Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312258
ทั่วไป:13872806
ทั้งหมด:14185064
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 584, 585, 586 ... 594, 595, 596  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2025 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

ซูมงานระบบฯ “รถไฟไฮสปีดไทย-จีน” ยังไม่ถึง 1% ช้า 61.51% เริ่มผลิตรถปีนี้
เดลินิวส์ 2 ก.พ. 2568 20:09 น.

ซูมงานระบบฯ สัญญา 2.3 รถไฟไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา คืบหน้า 0.95% ช้ากว่าแผน 61.51% “ฝ่ายจีน” เร่งออกแบบรายละเอียดขบวนรถ เริ่มผลิตปีนี้ เตรียมเฟ้นหาผู้รับจ้าง เดินเครื่องงานติดตั้งราง-งานระบบ ขณะที่ รฟท. อัปสปีดงานโยธา คาดส่งมอบพื้นที่บางส่วนให้ฝ่ายจีนเริ่มวางรางปลายปี 68 เปิดบริการปี 71
 “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 14 สัญญา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท  รถไฟไฮสปีดสายแรกของประเทศไทยที่เริ่มพิธีตอกเสาเข็มเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ถึงวันนี้ก้าวสู่ปีที่ 8 ได้ผลงานในภาพรวม 39.47% ล่าช้า 41.42% ก่อสร้างเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนาม 2 สัญญา

โฟกัสสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท ดำเนินการโดยฝ่ายจีน บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ได้ผลงานเพียง 0.95% ล่าช้า 61.51%  อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด (Detail Design) งานระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงออกแบบขบวนรถไฟ ซึ่งหารือร่วมกับ รฟท. เช่นการเลือกสีภายใน-ภายนอก ลวดลาย และห้องน้ำ

เบื้องต้นคาดว่าฝ่ายจีนจะออกแบบฯ แล้วเสร็จ และเสนอรฟท. พิจารณา  และเริ่มกระบวนการผลิตตัวรถได้ภายในปี 2568 ใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี และเริ่มทดสอบการเดินรถประมาณปลายปี 2570 ราว 6 เดือน ก่อนเปิดบริการในปี 2571 ซึ่งเป็นแผนเปิดบริการที่ยังตรึงแผนล่าสุดไว้ (จากเดิมได้เลื่อนมาเรื่อยๆ จากแผนเปิดบริการครั้งแรกในปี2566 จนถึงตอนนี้ยังใช้ขบวนรถ “ฟู่ซิงห้าว” รุ่น CR300 ใช้ความเร็วได้สูงสุด 300 กม.ต่อชั่วโมง(ชม.) แต่วิ่งจริงสูงสุด 250 กม.ต่อชม.นำขบวนรถเข้าไทย 6 ขบวน48 ตู้  1 ขบวน มี 8 ตู้ ประมาณ 560 ที่นั่งต่อขบวน ไม่มีตั๋วยืน ใน 6 ขบวนจะวิ่งให้บริการ 4 ขบวน และสำรองไว้ 2 ขบวน

ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 3.7 เมตร แบ่งประเภทที่นั่งเป็น 3 ระดับ second class จัดเรียงแบบ 3-2 ตลอดความยาวตู้โดยสาร, First class จัดเรียงฝั่งละ 2 ที่นั่ง และBusiness class เก้าอี้เดี่ยวฝั่งละ 1 ที่นั่งใช้ตู้โดยสารหลังห้องคนขับ ในขบวนรถมีห้องน้ำแบบระบบปิด และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ฝ่ายจีนเตรียมเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้องด้วย คาดว่าปลายปี 2568 รฟท. จะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่แล้วเสร็จบางส่วนให้ฝ่ายจีนเริ่มเข้าติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกลได้ โดยเฉพาะในส่วนที่ก่อสร้างได้ผลงานเกิน 50-60% ตามที่เคยตกลงกันไว้

ปัจจุบัน รฟท. ได้เร่งรัดงานก่อสร้าง และแก้ปัญหาบางสัญญาที่ยังมีปัญหาอุปสรรค และงานล่าช้ากว่าแผนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น สัญญา 3-1 แก่งคอย – กลางดงและปางอโศก – บันไดม้า  4.16% ล่าช้า 8.13% สัญญา 3 – 5 โคกกรวด – นครราชสีมา 12.13% ล่าช้า 77.94%, สัญญา 4 – 2 ดอนเมือง – นวนคร  1.74% ล่าช้า 98.07% สัญญา 4 – 4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย  29.87% ล่าช้า  3.59% และสัญญา 4 – 6 พระแก้ว – สระบุรี  9.04% ล่าช้า90.86%

ความล่าช้าส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากงานเวนคืนเอกชนมีพื้นที่ก่อสร้างได้ไม่ถึง50% เช่น  สัญญา 3-1 และสัญญา 4 – 2 รวมถึงการเบิกจ่ายค่างานใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ทำให้มีผลต่อสภาพคล่องของผู้รับจ้าง และการปรับแผนงาน เช่น สัญญา 3-5 มีแผนปรับเป็นทางยกระดับ ส่วนอีก 2 สัญญาที่รอลงนามสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. รอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน คาดว่าจะลงนามสัญญาไม่เกินเดือนเดือน มี.ค.68

และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว รอความชัดเจนเรื่องรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม(Heritage Impact Assessment : HIA)  ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ประเมิน HIA แล้ว รอฝ่ายไทยปรับลดหลังคาสถานีอยุธยาลงให้ต่ำกว่า 35 เมตร  รวมทั้งปรับตัวอาคารสถานีไม่ให้โครงสร้างทับซ้อนสถานีเดิม เพื่อนำรูปแบบเสนอผู้เชี่ยวชาญภายในวันที่ 3 มี.ค.2568 และรอรายงานผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนต่างๆอีกประมาณ 1 ปี

 รฟท.ได้นำเรื่องเสนอนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ  รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม เพื่อลงนามกับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้างก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน  รอการเห็นชอบจากนายสุริยะ พร้อมปรับแผนงานเร่งรัดการก่อสร้างไม่ให้กระทบแผนการเปิดบริการในภาพรวม


Thai-Chinese High-Speed Rail Project: Systems Work Still Under 1% Completion, 61.51% Behind Schedule, Train Production to Begin This Year

Daily News, February 2, 2025, 8:09 PM.

Progress on Contract 2.3, concerning the rail systems, electrical systems, and machinery, including train procurement and personnel training for the first phase of the Thai-Chinese high-speed railway project (Bangkok-Nakhon Ratchasima), is currently at 0.95%, a significant 61.51% behind schedule. The Chinese side is expediting the detailed design of the train, with production slated to commence this year. They are also in the process of selecting contractors to initiate track laying and systems installation. Meanwhile, the State Railway of Thailand (SRT) is accelerating civil works and expects to deliver some sections to the Chinese side for track laying by the end of 2025, aiming for service commencement in 2028.

"Daily News Transportation Innovation News Team" reports that the construction of the first phase of the high-speed rail project, spanning 14 contracts over 253 kilometers with a budget of 179 billion baht, marks Thailand's first high-speed rail line. Construction began with a groundbreaking ceremony on December 21, 2017. Now in its eighth year, the project has achieved an overall progress of 39.47%, with a delay of 41.42%. Two contracts have been completed, ten are under construction, and two are awaiting signing.

The focus is currently on Contract 2.3, valued at 50.633 billion baht, which covers the rail systems, electrical systems, and machinery, including train procurement and personnel training. This contract is being undertaken by the Chinese side, specifically China Railway International Co., Ltd. and China Railway Design Corporation. With progress at a mere 0.95% and 61.51% behind schedule, the project is currently in the detailed design phase for the high-speed rail system and related systems, including the train design itself. This involves consultations with the SRT on aspects such as interior and exterior color schemes, patterns, and restroom facilities.

It is anticipated that the Chinese side will finalize the designs and submit them to the SRT for consideration, with train production commencing within 2025. The production process is expected to take no more than two years, followed by approximately six months of operational testing starting around the end of 2027, leading up to the service launch in 2028. This remains the latest target opening date, following multiple postponements from the original plan of 2026.

The "Fuxing Hao" CR300 model, capable of reaching speeds up to 300 kilometers per hour but operating at a maximum of 250 kilometers per hour in actual service, will be used for this project. Six trains, comprising 48 carriages (8 carriages per train), will be brought to Thailand, each with a capacity of around 560 seats, with no standing passengers. Of these six trains, four will be in active service, while two will serve as backups.

The train carriages are air-conditioned, measuring 2.8-3.7 meters wide, 20 meters long, and 3.7 meters high. The seating is divided into three classes: second class with a 3-2 configuration throughout the carriage, first class with two seats on each side, and business class with single seats on one side, located in the carriage behind the driver's cabin. The trains feature closed-system restrooms and various amenities.

In addition, the Chinese side is preparing to open bidding for contractors to install the track system, electrical and mechanical systems, and related high-speed rail systems. It is expected that by the end of 2025, the SRT will gradually hand over completed sections of the construction site to the Chinese side to begin installing these systems, particularly in sections where construction progress exceeds 50-60%, as previously agreed.

Currently, the SRT is expediting construction and addressing challenges in certain contracts that are significantly behind schedule. These include Contract 3-1 (Kaeng Khoi-Klang Dong and Pang Asok-Ban Dai Ma), at 4.16% progress with an 8.13% delay; Contract 3-5 (Khok Kruat-Nakhon Ratchasima), at 12.13% progress with a 77.94% delay; Contract 4-2 (Don Mueang-Nuan Kroh), at 1.74% progress with a 98.07% delay; Contract 4-4 (Chiang Rak Noi Maintenance Center), at 29.87% progress with a 3.59% delay; and Contract 4-6 (Phra Kaeo-Saraburi), at 9.04% progress with a 90.86% delay.

The delays are largely attributed to land expropriation issues with private landowners, resulting in less than 50% of the construction area being available, as seen in Contracts 3-1 and 4-2. Additionally, the lengthy payment process for completed work has affected the contractors' cash flow and led to plan adjustments, such as in Contract 3-5, where the plan was revised to an elevated track.

Two contracts are still pending: Contract 4-1 (Bang Sue-Don Mueang), spanning 15.21 kilometers, is awaiting revisions to the joint investment agreement for the high-speed rail project connecting three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao) due to overlapping structures. The contract signing is expected by March 2025.

Contract 4-5 (Ban Pho-Phra Kaeo) awaits clarity on the Heritage Impact Assessment (HIA) for the Ayutthaya Historical Park World Heritage Site, connected to the Ayutthaya high-speed rail station. UNESCO experts have conducted an on-site HIA assessment in Ayutthaya. Pending adjustments by the Thai side to lower the Ayutthaya station roof to below 35 meters and modify the station building to prevent structural overlap with the existing station, the revised design will be submitted to the experts by March 3, 2025. The final report is expected to take approximately one year to gain approval through the various procedures.

The SRT has presented the matter to Deputy Prime Minister and Minister of Transport Suriya Jungrungreangkit for signing with the contractor, Boonchai Panich (1979) Co., Ltd., to proceed with the track construction. This awaits approval from Mr. Suriya, along with adjustments to the construction plan to ensure the overall service launch remains on schedule.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2025 2:55 pm    Post subject: Reply with quote

ล่าสุด รถไฟความเร็วสูงประเทศไทย คลองไผ่-โคราช
รถไฟไทยสดใส
Feb 3, 2025


https://www.youtube.com/watch?v=_BTer016D10
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/02/2025 7:06 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแฟ้ม ครม. 4 ก.พ. คมนาคม ชงสร้างไฮสปีด กทม.-หนองคาย ระยะ2 วงเงิน 3.4 แสนล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 04 ก.พ. 2025 เวลา 6:05 น.

เปิดแฟ้ม ครม. 4 ก.พ. “คมนาคม” ชงเดินหน้าไฮสปีด กทม.-หนองคาย เฟส 2 วงเงินกว่า 3.4 แสนล้านบาท กระทรวงการคลัง เสนอ ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดชื้อจัดจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเข้า ครม.หวังส่งเสริมสินค้าไทย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (4 ก.พ.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีวาระสำคัญที่เข้าสู่การประชุม ครม.หลายวาระ โดยวาระที่น่าสนใจคือ กระทรวงคมนาคมจะเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพ - หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการให้เสร็จตามกำหนด

คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ เสนอ การปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองการลงทุนภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

กระทรวงการคลัง เสนอ ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดง จังหวัดอุดรธานี ให้แก่นางมี รักเสมอวงศ์ พ.ศ. ....

กระทรวงยุติธรรม เสนอ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... (แก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารมาความแพ่ง)

กระทรวงการคลัง เสนอ ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดชื้อจัดจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

กระทรวงคมนาคม เสนอ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ....

กระทรวงพลังงาน เสนอ ร่างกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

กระทรวงพาณิชย์ เสนอ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... และเสนอ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ยางรถใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้าม หรือต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ....

กระทรวงมหาดไทย เสนอ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ....

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ผลการพิจารณา เรื่อง ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย หรือการสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมทานครและปริมณฑล ที่ประสบปัญทากำลังจะจะจมบาดาล

กระทรวงมหาดไทย เสนอ ผลการพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาสะพาสะพานถล่มกรณีสะพานยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง เพื่อส่งให้หน่วยงามที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ

กระทรวงมหาดไทย เสนอ มาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทรายในที่ดินของรัฐ

กระทรวงยุติธรรม รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการบังคับคับสูญหายบุคคลที่พำนักอาศัยในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขอลี้ภัยทางการเมือง

กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ณ จังหวัดขอนแก่น (นายดิญ หว่าง ลิญ)

กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงพาลลินน์ และการเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงกลลินน์ สารารณรัฐเอสโตนีย (นายเอนน์ ปันต์)

กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ รัฐบาลสาธารณรัฐตูนิเซียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชฑูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตูนิเซียประจำประเทศไทย


Cabinet Meeting on Feb 4th: Transport Ministry Proposes High-Speed Rail Project Phase 2, Worth 340 Billion Baht

Bangkok Business, February 4th, 2025, 6:05 AM

The Transport Ministry will propose to the Cabinet today (Feb 4th) to proceed with the second phase of the Bangkok-Nong Khai high-speed rail project, worth over 340 billion baht. The Finance Ministry will also propose a draft ministerial regulation on the procurement of goods and services that the government wishes to promote or support, aiming to promote Thai products.

According to reports from the Government House, Prime Minister Paetongtarn Shinawatra will chair the Cabinet meeting today. Several important issues will be addressed, notably the Transport Ministry's proposal seeking approval to proceed with a joint project between the Thai and Chinese governments. The project involves developing a high-speed rail system to connect Bangkok and Nong Khai. This phase 2 covers the Nakhon Ratchasima-Nong Khai section, spanning 357.12 kilometers with a budget of 341.35142 billion baht. The goal is to ensure the project's completion according to schedule.


ชง "ครม." เคาะวันนี้! รถไฟไฮสปีด เฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" 3.4 แสนล้าน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Tuesday, February 04, 2025 08:11

“คมนาคม” ชงครม. 4 ก.พ.นี้ ไฟเขียวโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย 357 กม. กว่า 3.41 แสนล้าน คาดเปิดประมูล-เริ่มสร้าง พ.ย.นี้ เปิดบริการปี 74 เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีนฉิว มอบ รฟท. เร่งศึกษา PPP เดินรถตลอดทั้งเส้น คาดปีแรกผู้โดยสารใช้บริการ กรุงเทพฯ-หนองคาย วันละ 9,030 คน ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม.28 นาที

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 4 ก.พ.68 กระทรวงคมนาคม จะเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท เบื้องต้นหาก ครม. เห็นชอบ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้าง และเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือน พ.ย.68 และเปิดให้บริการในปี 2574

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 มีเส้นทางครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วยนครราชสีมา, ขอนแก่น, อุดรธานี และหนองคาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางที่มีความรวดเร็ว และความปลอดภัยให้ประชาชน รวมทั้งยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยกับ สปป.ลาว และประเทศจีนด้วย ทั้งนี้ในส่วนของเรื่องการเดินรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ได้มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดำเนินการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน(PPP) โครงการฯ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยเป็นการเดินรถตลอดทั้งเส้น ตั้งแต่กรุงเทพฯ-หนองคาย จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6-8 เดือน จากนั้นจะเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาการดำเนินงานในรูปแบบ PPP ต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 มีระยะทาง 357.12 กม. แบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ 202.48 กม. และเป็นทางวิ่งระดับดิน 154.64 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย มีย่านกองเก็บตู้สินค้า และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 แห่ง ได้แก่ ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย รวมทั้งมีศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย การออกแบบรางมีขนาด 1.435 เมตร โดยรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กม. ต่อชั่วโมง (ชม.) ความเร็วเฉลี่ยในการให้บริการ 192 กม.ต่อชม. ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมา ประมาณ 1 ชม. 26 นาที และจากนครราชสีมา-หนองคาย ประมาณ 1 ชม. 45 นาที และหากนั่งจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ใช้เวลาประมาณ 3 ชม. 28 นาที

อย่างไรก็ตามสำหรับปริมาณผู้โดยสาร ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย คาดการณ์ว่าปีแรกที่เปิดให้บริการในปี 2574 มีปริมาณผู้โดยสาร 6,710 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2578 จำนวน 10,060 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2583 จำนวน 13,420 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2593 จำนวน 16,490 คน-เที่ยวต่อวัน และปี 2603 จำนวน 17,930 คน-เที่ยวต่อวัน ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย คาดการณ์ว่าปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการในปี 2574 ผู้โดยสารอยู่ที่ 9,030 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2578 จำนวน 13,550 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2583 จำนวน 18,070 คน-เที่ยวต่อวัน, ปี 2593 จำนวน 22,250 คน-เที่ยวต่อวัน และปี 2603 จำนวน 24,110 คน-เที่ยวต่อวัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หากโครงการไฮสปีดไทย – จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคายได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ทาง รฟท.จะเร่งจัดทำเอกสารประกวดราคา (TOR) และเปิดประมูลจัดหาเอกชนก่อสร้างงานโยธาทันทีภายในปี 2568 คาดว่าจะได้ตัวผู้รับจ้างในปี 2568 และเริ่มงานก่อสร้างปลายปี 2568 อย่างไรก็ตามปัจจุบัน รฟท.ยังอยู่ระหว่างจัดทำ TOR เพื่อศึกษารูปแบบเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) ในการบริหารโครงการและเดินรถไฮสปีดไทย – จีน ตลอดแนวเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ – หนองคายด้วย คาดว่าจะใช้เวลาศึกษา 6 เดือนแล้วเสร็จภายในปีนี้ ก่อนเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบ PPP ต่อ ครม.พิจารณา ก่อนเปิด PPP จัดหาเอกชนร่วมลงทุนต่อไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่โครงการรถไฟไฮสปีดไทย – จีนแล้วเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของงานโยธาการก่อสร้างต่างๆ จะเปิดประมูล และเดินหน้าตอกเสาเข็ม ส่วนเรื่องเดินรถจะเห็นภาพชัดเจนของการเปิดให้เอกชนร่วม PPP เดินรถตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งการเร่งดำเนินการเหล่านี้ เพื่อให้ทันต่อการเปิดให้บริการรถไฟไฮสปีดไทย – จีนเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ที่จะเปิดให้บริการในปี 2571.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44572
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2025 11:47 am    Post subject: Reply with quote

'ครม.' ไฟเขียวไฮสปีดโคราช-หนองคาย นายกฯเร่งแลนบริดจ์ เปิดรับจีนลงทุน
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 11:12 น.

ครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย กรอบงบฯกว่า 3.4 แสนล้าน
การเมือง
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 12:10 น.


ครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. จ่อเชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ทะลุถึงจีน คาดเสร็จปี 2573 ขณะที่นายกฯเร่งรัดเฟสแรก กทม.-โคราช 253 กม. หลังสร้างช้ากว่ากำหนด.

ครม.ไฟเขียวเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็ววสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 โคราช-หนองคาย 3.4 แสนล้าน นายกฯหารือ ครม.เตรียมความพร้อมเยือนจีน แย้มเปิดรับการลงทุนแลนด์บริดจ์หากนักลงทุนจีนให้ความสนใจ สั่งเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณดันเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (4 ก.พ.) เห็นชอบการดำเนินการโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจากจังหวัดนครราชสีมา-หนองคาย โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้ติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด

ก่อนหน้านี้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพ - หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 341,351.42 ล้านบาท

โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบฯ 60-63) ซึ่งปัจจุบันโครงการระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด โดยมีความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 35.74 ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571

นายจิรายุกล่าวต่อไปว่า กระทรวงคมนาคม โดย ร.ฟ.ท. ได้ขออนุมัติดำเนินโครงการระยะที่ 2 ประกอบด้วย การดำเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากโครงการระยะที่ 1 ที่จะเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดหนองคาย วงเงิน 335,665.21 ล้านบาท ระยะทาง 357.12 กม. ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และ (5) สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบฯ 68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบฯ 75 (รวม 8 ปี)

ส่วนที่ 2 การก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการก่อสร้างศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า-ขาออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตร ของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

สำหรับโครงการระยะที่ 2 เมื่อพิจารณา EIRR เชิงกว้าง กรณีโครงการระยะที่ 1+2 พบว่ามีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 13.23 ซึ่งยังมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อีกทั้ง คกก.การรถไฟฯ มีมติเห็นชอบโครงการระยะที่ 2 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ได้เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการระยะที่ 2 ด้วยแล้ว.

โดยเมื่อ ครม. เห็นชอบ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้าง และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2568 และเปิดให้บริการในปี 2574 โดยโครงการไฮสปีดเทรนสายนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางที่มีความรวดเร็ว และความปลอดภัยให้ประชาชน รวมทั้งยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยกับ สปป.ลาว และประเทศจีนด้วย

นายจิรายุ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในการประชุมดังนี้ เรื่องการเยือนจีนอย่างเป็นทางการจะมีการผลักดัน และติดตามความร่วมมือสำคัญ ได้แก่ ในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยให้เร่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนด้านการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะในสาขาแห่งอนาคตที่สำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และดาต้าเซนเตอร์

ขอให้คณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับมาตรการกำกับดูแล มาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้าอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารและ ขอให้เดินหน้าพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) และพร้อมเปิดรับการลงทุนจากประเทศจีน หากนักลงทุนจีนให้ความสนใจ


นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่านอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีข้อสั่งการเพิ่มเติมเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของแต่ละกระทรวง โดยกล่าวว่าเมื่อวาน (วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568) ได้มีการประชุมเร่งรัดติดตามเรื่องงบการลงทุนของแต่ละกระทรวง ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม และจะมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยที่ทางอธิบดีกรมบัญชีกลางจะช่วยเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามกำหนด โดยขอให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เร่งติดตามให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามเป้าหมาย เพราะถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับในเรื่องของความปลอดภัย และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาตินั้น ขอให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว และยกระดับมาตรการต่างๆ โดยไม่ยอมให้ขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติใช้ไทยเป็นทางผ่าน โดยเฉพาะแก๊งค์ call center อย่างใกล้ชิด

สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศให้ดำเนินการ ในการเร่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความพร้อมต่ออนาคตสนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (soft power) และการเตรียมความพร้อมในการรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่จากจีน ในฐานะทูตสันถวไมตรีในปีนี้

นายกรัฐมนตรี ยังมีข้อสั่งการกรณีเรื่องของปัญหาที่มีอยู่ในเรื่องการตัดน้ำ หรือไฟ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการว่า การกำกับเรื่องมาตรการการตัดน้ำตัดไฟในพื้นที่ชายแดนของ สมช. หากมีข้อมูลของการกระทำผิด ขอให้รองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย เรียกประชุมกับทาง สมช. เพื่อพิจารณาในมาตรการต่อไปอย่างชัดเจน โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ และความปลอดภัยของประชาชนคนไทย และประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ หากต้องตัดก็ให้ดำเนินการ
https://www.prachachat.net/politics/news-1747654
Mongwin wrote:
เปิดแฟ้ม ครม. 4 ก.พ. คมนาคม ชงสร้างไฮสปีด กทม.-หนองคาย ระยะ2 วงเงิน 3.4 แสนล้าน
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 6:05 น.


ชง "ครม." เคาะวันนี้! รถไฟไฮสปีด เฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" 3.4 แสนล้าน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 08:11 น.

“คมนาคม” ชงครม. 4 ก.พ.นี้ ไฟเขียวโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย 357 กม. กว่า 3.41 แสนล้าน คาดเปิดประมูล-เริ่มสร้าง พ.ย.นี้ เปิดบริการปี 74 เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีนฉิว มอบ รฟท. เร่งศึกษา PPP เดินรถตลอดทั้งเส้น คาดปีแรกผู้โดยสารใช้บริการ กรุงเทพฯ-หนองคาย วันละ 9,030 คน ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม.28 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/02/2025 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'ครม.' ไฟเขียวไฮสปีดโคราช-หนองคาย นายกฯเร่งแลนบริดจ์ เปิดรับจีนลงทุน
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 11:12 น.

ครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย กรอบงบฯกว่า 3.4 แสนล้าน
การเมือง
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 12:10 น.

ครม. อนุมัติรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย นายกฯเร่งรัดเฟสแรกล่าช้ากว่ากำหนด
ไทยโพสต์ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15:33 น.

ครม. อนุมัติรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. จ่อเชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ทะลุถึงจีน คาดเสร็จปี 73 นายกฯ เร่งรัดเฟสแรก กทม.- โคราช 253 กม. หลังสร้างช้ากว่ากำหนด

4 ก.พ.2568 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงคมนาคม (คค.) ได้ขอเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปีงบฯ 68-75) โดยให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ และค้ำประกันเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ซึ่งที่ผ่านมา ครม. มีมติเมื่อ 11 กรกฎาคม 2560 ที่อนุมัติให้ รฟท. ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม. -หนองคาย (โครงการฯ ระยะที่ 1) กทม.- นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบฯ 60-63) ซึ่งปัจจุบันโครงการฯ ระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด โดยมีความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 35.74 ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571

นายจิรายุ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. ได้ขออนุมัติดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 ประกอบด้วย การดำเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากโครงการฯ ระยะที่ 1 ที่จะเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดหนองคาย วงเงิน 335,665.21 ล้านบาท ระยะทาง 357.12 กม. ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และ (5) สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบฯ 68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบฯ 75 (รวม 8 ปี)

ส่วนที่ 2 การก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการก่อสร้างศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า - ขาออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตร ของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว – จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) สำหรับโครงการฯ ระยะที่ 2 เมื่อพิจารณา EIRR เชิงกว้าง กรณีโครงการฯ ระยะที่ 1 + 2 พบว่า มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 13.23 ซึ่งยังมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อีกทั้ง คกก.การรถไฟฯ มีมติเห็นชอบโครงการฯ ระยะที่ 2 และ คกก.สิ่งแวดล้อมฯ ได้เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการฯ ระยะที่ 2 ด้วยแล้ว

ทั้งนี้ เลขาฯ ครม. ได้สรุปความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม เร่งจัดทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูง เสนอ ครม. พิจารณาโดยเร็ว และให้การรถไฟฯ ศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และเสนอขออนุมัติพร้อมกันกับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ทบทวนและปรับปรุงสมมติฐานที่ใช้ในการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โดยนายกรัฐมนตรี สั่งการว่า ขอให้ กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ เร่งรัดดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากล่าช้ากว่าแผนมานานแล้ว

จากนั้นที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบในหลักการโครงการฯ ระยะที่ 2 โดยให้กระทรวงคมนาคม และรฟท.ดำเนินการตามความเห็นของสภาพัฒน์ฯ ก่อนดำเนินการต่อไป และให้รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาด้วย โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44572
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2025 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'ครม.' ไฟเขียวไฮสปีดโคราช-หนองคาย นายกฯเร่งแลนบริดจ์ เปิดรับจีนลงทุน
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 11:12 น.

ครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย กรอบงบฯกว่า 3.4 แสนล้าน
การเมือง
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 12:10 น.

ครม.เคาะลงทุน 3.4 แสนล้าน”รถไฟไทย-จีนเฟส 2” เร่งเวนคืน 1,345 ไร่ “สุริยะ”ลุยประมูลโยธา-แยก PPP งานเดินรถ

เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 14:45 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 20:07 น.

KEY POINTS
• เริ่มประมูลงานโยธา มิถุนายน 2568
• บทเรียนจากเฟส 1 คือ ไม่แบ่งสัญญา และเลือกผู้รับเหมาที่มีศักยภาพ
• ดำเนินการก่อสร้างและเดินรถแบบ PPP
• คาดเปิดให้บริการปี 2574 เชื่อมต่อกับลาว
• ปัญหาทับซ้อนกับไฮสปีดของ CP จะแก้ไขสัญญาให้เสร็จสิ้น เมษายน 2567

ครม.ทุ่ม 3.41 แสนล้านสร้าง”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 นครราชสีมา–หนองคาย”สุริยะ”เร่งประมูลงานโยธา มิ.ย.68 เผยบทเรียนเฟส 1 ปรับสัญญาใหญ่ขึ้นเน้นผู้รับเหมามีศักยภาพ เร่งร่างพ.ร.ฏ.เวนคืนที่ดิน 1,345 ไร่แยกเดินรถเปิดPPP ดันปี 74 เปิดวิ่งเชื่อมลาว ส่วนทับซ้อนไฮสปีดซีพี.แก้สัญญาร่วมทุนฯเข้าครม.เม.ย.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 มีมติอนุมัติการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ มีระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปีงบฯ 68-75) โดยให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ และค้ำประกันเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้รถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 จะเป็นการเชื่อมต่อเส้นทางจากเฟส 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย ไปยัง สปป.ลาวและจีน ซึ่งเป็นส่วนของบันทึกความเข้าใจที่จีนได้ต้องการให้เร่งรัดโครงการ เพราะเป็นเส้นทาง One Belt One Road ซึ่ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยือนจีน ในวันที่ 5 -8 ก.พ.2568 นี้อีกด้วย

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ขออนุมัติดำเนินโครงการระยะที่ 2 ประกอบด้วย การดำเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากโครงการฯ ระยะที่ 1 ที่จะเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดหนองคาย วงเงิน 335,665.21 ล้านบาท ระยะทาง 357.12 กม. ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และ (5) สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2568 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2575 (รวม 8 ปี)



ส่วนที่ 2 การก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการก่อสร้างศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า - ขาออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตร ของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว – จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) โดยในส่วนของงานโยธา รัฐโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการลงทุนเอง และใช้รูปแบบ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ในการบริหารจัดการ



นายสุริยะกล่าวว่า ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกืจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) กระทรวงการคลัง และ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงแยกงานระบบเดินรถ ออกมาดำเนินการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาทหรือประมาณ 23% ของมูลค่าโครงการ โดยเอกชนที่ได้รับคัดเลือกจะรับผิดชอบการเดินรถตลอดเส้นทาง ตั้งแต่กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย

ส่วนงานโยธา รัฐโดย รฟท.ลงทุนเอง ซึ่งจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างปกติ โดย รฟท.จะศึกษาเพื่อจัดทำเอกสารร่างของเขตของงาน (Terms of Reference : TOR ) ต่อไป โดยคาดว่า TOR จะเสร็จ เพื่อนำไปสู่การเปิดประมูลงานโยธาได้ประมาณ มิ.ย. 2568

นายสุริยะกล่าวว่า ให้ รฟท.นำปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. ถอดบทเรียน โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ล่าช้า ซึ่งมีหลายสาเหตุ ทั้งการแบ่งย่อยงานโยธามากไปจนทำให้งานก่อสร้างไม่สอดคล้องกัน งานบางช่วงเกิดฟันหลอ ทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งในการก่อสร้างงานโยธา ของรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ให้ รฟท.ศึกษาและพิจารณา เบื้องต้น จะไม่แบ่งย่อยสัญญามากจนเกินไปเหมือนระยะที่ 1 และให้ดูสภาพแวดล้อม ช่วงที่เป็นอุโมงค์ ช่วงผ่านภูเขาหรือช่วงที่เป็นสะพาน ต้องแบ่งสัญญาให้สอดคล้องกับการทำงาน รวมถึงดูเรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หรือ TOD



ทั้งนี้ โครงการะยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กม. กรณี แบ่งงานโยธาน้อย จะมีผลต่อมูลค่าสัญญาซึ่งอาจจะทำให้ผู้รับเหมาเข้าร่วมได้เฉพาะรายใหญ่ จะเกิดครหาหรือไม่ นายสุริยะกล่าวว่า ให้มอบเป้าหมายคือความสำเร็จของงาน ซึ่งงานก่อสร้างต้องการผู้รับเหมาที่มีศักยภาพซึ่งเป็นประเด็นที่ รฟท.ต้องไปพิจารณาด้วยว่า จะมีผู้รับเหมากี่รายที่เข้าร่วมประมูลได้

ส่วนปัญหาเรื่องการเวนคืน และการปรับแบบในระหว่างก่อสร้าง ก็เป็นเรื่องที่กำชับให้ รฟท.นำบทเรียนทั้งหมดมาปรับแก้ เช่นเวนคืน ปัญหาที่ผ่านมา คือ หลายโครงการเริ่มต้นแล้วแต่ พ.ร.บ.จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ประกาศ ทำให้เกิดความล่าช้า ต้องแก้ไข ซึ่งในโครงการเฟส 2 นี้ ให้ดำเนินการเวนคืนให้เสร็จระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยให้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยด้วย

@ เร่งแก้ปัญหาเฟส 1 ล่าช้า เข็นเปิดเดินรถปี 71

อย่างไรก็ตาม การเปิดเดินรถในเฟสแรกช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา ตนจะเร่งรัดผ่านไปทางบอร์ด รฟท.และ ผู้ว่าฯ รฟท.ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถในปี 2571 ซึ่งจะต้องเร่งในส่วนของงานระบบ และการหาผู้เดินรถ PPP ให้สอดคล้องกันด้วย

@แก้สัญญา”ไฮสปีด 3 สนามบิน”เข้า ครม.เม.ย.เริ่มสร้างช่วงทับซ้อน

นายสุริยะกล่าวว่า รถไฟไทย-จีนเฟส 1 ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 50% หมายความว่า เราจ่ายเงินไปแล้วเท่านั้น ดังนั้นก็ต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเร่งรัดงาน กรณีอีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มงานคือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. เป็นช่วงที่มีโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในส่วนของการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ รถไฟเชื่อม 3 สนามบินและเสนอ ครม.ได้ในเดือน เม.ย. 2568 ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโครงสร้างได้ต่อไป ส่วนสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. จากที่ทาง ผู้แทนองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก ได้ลงพื้นที่บริเวณแหล่งพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมไปแล้ว อยู่ระหว่างการหารือ จะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

ขณะที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการว่า ขอให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ เร่งรัดดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากล่าช้ากว่าแผนมานานแล้ว

รายงานแจ้งถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสู ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กิโลเมตร ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ณ วันที่ 25 ม.ค.2568 คืบหน้า 40.528% ล่าช้ากว่าแผน 42.588% (แผนงาน 83.116%)

@เร่งร่างพ.ร.ฏ.เวนคืนที่ดิน 1,345ไร่

สำหรับการเวนคืนนั้น ตามรายงานพบว่าต้องมีการเวนคืนที่ดินประมาณ1,345ไร่ โดยรายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่า ขณะนี้ได้ร่างพ.ร.ฏ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ...แล้วอยู่ในขั้นตอน ที่กรมการปกครองตรวจสอบ ยืนยัน แนวพื้นที่เวนคืน แผนที่แนบท้ายจากนั้นจะส่งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจร่างฯ และเสนอครม.พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้แนวเส้นทาง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กม. ส่วนใหญ่ใช้พื้นที่แนวเขตทางรถไฟเป็นหลัก มีการเวนคืนไม่มาก ประมาณ 20% ช่วงรัศมีโค้งและบริเวณนครราชสีมา ดังนั้น ในช่วงแรกการเวนคืนจะไม่กระทบต่อการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเพราะจะส่งมอบพื้นที่ในเขตทางไปก่อน


Last edited by Wisarut on 05/02/2025 9:50 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/02/2025 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.เคาะลงทุน 3.4 แสนล้าน”รถไฟไทย-จีนเฟส 2” เร่งเวนคืน 1,345 ไร่ “สุริยะ”ลุยประมูลโยธา-แยก PPP งานเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 14:45 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 20:07 น.

“สุริยะ” สั่ง รฟท. ถอดบทเรียน-เร่งงาน “รถไฟไฮสปีด” เฟส 1 ลุยสร้างเฟส 2 “นครราชสีมา-หนองคาย”
เดลินิวส์ 4 ก.พ. 2568 16:34 น.

“สุริยะ” สั่ง รฟท. ถอดบทเรียนสารพัดปัญหารถไฟไฮสปีด เฟส 1 ปรับใช้ลุยงานสร้างรถไฟไฮสปีด เฟส 2 “นครราชสีมา-หนองคาย” จี้สัญญางานโยธาต้องหั่นให้น้อยลงกว่าเดิม งานจะได้ไม่อืด เปิดบริการได้ตามแผนปี 74 ชี้ให้เอกชน PPP เดินรถ ช่วยเซฟเงินรัฐได้ 8 หมื่นล้าน
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องเร่งดำเนินการจัดทำร่างรายละเอียดขอบเขตงาน (TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือน มิ.ย. 68 เริ่มก่อสร้างเดือน พ.ย. 68 และเปิดให้บริการปี 2574 อย่างไรก็ตามได้กำชับให้ รฟท. พิจารณาเรื่องการแบ่งสัญญางานโยธา ซึ่งควรต้องน้อยลงกว่าโครงการรถไฟไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่มี 14 สัญญา เพราะการแบ่งสัญญางานที่มากเกินไป อาจทำให้งานแล้วเสร็จล่าช้าเหมือนกับเฟสที่ 1

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ รฟท. และผู้ที่เกี่ยวข้องนำประสบการณ์ และถอดบทเรียนจากการดำเนินงานรถไฟไทย-จีน เฟสที่ 1 มาปรับใช้กับการดำเนินโครงการฯ เฟสที่ 2 เพื่อให้งานราบรื่น และแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมกันนี้ได้ให้ รฟท. เร่งรัดการก่อสร้างโครงการฯ เฟสที่ 1 โดยเฉพาะสัญญาที่ยังติดปัญหาต่างๆ ต้องเร่งเคลียร์ให้จบ ส่วนสัญญาใดที่ยังล่าช้าต้องให้ผู้รับจ้างหาแรงงานเข้ามาเพิ่ม เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ตามเป้าหมายในปี 2571 เบื้องต้นคาดว่าสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง คาดว่าจะมีการเสนอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประมาณเดือน เม.ย.นี้ ส่วนสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว รอดูผลจากยูเนสโก แต่จะเร่งให้ลงนามกับผู้รับจ้างให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการเดินรถจะเป็นรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) โครงการฯ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยเป็นการเดินรถตลอดทั้งเส้น ตั้งแต่กรุงเทพฯ-หนองคาย

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการฯ ระยะที่ 2 วงเงิน 341,351 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่างานโยธา 237,454 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และชดเชยทรัพย์สิน 12,418 ล้านบาท (เวนคืนที่ดินประมาณ 1,345 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 1,428 รายการ) ค่าติดตั้งระบบราง ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล และจัดหาขบวนรถไฟ 81,313 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา 6,530 ล้านบาท ค่าบริหารโครงการ และควบคุมงานติดตั้งงานระบบรถไฟ 2,821 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ 813 ล้านบาท ซึ่งการให้เอกชนมาร่วมลงทุน PPP ในงานเดินรถ และการดำเนินโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จะช่วยทำให้ประหยัดงบประมาณดำเนินโครงการฯ ได้ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 23%  โดยเมื่อการก่อสร้างเฟสที่ 1 แล้วเสร็จ จะให้เดินรถเฟสที่ 1 เลย โดยไม่ต้องรอเฟสที่ 2


Suriya Instructs the SRT to Learn from the First Phase of the "High-Speed Train" Project and Accelerate the Second Phase's Construction: "Nakhon Ratchasima - Nong Khai"

Daily News, February 4, 2025, 4:34 PM

Suriya instructs the State Railway of Thailand (SRT) to learn from the various problems of the first phase of the high-speed train project and apply those lessons to accelerate the construction of the second phase: "Nakhon Ratchasima - Nong Khai." He urges that the number of civil work contracts be reduced from the previous phase to avoid delays, aiming for service commencement as planned in 2031. He suggests private sector PPP involvement in train operations to potentially save the government 80 billion baht.

On February 4th, Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, revealed that the SRT must expedite the drafting of the Terms of Reference (TOR) for the second phase of the Thai-Chinese high-speed train project, spanning Nakhon Ratchasima to Nong Khai over 357.12 kilometers, with a budget of 341,351.42 million baht. The target is to open bidding around June 2025, begin construction in November 2025, and commence service in 2031. He emphasized that the SRT should consider reducing the number of civil work contracts compared to the first phase (Bangkok - Nakhon Ratchasima), which had 14 contracts, as an excessive number of contracts could lead to delays, similar to what happened in the first phase.

Suriya continued that he has assigned the SRT and related parties to use the experience and lessons learned from the first phase to improve the second phase's execution and ensure timely completion. He also instructed the SRT to accelerate the construction of the first phase, especially contracts facing issues, and to expedite resolutions. For delayed contracts, he wants contractors to increase their workforce to meet the 2028 target. He mentioned that contract 4-1 (Bang Sue - Don Mueang) is expected to have its joint investment agreement for the high-speed train project connecting three airports (Don Mueang-Suvarnabhumi-U-Tapao) submitted to the Cabinet around April. Contract 4-5 (Ban Pho - Phra Kaeo) is awaiting UNESCO's decision but will be expedited for signing with the contractor. He also indicated that train operations would follow a Public-Private Partnership (PPP) model under the Public-Private Partnership Act B.E. 2562, covering the entire route from Bangkok to Nong Khai.

Suriya added that the second phase's budget of 341,351 million baht includes 237,454 million baht for civil works, 12,418 million baht for land acquisition and compensation (approximately 1,345 rai of land and 1,428 structures to be acquired), 81,313 million baht for track, electrical, and mechanical systems and train procurement, 6,530 million baht for civil work construction supervision, 2,821 million baht for project management and electrical system installation supervision, and 813 million baht for independent engineer consultants. He stated that having the private sector participate in train operations and the Na Tha goods transfer center project through PPP would save approximately 80 billion baht, or about 23% of the project budget. He concluded that once the first phase is completed, operations will begin immediately without waiting for the second phase's completion.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2025 7:30 am    Post subject: Reply with quote

ทุกปัญหาทับถมไฮสปีดเฟส
Source - เดลินิวส์
Wednesday, February 05, 2025 07:21

สุริยะสั่งรฟท.เคลียร์ให้จบ

เลื่อนเซ็นสัญญา4-5เม.ย.

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่กระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการรถไฟ ความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องเร่งจัดทำร่างรายละเอียดขอบเขตงาน (TOR) โครงการฯคาดว่าจะเปิดประกวดราคา เดือน มิ.ย. 68 เริ่มก่อสร้าง พ.ย. 68 และเปิดบริการปี 2574 ได้ กำชับให้พิจารณาแบ่งสัญญางานโยธาน้อยลงกว่าโครงการฯ เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่มี 14 สัญญา มากเกินไป อาจทำให้งานแล้วเสร็จล่าช้า

นอกจากนี้มอบหมาย รฟท. และผู้ที่เกี่ยวข้องนำประสบการณ์ และถอดบทเรียนจากโครงการเฟส 1 มาปรับใช้กับเฟส 2 เพื่อให้งานราบรื่นแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมเร่งรัดการก่อสร้างโครงการเฟส 1 โดยเฉพาะสัญญาที่ยังติดปัญหาต่าง ๆ รีบเคลียร์ให้จบ สัญญาใดที่ยังล่าช้าต้องให้ผู้รับจ้างหาแรงงานเข้ามาเพิ่มเพื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ตามเป้าหมายในปี 2571 เบื้องต้นคาดว่าสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่มีโครงสร้างซ้อนกับไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จะแก้ไขสัญญาร่วมทุนต่อ ครม.เดือน เม.ย.นี้ ส่วนสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพพระแก้ว รอดูผลจากยูเนสโกแต่จะเร่งให้ลงนามผู้รับจ้างเร็วที่สุด หากสร้างทางวิ่งไปก่อนระหว่างรอสถานีอยุธยาก็ไม่ขัดข้อง

สำหรับรูปแบบการเดินรถจะให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตลอดทั้งเส้นตั้งแต่กรุงเทพฯ-หนองคาย รวมโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จะช่วยประหยัดงบฯ โครงการฯ ได้ 8 หมื่นล้านบาท หรือ 23% เมื่อก่อสร้างเฟส 1 เสร็จก่อนจะให้เดินรถเฟส 1 เลย ไม่ต้องรอเฟส 2

สำหรับโครงการฯ เฟส 2 วงเงิน 341,351 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่างานโยธา 237,454 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และชดเชยทรัพย์สิน 12,418 ล้านบาท ค่าติดตั้งระบบราง ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล และจัดหาขบวนรถไฟ 81,313 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา 6,530 ล้านบาท ค่าบริหารโครงการ และควบคุมงานติดตั้งงานระบบรถไฟ 2,821 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ 813 ล้านบาท

รายงานข่าวจาก รฟท.แจ้งว่า สัญญา 4-5 ได้หารือบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ผู้รับจ้างยืนราคาเดิม 10,325 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามสัญญาเดือน เม.ย. หลัง รฟท. ส่งรายงานแก้ไขผล กระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกสถานีอยุธยา โดยปรับความสูงหลังคาและไม่ให้โครงสร้างหลังคาซ้อนทับสถานีเดิมตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญภายในเดือน มี.ค. รวมทั้งหารือแผนก่อสร้างทางวิ่งไปก่อนให้เรียบร้อยก่อนลงนามสัญญา.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ก.พ. 2568 (กรอบบ่าย)


Every Problem Weighs on the High-Speed Phase

Source: Daily News

Wednesday, February 5, 2025, 07:21

Suriya Orders SRT to Resolve Issues

Contract Signing Postponed to April 4-5

On February 4th, at the Ministry of Transport, Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, gave an interview after the Cabinet approved the Thai-Chinese high-speed train project (high-speed) Phase 2, Nakhon Ratchasima - Nong Khai section, a distance of 357.12 km, with a budget of 341,351.42 million baht. He stated that the State Railway of Thailand (SRT) must expedite the drafting of the Terms of Reference (TOR) for the project. It is expected that bidding will open in June 2025, construction will begin in November 2025, and services will open in 2027. He emphasized the need to consider reducing the number of civil work contracts compared to the Phase 1 project, Bangkok - Nakhon Ratchasima section, which had 14 contracts, as this was too many and could cause delays in completion.

In addition, he assigned the SRT and relevant parties to use the experience and lessons learned from the Phase 1 project to adapt to Phase 2 to ensure smooth work and completion according to the planned schedule. He also expedited the construction of the Phase 1 project, especially contracts that are still facing various problems, urging them to resolve them as soon as possible. Any contracts that are still delayed must require contractors to bring in more labor to complete construction and open services as targeted in 2027. Initially, it is expected that contract 4-1, the Bang Sue - Don Mueang section, which has a structure overlapping with the high-speed train connecting three airports (Don Mueang - Suvarnabhumi - U-Tapao), will be amended in a joint venture submission to the Cabinet in April. As for contract 4-5, the Ban Pho - Phra Kaeo section, they are awaiting results from UNESCO, but will expedite the signing of the contractor as soon as possible. If the construction of the track can proceed while waiting for the Ayutthaya station, there is no objection.

Regarding the train operation model, private sector investment (PPP) will be used in accordance with the Public-Private Partnership Investment Act B.E. 2562 throughout the route from Bangkok to Nong Khai, including the Natha Freight Transfer Center project. This will help save the project budget by 80 billion baht or 23%. Once Phase 1 is completed, it will be operated immediately without waiting for Phase 2.

For the Phase 2 project, with a budget of 341,351 million baht, it consists of: civil works cost of 237,454 million baht, land acquisition and compensation cost of 12,418 million baht, rail system installation cost, electrical and mechanical systems, and procurement of trains 81,313 million baht, civil works construction control cost of 6,530 million baht, project management and rail system installation control cost of 2,821 million baht, and independent engineer consultant fee of 813 million baht.

News reports from the SRT indicate that contract 4-5 has been discussed with Boonchai Panich (1979) Co., Ltd., the contractor who has maintained the original price of 10,325 million baht. It is expected that the contract will be signed in April after the SRT submits a report amending the impact on cultural heritage (Heritage Impact Assessment: HIA) of the Ayutthaya station World Heritage Site by adjusting the roof height and not overlapping the original station structure according to expert recommendations within March. This includes discussing a plan to build the track first to completion before signing the contract.

Source: Daily News, February 6, 2025 (Afternoon Edition)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2025 7:35 am    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure รู้สึกตื่นเต้นที่ สถานีรถไฟหนองคาย (Nong Khai) SRT2208

อนุมัติแล้วจ้า!!! รถไฟความเร็วสูง เฟส 2 โคราช-หนองคาย พร้อมเปิด 75
งบประมาณโครงการ รวม 341,000 ล้านบาท
สรุปรายละเอียดทั้งโครงการให้แล้วในโพสต์เดียว
วันนี้เอาข่าวล่าสุด จาก ครม. ซึ่งมีมติ อนุมัติโครงการรถไฟความเราสูงสายอีสานเฟส 2 โคราช-หนองคาย ซึ่งจะต่อจากโครงการเฟส 1 ซึ่งกำลังก่อสร้างที่โคราช
โดยตั้งเป้าการเปิดให้บริการแบ่งเป็นเฟสคือ
- กรุงเทพ-โคราช เปิดปี 72 (กำลังก่อสร้าง)
- โคราช-หนองคาย เปิดปี 75 (พึ่งอนุมัติ)
ซึ่งอนุมัติพร้อมงบประมาณ กว่า 341,000 ล้านบาท
เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดโครงการเต็มๆกันครับ

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/989317816677139
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2025 7:46 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กวนน้ำให้ใส: เปิดบริการปี 2574? รถไฟความเร็วสูง ไทย - ลาว - จีน
Source - แนวหน้า
Wednesday, February 05, 2025 06:13
สารส้ม

เป็นอันว่า ครม.อุ๊งอิ๊งค์ไฟเขียว อนุมัติให้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย

กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท

กำหนดเปิดให้บริการได้ในปี 2574

ส่วนจะเป็นไปได้จริงหรือไม่? หลังจากนี้ เป็นเรื่องพิสูจน์ฝีมือการบริหารจัดการโครงการ

1. ที่ผ่านมา ครม. มีมติเมื่อ 11 กรกฎาคม 2560 อนุมัติให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.- หนองคาย (โครงการระยะที่ 1) กทม.- นครราชสีมา

ระยะทางประมาณ 253 กม.

วงเงิน 179,413 ล้านบาท

ปัจจุบันโครงการระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด โดยมีความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 35.74

คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571

2. ล่าสุด วันที่ 4 ก.พ. 2568 กระทรวงคมนาคม โดย ร.ฟ.ท. ได้ขออนุมัติดำเนินโครงการระยะที่ 2

ก่อนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ

ประกอบด้วย การดำเนินการใน 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากโครงการระยะที่ 1 จะเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดหนองคาย

วงเงิน 335,665.21 ล้านบาท

ระยะทาง 357.12 กม.

ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และ (5) สถานีหนองคาย

โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบฯ 68

และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบฯ 75 (ปี พ.ศ. 2574 รวม 8 ปี)

ส่วนที่ 2 การก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย

วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท

เป็นการก่อสร้างศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า-ขาออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตร ของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

3.ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

สำหรับโครงการระยะที่ 2 เมื่อพิจารณา EIRR เชิงกว้าง กรณีโครงการฯ ระยะที่ 1+2 พบว่า มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 13.23 ซึ่งยังมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

อีกทั้ง คกก.การรถไฟฯ มีมติเห็นชอบโครงการฯ ระยะที่ 2 และ คกก.สิ่งแวดล้อมฯ ได้เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการระยะที่ 2 ด้วยแล้ว

เลขาฯ ครม. ได้สรุปความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม เร่งจัดทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูง เสนอ ครม. พิจารณาโดยเร็ว และให้การรถไฟฯ ศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และเสนอขออนุมัติพร้อมกันกับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ทบทวนและปรับปรุงสมมุติฐานที่ใช้ในการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน

ครม.เห็นชอบในหลักการโครงการระยะที่ 2 โดยให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ ดำเนินการ ตามความเห็นของสภาพัฒน์ ก่อนดำเนินการต่อไป และให้รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาด้วย โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องต่อไป

4. โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - หนองคาย เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่มาตรฐานสากล ที่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และยกระดับการขนส่งของประเทศให้มีความทันสมัย ซึ่งในอนาคตเมื่อดำเนินการจนสำเร็จ การเดินทางของประชาชนจะมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

โดยสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปถึงหนองคายภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง 30 นาที

จ่ายค่าโดยสารแค่ 1,170 บาท เท่านั้น

ช่วงที่ 1 "กรุงเทพฯ - นครราชสีมา" มีระยะทาง 250 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 40 นาที มีค่าโดยสารอยู่ที่ 530 บาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนา จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา

ช่วงที่ 2 "นครราชสีมา - หนองคาย" มีระยะทาง 357 กิโลเมตร

ล่าสุด ครม.อนุมัติแล้ว เตรียมเริ่มกระบวนการก่อสร้าง มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย

โครงการนี้ มีศักยภาพในการเชื่อมโยงชีวิตของคนไทยเข้ากับโอกาสทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาค สามารถเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ - หนองคาย เชื่อมต่อเส้นทางไปยังลาวและจีน

ยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว นับเป็นโครงการสำคัญที่จะพาประเทศไทยก้าวไปเชื่อมต่อกับมหาอำนาจอย่างจีน

5. ความล่าช้าของโครงการเฟส1 กรุงเทพฯ - นครราชสีมา

โครงการประกอบด้วย 14 สัญญา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท

เริ่มพิธีตอกเสาเข็มเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ถึงวันนี้ ได้ผลงานในภาพรวม 39.47% ล่าช้า 41.42%

ก่อสร้างเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนาม 2 สัญญา

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ยังรอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน คาดว่าจะลงนามสัญญาไม่เกินเดือนมี.ค.2568

สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว มีประเด็นมรดกโลกอยุธยา กับโครงการสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ล่าสุด ได้ข้อยุติแล้ว

คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย Mr. Gamini Wijesuriya ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์นานาชาติเพื่อการศึกษาการสงวนรักษาและการบูรณะมรดกทางวัฒนธรรม (ICCROM) และ Mr. Michael Pearson ผู้เชี่ยวชาญจากสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) พร้อมด้วยผู้แทนกรมศิลปากร (ศก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ลงพื้นที่และประชุมหารือกัน

ร.ฟ.ท. ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำเสนอศูนย์มรดกโลกต่อไป

แนวทางจากนี้

1) ประเด็นเกี่ยวกับสถานีรถไฟ

ในส่วนของสถานีรถไฟความเร็วสูง ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้พิจารณาปรับลดความสูงของยอดหลังคาสถานีโดยลดความลาดชันของหลังคา รวมถึงควรสงวนพื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมตามแผนของ ร.ฟ.ท. และไม่ควรมีโครงสร้างอื่นมาคลุมพื้นที่ดังกล่าว ทาง ร.ฟ.ท.จะดำเนินการตามคำแนะนำ

2) ประเด็นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลว่าการพัฒนาอาคารสูงรอบสถานี จะนำมาซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยว ที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย และอาจส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพของพื้นที่เกาะเมืองอยุธยา ด้านเจ้าหน้าที่โยธาธิการจังหวัดชี้แจงว่าสามารถปรับผังเมืองใหม่ให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นได้เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าว

3) ประเด็นการจัดการน้ำรอบพื้นที่อนุรักษ์

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้พัฒนาโครงข่ายคูคลองให้สามารถระบายน้ำได้ดีขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รายงานว่าได้มีการศึกษาผลกระทบด้านนี้ไว้แล้ว

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่การตัดสินชี้ผิดถูก แต่เพื่อจัดทำรายงานต่อศูนย์มรดกโลก มีรายงานว่า หลังจากนี้ จะเดินหน้าลงนามสัญญาก่อสร้าง สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว แต่ยังไม่ก่อสร้างตัวสถานีอยุธยา เพราะต้องรอ HIA ผ่านก่อน ซึ่งต้องรอวาระการประชุมตามวงรอบ ส่วนทางรถไฟตามสัญญาก็จะดำเนินการก่อสร้างได้ก่อนเลย

6. "ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" อัปเดตเพิ่มเติม ว่าด้วยสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท

ดำเนินการโดยฝ่ายจีน บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ได้ผลงานเพียง 0.95% ล่าช้า 61.51%

ขณะนี้ อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด (Detail Design) งานระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงออกแบบขบวนรถไฟ ซึ่งหารือร่วมกับ ร.ฟ.ท. เช่นการเลือกสีภายใน-ภายนอก ลวดลาย และห้องน้ำ

เบื้องต้น คาดว่า ฝ่ายจีนจะออกแบบฯ แล้วเสร็จ และเสนอ ร.ฟ.ท. พิจารณา และ เริ่มกระบวนการผลิตตัวรถได้ภายในปี 2568 ใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี

โดยถึงตอนนี้ โครงการยังใช้ขบวนรถ "ฟู่ซิงห้าว" รุ่น CR300 ใช้ความเร็วได้สูงสุด 300 กม.ต่อชั่วโมง(ชม.) แต่วิ่งจริงสูงสุด 250 กม.ต่อชม.

นำขบวนรถเข้าไทย 6 ขบวน 48 ตู้

1 ขบวน จะมี 8 ตู้ ประมาณ 560 ที่นั่งต่อขบวน ไม่มีตั๋วยืน

ใน 6 ขบวนจะวิ่งให้บริการ 4 ขบวน และสำรองไว้ 2 ขบวน

ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 3.7 เมตร

แบ่งประเภทที่นั่งเป็น 3 ระดับ second class จัดเรียงแบบ 3-2 ตลอดความยาวตู้โดยสาร, First class จัดเรียงฝั่งละ 2 ที่นั่ง และBusiness class เก้าอี้เดี่ยวฝั่งละ 1 ที่นั่งใช้ตู้โดยสารหลังห้องคนขับ

ในขบวนรถ จะมีห้องน้ำแบบระบบปิด และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

คาดว่าปลายปี 2568 ร.ฟ.ท.จะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่แล้วเสร็จบางส่วนให้ฝ่ายจีนเริ่มเข้าติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกลได้

โดยเฉพาะในส่วนที่ก่อสร้างได้ผลงานเกิน 50-60% ตามที่เคยตกลงกันไว้

จะเริ่มทดสอบการเดินรถ ประมาณปลายปี 2570 ราว 6 เดือน

ก่อนเปิดบริการในปี 2571

7. โครงการนี้ เริ่มต้นมาในยุครัฐบาลลุงตู่ สานต่อโดยรัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ในปัจจุบัน

จะสำเร็จตามแผนการล่าสุดนี้หรือไม่? หรือจะล่าช้าต่อไปอีก?

ถ้าปี 2571 คนไทยได้นั่งรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - โคราช

จากนั้น ปี 2571 คนไทยสามารถนั่งยาว จากกรุงเทพฯ - โคราช- หนองคาย และยังเชื่อมต่อไปประเทศลาว และประเทศจีนได้จริงๆ

จะถือเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มสมรรถนะของเศรษฐกิจของประเทศครั้งสำคัญ เมื่อไทยเชื่อมต่อระบบรางได้ไปถึงมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอย่างประเทศจีน

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ก.พ. 2568
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 584, 585, 586 ... 594, 595, 596  Next
Page 585 of 596

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©