View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 18/06/2024 11:24 am Post subject:
รมช.คมนาคมยัน "สีเหลือง" ปลอดภัย เพิ่มความถี่เช็กจุดเสี่ยง เปลี่ยนรางใหม่ค่าซ่อมกว่า 170 ล้านบาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:44 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:19 น.
รมช.คมนาคม ทดลองสายสีเหลืองเรียกเชื่อมั่นประชาชน ยันซ่อมเสร็จแล้วปลอดภัย สั่งเพิ่มความถี่และตรวจเช็กจุดเสี่ยงทุกอาทิตย์ เพิ่มกล้องตรวจสอบระบบล้อทำงานร่วม AI แบบเตือนก่อนเสีย ย้ำไม่ได้มาชี้ใครผิดใครถูก รฟม.มีหน้าที่กำกับและบังคับตามสัญญาทุกตัวอักษร เผยยอมเปลี่ยนรางใหม่ ค่าซ่อมรวมกว่า 170 ล้านบาท
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน ลงพื้นที่ตรวจสอบรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (MRT สายสีเหลือง) เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ที่กลับมาให้บริการตามปกติ โดยเดินรถได้สองฝั่งครบทั้ง 23 สถานี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2567 และได้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง เพื่อตรวจเส้นทางจากสถานีหัวหมาก (YL11) ไปยังสถานีศรีเอี่ยม (YL17) พบว่าการเดินรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสามารถให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยได้
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ติดตามความคืบหน้าในการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชิ้นส่วนตัวยึดรางร่วงหล่นลงบนถนนศรีนครินทร์ ช่วงสถานีกลันตันถึงสถานีศรีอุดม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้สั่งการให้ รฟม.กำกับผู้รับสัมปทานเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงเส้นทางให้คืนสภาพสมบูรณ์และปลอดภัย ซึ่งการตรวจสอบทุกอย่างเป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัย ล่าสุดได้ผ่านการับรองจนสามารถเปิดให้บริการเดินรถได้ตามปกติแล้ว
รฟม.ได้รายงานว่าผู้รับสัมปทานได้ซ่อมแก้ไข และมีมาตรการ เช่น เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบอุปกรณ์รอยต่อและรางจ่ายไฟที่ติดยึดกับทางวิ่งตามคู่มือซ่อมบำรุงลงจากทุกรอบ 6 เดือน เป็นทุก 2 เดือน และในจุดที่เฝ้าระวังพิเศษจะมีการตรวจสอบทุก 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งระบบป้องกันเพิ่มเติม ด้วยการติดตั้งกล้อง image processing ร่วมกับ AI เพื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับความผิดปกติของล้อและราง สามารถแจ้งเตือนมายังศูนย์ควบคุมได้ทันการณ์ เพิ่มเติมจากระบบรถตรวจการณ์ตามปกติ ซึ่งจะติดที่บริเวณล้อ ของทั้งสายสีเหลืองและสายสีชมพู ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเสียหาย ลดเวลาการซ่อมแซม เป็นการเพิ่มเติมระบบป้องกันล่วงหน้า จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนที่ใช้บริการ และผู้ที่สัญจรตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้นทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ และมีการป้องกันที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงในระยะยาว
วันนี้ไม่ได้บอกว่าใครผิดใครถูก รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นโมโนเรลสายแรกของไทยที่เพิ่งเปิดให้บริการเดินรถ เหตุที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง เป็นประสบการณ์ที่ทั้ง รฟม. และผู้รับสัมปทานต้องสั่งสมความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเดินรถด้วยมาตรฐานที่ดี ซึ่งเหตุแต่ละครั้งจะเป็น KPI ของกระทรวงคมนาคม กรมราง และรฟม.จะต้องไปดูว่าหากเกิดซ้ำอีกถือว่าบกพร่อง ตอนนี้ได้พยายามหาจุดในระบบที่จะไม่ปลอดภัยและป้องกันแก้ไขล่วงหน้าและศึกษาแบบอย่างจากต่างประเทศ และปิดจุดเสี่ยงโอกาสที่จะเกิดเหตุ ผมในฐานะรัฐมนตรีก็มาทดลองเพื่อให้ประชาชนมั่นใจระบบกลับมาปกติและมีระบบป้องกันเพิ่มขึ้น
นายสุรพงษ์กล่าวถึงการลงโทษผู้ให้บริการกรณีเกิดอุบัติเหตุว่า รฟม.ในฐานะผู้กำกับและบังคับใช้สัญญาก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร ตนเองไปก้าวล่วงในสัญญาไม่ได้ ทุกคนต้องปฏิบัติตามทุกตัวอักษรที่เขียนในสัญญาอยู่แล้ว
นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟม. กล่าวรายงานการดำเนินการซ่อมบำรุงเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ช่วงสถานีกลันตัน (YL12)-สถานีสวนหลวง ร.๙ (YL15) โดยผู้รับสัมปทานได้ทำการรื้อถอนรางจ่ายกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์ยึดจับรางฯ ที่เสียหายออกจากระบบ เปลี่ยนแผ่นเชื่อมคานทางวิ่ง (Finger Type Expansion Joint) ที่ชำรุด ณ จุดเกิดเหตุเป็นชุดใหม่ และนำรางจ่ายกระแสไฟฟ้าชุดใหม่ขึ้นติดตั้งแทนของเดิม จากนั้น รฟม.ได้ร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ติดตามการทดสอบระบบต่างๆ และตรวจประเมินความพร้อมของระบบ ก่อนที่ผู้รับสัมปทานจะกลับมาเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ตามปกติครบทั้ง 23 สถานี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา
โดยรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง เปิดให้บริการระหว่างเวลา 06.00-00.00 น. ด้วยความถี่ทุก 10 นาทีต่อขบวน นอกช่วงเวลาเร่งด่วน และความถี่ทุก 5 นาทีต่อขบวน ในช่วงเวลาเร่งด่วน (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.00-09.00 น. และเวลา 17.00-20.00 น.) และหลังจากนี้ รฟม.จะติดตามคุณภาพในการให้บริการและความเชื่อมั่นในการใช้บริการของผู้โดยสารต่อไป ทั้งนี้ รฟม.ยังได้กำชับผู้รับสัมปทานปรับปรุงคู่มือซ่อมบำรุงให้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ และอยู่ในสภาวะที่พร้อมสำหรับการให้บริการเดินรถแก่ประชาชน
@EBM เผยผู้โดยสารลดเหลือ 3 หมื่นกว่าคน/วัน
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กล่าวว่า หลังเกิดเหตุทำให้ต้องปรับลดความถี่การให้บริการ ส่งผลให้ผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยประมาณ 3 หมื่นกว่าคน/วัน จากก่อนหน้ามีกว่า 4 หมื่นคน/วัน ขณะที่เป้าของสายสีเหลืองประเมินว่าจะมีผู้โดยสารที่ 2 แสนคน/วัน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
ส่วนสายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) ปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 6 หมื่นคน/วัน เคยสูงสุดที่ 7 หมื่นคน /วัน โดยเป้าผู้โดยสารสายนี้ คือ 2 แสนคน/วันเช่นกัน โดยปี 2568 จะเปิดส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ก็คาดหมายว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มอีก 3-4 หมื่นคน/วัน
ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่ง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทาน ผู้โดยสารก็ยังไม่กลับมาเท่าเดิม โดยมีเฉลี่ย 6 แสนคน/วัน หรือประมาณ 80% ของจำนวนก่อนเกิดโควิด (มีประมาณ 7 แสนคน/วัน) ปัจจัยที่ทำให้ไม่เพิ่มเท่าเดิมเพราะพฤติกรรมการเดินทาง การทำงาน ที่ปรับเปลี่ยนไป สามารถประชุมออนไลน์ได้ ทำงานที่บ้าน ส่วนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจีนก็ยังไม่กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งเห็นว่าการจัดระบบฟีดเดอร์เข้าสู่รถไฟฟ้าได้สะดวกจะกระตุ้นการเดินทางด้วยระบบรางให้เพิ่มขึ้นได้
@ย้ำสัญญากำหนด KPI คุมมาตรฐานการทำงาน
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในสัญญามีระบุถึงมาตรฐานการให้บริการเป็น KPI กรณีเกิดเหตุหรือไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในสัญญา รฟม.จะประเมินการทำงานเป็นรายปี หากไม่ผ่านเกณฑ์ KPI ก็จะหักเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่รัฐต้องจ่ายตามสัญญาร่วมทุน 5% ซึ่งสายสีเหลืองวงเงินอดหนุน 25,050 ล้านบาท แบ่งจ่าย 10 ปีเฉลี่ยปีละ 2,505 ล้านบาท หรือหักประมาณ 125 ล้านบาท ซึ่งบริษัท มีหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยและรฟม.ต้องตรวจรับรอง หากผ่านเกณฑ์ก็คืนเงินจำนวนนั้นให้บริษัท ซึ่งสายสีชมพู รัฐอุดหนุนปีละ 2,500 ล้านบาท เงื่อนไขสัญญาเหมือนกัน
ทั้งนี้ KPI จะกำหนดมาตรฐานการทำงานไว้หลายระดับ การหักเงินอุดหนุนเป็นระดับหนึ่ง กรณีที่ผิดพลาดมากโทษสูงสุดคือ บอกเลิกสัญญา
@ค่าซ่อมกว่า 170 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า จากเหตุอุปกรณ์ยึดรางนำไฟฟ้าเคลื่อนหลุดไปกระแทกรางนำไฟฟ้าหลุดตกลงมาค้างบนทางเดินฉุกเฉิน และมีชิ้นส่วนร่วงลงสู่พื้นด้านล่างถนนนั้น EBM ตัดสินใจเปลี่ยนรางช่วงสถานีกลันตันถึงสถานีศรีอุดม ระยะทางกว่า 5 กม.ใหม่ทั้งหมด รวมถึงตรวจสอบรอยต่อคานทางวิ่ง (expansion joint) ทั้งโครงการ และตรวจเช็กมาร์กหัวนอต เพื่อสังเกตการคลายตัวของนอต การเคาะแผ่นต่อเชื่อมคานทางวิ่ง (finger plate) ซึ่งมูลค่าซ่อมบำรุงประมาณ 170-180 ล้านบาท โดยยังอยู่ในระยะประกันของบริษัท อัลสตอม และมีบางส่วนที่บริษัทต้องรับผิดชอบเอง
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 03/07/2024 10:58 am Post subject:
💛วันนี้ ครบรอบ 1 ปี การเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว - สำโรง เต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้า Monorail สายแรกของประเทศไทย
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/794780632840165
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 09/08/2024 12:45 pm Post subject:
เตรียมเปลี่ยนชุดล้อใหม่!รถไฟฟ้าเหลือง-ชมพู อัลสตรอมออกแบบเพิ่มล็อค 2 ชั้นป้องกันหลุดซ้ำ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:11 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:34 น.
รถไฟฟ้าชมพู-เหลืองเตรียมเปลี่ยนชุดล้อใหม่ทั้งหมด หลังอัสตรอมออกแบบใหม่เพิ่มระบบล็อค 2 ชั้น หลังเกิดเหตุล้อประคองร่วง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มั่นใจแก้ปัญหาตรงจุด ป้องกันเกิดซ้ำ ล่าสุดทดสอบในโรงงานเสร็จแล้ว ส.ค.นี้ เตรียมนำร่อง ลุยทดสอบเส้นทางจริง
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) ในฐานะกรรมการ บจ.อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (EBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (MRT สายสีเหลือง) ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และ ก บจ. นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (NBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เปิดเผยว่า หลังจากที่ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเกิดล้อประคอง (Guide Wheel) หลุด เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2567 ซึ่งปัจจุบัน EBM และบริษัท อัลสตอม ประเทศไทย (Alstom Thailand) ผู้ผลิตได้ดำเนินการซ่อมบำรุง และเปลี่ยนชุดล้อประคองที่ผลิตในล็อตเดียวกับขบวนที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมดแล้ว ซึ่งหลังเปลี่ยนการใช้งานก็มีความมั่นใจมากขึ้นแล้ว โดยมีการเพิ่มความถี่ในการตรวจเช็ค ตรวจสอบอุปกรณ์ ตามที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เข้ามากำกับดูแล
ทั้งนี้ จากเหตุล้อประคองรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหลุด ทางบริษัท อัลสตอม ผู้ผลิต จึงได้มีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยได้มีการออกแบบชุดล้อใหม่ ให้มีตัวล็อกเพิ่มขึ้นอีกชั้น ดังนั้นหากเกิดอุปกรณ์ยึดหลุดในชั้นแรก จะมีตัวล็อกอีกชั้นทำให้ล้อไม่หลุดร่วงลงมา รวมถึงเปลี่ยนวัสดุเป็นสแตนเลสอีกด้วย ทำให้การบริหารจัดการและการดูแลสะดวกมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้ได้มีการทดสอบเรียบร้อยแล้วที่โรงงานผลิต หลังจากนี้ ทางอัลสตรอมฯ จะเริ่มนำล้อชุดใหม่เข้ามาเปลี่ยนนำร่อง 1 ขบวนก่อน คาดว่าจะเริ่มทดสอบได้ในเดือน ส.ค. 2567 นี้ และเมื่อทดสอบจนมั่นใจแล้ว จะเริ่มทยอยเปลี่ยนล้อของสายสีเหลืองและสีชมพูเป็นชุดล้อใหม่ทั้งหมด
การปรับเปลี่ยนล้อชุดใหม่นี้ อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่จะเข้ามาดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาเปลี่ยนระยะหนึ่ง เพราะจะต้องทยอยเปลี่ยน สลับขบวนรถที่วิ่งให้บริการ ส่วนล้อชุดเดิมนั้น ยอมรับว่า การผลิตเป็นช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ไม่สามารถเดินทางไปตรวจสอบได้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การผลิตอาจจะมีปัญหาคุณภาพบ้างนายสุรพงษ์ กล่าว
สำหรับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลืองและสีชมพูนั้น จะมีล้อหลักและล้อประคอง โดยล้อที่เกิดหลุดและหล่นลงมานั้น เป็นล้อประคองที่ช่วยทำให้รถวิ่งไปได้มั่นคง ซึ่ง 1 ขบวนจะมีจำนวน 48 ล้อ ซึ่งล้อประคองนี้ จะอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 24 ล้อ ) ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีจำนวน 30 ขบวน รถไฟฟ้าสายสีชมพูมี 30 ขบวน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 27/08/2024 1:27 pm Post subject:
สุดคุ้ม!สายสีเหลือง ออกโปรฯตั๋วรายเดือน นักเรียนเริ่มต้น 20 บาทต่อเที่ยว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:57 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:57 น.
รถไฟฟ้า สายสีเหลือง จัดโปรฯ ตั๋วรายเดือน ถูกสุด 20 บาทต่อเที่ยว เริ่ม 1 ก.ย.นี้
วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:09 น..
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จัดโปรฯ ตั๋วรายเดือน นักเรียน-นักศึกษา ถูกสุด 20 บาทต่อเที่ยว บุคคลทั่วไป 25 บาทต่อเที่ยว พร้อมขยายโปรโมชั่นรายสัปดาห์ เริ่มจำหน่าย 1 ก.ย.-31 ธ.ค.67 พิเศษสุด ซื้อผ่านแอปแรบบิทรีวอร์ดส ได้รับคูปองส่วนลดจากร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ...
ตั๋วสายเหลืองราคาพิเศษ มีผลแต่วันที่ 1 กันยายน - 31 ธันวาคม 2567
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ออกโปรตั๋วรายเดือน พร้อมราคาพิเศษ สำหรับนักเรียนเริ่มต้น 20 บาทต่อเที่ยวคุ้มค่ามากขึ้น! สำหรับผู้ซื้อแพ็กเกจผ่านแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส จะได้รับคูปองส่วนลดพิเศษ
บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) เปิดตัวโปรโมชันใหม่ แพ็กเกจเที่ยวเดินทางรายเดือน และแพ็กเกจราคาพิเศษสำหรับนักเรียน - นักศึกษา ให้เลือกใช้ตามไลฟ์สไตล์ พร้อมขยายโปรโมชันรายสัปดาห์ สามารถซื้อแพ็กเกจได้ 2 ช่องทาง คือ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ทุกสถานี และแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส (Rabbit Rewards) เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 31 ธันวาคม 2567 โดยมีรายละเอียดของแพ็กเกจดังนี้
แพ็กเกจรายเดือน
ประเภท 35 เที่ยว
บุคคลทั่วไป ราคา 875 บาท (เฉลี่ย 25 บาท / เที่ยว)
นักเรียน นักศึกษา ราคา 700 บาท (เฉลี่ย 20 บาท / เที่ยว)
ประเภท 25 เที่ยว
บุคคลทั่วไป ราคา 700 บาท (เฉลี่ย 28 บาท / เที่ยว)
นักเรียน นักศึกษา ราคา 575 บาท (เฉลี่ย 23 บาท / เที่ยว)
ประเภท 15 เที่ยว
บุคคลทั่วไป ราคา 450 บาท (เฉลี่ย 30 บาท / เที่ยว)
นักเรียน นักศึกษา ราคา 375 บาท (เฉลี่ย 25 บาท / เที่ยว)
แพ็กเกจรายสัปดาห์
ประเภท 10 เที่ยว
บุคคลทั่วไป ราคา 250 บาท (เฉลี่ย 25 บาท / เที่ยว)
นักเรียน นักศึกษา ราคา 200 บาท (เฉลี่ย 20 บาท / เที่ยว)
คุ้มค่ามากขึ้น! สำหรับผู้ซื้อแพ็กเกจผ่านแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส จะได้รับคูปองส่วนลดพิเศษมากมาย* จากร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ และแพ็กเกจนี้จะใช้เดินทางได้ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง 23 สถานี (สถานีลาดพร้าว-สำโรง) เท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง MRT Yellow Line Call Center โทรศัพท์ 0 2 - 617- 6111 Line Official : @pinkyellowline เว็บไซต์ www.ebm.co.th หรือ Facebook Page : MRTYellowLine หรือเช็กสถานะการเดินรถได้ที่ Application The SKYTRAINs
https://www.dailynews.co.th/news/3794917/
https://mgronline.com/business/detail/9670000078674
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 09/10/2024 11:09 am Post subject:
รถไฟฟ้า "เหลือง-ชมพู" ออกแบบใหม่ "ล้อ-รางจ่ายไฟ" จ่อเปลี่ยนยกชุดเพิ่มระบบล็อกกันหลุดซ้ำ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:43 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:57 น.
ปรับปรุงระบบล้อและรางจ่ายไฟฟ้า: จะเปลี่ยนยกชุด
ดีไซน์ใหม่เพิ่มระบบล็อค 2 ชั้น: เตือนก่อนล้อหลุดจากราง
ทดสอบขบวนจริง: เริ่มทยอยเปลี่ยนต้นปี 2568
ปรับปรุงรางจ่ายไฟ: ช่วงต่อสั้นลง ลดผลกระทบ
รถไฟฟ้า "เหลือง-ชมพู" ออกแบบใหม่ ล้อประคองและรางจ่ายไฟฟ้า เตรียมเปลี่ยนยกชุด อัสตรอม ดีไซน์เพิ่มระบบล็อก 2 ชั้นเตือนก่อนหลุด เตรียมทดสอบขบวนจริงเริ่มทยอยเปลี่ยนต้นปี 68 ส่วนรางจ่ายไฟปรับตัดระยะให้สั้นป้องกันหากถูกเกี่ยวหลุดจะไม่กระทบทางยาวเกินไป
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) ในฐานะกรรมการ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และบริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุล้อประคองรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหลุด และเหตุรางนำไฟฟ้า (Conductor rail) ที่เป็นรางจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับรถไฟฟ้าสายสีชมพูหลุดร่วง บริษัทได้มีการหารือร่วมกับ บริษัท อัลสตอม ประเทศไทย (Alstom Thailand) เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว และได้มีการออกแบบล้อประคองและรางจ่ายไฟฟ้าใหม่ พร้อมเตรียมแผนทดสอบและทยอยปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้โดยสาร
ในส่วนของล้อประคองนั้น บริษัท อัลสตอม ผู้ผลิต ได้มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยมีการออกแบบชุดล้อใหม่ให้มีตัวล็อกเพิ่มขึ้นอีกชั้น และผ่านการทดสอบที่โรงงานผลิตแล้ว ขณะนี้ได้นำล้อประคองชุดใหม่เข้ามาเพื่อดำเนินการทดสอบกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 1 ขบวน และสีชมพู 1 ขบวนก่อน เพื่อการเก็บข้อมูลไประยะหนึ่ง คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หากผลออกมาเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยครบถ้วนแล้วจะเริ่มทยอยเปลี่ยนล้อประคองชุดใหม่นี้ตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป โดยจะเปลี่ยนรถไฟฟ้าสายสีชมพู จำนวน 42 ขบวน และสายสีเหลืองจำนวน 30 ขบวน ครบหมดภายในปี 2568
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพูจะเป็นโครงการแรกที่ใช้ล้อแบบใหม่ของอัลสตอมที่มีระบบล็อก 2 ชั้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวอยู่ในระยะความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่จะเข้ามาดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และเนื่องจากระบบโมโนเรลยังถือเป็นของใหม่ของไทย บริษัทจึงได้จ้างอัลสตอมให้เป็นผู้ซ่อมบำรุงต่อไป ซึ่งจะดูแลเรื่องการสต๊อกอะไหล่ด้วย นายสุรพงษ์กล่าว
ขณะที่ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังคงใช้ล้อประคองแบบเดิม แต่ได้ดำเนินการซ่อมบำรุงและเปลี่ยนชุดล้อประคองที่ผลิตในล็อตเดียวกับขบวนที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมดแล้วซึ่งหลังเปลี่ยนการใช้งานก็มีความมั่นใจมากขึ้นแล้ว โดยมีการเพิ่มความถี่ในการตรวจเช็ก ตรวจสอบอุปกรณ์ ตามที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เข้ามากำกับดูแล ซึ่งยังไม่พบปัญหาใดๆ
@ออกแบบรางจ่ายไฟฟ้าใหม่ เตรียมเปลี่ยนด้วย
ส่วนรางจ่ายไฟฟ้านั้น นายสุรพงษ์กล่าวว่า มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนใหม่เช่นกัน ซึ่งทางอัลสตรอมได้มีการออกแบบใหม่แล้ว จากเดิมที่เป็นรางจ่ายไฟฟ้าความยาวต่อเนื่อง 5-6 กม. จะปรับให้สั้นลง ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์และประเมินผลข้อดี ข้อเสีย รวมถึงค่าใช้จ่าย
กรณีรางจ่ายไฟฟ้า การออกแบบเดิมจะให้รางจ่ายไฟฟ้ามีความยาวมากที่สุดโดยเฉพาะทางตรงเพื่อลดรอยต่อเชื่อมน้อย แต่เมื่อมีปัญหาเกิดการเกี่ยวรั้งรางจะหลุดออกมาตลอดแนวหลาย กม.ทำให้มีผลกระทบต่อการเดินรถ ส่วนการปรับระยะรางให้สั้นลงอาจทำให้มีรอยต่อเชื่อมเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มการดูแลซ่อมบำรุงมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ทางอัลสตอมอยู่ระหว่างประเมินและวิเคราะห์ ทางเราอยากเปลี่ยนใหม่แต่ทางผู้ผลิตต้องสรุปข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายอีกครั้ง
@ผู้โดยสาร "ชมพู" เฉลี่ยกว่า 7 หมื่นคน/วัน คาดเปิดต่อเข้าเมืองทองฯ อัปอีกหลายหมื่นคน
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 7 หมื่นคน/วัน แนวโน้มถือว่าดีขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าเมื่อเปิดให้บริการส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีช่วงกลางปี 2568 ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอีกหลายหมื่นคน และหากมีกิจกรรมงานในเมืองทองธานีจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นไปอีก ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ผู้โดยสารเฉลี่ย 4-5 หมื่นคน/วัน แนวโน้มการเติบโตไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมผู้โดยสารสายสีเหลืองและสีชมพูยังถือว่าต่ำกว่าคาดการณ์ที่ประเมินไว้กว่า 1 แสนคน/วัน และต่ำกว่าผลการศึกษาที่ รฟม.คาดไว้กว่า 2 แสนคน/วัน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงานที่เปลี่ยนไปหลังเกิดโควิด รวมถึงปัญหารถติดที่ลดลง เช่น ถนนลาดพร้าว มีสะพานข้ามแยกเป็นต้น
https://mgronline.com/business/detail/9670000097163
รถไฟฟ้าโมโนเรลสีเหลือง-ชมพูเริ่มเปลี่ยนชุดล้อใหม่
*ยกเครื่องทั้ง3,456ล้อ72ขบวนทดลองก่อน2ขบวน
*อัลสตอมผู้ผลิตออกแบบตัวล็อก 2ชั้นกันร่วงตกพื้น
ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ว่าผู้โดยสารจะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนคนต่อวัน
โดยสายสีเหลืองผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 4-5 หมื่นคนต่อวัน เคยทำสถิติผู้โดยสารสูงสุดอยู่ที่ 9.2 หมื่นคนต่อวัน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.66 ช่วงทดลองเปิดบริการฟรีส่วนสายสีชมพู ผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 6-7 หมื่นคนต่อวัน เคยทำสถิติผู้โดยสารสูงสุดอยู่ที่ 1.07 แสนคนต่อวัน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.66ช่วงทดลองเปิดบริการฟรี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1080996733477560
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 22/10/2024 6:50 pm Post subject:
ลุยแก้ทุกสาเหตุ สายสีเหลือง ล้อหลุด ติดนอตเพิ่มล็อก 2 ชั้น-ตรวจวัดอุณหภูมิ
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:02 น.
เปิดสาเหตุล้อโมโนเรลสายสีเหลืองหลุด ชี้มีหลายปัจจัยที่มีความเป็นไปได้ ความร้อนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ เร่งแก้ทุกจุด ปรับชุดล้อประคองใหม่ทั้งหมด ติดนอตยึดเพิ่ม 6 ตัว มั่นใจล้อไม่มีหลุด พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ หากร้อนเกิน 60-80 องศาเซลเซียส แจ้งเตือนไปศูนย์ควบคุมฯ หยุดเดินรถตรวจเช็กทันที คาดสัปดาห์นี้ติดตั้งครบ 2 ขบวน ลุยเทสต์ 3 เดือน ก่อนเปลี่ยนให้ครบ 3,456 ล้อภายในปีหน้า
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์ รายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นำคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชน นำโดยนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ รฟม. เยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตรถไฟฟ้าโมโนเรลบริษัท PATS หรือ CRRC Puzhen Alstom Transportation Systems Limited ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองอู๋หู มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยโรงงานแห่งนี้ได้ผลิตรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และสายสีทองที่ให้บริการในประเทศไทย
นายสาโรจน์ กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้นอกจากจะเยี่ยมชมกระบวนการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว ยังได้มาติดตามการออกแบบล้อโมโนเรลชุดใหม่ เป็นแบบล็อกสองชั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาภายหลังจากเกิดเหตุล้อประคองรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหลุดร่วงลงมาใส่รถแท็กซี่ที่วิ่งอยู่บนถนน เมื่อต้นปี 67 เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจในการใช้บริการให้ผู้โดยสาร โดยจะมีการเปลี่ยนล้อรถใหม่ทั้งหมด ทั้งสายสีเหลือง และสายสีชมพู รวม 72 ขบวน ขบวนละ 48 ล้อ รวม 3,456 ล้อ
ด้านนายณัฐภัทริ์ อุณหคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ รฟม. กล่าวว่า ภายหลังจากเกิดเหตุ รฟม. และบริษัทอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รวมถึงบริษัท อัลสตอม ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ได้ร่วมกันหาสาเหตุ และแก้ไขปัญหา ซึ่งเบื้องต้นบริษัท อัลสตอม แจ้งว่า สาเหตุมีข้อสันนิษฐานจากหลายปัจจัยที่มีความเป็นไปได้ จึงได้พยายามแก้ไขจุดที่ตรวจพบ และคาดการณ์ว่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา อาทิ ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของตลับลูกปืนภายใน และดุมล้อ หรือชนิดของวัสดุเมื่อเกิดความร้อนทำให้วัสดุชิ้นส่วนเคลื่อนตัว จึงคาดว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ล้อหลุดร่วงลงมาได้
นายณัฐภัทริ์ กล่าวต่อว่า อัลสตอมจึงได้แก้ปัญหาด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิแบบอิเล็กทรอนิกส์บนฝาครอบของชุดล้อประครอง (Guide wheel end cap) โดยจะเชื่อมต่อกับระบบควบคุมจัดการภายในขบวนรถ (TMS- Train Management System) เพื่อช่วยแจ้งเตือนหากมีอุณหภูมิภายในชุดล้อประคองเกินเกณฑ์ที่ตั้งค่าไว้ประมาณ 60 องศาเซลเซียส หากเกินจากนี้จะแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมฯ และหยุดเดินรถนำรถเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง เพื่อตรวจสอบทันที นอกจากนี้จะติดนอตยึดล็อกเพิ่มอีก 6 จุด บนฝาครอบของชุดล้อประคอง เพื่อกันหลุดร่วงลงมา จากเดิมไม่มี ดังนั้นมั่นใจได้ว่าจะไม่มีล้อหลุดร่วงลงมาอีก
นายณัฐภัทริ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้อัลสตอมได้ขนส่งล้อชุดใหม่จากประเทศจีนมาถึงประเทศไทยสำหรับการติดตั้ง 2 ขบวนก่อน แบ่งเป็น สายสีเหลือง 1 ขบวน และสายสีชมพู 1 ขบวน โดยได้เริ่มติดตั้งในสายสีชมพูแล้ว และอยู่ระหว่างติดตั้งสายสีเหลือง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะทดสอบการใช้งานจริงประมาณ 3 เดือนหรือประมาณกลางเดือน ม.ค.68 และจะถูกถอดล้อออกมาตรวจสอบด้านใน หากทุกอย่างไม่มีปัญหาใดก็จะเริ่มเปลี่ยนล้อใหม่ทุกคันประมาณเดือน ก.พ.68 และจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6-9 เดือนจึงจะแล้วเสร็จทั้งหมด....
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3999996/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/11/2024 2:58 pm Post subject:
บุกโรงงานผลิต รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สีชมพู
ประชาชาติธุรกิจ
Nov 19, 2024 #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #รถไฟฟ้าสายสีเหลือง #รฟม
https://www.youtube.com/watch?v=FjnsSbZOfdk
บุกโรงงานผลิตและประกอบรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง และสายสีชมพู ที่เมืองอู๋หู (Wuhu) มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน
.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งสร้างความเชื่อมั่น หลังเกิดปัญหาในการให้บริการ โดยเฉพาะสายสีเหลืองที่เคยเกิดเหตุล้อประคองหลุด
.
โดยปัจจุบัน ได้นำล้อประคองแบบใหม่มาทดสอบที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2568 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ผู้รับสัมปทานและซัพพลายเออร์เป็นผู้รับผิดเชอบ รัฐไม่เสียผลประโยชน์
Back to top