Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/01/2025 5:33 pm Post subject:
Wisarut wrote: นายกฯ นำทีมกระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯลงพื้นที่ จ.นราธิวาสเร่งรัดติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่
Note:
1. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. มูลค่า 24,294 ล้านบาท EIA เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการรออนุมัติงบสำหรับโครงการและประมูลหาผู้รับเหมาโดยหวังว่าเริ่มโครงการปลายปี 2569 หวังว่าจะเสร็จปลายปี 2572
2. สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 321 กม. มูลค่า 57,375ล้านบาท EIA เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการรออนุมัติงบสำหรับโครงการและประมูลหาผู้รับเหมาโดยหวังว่าเริ่มโครงการปลายปี 2569 หวังว่าจะเสร็จปลายปี 2573
3. ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. มูลค่า 7,942 ล้านบาท EIA เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการรออนุมัติงบสำหรับโครงการและประมูลหาผู้รับเหมาโดยหวังว่าเริ่มโครงการปลายปี 2569 หวังว่าจะเสร็จปลายปี 2573
4. ชุมทางหาดใหญ่-สุไหงโกลก 216 กม. มูลค่า 34,590 ล้านบาท ยังไม่เริ่มโครงการหวังว่าเริ่มโครงการปลายปี 2580 หวังว่าจะเสร็จปลายปี 2584 แต่ถ้าภาคใต้สงบอาจเริ่มโครงการปลายปี 2578 หวังว่าจะเสร็จปลายปี 2582
https://www.drt.go.th/wp-content/uploads/2025/01/Final-Report_R-MAP_.pdf?
"นายกฯ" ขออภัย "ชาวปัตตานี" ไม่ได้ไปพบ สภาพอากาศไม่เอื้อ สั่งเตรียมข้อมูลรถไฟทางคู่ภาคใต้ ถกครม.สัญจร สงขลา
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Friday, January 17, 2025 13:43
วันที่ 17 ม.ค.2568 ที่ทําเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจําสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 ม.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามวาระปกติ โดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกําหนดการเดินทางไปประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมอบหมายให้นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม
ส่วนการประชุม ครม.สัญจร มีกำหนดการวันที่ 16-18 ก.พ. ที่จังหวัดสงขลา ได้มีการเตรียมการให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ไปดูข้อมูลต่างๆ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เช่นเรื่องรถไฟรางคู่ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมทางหาดใหญ่ สุไหงโกลก ปาดังเดซาร์ เข้าสู่ชายแดนมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการบริหารจัดการน้ำ กรณีน้ำท่วมน้ำแล้ง รวมถึงเรื่องของการศึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทุกกระทรวง เตรียมข้อมูลเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ครม.
นายจิรายุ กล่าวว่า ส่วนการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ นายกฯ ได้ของคุณพี่น้องจังหวัดนราธิวาสและยะลา และขออภัยชาวจังหวัดปัตตานี ที่ไม่ได้เดินทางไปทั้งที่มีกำหนดการ เนื่องจากทาง ศอ.บต. วิทยุการบิน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แจ้งว่ามีฝนตกหนัก ส่วนที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส มีฝนตกหนักเช่นกัน แต่นายกฯ ยืนยันว่าจะไม่ทิ้งกำหนดการเดิม จึงไปพบปะประชาชน เพราะฉะนั้น การประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดสงขลา ก็จะมีการพิจารณาในการพบปะประชาชนอีกครั้ง
นายจิรายุ กล่าวอีกว่า ขอบคุณประชาชนในทุกจังหวัดภาคใต้ ไปแล้วก็อบอุ่น ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ คนมาเลเซียก็ข้ามมาเที่ยวที่สุไหงโกลก เบตง ยะลา ไม่ลดน้อยถอยลง
เปิดลายแทงคมนาคมปี 68 กำงบกว่า 1.1 แสนล้าน ลุย 63 โครงการลงทุนเกิน 1,000 ล้านกระตุ้นเศรษฐกิจ
ผู้จัดการออนไลน์ 20 ม.ค. 2568 06:09
KEY POINTS
ต้องจับตาการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม
โครงการคมนาคมขนาดใหญ่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศ
เดือนมกราคม 2568 ถือได้ว่าเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2568 กันแล้ว จึงต้องจับตาเรื่องการลงทุนต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม เนื่องจากมีโปรเจ็กต์ก่อสร้างงานโครงการขนาดใหญ่ ที่จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศได้อย่างมาก ซึ่งหลายโครงการเริ่มขยับ ผ่านขั้นตอนการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เตรียมการประมูลคัดเลือกผู้รับเหมา แต่ก็ยังมีอีกหลายโครงการที่รอ ครม.อนุมัติ ซึ่งสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คงต้องออกแรงเข็นอย่างต่อเนื่อง
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรัฐมนตรีว่าการฯคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ นางมนพร เจริญศรีและนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคม เพื่อโอกาสประเทศไทย ติวเข้ม
ทุกหน่วยงาน เพื่อวางแผน การขับเคลื่อนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 และการดำเนินงานโครงการใหม่ที่สำคัญในปี 2569 ให้เป็นรูปธรรม มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย ลดต้นทุนโลจิสติกส์ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และยกระดับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะและเป็นการสร้างโอกาสให้กับประเทศไทย
ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้วางแผนการดำเนินโครงการด้านคมนาคม ในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 223 โครงการ วงเงินลงทุน 136,492.43 ล้านบาท เป็นโครงการต่อเนื่อง 107 โครงการ วงเงินลงทุน 53,622.78 ล้านบาท และโครงการใหม่ 116 โครงการ วงเงินลงทุน 82,869.65 ล้านบาท
@ขับเคลื่อน 63 โปรเจ็กต์งบเกิน 1,000 ล้านบาท
จากจำนวน 223 โครงการ หากดูเฉพาะโครงการที่มีงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโครงการใหม่ ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2568 มีจำนวน 29 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 893,735.91 ล้านบาท โดยจะเบิกจ่ายงบปี 2568 จำนวน 57,140.08 ล้านบาท และกลุ่มโครงการต่อเนื่อง จำนวน 34 โครงการ วงเงินรวม 1,794,574.65 ล้านบาท เบิกจ่ายงบปี 2568 จำนวน 53,673.06 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้นจำนวน 63 โครงการ งบประมาณรวม 2,688,310.56 ล้านบาท โดยตั้งเบิกจ่ายงบปี 2568 จำนวน 110,813.14 ล้านบาท
ถือเป็นเม็ดเงินก้อนใหญ่ ที่จะอัดเข้าสู่ระบบ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย
@คิกออฟ 29 โครงการใหม่ เบิกจ่ายปี 68 กว่า 5.7 หมื่นล้านบาท
ส่วนไฮไลต์ น่าจะอยู่โครงการใหม่จำนวน 29 โครงการ ที่จะเริ่มต้นในปี 2568 เพราะมีมูลค่าลงทุนรวมกว่า 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งมีทั้ง ถนนแนวใหม่ และ มอเตอร์เวย์ ของกรมทางหลวง (ทล.) ทางด่วน ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รถไฟทางคู่ ,ไฮสปีด,รถไฟสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ,ขยายสนามบินภูมิภาค ของกรมท่าอากาศยานยาน (ทย.)และการจัดหารถโดยสารไฟฟ้า ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
@ดันตอกเข็มทางด่วน 'Double Deck เปิดประมูล มอเตอร์เวย์ M9,ต่อขยายโทลล์เวย์
ซึ่งตามแผนงานกระทรวงคมนาคม แบ่งออกเป็น การขนส่งทางถนน จำนวน 10 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 203,027.65 ล้านบาท เบิกจ่ายในปี 2568 จำนวน 20,597.11 ล้านบาท โดยเป็น โครงการของกทพ. 2 โครงการ ได้แก่ ทางพิเศษ Double Deck เป็นการก่อสร้างทางด่วน 2 ชั้น ระยะทาง 17 กม. มูลค่าทั้งโครงการ 34,800 ล้านบาท เบิกจ่ายปี 68 จำนวน 7,250 ล้านบาท ดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ 2562 โดยเจรจากับ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เป็นผู้ลงทุน
และ ทางพิเศษฉลองรัฐส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.21 กม. มูลค่าทั้งโครงการ 23,987.75 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 2,131.32 ล้านบาท ลงนามสัญญากับ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD แล้ว อยู่ระหว่างนำร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อสร้างปี 68-70 เปิดบริการปี 71
โครงการของกรมทางหลวง 8 โครงการ ได้แก่ ก่อสร้างสายพัฒนาคูน้ำ ริมถนนวิภาวดีรังสิต (ระยะที่ 3) มูลค่าทั้งโครงการ 2,610 ล้านบาท เบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 1,566 ล้านบาท , มอเตอร์เวย์ สาย M7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 1.920 กม. มูลค่า 3,092.90 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 814.39 ล้านบาท
มอเตอร์เวย์ M5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต -บางปะอิน (ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ) ระยะทาง 22 กม. มูลค่า 31,358 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 78 ล้านบาท
ครม.อนุมัติแล้วอยูอยู่ในขั้นตอนประมูลคัดเลือกให้เอกชนร่วมลงทุน ( PPP Gross Cost ) เปิดให้บริการปี 73
มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก ช่วงทางยกระดับบางขุนเทียน -บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. มูลค่า 56,035 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 2,126.50 ล้านบาท ครม.อนุมัติแล้วอยูอยู่ในขั้นตอนประมูลคัดเลือกให้เอกชนร่วมลงทุน( PPP Net Cost) ครม.อนุมัติแล้วอยูอยู่ในขั้นตอนประมูลคัดเลือกให้เอกชนร่วมลงทุน
มอเตอร์เวย์ M9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตกช่วงบางบัวทอง-บางปะอินใน ส่วนของงานโยธา ระยะทาง 34.1 กม. มูลค่า 15,862 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 967.4 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการกำหนดเปิดให้บริการปี 73
มอเตอร์เวย์ M9 เชื่อมวงแหวนตะวันตก-ตะวันออก มูลค่า 4,101 ล้านบาทตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 250.50 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมี โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่เชื่อมมอเตอร์เวย์ M6 -ทล. 32 มูลค่าทั้งโครงการ 5,495 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 275 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการกำหนดเปิดให้บริการปี 72 และ โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทล. 338 มูลค่าทางโครงการ 25,690 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 5,138 ล้านบาท
ด้านขนส่งทางบก มี 1 โครงการ ของขสมก. คือการจัดหารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) จำนวน 1,520 คัน มูลค่า 15,355.60 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 368.4 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตของทีโออาร์ เพื่อนำเสนอครม. ขอความเห็นชอบและเข้าสู่กระบวนการประมูลในช่วงเดือนมี.ค. 68. กำหนดรับมอบรถ3 งวด โดยงวดแรก เดือนต.ค. 68 จำนวน 500 คัน งวด2 เดือน พ.ย. 68 จำนวน 500 คัน งวด3 เดือน ธ.ค. 68 จำนวน 520 คัน
ส่วนขนส่งทางอากาศ 1 โครงการ คือ ก่อสร้างต่อความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินชุมพร มูลค่า1,500 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายปี ปี 68 จำนวน 300 ล้านบาท
@ลงทุนรถไฟ-รถไฟฟ้า 17 โครงการใหม่
สำหรับการขนส่งทางรางในปี 68 มีโครงการใหม่จำนวน 17 โครงการ วงเงินรวม 673,852 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบ ปี 68 จำนวน 35,874 ล้านบาท โดยมีรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. 3 โครงการคือ รถไฟฟ้าสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) มูลค่า 41,811.72 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย ปี 68 จำนวน 14.70 ล้านบาท , ระบบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้ามแยกฉลอง มูลค่า 35,350.20 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย ปี 68 จำนวน 7.70 ล้านบาท อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบหารือแนวทางและรูปแบบการดำเนินโครงการค่ายเปิดให้บริการเดือนธ.ค. ปี 74
และ ระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มูลค่า 31,122.63 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 60 ล้านบาท เปิดให้บริการเดือนพ.ค.ปี75
@เทกระจาดประมูลทางคู่เฟส 2 กว่า 3 แสนล้านบาท
ด้านรฟท. ถือว่ามีการลงทุนมากที่สุด โดยมีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต-มธ.ธรรมศาสตร์ มูลค่า 6,473 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 179 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา มูลค่า 15,176 ล้านบาท ครม.เห็นชอบแล้วเตรียมขั้นตอนประมูลก่อสร้าง
ส่วนรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ประมูลไปแล้ว 1 เส้นทางคือ ขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 29,748 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 6,267.87 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ อีก 6 เส้นทางได้แก่ ช่วง ชุมทางถนนจิระ-อุบล มูลค่า 44,095.36 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 4,482.17 ล้านบาท, ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย มูลค่า 81,143.24 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 7,967.47 ล้านบาท ,ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มูลค่า 7,77290 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 887.09 ล้านบาท, ช่วง ชุมพร-สุราษฏร์ธานี มูลค่า 30,422.53 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 2,937.67 ล้านบาท, ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา มูลค่า 66,270.51 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 6,513.16 ล้านบาท , ช่วงคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ มูลค่า 68,222.14 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 6,404.37 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการจัดหารถสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) พร้อมอะไหล่ จำนวน 946 คัน มูลค่า 2,460 ล้านบาท อยู่ระหว่างเสนอครม. เพื่อดำเนินการจะซื้อจะจ้างโดยคาดว่าจะได้รับมอบรถในปี 71 และโครงการ ออกแบบผลิตรถไฟต้นแบบโดยเทคโนโลยีต่างประเทศ มูลค่า 2,270.40 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 113 ล้านบาท
และมีรถไฟสายใหม่ เชื่อม 2 สนามบินฝั่งอันดามัน MR 9 ช่วงท่านุ่น -ท่าอากาศยานภูเก็ต มูลค่า 14,712 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่าย งบปี 68 จำนวน 17.67 ล้านบาท ,รถไฟสายใหม่ เชื่อม 2 สนามบินฝั่งอันดามัน MR9 ช่วง ทับปุด-กระบี่ มูลค่า 17,201 ล้านบาท ตั้งเบิกจ่ายงบปี 68 จำนวน 22.70 ล้านบาท
@สภาพัฒน์ ติง ทางคู่เฟส2 ลงทุนเยอะ แต่ใช้ไม่คุ้มค่า
การลงทุนรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอสภาพัฒน์ฯพิจารณา ก่อนเสนอครม. ซึ่งคณะอนุกรรมการสภาพัฒน์ฯมีข้อคิดเห็นหลายประเด็น ทั้ง ความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการระยะแรก ที่พบว่า ทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ล่าช้าถึง 5 ปี ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ยังอยู่ระหว่างปรับแบบ ประเมินความ ล่าช้าถึง 8 ปี อีกทั้งและช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ พบล่าช้า 4 ปี
ส่วนการใช้ประโยชน์ทางคู่ ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ โดย ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ใช้งานเพียง 48.8% ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ใช้งานที่ 75.6% เท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัดที่ยังไม่จูงใจให้เอกชนเปลี่ยนมาขนส่งทางราง
ดังนั้น คมนาคมและรฟท.ควรพิจารณาปรับกรอบแนวคิดการพัฒนาทางคู่ที่ใช้ Infrastrcture-Led Development เป็น Market-Leg Development และพิจารณาการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน บริหารCY และถึงมีแผนการซ่อมบำรุง รวมไปถึงแผนด้านการตลาด เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่าและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานเต็มประสิทธิภาพ
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจยอมรับ การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ มีผลต่อภาระงบประมาณ ซึ่งได้ให้หน่วยงาน จัดเรียงลำดับความสำคัญโครงการที่จำเป็นและช่วยเพิ่มขีดความสามารถการขนส่ง ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง
ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 ขณะนี้ขั้นตอนรอเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ ซึ่งกรมขนส่งทางราง ได้อธิบายต่อสภาพัฒน์ฯแล้ว ส่วนตัวได้พูดคุยกับทางเลขาฯสภาพัฒน์แล้ว คาดว่าจะได้รับการอนุมัติและเสนอครม.เร็วนี้ ส่วนการจัดกลุ่มประมูลให้รฟท.พิจารณา
รถไฟทางคู่ มีความจำเป็น เพราะทางเดี่ยว รถเสียเวลาจอดรถหลีกส่วนเมื่อสร้างทางคู่เสร็จแล้ว เพื่อใช้รางได้คุ้มค่าต้องให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ โดยมี พ.ร.บ.ขนส่งทางราง เป็นเครื่องมือ
หลังจากนี้ คงต้องติดตามว่า สารพัดโปรเจ็กต์คมนาคมครม. อิ๊งค์จะกดปุ่มเดินหน้าในปีนี้ ได้ตามเป้าหรือไม่!!!
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 21/01/2025 7:44 am Post subject:
คอลัมน์ Big Data Analysis: 'ต้นทุนขนส่งไทย' ปี 68 ลดลงเป็นปีที่ 2
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Tuesday, January 21, 2025 04:04
สถานการณ์ "ต้นทุนโลจิสติกส์" ต่อ"จีดีพีไทย" ปี 2566 จากการเปิดเผยของ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ชี้ว่า "ไทย" มีต้นทุนค่าขนส่งต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.1% ขยับตัวขึ้นต่อเนื่องจากที่สูงอยู่แล้วในปี 2565 ที่ระดับ 14.0%
ดังนั้น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีปี 2567 เหลือ 13.6% จากระยะทางของรถไฟทางคู่ที่เพิ่มขึ้น 18.5% ส่งผลให้ทิศทางการเปลี่ยนโหมดขนส่งจากรถสู่รางซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าเกือบ 3 เท่า มีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ คาดปี 2568 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแตะระดับ 12.8% ตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟสายใหม่ แนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีในอัตราเร่ง
อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเริ่มแสดงให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นจากการพัฒนาระบบการขนส่งทางราง ส่งผลให้สัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.21% ในปี 2566 จากที่เคยอยู่ระดับ 1.68% ในปี 2562
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ม.ค. 2568
## Big Data Analysis Column: Thai Transportation Costs to Decrease for the Second Consecutive Year in 2025
Source - Krungthep Thurakij
Tuesday, January 21, 2025 04:04
The National Economic and Social Development Council (NESDC) has revealed that Thailand's logistics costs relative to GDP rose to 14.1% in 2023, continuing an upward trend from the already high level of 14.0% in 2022.
However, ttb analytics estimates that the logistics cost to GDP ratio will decrease to 13.6% in 2024 due to an 18.5% increase in double-track railway distance. This shift towards rail transport, which is almost three times cheaper than road transport, is becoming increasingly clear.
It is expected that in 2025, Thailand's logistics costs to GDP will continue to decline for the second consecutive year, reaching 12.8%. This is in line with the plan to develop double-track railways and new railway lines. The report recommends accelerating transportation efficiency, developing infrastructure to support multimodal transport, and adding value to goods to accelerate the reduction of logistics costs relative to GDP.
The success of government infrastructure investments is becoming more evident with the development of the rail transport system. This has resulted in an increase in the proportion of rail freight transport to 2.21% in 2023, up from 1.68% in 2022.
**Source: Krungthep Thurakij Newspaper, 21 January 2025**
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group