RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312102
ทั่วไป:13705572
ทั้งหมด:14017674
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 13, 14, 15  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2024 7:27 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุยต่อ "แลนด์บริดจ์ - รถไฟฟ้า 20 บาท" : 9 ใหม่คมนาคมไทย Weekend Talk EP.1
สํานักข่าวไทย TNAMCOT (MCOT)


https://www.youtube.com/watch?v=7DUD771TKoE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2024 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความยั่งยืน จุดเปลี่ยนเมกะโปรเจกต์ประเทศไทย
By วรรณิกา จิตตินรากร28 ธ.ค. 2024 เวลา 6:32 น.

"คมนาคม" ประกาศเป้าหมายพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมอย่างยั่งยืน มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 45.61 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าภายในปี 2573
สนข. ชู 4 มาตรการสร้างจุดเปลี่ยนเมกะโปรเจกต์ในไทย ผ่านการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาระบบขนส่งในเมือง ขยายโลจิสติกส์ระหว่างเมือง และเพิ่มประสิทธิภาพยานยนต์
กระทรวงคมนาคมประกาศเป้าหมายพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมอย่างยั่งยืน เพื่อผลักดันเป้าหมายของไทยในการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่ประกาศไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 เมื่อปี 2564

ภายใต้แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 (ค.ศ. 2021-2030) หรือ Thailand's Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030 หรือ NDC Roadmap จากเดิม 20-25% เป็น 30-40% ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ซึ่งคิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 167-222 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ในส่วนของภาคคมนาคมขนส่ง ได้รับมอบหมายให้ลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 45.61 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับหน้าที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคคมนาคม เพื่อบรรลุเป้าหมาย NDC รวมทั้งบรรลุเป้าหมายตามแผนระยะยาวในการมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง โดยระบุว่า กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของการขยายตัวของภาคขนส่ง

โดยขณะนี้ สนข.ได้ทำการศึกษาแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564 – 2573 กำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกภาคขนส่ง 45.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ แบ่งเป็น

1.มาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก 28.29 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีแผนดำเนินงานผผลักดันการเปลี่ยนแปลงรถโดยสารไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) จะต้องก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (อีวี)

2.มาตรการพัฒนาระบบขนส่งในเมือง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 1.78 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแผนดำเนินงานเบื้องต้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองหลักในภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และขอนแก่น โดยเน้นเป็นโครงการรถไฟฟ้า เนื่องจากสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ และยังขนส่งผู้โดยสารได้จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนการเดินทางได้

3.มาตรการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างเมือง คาดว่าจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 1.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกระทรวงฯ จะมุ่งเน้นการพัฒนารถไฟทางคู่ รวมไปถึงผลักดันการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งไทย - ลาว – จีน

4.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพยานยนต์ คาดว่าจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 13.94 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีแผนจัดเก็บภาษีคาร์บอนไดออกไซด์ และผลักดันมาตรการใช้มาตรฐานการปล่อยไอเสียยูโร 5 (มาตรฐานยูโร 5) หรือ EURO 5 สำหรับรถยนต์ใหม่ในประเทศ

นอกจากนี้ ยังกำหนดมาตรการสนับสนุน คือ 1.มาตรการส่งเสริมพลังงานทางเลือกในอนาคตสำหรับภาคขนส่ง โดยมุ่งเน้นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน และ 2.มาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนด้านการคมนาคมขนส่ง ผ่านการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากการขนส่งทางถนนสู่การขนส่งทางรางและทางน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดต้นทุนโลจิสติกส์

ช่วงเวลาที่จะเร่งทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้กำลังลดลงไปทุกวินาที ทุกนาที ทุกวันในแต่ละปี แต่สิ่งที่เสียมากกว่าเวลาคือโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อความยั่งยืนร่วมกันซึ่งการคมนาคมขนส่งก็จะเป็นอีกผู้เล่นที่สำคัญที่จะช่วยทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้


## Infrastructure for Sustainability: Turning Point for Thailand's Megaprojects

**By Wannika Jittinarakorn, December 28, 2024, 6:32 AM**

The Ministry of Transport has announced its goal to develop a sustainable transportation system, aiming to reduce greenhouse gas emissions by approximately 45.61 million tons of carbon dioxide equivalent by 2030.

The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) is highlighting 4 measures to create a turning point for megaprojects in Thailand through the promotion of electric vehicles, urban transport system development, expansion of intercity logistics, and improvement of vehicle efficiency.

The Ministry of Transport has declared its goal to develop a sustainable transportation system to drive Thailand's goal of addressing greenhouse gas emissions as announced at the 26th UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) in 2021.

Under Thailand's Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030 (NDC Roadmap), the target has been raised from the original 20-25% to 30-40% by 2030, which translates to a reduction of greenhouse gas emissions by approximately 167-222 million tons of carbon dioxide equivalent.

The transport sector has been tasked with reducing greenhouse gas emissions by approximately 45.61 million tons of carbon dioxide equivalent. The OTP is responsible for developing an action plan to achieve this target, in line with the NDC Roadmap and the long-term goals of carbon neutrality by 2050 and net-zero emissions by 2065.

OTP Director Panya Choopanisit revealed the action plan for reducing greenhouse gas emissions in the transport sector, stating that the Ministry of Transport is prioritizing addressing the environmental impact of climate change, particularly in the expanding transport sector.

The OTP has studied the national action plan for reducing greenhouse gas emissions for 2021-2030, setting a target to reduce emissions in the transport sector by 45.6 million tons of carbon dioxide equivalent. This is divided into:

1. **Promoting the use of electric vehicles:** Expected to reduce greenhouse gas emissions by 28.29 million tons of carbon dioxide equivalent. The plan includes promoting the transition to electric buses in Bangkok and surrounding areas, with all public buses transitioning to electric vehicles (EVs).

2. **Developing urban transport systems:** Expected to reduce greenhouse gas emissions by 1.78 million tons of carbon dioxide equivalent. The initial plan involves developing public transport systems in major cities like Chiang Mai, Phuket, and Khon Kaen, focusing on electric train projects due to their high passenger capacity, carbon reduction potential, and contribution to lower travel costs.

3. **Developing intercity transport and logistics systems:** Expected to reduce greenhouse gas emissions by 1.6 million tons of carbon dioxide equivalent. The Ministry will focus on developing double-track railways and promoting high-speed rail projects, including the high-speed rail linking three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao) and the Bangkok-Nakhon Ratchasima-Nong Khai high-speed rail project to connect Thailand with Laos and China.

4. **Increasing vehicle efficiency:** Expected to reduce greenhouse gas emissions by 13.94 million tons of carbon dioxide equivalent. This involves implementing a carbon dioxide tax and enforcing Euro 5 emission standards for new vehicles in the country.

In addition, supporting measures are defined as:

1. **Promoting alternative energy for the transport sector in the future:** Focusing on the use of hydrogen fuel and sustainable aviation fuels.

2. **Developing infrastructure and support for the transport sector:** Shifting freight transport from road to rail and waterways to increase efficiency and reduce logistics costs.

The time to accelerate efforts to achieve these goals is decreasing every second, minute, and day of each year. More importantly, we risk losing the opportunity to develop sustainably together. The transport sector will be a key player in achieving these goals.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/01/2025 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

เช็คลิสต์! คมนาคม เตรียมชงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เสนอ ครม.ปี 68
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Thursday, January 09, 2025 17:51

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ม.ค. 68)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคม จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนมิ.ย.68 ตามนโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายซึ่งจะสามารถจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมฯ ส่วนเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ของเอกชนจากการลดค่าโดยสารเหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายนั้น จะใช้เงินประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งประเมินแล้วมีเพียงพอ และในปีต่อไปอาจจะมีการจัดสรรงบประมาณบางส่วนมาช่วยจ่ายชดเชย

นอกจากนี้ จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ ซึ่งเป้าหมายสำคัญ เพื่อทำให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้ทางรถไฟ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุนก่อสร้าง


*แลนด์บริดจ์

ส่วนความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ ถือเป็นโครงการเรือธงของรัฐบาล ตั้งแต่สมัยนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมา ได้เดินทางไปโรดโชว์กับประเทศต่างๆ และได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก ทั้งทางตะวันออกกลาง ยุโรป และจีน

ส่วนการขับเคลื่อนโครงการนั้น จะต้องมีการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ พ.ศ… หรือ พ.ร.บ. SEC ขณะนี้ได้ประสานกับคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธาน เพื่อประชุมพิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC และจะผลักดันให้เกิดภายในรัฐบาลชุดนี้


*เตรียมชงครม.ในปี 68

- ด้านขนส่งทางราง ได้แก่

1. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน -ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ 15,176 ล้านบาท โดยเป็นการขอทบทวนมติ ครม. และขออนุมัติกรอบวงเงินค่าก่อสร้าง ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ โดยในแผนงานจะเปิดให้บริการเดือนต.ค.71

2. โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,310 กม. วงเงินลงทุนรวม 297,926 ล้านบาท ซึ่งผ่านขั้นตอนสอบถามความเห็นหน่วยงาน และสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนกระทรวงการคลัง จะให้ความเห็นตอบกลับภายในสัปดาห์หน้า เหลือสภาพัฒน์ที่รอกระบวนการการนำเสนอบอร์ดสภาพัฒน์พิจารณา โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการลงทุนรถไฟทางคู่ระยะ 2 ต่อภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) รวมถึงหลังก่อสร้างทางคู่แล้ว จะมีแนวทางในการให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้ทางเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะขับเคลื่อนภายใต้ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 6 เส้นทาง ประกอบด้วย

1) เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 280.54 กม. วงเงินลงทุน 81,143 ล้านบาท

2) เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 307.60 กม. วงเงินลงทุน 44,095 ล้านบาท

3) เส้นทาง ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 44.50 กม. วงเงินลงทุน 7,772 ล้านบาท

4) เส้นทาง ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168.20 กม. วงเงินลงทุน 30,422 ล้านบาท

5) เส้นทาง สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงินลงทุน 66,270 ล้านบาท

6) เส้นทาง เด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงินลงทุน 68,222 ล้านบาท

3. โครงการจัดหารถสินค้าบรรทุถกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) พร้อมอะไหล่ จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,460 ล้านบาท

4. โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 357.12 กม. มูลค่า 341,351 ล้านบาท ซึ่งสถานะปัจจุบันอยู่ขั้นตอนเสนอต่อกระทรวงการคลัง และสภาพัฒน์ให้ความเห็นชอบ

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 เป็นเส้นทางยุทธศาตร์ ที่ผ่านมา ได้มีการลงทุนเฟสแรก จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปแล้ว หากไม่ทำเฟส 2 การต่อเส้นทางไปที่หนองคาย และต่อไปยัง สปป.ลาว และจีน อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ใช้ประโยชน์ในเส้นทางได้ไม่เต็มที่ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ม.ค.68 ได้หารือกับสภาพัฒน์ แล้วว่านายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะเดินทางไปประเทศจีน ขอให้ทางสภาพัฒน์เร่งสรุปโครงการ เพื่อจะได้มีความมั่นใจกับรัฐบาลในการไปหารือกับจีนด้วย

- โครงการมอเตอร์เวย์ และทางด่วน ได้แก่

1. มอเตอร์เวย์ M9 สายถนนวงแหวน รอบนอก กรุงเทพฯ ด้านตะวันตก ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 35 กม. วงเงิน 15,862 ล้านบาท

2.โครงการมอเตอร์เวย์ M9 เชื่อมวงแหวนตะวันตก-ตะวันออก วงเงิน 4,101 ล้านบาท

3. ทางหลวงแนวใหม่เชื่อมมอเตอร์เวย์ M6-ทล.32 วงเงิน 5,495 ล้านบาท

4. โครงการทางพิเศษ จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง ของ กทพ.ภูเก็ต หรือโครงการอุโมงค์ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. มูลค่าประมาณ 16,757 ล้านบาท

5. โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก หรือทางด่วนตอน N2 เดิม ระยะทาง 11.3 กม. มูลค่าลงทุน 16,960 ล้านบาท

- โครงการเช่ารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) จำนวน 1,520 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงิน 15,355 ล้านบาท


Checklist! The Ministry of Transport is preparing to propose an infrastructure investment project to the Cabinet in 2025.
Source - IQ Infoquest News Agency
Thursday, January 09, 2025 17:51

Infoquest News Agency (09 Jan 68)

Mr. Suriya Juangroongruangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, revealed that in 2025, the Ministry of Transport will push for the draft of the Joint Ticket System Management Act to be effective by June 2025 in accordance with the policy to reduce the electric train fare to 20 baht for all lines, which will allow the establishment of a Joint Ticket Fund. As for the compensation for the difference in income for the private sector from reducing the fare to no more than 20 baht for all lines, it will cost approximately 8 billion baht per year, which is assessed as sufficient. In the following year, some budget may be allocated to help pay compensation.

In addition, the draft of the Rail Transport Act will be pushed for, which is an important goal to encourage the private sector to participate in using the railway in order to maximize the benefits and make the investment in construction worthwhile.

*Land Bridge

As for the progress of the transportation infrastructure development project to develop the Southern Economic Corridor And connecting transportation between the Gulf of Thailand and the Andaman Sea (Chumphon-Ranong) or the Land Bridge project is considered a flagship project of the government since Mr. Sathit Thaveesin was the Prime Minister. In the past, he has traveled to various countries for roadshows and has received a lot of attention from investors, both in the Middle East, Europe and China.

As for the project's implementation, there must be a draft of the Southern Economic Corridor Act B.E. ... or the SEC Act. Currently, we have coordinated with the Special Economic Zone Development Policy Committee (SEZPC) chaired by Mr. Pichai Chunhavajira, Deputy Prime Minister and Minister of Finance, to hold a meeting to consider granting the authority to the ONCB to draft the SEC Act and will push for it to happen within this government.

*Prepare to propose to the Cabinet in 2025

- Rail transportation:

1. The suburban railway system project (Red Line) from Taling Chan - Taling Chan - Salaya, total distance 20.5 km, project budget 15,176 million baht, is a request to review the Cabinet resolution and request approval of the construction budget framework. Currently, it is under consideration by relevant agencies such as the Budget Bureau and the National Economic and Social Development Board (NESDB). The plan is to open for service in October 2028.

2. The dual-track railway project phase 2, 6 routes, total distance 1,310 km, total investment budget 297,926 million baht, which has passed the process of asking for opinions from agencies and the Budget Bureau has given its approval. The Ministry of Finance will provide feedback within the next week. The NESDB is waiting for the process of presenting to the NESDB board for consideration. The Department of Rail Transport (DRT) has explained the reasons for the necessity of investing in the dual-track railway phase 2 to the National Economic and Social Development Board (NESDB), including after the dual-track construction. There will be guidelines for private sector participation in using the road to increase investment value, which will be driven under the Rail Transport Act.

For the dual-track railway project, Phase 2, 6 routes, consisting of:

1) Pak Nam Pho-Den Chai route, 280.54 km long, investment budget 81,143 million baht

2) Chum Thong Jira-Ubon Ratchathani route, 307.60 km long, investment budget 44,095 million baht

3) Chum Thong Hat Yai-Padang Besar route, 44.50 km long, investment budget 7,772 million baht

4) Chumphon-Surat Thani route, 168.20 km long, investment budget 30,422 million baht

5) Surat Thani-Chum Thong Hat Yai-Songkhla route, 321 km long, investment budget 66,270 million baht

6) Den Chai-Chiang Mai route, 189 km long, investment budget 68,222 million baht

3. Project to procure 946 container trucks (TBT) with spare parts, budget 2,460 million baht

4. The cooperation project between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People's Republic of China to develop a high-speed rail system to connect the region, Bangkok-Nong Khai section (Phase 2, Nakhon Ratchasima-Nong Khai section), a distance of 357.12 km, worth 341,351 million baht, which is currently in the process of being proposed to the Ministry of Finance and the National Economic and Social Development Board for approval.

In addition, the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 2, is a strategic route. In the past, there has been investment in the first phase from Bangkok-Nakhon Ratchasima. If Phase 2 is not done, the extension to Nong Khai and on to the Lao PDR and China may not be as targeted, which will result in the route not being fully utilized. Most recently, on January 7, 2025, the National Economic and Social Development Board discussed with the National Economic and Social Development Board that the Prime Minister is scheduled to travel to China. The National Economic and Social Development Board is requested to expedite the project conclusion. To ensure the government’s confidence in discussing with China

- Motorway and expressway projects include:

1. Motorway M9, Outer Ring Road, Bangkok, West, Bang Bua Thong-Bang Pa-in, 35 km long, 15,862 million baht

2. Motorway M9 project connecting the Western and Eastern Ring Roads, 4,101 million baht

3. New highway connecting Motorway M6-Highway 32, 5,495 million baht

4. Phuket Expressway Project, Phase 1, Kathu-Patong, by the Phuket Expressway Authority or the Patong Tunnel Project, 3.98 km long, approximately 16,757 million baht

5. Chalong Rat Expressway Project-Outer Ring Road, East, or the original N2 Expressway, 11.3 km long, 16,960 million baht

- Project to lease 1,520 clean energy air-conditioned buses (EVs) by the Bangkok Mass Transit Authority (BMTA) Budget: 15,355 million baht
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2025 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เช็คลิสต์! คมนาคม เตรียมชงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เสนอ ครม.ปี 68
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา17:51 น.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ม.ค. 68)


Mongwin wrote:
รมว.คค.เตรียมชง ครม.พิจารณา 9 โครงการลงทุน วงเงินกว่า 3.7 แสน ล.
Source - ผู้จัดการออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13:43 น.


“สุริยะ” เข็นลงทุนปี 68 รวม 223 โครงการ 1.36 แสนล้าน ผุด 116 โครงการใหม่ วงเงิน 8.28 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 18:22 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:53 น.

KEY POINTS
• มีโครงการใหม่ 116 โครงการ วงเงิน 8.28 หมื่นล้านบาท
• มีแผนลงทุนต่อเนื่องในปี 2569 อีก 64 โครงการ วงเงิน 1.16 แสนล้านบาท
• โครงการครอบคลุมมอเตอร์เวย์ ทางด่วน ทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง




“สุริยะ” เข็นลงทุนโปรเจกต์ "คมนาคฒ" ปี 68 รวม 223 โครงการ วงเงิน 1.36 แสนล้าน ผุด 116 โครงการใหม่ วงเงิน 8.28 หมื่นล้านบาท พร้อมดันอีก 64 โครงการลงทุนปี 69 วงเงิน 1.16 แสนล้าน ทั้งมอเตอร์เวย์-ทางด่วน-ท่าเรือท่องเที่ยว-ทางคู่-ไฮสปีด-สนามบิน

วันที่ 8 มกราคม 2568 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคม เพื่อโอกาสประเทศไทย” เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม และเร่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 และปี 2569 ให้เป็นรูปธรรม ว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย ลดต้นทุนโลจิสติกส์ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และยกระดับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้ประเทศ



ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัดฯ ได้เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการสำคัญในปี 2568 พร้อมทั้งได้ระดมความคิดในการวางแผนงานการดำเนินงานโครงการใหม่ที่สำคัญในปี 2569 เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทย ให้พี่น้องประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาค เท่าเทียม ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค” อย่างยั่งยืน

กระทรวงคมนาคมได้วางแผนการดำเนินโครงการด้านคมนาคมในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 223 โครงการ วงเงินลงทุน 136,492.43 ล้านบาท เป็นโครงการต่อเนื่อง 107 โครงการ วงเงินลงทุน 53,622.78 ล้านบาท และโครงการใหม่ 116 โครงการ วงเงินลงทุน 82,869.65 ล้านบาท โดยแบ่งตามรูปแบบการขนส่งเพื่อให้เห็นทิศทางภาพความสำเร็จการดำเนินงานเป็น 5 มิติ ดังนี้



1. มิติพัฒนาการขนส่งทางถนน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ยกระดับความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน และพัฒนาการขนส่งระหว่างเมือง 50 โครงการ แบ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 15 โครงการ และโครงการใหม่ 35 โครงการ เช่น โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) และขยายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M5 ทางยกระดับอุตราภิมุข (โทลล์เวย์) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร M9 ช่วงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ให้ครบทุกเส้นทาง เพื่อเป็นวงแหวนที่สมบูรณ์ โครงการแก้ไขปัญหาจราจรเมืองหลักในภูมิภาค จ.ภูเก็ต (ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง) และ จ.เชียงใหม่ (บริเวณแยกสันกลาง แยกต้นเปาพัฒนา แยกซูเปอร์ไฮเวย์ แยกกองทราย แยกสะเมิง)

2. มิติพัฒนาการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญโดยส่งเสริมพัฒนาการขนส่งสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปี 2568 มีโครงการที่สำคัญ 41 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่อง 17 โครงการ เช่น การส่งเสริมการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเสริม (Feeder) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การจัดหารถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า 1,520 คัน และรถโดยสารระหว่างจังหวัดพลังงานไฟฟ้า 54 คัน การพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เพื่อยกระดับการให้บริการ มีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเขตพื้นที่จราจรหนาแน่นในพื้นที่กรุงเทพฯ และเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางบก

3. มิติการพัฒนาการขนส่งทางราง ได้ให้ความสำคัญในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เปลี่ยนการขนส่งจากถนนมาสู่ทางรางและน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า และลดต้นทุนโลจิสติกส์ โดยในปี 2568 มีโครงการที่สำคัญ 69 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่อง 36 โครงการ เช่น การผลักดันกฎหมายร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ รวมถึงการจัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ร่าง พ.ร.บ. และการเดินหน้านโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ทุกสาย เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 3 เส้นทางเพื่อเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

4. มิติการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ในปี 2568 มีโครงการที่สำคัญ 26 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่อง 20 โครงการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาการขนส่ง เปิดประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว สร้างการเป็น Hub เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางในทุกมิติ เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 การพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ และการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการผลักดันกฎหมายร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์และการท่องเที่ยว โดยให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยว (Cruise Terminal) สมุย พัทยา ภูเก็ต และพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) 29 แห่ง สู่ความเป็นมาตรฐานสากล

5. มิติการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ได้เร่งรัดเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานหลักของประเทศรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคหรือ Aviation Hub ด้วยการยกระดับการให้บริการ 37 โครงการ แบ่งเป็น โครงการต่อเนื่อง 19 โครงการ เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 การพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ระยะที่ 1 ต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบินท่าอากาศยานชุมพร รวมทั้งการเตรียมความพร้อมการให้บริการการเดินอากาศ รองรับการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล (Seaplane Operations) และติดตั้ง Automatic Border Control ระยะที่ 2 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ ณ บริเวณจุดตรวจหนังสือเดินทาง



@ ปี 69 จัดคิวลงทุนอีก 64 โครงการ 1.16 แสนล้านบาท

สำหรับแผนการดำเนินโครงการในปี 2569 จำนวน 64 โครงการ วงเงินลงทุนประมาณ 116,962.12 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 มิติ ประกอบด้วย มิติพัฒนาการขนส่งทางถนน 21 โครงการ โดยจะเร่งผลักดันการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์และทางพิเศษ เพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางและการขนส่งสินค้า เช่น การแก้ไขปัญหาจราจร จ.เชียงใหม่ โครงก่อสร้างทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ และการพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางสู่เมืองหลักในภูมิภาค เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ศึกษาและออกแบบเส้นทาง MR1 ช่วงนครปฐม-นครสวรรค์ ที่ใช้เขตทางร่วมกันระหว่างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ ตามแผนแม่บท MR-Map และวงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านเหนือ ช่วงสุพรรณบุรี-ทล.32

สำหรับมิติพัฒนาการขนส่งทางบก ได้ดำเนินโครงการใหม่ 10 โครงการ เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของการให้บริการรถสาธารณะ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า ขับเคลื่อนไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค เช่น ศึกษาจัดทำรถโดยสารสาธารณะต้นแบบ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า อาทิ การก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาระบบการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกผ่านระบบดิจิทัล



การขับเคลื่อนมิติการพัฒนาระบบขนส่งทางราง จำนวน 14 โครงการ เพื่อเติมเต็มโครงข่ายระบบราง ยกระดับการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รวมถึงการเพิ่มศักยภาพด้านระบบรางของประเทศ ผลักดันการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า พร้อมอะไหล่ 113 คัน เป็นต้น

ขณะที่การพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการพัฒนาเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณร่องน้ำ 10 โครงการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกของเรือโดยสารและเสริมทรายเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายหาด เช่น เสริมทรายเพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี ชายหาดชะอำ จ.เพชรบุรี เขาหลัก-แหลมปะการัง จ.พังงา ชายหาดสมิหลา จ.สงขลา หาดบางเสร่ จ.ชลบุรี กันทรายและคลื่นบริเวณร่องน้ำปากพร-สารสิน จ.ภูเก็ต รวมทั้งศึกษาแนวทางการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางมารีนาของภูมิภาคอาเซียน พร้อมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations

นอกจากนี้ มิติการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ เสริมศักยภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค 9 โครงการ เช่น ก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารด้านทิศตะวันออก (East Expansion) และออกแบบอาคารผู้โดยสารด้านใต้ (South Terminal) และทางวิ่งเส้นที่ 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ



“กระทรวงคมนาคมมีความพร้อมที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนแผนงานโครงการให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระผมรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานให้เร็ว เป็นไปตามแผน เกิดผลในทางปฏิบัติ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อโอกาสประเทศไทยต่อไป” นายสุริยะกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2025 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผน R-Map ลงทุนกว่า 1.38 ล้านล้าน พัฒนา”รถไฟ-ไฮสปีด”ทั่วประเทศเชื่อมโครงข่ายไร้รอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.

KEY POINTS
• แผน R-Map มุ่งขยายโครงข่ายรถไฟและรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ
• เน้นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไร้รอยต่อ
• เปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุน
• ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางเป็น 13.27% และการขนส่งสินค้าทางรางเป็น 6.45%

คจร.เคาะแผนพัฒนาระบบรางรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) เพิ่มโครงข่ายรถไฟ-ไฮสปีดทั่วประเทศ ลงทุน 10 ปี มูลค่ากว่า 1.38 ล้านล้านบาท เปิดเอกชนร่วมลงทุน เป้าเพิ่มสัดส่วนระบบราง เป็น 13.27% ขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 6.45%

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) และมอบหมายกระทรวงคมนาคม กำหนดแนวทางการดาเนินงานตามผลการศึกษาฯ ต่อไป

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้มีการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ และรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2566

โดยได้จัดทำแผนงานการพัฒนาจำนวน 9 กลุ่ม ระหว่างปี 2566-2575 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,389,096.50 ล้านบาท ได้แก่
1. การพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ วงเงินลงทุน 337,019 ล้านบาท
2. การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็งสูง วงเงินลงทุน 631,044 ล้านบาท
3. การพัฒนาโครงการรถไฟสายใหม่ วงเงินลงทุน 410,640 ล้านบาท
4. การพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม/แหล่งอุตสาหกรรม วงเงินลงทุน 10,363.5 ล้านบาท
5. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย
6. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งสินค้า
7. โครงการด้านรถจักรล้อเลื่อน
8. การพัฒนาระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า
9. การพัฒนาโรงซ่อมบำรุง โดยข้อ 5-9 ยังไม่สรุปค่าลงทุน

โดยแบ่งช่วงเวลาการพัฒนาเป็นระยะเร่งด่วน เริ่มก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2566 –2570 รวมวงเงินลงทุน 617,116 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 6 โครงการ ระยะทางรวม 1,290 กม. วงเงินลงทุนรวม 218466 ล้านบาท ได้แก่
1.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงินลงทุน 29,7848 ล้านบาท => รอลงนาม และออก NTP
2. ช่วงสุราษฏร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงินลงทุน 57,375 ล้านบาท => รอเปิดประมูล
3. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะยทาง 308 กม. วงเงินลงทุน 37,527 ล้านบาท => รอเปิดประมูล
4. ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงินลงทุน 24,294 ล้านบาท => รอเปิดประมูล
5.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 ม. วงเงินลงทุน 62,860 ล้านลาท => รอเปิดประมูล
6. ช่วงชุมทางหาดใหญ่ -ปาดังเบซาร์ ระยะทาง45 กม. วงเงินลงทุน 6,662 ล้านบาท => รอเปิดประมูล

โครงการรถไฟความเร็วสูง 1โครงการ ได้แก่ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงินลงทุน 252,348 ล้านบาท

โครงการรถไฟสายใหม่ 3 โครงการ ระยะทางรวม 403 กม. วงเงินลงทุนรวม 130,721 ล้านบาท ได้แก่
1.ช่วง ชุมพร-ระนอง (MR8-แลนด์บริดจ์) ระยะทาง 91 กม.วงเงินลงทุน 48,000 ล้านบาท - จากแหลมริ้นผ่านควนหินมุ้ยไปอ่าวอ่างที่ระนอง

2. ช่วงสุพรรณบุรี-นครหลวง-ชุมทางบ้านภาชี => bypass ตะวันตก ที่เข้าบ้านภาชีผ่านสถานีพระแก้ว
3. รถไฟเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน ดอนสัก- สุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต-กระบี่ ระยะที่ 1 มี 3 ช่วงคือ
3.1. ช่วงสุราษฎร์ธานี-พังงา-ท่านุน ระยะทาง 158.7 กม. วงเงิน 28,857 ล้านบาท ได้ฟื้นฟูโครงการที่ชงักไปแต่ปี 2499
3.2. ช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต (MR9) ระยะทาง 18 กม. วงเงิน 14,712 ล้านบาท
3.3. ช่วงทับปุด-กระบี่ ระยะทาง 68 กม. วงเงิน 17,201 ล้านบาท

โครงการรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม/แหล่งอุตสาหกรรม 5โครงการ ระยะทางรวม 14.40 กม. วงเงินรวม 3,261.38 ล้านบาท ได้แก่
1. เขตอุตสาหกรรมเหล็กของกลุ่มสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ระยะที่ 1 ช่วงสถานีนาผักขวง และ SSI’s Distribution ระยะทาง 2.40 กม. วงเงิน 398.89 ล้านบาท
2.นิคมอุตสาหกรรมเวิล์ด ลำพูน ระยะทาง 2 กม. วงเงิน 1,021.29 ล้านบาท
3. นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร กฟผ.แม่เมาะ ระยะที่ 1 ช่วงสถานีแม่เมาะ-CY กฟผ.แม่เมาะ ลำปาง ระยะทาง 2 กม. วงเงิน 80 ล้านบาท
4. นิคมอุตสาหกรรม WHA ตะวันออก ระยอง ระยะทาง 3 กม. วงเงิน 960.20 ล้านบาท
5. นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ระยะทาง 5 กม. วงเงิน 1,071 ล้านบาท


ระยะกลาง เริ่มก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2571-2575 รวมวงเงินลงทุน 784,300ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 2โครงการ ระยะทางรวม 201 กม. วงเงินลงทุนรวม 118,553 ล้านบาท ได้แก่
1. ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,838 ล้านบาท -> รอเคลียร์ EIA เพราะ ต้องเวนคืนสร้างทางสายใหม่เพื่อร่นระยะทางลงไป 30 กิโลเมตร
2. ช่วงวงเวียนใหญ่-บางบอน ระยะทาง 12 กม. วงเงิน 61,715 ล้านบาท => ปูทางรถไฟฟ้าสายสีแดง

โครงการรถไฟความเร็วสูง 2โครงการ ระยะทางรวม 591 ล้านบาท กม. วงเงินลงทุนรวม 378,696 ล้านบาท ได้แก่
1. กรุงเทพอภิวัฒน์-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงิน 376,606 ล้านบาท
2. กรุงเทพอภิวัฒน์-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงิน 102,090 ล้านบาท

โครงการรถไฟสายใหม่ 5 โครงการ ระยะทางรวม 553 กม. วงเงินลงทุนรวม 279,919 ล้านบาท ได้แก่
1. รถไฟเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน ดอนสัก- สุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต-กระบี่ ระยะที่ 2 ช่วง สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก ระยะทาง 78 กม. วงเงิน 19,240 ล้านบาท
2. ช่วงอุบลราชธานี-ด่านช่องเม็ก (MR5) ระยะทาง 87 กม. วงเงิน 15,009 ล้านบาท
3. ช่วงกรุงเทพฯ-และปริมณฑลด้านใต้ ลาดกระบัง-สมุทรสาคร (MR10) ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 90,100 ล้านบาท
4. ช่วงกรุงเทพฯ-และปริมณฑลด้านใต้ ฝั่งตะวันตก สมุทรสาคร-ปากท่อ (MR10) ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 49,184 ล้านบาท
5. ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (MR4) ระยะทาง 256 กม. วงเงิน 106,386 ล้านบาท => ยังเคลียร์ EIA ช่วง แม่สอด - ตาก ไม่ผ่าน เพราะ ชาวบ้านและพระสงฆ์ี่อยู่ตามเส้นทางออกมาบ่นเรื่องเส้นทางทับตาน้ำเลี้ยงวัดและหมู่บ้าน

โครงการรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม/แหล่งอุตสาหกรรม 3 โครงการ ระยะทางรวม 19.60 กม. วงเงินรวม 7,132.12 ล้านบาท ได้แก่
1. นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย สระบุรี ระยะทาง 5.10 กม. วงเงิน 1,748.85 ล้านบาท
2. นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร สมุทรสาคร ระยะทาง 6 กม. วงเงิน 3,791.18 ล้านบาท
3. เขตอุตสาหกรรมเหล็กของกลุ่มสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ระยะที่ 2 ช่วงสถานีนาผักขวง-เขตอุตสาหกรรมเหล็กสหวิริยาฯ-ท่าเรือประจวบ ระยะทาง 8.50 กม. วงเงิน 1,592.09 ล้านบาท

และกลุ่มโครงการที่สมควรได้รับการพิจารณาพื้นที่ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเดินทางประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 4โครงการ ได้แก่
1. ช่วงชุมทางหาดใหญ่-สุไหงโกลก ระยะทาง 536 กม. (น่าจะผิด ที่ถูกน่าจะ 216 กิโลเมตร หรือ 219 กิโลเมตร)
2. ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ ระยะทาง 174 กม.
3. ช่วงชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทาง 70 กม. => สายเก่า หรือไม่ก็ สายใหม่ที่ผ่าน นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน
4. ช่วงบางบอน-มหาชัย-ปากท่อ ระยะทาง 76 กม. => ปูทางรถไฟฟ้าสายสีแดง

โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 โครงการได้แก่
1. ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม.
2. ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 423.4 กม.
3. ช่วงสุราษฏร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 355 กม.

โครงการรถไฟสายใหม่ 16โครงการ ระยะทางรวม 2,527 กม.และโครงการรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม/แหล่งอุตสาหกรรม 3 โครงการ ระยะทางรวม 100 กม.

ทั้งนี้ การศึกษาเห็นว่ารูปแบบจะมีทั้งที่รัฐลงทุนเองประมาณ 747,659 ล้านบาท และเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนประมาณ 641,437 ล้านบาท โดยกรมการขนส่งทางราง คาดการณ์ประโยชน์จากการดำเนินการตามแผนระบบรางว่าจะ ทำให้ปริมาณการเดินทางและขนส่งสินค้า การเดินทางด้วยรถไฟปัจุบันอยู่ที่ 5.33 % จะเพิ่มขึ้นเป็น 11.19 % ในปี 2570 และ 13.27 % ในปี 2575 และผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงจะมีสัดส่วน 0.86 % ในปี 2570 และเพิ่มขึ้นเป็น 1.74 % ในปี 2575 ส่วนการขนส่งสินค้าทางรางปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 1.55 % จะเพิ่มขึ้นเป็น 6.45 % ในปี 2570และคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติในปี 2575
https://mgronline.com/business/detail/9680000004240

Here is PDF file:
https://www.drt.go.th/wp-content/uploads/2025/01/Final-Report_R-MAP_.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2025 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม หารือญี่ปุ่น ยกระดับความร่วมมือการพัฒนาระบบราง

กระทรวงคมนาคม หารือญี่ปุ่น ยกระดับความร่วมมือการพัฒนาระบบราง ระบุไทยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของอาเซียน ย้ำ! พร้อมสนับสนุน JTTRI ประเทศไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้แทนต้อนรับ Mr. SHUKURI Masafumi (นายชูคุริ มาซาฟูมิ) ประธานสถาบันวิจัยการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JTTRI) และประธานสมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (IHRA) ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและร่วมหารือ ถึงทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานปี 2568 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับ JTTRI และ IHRA และรายงานการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai - Japan Railway Workshop ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

นายชาครีย์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยินดีต้อนรับ Mr. Shukuri Masafumi และคณะผู้แทน JTTRI ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือถึงทิศทางความร่วมมือระหว่าง JTTRI กับกระทรวงคมนาคมด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้ความสำคัญพร้อมมอบนโยบายให้การขนส่งทางรางเป็นการขนส่งหลัก ของประเทศ เพื่อให้ต้นทุนราคาค่าขนส่งของประเทศถูกลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือระหว่าง JTTRI กับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในการร่วมกันจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai - Japan Railway Workshop 2024 วันที่ 17 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการป้องกันอุบัติเหตุและยกระดับความปลอดภัย ถือเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยไปอีกขั้นหนึ่ง

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่านการขนส่งทางถนนมาสู่ทางรางและทางน้ำ ทำให้มีการขยายเส้นทางรถไฟจำนวนมาก ทั้งในเขตเมืองและเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ประกอบด้วย 1) ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง 2) ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ 3) ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช และ ตลิ่งชัน - ศาลายา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะทางรวมกว่า 1,500 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 95 และระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างแล้ว 1 เส้นทางคือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และอีก 6 เส้นทาง อยู่ระหว่างรอการนำเสนอคณะรัฐมนตรี และโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา และช่วงนครราชสีมา – หนองคาย

“ภายใต้นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน โดยความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก JTTRI ที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีระบบรางในระดับโลก โดยกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของ JTTRI ประเทศไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบรางของไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป”


## Ministry of Transport Discusses with Japan to Enhance Cooperation in Rail Development

**The Ministry of Transport has discussed with Japan ways to enhance cooperation in rail development. Thailand emphasizes infrastructure development aimed at becoming ASEAN's transportation hub and reaffirms its support for the continued development of JTTRI Thailand.**

Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Mr. Suriya Jungrungreangkit, assigned Mr. Chakri Bamrungwong, Inspector General of the Ministry of Transport, to welcome Mr. SHUKURI Masafumi, President of the Japan Transport and Tourism Research Institute (JTTRI) and Chairman of the International High-Speed Rail Association (IHRA). The meeting aimed to discuss the direction and strategies for transportation and infrastructure development in 2025, to guide cooperation between the Ministry of Transport, JTTRI, and IHRA, and to receive a report on the Thai-Japan Railway Workshop held at the Ministry of Transport.

Mr. Chakri stated that the Ministry of Transport welcomed Mr. Shukuri Masafumi and the JTTRI delegation to Thailand to discuss cooperation in promoting rail technology. He emphasized that the Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Mr. Suriya Jungrungreangkit, prioritizes rail transport as the primary mode of transportation in the country to reduce logistics costs and promote environmental friendliness. He also expressed his appreciation for the collaboration between JTTRI and the Department of Rail Transport (DRT) in organizing the Thai-Japan Railway Workshop 2024 on January 17, 2024, which facilitated an exchange of views on accident prevention and safety improvements, further strengthening rail cooperation between Japan and Thailand.

Currently, the Ministry of Transport is transitioning transportation from road to rail and waterways, leading to a significant expansion of railway lines both within cities and connecting different regions. Examples include:

* The Red Line Suburban Railway Extension Project, comprising:
1) Bang Sue - Phaya Thai - Makkasan - Hua Mak and Bang Sue - Hua Lamphong sections.
2) Rangsit - Thammasat University Rangsit Center section.
3) Taling Chan - Siriraj and Taling Chan - Salaya sections.

* The double-track railway construction project, covering a total distance of over 1,500 kilometers, divided into:
* Phase 1: 7 routes with a total distance of 993 kilometers, currently progressing at over 95%.
* Phase 2: 7 routes, with 1 route (Khon Kaen - Nong Khai) under construction preparation and 6 routes awaiting Cabinet approval.

* The high-speed rail project from Bangkok to Nong Khai, divided into two phases:
* Bangkok - Nakhon Ratchasima section.
* Nakhon Ratchasima - Nong Khai section.

"Under the government and Ministry of Transport's policies, which emphasize infrastructure development in transportation to elevate Thailand as ASEAN's transportation hub, the continuous academic support from JTTRI is invaluable, given Japan's world-leading rail technology. The Ministry of Transport is ready to support JTTRI Thailand's operations for the continuous development of Thailand's rail system."
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2025 1:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดแผน R-Map ลงทุนกว่า 1.38 ล้านล้าน พัฒนา”รถไฟ-ไฮสปีด”ทั่วประเทศเชื่อมโครงข่ายไร้รอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.
https://mgronline.com/business/detail/9680000004240]
Here is PDF file:
https://www.drt.go.th/wp-content/uploads/2025/01/Final-Report_R-MAP_.pdf


กรณีนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน - ให้ทำ spur line ยาว 600 เมตรจากสถานีคลองพุทรา ไปลงกำแพงดินและคันกั้นน้ำ
กรณีนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า - ให้ทำ spur line ยาว 3 กิโลเมตรจากสถานีบ้านโพธิ์ ลงไป
กรณีนิคมอุตสาหกรรมเอเชียสุวรรณภูมิ - ให้ทำ spur line ยาว 11 กิโลเมตรจากสถานีคลองแขวงกลั่น
กรณีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี - ให้ทำ spur line ยาว 5 กิโลเมตรจากสถานีพานทอง วงเงิน 1,071 ล้านบาท ไป OTA Techno park และ ให้เตรียมพัฒนาเป็น ICD อมตะซิตี้ชลบุรีด้วย
กรณีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ที่บ้านฉางระยอง - ให้ทำ spur line ยาว 6 กิโลเมตรจากสถานีมาบตาพุด
กรณีนิคมอุตสาหกรรม WHA ตะวันออกที่บ้านฉางระยอง - ให้ทำ spur line ยาว 3 กิโลเมตรจากสถานีมาบตาพุด วงเงิน 960.20 ล้านบาท
กรณีนิคมอุตสาหกรรมสินสาครที่มหาชัย - ให้ทำ spur line ยาว 6 กิโลเมตรจากที่หยุดรถบ้านคอกควาย - รอให้ทำทางคู่ เสียก่อน
กรณีนิคมอุตสาหกรรมมหาราชที่มหาชัย - ให้ทำ spur line ยาว 3 กิโลเมตรจากที่หยุดรถบางสีคต - รอให้ทำทางคู่ เสียก่อนก็ได้
กรณีนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาครที่มหาชัย - ให้ทำ spur line ยาว 1-2 กิโลเมตรเชื่อมต่อกับ spur line ไป นิคมอุตสาหกรรมมหาราช
กรณีนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย - ให้ทำ spur line ยาว 5 กิโลเมตรจากสถานีเขาคอกเพื่อเลี่ยงการทำสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก
กรณีนิคมอุตสาหกรรมราชบุรีที่โพธาราม - ให้ทำ spur line ยาว 2 กิโลเมตรจากสถานีเจ็ดเสมียน
กรณีนิคมอุตสาหกรรม World ที่ลำพูน - ให้ทำ spur line ยาว 2 กิโลเมตรจากสถานีลำพูน วงเงิน 1,021.29 ล้านบาท
กรณีนิคมอุตสาหกรรม ภาคใต้ที่สำนักขาม สะเดา - ให้ทำ spur line ยาว 11.4 กิโลเมตรจากสถานีบางกล่ำ

กรณีเขตอุตสาหกรรมเหล็กของกลุ่มสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ระยะที่ 1 ช่วงสถานีนาผักขวง และ SSI’s Distribution ระยะทาง 2.40 กม. วงเงิน 398.89 ล้านบาท
กรณี นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร กฟผ.แม่เมาะ ระยะที่ 1 ช่วงสถานีแม่เมาะ-CY กฟผ.แม่เมาะ ลำปาง ระยะทาง 2 กม. วงเงิน 80 ล้านบาท ถ้าทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของเปิดใช้งานแล้ว ให้ทำทางรถไฟสาย CY กฟผ.แม่เมาะ ลำปาง ไป ที่สถานีงาว ยาว 78 กิโลเมตรด้วย

ส่วนกรณีท่าเรือมาบตาพุด ต้องหาทางจูงใจ ให้มีเรือมาจอด และ มีรถจักรมาประจำการพร้อมทั้งซ่อมรางที่ชำรุดเสียหาย
ส่วนกรณีนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้สร้าง spur line ยาว 2802 เมตร (เป็๋นเส้นทางในนคมอุตสาหกรรม 1100 เมตร) และ ให้เร่งทำทำถนน Local road เชื่อมหนองตะไก้ไปทางหลวง 216 และให้ย้าย container yard ของสถานีหนองตะไก้ไปที่ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44162
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2025 1:45 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดแผน R-Map ลงทุนกว่า 1.38 ล้านล้าน พัฒนา”รถไฟ-ไฮสปีด”ทั่วประเทศเชื่อมโครงข่ายไร้รอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07:33 น.
https://mgronline.com/business/detail/9680000004240]
Here is PDF file:
https://www.drt.go.th/wp-content/uploads/2025/01/Final-Report_R-MAP_.pdf

การทำทางรถไฟสายปากตลี - นครนายก - น้ำตกสาลิกา - เขื่อนขุนด่าน ยาว 32.396 กิโลเมตร มูลค่า 6379 ล้านบาท นั้น มีข้อน่าเสียดายคือ ไม่สามารถเชื่อมกะสายอีสานได้เพราะ ติดปัญหากะเขาใหญ่ที่เป็นมรดกโลก
ส่วนการทำทางสายสววรคโลก (หนองเรียง) - ท่าอากาศยานสุโขทัย- สุโขทัย - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ตาก ยาว 108 กิโลเมตร มูลค่า 25757 ล้านบาท เพื่อ ทำให้สิ่งที่เจ้ากรมไวเลอร์ต้องการให้สำเร็จและ เป็นเส้นทางเชื่อมสถานีอุตรดิตถ์เข้ากับสถานีสุโขทัยรถไฟความเร็วสูงนั้น รอให้ ทางรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่ และ ทางรถไฟไปแม่สอดเป็นรูปเป็นร่างก่อนจะดีกว่า
ส่วนเรื่องจากศิลาอาศน์ไปด่านภูดู่ที่บ้านโคก 22474 ล้านบาท ดูแล้วไม่น่าจะแจ้งเกิด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2025 8:56 am    Post subject: Reply with quote

ต้นทุนโลจิสติกส์ไทยลดต่อเนื่อง แนะเร่งต่อยอดเพิ่มโอกาสการแข่งขัน
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Saturday, January 18, 2025 06:49

ll ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีปี 2567 เหลือ 13.6% จากระยะทางของรถไฟทางคู่ที่เพิ่มขึ้น18.5% ส่งผลให้ทิศทางการเปลี่ยนโหมดขนส่งจากรถสู่รางซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าเกือบ 3 เท่า มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ คาดปี 2568 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแตะระดับ 12.8% ตามแผนพัฒนารถไฟ ทางคู่และรถไฟสายใหม่ แนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีในอัตราเร่ง

สถานการณ์ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทยปี 2566 จากการเปิดเผยของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ชี้ว่า ไทยมีต้นทุนค่าขนส่งต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.1% ขยับตัวขึ้นต่อเนื่องจากที่สูงอยู่แล้วในปี 2565 ที่ระดับ 14.0% โดยถึงแม้ในเชิงรายละเอียดต้นทุนการขนส่งทางบกจะปรับลดลงตามดัชนีขนส่งสินค้า (Shipment Index) และราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลงจากปีก่อนหน้า แต่ต้นทุนในการขนส่งไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนเกือบ 10% ของต้นทุนการขนส่งรวม กลับปรับเพิ่มถึง 31.7% จากทิศทางธุรกิจ e-Commerce ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากกระแส Live Commerce ซึ่งสถานการณ์ที่ตัวเลขต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีที่ปรับเพิ่มย่อมเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับภาครัฐในการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการต่างชาติที่ในปัจจุบันไทยก็มีข้อเสียเปรียบในหลากหลายมิติ

จากที่กล่าวไว้ข้างต้น เหตุที่ไทยต้องให้ความสนใจกับต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี เนื่องด้วยต้นทุนค่าขนส่งเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตอาจลดทอนกำไรของผู้ขายหรือส่งผลให้ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การที่ต้นทุนโลจิสติกส์มีสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) จึงเปรียบเสมือนสัดส่วนของรายได้บางส่วนต้องถูกนำไปเพื่อการขนส่ง ซึ่งจากข้อมูลชี้ให้เห็นว่าไทยมีต้นทุนขนส่งต่อจีดีพีเพิ่มขึ้น 5 ปีติดต่อกันจากระดับ 13.3% ในปี 2562 จนถึงระดับ 14.1% ในปี 2566 จึงเป็นเรื่องน่ากังวลเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกและเอเชียแปซิฟิกในปี 2564 ที่มีสัดส่วนที่ 10.8% และ 12.9% ตามลำดับ ขณะที่ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนที่ 8.7% และประเทศในกลุ่มอาเซียน อาทิ มาเลเซีย มีสัดส่วนที่ 13% แสดงให้เห็นถึงความเสียเปรียบด้านความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ภาวะการค้าโลกมีการแข่งขันรุนแรงขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเพื่อการจัดส่งและบริหารจัดการสินค้าที่สูงกว่าหลายประเทศโดยเปรียบเทียบ

อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเริ่มแสดงให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นจากการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของไทย ส่งผลให้สัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.21% ในปี 2566 จากที่เคยอยู่ระดับ 1.68% ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมดในปี 2562 และผลจากระยะทางของรถไฟทางคู่สายใต้ที่เปิดให้บริการเพิ่มในปี 2567 คิดเป็นระยะทาง 167 กิโลเมตร ช่วยเสริมศักยภาพการขนส่งทางราง ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยปี 2567 มีแนวโน้มปรับลดลงเหลือ 13.6% รวมถึงในปี 2568 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยคาดมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแตะระดับ 12.8% จากแผนพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟสายใหม่ที่คาดจะเริ่มครอบคลุมขึ้นเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าของแผนงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนโหมดการโดยสารจากถนนเข้าสู่รางที่มีต้นทุนต่ำกว่า 2.95 เท่า ซึ่งการปรับลดของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีที่คาดจะปรับลด 2 ปีติดต่อกัน บนความหวังที่มีแนวโน้มว่าในระยะถัดไปหากไทยประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโหมดโดยสารจากรถสู่รางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงต่อเนื่องในระยะถัดไป ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีศักยภาพการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการต่างชาติมากยิ่งขึ้น

ไทยควรอาศัยช่วงเวลาที่ต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อจีดีพีกำลังปรับลดจากการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่เริ่มสัมฤทธิ์ผลมาเร่งกดให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีปรับลดในอัตราเร่งดังต่อไปนี้1.เน้นประสิทธิภาพด้านต้นทุนการขนส่งโดยเฉพาะการลดต้นทุนการขนส่งทางถนนที่มีสัดส่วนมากกว่า 40% ของการขนส่งรวม ได้แก่ 1) ต่อยอดการเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากรถสู่รางที่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น 16 เส้นทาง เชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง จะเป็นผลให้โครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองขยายเพิ่มจาก 4,044 กิโลเมตรในปี 2567 เป็น 5,455 กิโลเมตรในปี 2573พร้อมกับสัดส่วนรถไฟทางคู่ที่จะเพิ่มขึ้นจาก 26.5% ในปี 2567 สู่ 71.7% ในปี 2573 รวมถึงการเชื่อมต่อระบบรางของรถไฟความเร็วสูงในอนาคตที่ช่วยเชื่อมการขนส่งระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น2) นำบทบาทเทคโนโลยีช่วย Optimization เรื่องการขนส่งทางถนน โดยการนำเทคโนโลยีและระบบอินเตอร์เนต (IoT) เข้ามาช่วยเชื่อมโยงข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานได้อย่างไร้รอยต่อ ตั้งแต่การวางแผนผลิตและการบริการจัดการคลังสินค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ การวางแผนเส้นทางขนส่งที่สั้นและใช้เวลาน้อยที่สุด ไปจนถึงการบริหารจัดการขนส่งสินค้าแบบอัตโนมัติ 3) การพิจารณาบทบาทของรถยนต์ไฟฟ้าในการขนส่ง ซึ่งเป็นการลงทุนในต้นทุนคงที่เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนผันแปร เนื่องจากต้นทุนพลังงานต่อกิโลเมตรต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงสูงถึง 60-70% กอปรกับวัตถุประสงค์เพื่อการขนส่งพาณิชย์จะมีระยะทางการใช้งานต่อปีที่สูง ซึ่งส่งผลให้สามารถลดต้นทุนผันแปรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-Model Transport) แม้ว่าต้นทุนน้ำหนักต่อกิโลเมตรของการขนส่งด้วยระบบรางจะต่ำกว่าทางถนนถึง 2.95 เท่าแต่ด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ปัจจุบันครอบคลุมเพียงบางเส้นทาง ทำให้การขนส่งสินค้าทางรางมีสัดส่วนในปริมาณการขนส่งสินค้าเพียง 2.21% ต่อการขนส่งสินค้าทั้งหมด ดังนั้น หากโครงสร้างพื้นฐานระบบรางมีความครอบคลุมมากขึ้นพร้อมกับพื้นที่เชื่อมโยงการขนส่ง ได้แก่ ท่าเรือบก(Dry Port) คลังสินค้า (Warehouse) และ ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้การเชื่อมต่อการขนส่งต่อเนื่องด้วยรถรางเรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง พร้อมกับลดต้นทุนขนส่งทางบกโดยอ้อม และท้ายที่สุดแล้วจะสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

3.เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เป็นเรื่องที่ไทยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากต้นทุนการขนส่งต่อจีดีพีสะท้อนถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมต่อมูลค่าสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับ และบนพื้นฐานของสินค้าไทยที่ส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำ เช่นสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภค-บริโภคพื้นฐาน ซึ่งมีปริมาตรและน้ำหนักมาก ต่างจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีสินค้าที่มูลค่าสูงและน้ำหนักน้อยกว่า ส่งผลให้ภาพรวมต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยสูงกว่าประเทศพัฒนาโดยเปรียบเทียบ ดังนั้น ในระยะยาวหากประเทศไทยสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve และ New S-Curve ได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งต่างๆ เมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้ามีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะยาวและยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47680
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2025 7:44 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมหารือ JTTRI-IHRA วางยุทธศาสตร์พัฒนาขนส่งระบบราง
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Monday, January 20, 2025 06:26

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม มอบหมายให้ นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้แทนต้อนรับ Mr.SHUKURI Masafumi (นายชูคุริ มาซาฟูมิ) ประธานสถาบันวิจัยการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JTTRI) และประธานสมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (IHRA) ในโอกาสเข้าเยี่ยมและร่วมหารือ ถึงทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานปี 2568 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับ JTTRI และ IHRA และรายงานการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai - Japan Railway Workshop

นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้หารือถึงทิศทางความร่วมมือระหว่าง JTTRIกับกระทรวงคมนาคมด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้ความสำคัญพร้อมมอบนโยบายให้การขนส่งทางรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ เพื่อให้ต้นทุนราคาค่าขนส่งของประเทศถูกลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้มีความร่วมมือระหว่าง JTTRI กับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในการร่วมกันจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai- Japan Railway Workshop 2024 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการป้องกันอุบัติเหตุและยกระดับความปลอดภัย ถือเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยไปอีกขั้นหนึ่ง

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่านการขนส่งทางถนนมาสู่ทางรางและทางน้ำทำให้มีการขยายเส้นทางรถไฟจำนวนมากทั้งในเขตเมืองและเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ อาทิ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ประกอบด้วย 1) ช่วงบางซื่อ - พญาไท -มักกะสัน - หัวหมาก และช่วงบางซื่อ -หัวลำโพง 2) ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และ 3) ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช และ ตลิ่งชัน - ศาลายา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะทางรวมกว่า 1,500 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่า 95%และระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างแล้ว 1 เส้นทางคือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และอีก 6 เส้นทางอยู่ระหว่างรอการนำเสนอคณะรัฐมนตรี และโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย แบ่งการก่อสร้างเป็น2 ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และช่วงนครราชสีมา-หนองคาย

ทั้งนี้ภายใต้นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน โดยความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก JTTRI ที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีระบบรางในระดับโลก โดยกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของ JTTRI ประเทศไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบรางของไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป


## Transport Ministry discusses rail transport development strategy with JTTRI-IHRA

**Source - Naewna website**
**Monday, January 20, 2025 06:26**

Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Mr. Suriya Jungrungreangkit, assigned Mr. Chakri Bamrungwong, Inspector General of the Ministry of Transport, to welcome Mr. SHUKURI Masafumi, President of the Japan Transport and Tourism Research Institute (JTTRI) and President of the International High-Speed Rail Association (IHRA). The meeting discussed the direction and strategy for transport and infrastructure development in 2025, aiming to establish cooperation between the Ministry of Transport and JTTRI-IHRA. They also reviewed the Thai-Japan Railway Workshop.

Mr. Chakri Bamrungwong stated that the Ministry of Transport discussed cooperation with JTTRI to promote rail technology. Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Mr. Suriya Jungrungreangkit, emphasized the importance of rail transport as the primary mode of transportation in Thailand. This aims to reduce logistics costs and promote environmentally friendly transportation. JTTRI and the Department of Rail Transport (DRT) co-organized the Thai-Japan Railway Workshop 2024 on January 17, 2024. The workshop facilitated the exchange of knowledge on accident prevention and safety improvements, further strengthening rail cooperation between Japan and Thailand.

Currently, the Ministry of Transport is transitioning from road to rail and waterway transport, resulting in significant railway expansion in urban areas and across regions. Examples include:

* **Red Line Suburban Railway Extension Project:**
1. Bang Sue - Phaya Thai - Makkasan - Hua Mak and Bang Sue - Hua Lamphong sections
2. Rangsit - Thammasat University Rangsit Center section
3. Taling Chan - Siriraj and Taling Chan - Salaya sections
* **Double-track railway construction project:** Total distance of over 1,500 kilometers, divided into 2 phases:
* Phase 1: 7 routes, total distance of 993 kilometers (over 95% progress)
* Phase 2: 7 routes, 1 route under construction (Khon Kaen - Nong Khai), 6 routes pending Cabinet approval
* **High-speed rail project:** Bangkok - Nong Khai route, divided into 2 sections:
* Bangkok - Nakhon Ratchasima section
* Nakhon Ratchasima - Nong Khai section


Under the government and Ministry of Transport's policy, infrastructure development is prioritized to establish Thailand as a transportation hub in ASEAN. Continued academic support from JTTRI is highly beneficial due to Japan's advanced rail technology. The Ministry of Transport is committed to supporting JTTRI's operations in Thailand for continuous development of the Thai railway system.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 13, 14, 15  Next
Page 14 of 15

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©