Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312208
ทั่วไป:13814356
ทั้งหมด:14126564
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โผรายชื่อสถานีรถไฟสายปากน้ำ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โผรายชื่อสถานีรถไฟสายปากน้ำ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2023 10:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายแรกของไทย ทางรถไฟสายปากน้ำ..พาทัวร์หอชมเมือง
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Feb 24, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=hHDxOT9Onp0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2023 6:15 am    Post subject: Reply with quote

นักเขียนซีไรต์ชี้ถ้าไม่มีทหาร-สถาบัน ป่านนี้เราคงพูดภาษาอื่น
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, October 24, 2023 04:58

วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เขียนบทความ "23 ตุลารำลึก ลุกขึ้นมาจับดาบต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของตน" เนื่องในวันปิยมหาราช ชี้หากไม่มีทหาร ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ป่านนี้คนไทยคงพูดภาษาชาติอื่นกัน

วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และ นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเนื่องในวัน ปิยมหาราช เผยหากในอดีตไม่มีทหาร ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ปัจจุบันคนไทยคงพูดภาษาอื่นไปแล้ว ทั้งนี้ อดีตนักเขียนรางวัล ซีไรต์ได้ระบุข้อความว่า

"รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือห้วงยามที่ฝรั่งเศสกับอังกฤษรุกรานไทย หาเรื่องยึดครองประเทศตลอดเวลา

การล่าอาณานิคมของชาวยุโรปในภูมิภาคนี้ ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตระหนักความสำคัญของการคมนาคม เวลานั้นการเดินทาง ข้ามจังหวัดใช้เกวียนและเรือเป็นหลัก ในภาวะฉุกเฉินย่อมใช้รับมือศัตรูไม่ทันการ

ไทยต้องปรับตัวเรื่องการเดินทาง รถไฟอาจเป็นคำตอบทรงเห็นควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศ เพื่อจะติดต่อกับมณฑลชายแดนง่ายขึ้น ปกครองสะดวกขึ้น และยังสามารถดูแลสอดส่องผู้รุกรานได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย

รถไฟสายแรกเป็นของเอกชน กรุงเทพฯไปสมุทรปราการ (ทางรถไฟสายปากน้ำ) ระหว่างสถานีรถไฟหัวลำโพงกับสถานีรถไฟปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 21.3 กิโลเมตร โดยพระยาชลยุทธโยธินทร์ แม่ทัพเรือคนหนึ่งของกองทัพเรือสยามชาวเดนมาร์ก(ชื่อเดิม อองเดร รีเชอลีเยอ Andreas Richelieu) ทางรถไฟสายนี้มีวิศวกรเดินรถชื่อ ร้อยเอก ที. เอ. ก็อตเช (T.A. Gottsche) ทหารชาวเดนมาร์ก ได้รับการชักชวนจากพระยาชลยุทธโยธิน มาช่วยกิจการทหารเรือในสมัยรัชกาลที่ ๕

ก็อตเชเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทรในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์(เสียงพ้องกับ Gottsche) เป็นฝรั่งที่อยู่เมืองไทยนานจนกลายเป็นคนไทยไปแล้ว ตั้งรกรากในเมืองไทย

สามเดือนหลังจากเปิดรถไฟสายปากน้ำ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) กองเรือรบฝรั่งเศสแล่นถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา

ทหารไทยสู้ฝรั่งเศสจมเรือปืนฝ่ายสยามได้หนึ่งลำ แต่เรือ ฌอง บัปติสต์ เซย์ ถูกปืนใหญ่สยามยิงเกยตื้นที่แหลมลำพูราย ทหารไทยเสียชีวิตแปดคน บาดเจ็บสี่สิบคน ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิตสามคน บาดเจ็บสามคน

เรือแองกองสตองต์และโกแมตแล่นฝ่าปราการต่างๆ เข้ามาได้ ทั้งสองลำแล่นฝ่ากระสุนไปจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถนนเจริญกรุง จ่อปืนใหญ่ไปที่พระบรมมหาราชวัง แล้วยื่นคำขาดหกข้อต่อรัฐบาลสยาม ให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง

หนึ่งในหกข้อคือสยามต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อฝรั่งเศสเป็นเงินสองล้านฟรังก์

สยามจ่ายเงินให้ฝรั่งเศสก้อนหนึ่งชำระด้วยเหรียญนกจากท้องพระคลังจำนวน 801,282 เหรียญ หนักถึง 23 ตัน

เหรียญนกก็คือเงินถุงแดงที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสะสมไว้ซื้อเอกราชให้ประเทศ

เจ้าหน้าที่ขนเหรียญนกออกจากวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือที่ท่าราชวรดิฐตลอดวันตลอดคืน

บันทึกฝรั่งเศสเขียนว่า "ด้วยนายทหารฝรั่งเศสเพียง 50 นาย ทหารญวน 150 นาย และผู้เชี่ยวชาญทางปืนใหญ่อีก 4-5 นาย ก็สามารถยึดสยามทั้งประเทศไว้ได้สำเร็จ"

แต่ฝรั่งเศสไม่พอใจแค่นั้น ขอเพิ่มเติมเงื่อนไขคือ ขอยึดปากน้ำ และเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายครบ

ฝ่ายไทยก็ต้องยอมรับอีก

สยามสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่ รวมเนื้อที่ประมาณ 143,800 ตารางกิโลเมตร

การเสียดินแดนสยามจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง

จนทรงพระประชวร

นายช่างเยอรมัน ลูอิส ไวเลอร์ ที่มาทำงานรถไฟในไทย บันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า เวลานั้นคนไทยเกลียดชาวฝรั่งเศส เพราะคิดกลืนกินดินแดนไทย หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในตังเกี๋ย เขียนใส่ร้ายคนไทย รวมถึงพฤติกรรมของพวกทูตฝรั่งเศสใน สยาม ทำให้ไม่เพียงคนไทยไม่ชอบคนฝรั่งเศส พวกยุโรปชาติอื่นๆก็ไม่ชอบเช่นกัน

บันทึกของ ลูอิส ไวเลอร์ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2451 เขียนว่า "ชาวสยามเป็นชนชาติที่รักสงบมากที่สุดในโลกอย่างไม่น่า สงสัย แต่ทว่าผมจะไม่ประหลาดใจเลยหากชาวสยามจะลุกขึ้นมาจับดาบต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของตน ภายหลังจากที่ประเทศสยามค่อยๆ ถูกตัดแบ่งออกไปเรื่อยๆ ตั้งแต่สิบห้าปีมาแล้ว" (จากหนังสือกำเนิดการรถไฟในประเทศไทย ลูอิส ไวเลอร์ เขียน แปลโดย ถนอมนวล โอเจริญ และ วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์)

วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตระหนักว่า ไม่มีผู้ใดช่วยเราได้ มีแต่มหาอำนาจหลายชาติต้องการกินเรา เราต้องมีแผนการที่ดีเพื่อรักษาเอกราชของชาติ

ทางหนึ่งคือการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เป้าหมายเพื่อหาพันธมิตรมาคานอำนาจศัตรู ก็คือซาร์ นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย

อีกทางหนึ่งคือปรับปรุงทางรถไฟของสยามให้ดีขึ้น พร้อมรับมือกับข้าศึกได้ทุกเมื่อ

เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนแผน เลือกสร้างสายอีสานก่อน เพราะเรื่องยุทธศาสตร์ เส้นทางจากกรุงเทพฯไปแม่น้ำโขงจำต้องผ่านโคราช

ฝ่ายไทยโชคดีมากที่ได้ คาร์ล เบธเกอ และนายช่างเยอรมันหลายคนมาทำงานนี้ รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินไปดูการสร้างรถไฟเสมอ

รถไฟสายอีสานแล้วเสร็จในปี 2443 รวมระยะทางทั้งสาย 265 กิโลเมตร หลังจากนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างทางรถไฟสายอื่นๆ ต่อไป เช่น ทางรถไฟสายเหนือจากชุมทางบ้านภาชีถึงเชียงใหม่ ระยะทาง 661 กม. เสร็จในรัชกาลต่อมา

ทรงมีวิสัยทัศน์ไกลจะต่อสู้กับอำนาจมารนอกประเทศ ต้อง เตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก ทั้งทางทหาร การเมืองระหว่างประเทศ การคมนาคม ไปจนถึงการปฏิรูประบบต่างๆ

ทหารมีไว้ทำไม กษัตริย์มีไว้ทำไม หากไม่มี ป่านนี้คนไทยคงพูดภาษาฝรั่งเศสกัน" .

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2023 8:34 am    Post subject: Reply with quote

สถานีศาลาแดง
ปริญญา ตรีน้อยใส

ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 พฤศจิกายน 2566

คอลัมน์ มองบ้านมองเมือง
ผู้เขียน ปริญญา ตรีน้อยใส
เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
สําหรับคนเจนใหม่ ที่ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีทันสมัยและรวดเร็วนั้น จะไม่รู้ที่มาที่ไปสถานที่ต่างๆ ที่ผ่านไปมาทุกวัน

เหมือนผู้คนจำนวนมากที่เดินทางผ่าน สถานีศาลาแดง สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย MRT

ซึ่งมีทางเชื่อมลอยฟ้ากับ สถานีสีลม สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติหกรอบพระชนมพรรษา สายสีเขียวเข้ม ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTS

โดยไม่รู้ว่าตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟใต้ดินสีลมนั้น น่าจะชื่อสถานีศาลาแดง เพราะอยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกับสถานีศาลาแดง ของทางรถไฟกรุงเทพฯ-ปากน้ำ ทางรถไฟสายแรกของไทย ที่เคยพาไปมองต่อเนื่องมาสองสามฉบับแล้ว

เนื่องจากทางรถไฟสายปากน้ำ ผ่านคลองขวางหรือคลองสีลม ที่จะไปถึงย่านบางรัก แหล่งร้านค้าและที่อยู่อาศัย จึงมีสถานีให้คนขึ้นลงเพื่อต่อเรือไปบางรัก


บังเอิญว่าเมื่อตอนที่ขุดคลองถนนตรงนั้น เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี สร้างศาลาริมคลองไว้สำหรับคนพักระหว่างเดินทาง คงเหมือนกับ ศาลายา หรือ ศาลาธรรมสพน์ ที่อยู่ริมคลองภาษีเจริญ

บังเอิญว่าศาลาแห่งนี้มุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีแดง ผู้คนเลยเรียกขานกันว่า ศาลาแดง จนกลายเป็นจุดอ้างอิงของคนในพื้นที่ กลายเป็นชื่อย่าน ก่อนที่จะกลายเป็นนามสถานีรถไฟสายปากน้ำ และสถานีรถไฟในปัจจุบัน

จากสถานีรถไฟศาลาแดง ที่เดิมอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เดินทางตามคลองขวาง (สีลม) ไปยังย่านพักอาศัยบางรัก ร้านค้าริมถนนเจริญกรุง และโกดัง โรงเลื่อย โรงสี และท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา

กลายมาเป็นสถานีรถไฟฟ้าสีลม ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เดินทางไปยังย่านธุรกิจและบริการบนถนนสีลม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สวนสาธารณะลุมพินี


และอื่นๆ ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ

คงเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้ศาลาหลังคาสีแดง ที่อยู่ริมคลองหายไป รวมทั้งคลองถนนตรงและคลองขวางหายไป

กลายเป็นสี่แยกศาลาแดงของถนนพระรามที่สี่ ถนนสีลม และถนนราชดำริ ที่การจราจรหนาแน่นตลอดทั้งวัน ผนวกรวมกับผู้สัญจรผ่านทางระบบขนส่งมวลชน

ระบบรางสองสาย คือ รถไฟฟ้าลอยฟ้าบีทีเอส และรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ที

กลายเป็นความวุ่นวายโกลาหลทั้งเช้าเย็น จนไม่มีใครรับรู้หรือสนใจว่าทำไมเรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า ศาลาแดง •

มองบ้านมองเมือง | ปริญญา ตรีน้อยใส
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2024 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

SUNA - สุนา
15 ก.พ. 67 10:07 น.

ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ชื่อนี้ชวนเอะใจว่ามีแต่ถนนตลอดเส้นทาง แล้วรถไฟอยู่ที่ไหน? แล้วทำไมต้องปากน้ำ?
.
นักสืบสุนามาไขข้อสงสัย ด้วยการออกไปสำรวจถนนชื่อยาวที่ตัดผ่านย่านสุขุมวิท-บางนา แกะรอยถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ว่ามีที่มาอย่างไร รางรถไฟที่เคยเห็นตอนขับผ่านถนนเส้นนี้เป็นของจริงไหม และประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายปากน้ำที่หยุดแล่นมากว่า 60 ปี วันนี้ยังเหลือร่องรอยของทางรถไฟสายเก่าอะไรให้เราได้ติดตามอยู่บ้าง
.
ระหว่างขับรถตะลอนจากคลองเตย ไปลงเอยที่สมุทรปราการ เราเจออะไรบ้าง โพสต์นี้เก็บข้อมูลมาฝากแบบเต็มๆ

https://www.facebook.com/SUNAneighbourmove/posts/374277202019566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3296
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 31/01/2025 10:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ภาพสำคัญ ภาพยนตร์ จากสยามถึงเกาหลี ปี 1931 ถ่ายภาพจากรถไฟปากน้ำเสียด้วยสิ ดูได้ที่นี่ครับ Embarassed

http://www.youtube.com/watch?v=d_98jT7XmZw

ฟิล์มภาพยนตร์ชุดเดิมที่ได้รับการสแกนใหม่ครับ นอกจากจะมีความคมชัดมากขึ้นแล้ว ยังเห็นภาพมุมกว้างมากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญคลิปใหม่นี้มีภาพบางช่วงที่คลิปเดิมตัดช่วงที่ไม่มีเสียงออกไป ถ้านับเฉพาะช่วงของทางรถไฟสายปากน้ำ ก็จะเห็นภาพยาวกว่าเดิมเกือบๆ 50 วินาทีเลยครับ
---------------------------------------------------------------

KOREA & THAILAND IN 1931: “Siam to Korea” New HD Scan + English Subtitles
독일로봇 Dogil Robot
Jan 23, 2025

Experience history with the first-ever 2K restoration of "Siam to Korea" (1931), an early entry in James A. FitzPatrick's Traveltalks series. This rare film captures life in Siam (Thailand) during the Great Depression and prelude to the 1932 Revolution, as well as Korea under Japanese colonial rule, showcasing its traditions and iconic landmarks like Gyeongbokgung Palace. Restored from an original film roll with unmatched clarity, this version is free of cropping, timestamps, and watermarks.

00:00 – intro
00:25 – Thailand in 1931: historical background
01:25 – Korea in 1931: historical background
02:03 – about this new scan
03:00 – Siam to Korea
03:35 – Siam
10:10 – Korea


https://www.youtube.com/watch?v=vZjZ68sX_aM
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2025 11:16 am    Post subject: Reply with quote

เยี่ยมเลย ขอบคุณมากครับ Shocked

ลองเอา caption มาแปลไทยด้วย Gemini 1.5 Pro ครับ

คำบรรยายสำหรับวิดีโอนี้คือ:

สวัสดี สวัสดี วันนี้ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเสนอ "สยามสู่เกาหลี" ให้กับคุณ ซึ่งสแกนเป็นครั้งแรกในความละเอียดสูง 2K จากม้วนฟิล์มเก่า "สยามสู่เกาหลี" เป็นหนึ่งในผลงานช่วงแรกๆ ของซีรีส์ "Traveltalks" ของเจมส์ เอ ฟิตซ์แพทริก และออกฉายในปี 1931 สถานการณ์ในประเทศไทยและเกาหลีในขณะนั้นแตกต่างจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ประเทศไทย หรือสยามอย่างที่รู้จักกันในเวลานั้น ถูกล้อมรอบด้วยประเทศต่างๆ ภายใต้การปกครองของอาณานิคม เช่น มลายูและสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษทางตอนใต้ กัมพูชา ลาว และเวียดนามเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสทางตะวันออก และพม่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียของอังกฤษ สยามยังคงเป็นเอกราช แต่ก็มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน แทนที่จะเป็นช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูในทศวรรษที่ 1920 แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกกลับสร้างความยากลำบากให้กับชาวสยาม และไม่นานหลังจากที่ "สยามสู่เกาหลี" ออกฉาย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้น การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ได้ยุติการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ยาวนานนับศตวรรษของสยาม

ส่วนเกาหลีในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 อยู่ภายใต้การปกครองที่เข้มงวดของจักรวรรดิญี่ปุ่น มาตรการที่รุนแรง เช่น การห้ามใช้ภาษาเกาหลี ยังไม่ได้รับการบังคับใช้อย่างเต็มที่ แต่ถึงกระนั้น นโยบายการกลืนชาติของญี่ปุ่นก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น อาคารรัฐบาลกลางแห่งโชซ็อนถูกสร้างขึ้นบนพระราชวังเคียงบกกุง พระราชวังหลวงหลักของเกาหลี ใจกลางกรุงโซล และถนนหลายสายในเมืองเรียงรายไปด้วยบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ดังที่เห็นใน "สยามสู่เกาหลี" จนกระทั่งปี 1945 เกาหลีจึงได้รับการปลดปล่อย โดยแบ่งออกเป็นเหนือและใต้ และในที่สุดก็เกิดสงครามเกาหลีตามมา

"สยามสู่เกาหลี" มีให้รับชมทางออนไลน์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่คุณภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร การสแกนใหม่นี้มีความละเอียด 2K ที่สูงกว่ามาก ไม่เพียงแต่คุณภาพของภาพที่ดีขึ้นและมีรายละเอียดมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากไม่ได้ซูมเข้า ภาพจึงปราศจากลายน้ำและการประทับเวลา และผมได้กู้คืนความเร็วในการเล่นเดิมที่ 20 เฟรมต่อวินาทีอย่างพิถีพิถัน ปัญหาเดียวคือคุณภาพเสียง แม้ว่าจะซื้อและสแกน VHS เพิ่มเติมของภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังมีเสียงขาดหายไปเล็กน้อย หากคุณมีแหล่งข้อมูลเสียงที่ดีกว่า โปรดแจ้งให้เราทราบ นอกจากนี้ หากคุณพบปัญหาใดๆ กับคำบรรยายในภาษาของคุณ โปรดแจ้งให้เราทราบ เพื่อที่เราจะสามารถทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด และสุดท้าย หากคุณชอบ ลองดูวิดีโออื่นๆ ของผมด้วย ขอบคุณที่รับชมและเพลิดเพลินไปกับ "สยามสู่เกาหลี"

ในมุมที่ห่างไกลของโลกของเรา มีอาณาจักรเล็กๆ แห่งสยาม หนึ่งในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งสุดท้ายของโลก ที่ซึ่งผู้คน 10 ล้านคนใช้ชีวิตอย่างสันโดษจากโลกภายนอก ระหว่างทางไปกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศโบราณแห่งนี้ เราผ่านวัดจีน ซึ่งเตือนเราว่าผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกๆ ในสยามส่วนใหญ่มาจากมองโกเลีย ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งในประเทศจีน

หลังจากล่องเรือขึ้นไปตามอ่าวไทย เรามาถึงท่าเรือเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีรถไฟรอพาเราไปกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 35 ไมล์ ก่อนออกเดินทาง เราได้รับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและมารยาทของชาวสยาม การมีภรรยาหลายคนได้รับอนุญาต แต่เมื่อเกิดขึ้น ภรรยาคนแรกจะได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวหน้าครัวเรือนเสมอ อนึ่ง มารดาชาวสยามไม่เคยจูบลูก และสามีก็ไม่จูบภรรยา พวกเขาถูใบหน้าเข้าหากันแทน งานเลี้ยงเล็กๆ นี้ถูกขัดจังหวะด้วยเสียงนกหวีดเตือนจากรถไฟของเรา และตอนนี้เรากำลังเดินทางไปกรุงเทพฯ

ยกเว้นทางรถไฟไม่กี่สาย การเดินทางทั้งหมดในสยามเป็นไปโดยทางน้ำ ระดับของพื้นดินต่ำมาก และดินอ่อนมาก ประสบการณ์ของวิศวกรผู้กล้าหาญที่เอาชนะป่าเขตร้อนแห่งนี้ด้วยทางรถไฟสายแรกในสยาม ผลผลิตจากดินประกอบด้วยข้าว อ้อย มะพร้าว และผลไม้ทุกชนิด ซึ่งบรรทุกในเรือและพายขึ้นไปยังกรุงเทพฯ ตามเครือข่ายแม่น้ำทั้งหมด เช่นที่เราเห็นที่นี่ เรามาถึงกรุงเทพฯ เมืองหลวงและเมืองหลักของสยาม ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าเมืองอื่นๆ ในโลก ยกเว้นลอนดอน เรารู้สึกทึ่งในความก้าวหน้าทางการศึกษาของสยามทันที โรงเรียนสมัยใหม่กำลังให้ความรู้และทำให้คนรุ่นใหม่ของสยามทันสมัยขึ้น เราได้รับแจ้งว่ากษัตริย์องค์นี้มีพี่น้อง 236 คน พระราชบิดาของพระองค์มี ชาวสยามเป็นชนชาติที่มีศิลปะ สถาปัตยกรรม การเต้นรำ และดนตรีของพวกเขาได้รับการพัฒนาอย่างสูงตามประเพณีของศิลปะอินโดจีน สถาปัตยกรรมสยามส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอาคารทางศาสนาที่อุทิศให้กับศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธ ศาสนาที่ทรงพลังที่สุดของโลกตะวันออก ถูกนำมายังสยามจากอินเดียตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 เป็นศาสนาประจำชาติของสยาม ศาสนาพุทธไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของเทพเจ้า เมื่อผู้คนเข้าไปในวัดและคุกเข่าต่อหน้าพระพุทธรูป พวกเขากราบไหว้พระองค์ แต่ไม่เคยลืมว่าพระองค์เคยเป็นมนุษย์มาก่อน และเมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาอาจกลายเป็นเหมือนพระองค์ ผู้หญิงชาวสยามดูเหมือนจะเป็นสาวกที่มั่นคงที่สุดของศาสนานี้ พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในและรอบๆ วัดกับลูกๆ ของพวกเขา ปลูกฝังศรัทธาในศาสนาพุทธ นี่คือวัดพระแก้วมรกต ซึ่งมีชื่อเสียงจากพระพุทธรูปมรกต ซึ่งประดิษฐานอยู่ใต้โดมแหลมแห่งหนึ่ง การเยี่ยมชมวัดของเราถูกขัดจังหวะด้วยการไปเยี่ยมชมสถาบันปาสเตอร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีการสกัดพิษ หนึ่งในศาสนสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ ศาสนามีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวสยามทุกย่างก้าว เขาอยู่ภายใต้การดูแลโดยตรงของพระสงฆ์ในชุดสีเหลือง ในความเป็นจริง ชาวสยามทุกคน รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย ต้องใช้ชีวิตช่วงหนึ่งใน 10,000 วัดของประเทศ ในกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว มีวัดอย่างน้อย 500 แห่งที่อุทิศให้กับศาสนาพุทธ เมื่อเราคิดถึงความแข็งแกร่งของศรัทธาที่เรียกว่าศาสนาพุทธกับผู้ติดตามหลายล้านคน และเปรียบเทียบกับศาสนาของเราเอง เราอดไม่ได้ที่จะรู้สึกอายที่จะคิดว่าศาสนาเฉพาะของเราเป็นเพียงศาสนาเดียวในโลกที่มีความสำคัญ และด้วยความคิดนี้ เราจึงออกจากสยามและเดินทางต่อไปยังเกาหลี ที่ซึ่งศาสนาพุทธเดียวกันนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนอีก 17 ล้านคน เรามาถึงท่าเรือโซล เมืองหลวง ซึ่งคณะกรรมการต้อนรับอย่างไม่เป็นทางการประกอบด้วยกลุ่มคนที่ค่อนข้างแปลกประหลาด ทุกคนอยากเห็นเราเหมือนที่เราอยากเห็นพวกเขา สุภาพบุรุษในชุดขาวกับหมวกตลกๆ เป็นจุดสนใจหลัก คนๆ นี้เป็นตัวอย่างทั่วไปของชาวเกาหลีพื้นเมือง เขาก้มหัวให้กับการปกครองของญี่ปุ่น แต่เขายืนกรานปฏิเสธที่จะยอมรับความเหนือกว่าทางปัญญาและวัฒนธรรมทางศีลธรรมของญี่ปุ่นเหนือวัฒนธรรมของเขาเอง จักรวรรดิญี่ปุ่นที่นี่ในพระราชวังใหม่ ท่ามกลางความงดงามของยุคที่ผ่านพ้นไป อดีตกษัตริย์แห่งเกาหลียังคงดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อของผู้ปกครองชาวญี่ปุ่น ถนนในกรุงโซลแสดงให้เห็นว่าชาวญี่ปุ่นกำลังกลืนชาติเกาหลีอย่างทั่วถึง ผู้หญิงในกรุงโซลดูเหมือนจะเป็นเพศที่โดดเด่น และเราสงสัยว่าสิ่งนี้ย้อนกลับไปสู่ธรรมเนียมบางอย่างที่เคยบังคับใช้อย่างเข้มงวด ทุกเย็นเวลา 21.00 น. จะมีการตีระฆังเตือนภัยเพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ชายทุกคนรีบกลับบ้านและอยู่แต่ในบ้าน เพื่อให้ผู้หญิงสามารถเพลิดเพลินกับอิสระบนท้องถนนได้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว อาจเป็นไปตามคำขอของผู้หญิงเอง เด็กๆ ในเกาหลีเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เกือบจะตั้งแต่พวกเขาสามารถเดินได้ พวกเขาก็ต้องดูแลน้องๆ ของพวกเขา สิ่งแรกที่ปลูกฝังในใจของเด็กเกาหลีคือความเคารพพ่อของเขา ในความเป็นจริง สิ่งที่น่ากลัวสี่อย่างที่เด็กผู้ชายกลัวมากที่สุดคือแผ่นดินไหว ลม ไฟ และพ่อ การเล่นเลียนแบบมารยาทที่น่าเบื่อหน่ายของผู้ใหญ่เป็นการละเล่นที่ชื่นชอบ เด็กหญิงตัวเล็กๆ คนนี้ลังเลที่จะอนุญาตให้เราถ่ายรูปทารกที่อยู่บนหลังของเธอ ในสวนแบบตะวันออก เราได้รับสิทธิพิเศษในการชมระบำพื้นเมือง ซึ่งคล้ายกับระบำของเกอิชาในญี่ปุ่นมาก นี่เรียกว่าระบำกลอง ไม่ว่าเราจะเคยเห็นอะไรในเกาหลี เราจะไม่มีวันลืมสุภาพบุรุษในชุดขาวกับหมวกขนม้า เพราะพวกเขาเป็นตัวแทนของเกาหลี และที่นี่ เกาหลีโบราณโค้งคำนับให้เราด้วยการอำลาอย่างงดงาม


The caption for the video is:
Hello! Today, it is my great pleasure to present to you "Siam to Korea," scanned for the first time ever in 2K high resolution straight from an old film reel. "Siam to Korea" is one of the early entries in James A. Fitzpatrick's "Travel Talks" series and was released in 1931. The situation in Thailand and Korea at the time was vastly different from how it is nowadays. Thailand, or Siam as it was known then, was surrounded by countries under colonial rule: Malaya and Singapore under British rule to the south, Cambodia, Laos, and Vietnam as French Indochina to the east, and Myanmar as part of British India. Siam would remain independent but had its own share of events. Instead of the economic boom of the 1920s, the global Great Depression was now causing hardships. Shortly after "Siam to Korea" was released, the Siamese revolution of 1932 ended Siam's century-long absolute monarchy. Korea in the early 1930s was under the tough rule of the Empire of Japan. Extreme measures such as bans on the Korean language had not been fully implemented yet, but Japan's assimilation policies were well underway. The Government-General Building, for example, had been placed right on top of Gyeongbokgung, the main royal palace of Korea in the center of Seoul, and several city streets were lined entirely by Japanese-style houses, as seen in "Siam to Korea." It would not be until 1945 that Korea was liberated, with its division into North and South and eventually the Korean War. "Siam to Korea" has been available online for quite a while now, but with shortcomings in its quality. This new scan has a much higher 2K resolution. Not only is the picture quality better and more detailed, it also contains more information as it is not zoomed in. The picture is completely free from time stamps and watermarks, and I have painstakingly restored the original playback speed of 20 frames per second. The only issue is the sound quality; despite buying and scanning an additional VHS of this film, a few audio bits here and there are still missing. If you happen to have access to a better sound source, please do let me know. Also, if you come across any issues with the subtitles in your language, kindly inform me so that we can make this film accessible to as many people as possible. Finally, if you like, check out my other videos as well. Thanks for watching, and enjoy "Siam to Korea"!

The film opens in Siam, a small kingdom of 10 million people living in relative isolation. The journey to Bangkok, the capital, begins with a glimpse of a Chinese junk, a reminder of the early settlers who migrated from Mongolia. After sailing through the Gulf of Siam, the film transitions to a train journey inland to Bangkok. A brief exploration of Siamese marriage customs is presented, noting the acceptance of multiple wives, while emphasizing the first wife's position as head of the household. The film also observes the unique custom of Siamese mothers and couples greeting each other not with kisses, but by rubbing faces. Transportation in Siam is highlighted as primarily water-based, with various goods like rice, sugarcane, coconuts, and fruits being transported along the rivers by boat. Bangkok is introduced as a sprawling city, second in land area only to London. The film emphasizes the ongoing efforts to educate and modernize the younger generation of Siam and makes mention of the King's large family.

The film showcases the artistic nature of the Siamese people, highlighting their highly developed architecture, dance, and music, all deeply rooted in Indo-Chinese artistic traditions. Siamese architecture is primarily showcased through its religious buildings, particularly those dedicated to Buddhism, the national religion. Buddhism, introduced from India in the 2nd century AD, is depicted as a central force in Siamese life. The film features the magnificent Temple of the Emerald Buddha, named for the emerald statue of Buddha housed within. A visit to the Pasteur Institute is also included. The profound influence of religion on daily life is emphasized, noting the tradition of Siamese men, including the King, spending time in monasteries. The film then reflects on the power and reach of Buddhism and its millions of followers, prompting a comparison with other religions and suggesting a sense of humility.

The narrative then shifts to Korea, where Buddhism also holds a strong presence, claiming 17 million followers. The film arrives at the port of Seoul, where a diverse crowd has gathered. A man in traditional Korean attire, described as a "white-robed gentleman with the funny hat," becomes a focal point. He is presented as a representative of the Korean people, acknowledging Japan's political control but subtly asserting the superiority of Korean intellectual and moral traditions. The film offers a glimpse into the life of the former Korean king, residing in a new palace under the patronage of his Japanese rulers. The streets of Seoul are presented as a visual testament to the ongoing Japanese assimilation of Korea, with examples of Japanese-style architecture. The film also observes the seeming dominance of women in Seoul's society, perhaps a vestige of a past custom where a curfew allowed women free rein of the streets at night. This custom, however, is noted as having been discontinued.

The film then focuses on Korean children, highlighting their responsibility in caring for younger siblings and emphasizing the deep-rooted respect for fathers. The children are shown engaging in playful activities, such as imitating the elaborate etiquette of their elders. A humorous scene unfolds as a young girl hesitates to allow the filming of her baby sibling. A traditional Korean dance, reminiscent of Japanese geisha dances and referred to as the "drum dance," is performed. The film concludes with a lingering image of the "gentlemen with the white robes and horsehair hats," symbolizing the essence of Korea, offering a gracious farewell.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2025 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

เปรียบเทียบภาพใหม่กับภาพเก่าครับ
ภาพเก่าลงไว้ตั้งแต่ปี 2008 ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=d_98jT7XmZw

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2025 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

ขอนำเสนอประวัติของภาพยนตร์เรื่อง "Siam to Korea" จากปี 1931 เป็นภาษาไทยครับ

## ความเป็นมา

"Siam to Korea" เป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องสำคัญในยุคแรกๆ ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดสารคดีท่องเที่ยว Traveltalks ของ James A. FitzPatrick ภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่องนี้นำเสนอการเดินทางผ่านสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) และเกาหลี ให้กับผู้ชมชาวตะวันตกในช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์ทั้งสองประเทศ

## บริบททางประวัติศาสตร์

ช่วงต้นทศวรรษ 1930 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการสร้างภาพยนตร์ เมื่ออุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนจากภาพยนตร์เงียบเป็นภาพยนตร์เสียง สารคดีท่องเที่ยวอย่าง "Siam to Korea" มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยการเพิ่มเสียงบรรยาย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสถานที่ต่างๆ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น

## รายละเอียดการผลิต

- ผู้กำกับ: James A. FitzPatrick ที่รู้จักกันในนาม "The Voice of the Globe"
- วันฉาย: ปี 1931
- ประเภท: สารคดีท่องเที่ยว/สารคดีสั้น
- ดนตรี: Nathaniel Shilkret ได้รับการกล่าวถึงว่ามีส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้

## เนื้อหาและความสำคัญ

ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอภาพที่หาดูได้ยากของภูมิประเทศ วัฒนธรรม และชีวิตประจำวันในสยามและเกาหลีในช่วงต้นทศวรรษ 1930 ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษเพราะ:

1. บันทึกภาพของภูมิภาคเหล่านี้ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมที่สำคัญ
2. สำหรับสยาม แสดงให้เห็นประเทศในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475
3. ในกรณีของเกาหลี ภาพยนตร์แสดงให้เห็นประเทศในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945)

## คุณค่าทางประวัติศาสตร์

"Siam to Korea" ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า นำเสนอหลักฐานทางสายตาของลักษณะและวัฒนธรรมของประเทศเหล่านี้ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และนักวิชาการด้านเอเชียศึกษา ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ:

1. มุมมองและการนำเสนอวัฒนธรรมเอเชียของชาวตะวันตกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
2. การพัฒนาของรูปแบบสารคดีท่องเที่ยวในยุคแรกของภาพยนตร์เสียง
3. ภูมิทัศน์ของสยามและเกาหลีก่อนที่จะมีการพัฒนาสู่ความทันสมัยอย่างมีนัยสำคัญ

## การบูรณะและความพร้อมใช้งาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามในการอนุรักษ์และบูรณะผลงานประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ที่สำคัญชิ้นนี้:

- มีการบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้ใหม่ในระบบ 2K ทำให้ผู้ชมยุคปัจจุบันสามารถรับชมได้ในคุณภาพที่ดีขึ้น
- เวอร์ชันที่ได้รับการบูรณะมีคำบรรยายภาษาอังกฤษ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
- ฟุตเทจจากภาพยนตร์เรื่องนี้มีให้เช่าใช้สิทธิ์ได้ แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องและการใช้งานอย่างต่อเนื่องในสารคดีประวัติศาสตร์และการวิจัย

"Siam to Korea" ยังคงเป็นหน้าต่างที่น่าสนใจสู่อดีต นำเสนอทั้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างภาพยนตร์และการนำเสนอวัฒนธรรมข้ามชาติในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48091
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2025 9:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ระยะทาง (กม) สถานี Station
0 บางกอก (หัวลำโพงสายปากน้ำ, กรุงเทพสายปากน้ำ) Bangkok
2.3 ศาลาแดง Sala Deng (Saladaeng)
5.2 คลองเตย Klong Toi (Klong Toei)
7.1 บ้านกล้วย* Ban Kluei (Ban Kruay)
8.9 พระโขนง Prakonong (Phrakhanong)
10.5 บางจาก Bangdjak (Bang Chak)
12.0 บางนา Bang Na
14.8 สำโรง Samrong
17.3 จอรเข้ (จระเข้) Chorakhe
18.8 บางนางเกรง* (บางนางเกร็ง) Bang Nang Greng (Bang Nangkreng)
20.0 มหาวง* (มหาวงศ์) Mahawong (Mahawongse)
21.3 ปากน้ำ Paknam

ชื่อที่มีดอกจันคือ *คือสถานีที่จะหยุดต่อเมื่อผู้โดยสารต้องการ (ปกติไม่จอด)

เปรียบเทียบกะ ข้อมูลปี 2480 ได้ความดั่งนี้
กม. 0 กรุงเทพฯ (หัวลำโพงสายปากน้ำ, กรุงเทพสายปากน้ำ) Bangkok
กม. 2.3 ศาลาแดง Sala Deng (Saladaeng)
กม. 3.2 วิทยุ (Wireless) - เพิทเข้ามาเพราะมีกองสัญญาณทหารเรือที่มีการส่งวิทยุ
กม. 5.2 คลองเตย Klong Toi (Klong Toei)
กม. 7.1 บ้านกล้วย* Ban Kluei (Ban Kruay)
กม. 8.7 พระโขนง Prakonong (Phrakhanong)] -มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานี
กม. 10.5 บางจาก Bangdjak (Bang Chak) => รถจากกรุงเทพ และ ปากน้ำมาจอดหลีกรถกันที่ บางจากทุกขบวน ส่อให้เห็นว่ามีกาารยุบสถานีกลายเป็นที่หยุดรถจอกจากที่กรุงเทพ ปากน้ำ และ บางจาก
กม. 12.4 บางนา Bang Na -มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานี เพราะมีการตั้ง substation เพื่อการแปลงไฟ ที่บางนา
กม. 14.8 สำโรง Samrong
กม. 17.3 จรเข้ (จระเข้) Chorakhe
กม. 18.8 บางนางเกรง* (บางนางเกร็ง) Bang Nang Greng (Bang Nangkreng)
กม. 19.4 ร.ร. ชุมพล (Naval Rating School) [โรงเรียนจ่าทหารเรือ]
กม. 20.6 ศาลาจังหวัด (Provincial Hall) - มาแทน สถานี มหาวง* (มหาวงศ์) Mahawong (Mahawongse) กม. 20.0 เพราะมีการตั้งศาลากลางจังหวัดทางใต้วัดมหาวงศ์ เลยต้องมีการยุบสถานีเก่าเปิดสถานีใหม่
กม. 21.3 ปากน้ำ Paknam

กำหนดเวลาเดินรถรางสายปากน้ำ
เริ่มใช้ วันที่ 01 เมษายน 2480
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/3402831006397607

สำหรับอักษรโรมัน Bang Djak สำหรับป้ายสถานีรถไฟบางจากนั้น มีที่มาดังนี้ครับ

โดยทั่วไป การถ่ายอักษรไทย “จ” เป็น “dj” ปรากฏในงานเขียนของชาวต่างชาติหรือมิชชันนารีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (สมัยรัชกาลที่ 4–รัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ 6) ก่อนที่ประเทศไทยจะมีการกำหนดมาตรฐานการถ่ายอักษรไทยเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการในภายหลัง

สาเหตุที่พบ “dj” สำหรับ “จ” ในสมัยนั้น เนื่องจากผู้จัดทำพจนานุกรมหรือเอกสารทางภาษาเป็นชาวต่างชาติที่คุ้นเคยกับระบบเขียนที่สะท้อนเสียงตามภาษาแม่ (เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือดัตช์) ทำให้เกิดการใช้ตัวอักษร “d” และ “j” ควบกันเพื่อแทนเสียง “จ” แบบไทย ซึ่งต่างจากระบบปัจจุบัน (เช่น ระบบราชบัณฑิตยสภา) ที่กำหนดให้ใช้ “ch” สำหรับ จ แทน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
Page 13 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©