Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312062
ทั่วไป:13658092
ทั้งหมด:13970154
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 578, 579, 580, 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2024 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลังรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน EEC ส่งต่อ ร.ฟ.ท.หา 1.2 แสนล้านสร้างเอง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม 2567 - 06:59 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเตรียมนับถอยหลัง ชี้ชะตาว่า “ได้ไปต่อหรือพอแค่นี้” เมื่อจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ทั้งที่ผ่านมติจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC มาแล้วกว่า 2 เดือน ส่งผลให้การเดินหน้าโครงการอาจไม่ทันสิ้นปี 2567 ตามไทม์ไลน์เดิมที่กำหนดไว้ มีโอกาสสูงที่อาจจะต้องตัดสินใจโยนให้ “ร.ฟ.ท.” ทำแทน

ยื้อเข้า ครม.ทำ EEC เสียโอกาส
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามที่ได้เคยคาดไว้ว่าจะเสนอเข้าได้ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา และยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเข้า ครม.ทันปี 2567 นี้หรือไม่

ซึ่งหากนับตั้งแต่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ซึ่งมี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม ที่ได้มีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร นับแล้วกินเวลามาเกือบจะ 2 เดือน

หากไม่ทำตามกำหนดโครงการดังกล่าวจะต้องยืดระยะเวลาออกไปอีกอย่างแน่นอน ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่ายิ่งล่าช้านานเท่าไร ยิ่งสูญเสียโอกาสในการที่จะพัฒนาเมือง พัฒนาแต่ละสถานี พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟ รวมถึงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ด้วยทางเชื่อมเข้าสนามบินจะอยู่ใต้รันเวย์ที่ 2 ทำให้การสร้างรันเวย์ต้องชะงักไปด้วย ซึ่งเขาอาจต้องขอให้ EEC เยียวยาจากเหตุล่าช้าตรงนี้ด้วยเช่นกัน รวมถึงยังเสียโอกาสในการดึงการลงทุนเข้ามาใน EEC เพราะบางโครงการจำเป็นที่ต้องเห็นความชัดเจนของโครงการนี้ก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาเป็นซัพพลายเชนในโครงการดังกล่าว

โยน ร.ฟ.ท.ลงทุนเอง
ซึ่งตามกรอบการดำเนินงานเดิมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 จะนำเข้า ครม. เพื่อพิจารณาในหลักการ จากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (บริษัทลูก ซี.พี.) ผู้ชนะการประมูลจะต้องเจรจาและยอมรับในการแก้ไขสัญญาฉบับใหม่ หากไม่มีประเด็นโต้แย้งจะนำร่างสัญญาฉบับใหม่ ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบในถ้อยคำและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีการแก้ไข และจะเข้า ครม.อีกครั้ง เพื่ออนุมัติร่างสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งทั้งหมดจะต้องให้เสร็จภายในสิ้นปี 2567 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่

และหลังการแก้ไขสัญญา เอรา วัน จะต้องเข้ามาเซ็นสัญญาใหม่ จากนั้นทาง ร.ฟ.ท. จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ทันที คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2568 โดยจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2572

ในเวลาอีก 2 สัปดาห์ที่เหลือก่อนจะสิ้นปี 2567 จึงต้องรอดูว่าจะสามารถนำเข้า ครม.ได้หรือไม่ หากเข้าได้ก็ยังถือว่าเป็นไปตามกรอบเดิมไม่ล่าช้าเกินไป แต่หากต้องข้ามไปปี 2568 ไม่ได้อยู่ในกรอบเวลาที่เคยกำหนดไว้ แน่นอนว่ากระบวนการหลาย ๆ อย่างที่เตรียมไว้จะต้องล่าช้าขยายเวลาออกไปอีก

และเมื่อเกินกรอบเวลาเดิมอาจต้องตัดสินใจว่าโครงการนี้ ร.ฟ.ท. เป็นผู้เข้ามาลงทุนแทนโดยจะต้องใช้เงินลงทุน 120,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างโครงสร้างระบบราง ส่วนตัวขบวนรถจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อการเดินรถ ในส่วนนี้จะใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท

กรณีหากเข้าทันตามกรอบเดิมก็ต้องมาดูว่า เอรา วันจะเข้ามาเซ็นสัญญาใหม่หรือไม่ หากยังไม่เซ็นสัญญาหรือหลังจากออก NTP ภายในเวลาที่กำหนดแล้วยังไม่มีการเริ่มก่อสร้าง จะถือว่า เอรา วัน มีเจตนาที่ส่อไปในทางที่จะไม่ดำเนินโครงการต่อ โดย ร.ฟ.ท.สามารถยกเลิกสัญญาได้ ส่วนจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องหรือไม่นั้น ต่างฝ่ายก็มีสิทธิที่จะทำเช่นกัน

เอกชนขอแก้สัญญา 5 ข้อ
สำหรับสัญญาใหม่ที่มีการแก้ไข 5 ข้อ คือ 1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะแบ่งจ่ายเป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่า ๆ กัน รวมเป็นเงินจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็น รัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ ร.ฟ.ท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อประกันว่า งานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้น ๆ

2.การกำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) จะให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน แบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวด เป็นรายปี ในจำนวนแบ่งชำระเท่า ๆ กัน แต่บริษัทจะต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญากับ ร.ฟ.ท. และบริษัทยังต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่น ๆ ที่ ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระด้วย

นอกจากนี้ เงื่อนไขการวางค้ำประกันเพิ่มเติมจะประกอบไปด้วยหลักประกันสัญญาวงเงิน 4,500 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี, หนังสือค้ำประกันผู้ถือหุ้นวงเงิน 160,000 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี, หนังสือค้ำประกันค่าก่อสร้างวงเงิน 120,000 ล้านบาท, หนังสือค้ำประกันค่างานระบบวงเงิน 16,000 ล้านบาท, หนังสือค้ำประกันคุณภาพเดินรถวงเงิน 750 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี และหนังสือค้ำประกันค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) รวมกับการชำระงวดที่ 1 ที่เหลือ (456.9 ล้านบาท) วงเงิน 9,147 ล้านบาท เฉพาะวงเงินหลังจะต้องวางหลักประกันไว้อีก 6 ฉบับ ฉบับละ 1,524 ล้านบาท

ต้นทุนลดต้องจ่ายส่วนแบ่งเพิ่ม
3.การกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นผลทำให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.52% แล้วก็จะให้สิทธิ ร.ฟ.ท.เรียกให้บริษัทชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ตามแต่จะตกลงกันต่อไป

4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้คู่สัญญาจัดทำ บันทึกความตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ (การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI) เพื่อให้ ร.ฟ.ท.สามารถออกหนังสือ NTP ให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้ทันทีหลัง 2 ฝ่ายลงนามในการแก้ไขสัญญา 5.ป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยทำการปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัย กับเหตุผ่อนปรนให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการอื่น

“มีคนจับตาโครงการนี้มากและรู้จักกันในชื่อของรถไฟ ซี.พี. เราต้องค่อย ๆ แก้ทีละข้อ ไม่ใช่การบีบเพราะหากเรายังคุยในเงื่อนไขสัญญาเดิม 7 ปี เราก็คุยไม่จบ ดังนั้นเราจำเป็นที่ต้องมากำหนดเงื่อนไขในสัญญาใหม่ โดยเฉพาะที่ว่า เอรา วัน จะหาแบงก์มาค้ำวางเป็นหลักประกันไว้ ซึ่งเขาคุยอยู่ 2 แบงก์ และมันต้องเป็นธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ส่วนจะเอาแบงก์ต่างชาติก็ได้ แต่ต้องมีสำนักงานตั้งในไทย เราก็ไม่มีปัญหา อยู่ที่ในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ เขาจะหาแบงก์มาได้ไหม”


## High-Speed Rail Linking 3 Airports Faces Countdown: State Railway May Take Over

**Prachachat Business, 13 December 2024 - 06:59 AM**

The high-speed rail project linking 3 airports is facing a countdown, with its fate hanging in the balance. Despite approval from the Eastern Economic Corridor (EEC) Policy Committee over two months ago, the project has yet to be presented to the Cabinet. This delay jeopardizes the original timeline of completing the project by the end of 2024, increasing the likelihood that the State Railway of Thailand (SRT) will have to take over.

**Delays Hinder EEC Opportunities**

Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the EEC Policy Committee, stated that the high-speed rail project linking Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao airports has not yet been submitted to the Cabinet, despite expectations that it would be presented in mid-November 2024. He could not confirm whether the proposal would reach the Cabinet before the end of the year.

Almost two months have passed since the EEC board, chaired by Deputy Prime Minister and Finance Minister Mr. Pichai Chunhavajira, approved the revised contract on October 13, 2024. This revision aimed to address project obstacles and ensure progress without undue advantage to either the public or private sector.

Further delays will inevitably extend the project timeline. This will lead to missed opportunities for urban development around the stations and along the rail line, including the U-Tapao Airport and the Eastern Aviation City. Construction of the second runway at U-Tapao, which intersects with the planned rail link, is also on hold. The EEC may even seek compensation for these delays. Crucially, delays also discourage investment in the EEC, particularly from industries hoping to join the project's supply chain.

**SRT May Take Over Investment**

The original plan was to submit the proposal to the Cabinet in November 2024. Following Cabinet approval, the SRT and Asia Era One Co., Ltd. (a subsidiary of CP Group), the project's winning bidder, were to negotiate and accept the amended contract. If no objections arose, the revised draft would be sent to the Attorney General's Office for review, followed by a second Cabinet approval. This process was expected to be finalized by the end of 2024.

After the contract revision, Era One was to sign the new agreement, with the SRT issuing a Notice to Proceed (NTP) immediately, likely in January 2025. The service was expected to be operational by 2029.

With only two weeks left in 2024, it remains to be seen whether the proposal will reach the Cabinet. If it does, the project will remain on track. However, if it is delayed to 2025, the process will be extended.

Should the original timeframe be exceeded, the SRT may decide to invest in the project itself, requiring 120 billion baht for rail infrastructure construction. The rolling stock would be open to private sector bidding, requiring an additional investment of approximately 40 billion baht.

Even if the project stays on schedule, it is uncertain whether Era One will sign the new contract. If they do not sign or fail to commence construction after the NTP is issued within the stipulated time, it will be considered an intention not to proceed. The SRT can then terminate the contract, with both parties having the right to pursue legal action.

**Private Sector Requests 5 Contract Amendments**

The revised contract includes five key amendments:

1. **Public Investment Cost (PIC) Payment Method:** The original contract stipulated that the government would pay 149.65 billion baht in equal annual installments over 10 years, starting after the high-speed rail service commenced operation. This has been changed to payments in installments based on construction progress verified by the SRT, not exceeding 120 billion baht. Asia Era One is required to provide additional security, totaling 160 billion baht, to guarantee construction completion and service commencement within five years. Ownership of the constructed assets will be transferred to the SRT in line with payment installments.

2. **Payment of ARL Concession Fee:** Asia Era One will pay the 10.671 billion baht concession fee for the Airport Rail Link (ARL) in seven equal annual installments, with the first installment due upon signing the revised contract with the SRT. The company must also provide a bank guarantee for the ARL concession fee and other related financial costs borne by the SRT.

Additional guarantees include a 4.5 billion baht performance bond for the 50-year contract, a 160 billion baht shareholder guarantee for the 50-year contract, a 120 billion baht construction guarantee, a 16 billion baht system work guarantee, a 750 million baht 10-year service quality guarantee, and a 9.147 billion baht guarantee for the ARL concession fee and remaining first installment payment (456.9 million baht). The latter requires six separate guarantees, each worth 1.524 billion baht.

3. **Increased Revenue Sharing:** If future loan interest rates decrease significantly, resulting in Asia Era One's internal rate of return (IRR) exceeding 5.52%, the SRT has the right to demand increased revenue sharing as mutually agreed upon.

4. **Waiver of NTP Conditions:** The requirement for obtaining a Board of Investment (BOI) promotion certificate before issuing the NTP will be waived. This allows the SRT to issue the NTP to Asia Era One immediately after both parties sign the revised contract.

5. **Protection Against Future Risks:** Contract clauses related to force majeure and relief events have been updated to align with other public-private partnership contracts, mitigating potential financial impacts on the project.

"This project is under close scrutiny and is widely known as the CP Train. We must address each issue carefully, not through pressure. If we continue discussions under the original contract terms, we won't reach a conclusion even in seven years. Therefore, we need to define new conditions, especially regarding Era One securing bank guarantees. They are currently in discussions with two banks, which must be commercial banks. Foreign banks with branches in Thailand are acceptable. The key question is whether they can secure these guarantees within this short timeframe."
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2024 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา คืบหน้า12% งานก่อสร้างยังไม่คืบหน้า แล้วจะเสร็จทันภายในปี 2570 ไหม?
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Dec 14, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=scPeFcj0mmc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2024 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง อัพเดทล่าสุด รังสิต-สระบุรี
รถไฟไทยสดใส
Dec 15, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=U8xQx5PAUbk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2024 10:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงบอร์ดขยายก่อสร้างรถไฟ”ไทย-จีน”3 สัญญา เหตุติดปมเวนคืน-ย้ายท่อน้ำมันลากยาวเสร็จปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:22 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:46 น.


รฟท.ชงบอร์ดขยายเวลาก่อสร้างงานโยธา รถไฟไทย-จีน 3 สัญญา ช่วง นวนคร-บ้านโพ , ช่วงดอนเมือง-นวนคร , ช่วงพระแก้ว-สระบุรี เหตุส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ปมติดเวนคืนและรื้อย้ายท่อน้ำมัน ลากยาวไปเสร็จ ก.พ. 70 ขณะที่ทั้งโครงการสร้างคืบ 38% ล่าช้า 39%

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ (บอร์ดรฟท.) วันที่ 19 ธ.ค. 67 จะมีการเสนอขออนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญาและแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) งานโยธา จำนวน 3 สัญญา ได้แก่


ad

สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ และ สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี เพื่อชดเชยการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างล่าช้า

โดยสัญญา 4-3 ช่วง นวนคร-บ้านโพ ระยะ ทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้รับจ้าง ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน ขอขยายเวลา 452 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 23 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 20 เม.ย. 2569 ซึ่งถือเป็นการขยายเวลาครั้งที่ 2 จากก่อนหน้านี้ เคยขยายเวลาก่อสร้างไปแล้ว จำนวน 163 วัน จากระยะเวลาก่อสร้างเริ่มงาน (NTP) วันที่ 30 ส.ค. 2564 สิ้นสุด วันที่ 13 ส.ค. 2567 เป็นวันที่ 23 ม.ค. 2568 โดย ณ เดือนเม.ย. 2567 มีผลงานสะสม 31.560% ล่าช้า 67.190% (แผนงาน 98.750%)

เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างได้ตามเงื่อนไขสัญญา ซึ่งเป็นพื้นที่เวนคืน โดย ณ เดือน พ.ย. 2567 มีผลงานสะสม 44.590% ล่าช้า 55.070% (แผนงาน 99.660%)

ทั้งนี้ให้ปรับผังการเชื่อมประสานงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับการขยายสัญญาหลัก โดยผู้รับจ้างฯ ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่าย หรือค่าทดแทน หรือสิทธิประโยชน์ใด ๆรวมถึงไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายภายใต้กรอบของสัญญาของที่ปรึกษาควบคุมงานฯ (CSC) และที่ปรึกษาบริหารโครงการฯ (PMC) รวมทั้งการรถไฟฯ ไม่เสียประโยชน์และไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการอื่น ๆ แต่อย่างใด



สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็น ผู้รับจ้าง ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน เริ่มงานวันที่ 20 ม.ค. 2565 สิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ขอขยายเวลา 641 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญาเดิม วันที่3 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 7 ต.ค. 2569 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบรายละเอียดโครงสร้างและตำแหน่งตอม่อ รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงแนวท่อขนส่งน้ำมันของบริษัท บาฟส์ ขนส่งทางท่อ จำกัด (BPT) และ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THappline)

โดย ณ เดือน พ.ย. 2567 มีผลงานสะสม 1.450 % ล่าช้า 98.010 % (แผนงาน 99.460%)

และ สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็น ผู้รับจ้าง ระยะเวลา ก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน เริ่มงานวันที่ 20 ม.ค. 2565 สิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างอีก 780 วัน นับจากวันสิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 23 ก.พ. 2570
เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างได้ตามเงื่อนไขสัญญา ทำให้มีผลกระทบต่อการก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนงาน

โดย ณ เดือน พ.ย. 2567 มีผลงานสะสม 8.570 % ล่าช้า 90.270% (แผนงาน 98.840 %)

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม.สถานะเดือนพ.ย. 2567 ความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา มีผลงาน 38.070% ล่าช้า 39.984% (แผนงาน 78.054%)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2024 8:23 am    Post subject: Reply with quote

7 ปี! รถไฟ”ไทย-จีน”สร้างได้แค่ 38% งานระบบผลิตขบวนรถกว่า 5 หมื่นล้านยังไม่ขยับ ‘คมนาคม’สั่งเปลี่ยนให้เอกชนร่วมทุนเดินรถ
ผู้จัดการออนไลน์ 23 ธ.ค. 2567 07:44

โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง250.77กม.วงเงินลงทุน179,412.21ล้านบาทภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ( MOU)ตั้งแต่วันที่19ธ.ค. 2557หรือ10ปีแล้วแต่หากนับจุดเริ่มต้นการก่อสร้างจากพิธีอย่างเป็นทางการณมอหลักหินรัชกาลที่5ที่ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาเมื่อวันที่21ธันวาคม2560เท่ากับก่อสร้างมา7ปีแล้วไม่น่าเชื่อว่ามีความคืบหน้าเพียง38.070%เท่านั้น

@เช็ก14สัญญางานโยธาก่อสร้างช้ากว่าแผนกว่า39 %

รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง250.77กม.แบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น14สัญญาโดยก่อสร้างเสร็จไปเพียง2สัญญาคือสัญญา1-1ช่วงกลางดง-ปางอโศกระยะทาง3.5กม.
ก่อสร้างโดยกรมทางหลวง(ทล.)และสัญญา2–1ช่วงสีคิ้ว–กุดจิกระยะทาง11กม.วงเงิน 3,114.98ล้านบาทมีบจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงเป็นผู้รับจ้าง

ส่วนอีก12สัญญาปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง10สัญญาส่วนอีก2สัญญายังติดปัญหาระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยข้อมูลงานโยธาณวันที่25พ.ย. 2567มีความก้าวหน้าภาพรวมอยู่ที่38.070 %ล่าช้า39.984 % (แผนงาน78.054 %)

โดย10สัญญามีรายละเอียดดังนี้

สัญญาที่3-1ช่วงแก่งคอย-กลางดงและปางอโศก-บันไดม้าระยะทาง30.21กม. วงเงิน9,348ล้านบาทมีกิจการร่วมค้าITD - CREC No.10เป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า2.810 %ล่าช้า6.460 % (แผนงาน9.270%)

สัญญา3–2อุโมงค์มวกเหล็กและลาตะคองระยะทาง12.23กม.วงเงิน4,279ล้านบาท มี
บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า81.410 %ล่าช้า6.950 % (แผนงาน88.360%)

สัญญา3–3ช่วงบันไดม้า-ลำตะคองระยะทาง26.10กม.วงเงิน9,838ล้านบาทมี
บจ.ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรมเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า55.350 %ล่าช้า14.160 % (แผนงาน69.519%)

สัญญา3-4ช่วงลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวดระยะทาง37.45กม.วงเงิน9,848ล้านบาทมีบมจ.อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า82.550 %ล่าช้า12.250 % (แผนงาน94.800%)

สัญญา3-5ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมาระยะทาง12.38กม.วงเงิน7,750ล้านบาทมีกิจการร่วมค้าSPTK (นภาก่อสร้างร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย)เป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า11.922 %ล่าช้า68.708 % (แผนงาน80.630%)

สัญญา4-2ช่วงดอนเมือง-นวนครระยะทาง21.80กม.วงเงิน10,570ล้านบาทมีบมจ.บริษัทยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า1.450 %ล่าช้า98.010 % (แผนงาน99.460%)

สัญญา4-3ช่วงนวนคร-บ้านโพระยะทาง23กม.วงเงิน11,525.35ล้านบาทมีกิจการร่วมค้าCAN (บจ.เอ.เอสแอสโซศซิเอทเอนยิเนียริ่ง(1964),บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการและ
บริษัทไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่นเอนยิเนียริ่งคอร์ปอเรชั่นลิมิเต็ดเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า44.590 %ล่าช้า55.070 % (แผนงาน99.660%)

สัญญา4-4งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยวงเงิน6,573ล้านบาทมีบมจ.อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า26.357 %ล่าช้า3.213 % (แผนงาน29.570%)

สัญญา4-6ช่วงพระแก้ว-สระบุรีระยะทาง31.60กม.วงเงิน9,429ล้านบาทมีบมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า8.570 %ล่าช้า90.270%(แผนงาน98.840%)

สัญญา4-7ช่วงสระบุรี-แก่งคอยระยะทาง12.99กม. วงเงิน8,560ล้านบาทมีบมจ.ซีวิลเอนจีเนียริงเป็นผู้รับจ้างงานคืบหน้า60.500 %ล่าช้า25.700 % (แผนงาน86.200%)

@ขยายเวลา 3 สัญญา ติดเวนคืน-ย้ายท่อน้ำมัน ถึงปี 70

ล่าสุด ในการประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท. ) วันที่ 19 ธ.ค. 2567 ได้มีมติอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญาและแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง งานโยธา 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ สัญญาที่4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร และ สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี เพื่อชดเชยการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างล่าช้า

ประกอบด้วย สัญญา 4-3 ช่วง นวนคร-บ้านโพ จากระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน ขอขยายเวลา 452 วัน นับจากวันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 23 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 20 เม.ย. 2569 ซึ่งถือเป็นการขยายเวลาครั้งที่ 2 จากก่อนหน้านี้ เคยขยายเวลาก่อสร้างไปแล้ว จำนวน 163 วัน จากระยะเวลาก่อสร้างเริ่มงาน( NTP ) วันที่ 30 ส.ค. 2564 สิ้นสุด วันที่ 13 ส.ค. 2567 เป็นวันที่ 23 ม.ค. 2568 เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างได้ตามเงื่อนไขสัญญา ซึ่งเป็นพื้นที่เวนคืน

สัญญาที่4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วันเริ่มงานวันที่ 20 ม.ค. 2565 สิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ขอขยายเวลา 641 วันนับจากวันสิ้นสุดสัญญาเดิม วันที่3 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 7 ต.ค. 2569 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบรายละเอียดโครงสร้างและตำแหน่งตอม่อ รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงแนวท่อขนส่งน้ำมันของบริษัท บาฟส์ ขนส่งทางท่อ จำกัด (BPT) และ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THappline)

และ สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน เริ่มงานวันที่ 20 ม.ค. 2565 สิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างอีก 780 วัน นับจากวันสิ้นสุด วันที่ 3 ม.ค. 2568 ไปสิ้นสุดวันที่ 23 ก.พ. 2570 เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างได้ตามเงื่อนไขสัญญา ทำให้มีผลกระทบต่อการก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนงาน

@ ยูเนสโก ลงพื้นที่อยุธยา 19-21 ม.ค.67เคลียร์ปมมรดกโลก

สำหรับงานโยธาที่ยังไม่เริ่มอีก 2 สัญญานั้น ประกอบด้วย งานที่ประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่สามารถลงนามได้ คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท โดยคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2566 มีมติอนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด เนื่องจากสถานีอยุธยายังติดผลกระทบ”มรดกโลก” ต้องมีการศึกษาประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) โดย รฟท.ได้ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ล่าสุด รฟท.ได้จัดทำรายงาน HIA ส่งต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และเสนอต่อกับคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก (UNESCO) จะลงพื้นที่ สถานีอยุธยา รายงานข่าวจากรฟท.ระว่าได้รับการประสานว่า ผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโก จะลงพื้นที่ สถานีอยุธยา ช่วงวันที่19 -21 ม.ค. 2568 จากนั้นจะมีการประเมินและให้คะแนน

ซึ่งรฟท.และเอกชนมีความพร้อมที่จะลงนามสัญญาก่อสร้างสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ทันที ที่มีผลการประเมินยูเนสโก

@รอซี.พี.แก้สัญญา รับโครงสร้างร่วม”ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

ส่วน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.ซึ่งเป็นช่วงโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยสรุปให้ซี.พี.ก่อสร้างโครงสร้างร่วม ทั้ง 2 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดกพอ.) พิจารณาอนุมัติในหลักการการแก้ไขปรับปรุงสัญญา อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ

“เดิมสกพอ.หรือ อีอีซี ตั้งเป้า เสนอครม.รับทราบแก้สัญญา ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ในเดือนต.ค.2567 แต่มีปัญหาท้วงติงจากครม.จึงยังต้องรอเสนอครม.ก่อนคาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาได้ในต้นปี 2568 โดยคาดหมายว่า ซี.พี.จะเริ่มก่อสร้าง ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ก่อนเพื่อเร่งรัดให้ทันกับรถไฟไทย-จีน “

@ปรับแบบช่วงโคราช ค้างเติ่ง รอเสนอครม.เคาะเกลี่ยงบ

อีกสัญญาที่มีปัญหา เพราะการปรับแบบ คือ สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท โดยมี การปรับรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ ระยะทาง 7.85 กม. ทำให้มีค่างานก่อสร้างเพิ่มอีก 4,791.45 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างเพิ่มอีกประมาณ 28 เดือน ซึ่งบอร์ดรฟท.อนุมัติแล้ว เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอครม.ขออนุมัติเพิ่มงบในสัญญาดังกล่าว โดยใช้วิธีเกลี่ยงบของทั้งโครงการ ที่ยังมีวงเงินเหลือจากการประมูล

โดยปัจจุบัน สัญญา 3-5 งานคืบหน้า 11.922 % ล่าช้าถึง 68.708 %

@งานออกแบบ จัดหาติดตั้ง ระบบราง ระบบรถ ไม่ขยับ

สำหรับงานระบบ และขบวนรถนั้น อยู่ใน สัญญา 2.3 (ราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร) ซึ่งรฟท. ลงนามจ้างบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) ซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น(CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) รัฐวิสาหกิจของจีนในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ (G to G) เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 วงเงิน50,633.50 ล้านบาท เริ่มงานออกแบบวันที่ 22 ธ.ค. 2563

การออกแบบตามสัญญาเบื้องต้นเสร็จแล้ว งานคืบหน้า 0.950 % ล่าช้าถึง 58.96% (แผนงาน 59.910%) ประเด็นปัญหาตอนนี้ คือ รฟท.พยายามเจรจาขอให้งานระบบ ทยอยเข้าพื้นที่ ตามงานโยธาที่ก่อสร้างเสร็จ แต่ทางจีนเห็นว่าควรเข้าพื้นที่พร้อมกันทั้งเส้นทาง

@นโยบายใหม่สั่ง PPP ร่วมทุนเอกชนเดินรถ”กรุงเทพ-หนองคาย”

ส่วนความคืบหน้าในการเดินรถนั้น เดิมจะมีการจัดตั้ง”องค์กรพิเศษ” เพื่อกำกับการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่11 ก.ค. 2560 โดยกำหนดให้เป็นองค์กรอิสระจากการกำกับกิจการของการรถไฟฯ เพื่อให้กำกับการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพมีโครงสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวและเหมาะสม สำหรับดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งกำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการสนับสนุน ทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่องบประมาณของรัฐ สามารถวางแผนและควบคุมให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยล่าสุด กรมการขนส่งทางราง ได้เสนอผลการศึกษาต่อกระทรวงคมนาคม ว่า การเดินรถไฟความเร็วสูงควรให้รฟท.ศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนตาม พรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ. 2562 เพื่อลดภาระด้านงบประมาณของรัฐบาล ในการลงทุนงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และขบวนรถ ลดความเสี่ยงของภาครัฐในด้านการบริหารจัดการ และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และเอกชนสามารถบริหารจัดการ บำรุงรักษา และเดินรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอิสระจากการบริหารจัดการ มีความคล้องตัวและเหมาะสม

ขณะที่การจัดตั้งองค์กรพิเศษ ไม่สามารถดำเนินการได้จากข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โดยกระทรวงคมนาคมเห็นชอบแนวทางดังกล่าวและมอบหมายให้รฟท.ดำเนินการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ การปรับเปลี่ยนรูปแบบจาก องค์กรพิเศษ เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ​เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปัจจุบันและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และให้ รฟท. เร่งดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในส่วนของการบริหารจัดการโครงการให้ทันกำหนดการเปิดให้บริการ

@บอร์ดรฟท.ไฟเขียวทบทวนมติครม.”ตั้งองค์กรพิเศษ”

ล่าสุด บอร์ดรฟท. วันที่ 19 ธ.ค. 2567 เห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 ที่ให้รฟท.จัดตั้งองค์กรพิเศษ ขึ้นมาบริหารจัดการเดินรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา โดยจะปรับรูปแบบเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุน ตลอดสาย กรุงเทพ-หนองคาย ระยะทางรวม 607.89 กม. ซึ่ง รฟท.ตั้งงบ 40 ล้านบาทสำหรับจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการร่วมทุนเอกชนฯ ใช้เวลาศึกษา 6-8 เดือน…ปัญหาอุปสรรค ทั้งหมดนี้ อาจจะกระทบไทม์ไลน์การเปิดให้บริการเดินรถเฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี 2571 หรืออีก 4 ปี ข้างหน้าแน่นอน!


## 7 Years On, Thai-Chinese High-Speed Rail Only 38% Complete, with No Progress on Train Production

**Bangkok--** The Thai-Chinese high-speed railway project connecting Bangkok and Nakhon Ratchasima, spanning 250.77 km with a budget of 179.41 billion baht, has seen frustratingly slow progress. Despite a decade passing since the initial Memorandum of Understanding (MOU) was signed on December 19, 2014, and seven years since the official construction launch on December 21, 2017, the project is only 38.07% complete.

**Construction Lags Behind Schedule**

The project, divided into 14 civil engineering contracts, has only completed two sections:

* Section 1-1: Klong Dong - Pang Asok (3.5 km), constructed by the Department of Highways.
* Section 2-1: Sikhio - Kut Chik (11 km), with a budget of 3.11 billion baht, constructed by Civil Engineering Co., Ltd.

The remaining 12 contracts are facing significant delays, with 10 under construction and two still in the procurement process. As of November 25, 2024, overall progress lags 39.984% behind schedule.

Several contracts are facing significant delays due to land expropriation issues, changes in design, and the need to relocate oil pipelines. For example:

* Contract 4-2: Don Mueang - Nuan Khon (21.80 km) is 98.01% behind schedule.
* Contract 4-6: Phra Kaeo - Saraburi (31.60 km) is 90.27% behind schedule.
* Contract 3-5: Khok Kruat - Nakhon Ratchasima (12.38 km) is 68.708% behind schedule.

**UNESCO Inspection for Ayutthaya Station**

Contract 4-5, covering the Ban Pho - Phra Kaeo section (13.30 km), is stalled due to concerns over the Ayutthaya station's impact on the city's World Heritage status. UNESCO experts are scheduled to visit the site in January 2025 to assess the situation.

**Design, Procurement, and Installation of Rail Systems Remain Stagnant**

Contract 2.3, responsible for the rail system, electrical and mechanical systems, train procurement, and personnel training, was awarded to China Railway International Co., Ltd. in October 2020 with a budget of 50.63 billion baht. However, progress has been minimal, with design work only 0.95% complete and 58.96% behind schedule.

**Shift to Private Sector Participation in Train Operation**

The initial plan to establish a special organization to manage the high-speed rail project has been scrapped. Instead, the government is now exploring a public-private partnership (PPP) model to reduce financial burden and improve efficiency. This change requires further study and could potentially impact the planned 2028 opening of the first phase (Bangkok - Nakhon Ratchasima).

**Conclusion**

The Thai-Chinese high-speed rail project faces numerous challenges, including construction delays, land expropriation issues, UNESCO concerns, and slow progress in rail system procurement. The shift to a PPP model for train operation adds another layer of complexity. These obstacles cast doubt on the feasibility of meeting the 2028 target for the opening of the first phase.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2024 9:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
7 ปี! รถไฟ”ไทย-จีน”สร้างได้แค่ 38% งานระบบผลิตขบวนรถกว่า 5 หมื่นล้านยังไม่ขยับ ‘คมนาคม’สั่งเปลี่ยนให้เอกชนร่วมทุนเดินรถ
ผู้จัดการออนไลน์ วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:44 น.


7 ปี! รถไฟ”ไทย-จีน”สร้างได้แค่ 38% งานระบบผลิตขบวนรถกว่า 5 หมื่นล้านยังไม่ขยับ ‘คมนาคม’สั่งเปลี่ยนให้เอกชนร่วมทุนเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:01 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:19 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2557 หรือ 10 ปีแล้ว แต่หากนับจุดเริ่มต้นการก่อสร้างจากพิธีอย่างเป็นทางการ ณ มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ที่ ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 เท่ากับก่อสร้างมา 7 ปีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่ามีความคืบหน้าเพียง 38.070% เท่านั้น

[url]บอร์ด รฟท. เคาะศึกษาประมูล PPP เดินรถ “ไฮสปีดไทย-จีน” เฟส 1[/url]
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:00 น.

บอร์ด รฟท.ไฟเขียวศึกษาร่วมทุน PPP เดินรถ “ไฮสปีดไทย-จีน” เฟส 1 หลังมติครม.เดิม สั่งแต่งตั้งองค์กรพิเศษคุมโปรเจ็กต์ คาดชงครม.เคาะประมูลภายในปี 69 ลุ้นได้ตัวผู้ชนะภายในปี 70
รายงานข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีมติเห็นชอบให้รฟท.รายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม ) พิจารณาอนุมัติ ทบทวนมติครม. เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 โดยให้รฟท.พิจารณาศึกษา รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะที่ 1 (ไฮสปีดไทย-จีน) ตามพระราชบัญญัติระหว่างการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2562

ทั้งนี้จากเดิมที่มติครม.ให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษ ที่เป็นอิสระจากการกำกับกิจการของรฟท.เพื่อกำกับการดำเนินงานโครงการฯให้มีประสิทธิภาพ



นอกจากนี้ให้มีโครงสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวและเหมาะสมสำหรับดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ และบุคลากรให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต

ขณะเดียวกันการจัดตั้งองค์กรพิเศษ ดังกล่าวต้องดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบ แล้วมติครม.ที่เกี่ยวข้องต่อไป

“กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาว่าจะจัดตั้งองค์กรตามเดิมที่มีมติครม.หรือไม่ แต่รฟท.มีหน้าที่เพื่อพิจารณาศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) หากไม่มีการใช้ในรูปแบบ PPP ก็มีความจำเป็นต้องตั้งองค์กร แต่ถ้าเดินหน้า PPP ไม่จำเป็นต้องตั้งองค์กรก็ได้” รายงานข่าวจากรฟท. กล่าว




รายงานข่าวจากรฟท.กล่าวต่อว่า ตามแผนรฟท.เสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว คาดว่าจะเสนอครม.เห็นชอบภายในปี 2568 หลังจากนั้นจะใช้เวลาศึกษาภายใน 6-8 เดือน จะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2568 และเสนอต่อครม.เห็นชอบการประกาศประกวดราคาในรูปแบบ PPP ภายในปี 2569 ซึ่งจะได้ตัวผู้ชนะประมูลภายในปี 2570 เพื่อให้ทันก่อนไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 ที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2571

“ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PPP ทันต่อการเปิดให้บริการไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 ภายในปี 2571 ซึ่งขั้นตอนของสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบเพื่อจัดหาขบวนรถ โดยคาดว่าจะเปิดประมูล PPP เดินรถหรือซ่อมบำรุงรักษา รวมถึงการจัดหาพื้นที่รอบสถานี โดยให้เอกชนรายเดียวได้ตลอดเส้นทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโมเดลผลการศึกษาด้วย” รายงานจากรฟท.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2024 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

ล่าสุดรถไฟความเร็วสูงประเทศไทย
รถไฟไทยสดใส
Dec 24, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=_KWLpsIvkOc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2024 10:38 am    Post subject: Reply with quote

สกพอ.ส่ง 'กฤษฎีกา' เคลียร์ทาง ชง ครม.แก้สัญญาไฮสปีด CP
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Thursday, December 26, 2024 09:34

การรถไฟฯ มั่นใจ ม.ค.นี้ ดันแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบินเข้า ครม. เคาะลงนาม “ซีพี” พร้อมลุยสร้างทันที แจงกรณีล้มประมูลเพื่อดึงโครงการกลับมาสร้างเองและเปิด PPP จัดหาเอกชนเดินรถใหม่ เป็นเพียงโมเดลหากไม่สามารถแก้ไขสัญญาได้

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท เอเชีย เอราวันจำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 หลังชนะการประมูลและขอรับเงินร่วมลงทุนจากรัฐต่ำสุด 117,226 ล้านบาท

ในปี 2563 เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ขอให้ภาครัฐออกมาตรการเยียวยาผลกระทบที่ทำให้ผู้โดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ลดลง และมีผลต่อประมาณการณ์ผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูง โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการเยียวยาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564 และนำมาสู่การเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนถึงปัจจุบัน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบแก้ไขสัญญา 5 ประเด็น เมื่อเดือน ต.ค.2567 และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) อยู่ระหว่างเตรียมเรื่องเสนอ ครม.

ทั้งนี้ เดิมมีแผนจะเสนอภายในปี 2567 แต่ต้องสอบถามความเห็นทางกฎหมายกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญถึงการดำเนินงานต้องมีความรอบคอบทางกฎหมาย

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ขณะนี้การแก้ไขร่างสัญญาร่วมลงทุนอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ เนื่องจากมีการปรับขั้นตอนการทำงานเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน

สำหรับก่อนหน้านี้จะเสนอพิจารณาแก้ไขสัญญาเข้า ครม. 2 รอบ แบ่งเป็น เสนอเพื่อพิจารณาในหลักการ และกลับมาทำร่างสัญญาให้อัยการตรวจสอบ ก่อนเสนอกลับไป ครม.อนุมัติอีกครั้ง แต่ตอนนี้ปรับแผนงานเป็นนำร่างสัญญาใหม่ให้อัยการตรวจสอบเลย เมื่อแล้วเสร็จจึงจะเสนอไป ครม.พิจารณาคราวครั้งเดียว ทำให้ต้องตรวจสอบรายละเอียดไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สกพอ.เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาภายในเดือน ม.ค.2568 เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างสัญญาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวตามที่ได้เจรจากับเอกชนคู่สัญญา

โดยปัจจุบันยังยืนยันว่าโครงการดังกล่าวจะเดินหน้าไปตามมติของที่ประชุม กพอ. คือ การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และยังไม่มีการเจรจาถึงแนวทางยกเลิกสัญญาเพื่อเปิดประมูลจัดหาเอกชนรายใหม่ รวมถึงแนวทางที่จะให้ รฟท.กลับมาลงทุนพัฒนางานโยธาเอง และนำเปิดจัดหาเอกชนร่วมลงทุนเฉพาะส่วนของงานเดินรถ

“ตอนนี้คณะทำงานทั้ง 3 ฝ่าย ซึ่งมีตัวแทนจากการรถไฟฯ สกพอ.และเอกชน ยังคงมีข้อสรุปร่วมกันในการแก้ไขสัญญาร่วมทุนและเดินหน้าโครงการ ที่ผ่านมายังไม่เคยหารือถึงการยกเลิกสัญญาและเปิดประมูลใหม่ แต่หากท้ายที่สุดเป็นนโยบายของรัฐบาล การรถไฟฯ ยืนยันความพร้อมที่จะดำเนินโครงการนี้เอง”

นายวีริศ กล่าวว่า หาก ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ควรแก้ไขสัญญาร่วมทุน และนำไปสู่การเปิดประมูลโดยแบ่งสัญญาออกเป็นภาครัฐรับผิดชอบงานโยธา และภาคเอกชนรับผิดชอบงานเดินรถ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนในลักษณะเดียวกันกับหลายๆ โครงการรถไฟฟ้า ทาง รฟท.ยืนยันว่าไม่ได้ขัดอะไร แต่รัฐบาลต้องจัดหาแหล่งเงินในการลงทุนงานโยธา

อีกทั้งเชื่อว่าหากจะดำเนินการลักษณะนี้คงต้องจัดลำดับความสำคัญทางการลงทุน เนื่องด้วยปัจจุบัน รฟท.มีโครงการเตรียมลงทุนรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รวม 7 เส้นทาง และโครงการไฮสปีดไทยจีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย โดยโครงการเหล่านี้จะเริ่มดำเนินการในปี 2568 ดังนั้น มองว่า รฟท.มีโครงการที่ต้องลงทุนจำนวนมาก และหากต้องนำโครงการไฮสปีดสามสนามบินกลับมาดำเนินการเอง ก็จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญ

“ต้องรอให้รัฐบาลพิจารณาก่อน ซึ่งหากจะไปสู่การยกเลิกสัญญาต้องพิจารณาถึงส่วนได้ส่วนเสียด้วย ต้องพิจารณาแง่กฎหมายว่ากรณียกเลิกสัญญาต้องชดใช้คู่สัญญาหรือไม่ และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ อีกทั้งหากจะประมูลใหม่ก็ต้องยอมรับว่านอกจากจะทำให้โครงการนี้ล่าช้าแล้ว จะกระทบไปถึงสัญญาโครงสร้างร่วมไฮสปีดไทย-จีนที่ยังรอการก่อสร้างในช่วงทับซ้อนบางซื่อ-ดอนเมือง”

ยกเลิกสัญญาได้หาก “ซีพี” ไม่ลงนามสัญญา

นายจุฬา กล่าวว่า ประเด็นการยกเลิกสัญญาและเปิดประมูลใหม่นั้น เป็นเพียงการประเมินแผนหากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนอัยการสูงสุดตรวจสอบร่างสัญญา เพื่อเตรียมเสนอให้ ครม.พิจารณาแก้ไขร่างสัญญาร่วมทุน ซึ่งคาดว่าจะเสนอได้ภายในเดือน ม.ค.2568 หลังจากนั้นจึงจะลงนามสัญญากับเอกชนคู่สัญญาต่อไป

ทั้งนี้ จากการปรับแผนงานดังกล่าวทำให้ภาพรวมการดำเนินงานล่าช้าออกไป 1 เดือน จากเดิมคาดว่าจะเสนอ ครม.พิจารณาภายใน ธ.ค.2567 เพื่อแก้ไขสัญญา และให้เอกชนเริ่มก่อสร้างทันทีในไตรมาส 1 ปีหน้า แต่ขณะนี้จะขยับไทม์ไลน์ออกไป 1 เดือน โดยคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในเดือน ม.ค.2568 แต่ยังมั่นใจว่า รฟท. จะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 1 ปีหน้าเช่นเดิม

นายจุฬา กล่าวด้วยว่า กรณีที่จะนำไปสู่การยกเลิกสัญญากับกลุ่มซีพี จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกรณีเอกชนไม่ลงนามสัญญาหรือไม่เริ่มก่อสร้างโครงการ หลังจากนั้นภาครัฐโดย รฟท.เนื่องจากเป็นเจ้าของโครงการนี้ต้องดำเนินการเอง ซึ่งเงินทุนก่อสร้างหากโครงการนี้ผ่านการพิจารณาจาก ครม.ต้องเตรียมงบประมาณลงทุน 1.2 แสนล้านบาทอยู่แล้ว

ดังนั้นหากเอกชนไม่ดำเนินการภาครัฐนำงบประมาณส่วนนี้มาดำเนินการก่อสร้างเองได้ และหลังจากนั้นจึงไปศึกษาต่อว่าจะใช้รูปแบบ PPP เดินรถหรือไม่ อย่างไร

“คลัง” ชู 5 ประเด็นหลักเห็นชอบแก้ไขสัญญา

สำหรับผลของการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนล่าสุด กพอ.ที่มีนายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเห็นชอบแก้ไขสัญญา 5 ประเด็น คือ

1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิมเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐแบ่งจ่าย 149,650 ล้านบาท ปรับเป็นลักษณะสร้างไปจ่ายไป โดยรัฐจ่ายเงินสนับสนุนเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ เอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็น 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดบริการภายใน 5 ปี โดยกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของรัฐทันทีตามงวดการจ่ายเงิน สำหรับการวางหลักประกันนั้น เอกชนยังไม่ต้องวางหลักประกันทันทีที่ลงนามแก้ไขสัญญาร่วมทุน โดยใช้เวลาหาหลักประกันได้แต่เมื่อต้องการเบิกรับเงินสนับสนุนต้องวางหลักประกันทันที

“เอกชน” วางค้ำประกันเท่ากับค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์

2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่ากัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้เอกชนต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท.ต้องรับภาระ

3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดอย่างมีนัยสําคัญ และทำให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกัน

4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท.ออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมด

5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น


## State Enterprise Policy Office Sends High-Speed Rail Contract Amendment to Council of State, Prepares for Cabinet Approval

**Source:** Krungthep Turakij Online, Thursday, December 26, 2024, 09:34

The State Railway of Thailand (SRT) is confident that the amended contract for the high-speed rail linking three airports will be presented to the Cabinet for approval in January 2025, allowing CP to proceed with construction. The SRT clarified that the option of canceling the current contract to reclaim the project and re-tender it under a PPP model with a new private operator for train operations is a contingency plan if the contract amendment fails.

The high-speed rail project linking Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao airports is a key infrastructure project of the Eastern Economic Corridor (EEC). The original joint investment contract was signed between the SRT and Asia Era One Company Limited, majority-owned by Charoen Pokphand (CP) Group, on October 24, 2022, after CP won the bid with the lowest requested government co-investment of 117.226 billion baht.

In 2023, the COVID-19 pandemic led Asia Era One to request government relief measures to mitigate the impact of reduced Airport Rail Link ridership, which affected high-speed rail passenger projections. The Cabinet approved the relief measures on October 19, 2024, leading to ongoing negotiations for contract amendments.

The Eastern Economic Corridor Policy Committee (EECPC) approved five amendments to the contract in October 2027, and the Eastern Economic Corridor Office (EECO) is preparing to submit them to the Cabinet.

Initially planned for submission within 2027, the process was delayed to seek legal opinions from the Council of State due to the government's emphasis on legal thoroughness.

Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the EECO, stated that the revised draft of the joint investment contract is currently under review by the Council of State. The workflow has been adjusted to avoid redundancy.

Previously, the contract amendment would have been submitted to the Cabinet in two phases: first for in-principle consideration, followed by a revised draft reviewed by the Attorney General before final Cabinet approval. The revised plan streamlines this process by having the Attorney General review the new draft directly, allowing for a single Cabinet consideration. This necessitates meticulous legal scrutiny.

Mr. Wirith Amrapal, Governor of the SRT, said that the EECO is preparing to submit the contract to the Cabinet for consideration in January 2025.

He confirmed that the project will proceed according to the EECPC's resolution, focusing on amending the existing joint investment contract. There have been no discussions on terminating the contract for a new bidding process or having the SRT take over civil works while seeking a private partner for train operations.

"Currently, the working group, comprising representatives from the SRT, EECO, and the private sector, agrees on amending the joint venture contract and moving forward with the project. There have been no discussions about terminating the contract and re-tendering. However, if it becomes government policy, the SRT is prepared to undertake this project," Mr. Wirith stated.

He added that if the Cabinet decides against amending the contract and opts for re-tendering with separate contracts for civil works (government responsibility) and train operations (private sector responsibility), similar to many other electric train projects, the SRT will comply. However, the government must secure funding for the civil works.

Mr. Wirith believes that such an approach would require prioritizing investments. The SRT has planned investments in Phase 2 of the double-track railway (7 routes) and Phase 2 of the Thai-Chinese high-speed rail (Nakhon Ratchasima - Nong Khai), both commencing in 2025. He emphasized the SRT's numerous investment commitments and the need to prioritize if the three-airport high-speed rail project reverts to SRT management.

"We have to wait for the government's decision. If the contract is terminated, we must consider the implications, including legal aspects of compensation and liability. Re-tendering would not only delay this project but also impact the Thai-Chinese high-speed rail contract, which awaits construction in the overlapping Bang Sue - Don Mueang section."


**Contract Termination Possible if CP Does Not Sign**

Mr. Chula stated that terminating the contract and re-tendering is a contingency plan if amending the joint investment contract proves impossible. However, the project currently awaits the Attorney General's review of the draft contract for submission to the Cabinet, expected in January 2025, followed by signing with the private partner.

This revised plan delays the overall process by one month. The initial expectation was for Cabinet consideration in December 2027, enabling immediate construction in Q1 2028. The timeline now shifts by one month, with Cabinet consideration expected in January 2028. However, the EECO remains confident that the SRT can deliver the site for construction in Q1 2028 as planned.

Mr. Chula added that contract termination with CP would occur only if the company refuses to sign or commence construction. In such a scenario, the SRT, as the project owner, would assume responsibility. The project's budget, pending Cabinet approval, is 120 billion baht.

If the private sector withdraws, the government can use this budget for construction and subsequently explore PPP options for train operations.

**Ministry of Finance Highlights 5 Key Points for Contract Amendment**

The EECPC, chaired by Deputy Prime Minister and Minister of Finance Mr. Pichai Chunhavajira, approved five key amendments to the joint investment contract:

1. **Payment method for Public Investment Cost (PIC):** Instead of the original lump-sum payment of 149.650 billion baht upon commencement of high-speed rail operations, the revised method adopts a "build-as-you-pay" approach. The government will provide installment payments based on construction progress verified by the SRT, with a cap of 120 billion baht.

CP must provide additional guarantees, increasing the total to 160 billion baht, to ensure construction and operation within five years. Ownership of structures will progressively transfer to the state with each payment installment. CP is not required to provide these guarantees immediately upon signing the amended contract but must do so before receiving any payments.

2. **Payment schedule for Airport Rail Link rights:** CP will pay the 10.671 billion baht fee for co-investment rights in the Airport Rail Link in seven equal annual installments. The first installment is due upon signing the amended contract. CP must provide bank guarantees covering the Airport Rail Link fee and other related financial costs borne by the SRT.

3. **Additional revenue sharing:** If future loan interest rates for the project decrease significantly, increasing CP's internal rate of return (IRR) beyond 5.52%, the SRT can demand additional revenue sharing based on a mutually agreed amount.

4. **Waiver of Notice to Proceed (NTP) conditions:** The parties will execute a memorandum of understanding waiving unfulfilled NTP conditions, allowing the SRT to issue the NTP immediately upon signing the amended contract.

5. **Protection against future risks:** Contract clauses related to force majeure and extenuating circumstances will be revised to align with other public-private partnership contracts, safeguarding against severe financial impacts on the project.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2024 10:42 am    Post subject: Reply with quote

“รฟท.” พร้อมสร้าง “รถไฟไฮสปีดสามสนามบิน” เอง! หากรัฐไม่แก้สัญญา แต่ต้องหาเงินให้ | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Thursday, December 26, 2024 08:41

“รฟท.” ชี้ยังไม่มีการเจรจายกเลิกสัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน คาด “สกพอ.” ชง ครม. เคาะแก้ไขสัญญาฯเดินหน้าต่อ ม.ค.68 ลั่นหากสุดท้ายรัฐบาลมองว่าไม่ควรแก้สัญญา “รฟท.” พร้อมก่อสร้างเอง แต่รัฐต้องหาแหล่งเงินให้

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า ขณะนี้ทราบว่าสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เตรียมเสนอแก้ไขร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาภายในเดือนม.ค.68 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการเจรจาถึงแนวทางยกเลิกสัญญา เพื่อเปิดประมูลจัดหาเอกชนรายใหม่ รวมถึงแนวทางที่จะให้ รฟท.กลับมาลงทุนงานโยธาเอง และหาเอกชนร่วมลงทุนเฉพาะส่วนของงานเดินรถ อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้วหากเป็นนโยบายของรัฐบาลว่าไม่ควรแก้ไขสัญญา และให้ยกเลิกสัญญา หรือประมูลใหม่ ทาง รฟท. ก็พร้อมก่อสร้างโครงการเอง แต่รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินทุนให้ด้วย

นายวีริศ กล่าวต่อว่า เรื่องแก้ไขสัญญาฯ ควรต้องจบภายในเดือน ม.ค.68 เพื่อไม่ให้กระทบกับภาพรวมโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เนื่องจากสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง มีโครงสร้าง 2 โครงการทับซ้อนกัน ขณะเดียวกันสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ที่ยังติดปัญหาเรื่องสถานีอยุธยา ก็ควรจบภายในเดือน ม.ค.-ก.พ.68 เช่นกัน เบื้องต้นจะรอผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประเมินรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม HIA ในวันที่ 18-22 ม.ค.68 ก่อน หากไม่มีปัญหาใดจะลงนามสัญญากับผู้รับจ้างต่อไป ทั้งนี้ รฟท. ยังคงเป้าหมายให้การก่อสร้างรถไฟไฮสปีดไทย-จีนแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2571.


SRT Ready to Build High-Speed Rail Linking Three Airports If Government Doesn't Amend Contract, But Needs Funding

Source: Daily News Website, Thursday, December 26, 2024, 08:41

The State Railway of Thailand (SRT) clarified that there have been no discussions about terminating the contract for the high-speed rail project connecting three airports (Don Mueang - Suvarnabhumi - U-Tapao). The SRT expects the Eastern Economic Corridor Office (EECO) to submit the amended contract to the Cabinet for consideration in January 2025.

Mr. Wirith Amrapal, Governor of the SRT, stated that the EECO is preparing to submit the revised joint investment contract for the project to the Cabinet for review in January 2025. Currently, there are no negotiations to terminate the contract and re-tender it to a new private operator, nor are there plans for the SRT to take over civil works and seek a private partner solely for train operations.

However, if the government ultimately decides against amending the contract and opts for termination or re-tendering, the SRT is prepared to construct the project itself, provided the government secures the necessary funding.

Mr. Wirith emphasized the urgency of finalizing the contract amendment by January 2025 to avoid impacting the overall progress of the Thai-Chinese high-speed rail Phase 1 (Bangkok - Nakhon Ratchasima). This is particularly crucial because Contract 4-1 (Bang Sue - Don Mueang) involves overlapping infrastructure with the three-airport project.

Additionally, he stressed the need to resolve issues with Contract 4-5 (Ban Pho - Phra Kaeo), which faces delays due to the Ayutthaya station, by January or February 2025. UNESCO experts are scheduled to visit Ayutthaya province on January 18-22, 2025, to assess the Heritage Impact Assessment (HIA) report. If no issues arise, the SRT will proceed with signing the contract with the chosen contractor.

The SRT maintains its target for completing the Thai-Chinese high-speed rail and commencing operations in 2028.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2024 11:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“รฟท.” พร้อมสร้าง “รถไฟไฮสปีดสามสนามบิน” เอง! หากรัฐไม่แก้สัญญา แต่ต้องหาเงินให้ | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:41 น.


วัดใจ ม.ค.นี้ “รฟท.” ลุ้นบอร์ดกพอ.เคาะแก้สัญญา “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:30 น.

“รฟท.” ลุ้นบอร์ดกพอ.ไฟเขียวร่างแก้ไขสัญญา “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ภายในเดือนม.ค.68 ยืนกรานหากปิดดีลไม่สำเร็จจ่อล้มสัญญา-ศึกษาประมูลเดินรถใหม่ ฟากไฮสปีดไทย-จีน สัญญา 4-5 สะดุด รอยูเนสโกปลดล็อคสถานีอยุธยา
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด (ซีพี) คู่สัญญากับรฟท.นั้น

ขณะนี้ในปัจจุบันอยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซีจัดทำความคิดเห็นต่อร่างแก้ไขสัญญาฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) พิจารณา ซึ่งมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม ภายในเดือนม.ค.68 ก่อนเสนอครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป



ส่วนกรณีที่ทางอีอีซีมีความเห็นว่าหากการแก้ไขสัญญาไม่ได้ข้อสรุปท้ายที่สุดจะให้รฟท.เป็นผู้ดำเนินการแทนนั้น เรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งรฟท.ไม่ได้มีปัญหาขัดข้องแต่อย่างใด เพราะหากดำเนินการเป็นการกู้เงินโดยใช้งบประมาณจากภาครัฐตามมติครม.

นายวีริศ กล่าวต่อว่า หากเปลี่ยนแปลงการแก้ไขสัญญาโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน โดยภาครัฐให้รฟท.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเองตลอดเส้นทาง ต้องเสนอต่อครม.พิจารณาด้วย ก่อนยกเลิกสัญญาเดิมต่อไป

หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการศึกษาใหม่ โดยเป็นการลงทุนในรูปแบบภาครัฐเป็นผู้ก่อสร้างและเปิดประมูลหาเอกชนเดินรถ ซึ่งจะทำให้โครงการฯมีความล่าช้าออกไป

“จากที่ทราบทางอีอีซียืนยันว่าการแก้ไขร่างสัญญาไฮสปีดต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนม.ค.นี้ ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไปเพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างร่วมทับซ้อนกับสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 หากต้องการให้รฟท.เป็นผู้ดำเนินการ รัฐต้องให้นโยบายและจัดสรรงบประมาณด้วย” นายวีริศ กล่าว

นายวีริศ กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้วของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ติดปัญหาเรื่องมรดกโลกบริเวณสถานีอยุธยานั้น ขณะนี้รฟท.ได้รับทราบว่าทางผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกจะมาพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 19-20 ม.ค.68

ทั้งนี้หากได้ความชัดเจนจากยูเนสโกว่าสามารถดำเนินการได้ เบื้องต้นรฟท.จะดำเนินการให้เอกชนก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการ รฟท.พิจารณา ก่อนดำเนินการลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลเพื่อก่อสร้างภายในเดือนก.พ.68 ซึ่งเอกชนพร้อมยืนราคาภายในเดือนม.ค.-ก.พ.68 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ทันภายในปี 71
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 578, 579, 580, 581, 582, 583  Next
Page 579 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©