Rotfaithai.Com :: View topic - EEC เชื่อมโลกให้ไทยแล่น 29/12/60
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/04/2023 6:59 am Post subject:
จุฬา ไม่หวั่นรัฐบาลเปลี่ยนขั้ว พร้อมเดินหน้า EEC สร้างการเติบโตประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ 09 เม.ย. 2566 เวลา 6:40 น.
'จุฬา'เปิดแผนดันลงทุนEEC สร้างความหวังเศรษฐกิจประเทศ หวังดึงลงทุนปีละ 4 แสนล้านบาท มุ่งลงทุนโฟกัส 5 อุตสาหกรรม เผยไม่หวั่นการเมืองเปลี่ยนขั้วกระทบการขับเคลื่อนอีอีซี มั่นใจรัฐบาลหน้าสานต่อนโยบาย ชี้เป็นของดีช่วยผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจประเทศ
ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอีอีซีคนใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นเลขาธิการอีอีซีคนที่ 2 ต่อจาก ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ที่หมดวาระไปเมื่อเดือน ส.ค.ปีที่ผ่านมา
ดร.จุฬาได้แถลงข่าวและแสดงวิสัยทัศน์ในการทำหน้าที่ในฐานะเลขาธิการอีอีซีโดยกล่าวว่าในการทำงานในตำแหน่งเลขาธิการอีอีซีต้องการให้อีอีซีเป็นความหวังของคนไทยในการยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งให้อีอีซีเป็นเป้าหมายในการลงทุนของนานาชาติในภูมิภาคอย่างแท้จริง
เมื่อถามว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองหลังเลือกตั้งแล้วรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศนั้นเป็นขั้วการเมืองกับคนละขั้วในปัจจุบันมีความเป็นห่วงเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายอีอีซีหรือไม่ เพราะขณะนี้มีบางพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ในโครงการอื่นๆ โดยไม่ได้สนับสนุนพื้นที่อีอีซีเท่าที่ควร
ดร.จุฬาระบุว่าไม่กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายให้รัฐบาลใหม่เข้าใจได้ถึงความจำเป็น และความสำคัญของโครงการอีอีซีได้เพราะถือว่าเป็นโครงการที่สร้างเม็ดเงินและการลงทุนจากภายนอกเข้าสู่ประเทศ และช่วยส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนของบริษัทไทยได้เรียนรู้ และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อประเทศ
การที่แกนนำทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาลข้างหน้าอาจเป็นคนละขั้วกับปัจจุบัน และต้องการยกเลิกอีอีซี ก็ต้องบอกว่าอีอีซีเป็นของดีที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้อีอีซีถือเป็นกฎหมายที่ต้องดำเนินการต่อ หากรัฐบาลใหม่จะยกเลิกอีอีซีก็ต้องฉีกกฎหมายทิ้ง เพราะอีอีซีเป็นกฎหมาย หรือไม่ก็ต้องทำกฎหมายขึ้นมาอีกฉบับเพื่อยกเลิกออีอีซี แต่คงไม่เป็นแบบนั้นเพราะอีอีซีเป็นของดีพอ หากจะทิ้งกันง่ายๆ คนในภาคตะวันออก และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยก็คงไม่ยอมแน่เพราะมีหลายนโนบายที่เป็นประโยชน์กับประเทศที่ควรต้องทำต่อเนื่องต่อไป โดยรัฐบาลสามารถที่จะนำรูปแบบความสำเร็จจากการพัฒนาอีอีซีไปใช้ในการทำเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อื่นๆอีกก็ได้ดร.จุฬา กล่าว
ทั้งนี้มีเป้าหมายที่จะดึงการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในช่วงปี 2566 2570 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าให้ได้ตามเป้าหมาย 2.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี โดยเป้าหมายสำคัญนอกจากสานต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในอนาคตอย่างเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก รวมทั้งท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 ยังตั้งเป้าหมายในการดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญและเป็นศักยภาพของประเทศไทยเข้ามาลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้น
โดยโฟกัสไปในอุตสาหกรรม 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ นวัตกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เศรษฐกิจ BCG และภาคบริการ โดยในปี 2566 นี้ จะเป็นปีแห่งการลงทุนเจาะกลุ่มเป้าหมายนักลงทุนยิ่งขึ้น การจัดคลัสเตอร์แต่ละอุตสาหกรรมที่จะเห็นได้ชัดโดยต้องมีการเจรจาการลงทุนต่อเนื่องในพื้นที่อีอีซี
โดยจะทบทวนแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาอีอีซี ให้สอดคล้องกับบริบทโลกในอนาคต ที่จะศึกษาถึงปัจจัยจากสถานการณ์ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน เช่น ผลกระทบจากโควิด 19 ความเสี่ยงจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงแนวโน้มและทิศทางของเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคตด้วย
เปิดแผนลงทุนปีละ 4 แสนล้าน
สำหรับรายละเอียดของการขับเคลื่อนการลงทุนให้ได้ปีละ 4 แสนล้านบาท หรือปี 2.2 ล้านล้าน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้แก่
1.การลงทุนในฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท
2.การลงทุนในส่วนเพิ่มที่อีอีซี เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ โลจิสติกส์ นวัตกรรมด้านเกษตร ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โดยจะเน้นดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพตรง รวมปีละ 150,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ จะผลักดันแผนงานที่สำคัญให้เกิดเป็นรูปธรรมให้พื้นที่ อีอีซี เป็นเป้าหมายสำหรับนักลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (โรด์โชว์) ส่งเสริมการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษและกิจการพิเศษ กำหนดเขตส่งเสริมพิเศษเพื่อกิจการพิเศษเพิ่มเติม เช่น โรงพยาบาลปลวกแดง 2 การพัฒนาระบบ OSS เชื่อมโยงกับหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจรอย่างแท้จริง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/05/2023 7:52 am Post subject:
เลขาฯอีอีซี จุฬา สุขมานพ ลุยพื้นที่ EEC Project list สนามบินอู่ตะเภา-ท่าเรืออุตฯมาบตาพุด ต้องเสร็จ!?!
5 พฤษภาคม 2566 16:02 น. สยามรัฐออนไลน์ เศรษฐกิจ
เป็นการลงพื้นที่ดูงานครั้งแรกของ นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี คนใหม่ หลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการไม่กี่เดือนโดยครั้งนี้ได้เดินทางไป ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก (EEC Project list) ซึ่งเป็นการร่วมทุนรัฐและเอกชน (PPP) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
ทั้งนี้ นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการอีอีซี ให้สัมภาษณ์พิศษกับ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยงานในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐ กองทัพเรือ (ทร.) คือการก่อสร้างรันเวย์ เส้นที่ 2 อยู่ระหว่างการเตรียมออกประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างงานก่อสร้าง คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนได้ในเดือน พ.ค. 2566 นี้ และอยู่ระหว่างส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับ บริษัท อู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) คาดว่าจะส่งมอบในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 หรือในต้นปี 2567
และภาคเอกชน เป็นการร่วมลงทุนพัฒนาอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 เมืองการบิน (Airport City) คลังสินค้า (Cargo) ลานจอดอากาศยาน ถนนและสาธารณูปโภคภายในโครงการ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงแผนแม่บทให้เหมาะสมกับสถานการณ์ธุรกิจการบิน และการออกแบบรายละเอียดต่างๆ แต่ละโครงการ ด้านความก้าวหน้าที่สำคัญ UTA ได้จัดทำรั้วมาตรฐานเขตการบินเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างทันทีหลังได้รับแจ้งให้เริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) จาก สกพอ. โดย UTA คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และมีการทดสอบระบบ การให้บริการและการบริหารจราจรทางอากาศ คาดเปิดให้บริการเฟสแรกในปี 2570
การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาไม่ใช่แค่มีสนามบิน แต่จะมีทั้งเมืองการบิน ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยอีอีซีมองว่าสนามบินจะเป็นเหมือนประตูนำพาให้ผู้คน นักลงทุนเข้ามาในพื้นที่อีอีซี สะดวก การให้ลงทุน PPP สนามบินและเมืองการบิน รวมไปถึงรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ จะมีส่วนสนับสนุนพื้นที่อีอีซี ทั้งหมด
นายจุฬา กล่าวว่า สำหรับ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงินรวม 55,400 ล้านบาท มีแหล่งเงินทุน ได้แก่ ฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมูลค่า 12,900 ล้านบาท จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานหลักเป็นการขุดลอกและถมทะเล และฝั่งภาคเอกชนลงทุนท่าเทียบเรือก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งการก่อสร้างมีความคืบหน้าแล้วกว่า 43.72% เร็วกว่าแผนประมาณ 0.01% โดยคาดว่าโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดฯ จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซ (ส่วนที่ 1) ภายในปี 2570 เพื่อสร้างความมั่นใจการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซี ประกาศความพร้อมจูงใจนักลงทุนอุตสาหกรรมนวัตกรรมขั้นสูง ตามกรอบเศรษฐกิจ BCG กระตุ้นให้เกิดเงินลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศใน 5 ปี (2566-2570) ปีละ 400,000 ล้านบาท เศรษฐกิจไทยเติบโต 4.5-5% ได้ต่อเนื่อง
ซึ่งงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปัจจุบัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนกันทราย การลงหินแกนแล้วเสร็จ 100% และอยู่ระหว่างปรับขนาดเสริมหินเกราะชั้นนอก ติดตั้งเขื่อนกันคลื่นทะเล (Breakwater) ถมทรายเพื่อก่อสร้างถนน สะพานเข้า-ออกโครงการ รวมทั้งเตรียมงานอู่ลอยสำหรับหล่อเขื่อนกันคลื่นสำเร็จรูป (Caisson) ในส่วนของงานขุดลอกและปรับพื้นที่ทางทะเล ได้ติดตั้งม่านกันตะกอนตามที่ระบุในรายงาน EHIA เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งโครงการฯ ได้สร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนต่อเนื่อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมในงานก่อสร้าง ที่ภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จำนวน 3 คณะ และได้จัดประชุมร่วมกันไปแล้วกว่า 30 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น วัดคุณภาพอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน วัดคุณภาพน้ำทะเล คุณภาพน้ำทิ้ง ซึ่งได้รายงานต่อกรมเจ้าท่า และสำนักงาน สผ. ทุก 6 เดือน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เป็นต้น
โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดฯ ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเขตนิคมฯ มาบตาพุด มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ รองรับการลงทุนในอีอีซี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 19 ล้านตันต่อปี รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร และในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สร้างการลงทุนในพื้นที่ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน และประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
ด้าน พลเรือโท สมประสงค์ วิศลดิลกพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือพิเศษ กองทัพเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือรับผิดชอบงาน 2 ส่วนคือ ก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และทางขับ (แท็กซี่เวย์) มีกรอบวงเงิน 17,768 ล้านบาท โดยมีการอนุมัติงบเพื่อดำเนินการถมดินปรับพื้นที่จำนวน 1,274.24 ล้านบาทแล้ว ปัจจุบันดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ ส่วนงานก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 และทางขับ กรอบวงเงิน 16,493.76 ล้านบาทนั้น มีการปรับเปลี่ยนแหล่งเงินจากงบประมาณเป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) หรือ AIIB ซึ่งแหล่งเงินมีเงื่อนไขในการจัดทำทีโออาร์ การออกประกาศ จึงต้องมีการเจรจาตกลงกัน เช่น คุณสมบัติและผลงานการก่อสร้างสนามบินย้อนหลัง 5 ปี ของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งเงื่อนไขเดิมผู้รับเหมาไทยไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เลย ใช้เวลา 4 เดือนจึงได้ข้อยุติ เป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศให้มากที่สุด ทำให้มีความล่าช้า
โดยตามแผนการประกวดราคา วันที่ 15 มี.ค. 2566 ได้เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง (General Procurement Notice), เดือน พ.ค. 2566 ประกาศทีโออาร์ประกวดราคา, เดือน พ.ย. 2566 ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง และเดือน ธ.ค. 2566 ลงนามสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกและเริ่มก่อสร้างต้นปี 2567 โดยตั้งเป้าก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2570
ต้องติดตามกันต่อไป กับผลงานของเลขาธิการอีอีซี ที่ชื่อ จุฬา สุขมานพ พื้นที่ลงทุนมหาศาล และครบวงจรในการพัฒนา จะสร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากน้อยแค่ไหน!?!
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/05/2023 8:43 am Post subject:
UpSwing เศรษฐกิจดี-ดี : เปิดแผนขับเคลื่อน EEC และความเชื่อมั่นนักลงทุนกับรัฐบาลใหม่
3PlusNews
อัพเดท #ข่าวเศรษฐกิจ กับ #UpSwingเศรษฐกิจดีดี ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2566
.
อัพเดทแผนขับเคลื่อน EEC กับเลขาธิการคนใหม่ "ดร.จุฬา สุขมานพ" พร้อมเช็คความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติกับว่าที่รัฐบาลใหม่
https://www.youtube.com/watch?v=lUxGj3Qivso
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/11/2023 10:57 am Post subject:
เศรษฐา ยกคณะนั่งรถไฟ ลงพื้นที่ชลบุรี ระยอง เช็คโครงการ EEC พรุ่งนี้
ฐานเศรษฐกิจ 03 พฤศจิกายน 2566
นายกฯ เศรษฐา ยกคณะ นั่งรถไฟจากหัวลำโพงไปแหลมฉบัง ลงพื้นที่ตรวจราชการชลบุรี ระยอง พรุ่งนี้ เช็คการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC หลังถกบอร์ดนัดแรก ดันเป้าหมายเร่งด่วน 99 วัน
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ เตรียมเดินทางลงพื้นทีจังหวัดชลบุรี และระยอง เพื่อตรวจเช็คการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
โดยกำหนดการนายกฯ และคณะจะเดินทางด้วยรถไฟ โดยออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ในช่วงเช้าเวลา 8.45 น. ไปยังสถานีรถไฟแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยขบวนรถไฟ โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที คาดว่าจะถึงประมาณ 11.00 น.
โดยนายกฯ จะตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบังและพุดคุยประเด็นศักยภาพของพื้นที่สำหรับการรองรับ สินค้าอุตสาหกรรมหนักในการนำเข้าและส่งออกของท่าเรือแหลมฉบัง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง
จากนั้นในช่วงบ่าย นายกฯ ออกเดินทางจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เพื่อตรวจเยี่ยมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเพื่อติดตามระบบการบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำให้รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ต่อจากนั้นนายกฯ เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง เมื่อเสร็จสิ้นการเยี่ยมชมแล้ว นายกฯ จะเดินทางกลับมาจังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ณ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE2) ก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในช่วงเย็น
สำหรับการขับเคลื่อนโครงการ EEC ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นั้น ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ไปแล้วเป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนดำเนินการในระยะ 1 ปี (ตุลาคม 2566 กันยายน 2567)
พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายเร่งด่วนภายใน 99 วัน ลงมือทำจริง เพื่อดึงดูดเงินลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ใน 5 คลัสเตอร์หลัก ทั้งการแพทย์ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) BCG และ บริการ
พร้อมทั้งเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะได้ข้อยุติการเจรจาและแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินโครงการฯ ระหว่าง รฟท. และ เอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุน (บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด) ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ภายในเดือนมกราคม 2567 เอกชนคู่สัญญาจะพร้อมเริ่มก่อสร้าง อย่างเป็นทางการ
เช่นเดียวกับพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุน สร้างความพร้อมให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยเดือนธันวาคม 2566 อีอีซี จะออกประกาศ กพอ. เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมด้านภาษี และมิใช่ภาษี เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุน เช่น
สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร สิทธิการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุด รวมไปถึงการอนุญาตอยู่อาศัยในระยะยาว (EEC Long term VISA) เป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษทั้ง ผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ผู้ชำนาญการ ตลอดจนคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เป็นต้น
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/11/2023 12:30 pm Post subject:
นายกฯ ประชุมบนรถไฟเที่ยวพิเศษกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง
ผู้จัดการออนไลน์ 4 พ.ย. 2566 11:50
ระหว่างการเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ด้วยขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ใช้ห้องประชุมภายในขบวนรถไฟหารือกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายศุภนิจ จัยวัฒน์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และนายสนธยา คุณปลื้ม ประธานที่ปรึกษาเมืองพัทยา
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้โพสต์ลงในทวิตเตอร์ (X) ระบุว่า "ผมตั้งใจนั่งรถไฟจากสถานีหัวลำโพง ไปศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรีครับ พูดถึงการเดินทางสะดวก และสะอาดมากระหว่างเดินทาง ผมจึงประชุมเตรียมข้อมูลสำหรับลงพื้นที่ EEC วันนี้ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปด้วย
ผมคิดว่า EEC เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เราต้องเร่งรัดให้เกิดการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งทางรัฐบาลต้องเตรียมระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบน้ำ มาตรการทางภาษี และอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนครับ
ในระหว่างเดินทางนายกรัฐมนตรีได้เดินมาทักทายกับสื่อมวลชนซึ่งนั่งอยู่ภายในขบวนรถเที่ยวพิเศษด้วย
🔴สด!! เศรษฐา นั่งรถไฟตรวจราชการชลบุรี-ระยอง | สถานีหัวลำโพง
Nation online
https://www.youtube.com/watch?v=q7EKjFAcgAo
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/11/2023 6:49 pm Post subject:
นายกรัฐมนตรีขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ 995 จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีรถไฟแหลมฉบัง ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ชลบุรี-จ.ระยอง
4/11/2566
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/2448/iid/229538
วันนี้ (4 พ.ย. 66) เวลา 08.30 น. ณ ชานชาลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง)
โดยรถไฟขบวนพิเศษ 995 ไปยังสถานีรถไฟแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายศุภนิจ จัยวัฒน์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี นายสนธยา คุณปลื้ม ประธานที่ปรึกษาเมืองพัทยา นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมคณะเดินทาง ซึ่งระหว่างการเดินทาง นายกรัฐมนตรีได้ประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการพัฒนาและการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ EEC
ที่มา : รัฐบาลไทย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/03/2024 6:31 am Post subject:
วีดิทัศน์ประชุมสัมมนาครั้งที่ 3 โครงการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC
Daoreuk Channel
Mar 19, 2024
https://www.youtube.com/watch?v=YE9S1oacb14
วีดิทัศน์ประชุมสัมมนาครั้งที่ 3 โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 12.00 น.
ณ ห้องสัมมนาหลักสิรินพลา ชั้น 1 โรงแรมสิรินพลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเตอรองท์
ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
****************************************************************
เพื่อเป็นการวางแผนให้สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต บูรณาการสอดคล้องไปกับโครงการที่จะพัฒนาใน EEC สกพอ. จึงได้ ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กับการพัฒนาเมืองใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองที่เชื่อมโยงไปยังระบบคมนาคมขนส่งหลักของพื้นที่ EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และเมืองใหม่ EEC ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงรองรับความต้องการเดินทางที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ที่ผ่านมา โครงการได้ดำเนินการการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งขนส่งมวลชนรองที่เชื่อมโยงการพัฒนากับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และการพัฒนาเมืองใหม่ รวมถึงศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกับรับฟ้งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมมากที่สุด
โดยผลจากการศึกษาพบว่า เส้นทางโครงข่าย เมืองใหม่ สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา
มีแนวเส้นทางที่เหมาะสมในออกแบบรูปแบบแนวคิดเบื้องต้น เพื่อเป็น "โครงการนำร่อง" ของโครงการ โดยแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมนั้น มีจุดเริ่มต้นโครงการพื้นที่เมืองใหม่ จากนั้นยกระดับเหนือทางหลวงหมายเลข 331 ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรห้วยใหญ่ ยกระดับประชิดเขตมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงเขาชีจรรย์ ถึงเขาชีโอน ยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิท และไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร
โดยรูปแบบระบบขนส่งมวลชนรองที่จะนำมาให้บริการ คือ ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งมีความเหมาะสมทั้งในด้านวิศวกรรม การลงทุน สิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สำหรับการออกแบบสถานี ได้ออกแบบเป็น 3 แบบ คือ
แบบ A เป็นสถานียกระดับ
แบบ B เป็นสถานีระดับพื้น
แบบ C เป็นสถานียกระดับ ที่จำกัดความสูงไม่เกิน 15 เมตร
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยระบบรถไฟฟ้ามีมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูง ทางโครงการจึงเสนอให้นำรถโดยสารไฟฟ้า หรือ EV Bus มาให้บริการในระยะแรกก่อน จากนั้นค่อยปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้า เมื่อปริมาณผู้โดยสารเพียงพอ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนต่ำกว่าการพัฒนาเป็นรถไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มโครงการ
********************************************************************
บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านการประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/12/2024 8:49 am Post subject:
เมืองการบินเดินหน้าเต็มตัวคาดจบปัญหารถไฟปี68
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, December 03, 2024 05:19
ผู้จัดการรายวัน360 - "พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ" ดันเมืองการบิน คาดปิดจบโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จ่อหาพันธมิตรร่วมลงทุน ผลักดันเป็นเมืองปลอดอากร เผยตัวเลขการเดินทางคึกคัก อัตราโตสูงสุดเฉลี่ย 19.7% โชว์แผนเพิ่มเที่ยวบิน และเส้นทางบินให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อรองรับอุปสงค์ช่วงท้ายปี ลากยาวถึงไตรมาสแรกของปี 68
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้คือยังไม่สามารถปิดจบโครงการรถไฟความเร็วสูง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจา ยอมรับว่ามีความกังวลใจ แต่ค่อนข้างมั่นใจว่าสามารถปิดจบได้ภายในปีหน้า รวมถึงมีการผลักดันให้เมืองการบินเป็นพื้นที่ปลอดภาษี พร้อมกับมีการบริการและผลิตภัฑณ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และนำการแสดงระดับโลกเข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยให้คนสนใจและอยากที่จะมาใช้บริการ
"ในที่สุดจะต้องสรุปให้ได้เพื่อทำให้โครงการเกิดในพื้นที่ EEC ซึ่งจะส่งผลดีให้กับเศรษฐกิจ มีการเติบโตของทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีสนามบินเป็นจุดขาย เป็นประตูสำคัญในการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาทางภาคตะวันออก และยังลดความหนาแน่นของผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ โครงการเมืองการบิน จะต้องเตรียมวางแผนให้เป็นเมืองที่มี entertainment ต่างๆ เช่น ร้านอาหารชื่อดัง และ duty free และมีบริการอื่นๆ รองรับอีกด้วย" นายพุฒิพงศ์กล่าว
สำหรับภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมการบินทุกภูมิภาคทั่วโลกในปี 2567 นี้ ยังคงมีอัตราการเติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารของทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยจากข้อมูลของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) พบว่าการเดินทางระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 19.7% และการเดินทางระหว่างประเทศจากยุโรปสู่ทวีปเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงสุด 23.1% ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการบินเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โดยการเดินทางระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าภูมิภาค อื่นๆ คาดว่าจะเติบโตที่ 17.2% ในปี 2568 จากทิศทางการ เดินทางดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยคาดว่ามีการเติบโตสอดคล้องเป็นไปตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมการบินในระดับภูมิภาค
ทั้งนี้ ภาพรวมการดำเนินงานของบางกอกแอร์เวย์สช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 นี้ บริษัทฯ มีจำนวนผู้โดยสาร 3.31 ล้านคน เพิ่มสูงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 และเป็นสัดส่วน 75% ของช่วงก่อนโควิด อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (%Load Factor) 82 % ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 จุด เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งมีอัตราขนส่งผู้โดยสารที่ 68% และรายได้ผู้โดยสาร 14,006 ล้านบาท เติบโตขึ้น 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หรือคิดเป็นสัดส่วน 96% ของช่วงก่อนโควิด-19 จึงสะท้อนได้ถึงศักยภาพของบางกอกแอร์เวย์สที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อช่วงต้นปี 2567 นี้ได้
ปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สมีอัตราบรรทุก ผู้โดยสารในเส้นทางกว่า 80% อีกทั้งยังมองแนวโน้มทิศทางการท่องเที่ยวเป็นบวก จากยอดการสำรองที่นั่งบัตรโดยสารล่วงหน้าที่สะท้อนภาพรวมการท่องเที่ยวช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 นี้ ต่อเนื่องจนถึงช่วง 6 เดือนแรกของปี 2568 ที่มีอัตราการจองเติบโต 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการจองในเส้นทางสมุยเติบโตสูงสุด 25% ทั้งนี้ สำหรับแผนการเปิดเส้นทางอื่นๆ
ในอนาคต บริษัทฯได้ศึกษาเส้นทางศักยภาพและทยอยกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางที่เคยปฏิบัติการ บินในช่วงก่อนโควิด-19 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเส้นทางบิน "สมุย-กัวลาลัมเปอร์" ในไตรมาส 4 ปี 2568 ที่จะให้บริการทุกวัน จำนวนวันละ 1 เที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางและเป็นจุดเชื่อมต่อผู้โดยสารจากยุโรปเดินทางเข้าเกาะสมุย".
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 3 ธ.ค. 2567
## Aviation City Full Steam Ahead, Rail Issue Expected to Conclude in 2028
Source - Manager Daily 360 degrees
Tuesday, December 03, 2024 05:19
Puttipong Prasarttong-Osoth, President of Bangkok Airways, is pushing forward with the Aviation City project. He expects the high-speed rail linking 3 airports project to be finalized soon, with plans to find investment partners and promote the city as a duty-free zone. He revealed encouraging travel figures with an average growth rate of 19.7% and showcased plans to increase flights and routes to accommodate demand in the latter part of the year, extending into the first quarter of 2028.
Mr. Puttipong acknowledged the ongoing negotiations regarding the high-speed rail project, expressing some concerns but remaining confident about its conclusion within the next year. He also highlighted efforts to establish Aviation City as a tax-free zone, offering attractive services and products to tourists, including world-class performances to draw interest and encourage visits.
"Ultimately, this needs to be concluded to enable the project in the EEC area, which will benefit the economy and stimulate growth in both products and services. The airport will be a key selling point, serving as a gateway to attract tourists to the eastern region and alleviate congestion at Suvarnabhumi and Don Mueang airports. Furthermore," Mr. Puttipong stated, "the Aviation City project must plan to become a city with various entertainment options, such as renowned restaurants, duty-free shops, and other supporting services."
The global aviation industry is experiencing growth in passenger traffic across all regions in 2027. Data from the International Air Transport Association (IATA) shows that international travel within the Asia-Pacific region has the highest growth rate at 19.7%, while international travel from Europe to Asia has the highest growth rate at 23.1%. The industry is expected to continue growing over the next 3-5 years, with international travel within the Asia-Pacific region projected to grow at 17.2% in 2028, exceeding other regions. This trend is expected to benefit Thailand's tourism sector, which is anticipated to grow in line with regional aviation trends.
Bangkok Airways reported strong performance in the first 9 months of 2027, with 3.31 million passengers, a 10% increase compared to the same period in 2026, representing 75% of pre-Covid levels. The passenger load factor reached 82%, up 2 points from the same period in 2026 and exceeding the pre-Covid-19 level of 68%. Passenger revenue reached 14,006 million baht, a 26% growth compared to the same period in 2026, representing 96% of pre-Covid-19 levels. This reflects Bangkok Airways' potential to achieve its targets set at the beginning of 2027.
Currently, Bangkok Airways has a passenger load factor of over 80% on most routes and sees a positive outlook for tourism, based on advance booking trends for the remainder of 2027 and the first 6 months of 2028, which show a 12% growth compared to the same period last year. Bookings for Koh Samui routes show the highest growth at 25%. Regarding future route expansion plans, the company is exploring potential routes and gradually resuming services that were operational before Covid-19. They expect to launch the "Samui-Kuala Lumpur" route in the fourth quarter of 2028, with daily service to cater to travel demand and connect passengers from Europe to Koh Samui.
Source: Manager Daily 360 degrees, December 3, 2024
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group