RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311947
ทั่วไป:13593432
ทั้งหมด:13905379
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 5:03 pm    Post subject: Reply with quote


Wisarut wrote:


วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2469

เวลา 11.00 ก.ท.(1100) ทรงรถยนตร์พระที่นั่งแต่วังสุโขทัย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จทอดพระเนตรสถานที่ ในโรงงานกรมรถไฟหลวง ตำบลมักกะสัน กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พร้อมเจ้าหน้าที่รับเสด็จ แล้วเสด็จกลับ

https://www.facebook.com/TheOldcarinmemory/posts/4142828165741337
https://www.youtube.com/watch?v=0dagZXZuYwg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 2:00 am    Post subject: Reply with quote

จากบืสนทนาระหว่าง พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหลวงศุภชลาศัย ทำให้ตกลบงกันว่าจะให้พระองค์ประทับรถไฟพระที่นั่งกลับพระนคร แทนที่จะขึ้นไปในเรือหลวงสุโขทัย รถออกเวลา 13:00 น. วันที่ 25 มิถุนายน 2475 มาถึงกรุงเทพ เอาเมื่อ เวลาตี 1 วันที่ 26 มิถุนายน 2475
https://www.silpa-mag.com/history/article_55854
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2021 10:30 am    Post subject: Reply with quote

ร.๗ กษัตริย์พระองค์แรกเสด็จประพาสเชียงใหม่! เข้าเมืองด้วยขบวนช้าง ๘๐ ตัวเหมือนกองทัพ!!
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2564 09:39 ปรับปรุง: 29 ธ.ค. 2564 09:39 โดย: โรม บุนนาค

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2022 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

จดหมายเหตุบอกเล่า: ลูกเสือญี่ปุ่นเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2473
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:45 น.

“คณะลูกเสือสยาม รู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งแด่ท่านเคานต์ฟูตารา ท่านผู้บังคับบัญชาและลูกเสือผู้แทนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ข้ามมหาสมุทรเข้ามาเยี่ยมประเทศสยาม และเข้ามาร่วมในการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติไทยครั้งที่สองนี้ การมาของท่าน ใช่แต่จะให้เกียรติยศแก่คณะของข้าพเจ้า เพื่อรับรองเท่านั้นหามิได้ ท่านผู้บังคับบัญชาและลูกเสือญี่ปุ่นยังได้แสดงให้ชนชาติไทยและลูกเสือสยามได้รู้สึกในน้ำใจอันดี ได้รู้จักนิสสัยอันเยือกเย็น ได้ชมวินัยอันเคร่งครัด ได้เห็นความสง่าผึ่งผาย ตลอดจนความสะอาดเรียบร้อยในเครื่องแบบลูกเสืออันงามของพวกท่าน และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง สิ่งเหล่านี้กระทำให้ลูกเสือสยามรู้สึกรักใคร่พวกท่านพวกท่านอย่างสนิทสนมประดุจญาติร่วมสายโลหิต และจะได้จดจำสงวนไว้ในความรู้สึกชั่วกาลปาวสาน...”
พระยาสุรพันธเสนี ผู้บังคับการค่ายลูกเสือ กล่าวตอบคณะลูกเสือญี่ปุ่น หลังพิธีสวนสนามในการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชุมนุม
--------------------------------------------------
- การชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวันที่ 1 – 7 มกราคม พ.ศ. 2473 โดยมีผู้แทนลูกเสือจากทุกมณฑลทั่วประเทศเข้าร่วม เช่น มณฑลจันทบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลปราจีนบุรี มณฑลพิษณุโลก มณฑลอุดร มณฑลนครราชสีมา มณฑลนครศรีธรมราช มณฑลราชบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลภูเก็ต มณฑลพายัพ มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเทพ เป็นต้น
- คณะลูกเสือญี่ปุ่นประกอบด้วยผู้แทนลูกเสือจากเมืองต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น เข้าร่วมการชุมนุมในวันที่ 3 มกราคม โดยเดินทางออกจากเมืองโกเบ วันที่ 17 ธันวาคม ถึงสิงคโปร์ วันที่ 30 ธันวาคม พักที่สิงคโปร์ 2 วัน จากนั้นจึงเดินทางต่อมายังไทย ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ ในวันที่ 3 มกราคม พักแรมในค่ายลูกเสือ ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ มีเคาท์โยชิโนริ ฟุตาระ (Yoshinori Futara) เป็นผู้นำคณะ
- คณะลูกเสือญี่ปุ่นที่เดินทางเข้าร่วมการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ (เฉพาะลูกเสือ) ประกอบด้วย Kitamura Ryuzi* อายุ 16 ปี Hosone Sumio* อายุ 17 ปี Kawaguti Kakuhei* อายุ 16 ปี Mizutani Zyunzi* อายุ 16 ปี Otake Syoziro* อายุ 15 ปี Takagi Bunkiti* อายุ 14 ปี Sakaue Sueyoshi* อายุ 14 ปี Sano Akinori* อายุ 15 ปี Yasuda Masaiti* อายุ 15 ปี Hayasi Mitiharu* อายุ 14 ปี Huzimoto Taiti* อายุ 15 ปี Masazumi Kuroi* อายุ 15 ปี Den Tosio* อายุ 15 ปี Okamura Hisao* อายุ 17 ปี Matusita Kazuo* อายุ 17 ปี Masuda Nobuyosi* อายุ 15 ปี
- ลูกเสือญี่ปุ่นและลูกเสือไทย เมื่อสนิทสนมกันแล้วได้ทำการแลกเปลี่ยนของกัน เช่น หน้าเสือที่หมวก อักษรย่อมณฑล เป็นต้น
- สิ่งของที่คณะลูกเสือญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ โกลน 1 คู่ จาก มาควิส โทชินาริ ไมดะ กรอบรูปปัก 1 กรอบ จาก บริษัทหนังสือพิมพ์โอซากะ และหนังสือพิมพ์โตกิโอ นิจินิจิ ต้นสน 1 ต้น จาก เทศาภิบาลมณฑลเฮียวโงะ รูปแขวน 1 รูป จาก เคาท์ฟุตาระ ผู้อำนวยการคณะลูกเสือญี่ปุ่น แจกัน 1 คู่ จาก ไวส์เคาท์มิชิมะ* รองผู้อำนวยการคณะลูกเสือญี่ปุ่น กระปุกหมึก 1 กระปุก จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดโกเบ
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเสมาชนิดกะไหล่ทองและเงิน และคณะลูกเสือไทยมอบเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คณะลูกเสือญี่ปุ่น
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทยแก่เคาท์โยชิโนริ ฟุตาระ
- คณะลูกเสือญี่ปุ่นเดินทางออกจากกรุงเทพ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2473
หมายเหตุ *ชื่อบุคคล คงเขียนตามอย่างเอกสารจดหมายเหตุ
--------------------------------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 เบ็ดเตล็ด ร.7 บ 7/35 เรื่อง ลูกเสือญี่ปุ่นเข้ามาร่วมการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2473 (6 กรกฎาคม 2472 – 30 มกราคม 2474)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 เบ็ดเตล็ด ร.7 บ 7/39 เรื่อง ชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2473 (14 มิถุนายน 2473 – 22 ตุลาคม 2474)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ ศธ 0701.7/109 เรื่อง งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2473 (พ.ศ. 2473 – 2480)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สบ 2.34/7 เรื่อง รายการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ (2 ม.ค. 2473)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 003 หวญ 73 ภาพการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2473
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2022 12:16 am    Post subject: Reply with quote

โคลงนิราศล่องแก่งแม่ปิง
ผู้แต่ง : จางวางเอกพระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) แต่งคราวที่ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เสด็จภาคเหนือโดย ประทับรถไฟพิเศษ เมื่อ วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2470 เวลา 10:00 น. ถึงพิษณุโลกตอนค่ำ ก็พักทืี่พิษณุโลกไป พักผ่อน ตอนเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน 2470 นมัสการพระพุทธชินราช ในตอนเช้าก่อนทำขบวนรถออกตอนเที่ยง ถึงเด่นชัยตอนค่ำ ประทับแรมที่ เด่นชัย จากนั้นจึงเดินทางด้วยรถไฟพิเศษ จากเด่นชัยไปลำปางเมื่อ 1 ธันวาคม 2470 และ ประทับที่ลำปาง ก่อนประทัีบรถพระที่นั่งไปงาว - พะเยา - เชียงราย - เชียงแสน และ จัดงานฉลองวันพระราชสมภพ ของ เจ้าฟ้านิภานพดลด้วย เลยเสด็จไปไหว้พระเจ้าตนหลวง และ แวะเที่ยวตัวเมืองลำปาง ในตอนกลับเข้าลำปาง

วันที่ 11 ธันวาคม 2470 เวลา 07:00 น. รถไฟพิเศษ เดินทางจากลำปางไปเชียงใหม่
ผ่านสะพานหอสูงทั้งสาม และ อุโมงค์ขุนตาน ถึงเชียงใหม่ ตอน 11:00 น.
จากนั้นจึงชมเมืองเชียงใหม่เพื่อ ตรวจเยี่ยมโรงเรียนดาราวิทยา โรงเรียนปรินซ์รอยัล
โรงพยาบาลบแมคคอมิก โรงพยาบาลแม็กเคน สถานีประชาอนามัยที่คับแคบ ดูไม่เหมาะที่จะดูแลกผู้ป่วยนัก ก่อนแวะห้วยแก้ว

วันที่ 19 ธันวาคม 2470 เสด็จลำพูน นมัสการพระธาตุหริภุญชัย
ก่อนกลับเชียงใหม่ในบ่ายวันเดียวกัน

วันที่ 21 ธันวาคม 2470 ประทับเรือแม่ปะ เพื่อล่องแก่งเมืองเชียงใหม่ ล่องแก่งแม่ปิงมาถึงปากน้ำโพ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2470 เวลา 8 ดมงเช้า (นับอย่างปัจจุบันต่อปี 2471) ก่อนประทับรถไฟพระที่นั่ง โดยมีกรมพระกำแพงเพชอัครโยธินมารับที่ท่าน้ำ ก่อนประทับรถไฟพระที่นั่ง ถึงสถานีจิตรลดา เมื่อ 18:00 น. วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2470
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/th/website/oldbook/detailbook/10349

รายละเอียดเกี่ยวกะการล่องแก่ง นั้่นหาอ่านได้จาก อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิงตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ถึงปากน้ำโพธิ์ ที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ เมื่อปีระกา พ.ศ.2464 ตีพิมพ์ปี 2470 ที่ตีพิมพ์ใหม่ปี 2562 ดูได้ที่นี่ครับ

สาระสังเขป : ลำน้ำพิง หรือ น้ำแม่ปิง สายน้ำสำคัญในภาคเหนือที่ถือเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากลำน้ำ 4 สาย ได้แก่ ปิง วัง ยม น่าน มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการเป็นบ้านเมืองมายาวนานหลายร้อยปี แม่น้ำสายนี้จึงเป็นเส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนตลอดลุ่มน้ำ อีกทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อของผู้ที่อยู่อาศัยในที่ ราบลุ่มภาคเหนือกับภาคกลางอีกด้วย "อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์" เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งที่ 2 พ.ศ. 2464 นับว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ตลอดสองฝั่งลำน้ำปิงอันจะทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคมและบ้านเมืองในบริเวณดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้นับเป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 6 โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ดำเนินการพิจารณาสอบค้นต้นฉบับและยึดฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2470 เป็นหลักใน การตรวจสอบชำระ จัดทำเชิงอรรถอธิบายความเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ พร้อมค้นคว้าภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพิ่มเติมก่อเกิดความเข้าใจแก่ผู้อ่านมากยิ่งขึ้น เอกสารอธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์ มีเนื้อความระบุการเดินทางตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม พ.ศ. 2464 รวม 26 วัน โดยเสด็จผ่านที่ต่างๆ ตามเวลาดังกล่าว เช่น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เขาดอยน้อย - พักแรมพระธาตุจอมทอง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ลงแก่งจุม - แก่งสองแคว - แก่งหน้าวัด - แก่งอกม้า - แก่งผาแอว - แก่งผาออ - แก่งเสือเต้น - พักแรมดอนเกลือ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พักร้อนบ้านปากยม - วังเจ้า - เกาะลูกช้าง - แวะดูเชิงเทินแลวัดเก่า - พักแรมตำบลคลองเมือง วันที่ 2 มีนาคม วัดมหาธาตุคลองสวนหมาก - วัดมหาธาตุและเมืองเก่า - ปรางค์ทุ่งเศรษฐี - เมืองเศรษฐี - เมืองกำแพงเพชร - สถานพระอิศวร - วัดหลวง - ศาลพระเสื้อเมืองหลักเมือง วันที่ 7 มีนาคม วัดเขาดิน - พักร้อนบ้านแก่ง - พักแรมปากน้ำโพ เป็นต้น นับว่าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์สำคัญที่มีคุณค่าสาระ ทั้งเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตลอดสิงฝั่งแม่น้ำปิง อันจะอำนวยประโยชน์ทางวิชาการต่อชนรุ่นหลังสำหรับทำการศึกษา ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ต่อไป

http://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/120120887910712283101657450535548861177268838878656161/1/2/0/viewer.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2022 12:39 am    Post subject: Re: บันทึกรายวันของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์พ.ศ.๒๔๗๖ Reply with quote

Wisarut wrote:
เมื่อหลายวันก่อนไปช็อปปิ้งหนังสือเก่าและ ได้ เจอ บันทึกรายวันของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งมี เรื่องที่น่าสนใจควรแก่การกล่าวถึงดังนี้:

๑. บันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ อพยพเจ้านายขึ้นรถไฟ โดยท่านชิ้นได้ส่งกำลัง ทหาร ๑ กองร้อยไป ยึดรถจักร และ รถโดยสาร ๔ หลัง จากโรงรถจักร วังก์พง เพื่ออพยพเจ้านายไปสงขลา ใช้เวลา ๓๐ ชั่วโมงเพราะ มีผู้ขัดขวางตลอดทาง ที่ผ่านมณฑลราชบุรี นับตั้่งแต่หัวหินถึงชุมพร คราวเกิดกบฎบวรเดช เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

๒. บันทึกการเสด็จฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาวงแหวนที่หัวหิน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการกล่าวถึงรถขบวนพิเศษที่กรมรถไฟจัดให้ 3 ขบวนเพื่อพานักท่องเที่ยวจาก กรุงเทพ มาชมสุริยุปราคาวงแหวน ที่หัวหิน

๓. บันทึกการเสด็จฯ ปักษ์ใต้ โดยทางเรือ จาก กรุงเทพ ไป สงขลา ระหว่างวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึง ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ สมัยที่บริษัทอิสต์เอเซียติก (EAC) ยังเดิืนเรือ วลัย และ เรือ มาลินี ขึ้นล่อง ระหว่าง กรุงเทพ - สิงคโปร์ โดยแวะจอด ที่ เกาะสีชัง สับพลี (สะพลี) ปากน้ำชุมพร ปากตะโก สวี บ้านดอน ปากพนัง สงขลา เพื่อ รับสิืนค้า เช่นข้าวหลายร้อยกระสอบ จาก ปากพนัง และ บ้านดอน ปลาสดแช่น้ำแข็งจะกสะพลีส่งกรุงเทพ ปลาแห้งจากสะพลีส่งสิงคโปร์ และ ปลาเค็มเป็นหีบ

ในการเที่ยวปักษ์ใต้นี้ มีการขึ้นรถไฟ จากหาดใหญ่ ไปนครศรีธรรมราช โดยไปเปลี่ยนรถที่เขาชุุมทอง และ ขึ้นรถจากนครศรีธรรมราช ไป เข้าชุมทอง เพื่อเปลี่ยน รถขบวน สงขลา - กันตัง เพื่อเข้่ากันตังได้

นอกจากนี้ไปชมเหมืองแร่ดีบุก ที่ ร่อนพิบูลย์ และ ที่ปัตตานี

งานนี้่ ขอ Comment หน่อยจะได้มีกำลังใจโพสต์ต่อนะ ครับ Embarassed Laughing



เรื่อง บันทึกรายวันของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ นี้คนจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยก็พูดถึงเหมือนกัน
https://www.youtube.com/watch?v=aY7s8mfMOx0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ร.๗ กษัตริย์พระองค์แรกเสด็จประพาสเชียงใหม่! เข้าเมืองด้วยขบวนช้าง ๘๐ ตัวเหมือนกองทัพ!!
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2564 09:39 ปรับปรุง: 29 ธ.ค. 2564 09:39 โดย: โรม บุนนาค

Click on the image for full size




วันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ รถไฟพระที่นั่งทำขบวนออกจากสถานีนครลำปาง ระหว่างทาง พระเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายภาพยนตร์ ทางตอนแม่ตาลน้อย-ขุนตาล ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้สนองพระราชประสงค์โดยการติดตั้ง พระที่นั่งชั่วคราวหน้ารถจักรสวิสคอนโซลิเดต ที่ทำขบวนรถพระที่นั่ง เพื่อให้พระองค์สามารถถ่ายภาพยนตร์โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง กรณีเช่นนี้ คนรถไฟทุกคนที่คุมรถพระที่นั่ง และ ตอนทางสะดวกสมัยยังใช้โทรเลข ต้องทำงานแบบ ถวายชีวิตเป็นราชพลี เพื่อให้พระองค์ทรงกล้องถ่ายภาพยนตร์บนหน้ารถจักรโดยปลอดภัย เมื่อเสด็จถึงสถานีเชียงใหม่ ได้ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้างจากพลับพลา เมื่อช้างเทียบเกย จึงเสด็จประทับช้างพระที่นั่งนำพระองค์เข้านครเชียงใหม่ก่อนเสด็จประทับแรมที่พลับพลาหน้าศาลาว่าการมณฑลพายัพ (ปัจจุบันเป็นบริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2022 9:18 am    Post subject: Reply with quote

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
14 ก.ย. 65 14:13 น.

รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ เลียบมณฑลพายัพ
----------------------------------
ตอนที่ 1 กษัตริย์พระองค์แรกเสด็จฯ มณฑลพายัพ

https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/407298088190717

ตอนที่ 2 เสด็จฯ เชียงใหม่ ลำพูน

https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/407399674847225
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2022 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

ตามรอยจอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จตรวจราชการมณฑลภาคอิสาณและมณฑลนครราชสีมา
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14:13 น.

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ขณะทรงดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรี (ที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7) และเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลภาคอิสาณและมณฑลนครราชสีมา มีเส้นทางการเดินทางจากนครราชสีมา ไปยังสุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็จ สกลนคร นครพนม ธาตุพนม หนองคาย เวียงจันทร์ อุดรธานี ขอนแก่น และบ้านพล (พื้นที่หนึ่งในจังหวัดขอนแก่น) แล้วจึงเสด็จกลับมายังนครราชสีมา ทรงใช้รถไฟและรถยนต์เป็นหลัก เมื่อเสด็จถึงหัวเมืองต่าง ๆ ได้ทรงตรวจเยี่ยมพื้นที่โดยรอบ ทรงมีพาหนะเป็นเรือบ้าง เครื่องบินบ้าง ใช้ระยะเวลาในการเดินทางทั้งสิ้น 15 วัน จนเมื่อเสด็จกลับถึงกรุงเทพมหานคร จึงได้ทูลเกล้า ฯ ถวายเอกสาร รายงานการตรวจราชการมลฑลภาคอิสาณและนครราชสีมา ส่วนว่าด้วยการเมืองและพรรณนาการทั่วไป ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469

ด้านการคมนาคมและเศรษฐกิจ จากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้เริ่มสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ – นครราชสีมา ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการจัดตั้งการขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทางอากาศและสายการบินระหว่างกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้มีการขยายรถไฟสายอิสาณจากนครราชสีมาถึงขอนแก่น และนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี เปลี่ยนผ่านมาสู่ต้นสมัยรัชกาลที่ 7 พัฒนาการด้านคมนาคมที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะเป็นผลให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทาง ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในพื้นที่ ดังปรากฎข้อความตอนหนึ่ง ในระหว่างเส้นทาง นครราชสีมา - สุรินทร์ ความว่า

“...เวลานี้รถไฟ ก็ได้เดินถึงสุรินทร์มาเป็นเวลายังไม่ถึงรอบปี แต่ความเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจแห่งพื้นที่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนพลเมืองแทบจะกลับตัวไม่ทัน ตลอดทางที่รถไฟเดินแล้ว ถ้าเป็นตำบลมีหมู่บ้านก็มียุ้งฉางตั้งระดะไป มีพ่อค้าขึ้นมาจากโคราชตั้งซื้อข้าวส่งลงไป ถึงการขนข้าวบรรทุกรถเวลากลางคืน มีบริษัทที่โคราชคอยทำการตั้งยุ้งฉางเช่นนี้คืบก้าวน่าออกไปโดยลำดับที่วางรางรถไฟ ถึงทำล่วงน่าไว้เพื่อได้เริ่มลงมือถ่ายสินค้าในทันทีที่รถไฟเดินถึงระยะนั้น...”

ทั้งยังปรากฎข้อความอีกตอนหนึ่ง ในระหว่างเส้นทาง ยโสธร - ร้อยเอ็จ ความว่า
“...การใช้เครื่องบินได้รับความนิยมมากขึ้นทุกทีอย่างน่าอรรศจรรย์ พ่อค้าชอบใช้เครื่องบินในเวลาลงไปกรุงเทพ ฯ ทางโคราช และเมื่อซื้อของที่กรุงเทพ ฯ แล้วส่งบรรทุกโดยทางเกวียน ตนเองโดยสารเครื่องบินล่วงหน้าไปก่อน ก็ไม่เสียเวลาที่จะทำการค้าขายไปพลางได้ แทนที่จะมัวเดินทางเกวียนอยู่ตั้ง 10 วัน ทั้งมีนิยมว่าในการที่จะถือเงินทองจำนวนมากไปมา ไปทางเครื่องบินเป็นที่ปลอดภัยดีกว่าไปทางเวียน มีข้อประหลาดอีกประการหนึ่งก็คือว่า ในภาคอิสาณนี้ ราษฎรรู้จักเครื่องบินก่อนรถยนต์ เพราะเครื่องบินได้ขึ้นมาสแดงตั้งแต่ พ.ศ. 2465 แล้วไม่ช้านักก็เดินอากาศไปรษณีย์ แต่รถยนตร์ถึงได้มีขึ้นมาเป็นครั้งแรกต่อใน พ.ศ. 2466...”
https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/448920757361783
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43767
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2024 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

กระบวนช้างพระที่นั่ง เสด็จเข้าเวียงเชียงใหม่
คอลัมนิสต์
พีรภัทร์ เกียรติภิญโญ
เผยแพร่ :วันเสาร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 12:30 น.
อัปเดตล่าสุด :วันเสาร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:51 น.


ขบวนช้างที่เข้าร่วมเสด็จในครั้งนั้นมีจำนวนถึง 84 เชือกจากเจ้านายและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งแต่ละช้างถูกแต่งเครื่องอย่างวิจิตรและสง่างาม การบังคับช้างในขบวนต้องอาศัยความชำนาญพิเศษในวิชาคชกรรม (การฝึกช้าง) เพื่อให้ขบวนเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย
ขบวนช้างเสด็จมีการเตรียมงานอย่างอลังการ ตั้งแต่การตกแต่งถนนหนทาง การตั้งซุ้มประตูทางเข้าหมายรับเสด็จ รวมไปถึงการแต่งตัวของข้าราชการและทหารที่เดินเรียงรายข้างทางอย่างประณีต เพื่อถวายความเคารพและสร้างความตระการตาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
พักนี้ท่านผู้อ่านกรุณาทักถามชวนคุย ว่านอกจากกระบวนเรือพยุหยาตราแล้ว มีกระบวนเสด็จตามอย่างโบราณราชประเพณีอย่างอื่นอีกบ้างไหมที่ให้ความรู้สึกเต็มตื้นอลังการอย่างว่าเห็นแล้วต้องตะลึงพึงเพลิด บังเกิดความประทับใจ อีทีนี้ด้วยเหตุที่ว่าขณะนี้ขึ้นมาทำฟัน_ทำทันตกรรมบูรณะฟันอยู่ที่ในเวียงเชียงใหม่ (หมอฟันเมืองนี้ท่านจริยาทำฟันเนิบช้าเเช่มช้อย_ช่วยให้คลายเจ็บได้มาก จำจะต้องเดินทางไกลมารักษาให้ถึงมือท่าน) ก็ให้นึกถึงว่า กระบวนอย่างพยุหยาตราเสด็จเลียบเมืองเชียงใหม่สมัยรัชกาลที่ ๗ นั้นน่ะซี จึงจะมีความอลังการงามงดโดนใจท่านผู้ถาม



ความอลังการงามงดนี้มาแต่ใด?

ก็ต้องขออนุญาตเรียนไปด้วยใจมิตรว่า ครั้งที่กรุงเทพพระมหานครมีขบวนเรือพยุหะยาตรา แต่ที่เชียงใหม่นี้นั้นกลับงามตาด้วยเปนขบวนเสด็จบนหลังช้าง!

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลนั้นท่านมิได้ทรงช้างเข้าเวียงเชียงใหม่อยู่แต่ลำพังพระองค์เดียว ขบวนช้างที่เจ้านายฝ่ายเหนือทั้งเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จัดมาถวายเข้ากระบวนพยุหยาตรามีมากถึง ๘๔ เชือก ถ้าเปรียบช้างเป็นเรือก็ต้องพูดว่ามีเรือมากถึง ๘๔ ลำ!

จดหมายเหตุระบุว่า จำนวนช้างเข้ากระบวนนี้ ช้างเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ ๑๔/ ช้างพระราชชายา(เจ้าดารารัศมี) ๔/ ช้างบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ๒๙/ ช้างบริษัทบอเนียว ๑๑/ ช้างบริษัทอิสท์เอเชียติ๊ก ฝรั่งเศส ๔/ ช้างของหลวง ๔/ ช้างพญาเด็กชาย ๒/ ช้างกงสุลอังกฤษ ๒/ ช้างเจ้าผู้ครองลำพูน ๑๒

รวมทั้งสิ้น ๘๔ ช้าง มีทั้งช้างพลาย ช้างพัง และช้างสีดอ (เครื่องเพศเปนพลายแต่งาออกแค่ขนายนิดหนึ่งเหมือนช้างพัง)และหากว่ากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคต้องอาศัยฝีมือของเหล่าทหารเรือฝีพาย นายท้ายกัปตันในการบังคับทิศทางเรือสู้กับกระแสน้ำเชี่ยวและเหตุไม่คาดฝันอย่างฝนฟ้าตกต้องนอกฤดูกาล พายุลมแรงพัดกระโชกผ่านแล้วไซร้ กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค อย่างขบวนช้างเสด็จเข้าเมืองเชียงใหม่นี้ประดาคชสารตัวพลายตัวพัง ซึ่งนำมาเข้ากระบวนถวายงานตามหน้าที่ ก็มีเรื่องให้ต้องลุ้นกับการบังคับทิศทางของสัตว์ใหญ่ไม่ให้ตื่นคนตื่นเสียงเดินแถวเข้ากระบวนกับเขา ให้ได้จังหวะเยื้องย่างเรียงกันบนความสวยงามตามแบบแผนกำหนด โดยต้องแฝงความปลอดภัยถึง ๑๐๐% ในทุกขั้นตอน เป็นอันว่าผู้ควบคุมช้างและผู้อำนวยการเดินทางจำจะต้องได้แสดงฝีมือสำคัญในวิชาช้าง (คชกรรม) ซึ่งสูญไปมากแล้วเมื่อเทียบกับปัจจุบันนี้ ให้ปรากฏลือนาม

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เจ็ดเสด็จพระราชดำเนินมาโดยทางรถไฟจากสถานีจิตรลดา ส่วนทางนครเชียงใหม่ตกแต่งถนนหนทางจากสถานีถึงที่ประทับ ทำซุ้มประตูขนาดใหญ่ด้วยศิลปะต่างๆรับเสด็จถึง ๑๐ ซุ้ม อาณาประชาราษฎรก็ประดับประดาบ้านเรือนโรงร้านสองข้างทางเสด็จด้วยธงชาติและผ้าขาวผ้าแดง มีแท่นเครื่องบูชามีพระสงฆ์สวดข้อมงคลคาถา ตามปะรำต่างๆหน้าวัด และประพรมน้ำพระพุทธมนต์เวลาเสด็จผ่านที่สถานีรถไฟ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ รอสวดถวายชัยมงคล ๒๐ รูป ต่อจากพระสงฆ์มีแถวทหารราบที่ ๘ เป็นกองเกียรติยศ และกองเสือป่ารักษาดินแดนพายัพ พร้อมด้วยศารทูลธวัชประจำกองเกียรติยศของทหาร เจ้านายข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน กงสุลชาวต่างประเทศเฉพาะที่เป็นหัวหน้าคณะและบริษัทพร้อมด้วยภรรยายืนเฝ้าตามลำดับเจ้านายผู้หญิงพื้นเมืองกับสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ที่เป็นหัวหน้าคอยเฝ้าที่ปะรำหน้าบ้านอธิบดีผู้พิพากษา พ่อค้าคฤหบดีที่เปนชาวสยามเฝ้าที่ปะรำข้างวัดต้นขวางและปะรำข้างศาลารัฐบาล คนในบังคับอังกฤษเฝ้าที่ปะรำประตูท่าแพ คนจีนเฝ้าที่ปะรำเจดีย์ควัน




ครั้นเมื่อจะเข้ากระบวนช้าง ก็พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพุทธเจ้าหลวงสมเด็จพระราชบิดา เสื้อสักหลาดแดง คอแขนดำปักดิ้นทองคำ พระมาลาสูงประดับขนจามรีสีดำทรงสะพายอันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงพระคฑาจอมทัพทองคำเสด็จขึ้นประทับช้างพลายสำคัญของเจ้านครเชียงใหม่ ซึ่งผูกกูบทองสายรัดประคน (สายเชือกแดงรัดกูบที่ประทับติดกับหางช้าง) ติดพระแสงของ้าว หอก ดาบ ที่กูบสำแดงพระบรมเดชานุภาพอย่างบูรพมหากษัตริย์แต่สมัยโบราณ

ที่นี้ว่าก่อนจะถึงช้างทรงนั้น มีริ้วกระบวนทหารเดินเท้าก่อน โดย พลโท หม่อมเจ้าอลงกฎ (ต่อมาคือกรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์) แม่ทัพน้อยที่ ๒ จัดกระบวน เบิกหน้าด้วยกำลังพล กรมบัญชาการกองพล กองบังคับการกรมทหารบกม้าพิษณุโลก เดินตอนเรียงพวก กองบังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๘พร้อมด้วยพาหนะเดินตาม ต่อด้วยแตรวงกรมทหารมหาดเล็ก กองบังคับการกรมทหารบกราบที่ ๘ แล้วกองทหารสัมภาระเดินเป็นตอนเรียงหมู่ ต่อด้วยกองเสนารักษ์

กองเสือป่ารักษาดินแดนพายัพ จึงจะต่อด้วย ช้างกลองนำ ผูกเครื่องเงินของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีปกตะพองหน้าและห้อยข้าง ผ้าปูหลังลายทองห้อยพู่หูจามรี คนขี่คอเป่าเขาควาย คนกลางตีกลอง คนท้ายช้างตีฆ้อง แต่งเสื้อกางเกงหมวกแดงขลิบเหลือง

ตามด้วย ช้างเชิญพระชัย(พระปฏิมาชัยวัฒน์/พระชัยหลังช้าง) ผูกเครื่องเงินมีปกตะพองห้อยข้างซองหางห้อยพู่จามรี ใช้กูบทองของเจ้าผู้ครองนครลำพูน ควาญช้าง คือ เจ้าน้อยสาย ณ ลำพูน นุ่งเกี้ยวสวมเสื้อเสื้อเยียระบับคาดสำรด (ผ้าคาดเอวแสดงบรรดาศักดิ์ของฝ่ายเหนือ) ใส่หมวกยอด ในกูบที่ประดิษฐานพระชัยเงินหลังช้าง มีเจ้าพนักงานภูษามาลานั่งประคองไป ควาญท้ายแต่งเสื้อกางเกงหมวกแดงขลิบเหลือง

ตามมาด้วย ช้างดั้ง ซึ่งก็เหมือนกับกรณีเรือดั้ง คือลักษณะเป็นพาหนะที่เพรียวและเคลื่อนที่เร็วอยู่บริเวณส่วนหน้าทำหน้าที่ป้องกันลาดตระเวน

ช้างดั้ง ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดง มีสายพานหน้าซองหางและรัดประคน ( เชือกนุ่มสำหรับโคนหาง) ผ้าปูหลังสีน้ำเงินขลิบแดง ควาญหัว/ท้ายใส่เสื้อกางเกงหมวกแดงขลิบเหลือง คนกลางช้างสวมเสื้อกางเกงเขียวหมวกแดง เขียนยันต์สะพายกระบี่ถือหอก

ต่อจากช้างดั้งก็คือช้างเขน ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงมีสายพานหน้าซองหางและรัดประคน ผูกกูบหวายเบาลงรักแต่งเครื่องอาวุธหอก ดาบ ทวนยาว โล่ปักธงรูปสัตว์ กลางช้างแต่งเครื่องอย่างเดียวกับช้างดั้ง แต่ถือแพนหางนกยูง ๒ มือ ส่งสัญญาณในการบัญชาการโจมตีหรือระวังป้องกันต่างๆของช้างขบวน ตามด้วย ช้างเจ้านายฝ่ายเหนือนำเสด็จ ช้างชุดนี้แต่งเครื่องห่มผ้าแดงมีสายพานหน้าซองหางและรัดประคน ปกตะพองหน้าผ้าแดงลายทอง

ผู้ทรงช้างเรียงจากท่านอาวุโสน้อยไปอาวุโสมาก ได้แก่ (๑) เจ้าวงศ์เกษม ณ ลำปาง บุตรเจ้าราชบุตร ผู้รั้งเจ้าผู้ครองนครลำปาง (๒) เจ้าอุตรการโกศล นครลำปาง (๓) เจ้าชัยสงคราม นครลำปาง (๔) เจ้าราชสัมพันธวงศ์ นครลำปาง (๕) เจ้าราชสัมพันธวงศ์ นครลำพูน (๖) เจ้าสุริยวงศ์ นครลำพูน (๗) เจ้าราชบุตร์ (วงษตวัน) นครเชียงใหม่ (๘) เจ้าชัยวรเชฐ นครเชียงใหม่ (๙) เจ้าราชภาคินัย (น้อยเมืองชื่น) นครเชียงใหม่ (๑๐) เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าแก้วมุงเมือง) นครเชียงใหม่ (๑๑) พล.ต.ต. เจ้าราชวงศ์ (เจ้าแก้วปราบเมรุ ) นครลำปาง (๑๒) พลตรี เจ้าจักร์คำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน (๑๓) พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

ตั้งแต่ช้างตัวต้นถึงช้างเจ้านายนำเสด็จตัวท้าย มีกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดเชียงใหม่ แต่งตัวนุ่งผ้าสีน้ำเงิน เดินเรียงคู่แซงทั้งสองข้างทาง มีพลเดินเท้าแต่งตัวสวมเสื้อขาวนุ่งผ้าสีน้ำเงิน ถืออาวุธหอกดาบง้าวทวน เดินแซงสองข้างทางในแถวกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็น ๔ สาย



ครั้นก่อนจะถึงช้างทรง มีช้างพังนำซึ่งเป็นช้างนำช้างพระที่นั่งผูกเครื่องหุ้มผ้าแดง มีสายพานหน้ารัดประคนซองหางมีตะกรุด ห้ออยพู่หูจามรี ผ้าปูหลังผ้าตาดปกตะพองผ้าแดงลายทอง ควาญช้าง คือ เจ้าน้อยปัญญาวงศ์ ณ เชียงใหม่ ควาญท้าย คือเจ้าน้อยสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่งตัวนุ่งผ้าเกี้ยวสวมเสื้อเยียระบับ คาดสำรดบรรดาศักดิ์หมวกทรงประพาสกำมะหยี่ดำขลิบทอง

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลุกจากเกย พันตำรวจเอกเจ้าไชยสงคราม (เจ้าน้อยสมพมิตร ณ เชียงใหม่) หมอช้างพระที่นั่งถวายบังคม ๓ ครั้ง พอประทับเรียบร้อยถวายบังคมอีก ๓ ครั้ง กราบบังคมทูลพระกรุณา ในการที่เจ้าพนักงานทอดพระแสงปืนสั้นไว้ข้างขวาที่ประทับพร้อมแล้ว

เมื่อช้างพระที่นั่งจะเริ่มเดินจากเกย หมอช้างกราบบังคมทูล ขอรับพระบรมราชานุญาตเคลื่อนขบวน หมอช้างพนมขอตลอดเวลาเดินทาง(พนมมือมีขอพาดกลางอยู่หว่างนิ้วโป้ง) ท้ายช้างถวายเครื่องสูง บังกั้นแดดลม

ตามด้วย ช้างสมเด็จพระบรมราชินีรำไพพรรณี ผูกเครื่องทองของเจ้าผู้ครองนครลำพูน มีปกตะพองห้อยพู่จามรีผูกกูบจำลองทอง ควาญช้าง คือ เจ้าน้อยพรหม ณ เชียงใหม่ ท้ายช้าง เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่งตัวอย่างเดียวกับช้างพระที่นั่งทรง

ตั้งแต่ช้างพังนำถึงช้างพระที่นั่งสมเด็จพระบรมราชินี ข้าราชการ ทหารพลเรือนแต่งตัวเต็มยศเดินเรียง ๒ แซงสองข้างทางแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ช้างพระที่นั่งทรงถึงช้างสมเด็จพระบรมราชินี มีทหารมหาดเล็กเดินแซงสายในทั้งสองข้างทางเป็น ๔ สาย จตุรงคบาท คือ ผู้อารักขาเท้าช้าง มีสมุหราชองครักษ์ แม่ทัพกองทัพน้อยที่ ๒ ราชองครักษ์ พระตํารวจหลวง มหาอำมาตย์ตรี พระยาวรวิไชยวณิกร เดินนำหน้าช้างพระที่นั่งทรงมหาอำมาตย์ตรี พระยาเพ็ชร์พิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดมณฑล เดินนำหน้าช้างพระที่นั่งสมเด็จพระบรมราชินีจึงตามด้วย ช้างเครื่อง ของมหาดเล็กเชิญเครื่อง ๒ นาย ผูกเครื่องห่มผ้าแดงกูบโถง

ฝ่ายในตามสมเด็จพระราชินีมี ช้างคุณท้าวสมศักดิ์ ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงใส่กูบประทุน,ช้างหม่อมหลวงคลอง ชัยยันต์ นางสนองพระโอษฐ์ ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงใส่กูบประทุน, ช้างหม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ เทวกุล ณ อยุธยา นางพระกำนัล ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงใส่กูบประทุน ปิดด้วย ช้างดั้งหลัง ๒ เชือก ผูกเครื่องและคนควาญ อย่างเดียวกับช้างดั้งหน้า

จึงตามด้วย ช้างทรงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ (Lord High Programme) ผูกเครื่องพานหน้าซองหางเงิน มีปกตะพองห้อยพู่จามรี ใส่กูบทองโถง, ช้างพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชร์อัครโยธินผูกเครื่องพานหน้าซองหางเงิน มีปกตะพองห้อยพู่จามรี ใส่กูบทองโถง เช่นกัน ต่อด้วย ช้างหม่อมเจ้าพีระพงศ์ (พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช) ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงกูบโถงทาแดง ตามด้วยช้างหม่อมเจ้าฉัตรมงคล ผูกเครื่องหุ้มผ้าแดงกุบโถงไม้ลาย, ช้างหม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ผูกเครื่องห่มผ้าแดงกูบโถงไม้ลาย

จากนั้นจึงเปนช้างฝ่ายในของฝ่ายเหนือ เริ่มจาก ช้างเจ้าส่วนบุญ ชายาเจ้าจักร์คำขจรศักดิ์ ผูกเครื่องพานหน้าซองหางทองเหลืองกูบประทุน, ข้างเจ้าเรณุวรรณา ชายาเจ้าบุรีรัตน์ เชียงใหม่ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าหล้า ชายาเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ลำพูนผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าบัวทิพย์ ชายาเจ้าราชภาคินัย เชียงใหม่ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าเรือนแก้ว ชายาเจ้าราชภาติกวงศ์ เชียงใหม่ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าจันทนา ชายาเจ้าประพันธ์พงศ์ เชียงใหม่ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าศิริประกาย ชายาเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน, ช้างเจ้าวรรณรา ณ ลำพูน บุตรีเจ้าจักจักร์คำขจรศักดิ์ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบประทุน

ตามด้วยช้างขุนนางสยาม ช้างพระยาบริหารราชมานพผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างพระยาอิศรพัลลภ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างพระยาไพชยนต์เทพ (ทองเจือ ทองเจือ) ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างพระยาอัคนีสราภัย ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างหลวงสิทธิ์นายเวร ผูกเครื่องทองเหลืองทุบโถง, ช้างพระสถลพิมาน ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างนายจ่ายวด ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างนายจ่าเรศ ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง, ช้างนายชิด หุ้มแพร ผูกเครื่องทองเหลืองกูบโถง

ตั้งแต่ช้างมหาดเล็กเชิญเครื่องถึงช้างตัวท้าย มีกำนันผู้ใหญ่บ้านเดินเรียง ๒ แซงสองข้างทางต่อจากข้าราชการอีกตอนหนึ่ง รวมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น ๘๐๐ คน!แล้วจึงแถวตำรวจภูธร เดินปิดกระบวนทางหลัง คอยกันเพื่อความเรียบร้อย พอกระบวนแห่ช้างถึงเจ้าพนักงานเชิญพระชัยลงจากช้างนำไปที่พัก ช้างเจ้านายพื้นเมืองที่นำเสด็จแวะเข้าเกยข้างศาลารัฐบาลด้านเหนือ เจ้านายลงจากคอช้างมาคอยเฝ้าหน้าพลับพลา

กระบวนหลวงไสช้างพระที่นั่งเข้าเทียบเกยท้ายพลับพลาด้านเหนือ หมอช้าง พระที่นั่งถวายบังคม ๓ ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จลงจากช้างพระที่นั่ง หมอช้างพระที่นั่งถวาย อีก ๓ ครั้ง เสด็จจากเกยขึ้นสู่พลับพลาทอง มีเจ้าผู้หญิงโปรยข้าวตอกดอกไม้ในขันทองคำนำเสด็จ เพื่อความสวัสดิมงคล คือ หม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดาในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน (พระมารดาคือเจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่) กับ เจ้าบุษบง ณ ลำปาง ธิดาเจ้าบุญวาทวงศ์มานิต โปรยนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่ บุตรีเจ้าราชบุตร กับ เจ้า
แววดาว บุตรีเจ้าราชวงศ์โปรยนำเสด็จสมเด็จพระบรมราชินี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ประทับพระเก้าอี้บนพลับพลาทองทอดพระเนตรกระบวนแห่ ช้างกระบวนหลังเริ่มเดินผ่านถวายตัว เมื่อเดินผ่านหน้าพลับพลาแล้วไปเลี้ยวเข้าเกยข้างศาลารัฐบาลทิศเหนือ เจ้านายข้าราชการลงจากช้างมาเฝ้าที่หน้าพลับพลาพอสุดกระบวนแล้ว โปรดพระราชทานเครื่องราชสักการะ มอบข้าราชการ ๕ นายเชิญไปบูชาปูชนียสถาน ตามพระอารามที่มีมงคลนาม ตามประเพณีโบราณของเมืองเชียงใหม่ รวม ๕ แห่งคือ วัดเชียงมั่น วัดเชียงยืน วัดชัยมงคล วัดศรีเกิด วัดศรีบุญเรือง เสร็จแล้ว เสด็จขึ้นประทับบนศาลารัฐบาลมณฑลซึ่งจัดเป็นที่ประทับแรม ฯ

เครดิตภาพ Digital Librories -Gallica / Bibliotheque nationale de France) , หอภาพยนต์แห่งชาติ และสถาบันพระปกเกล้า
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
Page 10 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©