RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312280
ทั่วไป:13926339
ทั้งหมด:14238619
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 286, 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2025 9:06 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
367 Yeahs 0 Nay 1 Abstain 3 Not voting on Common Ticket Act.
However, Incumbent version got 226 Yeahs 142 Nays 1 Abstain 2 No votes.
Let's see the second and the third reading before reaching the Senators and Royal Assent.
https://mgronline.com/politics/detail/9680000009296
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1164269
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9611433
https://www.dailynews.co.th/news/4341262/?

'มนพร' กางไทม์ไลน์ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คาดบังคับใช้กลางปีนี้
กรุงเทพธุรกิจ 31 ม.ค. 2025 เวลา 8:44 น.

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เพื่อเป็นการสนับสนุนการให้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า รถเมล์ และเรือโดยสาร ให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีต้นทุนในการเดินทางที่ลดลง และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ด้วยการใช้บัตรโดยสารใบเดียว สามารถเดินทางได้ทุกระบบของการบริการขนส่งสาธารณะ

สำหรับกรอบการดำเนินแผนการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... หลังจากนี้นั้น จะเข้าสู่กระบวนการต่อด้านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 และ 3 ก่อนที่มีการพิจารณาของวุฒิสภา โดยคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่ร่างกฎหมายลำดับรอง เตรียมรับฟังความเห็น และเสนอประกาศกฎหมายลำดับรองภายในเดือน ก.ย.2568 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายครบทุกสี ทุกสาย ทุกเส้นทาง ผ่านการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมต่อไป

ทั้งนี้ พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมฯ นั้น มีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ

1.การจัดทำมาตรฐานทางเทคโนโลยีของระบบตั๋วร่วมเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลาง โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งการจราจาร (สนข.) และใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับตั๋วร่วมในอนาคต

2. กำหนดอัตราโดยสารร่วม โดยอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม และเป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องนำอัตราค่าโดยสารร่วมไปใช้บังคับในการทำสัญญาสัมปทานขนส่งสาธารณะในอนาคตด้วย

3.จัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม เพื่อสนับสนุนในการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมทั้งให้กู้ยืมแก่ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการตั๋วร่วม

4. ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิ์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายฉบับนี้

5.ในกรณีมีความจำเป็นให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการประกอบกิจการขนส่งสาธารณะใดเป็นกิจการที่ต้องใช้ระบบตั๋วร่วม และต้องได้ใบรับอนุญาตตามกฎหมายฉบับนี้ เพื่อรักษาการให้บริการระบบตั๋วร่วม หรือเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมระบบตั๋วร่วมเพื่อป้องกันการเสียหายต่อสาธารณะ

นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมฯ ประกอบด้วย 7 หมวด และบทเฉพาะกาล (54 มาตรา) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน พร้อมทั้งหันมาเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล

นางมนพร กล่าวอีกว่า สำหรับการตราพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่า ปัจจุบันการขนส่งผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะมีผู้ให้บริการหลายราย โดยผู้ให้บริการแต่ละรายมีต้นทุนในการจัดทำและบริหารจัดการระบบการจัดเก็บค่าโดยสารหรือค่าธรรมเนียมของตนเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนในการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะอยู่ในอัตราสูง และประชาชนผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบต้นทุนดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นต้นทุน และภาระของประชาชนแล้ว ยังทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย

อีกทั้งยังเพื่ออำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บัตรโดยสารใบเดียวในการเดินทางได้ทุกระบบขนส่งสาธารณะ อันเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากขนส่งส่วนบุคคล เป็นการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ

นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งจะทำให้สามารถลดค่าโดยสารลงได้ ถือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ จึงควรกำหนดให้มีการบริหารจัดการร่วมกันในรูปแบบระบบตั๋วร่วม โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

'Manaporn' sets the timeline for the Joint Ticket Act, expected to take effect in the middle of this year
Bangkok Business, January 31, 2025, 8:44 AM

Manaporn Charoensri, Deputy Minister of Transport, revealed that in the House of Representatives meeting on January 29, 2025, the meeting unanimously agreed to accept the principles of the draft Royal Decree (R.D.) on the Management of the Joint Ticket System B.E. .... to support public transport services, including trains, electric trains, buses, and passenger boats, allowing service users to have reduced travel costs and also increase convenience in using a single ticket for all modes of public transport services.

Regarding the framework for the implementation of the draft R.D. on the Management of the Joint Ticket System B.E. .... after this, it will enter the next stage of consideration in the House of Representatives in the 2nd and 3rd readings before being considered by the Senate, which is expected to be published in the Royal Gazette and take effect in mid-2025, while the draft subordinate law is being prepared for public hearings and is expected to be announced by September 2025, in line with the 20-baht electric train fare policy throughout the line, all colors, all routes, through the establishment of a fund to promote the joint ticket system.

'Manaporn' sets the timeline for the Joint Ticket Act, expected to take effect in the middle of this year.

The R.D. on the Management of the Joint Ticket System has 5 main principles:

1. Developing technological standards for the joint ticket system to be a central standard by the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP), and using it as a central standard for future joint tickets.

2. Determining joint fares by the power of the Minister of Transport to issue ministerial regulations to set joint fares, and requiring government agencies to enforce the joint fare rate in future public transport concession contracts.

3. Establishing a fund to promote the joint ticket system to support operations, development, and promotion related to the management of the joint ticket system, including lending to private operators engaged in the joint ticket business.

4. Operators who are eligible to receive support from the fund to promote the joint ticket system must be licensed under this law.

5. In case of necessity, a royal decree shall be issued to designate any public transport business as a business that must use the joint ticket system and must obtain a license under this law to maintain the provision of the joint ticket system service or for the maximum benefit in promoting the joint ticket system to prevent damage to the public.

In addition, the important content of the draft Royal Decree on the Management of the Joint Ticket System consists of 7 chapters and a transitional provision (54 sections) with the main objective of reducing expenses and facilitating the public, while turning to travel by public transport more, which is the main goal of the government.

Manaporn further said that the enactment of this Royal Decree is due to the fact that currently, passenger transport in the public transport system has many service providers, with each service provider having its own costs in preparing and managing the fare or fee collection system, which is an important factor that makes the cost of providing public transport services at a high rate, and the public service users are responsible for such costs, which in addition to being a cost and burden for the public, also causes inconvenience in using public transport services.

It is also intended to facilitate and reduce expenses for the public service users to be able to use a single ticket for traveling in all public transport systems, which supports the public to change their travel behavior from private transport to traveling by public transport.

It is also a part that will help reduce greenhouse gas emissions in line with the government's goals, including being able to reduce fares, which is beneficial to the public service users, so it is appropriate to have joint management in the form of a joint ticket system by establishing a fund to promote the joint ticket system to support operations, development and promotion related to the management of the joint ticket system.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2025 10:16 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับ2เข้าครม.19สาย6แสนล้านสร้างทันที4สายขยายสีแดงกับน้ำตาล
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:00 น.


คมนาคมพร้อมเสนอแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับ2(M-MAP2) เข้าครม. 19สายใหม่ 245กม. 6แสนล้าน สร้างทันที 4 สายขยายสายสีแดงรังสิต-มธ./ตลิ่งชัน-ศิริราช กับสีน้ำตาล ตัด“มิสซิงลิงก์”ออกศึกษาใหม่
“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า  กระทรวงคมนาคมเตรียมนำผลการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2) ของกรมการขนส่งทางราง(ขร.) รายงานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทราบ และกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามผลการศึกษาต่อไป

หลังจากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม แล้ว เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567   โดย M-MAP 2 มีทั้งหมด 4 กลุ่มหลัก จำนวนรถไฟฟ้าเส้นทางหลักทั้งหมด19 สาย(เส้นทาง) ระยะทางรวม 245 กม. วงเงิน 583,409 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เปิดบริการปัจจุบัน 8 สี 8 สาย (277 กม.) และที่กำลังก่อสร้าง(สายสีม่วงใต้23.6กม./สีชมพูส่วนขยาย2.8กม.-สีส้ม35.9กม.) จะเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้ารวม 584.3 กม.

สำหรับ 4 กลุ่ม ได้แก่


กลุ่ม A1: เส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม (ดำเนินการทันที) 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 51.44 กิโลเมตร(กม.) วงเงินลงทุน  63,480 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473 ล้านบาท

2. รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท

3.รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท

4. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) 22.10 กม. วงเงิน 41,721 ล้านบาท




 กลุ่ม A2: เส้นทางที่มีความจำเป็น/ต้องเตรียมความพร้อมก่อน (ดำเนินการภายในปี 2572)  6 เส้นทาง ระยะทางรวม 61.21 กม. วงเงินรวม 178,747 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – หัวลำโพง ระยะทาง 5.76 กม. วงเงิน 25,505 ล้านบาท

2.รถไฟฟ้าสายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส ระยะทาง 1.20 กม. วงเงิน 3,489 ล้านบาท

3. รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. วงเงิน 27,853 ล้านบาท

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า – ตลิ่งชัน ระยะทาง 7.50 กม. 14,863 ล้านบาท

5.รถไฟฟ้าสายสีแดง วงเวียนใหญ่ – บางบอน ระยะทาง 12.20 กม. วงเงิน 63,110 ล้านบาท

6. รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา – สุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.30 กม. วงเงิน 43,927 ล้านบาท

 กลุ่ม B: เส้นทางที่มีศักยภาพ (พิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งปี 2572) 9 เส้นทาง ระยะทางรวม 132.35 กม. วงเงิน 341,182 ล้านบาท ประกอบด้วย


1.รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง – สาทร ระยะทาง 6.70 กม. วงเงิน 14,731 ล้านบาท

2. รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง – ท่าพระ ระยะทาง 20.60 กม. วงเงิน 35,602 ล้านบาท

3. รถไฟฟ้าสายสีเทา ลำลูกกา – วัชรพล ระยะทาง 11.50 กม. วงเงิน 17,514 ล้านบาท

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต – วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 6.80 กม. วงเงิน 16,347 ล้านบาท

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ ระยะทาง 10.50 กม. วงเงิน 20,948 ล้านบาท

6. รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 3.45 กม. วงเงิน 14,774 ล้านบาท

7. รถไฟฟ้าสายสีเขียว เคหะฯ – ตำหรุ ระยะทาง 9.50 กม. วงเงิน 15,882 ล้านบาท

8. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล สาย 4  ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,249 ล้านบาท

9. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ ระยะทาง 55.30 กม. วงเงิน 184,135 ล้านบาท

กลุ่ม C: เส้นทาง Feeder (Tram ล้อยาง รถเมล์ไฟฟ้า เป็นต้น) 27 เส้นทาง ระยะทาง 343.7 กม.

 ทั้งนี้M-MAP 2 ยังไม่ได้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง(Missing Link) ไว้ในแผน


เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีข้อสั่งการตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.2567 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) พิจารณาทบทวนผลการศึกษา และออกแบบรายละเอียดใหม่ เพื่อให้โครงการฯ เป็นปัจจุบัน เนื่องจากเป็นผลการศึกษามาตั้งแต่ปี 2551 ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน เบื้องต้นจะของบประมาณปี 2570 จ้างที่ปรึกษาทบทวนผลการศึกษา และออกแบบรายละเอียด เมื่อโครงการฯ มีความพร้อม และผลการศึกษาพบว่าคุ้มค่าการลงทุนจะนำมาบรรจุไว้ใน M-MAP 2 ต่อไป...
https://www.dailynews.co.th/news/4346777/?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2025 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
367 Yeahs 0 Nay 1 Abstain 3 Not voting on Common Ticket Act.
However, Incumbent version got 226 Yeahs 142 Nays 1 Abstain 2 No votes.
Let's see the second and the third reading before reaching the Senators and Royal Assent.
https://mgronline.com/politics/detail/9680000009296
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1164269
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9611433
https://www.dailynews.co.th/news/4341262/?

'มนพร' กางไทม์ไลน์ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คาดบังคับใช้กลางปีนี้
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 08:44 น.

ปักธง!พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ" มีผลใช้กลางปีนี้ ลุย รถไฟฟ้า 20 บาททุกสายตั๋วใบเดียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:07 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:07 น.

"มนพร" กางไทม์ไลน์ "พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ" คาดมีผลบังคับใช้กลางปีนี้ หลังสภาฯ เสียงเอกฉันท์ “รับหลักการ” วาระ 1 ส่วนกฎหมายลำดับรอง ประกาศได้ภายใน ก.ย. 68 หนุนค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตั๋วใบเดียวเดินทางทุกระบบจูงใจประชาชนมาใช้ขนส่งสาธารณะสะดวก ลดค่าใช้จ่าย และมลภาวะ-

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ… เพื่อเป็นการสนับสนุนการให้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า รถเมล์ และเรือโดยสาร โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีต้นทุนในการเดินทางที่ลดลง และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ด้วยการใช้บัตรโดยสารใบเดียว สามารถเดินทางได้ทุกระบบของการบริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมจากรถส่วนบุคคลมาเป็นขนส่งสาธารณะได้อยากสะดวก รวดเร็ว และมีราคาสมเหตุสมผล

สำหรับขั้นตอนการดำเนินแผนการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... หลังจากนี้ จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 และ 3 จากนั้นจะเป็นการพิจารณาของวุฒิสภา โดยคาดว่า จะประกาศราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปี 2568 พร้อมกับเตรียมร่างกฎหมายลำดับรอง รับฟังความเห็น และเสนอประกาศกฎหมายลำดับรองภายในเดือนกันยายน 2568 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายครบทุกสี ทุกสาย ทุกเส้นทาง ผ่านการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมต่อไป



นางมนพร กล่าวว่า พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมฯ นั้น มีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การจัดทำมาตรฐานทางเทคโนโลยีของระบบตั๋วร่วมเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลาง โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนและการขนส่งการจราจาร (สนข.) และใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับตั๋วร่วมในอนาคต 2.กำหนดอัตราโดยสารร่วม โดยอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม และเป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องนำอัตราค่าโดยสารร่วมไปใช้บังคับในการทำสัญญาสัมปทานขนส่งสาธารณะในอนาคตด้วย 3.จัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม เพื่อสนับสนุนในการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมทั้งให้กู้ยืมแก่ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการตั๋วร่วม

4.ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิ์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฏหมายฉบับนี้ และ 5.ในกรณีมีความจำเป็นให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการประกอบกิจการขนส่งสาธารณะใดเป็นกิจการที่ต้องใช้ระบบตั๋วร่วม และต้องได้ใบรับอนุญาตตามกฏหมายฉบับนี้ เพื่อรักษาการให้บริการระบบตั๋วร่วม หรือเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมระบบตั๋วร่วมเพื่อป้องกันการเสียหายต่อสาธารณะ

นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ประกอบด้วย 7 หมวด และบทเฉพาะกาล (54 มาตรา) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน พร้อมทั้งหันมาเป็นการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล



การตราพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่า ปัจจุบันการขนส่งผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะ มีผู้ให้บริการหลายราย โดยผู้ให้บริการแต่ละรายมีต้นทุนในการจัดทำและบริหารจัดการระบบการจัดเก็บค่าโดยสารหรือค่าธรรมเนียมของตนเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนในการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะอยู่ในอัตราสูง และประชาชนผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบต้นทุนดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นต้นทุน และภาระของประชาชนแล้ว ยังทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย

อีกทั้งยังเพื่ออำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บัตรโดยสารใบเดียวในการเดินทางได้ทุกระบบขนส่งสาธารณะอันเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากขนส่งส่วนบุคคล เป็นการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งจะทำให้สามารถลดค่าโดยสารลงได้ ถือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ จึงควรกำหนดให้มีการบริหารจัดการร่วมกันในรูปแบบระบบตั๋วร่วม โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
https://mgronline.com/business/detail/9680000009936
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2025 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 68 เจาะงบลงทุน 4.5 แสนล้าน “คมนาคม” ดัน “ 7 รถไฟทางคู่ เฟส 2-แทรมภูมิภาค”
ฐานเศรษฐกิจ
02 ก.พ. 2568 | 05:30 น.

“คมนาคม” ผ่างบลงทุนผูกพันข้ามปี 68 ปลุก 7 รถไฟทางคู่ เฟส 2-แทรมภูเก็ต-เชียงใหม่ แตะ 4.5 แสนล้านบาท เปิดแผนคืบหน้าสารพัดบิ๊กโปรเจ็กต์ระบบราง

ล่าสุดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทยเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม และเร่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้วางแผนการดำเนินโครงการด้านคมนาคม ในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 223 โครงการ วงเงินลงทุน 136,492.43 ล้านบาท เป็นโครงการต่อเนื่อง 107 โครงการ วงเงินลงทุน 53,622.78 ล้านบาท

ขณะที่โครงการใหม่ 116 โครงการ วงเงินลงทุน 82,869.65 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งระบบขนส่งทั้ง 4 มิติ ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก ระบบขนส่งทางน้ำ ระบบขนส่งทางราง และระบบขนส่งทางอากาศ

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมข้อมูล พบว่า สำหรับโครงการลงทุนในปีงบประมาณ 2568 ของกระทรวงคมนาคมในส่วนของการพัฒนาระบบราง วงเงินรวม 53,104 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณแผ่นดิน 5,404 ล้านบาท นอกงบประมาณ 47,700 ล้านบาท โดยมีโครงการรวม 69 โครงการ แบ่งเป็น โครงการที่มีงบผูกพัน 36 โครงการ และโครงการใหม่ 33 โครงการ

สำหรับโครงการลงทุนใหม่โดยเป็นการใช้งบผูกพันในปีงบประมาณ 2568 รวมวงเงิน 459,433 ล้านบาท ดังนี้

1.รถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,473 ล้านบาท

2.รถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วงศิริราช – ตลิ่งชัน - ศาลายา ระยะทาง 20.5 กิโลเมตร วงเงิน 15,176 ล้านบาท

3.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ –พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 44,573.85 ล้านบาท

ทั้งนี้ตามแผนทั้ง 3 โครงการจะเริ่มเปิดให้บริการภายในปี 2571 ส่วนเส้นทาง Missing Link จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573

4.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงปากน้ำโพ - เด่นชัย ระยะทาง 281 กิโลเมตร วงเงิน 81,143 ล้านบาท

5.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 44,103 ล้านบาท

6.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร วงเงิน 30,422 ล้านบาท

7. รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงสุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่ - สงขลา ระยะทาง 321 กิโลเมตร วงเงิน 66,270 ล้านบาท

8.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร วงเงิน 7,900 ล้านบาท

9.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กิโลเมตร วงเงิน 68,222 ล้านบาท

10.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 28,679 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามปัจจุบันช่วงขอนแก่น-หนองคาย อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนอีก 6 โครงการอยู่ระหว่างการขออนุมัติ คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี 2570-2574

11.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง (แทรมภูเก็ต) วงเงินลงทุน 35,350 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนการออกแบบ หารือแนวทาง และรูปแบบการดำเนินโครงการตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2574

12.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงินลงทุน 31,122 ล้านบาท

ขณะนี้เตรียมเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อพิจารณารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมก่อนดำเนินการต่อไป ตามแผนเปิดให้บริการปี 2575

Thailand's Ministry of Transport to Invest 450 Billion Baht in Rail Projects in 2025

Thansettakij
February 2, 2025 | 05:30 AM

Thailand's Ministry of Transport has announced a budget of 450 billion baht for multi-year investment in 2025, focusing on seven double-track railway projects (Phase 2) and regional tram lines in Phuket and Chiang Mai. The ministry revealed the progress of various rail megaprojects.

Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Suriya Jungrungreangkit, stated that the "Thailand Transport Policy for National Opportunities" workshop aims to align project implementation with government and ministry policies and accelerate progress in the 2025 fiscal year.

The Ministry of Transport has planned 223 transport projects for 2025, with a total investment of 136,492.43 million baht. This includes 107 ongoing projects worth 53,622.78 million baht and 116 new projects worth 82,869.65 million baht, covering land, water, rail, and air transportation.

Thansettakij compiled data revealing a total budget of 53,104 million baht for rail development in 2025, comprising 5,404 million baht from the national budget and 47,700 million baht from off-budget sources. This covers 69 projects, including 36 with allocated budgets and 33 new projects.

New projects with allocated budgets for 2025, totaling 459,433 million baht, include:

1. Red Line Extension (Rangsit - Thammasat University Rangsit Center): 8.84 kilometers, 6,473 million baht.
2. Red Line Extension (Siriraj - Taling Chan - Salaya): 20.5 kilometers, 15,176 million baht.
3. Light Red Line (Bang Sue - Phaya Thai - Makkasan - Hua Mak) and Missing Link (Bang Sue - Hua Lamphong): 25.9 kilometers, 44,573.85 million baht. (All three projects are scheduled to open in 2028, with the Missing Link opening in 2030.)

Double-track railway projects (Phase 2):

4. Pak Nam Pho - Den Chai: 281 kilometers, 81,143 million baht.
5. Thanon Chira Junction - Ubon Ratchathani: 308 kilometers, 44,103 million baht.
6. Chumphon - Surat Thani: 168 kilometers, 30,422 million baht.
7. Surat Thani - Hat Yai - Songkhla: 321 kilometers, 66,270 million baht.
8. Hat Yai - Padang Besar: 45 kilometers, 7,900 million baht.
9. Den Chai - Chiang Mai: 189 kilometers, 68,222 million baht.
10. Khon Kaen - Nong Khai: 167 kilometers, 28,679 million baht. (Currently under construction, with the other six projects awaiting approval. Service is expected to be rolled out gradually between 2027 and 2031.)

Regional tram lines:

11. Phuket Mass Transit System Phase 1 (Phuket International Airport - Chalong Intersection): 35,350 million baht investment. (Currently under design review, with discussions ongoing regarding project direction and implementation as per the Ministry of Transport's instructions. Expected to open in 2031.)

12. Chiang Mai Mass Transit System Red Line (Nakornping Hospital - Mae Hia Saman Samakkhi Intersection): 31,122 million baht investment. (The project is being submitted to the Road Traffic Management Committee for consideration of the appropriate operational model before proceeding. Planned to open in 2032.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2025 10:09 pm    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ'เผยมาตรการใช้ระบบขนส่งสาธารณะฟรี 7 วันดันยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าพุ่ง 39.62%
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Sunday, February 02, 2025 16:32

'สุริยะ'เผยมาตรการใช้ระบบขนส่งสาธารณะฟรี 7 วัน ดันยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าพุ่ง 39.62% - คนนั่งรถเมล์เพิ่ม 36.81% เชื่อ 'ราคา' จูงใจประชาชนหันมาใช้มากขึ้น มั่นใจ! นโยบาย 'ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย' หนุนผู้โดยสารเพิ่มแน่นอน พ่วงช่วยลดค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ - ปริมณฑลลงต่อเนื่อง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการดำเนินการนโยบายให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟฟ้าและรถโดยสารประจำทางสาธารณะ (รถเมล์) ฟรี รวมระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 - 31 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการให้ปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดลง และเพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถสาธารณะ รวมถึงเพื่อเป็นการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

ทั้งนี้ ในวันที่ 25 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นวันแรกของการเริ่มใช้มาตรการฯ พบว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กทม. ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน จากการรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ยังระบุว่า ในวันที่ 25 - 26 มกราคม 2568 พบว่า จำนวนปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลลดลง 350,000 คัน ส่งผลให้ปริมาณมลพิษในอากาศลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ลดลงประมาณ 2,000 กิโลกรัมต่อวัน และแก๊สไนโตรเจน ยังลดลงกว่า 14,800 กิโลกรัมต่อวัน

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มาตรการรถไฟฟ้า และรถเมล์ฟรี ยังพบว่า ประชาชนหันมาใช้บริการรถสาธารณะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนใช้มาตรการดังกล่าว โดยจากการรายงานของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 25 - 31 มกราคม 2568 ที่ประกาศใช้มาตรการรวมระยะเวลา 7 วัน มียอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 14,506,212 คน - เที่ยว เพิ่มขึ้น 39.62% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนเริ่มมาตรการในวันที่ 18 - 24 มกราคม 2568 ที่มีจำนวนผู้โดยสารรวม 10,389,766 คน - เที่ยว

ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้รายงานข้อมูลสถิติจำนวนผู้โดยสารใช้บริการรถเมล์ฟรี ตั้งแต่วันที่ 25 - 31 มกราคม 2568 พบว่า มีผู้ใช้รวม 5,007,491 คน เพิ่มขึ้น 36.81% เมื่อเทียบกับ 7 วัน ก่อนเริ่มมาตการในวันที่ 18 - 24 มกราคม 68 ที่มีจำนวนผู้โดยสารรวม 3,660,088 คน ทั้งนี้ รถโดยสารของ ขสมก. ยังคงดำเนินการตามแนวทางมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อาทิ การตรวจค่าควันดำรถโดยสารทุกคันก่อนนำรถออกวิ่งให้บริการ รวมทั้งยกระดับและพัฒนาคุณภาพรถโดยสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รถโดยสารมีความทันสมัย และสร้างความสะดวก สบายให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า จากตัวเลขยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า "ราคา" มีผลต่อการใช้บริการระบบรถไฟฟ้า ดังนั้น จึงมั่นใจว่า มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่จะให้บริการครบทุกสี ทุกสาย ทุกเส้นทางในช่วงเดือนกันยายน 2568 นี้ จะมีผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนั้น ผู้ใช้บริการยังได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง จากการเริ่มใช้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ด้วยการใช้บัตรโดยสารใบเดียว ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะอย่างครอบคลุม ทั้งรถไฟ รถเมล์ และเรือโดยสารในราคาที่สมเหตุสมผล ช่วยลดค่าครองชีพในการเดินทางของพี่น้องประชาชน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ได้อีกทางหนึ่งด้วย


'Suriya' Reveals Free Public Transport Policy for 7 Days, Boosting Skytrain Ridership by 39.62%

Source: Naewna Website
Sunday, February 2, 2025, 16:32

Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Suriya Juangroongruangkit, has disclosed that the 7-day free public transport policy, implemented from January 25 to 31, 2025, has led to a 39.62% increase in skytrain ridership and a 36.81% rise in bus usage. He believes that affordable fares are a key factor encouraging people to use public transportation more frequently. Additionally, he is confident that the upcoming "20-baht flat fare for all train lines" policy will further drive passenger growth and help reduce PM2.5 pollution in Bangkok and its metropolitan area.

Significant Reduction in Private Vehicle Usage and Pollution

Suriya stated that the initiative aimed to reduce private vehicle usage and encourage people to shift to public transportation while also tackling fine particulate matter (PM2.5) pollution.

On January 25, 2025, the first day of the policy's implementation, PM2.5 levels in Bangkok showed a continuous decline. The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) reported that between January 25 and 26, there was a decrease of 350,000 private cars on the roads, significantly lowering air pollution. Carbon dioxide emissions were reduced by approximately 2,000 kilograms per day, while nitrogen emissions decreased by over 14,800 kilograms per day.

Skytrain and Bus Ridership Surge

The Department of Rail Transport (DRT) reported that from January 25 to 31, 2025, a total of 14,506,212 trips were made on the skytrain system, marking a 39.62% increase compared to 10,389,766 trips recorded during the previous week (January 18 to 24, 2025).

Similarly, the Bangkok Mass Transit Authority (BMTA) reported that during the same 7-day period, a total of 5,007,491 passengers used the free bus service, reflecting a 36.81% increase compared to 3,660,088 passengers the week before. The BMTA continues to implement pollution reduction measures, including inspections of black smoke emissions from buses before they enter service, as well as continuous improvements to bus quality to enhance passenger comfort and convenience.

The Impact of Fare Pricing on Public Transport Usage

Suriya emphasized that the sharp increase in public transport usage demonstrates that pricing plays a crucial role in ridership behavior. He expressed confidence that the upcoming 20-baht flat fare for all train lines, set to launch in September 2025, will significantly boost passenger numbers.

Additionally, the implementation of the Common Ticketing Act will allow passengers to use a single fare card to seamlessly connect between skytrains, buses, and boats, making public transport more convenient and cost-effective. This policy is expected to lower commuting expenses for the public while further contributing to PM2.5 pollution reduction in Bangkok and its surrounding areas.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2025 10:13 pm    Post subject: Reply with quote

โพลชี้ฝุ่น PM 2.5 กทม.รุนแรงมาก รัฐ-กทม.ไร้ประสิทธิภาพ รถเมล์-รถไฟฟ้าฟรีไม่ช่วย
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Sunday, February 02, 2025 12:44

นิด้าโพลชี้คนกรุงเทพฯ ราว 3 ใน 4 ระบุปัญหาฝุ่น PM 2.5 รุนแรงมาก ภาครัฐ-กทม.ไร้ประสิทธิภาพ แถมรถเมล์ฟรี รถไฟฟ้าฟรีไม่ช่วยแก้ปัญหา

วันนี้ (2 ก.พ.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึงความรุนแรงของวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ช่วงหลายวันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 74.43 ระบุว่า มีความรุนแรงมาก รองลงมา ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ค่อนข้างมีความรุนแรง ร้อยละ 5.88 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความรุนแรง และร้อยละ 1.14 ระบุว่า ไม่มีความรุนแรงเลย

ด้านความคิดเห็นต่อการสั่งการหรือขอความร่วมมือให้ปิดสถานศึกษาและทำงานที่บ้าน ( Work from Home ) ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.82 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร รองลงมา ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย และร้อยละ 8.47 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก

สำหรับการให้ประชาชนใช้บริการรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS - MRT ฟรี 7 วัน ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.89 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก รองลงมา ร้อยละ 33.89 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร และร้อยละ 6.72 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก

ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ รองลงมา ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และร้อยละ 3.13 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงหน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังให้แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.15 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ รองลงมา ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 27.02 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร้อยละ 20.23 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก ร้อยละ 17.56 ระบุว่าไม่มีความหวังกับหน่วยงานราชการใด ๆ ร้อยละ 16.34 ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ร้อยละ 13.89 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 12.67 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 12.44 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 8.70 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 8.47 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ และร้อยละ 7.79 ระบุว่า กระทรวงการคลัง


Nida Poll Reveals Severe PM 2.5 Dust in Bangkok, Government and BMA Inefficient, Free Buses and Trains Don't Help
Source - Manager Online
Sunday, February 02, 2025 12:44

Nida Poll reveals that about 3 in 4 Bangkok residents indicate the PM 2.5 dust problem is very severe, the government and BMA are inefficient, and free buses and trains do not help solve the problem.

Today (Feb 2), the National Institute of Development Administration (NIDA) revealed the results of a public survey on "Bangkok, City in Dust," conducted between January 27-28, 2025, from 1,310 samples of people aged 18 and over in Bangkok, regarding the PM 2.5 dust crisis in Bangkok.

From the survey, when people living in Bangkok were asked about the severity of the PM 2.5 dust crisis in recent days, 74.43% of the sample indicated it was very severe, followed by 18.55% indicating it was quite severe, 5.88% indicating it was not very severe, and 1.14% indicating it was not severe at all.

Regarding opinions on ordering or requesting the closure of educational institutions and working from home to help solve the PM 2.5 dust crisis in Bangkok, 33.82% of the sample indicated it helped solve the problem to some extent, followed by 33.21% indicating it helped solve the problem very little, 24.50% indicating it did not help solve the problem at all, and 8.47% indicating it helped solve the problem a lot.

As for providing free bus and BTS-MRT train services for 7 days to help solve the PM 2.5 dust crisis in Bangkok, 34.89% of the sample indicated it helped solve the problem very little, followed by 33.89% indicating it did not help solve the problem at all, 24.50% indicating it helped solve the problem to some extent, and 6.72% indicating it helped solve the problem a lot.

Regarding the efficiency of relevant government agencies in solving the PM 2.5 dust problem in Bangkok, 41.15% of the sample indicated it was not very efficient, followed by 35.34% indicating it was not efficient at all, 20.38% indicating it was quite efficient, and 3.13% indicating it was very efficient.

Finally, when asked which agency people expect to solve the PM 2.5 dust problem in Bangkok, 41.15% of the sample indicated the Pollution Control Department, followed by 34.27% indicating the Bangkok Metropolitan Administration, 27.02% indicating the Royal Rainmaking and Agricultural Aviation Department, 20.23% indicating the Department of Land Transport, 17.56% indicating they had no hope for any government agency, 16.34% indicating the Ministry of Industry, 13.89% indicating the Ministry of Agriculture and Cooperatives, 12.67% indicating the Prime Minister's Office, 12.44% indicating the Ministry of Interior, 10.46% indicating the Royal Thai Police, 9.39% indicating the Ministry of Foreign Affairs, 8.70% indicating the Ministry of Defense, 8.47% indicating the Ministry of Commerce, and 7.79% indicating the Ministry of Finance.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2025 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารถเมล์ฟรี หมดโปร 7 วัน นโยบายถลุงงบ แต่รถยังติดฝุ่นยังฟุ้งเหมือนเดิม!
MGR Online VDO
Feb 2, 2025


https://www.youtube.com/watch?v=Q5LQYx0nw4c
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2025 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

ร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ทางรอด (?) ขนส่งสาธารณะไทยในบัตรเดียว
Source - เว็บไซต์ไทยโพสต์
Monday, February 03, 2025 14:43

ระบบขนส่งสาธารณะไทย แม้จะมีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะระบบราง มีการวางแผนให้เกิดโครงข่ายครอบคลุมเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่การเชื่อมต่อต้องนั้นมีระบบขนส่งอื่นๆร่วมด้วย อาทิ รถเมล์ เป็นต้น แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ การเชื่อมต่อไปอีกระบบหนึ่งหรือมีการเชื่อมต่อหลายระบบ หลายเส้นทาง โดยเฉพาะระบบราง กลับทำให้ค่าโดยสารแพงขึ้น เพราะมี”ค่าแรกเข้า”รวมอยู่ในค่าโดยสารของการใช้บริการแต่ละครั้ง ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่มีการขนส่งระบบรางเกิดขึ้นว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทย ควรต้องมี”ระบบตั๋วร่วม” เกิดขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าโดยสาร และเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการของประชาชน ไม่ต้องซื้อตั๋วโดยสารทุกครั้งที่เปลี่ยนระบบ หรือต้องพกบัตรโดยสารหลายใบ

“ระบบตั๋วร่วม”เริ่มเป็นจริงมากขึ้น เมื่อมีการผลักดัน ร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ…. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการระบบการชำระเงินให้สามารถใช้บัตรใบเดียวเดินทางได้ทุกโหมดขนส่งสาธารณะ โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เนื่องจากปัจจุบันผู้ให้บริการแต่ละรายมีต้นทุนในการจัดทำและบริหารจัดการระบบการจัดเก็บค่าโดยสารหรือค่าธรรมเนียมของตนเอง ทำให้ที่ผ่านมาการเกิดระบบตั๋วร่วม มีอุปสรรค ไม่สามารถแจ้งเกิดได้

เมื่อเร็วๆนี้ องค์กรของผู้บริโภคได้เปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ “พ.ร.บ. ตั๋วร่วม ความหวังผู้บริโภคบริการขนส่งมวลชนไม่เกินร้อยละ 10 ทั่วประเทศ” โดยมีภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเสนอความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ. ตั๋วร่วม เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเป็นธรรม

สารี อ๋องสมหวัง

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า การให้ระบบขนส่งสาธารณะทั่วประเทศมีคุณภาพและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยค่าโดยสารไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะนี้มีการผลักดันให้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน ดังนั้น ค่าโดยสารไม่ควรเกิน 40 บาทต่อวัน โดยสภาผู้บริโภคได้ร่วมมือกับ ท้องถิ่นใน 7-8 จังหวัด เพื่อผลักดันให้ค่าขนส่งสาธารณะถูกลง หลายจังหวัดเริ่มดำเนินการแล้ว เช่น ภูเก็ต ที่ให้ผู้สูงอายุและนักเรียนเดินทางฟรี และ กาญจนบุรี ที่ให้บริการรถโดยสาร EV เส้นทางหลักรากหญ้า-ท่ามะกา ในราคา 20 บาทตลอดสาย นโยบายเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ ทั้งนี้การพัฒนาขนส่งสาธารณะจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวกขึ้น ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากจำนวนรถที่หนาแน่น และช่วยลดมลพิษ โดยเฉพาะ ฝุ่น PM 2.5 จากยานพาหนะที่ใช้พลังงาน

“เป้าหมายของ พ.ร.บ. ตั๋วร่วม ไม่ควรเป็นเพียงเครื่องมือในการใช้บริการขนส่งมวลชนเท่านั้น แต่ต้องมีการกำหนด ค่าโดยสารร่วมที่สอดคล้องกับศักยภาพการใช้จ่ายของประชาชนด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง ในมาตรา 31 ถือเป็นหัวใจสำคัญของ พ.ร.บ. นี้ เพราะมีการกำหนดราคาค่าโดยสารร่วมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมในการออก ใบอนุญาตระบบตั๋วร่วมฉบับละ 150,000 บาท อาจเป็นภาระสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เช่น รถสองแถว ดังนั้น ระบบตั๋วร่วมไม่ควรเรียกเก็บค่าใบอนุญาตจากผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมทั้งในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่างจังหวัด ที่สำคัญหากมีผู้ประกอบการรายใหม่หรือรายเก่า ที่ดำเนินธุรกิจขนส่งมวลชน พวกเขาควร อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของ พ.ร.บ. ตั๋วร่วมโดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว

สถานการณ์การใช้บัตรโดยสารขนส่งมวลชนในไทย อดิศักดิ์ สายประเสริฐ อนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า แนวคิดการพัฒนาตั๋วร่วมของไทย ได้รับแรงบันดาลใจจากหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งมีระบบบัตรโดยสารที่สามารถใช้ชำระค่าบริการอื่นๆ นอกเหนือจากค่าโดยสารได้ ในบริบทของประเทศไทย ปัจจุบันมีบัตรโดยสารหลายประเภทจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เช่น บัตรแรบบิท (Rabbit), บัตร MRT, บัตร HOP Card และบัตรแมงมุม ที่เคยออกโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ความนิยมลดลงเนื่องจากข้อจำกัดในการใช้งาน

อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า จุดแตกต่างระหว่างบัตรโดยสารของไทยและต่างประเทศ คือ ในไทยหากไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดำเนินธุรกิจชำระเงิน บัตรโดยสารจะไม่สามารถใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ปัจจุบันมีเพียง บัตรแรบบิท ที่สามารถใช้จ่ายในบางร้านค้าได้ปัจจุบันระบบ ให้รองรับการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเดบิตและเครดิต ซึ่งเริ่มนำมาใช้ในบางระบบขนส่งแล้ว แต่ยังไม่ได้ขยายให้ครอบคลุมทุกเส้นทาง

จิรโรจน์ สุกลรัตน์ รองผอ.สนข.

จิรโรจน์ สุกลรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เผยว่า กระทรวงคมนาคมได้กำหนดแนวทางพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งโดยส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบรางมากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพารถยนต์ส่วนตัว 2.การทำให้ขนส่งสาธารณะสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และ3.การพัฒนาระบบขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับการเดินทางในเขตเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และตัวเมืองในจังหวัดต่างๆ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำให้การเดินทางสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และมีราคาสมเหตุสมผล โดยประชาชนต้องสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงกันได้อย่างราบรื่น แนวคิดหลักคือการใช้ระบบรางเป็นแกนกลางของการเดินทางในเมือง โดยมีระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) คอยเชื่อมต่อระหว่างจุดเริ่มต้นของผู้โดยสารกับสถานีรถไฟฟ้า และจากสถานีไปยังจุดหมายปลายทาง

รอง ผอ.สนข. กล่าวต่อว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map) ซึ่งครอบคลุมช่วงปี 2553-2572 รวม 14 สายทาง ระยะทางรวม 554 กิโลเมตร ขณะนี้มีการเปิดให้บริการแล้วกว่า 50% หรือประมาณ 280 กิโลเมตร ครอบคลุม 13 โครงการ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิทและสีลม) สายสีน้ำเงิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ สายสีม่วง สายสีแดง (เหนือและตะวันตก) สายสีเหลือง และสายสีชมพู การพัฒนาระบบขนส่งเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง ลดระยะเวลาการเดินทาง และช่วยลดปัญหาการจราจรในเขตเมือง

“ปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะมีปัญหาหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1.ในอดีต โครงข่ายขนส่งสาธารณะถูกพัฒนาแบบแยกโครงการ ไม่มีการวางแผนให้ระบบต่างๆ เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเดินทางข้ามระบบไม่สะดวก 2.โครงสร้างอัตราค่าโดยสารมีความแตกต่างกันระหว่างรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง และเรือโดยสาร ส่งผลให้การเปลี่ยนระบบขนส่งมีต้นทุนสูงและไม่จูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้ขนส่งสาธารณะ 3.ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการขนส่งสาธารณะ ทำให้แต่ละระบบมีการบริหารจัดการแยกจากกัน ผู้โดยสารต้องใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน และต้องเสียค่าแรกเข้าใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนสาย ส่งผลให้การเดินทางมีค่าใช้จ่ายสูงและขาดความสะดวกสบาย” รอง ผอ.สนข. กล่าว

เพื่อแก้ปัญหาขนส่งสาธารณะ รอง ผอ.สนข. ได้เสนอความเห็นว่า มีแนวคิดหลัก 2 ประเด็น คือ 1.การใช้ระบบตั๋วร่วมที่สามารถตรวจสอบการเข้าออกของผู้โดยสารได้ทุกระบบ เช่น บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือแอปพลิเคชัน 2.การคิดอัตราค่าโดยสารแบบรวม โดยเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวและคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทาง จากการจัดทำร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยมีการกำหนดเรื่องตั๋วร่วมไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สามารถบังคับใช้กับภาคเอกชนได้โดยตรง เมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะครอบคลุมภาคเอกชนและกำกับดูแลบริษัทที่บริหารระบบตั๋วร่วม ซึ่งอาจไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้จะมีการติดตามและกำกับดูแลผู้ประกอบการขนส่งเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วม รวมถึงจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ตั๋วร่วม โดยกองทุนนี้จะช่วยชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ตั๋วร่วม เช่น กรณีที่รายได้จากค่าโดยสารไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน

รอง ผอ.สนข. กล่าวต่อว่า โดยพ.ร.บ. นี้จะกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียม เช่น การเดินทางที่เริ่มต้นด้วยรถเมล์ ขสมก. ต่อด้วยรถไฟฟ้าสองสาย และใช้รถเมล์อีกครั้งจนถึงปลายทาง โดยจะมีคณะกรรมการกำหนดวิธีจัดสรรรายได้ให้เหมาะสม เป็นธรรม และเสมอภาค นอกจากนี้ จะกำหนดมาตรการทางเทคโนโลยี รูปแบบของระบบตั๋วร่วม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อกำหนดต่างๆ เช่น วิธีการเชื่อมต่อตั๋วร่วมระหว่างผู้ให้บริการ การรักษาความปลอดภัยของระบบ และการออกใบอนุญาต 3 ประเภท ซึ่งมีค่าธรรมเนียม 1.ใบอนุญาตประกอบกิจการศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ฉบับละ 300,000 บาท 2.ใบอนุญาตการให้บริการออกบัตรชำระค่าโดยสารในระบบตั๋วร่วม ฉบับละ 150,000 บาท และ3. ใบอนุญาติการให้บริการขนส่งผู้โดยสารในระบบตั๋วร่วม ฉบับละ 150,000 บาท

ในส่วนของผู้ประกอบการรายเล็กที่อาจไม่สามารถเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมได้ด้วยตนเอง กองทุนนี้จะช่วยสนับสนุนให้สามารถเข้าร่วมได้ และมีมาตรการปรับหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด รายละเอียดทั้งหมดระบุไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งประกอบด้วย 7 หมวด 54 มาตรา โดยประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการชำระค่าโดยสารเพียงครั้งเดียวต่อการเดินทาง ลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการเดินทางข้ามระบบขนส่งต่างๆ

หลักการสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ตั๋วร่วม รอง ผอ.สนข. กล่าวว่า การกำหนดมาตรฐานกลางด้านเทคโนโลยีสำหรับระบบตั๋วร่วม กำหนดอัตราค่าโดยสาร และจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนระบบตั๋วร่วม ผู้ประกอบการที่ต้องการรับการสนับสนุนจากกองทุน จะต้องได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ หากมีความจำเป็น รัฐบาลสามารถออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กิจการขนส่งสาธารณะบางประเภทต้องใช้ระบบตั๋วร่วมและได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าสู่ระบบตั๋วร่วมโดยสมบูรณ์

สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ หลังจาก พ.ร.บ. ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ รัฐจะกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีของระบบตั๋วร่วมเป็นเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม ส่วนผู้ประกอบการปัจจุบัน สามารถเลือกเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมโดยสมัครใจ หากไม่เข้าร่วมก็สามารถดำเนินกิจการตามปกติ แต่จะไม่ได้รับสิทธิสนับสนุนจากกองทุน อย่างไรก็ตาม หากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ระบบขนส่งประเภทใด ต้องใช้ตั๋วร่วมและได้รับใบอนุญาต ผู้ประกอบการทุกรายต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.

รอง ผอ.สนข. กล่าวต่อว่า หากพิจารณาจากโมเดลในต่างประเทศ การบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะควรมี ศูนย์ประสานงานกลางเพียงจุดเดียว เพื่อจัดการรายได้และข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยอาจต้องมีการคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมมาดำเนินงาน สำหรับงบประมาณของ กองทุนในปีแรก คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท และในอนาคตอาจพิจารณาการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมโซนที่รถติด เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม าหรับการเก็บค่าธรรมเนียมโซนที่รถติด รัฐต้องสร้าง ระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุม เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง เพราะหากระบบขนส่งยังไม่สมบูรณ์ ก็ไม่สามารถที่จะบังคับใช้ค่าธรรมเนียมรถติด เพราะอาจไม่เป็นธรรมและไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้แทนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นโยบายของพรรคเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนในประเทศ จะเริ่มใช้มาตรการ20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าในเดือนกันยายนนี้ โดยรัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอสำหรับดำเนินโครงการอย่างน้อย 2 ปี หมายความว่า หากประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากต้นทางถึงปลายทาง โดยไม่ออกจากระบบ จะจ่ายค่าโดยสารเพียง 20 บาทต่อเที่ยว ขณะเดียวกัน กำลังมีการศึกษาความเป็นไปได้ของรถเมล์ 10 บาทตลอดสาย หากนโยบายนี้เกิดขึ้นจริง ค่าเดินทางต่อเที่ยวสำหรับผู้ที่ใช้ทั้งรถเมล์และรถไฟฟ้าจะอยู่ที่ 30 บาท หรือ ไป-กลับ 60 บาทต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ำ

กฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้แทนพรรคเพื่อไทย

กฤชนนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ใน พ.ร.บ. ตั๋วร่วม จำเป็นต้องแยกความแตกต่างระหว่าง ตั๋วร่วม กับ ค่าโดยสารร่วม ซึ่งหากมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ประชาชนจะสามารถเดินทางในราคาที่เท่าเทียมกัน ปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 87,000 คนต่อวัน สำหรับ สายสีม่วง และ 42,000 คนต่อวัน สำหรับ สายสีแดง อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษาหลังการเปิดให้ใช้รถไฟฟ้าฟรี 7 วัน เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 พบว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยสายสีม่วงมีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 100,000 คนต่อวัน และสายสีแดง 48,000 คนต่อวัน ซึ่งเมื่อรวมทุกเส้นทางแล้ว พบว่าประชาชนใช้บริการขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น ประมาณ 37% หรือราว 2.3 ล้านคนต่อเที่ยว อาจเป็นอีกกรณีที่สะท้อนให้เห็นประโยชน์ของพ.ร.บ.ฉบับนี้

นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะเป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม อีกฉบับของพรรคประชาชน กล่าวว่า ร่างกฎหมายที่ได้เสนอ โดยสรุปถึงข้อแตกต่างระหว่างร่างของรัฐบาลและร่างของพรรคประชาชน ซึ่งร่างของพรรคประชาชนเป็นร่างหลักว่า โดยหลักการเราสนับสนุนให้มีระบบตั๋วร่วม อีกประเด็นคือความชัดเจนเรื่องขนส่งสาธรณะที่ไม่ใชเพียงแค่รถไฟฟ้า แต่เป็นระบบบริการเชื่อมต่อทั้งหมด ซึ่งนิยามที่ชัดเจนคือ ขนส่งสาธารณะไม่ใช่แค่ระบบรถไฟฟ้า แต่ต้องครอบคลุมเท่าเทียมทั้งหมด ในการเดินทางทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เพราะฉะนั้นการอุดหนุนค่าโดยสารจะต้องสมดุลและเป็นธรรมไม่ใช่การอุดหนุนแค่รถไฟฟ้า เราต้องทำให้การขนส่งทุกระบบเป็นระบบเดียวให้ได้ จึงมีความแตกต่างกันในเรื่อง ”ค่าโดยสารร่วม” ซึ่งเราคิดว่าของพรรคประชาชนสมเหตุสมผล

นอจากนี้ นายสุรเชษฐ์เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ฉบับรัฐบาล ในส่วนคณะกรรมการนโยบายควรกำหนดสัดส่วนของภาคประชาชน โดยขอให้นำเอาประธานสภาผู้บริโภคเข้ามาเป็นกรรมการนโยบาย เนื่องจากในร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฉบับแรกของ สนข.มีการกำหนดให้ประธานสภาผู้บริโภคเป็นกรรมการ แต่ถูกถอดออกและนำเอาอธิบดีกรมบัญชีกลางเข้ามาแทนจึงเห็นว่าควรจะแก้ไข “คืน” สัดส่วนผู้แทนประชาชนในคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม โดยนำเอาประธานสภาผู้บริโภคเข้ามาร่วมเป็นกรรมการนโยบายเช่นเดิม

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป้าหมายของ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คือ ทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง ทุกคนเข้าถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า และกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมจะหาเงินมาจากไหน เพื่อทำให้ค่าโดยสารถูกลง โดยไม่เป็นภาระหนักของภาครัฐ ซึ่งเห็นว่าสามารถทำค่าโดยสารให้ถูกลงได้หากหลีกเลี่ยงการใช้ PPPในการจ้างเดินรถไฟฟ้า และรัฐมาเดินรถเอง นอกจากนี้เห็นว่าต้องไม่การขยายสัมปทาน เพระเอกชนมีวิธีคิดค่าโดยสารที่แตกต่างจากรัฐ ดังนั้นการไม่ต่อสัมปทาน จึงเป็นการลดค่าโดยสารถูกลงอย่างยั่งยืนได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2025 8:14 am    Post subject: Reply with quote

20 บ.ใช้พุ่งรายได้เพิ่มไม่ต้องชดเชย
Source - เดลินิวส์
Monday, February 10, 2025 04:37

'สีแดง-ม่วง'เลยจุดคุ้มทุน อีก7เดือนทุกสีเข้านโยบาย

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) ให้สัมภาษณ์ "ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" ว่า มาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดทุกสาย ปีที่ 2 สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมยังได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน เห็นได้จากปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ อีก 6 สาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม มีเป้าหมายใช้มาตรการฯ ให้ได้ภายในเดือน ก.ย. 2568

ผลของมาตรการฯ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 เดือนแรกของมาตรการฯ ในปีที่ 2 เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2566 ทั้งสายสีแดง และสายสีม่วงปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 10.86% รวมทั้ง 2 สาย 3,054,439 คน เพิ่มขึ้น จาก 2,755,294 คน หรือเพิ่มขึ้น 299,145 คน สายสีแดงผู้โดยสาร 1,027,458 คน เพิ่มขึ้น 24.88% จาก 822,764 คน ส่วนสายสีม่วง 2,026,981 คน เพิ่มขึ้น 4.89% จาก 1,932,530 คน สำหรับปริมาณรายได้ทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นเช่นกัน มีรายได้ 49.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.28% หรือ 5.46 ล้านบาท จาก 44.45 ล้านบาท โดยสายสีแดงรายได้ 20.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.48% หรือ 4.07 ล้านบาท จาก 15.97 ล้านบาท ส่วนสายสีม่วง 29.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.89% หรือ 1.39 ล้านบาท จาก 28.48 ล้านบาท

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า ถือว่าโครงการประสบความสำเร็จอย่างดี แนวโน้มมาตรการฯ ในปีที่ 2 อาจไม่ต้องชดเชยส่วนต่างรายได้ให้ทั้ง 2 สายแล้ว เนื่องจากเพียงเดือนแรกก็เห็นชัดเจนว่า รายได้เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับ ถือว่าเร็วกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ ว่าต้องดำเนินการมาตรการฯ ประมาณ 2 ปี 8 เดือนรายได้ของแต่ละสายจะมากกว่ารายได้ที่เคยรับ ทั้งนี้ในปีที่ 1 สายสีแดง รายได้ลดลงจากเดิม 2.59 ล้านบาท และสายสีม่วงลดลง 119.33 ล้านบาท รวม 2 สาย 121.92 ล้านบาท

"ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" รายงานว่า มาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดทุกสาย เริ่มกับสายสีแดงและสายสีม่วงในปีแรกตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2566 ครบกรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อ วันที่ 30 พ.ย. 2567 โดยเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 กระทรวงคมนาคม เสนอที่ประชุม ครม. มีมติต่ออายุมาตรการฯ ทั้ง 2 สายไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2568 นายสุริยะ ประกาศหลายครั้งยืนยันใช้มาตรการฯ กับรถไฟฟ้าทุกสีทุกสายได้ภายในเดือน ก.ย.2568 เบื้องต้นคาดว่าต้องใช้เงินสนับสนุนชดเชยส่วนต่างรายได้ให้ผู้ประกอบการปีละประมาณ 8-9 พันล้านบาท หรือ 2 ปี ประมาณ 1.6-1.8 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นจะตั้งกองทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยผู้ประกอบการในการซื้อคืนกิจการ เพื่อใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทถาวร โดยเงินกองทุนส่วนหนึ่ง มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดรูปแบบการจัดเก็บ.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 11 ก.พ. 2568 (กรอบบ่าย)

20 Baht Fare Boosts Revenue Without Needing Compensation
Source - Daily News
Monday, February 10, 2025 04:37

'Red-Purple Lines' Exceed Break-Even Point, All Lines Entering Policy in 7 Months

Mr. Pichet Kunathammarak, Director-General of the Department of Rail Transport (DRT), gave an interview to the "Daily News Transport Innovation Team" that the second year of the maximum 20 baht flat fare measure for all electric train lines for the Commuter Red Line (Red Line) during Bang Sue - Rangsit and Bang Sue - Taling Chan and the MRT Purple Line during Tao Poon - Bang Yai to reduce the cost of living for the public, in accordance with government and Ministry of Transport policies, continues to be well received by the public. This can be seen from the continuously increasing passenger volume on both lines. For the other 6 electric train lines, Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, aims to implement the measure by September 2025.

The results of the measure at the end of December 2024, the first month of the measure in its second year, compared to December 2023, show a clear increase in passenger volume for both the Red and Purple Lines by 10.86%, totaling 3,054,439 passengers, an increase from 2,755,294 passengers or an increase of 299,145 passengers. The Red Line saw 1,027,458 passengers, a 24.88% increase from 822,764 passengers, while the Purple Line had 2,026,981 passengers, a 4.89% increase from 1,932,530 passengers. The revenue for both lines also increased, with a total revenue of 49.91 million baht, a 12.28% or 5.46 million baht increase from 44.45 million baht. The Red Line's revenue was 20.4 million baht, a 25.48% or 4.07 million baht increase from 15.97 million baht, while the Purple Line's revenue was 29.87 million baht, a 4.89% or 1.39 million baht increase from 28.48 million baht.

Mr. Pichet also said that the project is considered a great success. The trend of the measure in the second year may not require compensation for the revenue difference for both lines, as it is clear from the first month that revenue has increased from what was previously received, which is faster than the expected target that the measure would need to be implemented for about 2 years and 8 months for the revenue of each line to be more than the revenue previously received. In the first year, the Red Line's revenue decreased from the original by 2.59 million baht, and the Purple Line's revenue decreased by 119.33 million baht, totaling 121.92 million baht for both lines.

The "Daily News Transport Innovation Team" reported that the maximum 20 baht flat fare measure for all electric train lines started with the Red and Purple Lines in the first year from October 16, 2023, completing the timeframe according to the Cabinet resolution approved on November 30, 2024. On November 29, 2024, the Ministry of Transport submitted to the Cabinet meeting a resolution to extend the measure for both lines for another year until November 30, 2025. Mr. Suriya has repeatedly announced and confirmed that the measure can be used for all electric train lines by September 2025. Initially, it is estimated that about 8-9 billion baht per year or about 1.6-1.8 ten billion baht over two years would be needed to support compensation for revenue differences for operators. Initially, a fund of about 300 billion baht will be set up to compensate operators for the repurchase of businesses in order to use the permanent 20 baht electric train policy, with part of the fund coming from the collection of traffic congestion fees in Bangkok, which is currently under study for details of the collection format.

Source: Daily News Newspaper, February 11, 2025 (Afternoon Edition)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2025 5:33 am    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ'สั่งรฟม.เจรจาแก้สัญญารถไฟฟ้า'สีน้ำเงิน-ชมพู-เหลือง'
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, February 14, 2025 05:07

แบ่งผลประโยชน์รัฐเพิ่มชี้นโยบาย 20 บาททำเอกชนมีรายได้เพิ่ม

ผู้จัดการรายวัน360 - "สุริยะ" สั่ง รฟม.เจรจาเอกชนแก้สัญญาสัมปทานรถไฟฟา "สีน้ำเงินชมพู-เหลือง" ปรับส่วนแบ่งผลประโยชน์รัฐเพิ่ม หลังนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายดันยอดผู้โดยสารเพิ่ม ส่งผลให้เอกชนมีรายได้เพิ่ม คาดชัดเจน ส.ค.นี้เสนอบอร์ด รฟม. ก่อนเสนอ ครม.เห็นชอบแก้สัญญา

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า ภายในเดือน ก.ย. 2568 นี้ จะใช้นโยบาย ครอบคลุมรถไฟฟ้าในทุกเส้นทางไม่ว่าจะเดินทางกี่ต่อ กี่สาย จ่ายค่าโดยสาร 20 บาท ซึ่งจากที่ได้ดำเนินโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคา 20 บาทตลอดสายมาเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือนในโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พบว่า จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30 % ขณะที่กรณีให้ใช้บริการฟรี มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มถึง 50%

ซึ่งการที่รถไฟฟ้ามีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เอกชนผู้ให้บริการได้รับรายได้เพิ่มขึ้นไปด้วย ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายในการแก้ไขสัญญาสัมปทานโดยต้องมีการเจรจาแบ่งผลประโยชน์กับเอกชนใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์กับภาครัฐ

โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) ได้รายงานว่า ได้จัดทำแผนการขับเคลื่อนนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง ในส่วนรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับของ รฟม. ซึ่งกระบวนการในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนจะต้องดำเนินตามมาตรา 46-48 ของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยมีแผนดังนี้ 1. แผนการดำเนินงาน กรณีแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโดยการแก้ไขสัญญามีหลักการแตกต่างจากหลักการและเงื่อนไขสำคัญของโครง การร่วมลงทุน 2. แผนการดำเนินงาน กรณีแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโดยหลักการและเงื่อนไขสำคัญของโครงการร่วมลงทุนคงเดิม 3. แผนการดำเนิน งาน ระบบตั๋วร่วม EMV ในรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู เพื่อพัฒนาระบบให้รองรับการใช้บัตร EMV Contactless ได้ในทุกประตูอัตโนมัติของทุกสถานี

"ตอนนี้ ทางกระทรวงคมนาคมและ รฟม.จะต้องทำหนังสือสอบถามสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กรณีที่เอกชนมีรายได้เพิ่มสามารถแก้ไขสัญญาได้อย่างไร"
โดยในส่วนของแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน กับเอกชนผู้ที่ได้รับสัปทาน ได้มอบหมายให้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสม โดยขณะนี้ กรมขนส่งทางราง (ขร.) ได้จัดทำข้อกำหนดทางธุรกิจ (Business Rule) เช่น เงื่อนไขการเดินทาง การคิดอัตราค่าโดยสาร การจัดแบ่งและชดเชยรายได้ และแหล่งเงินชดเชย เป็นต้น

คาดชัดเจน ส.ค.นี้เสนอบอร์ด รฟม. ก่อนเสนอ ครม.เห็นชอบแก้สัญญา

และหลังจากมีความชัดเจนเรื่องแก้ไขสัญญา ต่อไป รฟม. จะเข้าเจรจากับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทาน เพื่อแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อไป หลังจากนั้นจะเสนอคณะกรรมการ รฟม.(บอร์ด) พิจารณา และภายในเดือนสิงหาคม 2568 จะเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้น รฟม. จะดำเนินการลงนามแก้ไข สัญญาฯ ดังนั้นกระบวนการต่างๆ จะแล้วเสร็จทั้งหมด ก่อนที่มาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะเริ่มภายในช่วงเดือนกันยายน 2568 เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

รฟม.ยันไม่มีขยายสัมปทาน

ด้านนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ รฟม. (ปฏิบัติการ) รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า รฟม.มีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า 3 โครงการ คือ รถ ไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีชมพู สายสีเหลือง เป็นสัญญาร่วมลงทุน PPP Net Cost ที่เอกชนรับความเสี่ยงเรื่องรายได้ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มและส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไปด้วย ทำให้ความเสี่ยงของเอกชนลดลง ดังนั้น รัฐควรได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่เอกชนได้รับเพิ่ม เช่นกัน จึงต้องมีการเจรจาแก้ไขสัญญาสัมปทาน

โดยหลักการแก้ไขสัญญาสัมปทาน จะไม่มี ประเด็นการขยายระยะเวลาสัญญา และรูปแบบการร่วมลงทุนเป็น PPP Net Cost เหมือนเดิม แต่เป็นเรื่องการเจรจาเรื่องแบ่งผลประโยชน์ กรณีที่เอกชนได้ประโยชน์ก็ต้องแบ่งให้รัฐมากขึ้น ซึ่งสัญญาสัมปทานมีหลายข้อ เช่น กำหนดอัตราค่าโดยสารที่ 14-45 บาท และปรับขึ้นทุก 5 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค เมื่อมีนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ตรงนี้ก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว หรือบางสัญญามีการแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ เช่น สัญญา สายสีน้ำเงินระหว่าง รฟม.กับ BEM นั้น รฟม.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ที่ 15% ส่วนสีชมพู สีเหลืองตามเงื่อนไข จำนวนผู้โดยสารตอนนี้ยังไม่ถึงที่เอกชนจะแบ่งรายได้ให้ รฟม.

"ปัจจุบันสัญญากำหนดอัตราค่าโดยสาร จะมีค่าเฉลี่ยที่นำไปคูณกับจำนวนผู้โดยสาร เช่นออกมาเป็นรายได้ที่ x บาท เมื่อใช้นโยบาย 20 บาท ตลอดสาย ผู้โดยสารเพิ่มจนทำให้รายได้เพิ่มเป็น X+Y ซึ่งY ที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะแบ่งกับรัฐอย่างไรเพราะเป็นการเพิ่มจาก นโยบาย 20 บาท ตรงนี้ต้องเจรจากัน เป็นต้น"
อย่างไรก็ตาม รฟม.จะดำเนินการในส่วนของรถไฟฟ้าที่อยู่ในกับสัญญา ส่วนโครงการสายสีเขียว อยู่ภายใต้กำกับของกรุงเทพมหานคร (กทม.) อาจจะต้องเป็นรัฐบาลที่เข้าไปดูแล.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 14 ก.พ. 2568

"Suriya" Orders MRTA to Renegotiate Contracts for Blue, Pink, and Yellow Lines
Source - Manager Daily 360 degrees
Friday, February 14, 2025 05:07

To increase government share of profits, citing the 20 baht policy that boosts private sector revenue.

Manager Daily 360 - Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, ordered the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) to renegotiate concession contracts with private operators of the Blue, Pink, and Yellow lines to increase the government's share of profits. This comes after the 20 baht flat fare policy led to increased ridership and subsequently higher revenue for the private companies. A clear plan is expected by August, to be proposed to the MRTA board before submission to the Cabinet for approval.

Suriya revealed after a meeting on the 20 baht flat fare policy that by September 2025, the policy will cover all lines. The 20 baht fare has been implemented for 1 year and 2 months on the Purple Line (Tao Poon - Khlong Bang Phai) and the Red Line (Bang Sue - Rangsit and Bang Sue - Taling Chan), resulting in a significant increase in ridership.

The increase in passengers, around 30% and up to 50% where services were offered free, has led to higher revenue for private operators. Therefore, the Ministry of Transport aims to revise the concession agreements and renegotiate profit sharing with the private sector to benefit the government.

The MRTA reported that it has prepared a plan to implement the 20 baht fare policy on lines under its supervision. The process of amending the joint venture agreements must comply with Sections 46-48 of the Public-Private Partnership Act B.E. 2562.

The Ministry of Transport and MRTA will consult the State Enterprise Policy Office (SEPO) on how to amend contracts in cases where the private sector experiences increased revenue.

The amendment of joint venture agreements with private concessionaires has been assigned to all relevant agencies for discussion and a suitable conclusion. The Department of Rail Transport (DRT) has prepared business rules, including travel conditions, fare calculation, revenue sharing and compensation, and compensation sources.

A clear plan is expected by August, to be proposed to the MRTA board before submission to the Cabinet for approval.

After the amendment is finalized, the MRTA will negotiate with the private concessionaires to revise the concession agreements. This will then be proposed to the MRTA board for consideration, and by August 2025, it will be submitted to the Cabinet for approval. Following this, the MRTA will proceed to sign the amended contracts. All processes are expected to be completed before the implementation of the 20 baht flat fare policy in September 2025.

MRTA confirms no concession extensions

Wittaya Phanmongkol, Acting Governor of the MRTA, stated that the MRTA has concession agreements for 3 projects: the Blue, Pink, and Yellow lines. These are PPP Net Cost joint venture agreements where the private sector bears the revenue risk. With the government's 20 baht flat fare policy, ridership and revenue have increased, reducing the risk for private companies. Therefore, the government should receive a larger share of the increased profits. This necessitates the renegotiation of concession agreements.

The main principle of the amendment is that there will be no extension of the contract period and the investment model will remain as PPP Net Cost. The negotiation will focus on profit sharing, where the private sector will share more of the increased profits with the state.

Current concession agreements have various clauses, such as fare rates set at 14-45 baht, adjusted every 5 years according to the consumer price index. With the 20 baht flat fare policy, this will need to be revised. Some agreements include profit sharing with the government, such as the Blue Line contract between the MRTA and BEM, where the MRTA receives a 15% share of revenue. For the Pink and Yellow Lines, the current passenger numbers have not yet reached the threshold for profit sharing with the MRTA.

However, the MRTA will only be responsible for the lines under its contracts. The Green Line project, which is under the supervision of the Bangkok Metropolitan Administration (BMA), may require government intervention.

Source: Manager Daily 360 degrees Newspaper, February 14, 2025
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 286, 287, 288, 289  Next
Page 287 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©