 แนวทางการสร้าง Ecosystem เพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ความคืบหน้าการดำเนินการของหอศิลป์แห่งชาติ

ตลอดจนแผนดำเนินการในปีงบประมาณ 2568 การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์กับตลาดนัดจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 12 ด้าน


ด้านนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตลาดนัดจตุจักรมีพื้นที่ทั้งหมด 68 ไร่ และมีผู้ค้าอยู่หลายหมื่นแผง โดยมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตลาดนัดจตุจักรสูงสุด 300,000 คน และน้อยที่สุด 80,000 คนต่อวัน

จะเห็นได้ว่าสถานที่แห่งนี้มีศักยภาพสูงมากในแง่ของแหล่งท่องเที่ยว หากแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดิน เนื่องจากที่ดินของตลาดนัดจตุจักรเป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยมีมติว่าให้กำหนดเก็บค่าแผงในราคา 1,800 บาทต่อเดือน


หากจะมีการปรับปรุง ลงทุนพัฒนา ต้องมีการขออนุญาตทางการรถไฟฯ ก่อน ส่งผลให้ความคล่องตัวและความสะดวกในการพัฒนานั้นมีน้อย ด้วยเหตุผลนี้จึงมีการปรึกษาหารือว่าควรที่จะมีซอฟต์พาวเวอร์แพลตฟอร์มที่รวบรวมซอฟต์พาวเวอร์ในทุกด้านให้มีพื้นที่ในการจัดแสดง

ซึ่งตลาดนัดจตุจักรเป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยซอฟต์พาวเวอร์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ แฟชั่น ศิลปะ จึงเป็นพื้นที่แรกที่เลือกจะพัฒนา โดยมีการเสนอให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศักยภาพ และศึกษาความเป็นไปได้ในอนาคตต่อไป



นายสุรพงษ์กล่าวเสริมว่า ประเด็นที่สำคัญเรื่องตลาดนัดจตุจักร จากมติ ครม. กำหนดให้เพดานค่าเช่าที่ทาง กทม.เรียกเก็บจากผู้เช่าได้จำนวน 1,800 บาทต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงแล้วค่าเช่าอยู่ระดับหลายหมื่นถึงแสนบาท แต่ไม่ได้เป็นเงินที่ตกมาถึง กทม. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการตลาดจตุจักร

เพราะฉะนั้น เรื่องของการบริหารจัดการให้มีการจัดระบบภายใน มีการทำให้เกิดความน่าประทับใจของตลาด สามารถที่จะสอดคล้องกับการเป็นจุดหมายระดับโลกที่นักท่องเที่ยวจะต้องมาเที่ยว เพราะฉะนั้น จึงเกิดการเสนอต่อคณะกรรมการว่า จะต้องมีการศึกษาแนวทางเพื่อการพัฒนาศักยภาพตลาดจตุจักรอย่างจริงจัง

ซึ่งทาง กทม.ก็ได้มีการศึกษาไว้เบื้องต้นแล้วอย่างเต็มรูปแบบ และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่เรื่องนี้ โดยมีผมเป็นประธาน และมีรองผู้ว่าฯ กทม. เป็นรองประธาน มีอนุกรรมการ เช่น ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญ

“คาดหมายว่าเราจะสามารถพัฒนาตลาดจตุจักรให้เสร็จภายใน 2 ปี กระบวนการทั้งหมดนี้จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ตลาดนัดจตุจักรเป็นศูนย์กลางซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย โดยยังไม่ได้พูดถึงงบประมาณ แต่ กทม.ได้ศึกษาพิมพ์เขียวไว้เบื้องต้นแล้ว และผมเห็นเป็นทิศทางที่น่าสนใจ น่าจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยยังคงเสน่ห์ของเดิมที่ทำให้เป็นตลาดที่คนมาแล้วไม่เหมือนเดินตามห้างหรู ได้บรรยากาศผ่อนคลาย และรู้สึกมีอิสระในการเยี่ยมชมความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย”

นายแพทย์สุรพงษ์กล่าวอีกว่า สำหรับการเช่าของผู้เช่า ได้มีการปรึกษาหารือให้การเช่าของผู้เช่าเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ก็จะไปกระทบกับคนบางส่วนได้

เรื่องนี้จะมี 2 ส่วนคือ การนำเสนอ ครม. เพื่อนำไปสู่การขยายเพดานไปสู่สภาพความเป็นจริง โดยผู้เช่าสามารถเช่าได้โดยตรงกับ กทม. ส่วนที่สองคือเรื่องการทำสัญญาต่าง ๆ ก็พยายามทำให้คนที่เป็นคนกลางที่ได้รับผลประโยชน์ก็จะถูกแก้ไขออกไป หลังจากนี้จะมีความคืบหน้าชัดเจน เชื่อว่าจะได้ความร่วมมือจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง นายแพทย์สุรพงษ์กล่าว... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/general/news-1685305
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 7:19 am    Post subject: Reply with quote

วัดใจปมถอนที่ดิน ‘เขากระโดง’ โจทย์หิน‘สุริยะ’ ฟื้นศรัทธา ‘เพื่อไทย’
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Wednesday, November 06, 2024 06:09

"...ถือเป็นโจทย์หินในมือ “สุริยะ” หากจบแบบ “ค้านสายตา” สังคม อาจทำให้ “ฝ่ายค้าน” โดยเฉพาะ “พรรคประชาชน” (ปชน.) นำไปขยายแผล รวบรวมข้อมูลใช้ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาฯ ครั้งหน้าก็เป็นไปได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล..."

ประเด็นเพิกถอนที่ดิน “เขากระโดง” จ.บุรีรัมย์ กลับมาเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนอีกครั้ง พลันที่มีกระแสข่าวว่า เมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ อันเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 นั้น

โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินบุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจจาก รฟท. ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อชี้แนวเขตและทำการรังวัดที่ดินของ รฟท. บริเวณเขากระโดง 5,083 ไร่ จนแล้วเสร็จ และส่งข้อมูลให้คณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดดังกล่าวพิจารณา

สุดท้าย คณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดนี้มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท. กระทั่ง “พรพจน์ เพ็ญพาส” อธิบดีกรมที่ดิน ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าฯ รฟท. เรียบร้อยแล้ว

ทำให้ปัจจุบันเงื่อนปมปัญหาดังกล่าวยังคง “ไม่เคลียร์” ว่า ต้องเพิกถอนโฉนด “เขากระโดง” หรือไม่ เพราะในจำนวนที่ดิน 5,083 ไร่ดังกล่าวนั้น มีอย่างน้อย 12 แปลง เนื้อที่รวม 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา เป็นของคนตระกูล “ชิดชอบ” ตระกูลการเมืองบ้านใหญ่แห่ง จ.บุรีรัมย์ รวมอยู่ด้วย

สำหรับประเด็นนี้ เกิดขึ้นมายาวนานหลายสิบปี โดยสรุปเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2513 มีข้อพิพาทระหว่าง “ชัย ชิดชอบ” อดีตนักการเมืองชื่อดังผู้ล่วงลับ บิดาของ “เนวิน ชิดชอบ” ครูใหญ่ “ค่ายน้ำเงิน” ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดิน รฟท.ในพื้นที่ “เขากระโดง” ผลการเจรจา “ปู่ชัย” ยอมรับว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. และทำหนังสือขออาศัย รฟท. ยินยอม จากนั้นในวันที่ 26 ต.ค. 2515 ได้มีการนำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดเลขที่ 3466 และขายให้ “ละออง ชิดชอบ” เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2535 ก่อนจะมีการนำไปขายต่อให้ บ.ศิลาชัย บุรีรัมย์

โดยในเวลาต่อมา “พรรคประชาชาติ” เมื่อครั้งเป็น “ฝ่ายค้าน” ตรวจสอบพบการครอบครองที่ดินเขากระโดงเพิ่มอีก 12 แปลงและนำมาตีแผ่ต่อสาธารณะด้วย

หลังจากนั้นมีคำพิพากษาของศาลหลายรอบในจังหวัดบุรีรัมย์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกา ระหว่างปี 2557-2563 ชี้ขาดหลายครั้งว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.ไม่สามารถขอออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

รวมถึงส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่ รฟท. และชำระค่าเสียหายให้แก่ รฟท. ในจำนวนนี้หมายรวมถึงที่ดิน 12 แปลงของตระกูล “ชิดชอบ” ด้วย

เมื่อศาลมีการชี้ขาดแล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. ราษฎรที่ถือครองต้องส่งมอบคืนนั้น ต่อมาในปี 2566 เรื่องนี้ก็ถึงศาลปกครองเมื่อ รฟท. เป็นผู้ฟ้องคดี และกรมที่ดิน เป็นผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลปกครองสั่งให้กรมที่ดินแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดข้างต้นขึ้นมา เพื่อพิจารณาเพิกถอนโฉนดที่ดิน และศาลปกครองสูงสุดก็มีคำพิพากษาเห็นพ้องเช่นเดียวกัน

นั่นจึงเป็นที่มาว่าบุคคลที่ที่มีการบุกรุกบริเวณ “เขากระโดง” ต้องถูกเพิกถอนโฉนดออกจากพื้นที่ ทว่าในมติของคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดนี้ ดัน “สวนทาง” คำพิพากษาของศาลหลายชั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ล่าสุด วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าฯ รฟท.คนปัจจุบัน ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบหนังสือจากกรมที่ดิน และต้องมีการหารือภายในกระทรวงคมนาคมเสียก่อนว่า จะมีแนวทางใดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุด พร้อมกับออกปากว่า เรื่องนี้ รฟท.เคยนำเข้าสู่ศาลยุติธรรมแล้ว สู้กันถึงชั้นศาลฎีกาแล้ว รฟท.ชนะแล้ว จึงยัง “งง ๆ” อยู่ สุดท้ายยืนยันว่าเรื่องนี้คาดว่าจะไม่นาน 1-2 สัปดาห์ต้องตัดสินใจ และเรามีเวลาดำเนินการภายใน 30 วัน

ดังนั้นความคืบหน้าหลังจากนี้ คงต้องจับตาไปที่ “กระทรวงคมนาคม” ซึ่งมี “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” นั่งเป็นเบอร์ 1 คุมอยู่ในตอนนี้ และมีบทบาทกำกับดูแล “รฟท.” ว่าจะมีทิศทางออกมาในรูปแบบใด จะสามารถปิดฉากมหากาพย์ “ที่ดินเขากระโดง” ที่ลากยาวมาหลายสิบปี และพัวพันกับตระกูลการเมืองระดับ “บ้านใหญ่” ลงได้หรือไม่

นอกจากนี้เรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นในชั้นการไต่สวนของ ป.ป.ช. กรณีกล่าวหา “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ กรณีไม่สั่งการให้ รฟท. ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดง รวมถึงคดีตรวจสอบความผิดตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงของเจ้าตัว กรณีมีบ้านพักบนที่ดินของ รฟท.บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ เพื่อประโยชน์ธุรกิจตนเองและเครือญาติอีกด้วย

เรื่องนี้ถือเป็นโจทย์หินในมือ “สุริยะ” หากจบแบบ “ค้านสายตา” สังคม อาจทำให้ “ฝ่ายค้าน” โดยเฉพาะ “พรรคประชาชน” (ปชน.) นำไปขยายแผล รวบรวมข้อมูลใช้ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาฯ ครั้งหน้าก็เป็นไปได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ที่ปัจจุบันคะแนนนิยมยังทรงตัว สูสีกับ “ค่ายส้ม” ศัตรูทางการเมืองหมายเลข 1

นอกจากนี้ยังมี “แผลเก่า” อย่าง “นักโทษเทวดา” ชั้น 14 รพ.ตำรวจ ที่ยังคงคาราคาซัง ตามมาหลอกหลอนอยู่เช่นเดียวกัน


Khao Kradong Land Dispute: A Test for Suriya and Pheu Thai's Credibility

Bangkok - The controversy surrounding the Khao Kradong land in Buriram Province has resurfaced, putting Transport Minister Suriya Juangroongruangkit in a difficult position. A recent decision by a land investigation committee not to revoke titles to the disputed land contradicts numerous court rulings and has drawn public criticism.

The dispute centers on 5,083 rai of land claimed by the State Railway of Thailand (SRT). While the committee found insufficient evidence to support the SRT's claim, at least 12 plots within the area, totaling over 179 rai, are linked to the influential Chidchob family.

This decades-long saga began in 1970 with accusations of encroachment against Chai Chidchob, father of prominent politician Newin Chidchob. Despite an initial agreement acknowledging SRT ownership, the land was later titled and sold to La-ong Chidchob in 1992, eventually ending up with Silachai Buriram Co., Ltd.

Between 2014 and 2020, various courts consistently ruled in favor of the SRT, ordering the return of the land and payment of damages. However, the recent committee decision has created confusion and fueled accusations of political interference.

SRT Governor Veeris Ammarapala stated that the Ministry of Transport is reviewing the situation and will decide on a course of action within two weeks. This puts the spotlight on Suriya, who oversees the SRT. His handling of the situation could significantly impact public trust in the Pheu Thai government.

The opposition, particularly the Prachachon Party, is expected to seize upon this issue, potentially using it in a no-confidence debate. Failure to resolve the dispute in a manner consistent with previous court rulings could damage the government's image and provide ammunition to its political opponents.

Adding to the pressure on Suriya is an ongoing investigation by the National Anti-Corruption Commission (NACC) into Saksayam Chidchob, a former Transport Minister, for alleged inaction on the Khao Kradong issue and potential ethical violations related to his own property holdings in the area.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 7:24 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ส่งมอบงาน SRTA บริหารเช่าที่ดิน-พื้นที่เชิงพาณิชย์
Source - ข่าวหุ้น
Wednesday, November 06, 2024 05:35

การรถไฟฯ ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่าและการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้บริษัทลูก SRTA กว่า 1.2 หมื่นสัญญา เร่งพัฒนาพื้นที่หนุนสร้างรายได้องค์กร ด้านที่ดินสามเหลี่ยมพหลโยธิน ที่จะหมดสัญญาเช่าปี 71 ล่าสุด CPN ส่งหนังสือขอต่อสัญญามาแล้ว มอบ SRTA เจรจา ตั้งเป้าผลประโยชน์ต้องไม่ต่ำกว่าที่เคยได้

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วานนี้ (5 พ.ย. 2567) รฟท. ได้ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ของ รฟท.ให้กับ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) โดยมีพันตำรวจเอก ศุภกร ศุภศิณเจริญ กรรมการบริษัท รักษาการกรรมการผู้จัดการ SRTA เป็นผู้รับมอบ รวม 12,233 สัญญา ประกอบด้วย 1. สัญญาฝ่ายบริหารทรัพย์สิน จำนวน 5,856 สัญญา 2. สัญญาฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ จำนวน 6,369 สัญญา 3. สัญญาฝ่ายอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม จำนวน 8 สัญญา บนพื้นที่กว่า 38,469 ไร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพย์สินของ รฟท. และก่อให้เกิดรายได้สูงสุดแก่องค์กร

ทั้งนี้ SRTA เป็นบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. ให้มีประสิทธิภาพ โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท. 100% โดย SRTA จะทำการจัดสรรพื้นที่และเจรจากับบุคคลที่สาม หรือร่วมทุนกับเอกชน เพื่อรับโอนพื้นที่ไปดำเนินการ ทำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยการเช่าพื้นที่จาก รฟท. หรือซื้อที่ดินจากองค์กรอื่นมาพัฒนาและบริหารจัดการ ซึ่ง SRTA ต้องแบ่งผลตอบแทนให้ รฟท.ในฐานะผู้บริหารสัญญาในอัตรา 5% ของรายได้จากค่าบริหารสัญญา

นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ รฟท.ได้นำส่งผลการศึกษาที่ดินแปลงที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จำนวน 28 แปลงให้ SRTA ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 แล้ว รวมถึงการมอบสัญญาเช่าบางส่วนให้กับบริษัท SRTA นำไปศึกษาและจัดทำแผนพัฒนา ซึ่งเบื้องต้น บริษัท SRTA ได้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โครงการเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรก จะดำเนินการในปี 2568 จำนวน 7 แปลง ประกอบด้วย 1. โครงการบางซื่อ - คลองตัน (RCA) 2. โครงการศิลาอาสน์แปลงย่อย 3. โครงการตลาดคลองสาน 4. โครงการสถานีราชปรารภ (แปลง OA) 5. โครงการถนนพหลโยธิน (หัวมุม อตก.) 6. โครงการย่านบางซื่อ (แปลง A2) สถานีขนส่ง 7. โครงการย่านสถานีหนองคาย (แปลง 5) ส่วนที่เหลือจะดำเนินการในปี 2569–2572

โดยปัจจุบัน ที่ดินของ รฟท. มีทั้งหมด 246,880 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ จำนวน 201,868 ไร่ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ จำนวน 45,012 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33,761 ไร่

สำหรับที่ดินสามเหลี่ยมพหลโยธิน พื้นที่ 47.22 ไร่ ที่บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ในเครือบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เป็นผู้เช่าดำเนินการ 20 ปี (19 ธ.ค. 2551–18 ธ.ค. 2571) มีผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน 21,298.83 ล้านบาทนั้น ทราบว่าฝ่ายเอกชนได้ส่งหนังสือขอต่อสัญญามายัง รฟท.แล้ว ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ซึ่ง SRTA จะเป็นผู้เจรจากับเอกชน โดยเบื้องต้นผลประโยชน์ที่ได้รับจากเอกชนนั้นจะต้องมากกว่าการต่อสัญญาครั้งที่ผ่านมา

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 6 พ.ย. 2567


State Railway of Thailand Transfers Land Management to Subsidiary

Bangkok – The State Railway of Thailand (SRT) has transferred management of over 12,000 land lease and commercial area files to its subsidiary, SRT Asset Co., Ltd. (SRTA), aiming to boost revenue generation. The move covers over 38,469 rai of land and includes various types of contracts, such as asset management, operations, and signaling and telecommunications.

SRT Governor Veeris Ammarapala stated that SRTA will be responsible for managing and developing these assets, with the goal of maximizing their commercial potential. While SRTA will handle negotiations and operations, all assets will remain under SRT ownership. The subsidiary will share 5% of its income with SRT as a contract management fee.

SRTA has already outlined a three-phase development plan for 28 plots of land with commercial potential. The first phase, scheduled for 2025, includes projects in areas like Bang Sue, Khlong Tan, Sila Asan, Khlong San, Ratchaprarop, Phahon Yothin, and Nong Khai. The remaining phases will be implemented between 2026 and 2029.

Of the SRT's total land holdings of 246,880 rai, 45,012 rai are designated as non-core business areas with development potential. This includes a 47.22 rai plot in the Phahon Yothin Triangle area currently leased to Central International Development Co., Ltd., a subsidiary of Central Pattana Public Company Limited (CPN). The lease, which expires in 2028, has generated over 21 billion baht in revenue for SRT.

CPN has reportedly requested a lease extension. SRTA will handle negotiations, with the aim of securing even more favorable terms than the existing contract.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2024 11:02 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
การรถไฟฯ ส่งมอบงาน SRTA บริหารเช่าที่ดิน-พื้นที่เชิงพาณิชย์
Source - ข่าวหุ้น
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 05:35 น.



รถไฟฯมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์
เศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.15 น.


การรถไฟฯประเดิม 7 ทำเลทอง ให้ SRTA พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ปี 2568
ในประเทศ
วันอังคาร ที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:14 น.

‘รฟท.’เร่งเครื่อง SRTA ลุยปั๊มรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ มั่นใจ 4 ปีโกยถึง 2 หมื่นล้าน
วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.14 น.

6 พฤศจิกายน 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา ก
การรถไฟฯ ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core)กว่า 1.2 หมื่นสัญญา ให้บริษัทลูก เอสอาร์ที แอสเสท (SRTA) ลุยพัฒนาเชิงพาณิชย์ หวังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพย์สิน-เพิ่มรายได้ยั่งยืน ประเดิมปี 2568 ลุยพัฒนาที่ดิน 7 แปลงทำเลทอง... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้กับ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) โดยนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และพันตำรวจเอก ศุภกร ศุภศิณเจริญ กรรมการบริษัท รักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด




นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ การรถไฟฯ ซึ่งการรถไฟฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูก ภายใต้ชื่อ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของการรถไฟฯ 100% แต่สามารถสร้างรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น



การรถไฟฯ ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ให้กับ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด อย่างเป็นทางการ จำนวน 12,233 สัญญา ประกอบด้วย 1) สัญญาฝ่ายบริหารทรัพย์สิน จำนวน 5,856 สัญญา 2) สัญญาฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ จำนวน 6,369 สัญญา 3) สัญญาฝ่ายอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม จำนวน 8 สัญญา บนพื้นที่กว่า 38,469 ไร่ เพื่อให้บริษัทลูกของ การรถไฟฯ นำไปบริหารจัดการสัญญาเช่า โดยที่ทรัพย์สินทั้งหมดยังเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ รวมทั้งจัดสรรพื้นที่และเจรจากับบุคคลที่สาม หรือร่วมทุนกับเอกชน เพื่อรับโอนพื้นที่ไปดำเนินการ ตลอดจน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเช่าพื้นที่จากการรถไฟฯ หรือซื้อที่ดินจากองค์กรอื่นมาพัฒนาและบริหารจัดการ ทั้งนี้ บริษัทต้องแบ่งผลตอบแทนให้กับการรถไฟฯ ในฐานะผู้บริหารสัญญา ร้อยละ 5 ของรายได้จากค่าบริหารสัญญา

สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ อีก 28 แปลง ที่สามารถพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ นั้น เบื้องต้น บริษัท SRTA ได้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โครงการ ออกเป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรก จะดำเนินการในปี 2568 จำนวน 7 แปลง ประกอบด้วย

1) โครงการบางซื่อ - คลองตัน (RCA)

2) โครงการศิลาอาสน์แปลงย่อย

3) โครงการตลาดคลองสาน

4) โครงการสถานีราชปรารภ(แปลง OA)

5) โครงการถนนพหลโยธิน (หัวมุม อตก.)

6) โครงการย่านบางซื่อ(แปลง A2) สถานีขนส่ง

7) โครงการย่านสถานีหนองคาย (แปลง 5)



ส่วนที่เหลือนั้น จะดำเนินการในปี 2569 – 2572 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ส่งผลการศึกษาที่ดินแปลงที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (Non Core) จำนวน 28 แปลงดังกล่าวให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 แล้ว รวมถึงการมอบสัญญาเช่าบางส่วนให้กับบริษัท SRTA นำไปศึกษาและดำเนินการจัดทำแผน เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ด้วย



ปัจจุบัน ที่ดินของการรถไฟฯ มีทั้งหมด 246,880 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ จำนวน 201,868 ไร่ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ จำนวน 45,012 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33,761 ไร่


"รฟท." โอน 1.2 หมื่นสัญญา ตั้งเป้า 4 ปี โกยรายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์ 2 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:06 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:17 น.
เริ่มแล้ว "รฟท." เดินหน้าโอน 1.2 หมื่นสัญญา ดึง SRTA บริหารที่ดินต่อ ลุยปั้นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3.8 หมื่นไร่ มั่นใจ 4 ปี รายได้แตะ 2 หมื่นล้านบาท
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับการส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่าและการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้กับ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) นั้น ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ การรถไฟฯ

ทั้งนี้การรถไฟฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูก ภายใต้ชื่อ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

\"รฟท.\" โอน 1.2 หมื่นสัญญา ตั้งเป้า 4 ปี โกยรายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์ 2 หมื่นล้าน

ขณะเดียวกันสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของการรถไฟฯ 100% แต่สามารถสร้างรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างรายได้และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

สำหรับการส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ให้กับ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด อย่างเป็นทางการ จำนวน 12,233 สัญญา ประกอบด้วย

1.สัญญา ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน จำนวน 5,856 สัญญา 2.สัญญาฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ จำนวน 6,369 สัญญา 3.สัญญาฝ่ายอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม จำนวน 8 สัญญา บนพื้นที่กว่า 38,469 ไร่

ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทลูกของการรถไฟฯ นำไปบริหารจัดการสัญญาเช่า โดยที่ทรัพย์สินทั้งหมดยังเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ รวมทั้งจัดสรรพื้นที่และเจรจากับบุคคลที่สาม หรือร่วมทุนกับเอกชน เพื่อรับโอนพื้นที่ไปดำเนินการ


นอกจากนี้การส่งมอบสัญญาดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเช่าพื้นที่จากการรถไฟฯ หรือซื้อที่ดินจากองค์กรอื่นมาพัฒนาและบริหารจัดการ

ทั้งนี้ บริษัทต้องแบ่งผลตอบแทนให้กับการรถไฟฯ ในฐานะผู้บริหารสัญญา ร้อยละ 5 ของรายได้จากค่าบริหารสัญญา

\"รฟท.\" โอน 1.2 หมื่นสัญญา ตั้งเป้า 4 ปี โกยรายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์ 2 หมื่นล้าน

นายวีริศ กล่าวต่อว่า หลังจากการส่งมอบสัญญาให้บริษัทเอสอาร์ที แล้วเสร็จ เบื้องต้นรฟท.ได้ตั้งเป้ามีรายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปี 68 จำนวน 4,000 ล้านบาทต่อปี

จากปัจจุบันที่รฟท.มีรายได้อยู่ที่ 3,700 ล้านบาทต่อปี และตั้งเป้าหมายภายใน 4 ปี จะมีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นรวม 20,000 ล้านบาท

"เรายืนยันว่าภายใน 2 ปี จะเดินหน้าเปิดประมูลพื้นที่แปลงใหญ่ได้ เช่น พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ,พื้นที่สถานีแม่น้ำ ฯลฯ" นายวีริศ กล่าว

สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ อีก 28 แปลง ที่สามารถพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ นั้น เบื้องต้น บริษัท SRTA ได้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โครงการ ออกเป็น 3 ระยะ

ทั้งนี้ในระยะแรก จะดำเนินการในปี 2568 จำนวน 7 แปลง ประกอบด้วย โครงการบางซื่อ - คลองตัน (RCA) ,โครงการศิลาอาสน์แปลงย่อย ,โครงการตลาดคลองสาน โครงการสถานีราชปรารภ(แปลง OA)

โครงการถนนพหลโยธิน (หัวมุม อตก.) ,โครงการย่านบางซื่อ(แปลง A2) สถานีขนส่ง และโครงการย่านสถานีหนองคาย (แปลง 5)


ส่วนที่เหลือนั้น จะดำเนินการในปี 2569 – 2572 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ส่งผลการศึกษาที่ดินแปลงที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (Non Core) จำนวน 28 แปลงดังกล่าวให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 แล้ว

ขณะที่การมอบสัญญาเช่าบางส่วนให้กับบริษัท SRTA นำไปศึกษาและดำเนินการจัดทำแผน เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ด้วย

นายวีริศ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันที่ดินของการรถไฟฯ มีทั้งหมด 246,880 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ จำนวน 201,868 ไร่

และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไป ทำประโยชน์ได้ จำนวน 45,012 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33,761 ไร่

“การส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ในครั้งนี้ เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาสินทรัพย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ ให้เกิดรายได้และประโยชน์สูงสุดกับการรถไฟฯ อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป“ นายวีริศ กล่าว


Last edited by Wisarut on 08/11/2024 9:10 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2024 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งหาแนวทางทวงคืนที่ดิน”เขากระโดง”หลังกรมที่ดินไม่เพิกถอน ข้องใจไม่รับแผนที่ที่ชนะคดีแล้ว
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Wednesday, November 06, 2024 18:07

กรมที่ดิน โยนรฟท.พิสูจน์สิทธิ์ในศาลปมที่ดิน”เขากระโดง” 5,000ไร่ หลังคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่เพิกถอน ด้าน”ผู้ว่าฯรฟท.”ยังติดใจ ไม่รับ แผนที่ รฟท. ที่ศาลให้ชนะคดี เร่งหารือคมนาคม พร้อมหาแนวทางทวงคืน คาดสรุปใน 1-2 สัปดาห์

จากกรณีที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ได้ทำหนังสือแจ้ง เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ อันเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 โดยคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน มีมติไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟฯบริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ 5,083 ไร่ ว่า รฟท.ได้รับเอกสารจากกรมที่ดิน เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2567 โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร รวมถึง ต้องมีการหารือกับกระทรวงคมนาคมด้วย


“หลักการของรฟท.คือจะต้องดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ” นายวีริศ กล่าว

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนฯเห็นว่า หาก รฟท.เห็นว่ามีสิทธิในที่ดิน ก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดิน จะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิ์ในกระบวนการยุติธรรมทางศาล นั้น นายวีริศ กล่าวว่า จากที่ได้อ่านเอกสารที่กรมที่ดิน ส่งมาเบื้องต้นนั้น สรุปได้ 5 ประเด็น ได้แก่ มีการระบุว่า รฟท.ไม่มีหลักฐานใหม่ เป็นการรังวัดที่ดินตามมติ ครม.ปี 2539 ซึ่งเรื่องนี้ ในเมื่อแผนที่ดังกล่าว รฟท.เคยนำเข้าสู่ศาลยุติธรรมแล้ว และสู้กันไปถึงชั้นฎีกา แล้ว รฟท.ชนะ จึงยังงงกับประเด็นนี้

เช่นเดียวกัน กรณีที่มีการระบุว่า รฟท.เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือ มีชาวบ้านเข้าครอบครองที่ดินของ รฟท. ดังนั้น รฟท. ที่ถือว่าอยู่อีกฝั่งหนึ่ง แต่เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการสอบสวนฯ ตามมาตรา 61 ด้วยนั้น จะเหมาะสมหรือไม่ แต่ทาง รฟท. ก็มีคำถามกลับไปเช่นกันว่า แล้วกรมที่ดินจะไม่มีส่วนได้เลยหรืออย่างไร กรมที่ดินก็อาจมีส่วนได้เสียก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่ออกโฉนดที่ดินให้ประชาชนในพื้นที่

“ผมต้องดูว่า เหตุผลต่างๆของท่านอธิบดีกรมที่ดิน ถูกต้องเหมาะสมทุกอย่างหรือเปล่า แล้วรถไฟฯจะดำเนินการอย่างไร เพราะท่านอธิบดีกรมที่ดินบอกว่า พื้นที่ต่างๆที่ท่านไปศึกษาจากทางประวัติศาสตร์ มันควรจะวัดจากแนวรางรถไฟ 20-30 วา อะไรอย่างนี้ ดังนั้นที่สรุปออกมา ผมก็เลยไม่ค่อยเข้าใจ”

นายวีริศกล่าวว่า มีบางคนท่านก็บอกว่า พื้นที่ตรงนั้น เป็นที่ที่เป็นแหล่งหินที่ดีที่สุดของประเทศ และหินตรงนั้นจะนำมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ เป็นพระราชปณิธาน ผมก็ต้องไปดูว่า อันไหนถูกต้องกันแน่ ผมมีเวลานิดเดียวที่จะต้องตัดสินเรื่องนี้ คิดว่าไม่นาน 1-2 อาทิตย์ ต้องตัดสินใจแล้ว เนื่องจากมีเวลาดำเนินการภายใน 30 วัน


Dispute Over State Railway Land in Buriram Province, Thailand: A Legal and Cartographic Challenge

Introduction

The State Railway of Thailand (SRT) is engaged in a land dispute concerning 5,083 rai (approximately 2,033 hectares) at Khao Kradong Intersection, Mueang District, Buriram Province. This article analyzes the legal and cartographic complexities surrounding the case, focusing on the SRT's efforts to reclaim the land despite a recent decision by the Land Department not to revoke existing land title deeds.

Background

The dispute stems from overlapping land title deeds issued by the Land Department. The Central Administrative Court, in Case No. 2494/2564, Red Case No. 582/2566, ruled in favor of the SRT, prompting the Land Department to investigate the matter under Section 61 of the Land Code. However, the investigation committee concluded that the SRT lacked conclusive evidence to support its ownership claim and declined to revoke or amend the existing titles.

Current Status

Mr. Veeris Ammarapala, Governor of the SRT, expressed dissatisfaction with the Land Department's decision, particularly its dismissal of the SRT map that was central to the court victory. He highlighted several points of contention:

1. Evidentiary Standards: The Land Department asserted that the SRT presented no new evidence. However, Mr. Amrapal argued that the SRT map, previously accepted by the Supreme Court, should suffice as conclusive evidence.
2. Conflicting Interests: The investigation committee acknowledged the presence of villagers occupying SRT land, raising concerns about potential conflicts of interest within the committee itself. Mr. Amrapal questioned the impartiality of the Land Department, suggesting its involvement in issuing the disputed titles constitutes a conflict of interest.
3. Cartographic Interpretation: Mr. Amrapala expressed confusion regarding the Land Department's historical analysis and its reliance on measurements from the railway line to determine land boundaries.

Future Actions

The SRT is currently exploring legal options and plans to consult with the Ministry of Transport to determine the best course of action. Mr. Amrapal stressed the urgency of the situation, given the 30-day window to respond to the Land Department's decision. He aims to reach a conclusion within one to two weeks.

Conclusion

This case highlights the challenges of land ownership verification in Thailand, particularly when historical records and cartographic interpretations are involved. The SRT's efforts to reclaim the Khao Kradong land underscore the complexities of navigating legal and administrative processes in land disputes. Further research is needed to assess the implications of this case for land management and property rights in Thailand.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2024 11:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.เร่งหาแนวทางทวงคืนที่ดิน”เขากระโดง”หลังกรมที่ดินไม่เพิกถอน ข้องใจไม่รับแผนที่ที่ชนะคดีแล้ว
Source - ผู้จัดการออนไลน์
วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:07 น.



ช็อก! "กรมที่ดิน"ไม่ถอนโฉนดเขากระโดง อ้างไม่ใช่"ที่รถไฟ" | เนชั่นทันข่าวเช้า | NationTV22

NationTV
วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
https://www.youtube.com/watch?v=o_cSjNm3WTU

โยน‘รฟท.’พิสูจน์สิทธิ์ในศาล! ‘คณะกรรมการสอบสวนฯ’มีมติไม่เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’ 5 พันไร่
เขียนโดยisranewsHits2004 views
เขียนวันจันทร์ ที่ 04 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18:25 น.
รฟท.มึน "คกก.สอบสวนฯ" ไม่เพิกถอนโฉนดเขากระโดง โยนพิสูจน์สิทธิ์ในศาลเอง
วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:06 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:15 น.
สำนักข่าวอิศรา เปิดข้อมูล “คณะกรรมการสอบสวนฯ” มีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดง 5,000 ไร่ เหตุ รฟท. ขาดหลักฐานยืนยันกรรมสิทธิ์ หากต้องการสิทธิ์เหนือกว่าต้องฟ้องศาล

‘คณะกรรมการสอบสวนฯ’ มีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดิน ‘เขากระโดง’ 5,000 ไร่ เหตุ ‘รฟท.’ ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันเป็นที่ยุติว่า ที่ดินบริเวณแยกเขากระโดง เป็นของ ‘รฟท.’ ชี้หากเห็นว่ามีสิทธิ์ในที่ดินดีกว่า ก็ให้ไปพิสูจน์สิทธิ์ใน ‘ศาลฯ’


จากกรณีที่อธิบดีกรมที่ดิน มีคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 เรื่อง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ อันเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566

ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดินและฝ่ายการช่างโยธา ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของ รฟท. ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อชี้แนวเขตและทำการรังวัดที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขาระโดง จ.บุรีรัมย์ 5,083 ไร่ จนแล้วเสร็จ และจัดส่งข้อมูลการรังวัดที่ดินให้คณะกรรมการสอบสวนฯพิจารณา นั้น (อ่านประกอบ : ‘สนง.ที่ดินบุรีรัมย์’ส่งหนังสือแจ้ง‘รฟท.’รังวัด‘เขากระโดง’เสร็จแล้ว-พร้อมแนบระวางแผนที่)

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ได้ทำหนังสือแจ้ง เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.

“คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้ร่วมกันพิจารณา และมีมติยืนยันความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ โดยเห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จนกว่าจะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยกเว้นในบริเวณที่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า มีการเข้าใช้ประโยชน์โดยมีการสร้างทางรถไฟ ซึ่งจะต้องไม่เกินข้างละ 20 วา หรือ 40 เมตร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องเป็นผู้นำพิสูจน์การเข้าทำประโยชน์ ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ไม่มีคณะกรรมการสอบสวนฯ ท่านใดมีความเห็นแย้ง

เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ได้เป็นที่ยติว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนฯ ปรากฏว่าการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในท้องที่ตำบลเสม็ด และตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น จึงยังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายจะใช้พิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 แห่งกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวน และการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553 จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้

แต่อย่างไรก็ดี หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดิน จะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป” หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2(2)/22162 เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2567 ลงนามโดยนายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ระบุ
นักกฎหมาย ชี้ชัด "คำพิพากษาศาลฎีกา" ที่ดินเขากระโดงเป็นที่รฟท.
วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:37 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:51 น.
นักกฎหมายมหาชน "ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม" เผยกับโพสต์ทูเดย์ ยืนยันที่ดินเขากระโดงเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. ตามคำตัดสินของศาลฎีกา ชี้ มติคณะกรรมการสอบสวนฯไม่เพิกถอนที่ดิน เป็นแค่การประวิงเวลา แต่ยังไม่สิ้นสุด
หลังจากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 กรมที่ดินได้ออกคำสั่งสำคัญ โดยอธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่งหมายเลข 1195-1196/2566 ออกตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนถึง 995 ฉบับ คำสั่งนี้เป็นการตอบสนองต่อคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 และคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ซึ่งเป็นที่ดินขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 5,083 ไร่

เจ้าหน้าที่กรมที่ดินของจังหวัดบุรีรัมย์ร่วมกับฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดินของรฟท. และฝ่ายการช่างโยธา ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจแนวเขตที่ดินของรฟท. บริเวณเขากระโดงอย่างละเอียด และเสร็จสิ้นกระบวนการรังวัดที่ดินในที่สุด ข้อมูลการรังวัดทั้งหมดถูกส่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาต่อไป


อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ได้ส่งหนังสือแจ้งว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินของรฟท. บริเวณแยกเขากระโดง โดยให้เหตุผลว่ารฟท. ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่จะยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองอย่างเป็นที่สิ้นสุด

ในรายงานข่าวของโพสต์ทูเดย์ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนสำคัญ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวโพสต์ทูเดย์ถึงกรณีนี้ว่า กรณีที่ดินเอกสารสิทธิทับที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นมหากาพย์ที่ยาวนาน ประชาชนอาจสับสนว่า คำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร



นอกจากนี้มติที่คณะกรรมการสอบสวนฯของกรมที่ดินที่ตั้งคณะกรรมการหยิบมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. มติดังกล่าว มีผลทางกฎหมายเพียงใด

มติคณะกรรมการสอบสวนฯเป็นคำสั่งทางปกครองไม่เป็นที่สุด
จึงขอให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนให้แก่ประชาชนอีกแง่มุมหนึ่งว่า มติคณะกรรมการสอบสวนที่กรมที่ดินใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินตั้งขึ้นมาตามมาตรา 61 เป็นการที่อธิบดีกรมที่ดินใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาเพิกถอนที่ดินตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางหรือไม่ คำวินิจฉัยไม่เพิกถอน เป็นเพียงคณะกรรมการสอบสวนฯวินิจฉัย เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายมีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือว่า เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนที่ดินมีผลกระทบต่อการรถไฟ ยังไม่เป็นที่สุด

หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามติของคณะกรรมการสอบสวนฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่ได้รับทราบผลมติวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนฯของชุดที่กรมที่ดินตั้งขึ้น เพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(1) ประกอบมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หากไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง กระบวนการขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยสิ้นสุดทันที



คำพิพากษาศาลปกครอง-ศาลยุติธรรมแยกจากกัน
ส่วนคำพิพากษาของศาลยุติธรรม กับคำพิพากษาศาลปกครอง ในประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยผลของรัฐธรรมนูญ 2540 ผลคำพิพากษาของทั้งสองศาล แยกต่างหากจากกัน ประชาชนอาจสับสวน คำพิพากษาศาลยุติธรรม คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาถือเป็นศาลสูงสุด หากเป็นคดีแพ่ง คำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีและต้องบังคับตามคำพิพากษา

ส่วนคำพิพากษาศาลปกครอง เป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน พิพาทกัน คดีที่จะใช้สิทธิฟ้องศาลปกครอง แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ คำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ และสัญญาทางปกครอง เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาทั้งสองศาล ต้องแยกต่างหากจากกัน เพราะคู่ความแตกต่างกัน มีผลเฉพาะคู่ความเท่านั้น แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร คำพิพากษาของศาลปกครอง ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม

มีเพียงศาลยุติธรรมในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือตามคำพิพากษาส่วนอาญาเท่านั้นและมีผลเฉพาะคู่ความ

ที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ
กรณีที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า คดีเขากระโดงหากพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 – 876 /2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้ง ว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตสร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง จึงถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยมีข้อเท็จจริงว่า ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟที่ได้มาตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 และถือเป็นที่ดินของรัฐประเภทหนึ่ง กรมที่ดิน จึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองและป้องกันที่ดินบริเวณดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557

ประกอบกับ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่มีผลเกี่ยวเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 คดีดังกล่าวว่า อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พ.ย.2564 แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 13) ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวน พร้อมจำหน่าย ส.ค.1 เลขที่ 209 หมู่ที่ 1 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน และยกเลิกเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 40 ฉบับของประชาชนจำนวน 35 ราย ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560

ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้ยันบุคคลภายนอกได้
รวมทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ และเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 206 ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งที่ดินทั้งหมดข้างต้นเกิดขึ้นในพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวอ้างว่า เป็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แม้ในคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดี และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3จะไม่ได้วินิจฉัยให้เพิกถอนที่ดินแปลงอื่นๆนอกเหนือจากที่ปรากฎเป็นข้อพิพาทในคดีก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวก็ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึง ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) จึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่ บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า

ตรงนี้แหละที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยิบเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกา มาร้องขอให้อธิบดีกรมที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิแสดงกรรมสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ

หากพิจารณาจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้กรมที่ดินมีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคลและจัดการที่ดินของรัฐ จากข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว เห็นได้ว่า กรมที่ดิน มีภารกิจหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลและรักษาที่ดินของรัฐทุกประเภท และอธิบดีกรมที่ดิน ในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็ย่อมมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้กรมที่ดิน ให้สำเร็จลุล่วงตามภารกิจที่ถูกกำหนดไว้

การรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ช่องทางนี้ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยอ้างว่ากรมที่ดิน หน่วยงานของรัฐ อธิบดีกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2)

หากพิจารณาจาก คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 วินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน) ละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีหน้าที่ในการดำเนินการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาตามคำร้องขอของผู้ฟ้องคดี (รฟท.) เพื่อตรวจสอบถึงความถูกต้องในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณที่พิพาทว่าเป็นการออกโดยทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่

คำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง ตรงนี้ เป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดง นำไปสู่มติไม่เพิกถอน อ้างความไม่ชัดเจนของเอกสารสิทธิ์ หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางแล้ว เมื่อตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำให้เกิดคำสั่งทางปกครอง ฉบับใหม่เกิดขึ้น

แผนที่ท้ายพรฎ.จัดซื้อที่ดินไม่ยืนยันแน่ชัดคือปมปัญหา
การโยนภาระการพิสูจน์เอกสารสิทธิ์ เป็นภาระของการรถไฟ เพราะเพิกถอนที่ดินที่อยู่นอกเหนือคำพิพากษาของศาลฎีกาด้วย และแผนที่ ท้าย พรฎ.การจัดซื้อที่ดินฯ ไม่มียืนยันแน่ชัด โดยเปิดช่อง ให้คณะกรรมการสอบสวนฯใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกาและไม่ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เพราะคำพิพากษาไม่ได้บังคับให้เพิกถอน แต่ไปออกช่องให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้เปิดช่องให้ คดีกลับไปสู่สารตั้งต้นในการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินใหม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า มติของคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐาน เป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่

มติคณะกรรมการฯเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไม่ได้
ดร.ณัฏฐ์ มือกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของมติคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครอง ใหม่ที่เกิดขึ้น แยกต่างหากจากคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สะท้อนให้เกิดแตกเป็นคดีใหม่ คดีเดิมยังทำอะไรไม่ได้ เป็นการประวิงเวลา อีกประการหนึ่งเปิดช่องมิให้ อธิบดีกรมที่ดิน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ดินที่เกี่ยวข้องมิให้ถูก ดำเนินคดีอาญามาตรา 157 โดยอ้างว่า ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางแล้ว แต่มติคณะกรรมการสอบสวนไม่เพิกถอน เป็นคำสั่งทางปกกครองใหม่เกิดขึ้น ยังเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไม่ได้

แต่หากพิจารณาถึงประเด็นแนวทางต่อสู้ เป็นจุดอ่อนของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำพิพากษาระบุตอนหนึ่งว่า มีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2/15572 ลงวันที่ 27 ก.ค.2564 ขอให้การรถไฟ ชี้แจงว่า แผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 หรือไม่

มีหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ รฟ 1/2281/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564 แจ้งตอบผู้กรมที่ดิน ว่า ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) ไม่มีแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ มีเพียงแผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง ซึ่งเป็นเอกสารที่ยื่นในคดีพิพาทต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) ใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) จึงมีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2 ลงวันที่ 27 ก.ย.2564 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดี(รฟท.)นำส่งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ หรือนำครอบแผนที่อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง ไม่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือเพิกถอนตามมาตรา 61 วรรคแปด แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้

การตอบคำถามโดยยืนยันข้อเท็จจริง เป็นการเปิดช่องในเรื่อง แผนที่ที่ดิน เป็นภาระการพิสูจน์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะฟ้องให้อธิบดีกรมที่ดิน ฟ้องเพิกถอนทั้งหมด นอกเหนือที่ปรากฏในคำพิพาษาของศาลฎีกาทั้งฉบับและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หนึ่งฉบับ คือ ฟ้องเหมารวมทั้งทั้งหมด แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาผูกพันเฉพาะคู่ความที่ศาลให้เพิกถอนเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นที่ถือครองและไม่ใช่เป็นบริวารของคู่ความ

รฟท.พ่ายอีกยก! คณะกรรมการสอบสวนฯ ลงมติไม่เพิกถอนโฉนด 'เขากระโดง' 5,000 ไร่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 21:48 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:38 น.


คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ 5,083 ไร่ บริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ได้เป็นที่ยุติว่าเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่หาก รฟท.เห็นว่ายังมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็สามารถไปพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไปได้

จากกรณีที่อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 เรื่อง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 12 พ.ค. 2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ อันเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566

ad

ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดินและฝ่ายการช่างโยธา ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของ รฟท. ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อชี้แนวเขตและทำการรังวัดที่ดินของ รฟท.บริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ 5,083 ไร่ จนแล้วเสร็จ และจัดส่งข้อมูลการรังวัดที่ดินให้คณะกรรมการสอบสวนฯ พิจารณานั้น

เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ได้ทำหนังสือแจ้ง เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท.ไม่มีหลักฐานเป็นข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.

“คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้ร่วมกันพิจารณา และมีมติยืนยันความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ โดยเห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จนกว่าจะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยกเว้นในบริเวณที่มีพยานหลักฐานยืนยันว่ามีการเข้าใช้ประโยชน์โดยมีการสร้างทางรถไฟ ซึ่งจะต้องไม่เกินข้างละ 20 วา หรือ 40 เมตร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำพิสูจน์การเข้าทำประโยชน์ ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ไม่มีคณะกรรมการสอบสวนฯ ท่านใดมีความเห็นแย้ง

เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ได้เป็นที่ยุติว่าเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนฯ ปรากฏว่าการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในท้องที่ตำบลเสม็ด และตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น จึงยังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่าได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายจะใช้พิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 แห่งกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวน และการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้

แต่อย่างไรก็ดี หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป

ขณะที่ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเห็นสมควรไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง ว่า เบื้องต้นรฟท.จะพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคมเพื่อหาแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่ผ่านมาจากหลักฐานของรฟท.เคยนำแผนที่ดินเขากระโดงส่งให้ทางศาลยุติธรรมแล้ว ในระหว่างนั้นมีการสู้คดีถึงชั้นกฤษฎีกา ซึ่งชนะคดีมาแล้ว

ส่วนประเด็นที่ รฟท.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกรณีที่มีประชาชนครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเราก็มองว่าเหตุใดทำไมกรมที่ดินถึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมื่อเป็นผู้ออกโฉนดที่ดิน ขณะเดียวกันเราต้องพิจารณาด้วยว่าเหตุผลของอธิบดีกรมที่ดินที่ระบุนั้นมีความเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาเรื่องนี้ไม่เกิน 30 วัน


Last edited by Wisarut on 13/11/2024 9:12 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2024 9:07 am    Post subject: Reply with quote

"ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม" ผ่าปมเขากระโดง ยึดคำตัดสินศาลฎีกาเป็นที่รฟท.
วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567



'ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม'มือกฎหมายมหาชน ชำแหละเขากระโดง ยึดคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่ดินของรฟท. มติชี้ขาดคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่เพิกถอนที่ดิน เปิดช่องอธิบดีกรมที่ดินประวิงเวลาถือเป็นคำสั่งทางปกครองแต่ยังไม่เป็นที่สุด
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 สืบเนื่องจากกรณีอธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 เรื่อง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ อันเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดินและฝ่ายการช่างโยธา ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของ รฟท. ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อชี้แนวเขตและทำการรังวัดที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขาระโดง จ.บุรีรัมย์ 5,083 ไร่ จนแล้วเสร็จ และจัดส่งข้อมูลการรังวัดที่ดินให้คณะกรรมการสอบสวนฯพิจารณา


ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ได้ทำหนังสือแจ้ง เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจากการรถไฟไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนดัง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวโพสต์ทูเดย์ว่า กรณีที่ดินเอกสารสิทธิทับที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นมหากาพย์ที่ยาวนาน ประชาชนอาจสับสนว่า คำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร

นอกจากนี้มติที่คณะกรรมการสอบสวนฯของกรมที่ดินที่ตั้งคณะกรรมการหยิบมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. มติดังกล่าว มีผลทางกฎหมายเพียงใด


มติคณะกรรมการสอบสวนฯเป็นคำสั่งทางปกครองไม่เป็นที่สุด

จึงขอให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนให้แก่ประชาชนอีกแง่มุมหนึ่งว่า มติคณะกรรมการสอบสวนที่กรมที่ดินใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินตั้งขึ้นมาตามมาตรา 61 เป็นการที่อธิบดีกรมที่ดินใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาเพิกถอนที่ดินตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางหรือไม่ คำวินิจฉัยไม่เพิกถอน เป็นเพียงคณะกรรมการสอบสวนฯวินิจฉัย เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายมีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือว่า เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนที่ดินมีผลกระทบต่อการรถไฟ ยังไม่เป็นที่สุด

หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามติของคณะกรรมการสอบสวนฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่ได้รับทราบผลมติวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนฯของชุดที่กรมที่ดินตั้งขึ้น เพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(1) ประกอบมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หากไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง กระบวนการขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยสิ้นสุดทันที

คำพิพากษาศาลปกครอง-ศาลยุติธรรมแยกจากกัน

ส่วนคำพิพากษาของศาลยุติธรรม กับคำพิพากษาศาลปกครอง ในประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยผลของรัฐธรรมนูญ 2540 ผลคำพิพากษาของทั้งสองศาล แยกต่างหากจากกัน ประชาชนอาจสับสวน คำพิพากษาศาลยุติธรรม คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาถือเป็นศาลสูงสุด หากเป็นคดีแพ่ง คำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีและต้องบังคับตามคำพิพากษา

ส่วนคำพิพากษาศาลปกครอง เป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน พิพาทกัน คดีที่จะใช้สิทธิฟ้องศาลปกครอง แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ คำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ และสัญญาทางปกครอง เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาทั้งสองศาล ต้องแยกต่างหากจากกัน เพราะคู่ความแตกต่างกัน มีผลเฉพาะคู่ความเท่านั้น แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร คำพิพากษาของศาลปกครอง ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม

มีเพียงศาลยุติธรรมในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือตามคำพิพากษาส่วนอาญาเท่านั้นและมีผลเฉพาะคู่ความ

ที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ

กรณีที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า คดีเขากระโดงหากพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 – 876 /2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้ง ว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตสร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง จึงถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยมีข้อเท็จจริงว่า ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟที่ได้มาตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 และถือเป็นที่ดินของรัฐประเภทหนึ่ง กรมที่ดิน จึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองและป้องกันที่ดินบริเวณดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557

ประกอบกับ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่มีผลเกี่ยวเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 คดีดังกล่าวว่า อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พ.ย.2564 แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 13) ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวน พร้อมจำหน่าย ส.ค.1 เลขที่ 209 หมู่ที่ 1 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน และยกเลิกเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 40 ฉบับของประชาชนจำนวน 35 ราย ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560

ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้ยันบุคคลภายนอกได้

รวมทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ และเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 206 ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งที่ดินทั้งหมดข้างต้นเกิดขึ้นในพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวอ้างว่า เป็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แม้ในคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดี และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3จะไม่ได้วินิจฉัยให้เพิกถอนที่ดินแปลงอื่นๆนอกเหนือจากที่ปรากฎเป็นข้อพิพาทในคดีก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวก็ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึง ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) จึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่ บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า

ตรงนี้แหละที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยิบเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกา มาร้องขอให้อธิบดีกรมที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิแสดงกรรมสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ

หากพิจารณาจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้กรมที่ดินมีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคลและจัดการที่ดินของรัฐ จากข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว เห็นได้ว่า กรมที่ดิน มีภารกิจหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลและรักษาที่ดินของรัฐทุกประเภท และอธิบดีกรมที่ดิน ในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็ย่อมมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้กรมที่ดิน ให้สำเร็จลุล่วงตามภารกิจที่ถูกกำหนดไว้

การรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ช่องทางนี้ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยอ้างว่ากรมที่ดิน หน่วยงานของรัฐ อธิบดีกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2)

หากพิจารณาจาก คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 วินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน) ละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีหน้าที่ในการดำเนินการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาตามคำร้องขอของผู้ฟ้องคดี (รฟท.) เพื่อตรวจสอบถึงความถูกต้องในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณที่พิพาทว่าเป็นการออกโดยทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่

คำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง ตรงนี้ เป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดง นำไปสู่มติไม่เพิกถอน อ้างความไม่ชัดเจนของเอกสารสิทธิ์ หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางแล้ว เมื่อตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำให้เกิดคำสั่งทางปกครอง ฉบับใหม่เกิดขึ้น

แผนที่ท้ายพรฎ.จัดซื้อที่ดินไม่ยืนยันแน่ชัดคือปมปัญหา

การโยนภาระการพิสูจน์เอกสารสิทธิ์ เป็นภาระของการรถไฟ เพราะเพิกถอนที่ดินที่อยู่นอกเหนือคำพิพากษาของศาลฎีกาด้วย และแผนที่ ท้าย พรฎ.การจัดซื้อที่ดินฯ ไม่มียืนยันแน่ชัด โดยเปิดช่อง ให้คณะกรรมการสอบสวนฯใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกาและไม่ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เพราะคำพิพากษาไม่ได้บังคับให้เพิกถอน แต่ไปออกช่องให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้เปิดช่องให้ คดีกลับไปสู่สารตั้งต้นในการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินใหม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า มติของคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐาน เป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่

มติคณะกรรมการฯเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไม่ได้

ดร.ณัฏฐ์ มือกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของมติคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครอง ใหม่ที่เกิดขึ้น แยกต่างหากจากคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สะท้อนให้เกิดแตกเป็นคดีใหม่ คดีเดิมยังทำอะไรไม่ได้ เป็นการประวิงเวลา อีกประการหนึ่งเปิดช่องมิให้ อธิบดีกรมที่ดิน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ดินที่เกี่ยวข้องมิให้ถูก ดำเนินคดีอาญามาตรา 157 โดยอ้างว่า ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางแล้ว แต่มติคณะกรรมการสอบสวนไม่เพิกถอน เป็นคำสั่งทางปกกครองใหม่เกิดขึ้น ยังเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไม่ได้

แต่หากพิจารณาถึงประเด็นแนวทางต่อสู้ เป็นจุดอ่อนของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำพิพากษาระบุตอนหนึ่งว่า มีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2/15572 ลงวันที่ 27 ก.ค.2564 ขอให้การรถไฟ ชี้แจงว่า แผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 หรือไม่

มีหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ รฟ 1/2281/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564 แจ้งตอบผู้กรมที่ดิน ว่า ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) ไม่มีแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ มีเพียงแผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง ซึ่งเป็นเอกสารที่ยื่นในคดีพิพาทต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) ใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) จึงมีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2 ลงวันที่ 27 ก.ย.2564 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดี(รฟท.)นำส่งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ หรือนำครอบแผนที่อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง ไม่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือเพิกถอนตามมาตรา 61 วรรคแปด แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้

การตอบคำถามโดยยืนยันข้อเท็จจริง เป็นการเปิดช่องในเรื่อง แผนที่ที่ดิน เป็นภาระการพิสูจน์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะฟ้องให้อธิบดีกรมที่ดิน ฟ้องเพิกถอนทั้งหมด นอกเหนือที่ปรากฏในคำพิพาษาของศาลฎีกาทั้งฉบับและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หนึ่งฉบับ คือ ฟ้องเหมารวมทั้งทั้งหมด แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาผูกพันเฉพาะคู่ความที่ศาลให้เพิกถอนเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นที่ถือครองและไม่ใช่เป็นบริวารของคู่ความ

ผู้กุมอำนาจมหาดไทยได้ประโยขน์ที่เขากระโดงอีกนาน

ดังนั้น ที่อธิบกรมที่ดิน หยิบเอา “แผนที่ท้ายตามพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 ” มาหักล้าง ทำให้คณะกรรมการสอบสวน หยิบมาพิจารณาเปิดช่องใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ เป็นเพียงเทคนิคทางกฎหมายมหาชนในคดีปกกครอง ในการใช้คำสั่งทางปกครอง ประวิงเวลาในการเพิกถอน ไม่ต่างจากจะต้องเริ่มฟ้องใหม่ เพราะคำพิพากษาคดีแพ่งผูกพันเฉพาะคู่ความ ไม่ได้เหมารวมถึงที่ดินแปลงอื่น เปิดช่องประวิงให้ประวิงเวลา หากใช้เวลาฟ้องเพิกถอนคำสั่งใหม่ ต้องใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้กลุ่มพรรคพวกของหมอผี บุรีรัมย์ ที่กุมอำนาจเสร็จเด็ดขาดในกระทรวงมหาดไทยขณะนี้ ใช้ประโยชน์ในที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอีกนาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2024 11:48 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม" ผ่าปมเขากระโดง ยึดคำตัดสินศาลฎีกาเป็นที่รฟท.
วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567



ดร. ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาที่ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ตนขอจองกฐินเป็นเจ้าภาพกวาดล้างขบวนการโกงชาติที่ดินเขากระโดง โดยจะร้องต่อ ปปช. ให้ทำการตรวจสอบไต่สวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งผู้บริหารการรถไฟ และกรมที่ดิน ที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้นักการเมืองยึดครองที่ดินของชาติ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ เพราะเรื่องนี้ย่ำยีหัวใจคนไทยทั้งประเทศมาก
ดร. ณฐพร โตประยูร กล่าวว่า รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการ พระราชทานที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้แก่การรถไฟ เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของการรถไฟ โดยเฉพาะการระเบิด และย่อยหินลูกรัง ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ เพื่อใช้ปูรางรถไฟ ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ก็ได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ดังกล่าว เป็นของการรถไฟซ้ำเข้าไปอีก ต่อมาปรากฏว่าได้มีนักการเมืองเข้ายึดครองที่ดิน 5,083 ไร่นี้ ตั้งโรงโม่หิน และระเบิดหินเอาไปขาย ในขณะที่การรถไฟเพิกเฉย จนกระทั่งนักการเมือง นำเอาที่ดิน 5,083 ไร่นี้ ไปออกเอกสารสิทธิ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโกงชาติ แต่ก็ไม่มีใครกล้าจัดการใด ๆ จนกระทั่งเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา นายวีระ สมความคิด ได้ไปร้องเรียนต่อหลายหน่วยงาน จึงเกิดการตรวจสอบไต่สวน และในที่สุดสำนักงานอัยการสูงสุด และการรถไฟ ก็ได้เป็นโจทก์ฟ้องคดี เรียกเอาที่ดิน 5,083 ไร่ และขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่นักการเมืองนำที่ดินการรถไฟไปออกโฉนด ได้ต่อสู้คดีจนถึง 3 ศาล ในที่สุด ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ และให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน แต่ปรากฏว่านักการเมืองดังกล่าวมีอำนาจทางกฎหมายมาก จึงไม่มีการดำเนินการใด ๆ ปล่อยเรื่องค้างคาไว้เกือบ 10 ปี นายวีระ สมความคิด จึงได้ไปร้องเรียนอีก ว่ามีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเริ่มมีการตรวจสอบไต่สวน เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมาย ล่าสุดได้มีการตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ และคณะกรรมการดังกล่าวกลับมีมติว่า กรมที่ดินไม่ต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ เพราะไม่มีหลักฐานว่าเป็นที่ดินของการรถไฟ ซึ่งเป็นการย่ำยีหัวใจของคนไทยทั้งประเทศอย่างรุนแรง ปล่อยไว้ไม่ได้ ดังนั้น ตนจึงขอเป็นเจ้าภาพยื่นคำร้องเรื่องนี้ให้ตรวจสอบไต่สวนเอาผิด กับพวกโกงชาติทั้งโขยง
ดร. ณฐพร กล่าวว่า การกระทำเช่นนี้ เท่ากับเป็นการละเมิด และก้าวล่วงพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ 5 ไม่ยอมรับพระราชกฤษฎีกาในรัชกาลที่ 6 และยังฉีกคำพิพากษาทิ้งอย่างไม่ยำเกรง ขบวนการโกงชาตินี้จึงต้องถูกถอนรากถอนโคนได้แล้ว ซึ่งต้องจะดำเนินการเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/1117252543094020
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2024 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

'กรมที่ดิน' แจง 5 ข้อสงสัยที่ดิน 'เขากระโดง' ยืนยันไม่ขัดแย้งคำพิพากษาศาลปกครอง
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Saturday, November 09, 2024 20:59

กรมที่ดิน ชี้แจง 5 ประเด็นที่ดินเขากระโดง ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ถูกต้องตาม ม.๖๑ แห่ง ป.ที่ดิน ยันไม่ขัดแย้งคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์แจ้งการรถไฟฯ เร่งพิสูจน์สิทธิในที่ดิน

กรมที่ดิน ชี้แจงกรณีตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า คณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน บริเวณเขากระโดง นั้น กรมที่ดิน ขอเรียนชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง

ในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2566 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบ แนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา และศาลอุทธรณ์ ภาค 3

ซึ่งอธิบดีกรมที่ดิน (นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมาย) ได้มีคำสั่งที่ 1195-2296/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าวแล้ว

โดยที่ศาลปกครองกลางมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์บริเวณเขากระโดงแต่อย่างใด

ประเด็นการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

การตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 61 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน

ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณา เพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553 หมวด 1 การตั้งคณะกรรมการสอบสวนและการสอบสวน ข้อ 2 ซึ่งประกอบด้วย

(1) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด สาขาหรือข้าราชการสังกัด กรมที่ดินที่อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ตรวจจราชการกรมที่ดิน เห็นสมควร เป็นประธานกรรมการ

(2) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอซึ่งที่ดินตั้งอยู่ เป็นกรรมการ

(3) ตัวแทนคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ เป็นกรรมการ

(4) ผู้แทนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร เป็นกรรมการ

(5) ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไปหรือข้าราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปในสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดิน จังหวัด สาขา เป็นกรรมการและเลขานุการ

ดังนั้น การตั้งคณะกรรมการสอบสวนจึงเป็นการตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้

ประเด็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน

คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553

หมวด 1 การตั้งคณะกรรมการสอบสวนและการสอบสวน ข้อ 3 และ ข้อ 4 ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้คณะกรรมการสอบสวนฯ ต้องดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานให้ได้ ความว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่

โดยมีการนัดสอบสวน การนัดพิจารณาหรือการอย่างอื่นพร้อมทั้งต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทราบ เป็นหนังสือด้วย และมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากผู้ยึดถือมาประการพิจารณาพร้อมทั้งแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทราบเพื่อให้โอกาสคัดค้าน

เมื่อดำเนินการสอบสวนเสร็จแล้ว คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่รายงานผลการ สอบสวนต่ออธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย โดยจะต้องสรุปข้อเท็จจริงและเหตุที่มีการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

รวมทั้งมีหน้าที่เสนอ ความเห็นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายว่าสมควรสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร

อีกทั้งมีหน้าที่ดำเนินการสอบสวน เพิ่มเติมในกรณีที่อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเห็นสมควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมตามนัย กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการ จดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553 ข้อ 7

ประเด็นที่กรมที่ดินพิจารณายุติเรื่อง

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือ แก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้ง เอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553

หมวด 3 การสั่งเพิกถอน หรือแก้ไข ข้อ 12 ได้บัญญัติเงื่อนไขของการที่อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีบดีมอบหมายจะพิจารณาสั่ง เพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ต่อเมื่อปรากฏชัดแจ้งว่าได้มี การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งได้ดำเนินการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่า แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุม กบร. จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มสมัชชาคนจน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539

โดยผู้ฟ้องคดีนำแผนที่ดังกล่าว ไปใช้ในการต่อสู้คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และ ที่ 8027/2561 จึงไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ พระพุทธศักราช 2564

ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขต ของที่ดินการรถไฟซึ่งมีการกล่าวอ้างว่ามีระยะทาง 8 กิโลเมตร แต่จากการตรวจสอบรายงานผลการถ่ายทอด แนวเขตที่ดินการรถไฟฯ ของคณะทำงานดำเนินการถ่ายทอดแนวเขตที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 2581/2566

ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบทางรถไฟโดยใช้วิธีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2497, พ.ศ.2511, พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2557 ปรากฏว่าทางรถไฟมีระยะทางประมาณ 6.2 กิโลเมตร

และได้ลงสำรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่จริงด้วยการรังวัดค่าพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ (RTK) สามารถยืนยันตำแหน่งทางรถไฟที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศว่า ตรงกับตำแหน่งรางรถไฟบนที่ดินจริง ประกอบกับการตรวจสอบจากแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุดที่ L 708 ซึ่งเป็นแผนที่ภูมิประเทศชุดแรก ในประเทศไทยจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร (ในช่วง ปี พ.ศ.2495-2500) มีความยาวของทางรถไฟประมาณ 6.2 กิโลเมตร เช่นกัน

โดยมีข้อสังเกตที่สำคัญจากการดำเนินการของคณะทำงานดังกล่าวคือ จุดสิ้นสุดราง รถไฟในแต่ละชั้นปีที่ดำเนินการถ่ายทอดมีระยะสิ้นสุดไม่เท่ากันและมีความแตกต่างกันในช่วงปลายตั้งแต่ หลักกิโลเมตรที่ 6 ถึงจุดสิ้นสุด มีทิศทางที่แตกต่างกัน

หากพิจารณาจากรางรถไฟจริง จุดสิ้นสุดของ กิโลเมตรที่ 8 จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก และความกว้างของแนวเขตทางรถไฟ จากการตรวจสอบข้อมูล ของคณะทำงานศึกษา แสวงหาหลักฐานและบูรณาการข้อมูลประวัติที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 91/2567 ลงวันที่ 18 มกราคม 2567 ที่ได้ศึกษาค้นคว้าเทียบเคียงจากพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง

และจากหนังสือกระทรวงโยธาธิการ ฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 127 สันนิษฐานได้ว่าการกำหนดเขตสร้าง ทางรถไฟจะมีการกำหนดไว้เพียงระยะข้างละไม่เกิน 40 เมตร หรือ 20 วา สำหรับกรณีที่ศาลปกครองกลาง ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา

โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็น ของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่สามารถร่วมกับ การรถไฟฯ เพื่อตรวจสอบแนวเขตรถไฟตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางได้

เนื่องจากเป็นการร่วมกับ คู่กรณีในการพิจารณาทางปกครอง ทำให้สูญเสียความเป็นกลางและมีผลทำให้ความเห็นหรือมติของ คณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อีกทั้งเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินแล้วเห็นว่า เป็นการดำเนินการไปตามขั้นตอนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับเมื่อพิจารณาประเด็นคำคัดค้านพยานหลักฐานของผู้มีส่วนได้เสียแล้วเห็นว่า รับฟังได้

คณะกรรมการสอบสวนฯ จึงมีมติ ยืนยันความเห็นว่าไม่สมควรที่จะเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วยมติเป็นเอกฉันท์ จนกว่า จะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้

รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ ที่ดินของการรถไฟฯ ยกเว้นในบริเวณที่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า มีการเข้าใช้ประโยชน์โดยมีการสร้างทาง รถไฟซึ่งจะต้องไม่เกินข้างละ 20 วา หรือ 40 เมตร โดยการรถไฟฯ จะต้องเป็นผู้นำพิสูจน์การเข้าทำประโยชน์

ดังนั้น เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือ แก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้ง เอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553

อธิบดีจึงได้เห็นชอบตามที่ คณะกรรมการฯ เสนอยุติเรื่องในกรณีนี้ ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ได้เสนอมา พร้อมทั้งแจ้งให้ การรถไฟทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไป ดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป

ประเด็นการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนและกรมที่ดินขัดหรือแย้งกับ คำพิพากษาฎีกาและศาลอุทธรณ์หรือไม่

ประเด็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ เป็นกรณีพิพาทของการรถไฟแห่ง ประเทศไทยกับเอกชน ซึ่งกรมที่ดินไม่มีโอกาสได้เข้าไปเป็นคู่ความต่อสู้ในคดี และนำเสนอพยานหลักฐาน อันเป็นสาระสำคัญซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีไปแสดงต่อศาลได้ สำหรับรูปแผนที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ฟ้องคดี) อ้างสิทธิ นั้น

จากการตรวจสอบพบว่าได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2531 และปี พ.ศ.2539 เป็นการ จัดทำขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด ซึ่งได้จัดทำ ขึ้นภายหลังที่ได้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินไปแล้ว โดยการรถไฟฯ ได้นำแผนที่นี้ไปใช้ประกอบการต่อสู้ในคดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งแผนที่นี้ไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ แต่อย่างใด

ประกอบกับการดำเนินการคณะกรรมการสอบสวนฯ และกรมที่ดิน เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ปกครองกลาง และตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วย กฎหมาย พ.ศ.2553 บัญญัติไว้จึงเห็นว่ามิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาของศาลแต่ประการใด


Thai Land Department Refuses to Revoke Khao Kradong Land Titles, Citing Lack of Evidence

Bangkok, Thailand – The Thai Land Department has refused to revoke land titles on Khao Kradong, a mountain in Buriram province, despite a court ruling that the land belongs to the State Railway of Thailand (SRT). The department claims its decision doesn't contradict the court's ruling and maintains that the SRT needs to provide further evidence to prove its ownership.

This decision stems from a long-standing dispute between the SRT and private landowners over Khao Kradong. The Supreme Court had previously ruled in favor of the SRT, recognizing its ownership of the land. However, the Land Department, following an investigation by a committee established under Section 61 of the Land Code, concluded that there was insufficient evidence to revoke the existing land titles.

The department argues that the map used by the SRT in its court case was not the original map attached to the Royal Decree that granted the land to the SRT. Furthermore, their investigation revealed discrepancies in the railway's length and boundaries, casting doubt on the SRT's claim.

The Land Department insists that its decision is in line with the Administrative Court's ruling, which mandated the establishment of an investigative committee. However, the committee concluded that revoking the titles would be unlawful without definitive proof of the SRT's ownership.

This decision has sparked controversy, with concerns that it might undermine the authority of the court's ruling. The SRT is now expected to further pursue legal action to prove its ownership of the disputed land.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205, 206, 207, 208  Next
Page 204 of 208

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©