RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312102
ทั่วไป:13704951
ทั้งหมด:14017053
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 209, 210, 211  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2024 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ยื่นหนังสือร้องอธิบดีกรมที่ดิน ค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเขากระโดง
ในประเทศ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:51 น.
การรถไฟฯ ยื่นหนังสือ ค้านคำสั่งไม่เพิกถอน ที่ดินทับซ้อน 'เขากระโดง'
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:21 น.

รฟท.ยื่นหนังสือ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ค้านยุติเพิกถอนที่ดินเขากระโดง
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:49 น.

เปิดหนังสือ ผู้ว่าฯการรถไฟฯ ส่งถึง อธิบดีกรมที่ดิน ค้านมติไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินเขากระโดง ชี้ใช้ดุลพินิจมิชอบ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันรฟท.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิให้ประชาชนใช้ประโยชน์โดยถูกต้องได้

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และเป็นธรรม

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ และตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังอธิบดีกรมที่ดิน การรถไฟฯ จึงเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการของนายสุริยะทันที

โดยได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ และตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนตามมาตราที่ 61 มีมติไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์


ทั้งนี้ หากกรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ทับซ้อนในบริเวณดังกล่าว การรถไฟฯ ได้วางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ไว้เบื้องต้น โดยให้ประชาชนสามารถขอเช่าที่ดินบริเวณดังกล่าว ในหลายรูปแบบ อาทิ การเช่าสำหรับอยู่อาศัย การเช่าสำหรับทำการเกษตร หรือการเช่าสำหรับเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้

“การรถไฟฯ ยืนยันว่าทุกขั้นตอนของการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินเขากระโดงนั้น การรถไฟฯ ปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม” นายวีริศกล่าว
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1153573
https://www.prachachat.net/general/news-1694951
https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1153595

อนุทิน การันตี เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง หลังทักษิณชมพรรคร่วมสามัคคี
ข่าวรอบวัน
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 11:55 น.


อนุทินย้ำพรรคร่วมรัฐบาลเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลังทักษิณชมพรรคร่วมสามัคคีดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาด ชี้ไม่มีเหตุต้องปกป้องใคร

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ไปปราศรัยที่จังหวัดอุดรธานี โดยกล่าวช่วงหนึ่งระหว่างปราศรัยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยกับนายอนุทิน เรื่องการปราบปรามยาเสพติดว่า คุยกันอยู่ทุกวัน ตั้งแต่สมัยนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ การป้องกันปราบปรามทำลายล้างยาเสพติด เป็นนโยบายที่ทางพรรคเพื่อไทย รวมถึงพรรคภูมิใจไทย เห็นพ้องต้องกันแบบไม่มีข้อแตกต่าง มุ่งมั่นตั้งใจ ปราบปรามยาเสพติดให้ได้มากที่สุด


ซึ่งการจะบอกให้ปราบปรามโดยสิ้นซาก คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้ผลิตในประเทศไทย แต่ยาเสพติดเหล่านี้ถูกผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งที่เราทำได้คือการสร้างอุปสรรคทุกอย่าง ในการลำเลียงขนส่งยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทย จะเห็นได้จากข่าวว่ามีการจับกุม ทำลายล้าง ดำเนินคดี เพื่อไม่ให้ยาเสพติดเหล่านี้เข้ามาในประเทศไทยทุกรูปแบบ


ส่วนการกวาดล้างจะเข้มข้นเหมือนยุคที่นายทักษิณเป็นนายกฯหรือไม่ นายอนุทินระบุว่า ต้องเอาให้เข้ม นายกฯแพทองธารมีความเกลียดชัง รังเกียจ การค้ายาเสพติด ไม่น้อยกว่าอดีตนายกฯทักษิณ รวมถึงนายเศรษฐาด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยทำอยู่ตลอดทุกจังหวัด

เมื่อถามว่า ประเมินหรือไม่หลังนายทักษิณเริ่มลงพื้นที่ นายอนุทินกล่าวว่า ตนคิดว่าคนไทยทุกคน ถ้าคิดจะทำคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมือง ทำแล้วประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนช่วยกันทำประเทศไทยจะดีขึ้น

ส่วนจะสะท้อนภาพรัฐบาลแน่นปึ้ก เพราะนายทักษิณ ระบุว่าตอนนี้พรรคร่วมรัฐบาลก็สามัคคีกันดีอยู่ นายอนุทินระบุว่า เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ภาพรวมเป้าหมายต้องเหมือนกัน ซึ่งการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเป้าหมายหลักคือประชาชนและประเทศชาติ ตรงนี้เหมือนกันแน่นอน

ส่วนการดำเนินการ ก็เป็นไปตามภารกิจของแต่ละกระทรวง ซึ่งร่วมกันขับเคลื่อนอย่างดี อย่างนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเดินทางไปต่างประเทศ และในสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องสำคัญเข้า ครม. โทรศัพท์มาบอกตน รบกวนฝากให้พิจารณา และผ่านความเห็นชอบ ในฐานะที่เป็นรักษาการแทนนายสุริยะ พอตนอ่านดูแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ ตนก็เซ็นให้ ไม่เคยคิดอะไรที่เป็นเรื่องการเมือง อันนี้ทำไปแล้วพรรคตนจะเสียคะแนน พรรคท่านจะได้คะแนน ตนไม่เคยคิด ย้ำว่าเป็นรัฐบาลก็คือรัฐบาล หากทำดีอานิสงส์ก็ปกแผ่ไปหมด

เมื่อถามว่า การที่นายทักษิณออกมาระบุเช่นนี้เป็นการสยบข่าวความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคภูมิใจไทย กรณีเขากระโดงหรือไม่ นายอนุทินยืนยันไม่เคยมีความขัดแย้ง มันไม่เคยมีความขัดแย้ง ตนถึงได้พูดว่าเปลี่ยนชื่อเป็นบ้างกันหรือยัง เพราะเรื่องความขัดแย้ง เป็นการคาดคะเนของคนที่ไม่อยู่ในวง มันมีตรงไหนที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้ง


หากบอกว่า มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย ในช่วง 2 สัปดาห์ อาทิตย์ที่แล้วตนยังได้มีโอกาสตามนายกรัฐมนตรีไปประชุมที่คุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ท่านให้เกียรติตนตลอดเวลา แล้วจะมีความขัดแย้งตรงไหน ทั้งนี้ตนไม่เข้าใจ ที่มีคนกล่าวว่า เพื่อไทยเอาคืนภูมิใจไทยเรื่องเขากระโดง ตนขอถามว่า พรรคเพื่อไทยจะเอาคืนภูมิใจไทยเรื่องอะไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

ซึ่งเรื่องของกระโดงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายปฏิบัติตามคำสั่งศาล ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของกรมที่ดิน และไม่ต้องกังวลเรื่องตัวของตนเองเลย แม้แต่ตารางมิลเดียว อย่าว่าแต่ตารางวาเลย ที่เขากระโดงไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีเหตุอะไรที่ตนต้องไปปกป้องผลประโยชน์ของใคร อยู่กระทรวงมหาดไทย กว่าจะมาได้แทบตาย เสร็จแล้วจะไปปกป้องผลประโยชน์ให้คนมาด่าสาดเสียเทเสีย ต่อให้พ้นตำแหน่งไปก็ยังโดนตราบาปไปตลอดชีวิต จดเอาไว้เลยว่า ไม่มีกับคนชื่ออนุทิน ตนไปไหนต้องทำให้คนจำ ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ได้ทำเอาไว้

ส่วนกรณีที่เลขาธิการกฤษฎีกา แนะนำให้กรมที่ดินและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พูดคุยกันเพื่อเจรจาหาข้อยุติในเรื่องนี้ นายอนุทินยืนยันว่า มีการพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลา และตั้งคณะกรรมการร่วมกัน ส่วนที่บอกว่าคณะกรรมการตามมาตรา 61 ไม่มี การรถไฟฯ เพราะต่างคนต่างเป็นคู่กรณี แต่เขามีกรรมการแยกต่างหากแล้วค่อยไปตั้งกรรมการร่วมกัน

ขออย่านำเรื่องนี้มาโยงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพราะเรื่องพวกนี้จบในกรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายและสั่งการกรมที่ดินให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบทุกอย่าง ไม่มีการเอื้อหรืออำนวยความสะดวกให้กับใคร ส่วนจะจบอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น ไม่ต้องมารายงานรัฐมนตรี

เพราะหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็ต้องมีคนร้องคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือหากการรถไฟฯ ยังไม่พอใจก็ไปฟ้องศาลต่อซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนอยู่แล้ว

นายอนุทินยังมองว่า หลายเรื่องที่มีการนำเสนอข่าวออกไปผิดหมดเลย พร้อมยกตัวอย่างการลาออกของอดีตอธิบดีกรมที่ดิน ที่มีการอ้างว่าถูกแรงกดดัน จึงลาออกเพราะไม่อยากเข้าคุก ซึ่งไม่เป็นเรื่องจริง เนื่องจากต้องการไปดูแลภรรยาที่ป่วย และเมื่อเขามีความจำเป็นก็ต้องเคารพการตัดสินใจ เพราะมองว่าการเสนอข่าวต้องมีความแม่นยำข้อมูลให้มากกว่านี้ และแหล่งข่าวไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะให้สัมภาษณ์อยู่แล้ว เจอผู้สื่อข่าวก็วิ่งเข้าหาทุกที​ ไม่เคยให้ต้องมาตาม เราต้องมาคุยกันแบบนี้ อย่าไปฟังตรงโน้นทีตรงนี้ทีและเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งคุณไม่ได้เดือดร้อน ผมไม่ได้เดือดร้อน แต่คนเดือดร้อนคือประชาชน

ส่วนกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี​ จะเป็นการไปหาข้อมูลเพื่อเตรียมล้มรัฐบาลหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า รัฐบาลหากดูสถิติจะล้มกันเองในรัฐบาล ไม่เคยล้มข้างนอก เพราะฉะนั้นคนในรัฐบาลต้องทำลายสถิติ ต้องรักต้องสามัคคี ทำงานเพื่อชาติและประชาชน มันก็จะไม่มีอะไรล้มได้

เมื่อถามย้ำว่า รัฐบาลจะอยู่ครบวาระใช่หรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า​ ซึ่งก็เป็นเป้าหมาย เราอยากจะทำงานให้สืบทอดนโยบายต่าง ๆ ให้สำเร็จ อยู่ได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่เป้าหมายคือต้องอยู่ทำงานให้เป็นรูปธรรมและสำเร็จ พร้อมขอว่าอย่ายุ​ เพราะมันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะมันเป็นเรื่องของการทำงานอย่างไรก็ไม่มีปัญหา หลักคือต้องทำไปตามกฎหมาย และเพื่อประชาชนกับประเทศชาติ ไม่ผิดระเบียบจารีต วัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งทุกคนก็ยึดถืออยู่แล้ว.
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1695067


มท.โต้ ร.ฟ.ท. จี้กรมที่ดิน ค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเขากระโดง ชี้ต้องยื่นศาลแพ่ง
การเมือง
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 13:52 น.


มท. โต้ ร.ฟ.ท. จี้อธิบดีกรมที่ดินค้านคำสั่งไม่เพิกถอนที่ทับซ้อนเขากระโดง ชี้ต้องยื่นศาลแพ่ง-ฟ้องผู้ครอบครอง 900 แปลง

จากกรณีนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งการให้การรถไฟฯ ยื่นหนังสืออุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อน กับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ และตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังอธิบดีกรมที่ดิน

มีรายงานข่าวจากกรมที่ดินว่า การยื่นหนังสือประเด็นดังกล่าวมาที่กรมที่ดิน ไม่มีประโยชน์ เพราะตามหนังสือที่กรมที่ดินเคยแจ้งไปยังการรถไฟฯ ว่าแนวทางที่ถูกต้องคือต้องไปอุทธรณ์ต่อศาลแพ่ง พร้อมหลักฐานใหม่ประกอบ หากจะดำเนินการเพิกถอนตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ขณะเดียวกัน การรถไฟฯต้องฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองที่ดินเป็นรายแปลงจำนวน 900 กว่าแปลง


“ประเด็นคือ แผนที่ของการรถไฟฯ เป็นแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินสร้างทางรถไฟหรือไม่ กรมที่ดินเห็นว่าเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นปี 2539 เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน ไม่ใช่แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา การรถไฟฯต้องพิสูจน์แผนที่ที่ทำไปอ้างในศาล เป็นแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ หรือเป็นแผนที่ที่มาจากที่ใด“ แหล่งข่าวกล่าว... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/politics/news-1695161
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2024 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

สส.ปชน. เปิดพิรุธพิพาทเขากระโดง มหากาพย์ใช้ช่องว่าง กม.ทำลายนิติธรรม
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 9:48 น.

'จุลพงศ์' สส.ปชน. ชี้ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เป็นมหากาพย์ความร่วมมือใช้ช่องว่างทางกฎหมาย ทำลายหลักนิติธรรม ตั้งข้อสังเกต ม.61 ประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการฯ สอบสวนโฉนด-เอกสารสิทธิ์ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย แฉบางคนมีสัมพันธ์นักการเมืองระดับชาติ


เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กล่าวถึงข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ที่กลับมาเป็นข่าวอื้อฉาวอีกครั้งหนึ่งเมื่อกรมที่ดินมีหนังสือฉบับลงวันที่ 21 ต.ค. 2567 ถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำผลประโยชน์ที่ตั้งขึ้นโดยคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินตามมาตรา 61 วรรคสองของประมวลกฎหมายที่ดิน โดยหนังสือกรมที่ดินฉบับดังกล่าวสรุปได้ว่าคณะกรรมการสอบสวนเห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือรับรองสิทธิในที่ดินจนกว่า รฟท. จะมีพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ รฟท.นั้น

นายจุลพงศ์ กล่าวว่า หนังสือกรมที่ดินฉบับนี้สร้างความฉงนแก่ผู้คนจำนวนมากเพราะก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่ 842-876/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2560 รวมทั้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาคสาม คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 หมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยสอดคล้องกันว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดงที่ยังเป็นปัญหาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. ปัญหาคือทำไมคณะกรรมการสอบสวนที่อธิบดีตั้งขึ้นชุดล่าสุดจึงมีมติดังกล่าวโดยยังไม่เชื่อว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ รฟท. ตามที่ศาลฎีกาพิพากษาไว้


นายจุลพงศ์ กล่าวอีกว่า เมื่อดูเนื้อความในวรรคแรกและวรรคสองของมาตรา 61 ของประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติว่า “เมื่อความปรากฎว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้”

“ก่อนการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งโดยมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสารที่ได้จดรายการทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือเอกสารที่จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้คัดค้าน ถ้าไม่คัดค้านภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้ถือว่าไม่มีการคัดค้าน” นายจุลพงศ์ กล่าว

นายจุลพงศ์ กล่าวด้วยว่า หากอ่านดี ๆ จะเห็นว่าก่อนการตั้งคณะกรรมการในวรรคสอง ต้องเกิดความปรากฏแก่กรมที่ดินแล้วว่าโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์มีการออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามวรรคสองไม่มีอำนาจสอบสวนว่าโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์มีการออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และยิ่งไปกันใหญ่เมื่อศาลฎีกาข้างต้นได้เคยมีคำพิพากษายืนยันถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดงว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. ไปแล้ว


โดยมูลเหตุของการที่กรมที่ดินต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ชุดล่าสุดนี้เกิดเมื่อ รฟท. ได้มีหนังสือถึงกรมที่ดินขอให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษามาตั้งแต่ปี 2560 แต่หลังจากกรมที่ดินได้รับหนังสือแล้วกลับยังไม่ยอมแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเสียที จนในที่สุด รฟท. ได้ฟ้องร้องกรมที่ดินต่อศาลปกครอง ต่อมาศาลปกครองมีคำพิพากษาในคดีแดงที่ 582/2566 สั่งให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการตามวรรคสองของมาตรา 61 ของประมวลกฎหมายที่ดินและเป็นชุดที่มีมติตามที่ปรากฏในหนังสือกรมที่ดินถึง รฟท. ฉบับลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567

กรมที่ดินได้ออกแถลงการณ์ล่าสุดว่ากรมที่ดินได้ปฎิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองในคดีแดงที่ 582/2566 ที่ให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการตามวรรคสองของมาตรา 61 ของประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว และกรมที่ดินยังได้อ้างว่าคำพิพากษาศาลปกครองดังกล่าวมิได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและเอกสารสิทธิที่ดินแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ในคำพิพากษาของศาลปกครองกลางฉบับเดียวกันได้อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่ 842-876/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2560 รวมทั้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาคสาม คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 หมายเลขแดงที่ 1112/2563 ที่พิพากษาเหมือนกันหมดว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท.

สส.ปชน. กล่าวว่า คนทั่วไปฟังเรื่องนี้แล้วจึงอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมมติของคณะกรรมการที่กรมที่ดินแต่งตั้งจึงขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกาและสงสัยว่าเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร มหากาพย์ที่ดินเขากระโดงเกิดจากการอาศัยความเชี่ยวชาญในการใช้เทคนิคและช่องว่างทางกฎหมายของกฎหมายที่ดิน กฎหมายปกครองและระเบียบกรมที่ดินที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก จึงเป็นมหากาพย์ของความร่วมมือกันทำลายหลักนิติธรรมของประเทศไทย ยิ่งเมื่อไปดูรายชื่อคณะกรรมการตามมาตรา 61 ที่อธิบดีกรมที่ดินแต่งตั้งชุดล่าสุดนี้ หลายคนตั้งข้อสงสัยเรื่องความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับนักการเมืองระดับชาติในจังหวัด เรื่องนี้จึงมีอะไรที่ซ่อนอยู่อีกเยอะ
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1153487
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2024 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

ล่มสอบเขากระโดง 'กมธ.ที่ดิน' ฟ้ององค์ประชุมไม่ครบ ขอมติสอบไม่ได้
วันพุธ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:33 น.

"ปธ.กมธ.ที่ดิน" ระบุขอมติสอบ ปมที่ดินเขากระโดงไม่ได้ หลัง องค์ประชุมไม่ครบ เชื่อยังมีเวลาขอมติตรวจสอบได้ พบ สส.พรรคร่วมรัฐบาล พาเหรดออกห้องประชุมก่อนขอมติ

ที่รัฐสภา นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะประธานกรรมาธิการ(กมธ.)ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาฯ พร้อมด้วย กมธ.ได้แก่ นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลงต่อสื่อมวลชนถึงการตรวจสอบประเด็นที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีมติไม่เพิกถอน หรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ด้วยข้ออ้าง ไม่มีหลักฐานเป็นที่ยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.

โดยนายพูนศักดิ์ กล่าวว่าในการประชุมวันนี้ (13 พ.ย. ) กมธ.ไม่สามารถขอมติว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมได้ เนื่องจากการประชุมไม่ครบองค์ แต่เชื่อได้ว่ายังมีเวลาที่จะขอมติเพื่อนำเรื่องให้กมธ.พิจารณาได้อีกครั้ง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมของกมธ.ที่ดินนั้น ได้ประชุม 2 ระบบ คือ ระบบออนไลน์ และ ระบบออนไซต์ ซึ่งกำหนดวาระประชุมไว้ 2 เรื่อง คือ การจัดเก็บภาษีที่ดินและการแก้ไขข้อพิพาทที่ดิน พื้นที่ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งหลังจากที่ประชุมตามวาระแล้วเสร็จ ได้ยกประเด็นเรื่องที่ดินเขากระโดงมาพิจารณาเพื่อขอมติให้ดำเนินการพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป แต่พบว่า กมธ. ที่เป็น สส.ของฝั่งรัฐบาล ทั้งที่อยู่ในห้องประชุมและประชุมออนไลน์ ต่างพากันออกจากห้องประชุม ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ส่งผลให้ไม่สามารถขอมติได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ กมธ.ที่ดินฯ นั้น มีจำนวนกมธ.ทั้งสิ้น 14 คน ประกอบด้วย 1.นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี 2.นายชัยมงคล ไชยรบ 3.นายนิคม บุญวิเศษ 4.นายรุ่งโรจน์ ทองศรี 5.นายสันต์ แซ่ตั้ง 6.นายอับดุลอายี สาแม็ง



7.นายสรชัด สุจิตต์ 8.นายกฤช ศิลปชัย 9.นายทรงยศ รามสูต 10.นายสิงหภณ ดีนาง 11.นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล 12.นายศักดิ์ชาย ตันเจริญ 13.นายปกรณ์ จีนาคำ และ 14.นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
'กรมที่ดิน' แจง 5 ข้อสงสัยที่ดิน 'เขากระโดง' ยืนยันไม่ขัดแย้งคำพิพากษาศาลปกครอง
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันเสาร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 20:59 น.


อดีตบิ๊ก มท.ซูฮก!"อธิบดีกรมที่ดิน"ใจถึงปม "เขากระโดง" | เนชั่นทันข่าวเช้า | NationTV22

NationTV
วันพุธ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

แหล่งข่าวซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีมหาดไทย และเคยกำกับดูแลกรมที่ดิน ให้ข้อมูลว่า ไม่น่าเชื่อว่ามติของคณะกรรมการสอบสวนฯ ที่อธิบดีกรมที่ิดินตั้งขึ้น จะออกมาสวนทางกับคำพิพากษาของศาลได้ขนาดนั้น ถือว่ากรมที่ดินกล้ามากที่ลงมติตามที่เป็นข่าว เนื่องจากมีความเสี่ยงถูกร้องเรียนและดำเนินคดีตามมาสูงมาก
https://www.youtube.com/watch?v=YkcSXTx3_4A

"เขากระโดง"ติดคอ คำตัดสินศาลชัด แต่ดึง?
มุมการเมือง | 13 พ.ย. 67
Thai PBS
วันพุธ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
เรื่องเขากระโดง มีปมที่ประหลาดและถูกตั้งคำถามอยู่มาก นั่นคือคำพิพากษาของศาลที่ปรากฎออกมากลับไม่สามารถเป็นข้อยุติได้ กลับกลายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบที่ตั้งขึ้นมาภายหลัง เดินหน้าตรวจสอบแล้วมีมติไปคนละทางกับคำพิพากษา ถึงผู้สังเกตการณ์บางคนจะมองว่า สามารถหาทางออกสวย ๆ ได้ เหมือนช่วงทวงคืนเขาใหญ่ของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่การยื้อกันแบบนี้ก็นับว่าแปลกอยู่ดี
https://www.youtube.com/watch?v=yBq9ac_jJvE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2024 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

ตัดจบปัญหาที่ดินเขากระโดง เมื่ออำนาจอยู่ในมือของภูมิใจไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.

หนึ่งความคิด
สุรวิชช์ วีรวรรณ

ปักหมุดไว้แต่แรกนะครับว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องการที่ดินเขากระโดงซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟคืน เป็นกรณีพิพาทอื้อฉาวที่ยืดเยื้อกันมานานเป็นที่รับรู้ของสาธารณชนโดยทั่วไป ผู้ครอบครองนอกจากชาวบ้านจำนวนหนึ่งแล้วยังมีนักการเมืองตระกูลชิดชอบ เครือญาติในตระกูล “ชิดชอบ” ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอลและสนามกีฬาแข่งรถของตระกูลชิดชอบ

ในรัฐบาลที่แล้วพรรคภูมิใจไทยซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่า มีนายเนวิน ชิดชอบ เป็นผู้มีบารมีในพรรคนั้นดูแลกระทรวงคมนาคมก็คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนในสมัยนี้นายอนุทิน ชาญวีรกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแลกรมที่ดิน

กรณีที่ดินเขากระโดงที่ตระกูลชิดชอบครอบครองพร้อมกับชาวบ้านอื่นจำนวนประมาณ 850 แปลง จำนวนทั้งสิ้น 5,083 ไร่ โดยเป็นของเครือญาติในตระกูล “ชิดชอบ” จำนวน 20 แปลง เนื้อที่รวม 288 ไร่ 2 งาน 4.7 ตารางวาที่การรถไฟยืนยันว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ842-876/260 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 และคดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้มีคำพิพากษาว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดงกว่า 5,000 ไร่นั้น เป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และเป็นที่ดินรถไฟอย่างแน่นอน

และต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน ศาลได้มีคำพิพากษาโดยยึดเอาคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือได้ที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ฟ้องคดี ศาลระบุว่า ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีคือการรถไฟแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ในคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ศาลปกครองชี้ว่าที่ดินเป็นของการรถไฟนั้นมีผู้ฟ้องการรถไฟฯ แล้วแพ้คดี 35 รายฉบับหนึ่งและ 2 รายฉบับหนึ่งรวม 37 ราย ศาลปกครองชี้ว่า แม้คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะไม่ได้วินิจฉัยเพิกถอนที่ดินแปลงอื่นๆนอกเหนือจากที่เป็นข้อพิพาทในคดีก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงสามารถยันกับบุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ์ที่ดีกว่า

พูดง่ายๆ ก็คือ ศาลปกครองบอกว่าที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหาพิพาทนั้นเป็นของการรถไฟฯ ไม่ใช่เฉพาะคดีที่ศาลฎีกาชี้ชัดแล้วจำนวน 37 ราย แต่รวมถึงที่ดินแปลงอื่นที่เป็นข้อพิพาทด้วยว่าเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ศาลปกครองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่สองคือ อธิบดีกรมที่ดินใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินตรวจสอบที่ดินในบริเวณดังกล่าว และดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทับซ้อนในที่ดินบริเวณที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด

ถ้าตีความคำวินิจฉัยของศาลปกครองก็คือ ให้อธิบดีกรมที่ดินตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตามมาตรา 61 เพื่อให้เพิกถอนที่ดินที่มีข้อพิพาทกับการรถไฟทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลฎีกานั่นเอง โดยศาลชี้ตอนหนึ่งด้วยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คือกรมที่ดินมีภารหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลและรักษาที่ดินของรัฐทุกประเทศ นั่นหมายรวมถึงที่ดินของการรถไฟซึ่งถือเป็นที่ดินของรัฐนั่นเอง

ต่อมามีการตั้งคณะกรรมการของกรมที่ดินตามมาตรา 61 ตามคำสั่งของศาลปกครอง จนมีข่าวเมื่อพฤศจิกายน ปี 2566 ว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เซ็นอนุมัติใบลาออกจากราชการของ นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งการลาออกในครั้งนี้ นายสุทธิพงษ์ ได้ให้เหตุผลว่า เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและภรรยา โดยนายชยาวุธ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งอธิบดี และแจ้งความประสงค์จะลาออกก่อนเกษียณเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อไปดูแลคนในครอบครัว

โดยการตัดสินใจลาออกในครั้งนั้นของอธิบดีกรมที่ดิน ได้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเชื่อมโยงกับปมข้อพิพาทที่ดินเขากระโดงที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองหรือไม่ ซึ่งนายอนุทิน รมว.มหาดไทยต้นสังกัด ได้ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และยืนยันว่าการขอลาออกในครั้งนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดินเขากระโดง ไม่มีการกดดันทางการเมือง หรือ ปัญหาอื่นๆแน่นอน ขออย่าไปโยง

แต่แล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ทายาท นายพร เพ็ญพาส อดีตผู้ว่าฯบุรีรัมย์ ที่ถูกโยกขึ้นมารับเป็นอธิบดีกรมที่ดินเมื่อ 20 ก.พ.2567 แทนนายชยาวุธได้ลงนามในหนังสือถึง ผู้ว่าการ การรถไฟฯ แจ้ง “ยุติเรื่องที่ดินเขากระโดง 5,000 ไร่”

เนื้อความในหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2(2)/22162 ลงวันที่ 21 ต.ค.2567 เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่แจ้งไปยัง รฟท.ระบุว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป

สรุปง่ายๆ ว่า กรณีพิพาทเขากระโดงนั้นในมุมของคณะกรรมการของกรมที่ดินที่ตั้งขึ้นตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งของศาลปกครองนั้นได้ข้อยุติแล้วว่า กรมที่ดินจะไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ของผู้ครอบครองที่เหลือ แม้จะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาในที่ดินบางแปลงให้การรถไฟฯ ชนะคดีแล้ว ถ้าจะเอาที่ดินแปลงอื่นคืนการรถไฟฯ ต้องไปพิสูจน์สิทธิ์ในศาลเอาเอง

พูดง่ายๆว่า กรมที่ดินโดยอธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นที่มีนายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดินเป็นประธาน กล้าที่จะลุยไฟโดยไม่สนใจต่อคำพิพากษาศาลฎีกาและคำวินิจฉัยของศาลปกครอง โดยยืนยันว่า ที่ดินที่พิพาทดังกล่าวไม่ใช่ที่ดินที่การรถไฟฯ จะอ้างเป็นเจ้าของหรือไม่ใช่ที่รถไฟ แต่ถ้าการรถไฟฯ ยังยืนยันก็ไปฟ้องเอาเอง การทำหน้าที่ของกรมที่ดินตามคำวินิจฉัยของซองศาลปกครองได้ยุติลงแล้ว นอกจากนั้นกรณีถือครองที่ดินของตระกูลชิดชอบนั้นเคยเข้าสู่การพิจารณาของป.ป.ช.มาแล้วตามที่สำนักข่าวอิศราได้นำเสนอไว้ เหตุเริ่มต้นจากว่า เรียงศักดิ์ แขงขัน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท. ได้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. กล่าวหา บัญชา คงนคร รองผู้ว่าการ รฟท. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท.ในขณะนั้น ว่า เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยละเว้นไม่ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดิน รฟท. กรณี ชัย ชิดชอบ ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ กรุณา ชิดชอบ ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ที่ออกทับที่ดินของรฟท. โดยวันเวลาที่เกิด คือ เดือนมิ.ย.2549-มิ.ย.2550

ต่อมาวันที่ 15 ก.ค.2551 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องที่กล่าวหา และมีมติรับเรื่องไว้พิจารณา รวมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งที่ 301/2551 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน มีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ใช้เวลาไต่สวนข้อเท็จจริงนานกว่า 3 ปี และในระหว่างที่ไต่สวนฯนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ไต่สวนฯข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในบางเรื่อง

จนกระทั่งประมาณเดือนก.ย.2554 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มี ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เป็นประธาน และกรรมการป.ป.ช. 8 คน ได้แก่ กล้าณรงค์ จันทิก ,ใจเด็ด พรไชยา ,ประสาท พงษ์ศิวาภัย , ศ.ภักดี โพธิศิริ ,ศ.เมธี ครองแก้ว , วิชา มหาคุณ ,วิชัย วิวิตเสวี และปรีชา เลิศกมลมาศ มีมติว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 เป็นการออกโฉนดในที่ดินของรฟท. ซึ่งเป็น ‘ที่สงวนหวงห้าม’ มิให้ออกโฉนด จึงเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้แจ้งกรมที่ดิน ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 และตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 99

แต่ด้วยสายสัมพันธ์ทางการเมืองและการอยู่ในอำนาจทางการเมืองมายาวนานของตระกูลชิดชอบทุกอย่างก็ยังดำเนินไปจนกระทั่งล่าสุดกรมที่ดินยุคที่พรรคภูมิใจครอบครองอำนาจในกระทรวงมหาดไทยทำหนังสือแจ้งว่า เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้

แน่นอนว่า การรถไฟฯ คงไม่อาจที่จะยอมรับหนังสือชี้แจงของกรมที่ดินได้ เพราะไม่นั้นก็จะมีความผิดเสียเอง แต่จะรับมือกับอำนาจทางการเมืองอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องจับตากันต่อไป

ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan
https://mgronline.com/daily/detail/9670000109911
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2024 11:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ตัดจบปัญหาที่ดินเขากระโดง เมื่ออำนาจอยู่ในมือของภูมิใจไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.

รฟท.ฮึดรักษา ขุมทรัพย์เขากระโดง
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 16, 2024 06:16
5,083 ไร่ แหล่งเศรษฐกิจใหม่ ราคาที่พุ่ง กรมที่ดินไม่ถอนโฉนด รฟท.อุทธรณ์-ฟ้องศาล

ราคาที่ดิน ขยับ

รฟท.ฮึดสู้ที่ดินเขากระโดง อัดกรมที่ดินใช้ดุลพินิจมิชอบ หลังออกคำสั่งไม่เพิกถอน ขออุทธรณ์คำสั่ง เผยที่ดินเขากระโดงและบริเวณโดยรอบถูกพัฒนาเป็นย่านเศรษฐกิจใหม่ของเมืองบุรีรัมย์ มูลค่าที่ดินราคาขึ้นเป็นเงาตามตัวประเมินทะลุหมื่นล้านหลังถูกสนใจพัฒนาเป็นเมืองใหม่ทั้งธุรกิจการค้า ที่อยู่อาศัย กีฬา

เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง เมื่อกรมที่ดินสรุปผลการรังวัดเอกสารสิทธิ์ ที่ดินรถไฟเขากระโดงทั้ง 5,083 ไร่ จำนวน 995 ฉบับ ไม่ออกคำสั่งไม่เพิกถอน เอกสารสิทธิ์ที่ประชาชนถือเอกสารแนบท้ายของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) (ฐานะเป็นโจทก์ยื่นฟ้อ ) มีเอกสารแจ้งประกอบการชี้แนวเขตไม่ชัดเจน เนื่องจากทั้งกรมที่ดินและการรถไฟฯใช้ หลักฐานคนละรูปแบบกัน โดยกรมที่ดินใช้แผนที่ระวางแนวเขตขณะการรถไฟใช้แผนที่กรอบอาณาบริเวณแนวเขตที่ดิน

กังขาที่ดินกลางแปลงถูกเพิกถอน

ทั้งนี้แม้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม2566 ก็ตามว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ พร้อมสั่งการให้อธิบดีกรมที่ดินแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยศาลปกครองกลางได้ยืนตามคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อปี 2560 และปี 2561 รวมถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในปี 2563 สั่งกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ 3 บริเวณ ตั้งอยู่ใจกลางที่ดินเขากระโดง ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟ และในเวลาต่อมากรมที่ดินได้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์คืนการรถไฟฯ เป็นที่เรียบร้อย และจากข้อสรุปผลการรังวัด การชี้แนวเขตและ สั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ของกรมที่ดินเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน2567 ผ่านมา ที่เอกสารสิทธิ์ทับที่ดิน เขากระโดงรถไฟทั้ง 5,083 ไร่ จำนวน 995ฉบับ ดังกล่าวนั้น

ส่งผลให้ รฟท. ยืนหนังสือด่วนอุทธรณ์คำสั่งกรมที่ดิน อย่างทันควันในวันรุ่งขึ้น หรือ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เพื่อนำไปสู่การต่อสู้ในศาลปกครอง และสร้างความเคลือบแคลงใจว่า เหตุใดที่ดินทั้ง 3 กลุ่มก่อนหน้านี้ ศาลจึงพิพากษาว่าออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบทำให้เชื่อได้ว่า ที่ดินโดยรอบดังกล่าวตามกรอบแนวเขตที่การรถไฟฯยื่นรังวัดตรวจสอบ เป็นที่ดินรถไฟ ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามมองว่า ทั้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมต้องหารือร่วมกันและนำหลักฐานที่ตรงกันมาพิสูจน์ เพื่อความชัดเจน เพราะการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ นับเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจทำให้ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และมีมูลค่าที่ลดลง กระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมถึง เกิดการฟ้องร้องตามมาแบบไม่รู้จบ

ขุมทรัพย์เขากระโดงหมื่นล้าน

อย่างไรก็ตาม เขากระโดง ในปัจจุบันกลายเป็นขุมทรัพย์ทำเลไข่แดงย่านธุรกิจการค้าของบุรีรัมย์ หรือย่านเศรษฐีใหม่ ที่มี การลงทุนในหลายกิจการ ทั้งโรงแรม ย่านแหล่งงาน การท่องเที่ยว สนามแข่งรถ สนามฟุตบอลขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าแหล่งงาน ส่งผลทำให้มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นตามแนวเขตทาง จุดประกายสร้างเป็นเมืองใหม่ที่น่าจับตา อีกทั้ง ผู้ประกอบการนักธุรกิจ นักลงทุน หมายตา อยากเป็นเจ้าของ ขณะราคาที่ดินที่มีนักการเมืองท่านหนึ่งนำไปอ้างอิงในการอภิปรายในสภา ว่าราคาซื้อขายตลาด เมื่อปี 2565 อยู่ที่ 1.5 หมื่นบาทต่อตารางวา และเมื่อรวมมูลค่าที่ดินทั้งผืน อยู่ที่กว่า 10,000 ล้านบาทถือว่าค่อนข้างสูง ในทางกลับกัน ที่ดินดังกล่าว และมีแนวโน้มปรับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง

"ฐานเศรษฐกิจ" ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่บริเวณโดยรอบ เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งชาวบ้านสะท้อนเป็นสองกลุ่มคือเป็นที่ดินของการรถไฟ เนื่องจากมีร่องรอยของเขตทางรถไฟ ลากเข้าเหมืองหิน เพื่อขนย้ายหินออกไปสู่โรงงาน ขณะอีกกลุ่มยืนยันว่า หากเป็นที่ดินของการรถไฟจริง เหตุใดจึงไม่มีการก่อสร้างและให้บริการเชื่อมไปยังพื้นที่อื่นๆเหมือนกับหลายเส้นทางเดินรถของการรถไฟ แต่กลับใช้เป็นเส้นทางสั้นๆ เพื่อขนหินภายในเหมืองเท่านั้น

ปลุกย่านเศรษฐกิจใหม่

แหล่งข่าวจาก แวดวงอสังหา ริมทรัพย์ในจังหวัดบุรีรัมย์ ระบุว่า พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณเขากระโดง เป็นชุมชนหนาแน่นปานกลาง และมีความเจริญแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลดีต่อพื้นที่โดยรอบ เนื่องจาก มีศูนย์ราชการเกิดขึ้น และมีโรงพยาบาลอยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียง เขากระโดง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ ที่ถอนสภาพพื้นที่รัฐออกทั้งหมดแล้วและให้ประชาชนจับจองอยู่อาศัย เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและโรงพยาบาลดังกล่าว ที่จะสร้างการเจริญเติบโตให้กับพื้นที่

อย่างไรก็ตาม พื้นที่เขากระโดงและพื้นที่โดยรอบ กลายเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ ที่รองรับคนได้มากถึง 1 ล้านคน ซึ่งเน้นชุมชนที่จะเกิดขึ้น และขยายพื้นที่ ไปยังอุตสาหกรรมเหมืองหินเนื่องจาก ปัจจุบันไม่ทำกิจการก็จะขยายการพัฒนาออกไป เพราะบุรีรัมย์ปัจจุบันไม่ระเบิดภูเขา มลพิษต่างๆจะลดน้อยลง

ซึ่งสามารถขยับเป็นชุมเมืองในอนาคต บริบทพื้นที่อนุรักษ์ ไม่ใช่จะทำได้โดยไม่มีการควบคุม สิ่งที่จะเดินหน้าต่อคนบุรีรัมย์จะดูแลพื้นที่เหมาะสม

ทั้งนี้ เขากระโดงถูกกำหนดด้วยผังเมืองส่วนใหญ่ความเจริญอยู่แนวถนน มีชาวบ้านอยู่อาศัยมานานและอยู่ในโซนที่มีโฉนดมีมาตั้งแต่เก่าก่อน

ทั้งต้องเข้าใจว่า สนามฟุตบอลช้างอารีน่า เกิดจากชาวบ้านขายที่นาเพื่อก่อสร้าง และปัจจุบัน มีความเจริญอย่างมาก ให้กับชุมชนรอบข้าง

"เป็นเรื่องที่คุยกันยาวๆ เพราะทางรถไฟไม่ได้จอดรถรับส่งผู้โดยสาร แต่เป็นทางรถไฟขนหินมีบ่อหิน ที่ผ่านมาเป็นป่ารกทึบเดินทางหรือใช้รถเข้าไปไม่ได้ จึงสร้างทางรถไฟ เพื่อเข้าไปแค่ขนหิน"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ดินเขากระโดงมีโฉนด และหากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอน จะเพิกถอนอย่างไร เพราะหลักฐาน ที่ได้มาซึ่งเอกสารสิทธิ์ ตกมาหลายทอด หลายช่วงอายุคน และคนที่ถือปัจจุบันยอมรับว่าหากถูกเพิกถอกโฉนด เขาเดือดร้อน เพราะไม่ใช่ที่ป่า แต่ถือครองทำไร่ทำนา มาจากรุ่นปู่ย่า ขายทอดต่อๆ กันมา อย่างไรก็ตามมองว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ที่ดินบุรีรัมย์ยันไม่กล้าเปลี่ยนมือ

"ฐานเศรษฐกิจ" สอบถามไปยัง สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ระบุว่า การซื้อขายเปลี่ยนมือ ที่ผ่านมา ช่วงที่อยู่ระหว่างฟ้องร้องเป็นคดีความระหว่างกรมที่ดินและการรถไฟ พบว่า การทำนิติกรรม ในพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างเงียบเหงาไม่มีการซื้อขายเพราะต่างไม่มั่นใจว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังถือว่าเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถซื้อขายได้แต่ต้อง สลักหลังโฉนดว่าเป็นที่ดินอยู่ระหว่างมีคดีฟ้องร้อง และแม้ว่ากรมที่ดินจะมีคำสั่งล่าสุดว่าไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ แต่เชื่อว่ามีหลายรายยังไม่กล้าซื้อขาย ในทางกลับกันชาวบ้านเองก็ไม่ต้องการขายที่ดิน

อย่างไรก็ตามที่ดินเขากระโดงมีความเจริญค่อนข้างมากเนื่องจากติดกับเขตทางสายหลัก บุรีรัมย์-ประโคนชัย และอยู่จากตุวเมืองบุรีรัมย์เพียง 2-3 กิโลเมตรเท่านั้น ที่นี่มีจุดขายที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจคือ สนามแข่งรถสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้าจังหวัดบุรีรัมย์จำนวนมาก

แนวโน้มราคาที่ดินขยับ

ขณะแนวโน้มราคาที่ดินขยับสูงต่อเนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากที่ดินเขากระโดงส่วนใหญ่มีหลักฐานโฉนด และหากกรมที่ดินมีคำสั่งไม่เพิกถอนเชื่อว่าราคาที่ดินจะขยับสูงขึ้น แต่ในช่วงนี้เชื่อว่าทุกคนรอดูท่าทีให้แน่ชัดก่อนเนื่องจากการรถไฟฯทำเรื่องอุทธรณ์คำสั่งกรมที่ดินและเตรียมเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อศาลต่อไปโดยราคาประเมินที่ดินในเขากระโดงอยู่หลักพันบาทต่อตารางวา ขณะราคาซื้อขายอยู่ที่กว่า1หมื่นบาท ต่อตารางวา

กรมที่ดินแจงคำสั่งไม่เพิกถอน

ที่ผ่านมา กรมที่ดิน ได้มีคำสั่งที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยคณะกรรมการสอบสวนฯ ตาม ม.61 ได้กำหนดกรอบแนวทางในการรังวัดเพื่อตรวจสอบหาแนวทางเขตที่ดินของทางรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 โดยที่ประชุมได้ข้อยุติว่าการดำเนินการรังวัดทำแผนที่ดังกล่าว

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ถึงอธิบดีกรมที่ดิน กรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเห็นว่า คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างถึง อธิบดีกรมที่ดินได้แจ้งความเห็นของอธิบดีที่เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรฟท. บริเวณทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้ หากรฟท.เห็นว่า มีสิทธิในที่ดินกว่า ก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมต่อไปนั้น

รฟท.จึงขออุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติของคณะกรรมการสอบสวน ตามประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังนี้

ข้อ 1. เหตุผลและวัตถุประสงค์ที่อธิบดีกรมที่ดินต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 ทั้งสองฉบับ ระบุว่า ด้วยความปรากฏว่า หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นโฉนดที่ดิน 44 ฉบับ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งออกสืบเนื่องจากหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 18 ฉบับ ซึ่งออกโดยการเดินสำรวจ เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกไป โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกในเขตที่ดินของการรฟท.

ต่อมาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 68 ฉบับดังกล่าว บางฉบับได้มีการรังวัดแบ่งแยกออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 222 ฉบับ เป็นผลให้หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงแบ่งแยกดังกล่าวคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย และด้วยความปรากฏว่า โฉนดที่ดินจำนวน 61 ฉบับ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 28 ฉบับ ซึ่งออกสืบเนื่องจากหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากออกในเขตที่ดินของรฟท. และต่อมาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 83 ฉบับ บางฉบับได้มีการรังวัดแบ่งแยกออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิในราชอาณาจักรไทยเป็นการทั่วไป และกฎหมายดังกล่าว ยังเป็นพยานหลักฐานยืนยันการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของที่ดินรฟท.ตลอดจนตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งมีความชัดเจนเป็นที่ยุติแล้ว และมีความแน่นอนในนิติ ฐานะยิ่งกว่า เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งบัญญัติขึ้นภายหลัง

รฟท.จึงขอให้อธิบดีกรมที่ดินและผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจวินิจฉัย อุทธรณ์ ได้โปรดมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินตามหนังสือกรมที่ดินที่ มท 0516.2(2)/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 เรื่อง การเพิกถอนหนังสือการแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของ รฟท.และเพิกถอนมติของคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1199-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ได้มีความเห็นและมติไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ ออกทับซ้อนกับที่ดินของรฟท.และมีคำสั่งให้กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติให้ เป็นไปตามคำพิพากษาของ ศาลฎีกาที่ 842-876/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 หมายเลขแดงที่ 1112/2563 และ คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 17 - 20 พ.ย. 2567


SRT Battles to Reclaim Khao Kradong Land
Source: Thansettakij
Saturday, November 16, 2024


The State Railway of Thailand (SRT) is contesting the rights to 5,083 rai of land at Khao Kradong, an emerging economic hub in Buriram province with skyrocketing land values. The Department of Lands (DoL) recently decided not to revoke land titles in the area, prompting SRT to appeal and take the matter to court.

### Rising Land Values and Economic Significance
The Khao Kradong area has transformed into a new economic zone, attracting commercial, residential, and sports developments. Land values have soared, with some appraised at over THB 10 billion. The area has drawn significant interest from businesses and investors aiming to capitalize on its potential.

### Legal Dispute
SRT claims ownership of the land, which has long been utilized for railway operations, including a route to transport stone from a nearby quarry. The dispute stems from conflicting boundary evidence: SRT uses railway maps, while the DoL relies on cadastral maps. Despite previous court rulings affirming SRT's ownership, the DoL decided not to revoke the titles, citing unclear boundary evidence.

### Appeal and Concerns
Following the DoL's decision on November 11, 2024, SRT filed an immediate appeal on November 12. It plans to pursue legal action to clarify ownership, citing significant economic implications and potential disruptions to the local community.

### Economic and Social Impact
Khao Kradong is now a bustling area with key infrastructure developments, including government offices, hospitals, and residential projects. The transformation from a quarry site to an urban hub highlights its economic potential. However, unresolved land disputes have dampened market confidence, deterring transactions despite legal ownership claims.

### Community Perspectives
Local residents are divided. Some believe the land belongs to SRT due to its historical use, while others argue that long-standing occupation and agricultural use validate private ownership. The situation has raised concerns about economic loss and community disruption if titles are revoked.

### Future Outlook
SRT's appeal aims to overturn the DoL's decision and assert its rights. Both the Ministry of Interior and the Ministry of Transport are urged to collaborate and present unified evidence to resolve the dispute. As Khao Kradong continues to develop, resolving ownership issues will be critical to sustaining its growth as a new urban center.

This case underscores the challenges of balancing development, legal clarity, and community welfare.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2024 11:55 am    Post subject: Reply with quote

เปิดเอกสารกรมทางหลวง ขอ รฟท. ใช้ที่เขากระโดง สร้างถนนบุรีรัมย์ – ประโคนชัย
โพสต์ทูเดย์ 18 พฤศจิกายน 2567

เปิดเอกสาร กรมทางหลวงขออนุญาตใช้พื้นที่เขากระโดงจากการรถไฟ ทำถนนไป อ.ประโคนชัย พบถนนเส้นนี้ เป็นที่ตั้งของบ้านพักและธุรกิจของตระกูลชิดชอบ จนนำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้ว

เอกสารเกี่ยวกับที่ดินรถไฟเขากระโดงฉบับนี้ อยู่ที่กองกรรมสิทธิ์ ของการรถไฟฯ เป็นกรณีกรมที่ดิน ขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย เมื่อปี 2532 โดยนายเสถียร วงศ์วิเชียร อธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้น ได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 19 มกราคม 2532 เพื่อขอทำสัญญษอาศัย ยื่นต่อผู้ว่าการการรถไฟ หลังตรวจสอบพบว่า การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์ – ประโคนชัย ระหว่าง กม.1+740 ถึง กม.5+650 ตัดผ่านที่ของการรถไฟเป็นระยะทาง 3910 เมตร เขตทางกว้าง 20 เมตร จึงขอให้การรถไฟแต่งตั้งตัวแทนในการทำสัญญาอาศัย

ต่อมาสำนักงานผลประโยชน์ การรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาอนุญาต เนื่องจากเห็นว่า การตัดถนนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ เนื่องจากนำความเจริญเข้ามา ทั้ง 2 ฝ่าย จึงได้ทำหนังสือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน เพื่อสร้างทางหลวงหมายเลข 219 บุรีรัมย์ - ประโคนชัย ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ลงนามโดยวิศวกรบำรุงทาง เขตบำรุงทางลำชี ในฐานะตัวแทนของการรถไฟ และ นายช่างแขวงการทางบุรีรัมย์ ในฐานะของตัวแทนกรมทางหลวง โดยหนังสือฉบับนี้เป็นการให้สิทธิเหนือพื้นดินโดยไม่กำหนดระยะเวลา และไม่มีการคิดค่าเช่า แต่มีการชำระค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาจำนวน 1,000 บาทตามเอกสาร

(เอกสารในอัลบั้มภาพ)

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบพื้นที่ตามแผนที่แนบท้ายสัญญา ที่กรมทางหลวงขออนุญาตการรถไฟใช้พื้นที่แล้ว พบว่า พื้นที่ตรงกับข้อมูลที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง หัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 โดยระบุว่าการถือครองโฉนดที่ดินของเครือญาติของนายศักดิ์สยาม และบริษัทที่มีเครือญาติของนายศักดิ์สยามถือหุ้นหรือเป็นกรรมการบริษัทฯ ตั้งอยู่ในเขตที่ดินของการรถไฟฯ เขากระโดง รวม 12 แปลง เนื้อที่รวม 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา ประกอบด้วย

เปิดเอกสารกรมทางหลวง ขอ รฟท. ใช้ที่เขากระโดง สร้างถนนบุรีรัมย์ – ประโคนชัย

1.โฉนดเลขที่ 3466 เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 55.8 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด และที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบ้านพักของนายศักดิ์สยาม

2.โฉนดเลขที่ 8564 เนื้อที่ 37 โร่ 1 งาน 65 ตารางวา ถือครองโดย นางกรุณา ชิดชอบ

3.โฉนดเลขที่ 3742 เนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด

4.โฉนดเลขที่ 3743 เนื้อที่ 13 โร่ 3 งาน 69 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด

5.โฉนดเลขที่ 3476 เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด

6.โฉนดเลขที่ 2847 เนื้อที่ 10 โร่ 18 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด

7.โฉนดเลขที่ 3477 เนื้อที่ 37 โร่ 1 งาน 22.4 ตารางวา ถือครองโดย นายไชยชนก ชิดชอบ และให้ บริษัท เค. 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย.2554-31 มี.ค.2584) (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสนามฟุตบอลช้างอารีน่า)

8.โฉนดเลขที่ 24091 เนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 8.2 ตารางวา ถือครองโดย นายไชยชนก ชิดชอบ และให้ บริษัท เค. 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย. 2554 - 31 มี.ค. 2584) ให้ บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สปอร์ตโฮเทล จำกัด เช่าช่วงต่อ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงแรม)

9.โฉนดเลขที่ 9160 เนื้อที่ 6 โร่ 1 งาน 96 ตารางวา ถือครองโดย นายไชยชนก ชิดชอบ และให้ บริษัท เค 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย.2554-31 มี.ค. 2584) (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตลาดนัด)

10.โฉนดเลขที่ 3285 เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 30.6 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท เค. มอเตอร์สปอร์ต จำกัด

11.โฉนดเลขที่ 30222 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 24.3 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท เค. มอเตอร์สปอร์ต จำกัด

12.โฉนดเลขที่ 115572 เนื้อที่ 8 โร่ 3 งาน 21 ตารางวา ถือครองโดย นายไชยชนก ชิดชอบ และให้ บริษัท เค 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย. 2554-31 มี.ค. 2584) (ทางเข้าสนามแข่งรถ)

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ระบุหลังการอภิปรายว่า ตนสามารถชี้แจงได้หมด ถ้าเป็นเรื่องเดิมๆ อะไรที่เข้าสู่กระบวนการของศาลไปแล้วต้องเคารพ

ในขณะที่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นเดียวกันก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 นายศักดิ์สยามเคยชี้แจงว่า

“ในฐานะที่ผมเอง พาร์ทหนึ่งก็เป็นประชาชน เป็นบุคคลธรรมดา ผมไม่ได้ถือ มีชื่อในกรรมสิทธิ์ และเป็นผมอาศัยในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ถูกต้องตามกฎหมายและสุจริต ในส่วนของประชาชนที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ 2502...

ส่วนในฐานะ รมว.คมนาคม ผมยืนยันว่าไม่เคยแทรกแซงการดำเนินการใดๆของการรถไฟฯ ด้านการมอบนโยบายที่ดินให้การรถไฟฯให้ยึดระเบียบกฎหมาย และธรรมาธิบาลมาโดยตลอด”


Department of Highways requested land from the State Railway of Thailand to build Buriram-Prakhon Chai road: Post Today, November 18, 2027

Documents reveal the Department of Highways sought permission to use land on Khao Kradong from the State Railway of Thailand to construct a road to Amphoe Prakhon Chai. This road is where the residence and businesses of the Chidchob family are located, a topic that has led to a no-confidence debate in the past.

This document concerning the railway land at Khao Kradong, currently held by the State Railway of Thailand's Property Division, details the Department of Highways' request to utilize the area for the construction of the Buriram-Prakhon Chai road in 1989. Mr. Sthian Wongwiset, then Director-General of the Department of Highways, submitted a letter on January 19, 1989, to the Governor of the State Railway of Thailand, requesting a lease agreement. This followed an inspection that revealed the construction of Highway No. 219, Buriram-Prakhon Chai route, between km. 1+740 and km. 5+650, would cut through railway land for a distance of 3,910 meters with a 20-meter wide road area.

Subsequently, the State Railway of Thailand's Revenue Department granted permission, believing the road construction would be beneficial and bring development to both parties. A land use agreement for the construction of Highway No. 219, Buriram-Prakhon Chai, was signed on October 11, 1989, by the Maintenance Engineer of the Lam Chi Maintenance Area representing the State Railway of Thailand and the Highway District Engineer of Buriram representing the Department of Highways. This agreement granted land use rights indefinitely without rental fees, but with a 1,000 baht contract fee, according to the documents.

(See documents in the album)

Examination of the area in the map attached to the agreement, where the Department of Highways requested land use from the State Railway of Thailand, reveals that the area corresponds with the information presented by Pol. Col. Tawee Sodsong, leader of the Prachachat Party, during a no-confidence debate against Mr. Saksayam Chidchob, while he was Minister of Transport, on July 19, 2025. Pol. Col. Tawee stated that land title deeds held by relatives of Mr. Saksayam, and companies in which his relatives hold shares or are board members, are located within the State Railway of Thailand's land at Khao Kradong, totaling 12 plots with a combined area of 179 rai, 1 ngan, 43.3 square wah.

Following the debate, Mr. Saksayam stated that he could clarify everything and that matters already in the court process should be respected.

In a previous no-confidence debate on the same issue on September 2, 2024, Mr. Saksayam clarified:

"As I am also a citizen, an ordinary person, I do not hold or have my name on the ownership title. I reside on land with legal title deeds issued by government agencies lawfully and honestly. Regarding the people who have entered the said area since 1959...

As the Minister of Transport, I confirm that I have never interfered with any operations of the State Railway of Thailand. Regarding land policy, I have instructed the State Railway of Thailand to adhere to regulations, laws, and good governance at all times."
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2024 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

SRTA นำร่องทำสัญญาเช่าที่ดินรถไฟ”กาญจนบุรี” ชาวบ้านร้องจ่ายไม่ไหว ถูกเก็บย้อนหลัง 5 ปี
ผู้จัดการออนไลน์ 17 พ.ย. 2567 23:01

KEY POINTS
• ประชาชนบางส่วนร้องเรียนถูกเรียกเก็บค่าเช่าที่ดินย้อนหลัง 5 ปี
• ชาวบ้านหลายรายไม่สามารถชำระค่าเช่าที่ดินย้อนหลังได้

SRTA นำร่องทำสัญญาเช่าที่ดินตามแนวเส้นทางรถไฟ จ.กาญจนบุรี 150 สัญญา แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยประชาชน ชาวบ้านร้องถูกเรียกเก็บย้อนหลัง 5 ปี จ่ายไม่ไหว

วันที่ 17 พ.ย. 2567 บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ได้มีการส่งมอบสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้กับประชาชนที่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 150 สัญญา เป็นการนำร่องในการจัดทำสัญญาเช่าที่ดินรถไฟที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับเป็นที่พักอาศัย หลังจากที่ SRTA ในฐานะบริษัทลูกของรฟท. ได้เข้าดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพย์สินของรฟท.และก่อให้เกิดรายได้สูงสุดแก่องค์กร

พ.ต.อ.ศุภกร ศุภศิณเจริญ กรรมการบริษัท รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟและได้รับความเดือดร้อน สามารถมีที่อยู่อาศัย ซึ่งรฟท. พิจารณาแล้ว ว่าสามารถให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟอยู่อาศัยโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยให้ SRTA ทำสัญญาเช่าให้ถูกต้อง ซึ่งนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ SRTA เร่งดำเนินการให้เรียบร้อย

โดยในวันนี้ มีประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟจังหวัดกาญจนบุรี ยื่นขอเช่าและตกลงเข้าเซ็นสัญญาเช่ากับ SRTA จำนวน 150 สัญญา จากจำนวนประชาชนที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟในพื้นที่จ.กาญจนบุรี ทั้งหมดประมาณ 3,500 ครอบครัว ส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการเจรจาและ รฟท.จะต้องเข้าทำการรังวัดพื้นที่ ให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน จึงจะเข้าทำสัญญาเช่า ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประาชนอยู่ในพื้นที่การรถไฟฯ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

“SRTA ได้รับมอบจาก รฟท.ให้ ดูแลพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือเส้นทางการเดินรถไฟทั่วประเทศ หรือที่ดินเชิงพาณิชย์ (Non Core) ที่มีทั้งหมด 38,469 ไร่ ซึ่งการเช่ามีหลักเกณฑ์กำหนดไว้โดยเรื่องที่อยู่อาศัยเป็น 1ใน 8 หลักเกณฑ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องที่อยู่อาศัย”

@ชาวบ้านยื่นขอลดค่าเช่า เผยเดือดร้อนหนักถูกเรียกเก็บย้อนหลัง 5 ปี

รายงานข่าวแจ้งว่า มีประชาชนจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟจังหวัดกาญจนบุรี เช่น ชุมชนหนองรี ได้เข้ายื่นหนังสือเพื่อขอให้ SRTA พิจารณาปรับลดอัตราค่าเช่าลง และขอให้กำหนดเป็นอัตราค่าเช่าคงที่ จากที่จะมีการปรับขึ้นทุกปี ปีละ 5% รวมถึงขอยกเว้น ค่าทำสัญญา

นอกจากนี้ ประชาชนยีงระบุว่า มีการเรียกเก็บค่าเช่าย้อนหลังตั้งแต่ปี 2563 เป็นเงินมากถึง 6-7 หมื่นบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ไม่สามารถจ่ายได้แน่นอน

ประชาชนรายหนึ่งกล่าวว่า อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมานาน แล้วตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นย่า ที่ผ่านมา การรถไฟฯ มีการเก็บค่าเช่าบ้างไม่เก็บบ้าง ส่วนกรณีที่จะมีการทำสัญญาเช่า เห็นด้วยแต่อัตราค่าเช่าที่ SRTA กำหนดสูงเกินไป และการปรับขึ้นค่าเช่าทุกปี เป็นภาระกับประชาชนอย่างมาก หากต้องการช่วยเหลือจริงๆ ก็ควรรับฟังความเห็นของประชาชนที่เดือดร้อนให้รอบด้านด้วย

@SRTA ยันใช้ราคาประเมินธนารักษ์ชี้ค่าเช่าต่ำมากแล้ว

ด้านพ.ต.อ.ศุภกรกล่าวว่า ได้รับหนังสือที่ประชาชนมายื่นแล้ว แต่ต้องขอดูรายละเอียดก่อน ซึ่งกรณีที่ขอให้ปรับลดค่าเช่าลงนั้น ทาง SRTA ใช้เกณฑ์ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ซึ่งในส่วนของการเช่าเพื่อที่อยู่อาศัย จะคิดในอัตราที่ต่ำกว่าอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ต้องการเช่าเพื่อทำในเชิงพาณิชย์ ก็จะต้องยื่นวัตถุประสงค์เข้ามา เพราะจะมีการพิจารณาอัตราที่ต่างจากที่อยู่อาศัย

@รับตรวจสอบ ปมเรียกเก็บย้อนหลัง 5 ปี

สำหรับกรณีการเรียกเก็บค่าเช่าย้อนหลัง 5 ปีนั้น พ.ต.อ.ศุภกรกล่าวว่า ยังไม่รู้รายละเอียดว่า เป็นอย่างไร อาจมาจากการค้างค่าเช่าหรือไม่ แต่ยืนยันว่า หากการเช่า ได้เริ่มต้นทำกัน ภายใต้ บอร์ด SRTA ภายใต้การบริหารของ SRTA ในปัจจุบัน จะไม่ย้อนอดีต จะขอให้เริ่มต้นกันใหม่ เพราะหากนำเรื่อค่าเช่าค้างมาคิดด้วย จะยิ่งทำให้แก้ปัญหายากและไม่สามารถทำสัญญาเช่าได้สำเร็จแน่นอน

“ราคาประเมินกรมธนารักษ์ ถือว่าต่ำมากอยู่ แล้วดังนั้นการปรับขึ้นปีละ 5% จึงไม่มากอะไร และที่ดินรถไฟ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองที่มีมูลค่าค่อนข้างสูงอีกด้วย จึงถือเป็นค่าเช่า ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบพื้นที่เอกชนใกล้เคียง ซึ่งจะขอไปดูข้อมูลที่ชาวบ้านยื่นเข้ามาว่า ราคาเป็นอย่างไร คิดมาจากอะไร เพราะเป้าหมายไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป และต้องไม่เดือดร้อนมากกว่าเดิม”

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสำรวจผู้อาศัยที่อยู่ในบริเวณ ตามแนวเส้นทางการรถไฟ ตั้งแต่ สถานีบ้านโป่ง- สถานีกาญจนบุรี-สถานีน้ำตก พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 5,729 ราย แบ่งเป็นผู้เช่ามีสัญญาแล้ว 1,226 ราย ไม่มีสัญญา จำนวน 4,503 ราย ปัจจุบันดำเนินการต่อสัญญาจาก รฟท. มาเป็น SRTA จำนวน 150 สัญญา ในส่วนที่สัญญากำลังจะหมดในสิ้นเดือน จะเร่งทำสัญญาใหม่ภายในสิ้นปี 2567 ส่วนที่อนู่อาศัยโดยไม่มีสัญญา จำนวน 4,503 ราย นั้นจะดำเนินการให้เรียบร้อยภายในปีสิ้นปี 2568


SRT Asset starts railway land lease contracts in Kanchanaburi, residents complain about unaffordable back payments

Manager Online, 17 Nov 2024, 23:01

KEY POINTS

* Some residents complain about being charged 5 years of back rent.
* Many residents cannot afford to pay the back rent.

SRT Asset (SRTA) has started issuing land lease contracts along the railway lines in Kanchanaburi province, with 150 contracts already delivered. This initiative aims to address housing problems for residents living on railway land. However, residents are complaining about being charged 5 years of back rent, which they cannot afford.

On November 17, 2024, SRTA, a subsidiary of the State Railway of Thailand (SRT), delivered 150 land lease contracts to residents living along the railway lines in Kanchanaburi province. This is a pilot project to legalize land leases for residential purposes. SRTA was established to enhance the efficiency of SRT's asset management and generate maximum revenue for the organization.

Pol. Col. Suphakorn Suphasincharoen, Acting Managing Director of SRTA, revealed that the government wants to help people living along the railway lines who are facing hardship by providing them with legal housing. SRT has determined that these residents can legally reside on the land and has instructed SRTA to issue proper lease contracts. Mr. Surapong Piyachoti, Deputy Minister of Transport, has urged SRTA to expedite this process.

Today, 150 residents living along the railway lines in Kanchanaburi province signed lease contracts with SRTA. There are approximately 3,500 families living along the railway lines in Kanchanaburi. SRTA will expedite negotiations with the remaining families. SRT will also survey the land to ensure accurate data before issuing contracts, which will take time. The objective is to allow people to legally reside on railway land.

"SRTA has been tasked by SRT to manage 38,469 rai of non-core land, which is land outside the railway lines and suitable for commercial use. Leasing for residential purposes is one of the eight criteria for land use, aimed at alleviating housing problems for the public."

Residents request rent reduction, express hardship due to 5 years of back charges

Reports indicate that some residents living along the railway lines in Kanchanaburi, such as those in the Nong Ree community, have submitted letters requesting SRTA to reduce rental rates and set a fixed rate instead of increasing it by 5% annually. They also request an exemption from contract fees.

Residents also state that they are being charged back rent from 2019, amounting to 60,000-70,000 baht. Most residents are low-income earners and cannot afford to pay this amount.

One resident said that they have been living in the area for a long time, since their grandparents' generation. In the past, the SRT sometimes collected rent and sometimes did not. While they agree with the idea of a lease contract, the rates set by SRTA are too high, and the annual rent increase poses a significant burden. They urge SRTA to listen to the concerns of the people.

SRTA insists on using Treasury Department's appraisal price, stating that the rent is already very low

Pol. Col. Suphakorn stated that he has received the letters from the residents and will review the details. Regarding the request for rent reduction, SRTA uses the appraisal price from the Treasury Department, and the rental rate for residential purposes is already lower than other uses. Those who wish to rent for commercial purposes must submit their objectives, as the rates will differ from residential rates.

Investigation into 5 years of back charges

Regarding the 5-year back charge, Pol. Col. Suphakorn said that he is not yet aware of the details and will need to investigate whether it is due to unpaid rent. He emphasized that under the current SRTA board and management, they will not dwell on the past and want to start fresh. Including back rent would make it difficult to resolve the issue and successfully implement the lease contracts.

"The Treasury Department's appraisal price is already very low, so the 5% annual increase is not significant. Moreover, most railway land is located in urban areas with high value, so the rent is lower compared to neighboring private land. We will review the information submitted by the residents, including the calculated rent and its basis. Our goal is to avoid excessive financial burden on the residents and prevent further hardship."

Reports indicate that there are 5,729 residents living along the railway lines from Ban Pong Station to Kanchanaburi Station and Nam Tok Station. 1,226 residents have existing lease contracts, while 4,503 do not. Currently, 150 contracts have been transferred from SRT to SRTA. Contracts expiring at the end of the month will be renewed by the end of 2024. For the 4,503 residents without contracts, the process will be completed by the end of 2025.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2024 10:03 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ตัดจบปัญหาที่ดินเขากระโดง เมื่ออำนาจอยู่ในมือของภูมิใจไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:18 น.

รฟท.ฮึดรักษา ขุมทรัพย์เขากระโดง
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 16, 2024 06:16
5,083 ไร่ แหล่งเศรษฐกิจใหม่ ราคาที่พุ่ง กรมที่ดินไม่ถอนโฉนด รฟท.อุทธรณ์-ฟ้องศาล

ราคาที่ดิน ขยับ


ลิงก์มาแล้วครับ
รฟท.ฮึดรักษา ขุมทรัพย์เขากระโดง 5,083 ไร่แหล่งศก.ใหม่ -กรมที่ดินไม่ถอนโฉนด
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:02 น.
อัปเดตล่าสุด :วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 20:58 น.
รฟท.ฮึดรักษา ขุมทรัพย์เขากระโดง 5,083 ไร่แหล่งเศรษฐกิจใหม่ ออกหสังสืออุทธรณ์ คำสั่งกรมที่ดินไม่เพิกถอนโฉนด ยันที่ดินเขากระโดงเป็นที่ดินรถไฟ ตามคำสั่งศาลปกครองกลางปี 66 ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค3 สั่งเพิกถอน
https://www.thansettakij.com/politics/611957
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2024 10:11 pm    Post subject: Reply with quote

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม รฟท.อัดกรมที่ดินใช้ดุลพินิจมิชอบคดีเขากระโดง (1)
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:53 น.
อัปเดตล่าสุด : วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:19 น.
เปิดหนังสืออุทธรณ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ยื่นคัดค้านกรมที่ดินกรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ทับซ้อนบริเวณเขากระโดง ระบุอัดเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ พร้อมยกคำพิพากษาศาลฎีกายืนยันกรรมสิทธิ์ (1)
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ถึงอธิบดีกรมที่ดินกรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หรือคดีที่ดินเขากระโดง จำนวน 20 หน้า โดยเห็นว่าคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุว่าตามหนังสือที่อ้างถึง อธิบดีกรมที่ดินได้แจ้งความเห็นของอธิบดีที่เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้ หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีสิทธิในที่ดินกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมต่อไปนั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่า คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ และมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น รวมถึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

จึงขออุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติของคณะกรรมการสอบสวน ตามประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังนี้

ข้อ 1. เหตุผลและวัตถุประสงค์ที่อธิบดีกรมที่ดินต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลในการออกคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ทั้งสองฉบับ ระบุว่า ด้วยความปรากฏว่า หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นโฉนดที่ดิน 44 ฉบับ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งออกสืบเนื่องจากหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 18 ฉบับ ซึ่งออกโดยการเดินสำรวจ ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากออกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 68 ฉบับดังกล่าว บางฉบับได้มีการรังวัดแบ่งแยกออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 222 ฉบับ เป็นผลให้หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงแบ่งแยกดังกล่าวคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย (ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน 1195/2566) และด้วยความปรากฏว่า โฉนดที่ดินจำนวน 61 ฉบับ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 28 ฉบับ ซึ่งออกสืบเนื่องจากหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากออกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และต่อมาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวน 83 ฉบับ บางฉบับได้มีการรังวัดแบ่งแยกออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิที่ดิน

หนังสืออุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติของคณะกรรมการสอบสวน ของรฟท.สรุปว่า การเวนคืนที่ดินตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกรมรถไฟหลวงเริ่มลงมือตรวจแนวทางรถไฟเป็นไปตามพระราชโองการตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 เพื่อเชื่อมต่อ กับทางรถไฟที่มีอยู่แล้วที่ จังหวัดนครราชสีมา

ต่อมาในปี พ.ศ.2463 กรมรถไฟหลวงได้ทำการสำรวจเส้นทาง รถไฟแน่นอนแล้วตั้งแต่สถานีรถไฟนครราชสีมาถึงตำบลท่าช้างจังหวัดนครราชสีมาเป็นช่วงแรก จึงได้มีการตรา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2463

โดยได้กำหนดให้กรม รถไฟหลวงทำแผนที่แสดงเขตร์ที่ดิน และคัดสำเนาเนาบัญชีรายชื่อท้ายพระราชกฤษฎีกาพร้อมด้วยแผนที่มอบ ไว้ ณ ที่ทำการกรมรถไฟหลวงในพระนคร ที่กระทรวงเกษตราธิการที่หอทะเบียนที่ดินทุก ๆ จังหวัด และที่ว่า การอำเภอ ซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 กรมรถไฟหลวงได้ทำการสำรวจ เส้นทางรถไฟแน่นอนแล้วตั้งแต่ตำบลท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา ถึงจังจังหวัดสุรินทร์ อีกตอนหนึ่ง และได้มี การทำแผนที่แสดงแนวแขตที่ดินของกรมรถไฟไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ จัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464

กรมรถไฟหลวงจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี รวมทั้งที่ดินสองข้าง ทางรถไฟในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์มาโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวง ต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2466

พระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2463

พระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 พร้อมแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งได้บัญญัติให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟหลวง

ดังนั้น เมื่อการถไฟแห่งประเทศไทยรับโอนทรัพย์สิน ทั้งหลายจากกรมรถไฟหลวง การถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้กรรมสิทธิ์ ที่ดินในทางรถไฟสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี รวมทั้งที่ดินสองข้างทางรถไฟใน ท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์มาตามกฎหมาย ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลผูกพันพลเมืองในราชอาณาจักรไทยเป็นการทั่วไป

กฎหมายดังกล่าว ยังเป็นพยานหลักฐานยืนยันการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของ ที่ดินการถไฟแห่งประเทศไทยตลอดจนตำแหน่งที่ตั้งซึ่งมีความชัดเจนเป็นที่ยุติแล้ว และมีความแน่นอนในนิติ ฐานะยิ่งกว่าเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งบัญญัติขึ้นภายหลัง

การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขอให้อธิบดีกรมที่ดินและผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจวินิจฉัย อุทธรณ์ ได้โปรดมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินตามหนังสือกรมที่ดินที่ มท 0516.2(2)/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 เรื่อง การเพิกถอนหนังสือการแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย และเพิกถอนมติของคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1199-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ได้มีความเห็นและมติไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

และมีคำสั่งให้กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติให้ เป็นไปตามคำพิพากษาของ ศาลฎีกาที่ 842-876/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 หมายเลขแดงที่ 1112/2563 และ คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 โดยการมี คำสั่งเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทุกแปลงที่ออกทับซ้อนที่ดินกรรมสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยให้ปฏิบัติตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางในคดีดังกล่าวอย่างเคร่งครัดด้วย

ทั้งนี้ หากท่านพิจารณาแล้วไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิต่าง ๆ ในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่าที่ดินในบริเวณแยกเขากระโดงเป็นที่ดินรถไฟ ขอให้ แจ้งยืนยันผลการพิจารณาโดยชัดแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทราบด้วย

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม รฟท. ยก“คำพิพากษาศาลฎีกา” ยืนยันสิทธิ์เขากระโดง(2)
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 05:39 น.
อัปเดตล่าสุด : วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:18 น.

เปิดหนังสืออุทธรณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ที่ยื่นคัดค้านกรมที่ดิน โดยตอนหนึ่ง ได้ยก “คำพิพากษาศาลฎีกา” พร้อมหลักฐานประวัติศาสตร์ย้อนหลัง 90 ปี ตั้งแต่ "การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" ยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์
อ่านต่อฉบับเต็ม(2) “หนังสืออุทธรณ์” ที่ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งถึง “อธิบดีกรมที่ดิน” กรณีคดีที่ดินเขากระโดง เมื่อ 14 พ.ย. 2567 ซึ่งหนังสือมีทั้งหมดจำนวน 20 หน้า

โดยเนื้อหาหนังสืออุทธรณ์ของรฟท.ฉบับดังกล่าว ท่อนหนึ่งได้ระบุถึง "คำพิพากษาของศาลฎีกา" เพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดินเขากระโดงของการรถไฟฯว่า

1.2 ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 สรุปความได้ว่า จากแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนที่แยกออกจากเส้นทางแยกเขากระโดงใช้เป็นเส้นทางลำเลียงหินหรือศิลาที่ย่อยในพื้นที่เขากระโดง เพื่อนำหินไปใช้ก่อสร้างในทางรถไฟสายหลักในเส้นทางดังกล่าว



ซึ่งทางรถไฟที่แยกออกอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 375+650 มีความยาวแยกออกไป 8 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2462 ขณะนั้นประเทศไทยใช้ระบบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


ซึ่งที่ดินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินในบริเวณพิพาทข้างต้นเป็นของพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 6) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ก่อนเกิดเหตุคดีนี้นานกว่า 90 ปี จึงเชื่อว่าที่ดินตามแผนที่ซึ่งมีความยาว 8 กิโลเมตร และความกว้างตามที่ระบุในแผนที่ คิดเป็นพื้นที่ 5,083 ไร่ 80 ตารางวา เป็นที่ดินที่ข้าหลวงพิเศษซึ่งเคยได้รับแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462



ดำเนินการสำรวจและวางแนวการก่อสร้างทางรถไฟเพื่อเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดงและบ้านตะโก และดำเนินการจัดซื้อที่ดินในช่วง 4 กิโลเมตรแรก อันเป็นบริเวณที่มีเจ้าของรวม 18 ราย และเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในช่วง 4 กิโลเมตรหลัง อันเป็นบริเวณที่ไม่มีเจ้าของและเป็นแหล่งหินที่ใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ

สำหรับการเข้าครอบครองที่ดิน 4 กิโลเมตรแรกนั้น ปรากฏว่ารายชื่อเจ้าของที่ดินทั้ง 18 รายที่ระบุในแผนที่ตรงกับรายชื่อเจ้าของที่ดินที่ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือรับเงินค่าทำขวัญในใบสำคัญแสดงรายละเอียดแห่งค่าทำขวัญสำหรับทรัพย์ทุกประเภทที่กรมรถไฟแผ่นดินได้จัดซื้อใช้เพื่อประโยชน์รถไฟ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2467

และการที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงฯ ระบุว่า ในช่วงเวลาสองปีที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงฯ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าจับจองที่ดินซึ่งเป็นที่ว่างไม่มีเจ้าของ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า ข้าหลวงพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และกรมรถไฟแผ่นดินมีอำนาจกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของเป็นที่หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างทางรถไฟได้

ข้าหลวงพิเศษและกรมรถไฟแผ่นดินจึงมีอำนาจเข้ายึดถือที่ดินที่ไม่มีเจ้าของในช่วง 4 กิโลเมตรหลังถัดไปด้วย

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462


เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง และบ้านตะโก ทั้งยังใช้เป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ย่อมถือได้ว่าที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในกิจการรถไฟโดยชอบด้วยกฎหมาย

อยู่ในความหมายของคำว่า "ที่ดินรถไฟ" ตามมาตรา 3(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในเวลานั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟแผ่นดินตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : คำพิพากษา 2 ศาล ที่ดินเขากระโดงเป็นสิทธิ์รฟท.(3)
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:54 น.
อัปเดตล่าสุด : วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:48 น.

เปิดข้อเท็จจริงสำคัญในหนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม ของ รฟท. ถึง กรมที่ดิน ยกคำพิพากษาอีก 2 ศาล คือ “ศาลอุทธรณ์ภาค3” และ “ศาลปกครองกลาง” ชี้ชัดที่ดินบริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยบนที่ดินหลวงตาม พ.ร.บ. ปี 2464 (3)
หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม(3) ที่ “วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)" ยื่นหนังสืออุทธรณ์ถึงอธิบดีกรมที่ดิน กรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หรือคดีที่ดินเขากระโดง

ซึ่งหนังสืออุทธรณ์มีจำนวน ทั้งหมด 20 หน้า โดยท่อนหนึ่งของคำอุทธณ์ ได้นำคำพิพากษาของศาลอีก 2 ศาลศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลปกครองกลาง ยืนยันกรรมการสิทธิ์ที่ดินเขากระโดงว่าเป็นของการรถไฟฯ โดยมีเนื้อหาดังนี้

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานตามที่ปรากฏจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์กับนายวิรัตน์ วงศ์พิพัฒน์ชัย ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จำเลย ซึ่งคำพิพากษาระบุไว้ตอนหนึ่งว่า

"เห็นว่า ตามพระราชกฤษฎีกา เอกสารหมาย จ.9 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 และวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 หมายถึงการยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินซึ่งเป็นของเอกชนในส่วนนอกเขตแนวที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อเท่านั้น มิใช่การยกเลิกการหวงห้ามทั้งหมด และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดงและบ้านตะโก ทั้งยังใช้วัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานีด้วย

ย่อมถือว่าที่ดินและที่ดินพิพาท ตามแผนที่กรมรถไฟแผ่นดินฯ เอกสารหมาย จ.7 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 เอกสารหมาย จ.4 อันเป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในความหมายของคำว่า ที่ดินรถไฟ ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 มาตรา 3(2) ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟแผ่นดิน ตามมาตรา 25 และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6(1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว"



คำพิพากษาศาลปกครองกลาง
และอีกท่อนหนึ่งในหนังสืออุทธรณ์ของ รฟท. ระบุถึง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 24949/2564 คดีหมายเลขแดง ที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2566 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ฟ้องคดี กรมที่ดินผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

ตามคำพิพากษาของศาลปกครองดังกล่าวได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในบริเวณเขากระโดงไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำ ที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า

ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง จึงถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ฟ้องคดี

ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 และถือเป็นที่ดินของรัฐประเภทหนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองและป้องกันที่ดินบริเวณดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2557"

หนังสือรฟท.ระบุว่า เมื่อข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา มติและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ดังที่ได้อ้างในอุทธรณ์ข้อ 1.1 ถึง 1.5 ข้างต้น ได้ผลสรุปสอดคล้องกันว่าที่ดินบริเวณเขากระโดง ที่กรมที่ดินได้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

และยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลได้มีคำพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกในที่ดินดังกล่าวบางแปลงซึ่งเป็นวัตถุพิพาทในคดีด้วยแล้ว อธิบดีกรมที่ดินเองก็ยอมรับในกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ด้วยการยกเลิกการออกเอกสารสิทธิที่มีการยื่นคำขอจำนวน 35 รายกว่า 40 ฉบับ

ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าที่ดินบริเวณเขากระโดงตามแนวเขตที่ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษาไว้นั้น เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเมื่อที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว คำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินอันเป็นคุณแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคู่ความในคดี ย่อมใช้ยืนยันแก่บุคคลภายนอกได้

เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีย่อมถือได้ว่ามีความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดิน มีอำนาจสั่งเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวได้ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และเป็นผู้ดำเนินการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณเขากระโดงและยังเป็นจำเลยในคดีที่มีการฟ้องร้องตามคำพิพากษาฎีกาที่ 842-876/2560 และยังเป็นคู่กรณีในคดีของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 คำพิพากษาของศาลที่แสดงถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมีผลผูกพันและใช้ยันกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินให้ต้องปฏิบัติตามด้วย

อธิบดีกรมที่ดินจะมากล่าวอ้างว่าที่ดินบริเวณเขากระโดงมิใช่ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิได้ เมื่ออธิบดีกรมที่ดินได้เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่มีชื่อในเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินและครอบครองที่ดินแต่ละแปลงจะไปดำเนินการใช้สิทธิทางปกครองและทางศาลเพื่อพิสูจน์สิทธิของตนเองว่าตนเองมีสิทธิกว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างไร

เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ก็เพื่อให้การดำเนินการพิสูจน์สิทธิในเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินนั้นเป็นไปโดยถูกต้อง เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ยังไม่มีข้อยุติว่าการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินออกมาโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินบริเวณที่กรมที่ดินออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณแยกเขากระโดงนั้น เป็นที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ดังนั้น กรมที่ดิน อธิบดีกรมที่ดิน และคณะกรรมการสอบสวน ต้องยึดข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติดังกล่าวว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมิต้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิสูจน์สิทธิอีก เพียงแต่มีหน้าที่ในการตรวจสอบรังวัดแนวเขตว่าที่ดินที่มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงใดบ้างที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การออกคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องเท่านั้น

เมื่อพิจารณาข้ออ้างของอธิบดีกรมที่ดินตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ที่แจ้งความเห็นว่าไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ล้วนเป็นการยกข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ

ข้ออ้างตามข้อ 2.3 ที่อ้างคำให้การของกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ในลักษณะโต้แย้งแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นเมื่อปี 2533 และปี 2539 ว่าเป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด (กปร.)

ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำไปอ้างในการต่อสู้คดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-476/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2561 ว่าเป็นแผนที่จัดทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปแล้วประมาณ 900 กว่าแปลง และแผนที่ดังกล่าวไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ ในที่พิพาทแต่อย่างใดและอ้างว่าตามมติที่ประชุม กปร. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินคดีทางศาลแก่ผู้บุกรุก โดยมิได้มีการสั่งการเกี่ยวกับการจัดทำรูปแผนที่แต่อย่างใดนั้น

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:20 น.
อัปเดตล่าสุด : วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:58 น.
เปิดหนังสืออุทธรณ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ยื่นคัดค้านกรมที่ดินกรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ทับซ้อนบริเวณเขากระโดง รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งกรมที่ดินที่ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ชี้การใช้ดุลพินิจไม่ชอบ ขัดคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครอง พร้อมยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายและการใช้ประโยชน์มาแต่เดิม

หนังสืออุทธรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ “วีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งถึงอธิบดีกรมที่ดิน กรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หรือคดีที่ดินเขากระโดง จำนวน ทั้งหมด 20 หนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ

รฟท.ยืนยันว่า การตัดสินใจของอธิบดีกรมที่ดินเกี่ยวกับการไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบและขัดต่อกฎหมาย แม้ศาลปกครองและศาลฎีกาจะเคยชี้ชัดถึงกรรมสิทธิ์ของการรถไฟในพื้นที่ดังกล่าว

ประเด็นปัญหาเกิดจากกรมที่ดินปฏิเสธคำร้องของการรถไฟฯ ที่ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินกว่า 900 แปลง โดยอ้างว่าการรถไฟฯ ไม่สามารถแสดงหลักฐานแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินปี พ.ศ. 2464 ได้ แต่การรถไฟฯ โต้แย้งว่าหลักฐานดังกล่าวได้ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว อีกทั้งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการจัดทำรังวัดแนวเขตโดยร่วมมือกับกรมที่ดินตามคำสั่งศาลปกครองกลางอย่างครบถ้วน

การรถไฟฯ ชี้ว่า การตีความของอธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 ของประมวลกฎหมายที่ดิน ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองและศาลฎีกา ตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 ที่ชี้ชัดว่าที่ดินบริเวณเขากระโดงเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเคยใช้เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้างทางรถไฟ และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังชี้ว่า การตีความที่ว่า "แนวเขตรางรถไฟไม่ควรกว้างเกินกว่า 40 เมตร" นั้น ขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ. 2464
การรถไฟฯ ยืนยันว่า อธิบดีกรมที่ดินมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองและศาลฎีกา รวมถึงข้อสังเกตของศาลที่ให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดินโดยละเอียด เพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ในที่ดินและดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับซ้อนตามกฎหมาย




รายละเอียดหนังสืออุทธรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า เมื่อพิจารณาข้ออ้างของอธิบดีกรมที่ดินตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ที่แจ้งความเห็นว่า ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ล้วนเป็นการยกข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ

ข้ออ้างตามข้อ 2.1 ที่อ้างคำให้การของกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน ที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ในลักษณะโต้แย้งแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นเมื่อปี 2531 และปี 2539 ว่า เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด (กปร.) ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำไปอ้างในการต่อสู้คดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2561 ว่า เป็นแผนที่จัดทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปแล้วประมาณ 900 กว่าแปลง และแผนที่ดังกล่าวไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ ในที่พิพาทแต่อย่างใด และอ้างว่าตามมติที่ประชุม กปร. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินคดีทางศาลแก่ผู้บุกรุก โดยมิได้มีการสั่งการเกี่ยวกับการจัดทำรูปแผนที่แต่อย่างใดนั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า อธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มักจะอ้างเหตุผลเรื่องที่การรถไฟไม่สามารถนำแผนที่ท้าย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 มาแสดงต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ เป็นเหตุผลในการไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน

ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล และมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาณาเขตอันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยละเอียดแล้ว

การที่อธิบดีกรมที่ดินยกข้ออ้างตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่ยุติว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินนั้น

เป็นการวินิจฉัยและใช้ดุลพินิจที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามที่ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และหน่วยงานอื่นๆได้วินิจฉัยไว้แล้ว และเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการพิสูจน์ขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาแล้ว

โดยเฉพาะคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 นั้น กรมที่ดินก็เป็นคู่ความในคดีอยู่ด้วยการที่อธิบดีกรมที่ดินไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน โดยอ้างเหตุตามข้อ 2.1 นั้น ยังเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถยืนยันว่าที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามกฎหมาย นอกเหนือจากแผนที่ปี พ.ศ.2539 ประกอบด้วย

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมา-อุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 29 สิงหาคม 2463
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตทางรถไฟแผ่นดิน ต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2464
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464
พระราชบัญญัติการถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 22 ธันวาคม 2465
หนังสือกรมรถไฟแผ่นดิน เลขที่ ค.อ. 508/67 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2467
กรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 มาตรา 1 : 40000
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563
คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 โดยส่งไปตามหนังสือเลขที่ ผสช.ภฉ./002/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567 และหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย รฟ 1/14887/2567 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2567
ตลอดจนส่งรายละเอียดกรอบพื้นที่พิกัดบริเวณเขากระโดง พิกัดฉาก UTM Indian 1975 Datum Zone 48 N ตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร์ 375+650 ตามหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ รฟ.1/229/2567 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นข้อมูลนอกเหนือจากรูปแผนที่ปี พ.ศ.2539

ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอรังวัดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบรีรัมย์ ซึ่งสำนักงานที่ดินจังหวัดบรีรัมย์ ได้แจ้งประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 112 แปลงเป็นเงินทั้งสิ้น 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมึนหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้นำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวนเงิน 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567

ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมรีรัมย์ ได้นัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่รังวัดปักหลักเขต นำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 จนแล้วเสร็จ

สำนักงานที่ดินจันจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) ตามที่ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำทำการรังวัดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่ นอกเหนือจากรูปแผนที่ปี พ.ศ.2539 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานีลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462

เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง และบ้านตะโก ทั้งยังใช้เป็นแหล่งวัสดุสำหรับก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินดังกล่าว เป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในกิจการรถไฟโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในความหมายของคำว่า “ที่ดินรถไฟ” ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในเวลานั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟแผ่นดินตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

เป็นผลให้ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 ซึ่งเป็นเส้นทางแยกออกมา ได้รับเอกสารสิทธิคุ้มครองหวงห้ามมิให้ประชาชนเข้ายึดถือหรือครอบครอง รวมทั้งโต้แย้งสิทธิใดๆ เว้นแต่จะมีประกาศหรือกฎหมายตามพระราชกระแสว่าขาดจากการเป็นที่ดินรถไฟแล้ว จึงต้องห้ามออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

เมื่อทรัพย์สินของกรมรถไฟโอนเป็นกรรมสิทธิแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติกฎหมาย

ข้ออ้างของอธิบดีกรมที่ดิน ข้อ 2.2 ที่อธิบดีกรมที่ดินยกข้ออ้างตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับระยะเขตทางรถไฟในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างและความยาวของเขตรถไฟ โดยคณะกรรมการเห็นว่า ในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างของแนวเขตรางรถไฟ จึงไม่ควรมีความกว้างเกินกว่า 40 วา (ข้างละ 20 วา) นั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่า ภายหลังที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 แล้ว โดยศาลปกครองกลางได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ที่ดินบริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของผู้ฟ้องคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนจัดทำรายงานการสอบสวนให้แล้วเสร็จ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ประมวลกฎหมายที่ดิน กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดต่อไป แล้ว

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาและข้อสังเกตของของศาลปกครองกลางโดยลำดับ ดังนี้

อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งแต่งตังคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา ๖๑ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1195/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในท้องที่ตำบลเสม็ด และตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 955 ฉบับ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือเลขที่ รฟ1/1944/2566 ลงวันที่ 15 กันยายน 2566 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอทราบผลการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือด่วนที่สุดเลขที่ รฟ1/2096/2566 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อร่วมดำเนินการตรวจจสอบแนวเขตที่ดินตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
คณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ได้มีหนังสือศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ที่ บร 0020.4/20519 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 และ ที่ บร 0020.2/2/20519 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ได้เชิญการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวังหวัดบุรีรัมย์
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมในวันและเวลาดังกล่าว โดยที่ประชุมได้ข้อยุติว่า การดำเนินการรังวัดทำแผนที่ กรมที่ดินต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการรับคำขอรังวัด การนัดรังวัด และการเรียกค่าใช้จ่ายในการรังวัดเฉพาะราย พ.ศ.2547 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดทำแผนที่ บริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์

และให้จัดส่งข้อมูลกรอบพื้นที่ซึ่งมีค่าพิกัดรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอแก่การประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด ซึ่งต้องดีกว่ารูปแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี 2539 ภายใน 30 วัน ตามหนังสือศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ บร 0020.4/373 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 และ ที่ บร 0020.2/374 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567



5.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอรังวัดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ตามหนังสือเลขที่ ผสช.ภฉ./002/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567 โดยส่งมอบเอกสารให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

5.1 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462
5.2 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 29 สิงหาคม 2463
5.3 พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตทางรถไฟแผ่นดิน ต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2464
5.4 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้าง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464
5.5 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
5.6 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 22 ธันวาคม 2465
5.7 หนังสือ กรมรถไฟแผ่นดิน เลขที่ ค.อ. 508/67 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2467
5.8 กรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 มาตรา 1 : 4000

6.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิที่ออกทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ รฟ.1/2/68/2567 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ต่อนายอุทิศ ชูประดิษฐ์ ประธานกรรมการสอบสวนฯ รายละเอียดกรอบพื้นที่พิกัดบริเวณเขากระโดง พิกัดฉาก UTM Indian 1966/5 Datum Zone 48 N ตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร์ 375+650

7.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/7634 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 แจ้งประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 112 แปลง เป็นเงินทั้งสิ้น 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย นำเงินไปชำระ

8.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/7872 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเอกสารประกอบคำขอรังวัด นอกเหนือจากรูปแผนที่ ปี พ.ศ.2539 เพื่อประกอบการนำชี้แนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

9.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 1,296,320.00 บาท(หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นทุกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 ตามใบเสร็จรับเงินสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ เลขที่ 66-3097983 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2567

10.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/10444 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเอกสารหลักฐานของทางราชการ ที่สามารถยืนยันว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายนอกเหนือจากแผนที่ปี พ.ศ.2539 พร้อมทั้งแต่งตั้ง ตัวแทนเจ้าหน้าที่ 4 ชุด เพื่อนำรังวัดชี้แนวเขตที่ดินภายในวันที่ 15 เมษายน 2567

11.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือเลขที่ บร 0020.2/11221 ลงวันที่ 1 เมษายน 2567 และ บร 0020.4/11241 ลงวันที่ 2 เมษายน 2567 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำเอกสาร พยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งแสดงเหตุผลข้อเท็จจริง หรือข้อมูลอื่นๆ ประกอบพยานหลักฐานที่แสดง ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว

12.การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือ ที รฟ 1/735/2567 ลงวันที่ 3 เมษายน 2567 ชี้แจงข้อเท็จจริงในการนำส่งข้อมูลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2567 ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จำนวน 4 ราย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบแนวเขต ที่ดินตามคำพิพากษาศาลปกครองแล้ว ตลอดจนยื่นคำขอรังวัดที่ดินเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 รวมถึงชำระเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัดเสร็จสินแล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567

13. สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ บร 0020.3/15062 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 แจ้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมหารือกำหนดนัดวัดวันรังวัดตรวจสอบ แนวเขตที่ดินของการถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุม

ที่ประชุมมีมติ กรมที่ดิน (สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์) ได้กำหนดแนวทางการลงพื้นที่รังวัดการตรวจสอบแนวเขตที่ดินเขตทางแยก เขากระโดง อำเภอจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม 2567 และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปักหลักแนวเขตที่ต้องการนำชี้ไว้ล่วงหน้าก่อนการรังวัด


14.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/18144 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือมอบอำนาจโดยระบุขอบเขตอำนาจของตัวการและตัวแทนที่มีอำนาจ นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขตนำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน

ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประกอบการดำเนินการนัดรังวัด และทำการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และขอทราบว่า จะสามารถมอบหมายผู้แทนทำการนำรังวัดทำแผนที่ได้จำนวนกี่ชุด และสามารถทำการรังวัดได้ในห้วงเวลาใด

15.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1343/2567 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2567 แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน บริเวณ ทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ชุด

16.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือมอบอำนาจ ที่ รฟ 1/1398/2567 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2567 มอบอำนาจให้ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 4 นาย นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บริเวณทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทุกขั้นตอนจนเสร็จการ

17.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/19384 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเจ้าหน้าที่นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขต นำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น.

18.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1487/2567 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจงข้อเท็จจริงในการนำส่งข้อมูลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ 2 และส่งข้อมูลดังนี้

18.1 แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากะโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเม็ตรที่ 375+650
18.2 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมาถึง อุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466
18.3 พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464
18.4 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
18.5 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563
18.6 คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566

19.เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้รับมอบอำนาจฯ 4 นาย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแนวเขต 6 นาย และเจ้าหน้าที่บำรุงทางท้องถิ่น 8 นาย รวม 18 นาย แบ่งเป็น 2 ชุด ๆ ละ 9 นาย) ลงพื้นที่บริเวณ ทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2567 เพื่อปักหมุด หลักแนวเขตที่ดิน ที่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เฉพาะแปลงที่ดินที่ไม่มีผู้ครอบครอง หรือที่ดินที่ส่วนราชการใช้ประโยชน์อยู่ โดยปักหมุดพิกัดแนวเขตที่ดินได้ 92 หมุด

20.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.1/21239 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ชี้แจงว่าการรังวัดถ้าไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือมีเหตุขัดข้อง จะสามารถดำเนินการรังวัดแล้วเสร็จภายใน 50 วันทำการ นับแต่เริ่มทำการรังวัด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567

21.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1707-1709/2567 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ขอทราบกรอบระยะเวลา และแผนงานในการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ตลอดจนกระบวนการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับช้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าจะใช้กรอบระยะเวลาเท่าใด เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง

22.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/24123 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2567 แจ้งผลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดงจังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำทำทำการรังวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามรูปแผนที่ (ร.ว.9)

23.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/26655 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2567 นำส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) การรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบและรับรองรูปแผนที่ภายใน 15 วัน

24.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/2230/2567 ลงวันที่ 6 กันยายน 2567 แจ้งว่ารูปแผนที่ (ร.ว.9) ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์จัดส่งมานั้น ไม่ระบุพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดิน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบและรับรองรูปแผนที่ได้ จึงขอความอนุเคราะห์ให้จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินในรูปแบบของระบบพิกัดกริด (UTM Indian 1975) และข้อมูลมูลไฟล์ดิจิทัลนามสกุล .Sho, .DWG และไฟล์ Excel เพื่อเป็นข้อมูลมูลประกอบการตรวจสอบรูปแผนที่ต่อไป

25.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/27928 ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ตามรูปแผนที่ (ร.ว.9) สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินในรูปแบบของระบบพิกัดกริด (UTM Indian 1975) และข้อมูลไฟล์ดิจิทัลนามสกุล .Shp, .DWG และไฟล์ Excel ให้การรถไฟฯ ตรวจสอบ และรับรองรูปแผนที่แล้วแจ้งให้สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์

26.การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/2538/2567 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2567 แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์แล้วพบว่า มีรายการที่ต้องปรับปรุงข้อมูล จึงมีหนังสือให้สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ปรับปรุงข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดิน

27.กรมที่ดิน ได้มีหนังสือ ที่ มท 0516.2(2)/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบรุรีรัมย์ และยุติเรื่อง

28.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/31528 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งรายการปรับปรุงข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าพิกัด ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งนั้น มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยอาจเกิดจากการรังวัดต่างวิธี

29.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/31901 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 แจ้งว่าได้ทำการรังวัดเสร็จเรีบร้อยแล้ว และได้จัดส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทราบแล้ว จึงมีเงินมัดจำรังวัดคงเหลือ 1,178,240 บาท จึงให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดต่อขอรับเงินมัดจำรังวัดคืน

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับ ความกว้าง ตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตของแนวเขตที่ดินรถไฟ การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นการตีความนอกเหนือจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและกฎหมาย กล่าวคือ คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 7)

ตามบันทึก เรื่องเสร็จที่ 106/2541 เรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยระเบิดหิน เพื่อใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ ได้พิจารณาแล้วเห็นเป็นยุติว่า ที่ดินที่ราษฎรครอบครองบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ที่เจ้าหน้าที่กรมรถไฟแผ่นดินได้สำรวจ และจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดซื้อที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาฉบับ พ.ศ.2464 แต่ที่ดินที่เป็นปัญหากรณีนี้ มิได้ดำเนินการจัดซื้อ เพราะในแผนที่กำหนดไว้ว่าเป็นที่ป่ายังไม่มีเอกชนครอบครองทำประโยชน์

แม้ว่าพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2462 ได้กำหนดแนวเขตอย่างกว้างไว้สำหรับการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟและไม่มีผลเป็นการเวนคืนที่ดินตามความเห็นของผู้แทนกรมที่ดินก็ตาม แต่เมื่อได้ทำการสำรวจเส้นทางที่แน่นอนและทราบจำนวนที่ดินที่มีความจำเป็นต้องใช้แล้ว ก็จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินจากเอกชนและยกเลิกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2462 เป็นตอนๆ ซึ่งแนวทางที่แน่นอนนี้ ประกอบด้วย ที่ดินของเอกชนที่จะต้องจัดซื้อตามพระราชกฤษฎีกา และที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐที่ไม่จำเป็นต้องจัดซื้อ แต่มีสภาพเป็นที่ดินที่หวงห้ามไว้ใช้ในราชการ

เมื่อปรากฏว่าการสำรวจที่ดินเพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินที่ดินที่ใช้สร้างทางรถไฟในปี พระพุทธศักราช 2464 ได้ดำเนินการครบถ้วน รวมทั้งกรมรถไฟแผ่นดินได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟแสดงไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และโดยที่ที่ดินบริเวณที่หารือ ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟในขณะนั้น มีสภาพเป็นป่า ยังไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์

และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟ จึงถือได้ว่าเป็นการหวงห้าม ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้ใช้ในราชการตามกฎหมายแล้ว ที่ดินนั้นจึงเข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟตามมาตรา 3 (2) และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการถไฟแลทางหลวงฯ”

ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ พิจารณาเห็นเป็นยุติแล้วว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

การที่กรมที่ดิน โดยคณะกรรมการสอบสวนฯ นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกามาประกอบการพิจารณา โดยให้ความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างของแนวเขตรางรถไฟไม่ควรกว้างเกินกว่า 40 เมตร (ข้างละ 20 วา) จึงไม่ถูกต้องตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ และไม่ถูกต้องตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2463

และพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 พร้อมแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งได้รับรองกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้ชัดเจนเป็นที่ยุติแล้วนั้น

ดังนั้น เมื่อยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอนกฎหมายดังกล่าว ที่ดินตามแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟที่ได้แสดงไว้ชัดเจนแล้วนั้น จึงยังคงเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง ที่คณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เห็นว่า ไม่อาจดำเนินการตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางในการเข้าร่วมกันชี้แนวเขตที่ตินของการรถไฟแห่งประเทศไทย นั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยขอคัดค้านความเห็นดังกล่าวของคณะกรรมการสอบสวนฯ เนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองที่ให้อธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อหาแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ 842-876/2560 และที่ 8029/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 นั้น ถูกต้องแล้ว ไม่กระทบต่อความเป็นกลางและเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

อีกทั้งข้อสังเกตของศาลปกครองกลางถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 69 (8) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

เมื่อคณะกรรมการสอบสวนฯ ปฏิเสธการดำเนินการตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการที่คณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่า ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีสถานะทางกฎหมายและตำแหน่งที่ตั้งที่ดินยังไม่เป็นที่ยุตินั้น เป็นการใช้ดุลพินิจและความเห็นที่ไม่ถูกต้อง

เนื่องจากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มาโดยผลของกฎหมายดังกล่าวไปแล้วข้างต้น และมีข้อยุติตามคำพิพากษาของศาลตามที่ได้เรียนไว้ในอุทธรณ์แล้ว

จากข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ไว้ในมาตรา 69(8) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ให้อำนาจศาลปกครองมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้

ข้อสังเกตของศาลปกครองดังกล่าว แม้มิใช่คำพิพากษาที่มีผลผูกพันเป็นข้อแพ้ชนะในคดี แต่ก็เป็นแนวทางหรือวิธีการดำเนินการของคู่กรณีเพื่อให้การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเป็นไปโดยครบถ้วนสมบูรณ์

โดยตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง มีสาระสำคัญให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เพื่อหาเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

กรณีดังกล่าวย่อมมีนัยว่า เขตที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 รวมถึงคำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 แล้ว เพียงแต่ศาลกำหนดให้มีการตรวจสอบแนวเขตให้ชัดเจนเท่านั้น

กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน จึงเป็นหัวหน้าหน่วยงานไม่อาจปฏิเสธกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ มีเพียงหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินว่า มีการทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งการจะพิจารณาแนวเขตดังกล่าว กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน จึงต้องปฏิบัติตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางให้ถูกต้องครบถ้วน

เมื่อการถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง โดยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งของอธิบดีกรมดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในท้องที่ตำบลเสม็ดและตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ และได้ดำเนินการจนถึงขั้นจัดทำการรังวัดและทำรูปแผนที่เสร็จแล้ว

แต่อธิบดีกรมที่ดินกลับมีคำสั่งแจ้งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ตามความเห็นที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอ ทั้งที่ขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ทราบแนวเขตที่แน่ชัดตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 นั้น ก็ได้ข้อยุติแล้ว อันจะนำไปสู่การจัดทำรายงานผลการสอบสวน เพื่อเสนอธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินต่อไป

แม้ข้อสังเกตของศาลปกครองกลางจะมีใช่เป็นกฎหมายที่กำหนดให้กรมที่ดิน และคณะกรรมการสอบสวบสวนต้องปฏิบัติ แต่เมื่อเป็นแนวทางหรือวิธีดำเนินการที่ศาลปกครองกำหนดให้คู่กรณีในคดีต้องปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นไปโดยครบถ้วนสมบูรณ์

ย่อมถือว่าข้อกำหนดของศาลปกครองดังกล่าวเป็นการกำหนดรูปแบบ ชั้นตอน และวิธีการสำหรับดำเนินการในการปฏิบัติตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินเพิ่มเติม ซึ่งมีผลให้คู่กรณีในคดีต้องปฏิบัติตามเช่นกัน

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 ได้เชิญการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมกำหนดแนวทางให้มีการรังวัดทำแผนที่และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางตามที่รังวัด ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางตามที่ที่ประชุมได้กำหนด

จนกระทั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการรังวัดและจัดทำรูปแบบ (ร.ว.9) เรียบร้อยแล้ว จึงชอบที่คณะกรรมการสอบสวนและอธิบดีกรมที่ดินจะนำผลการรังวัดพิจารณารังวัดและการจัดทำรูปแผนที่เพื่อแสดงแนวแนวเขตที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณา แต่กลับมีมติและเสนออธิบดีกรมที่ดินออกคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินเสีย ทั้งที่ขั้นตอนการดำเนินการร่วมกันตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางใกล้ข้อยุติแล้ว

การที่อธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญและพฤติการณ์ในการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวน รวมทั้งอธิบดีกรมที่ดินยังมีลักษณะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วยอันถือเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2024 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดเอกสารกรมทางหลวง ขอ รฟท. ใช้ที่เขากระโดง สร้างถนนบุรีรัมย์ – ประโคนชัย
โพสต์ทูเดย์ 18 พฤศจิกายน 2567

งัดหลักฐานกรมทางหลวงยัน ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท.
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่ : วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:30 น.
อัปเดตล่าสุด : วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:30 น.

เปิดสัญญาปี 2532 กรมทางหลวงยอมรับกรรมสิทธิ์ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท. พร้อมทำสัญญาเช่าสร้างทางหลวง 219 เขตทาง 20 เมตร ระยะทาง 3,910 เมตร
การยื่นอุทธรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่อกรมที่ดิน กรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 5,083 ไร่ สะท้อนให้เห็นความซับซ้อนในการบริหารและความท้าทายในการรักษาที่ดินของรัฐ


นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ รฟท. แสดงจุดยืนชัดเจนในการคัดค้านคำสั่งของกรมที่ดินที่ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ทับซ้อน โดยชี้ให้เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวมีปัญหาทั้งในแง่ความชอบด้วยกฎหมาย รูปแบบ ขั้นตอน และการใช้ดุลพินิจ ทั้งๆที่มีคำพิพากษาของ ศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ระบุชัดว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของรฟท. พร้อมให้เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทุกแปลงที่ออกทับซ้อนที่ดินกรรมสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ย้อนกลับไปในปี 2532 กรณีกรมทางหลวง ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของรฟท.เพื่อสร้างทางหลวงหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย โดยมีการทำสัญญาอย่างเป็นทางการ นับเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของรฟท.

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบพบว่า เอกสารเกี่ยวกับที่ดินรถไฟเขากระโดง ที่กองกรรมสิทธิ์ ของการรถไฟฯ มีบันทึกไว้ทุกอย่าง ครบถ้วนว่า เมื่อปี 2532 นายเสถียร วงศ์วิเชียร อธิบดีกรมทางหลวง ทำหนังสือราชการ ที่ คค 0607/656 ลงวันที่ 19 มกราคม 2532 ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เรื่อง ทางหลวงหมายเลข 219 ตัดผ่านที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย

หนังสือฉบับนี้มีใจความสำคัญระบุว่า ตามหนังสือที่ รฟท. แจ้งว่า ทางหลวงหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์ - ประโคนชัย ตัดผ่านที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งยังมิได้ทำสัญญาอาศัยแต่ประการใด จึงขอให้กรมทางหลวงดำเนินการขอทำสัญญาอาศัยที่กินกับการรถไฟฯ ให้เป็นการถูกต้องนั้น


กรมทางหลวงได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ทางหลวงสายดังกล่าวระหว่าง กม. 1+740 - 5+650 ตัดผ่านที่ดินของการรถไฟฯ เป็นระยะทาง 3910 เมตร เขตทางกว้าง 20.00 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 156,400 ตารางเมตร กรมทางหลวงจึงขอทำสัญญาอาศัยที่ดินดังกล่าว โดยขอแต่งตั้งให้นายช่างแขวงการทางบุรีรัมย์ เป็นตัวแทนในการทำสัญญาอาศัยที่ดิน ดังกลาว


ต่อมาในวันที่ 11ตุลาคม 2532 การรถไฟแห่งประเทศไทยและกรมทางหลวงได้ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน เพื่อสร้างเส้นทางหลวงเลข 219 สายบุรีรัมย์ - ประโคนชัย โดยแขวงการทางบุรีรัมย์ ได้นำเงินจำนวน 1,000 บาท ชำระค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาอาศัยด้วย

สาระสำคัญ ของสัญญาฉบันนี้ คือ รฟท.ในฐานะผู้ให้สัญญาตกลงให้ผู้รับสัญญา(กรมทางหลวง) มีสิทธิเหนือพื้นดินที่ขอใช้ สิทธิขนาดกว้าง 3,910.00 เมตร เป็นพื้นที่ 196,400,00 ตารางเมตร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ย่านสถานี ในทางแยกเขากระโดง หรือนอกย่านสถานี ระหว่างสถานี บุรีรัมย์ ถึงสถานีทางแยกเขากระโดง จาก กม. 1+740.00 ถึง กม. 5+650 เพื่อดำเนินการสร้างทางหลวงจังหวัดหมายเลข 219 บุรีรัมย์-ประโคนชัย โดยมีแผนผังแนบท้ายไว้ในสัญญาด้วย


เมื่อนำแผนที่แนบท้ายสัญญาระหว่างรฟท.กับกรมทางหลวง กับภาพถ่ายดาวเทียมพบสิ่งปลูกสร้างสำคัญในแนวเขตที่ดินของ รฟท. มาทาบซ้อนกันจะปรากฎภาพดังนี้


จากนี้ต้องติดตามว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะในพื้นที่ดังกล่าวมีที่ดินแปลงสำคัญ อาทิ: บ้านนักการเมืองตระกูลดัง, บริษัทศิลาชัย, สนามแข่งรถ, สนามช้าง อารีน่า, ที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาปี 2561, ที่ดินตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ปี 2563, และที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกา 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 209, 210, 211  Next
Page 206 of 211

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©