Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/02/2025 9:12 pm Post subject:
ปลดล็อก 2 อุปสรรค 'ไฮสปีดไทยจีน' ดันเป้าเปิด 'กรุงเทพ - โคราช' ปี 71
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Saturday, February 08, 2025 06:10
คมนาคม ตั้งเป้าปลดล็อก 2 อุปสรรคงานก่อสร้าง ไฮสปีดไทยจีน ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา หลังตั้งเป้าเปิดบริการภายในปี 2571 ยอมรับหนึ่งในปัญหาโครงสร้างทับซ้อน ไฮสปีดสามสนามบิน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ต้องลุ้น ซีพี แก้สัญญาเพื่อเดินหน้าก่อสร้าง
ภายในปี 2571 รัฐบาลตั้งเป้าเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ไฮสปีดเทรน สายแรกของประเทศไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย - จีน พัฒนาไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ - หนองคาย โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท
โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบฯ 2560 - 2563) ซึ่งปัจจุบันโครงการระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด มีความคืบหน้าโดยรวม 35.74% แต่ยังคงมั่นใจว่าจะสามารถเร่งรัดให้เปิดบริการตามแผนกำหนด
ส่วนโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 341,351.42 ล้านบาท ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2568 ได้เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้าง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเริ่มจัดทำเอกสารประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาทันที คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน มิ.ย.2568 เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง และเร่งรัดให้โครงการนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2574
อย่างไรก็ดี ภายใต้การดำเนินงานดังกล่าวกลับพบว่ายังมี 2 อุปสรรคที่จะส่งผลต่อเป้าหมายการเปิดให้บริการมาเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้ เนื่องจากขณะนี้โครงการไฮสปีดไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ยังมี 2 สัญญาที่ไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ จากทั้งหมด 14 สัญญา โดยอุปสรรคเหล่านี้ยังเป็นผลกระทบจากหน่วยงานภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ประกอบด้วย
สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร วงเงิน 9,207 ล้านบาท เนื่องด้วยงานก่อสร้างส่วนนี้จะมีพื้นที่โครงสร้างร่วมกับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งเอกชนคู่สัญญาโครงการดังกล่าว คือ กลุ่มซีพี จะดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างร่วมให้ แต่เนื่องจากปัจจุบันยังคงรอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ จึงทำให้โครงสร้างงานส่วนนี้ยังไม่สามารถก่อสร้างได้
สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร วงเงิน 9,913 ล้านบาท งานก่อสร้างสัญญานี้ ปัจจุบันยังติดปัญหาความเห็นผลกระทบแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา โดยล่าสุดในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ลงพื้นที่สำรวจผลกระทบแล้ว จึงทำให้ต้องรอผลการพิจารณาจากยูเนสโก
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ยังมั่นใจว่าไฮสปีดเทรนไทย - จีน จะเริ่มเปิดบริการได้ตามเป้าหมายในปี 2571 แม้ว่าปัจจุบันงานก่อสร้างระยะที่ 1 ยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้จำนวน 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ ดอนเมือง และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว แต่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเร็วๆ นี้
ตอนนี้กระทรวงฯ ยังมั่นใจว่าไฮสปีดไทยจีน ระยะที่ 1 จะเปิดบริการในปี 2571 ตามแผน ส่วนสัญญางานก่อสร้างที่ยังติดปัญหาอยู่นั้น ทราบว่าส่วนของสัญญาที่ 4-1 ทางซีพี ซึ่งเป็นเอกชนร่วมทุนไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ยังคงยืนยันที่จะก่อสร้างงานโยธาพื้นที่ทับซ้อนนี้ และคาดว่าจะมีการเสนอแก้สัญญาร่วมทุนเข้า ครม.พิจารณาในเดือน เม.ย.นี้ ส่วนสัญญาที่ 4-5 ปัจจุบันยังรอการพิจารณาจากยูเนสโก
Unlocking 2 Obstacles for the 'Thai-Chinese High-Speed Rail,' Aiming for 'Bangkok - Korat' Launch in 2028
Source - Krungthep Thurakij Online
Saturday, February 8, 2025 06:10
The "Ministry of Transport" aims to unlock two obstacles in the construction of the "Thai-Chinese high-speed rail" project along the Bangkok - Nakhon Ratchasima route, following its target to open services by 2028. It acknowledges that one of the problems is the overlapping structure with the "Three-Airport High-Speed Rail" project in the Bang Sue - Don Mueang section, and they are awaiting "CP" to amend the contract to proceed with construction.
By 2028, the government aims to launch the first high-speed train service in Thailand, under the Thai-Chinese cooperation project to develop the Bangkok - Nong Khai high-speed train. Currently, it is under construction in Phase 1, the Bangkok - Nakhon Ratchasima section, approximately 253 kilometers long, with a budget of 179,413 million baht.
The government is responsible for the project's expenses, with a project duration of 4 years (fiscal years 2017 - 2020). Currently, Phase 1 of the project is behind schedule, with an overall progress of 35.74%, but they remain confident that they can expedite the service launch as planned.
As for Phase 2 of the project, the Nakhon Ratchasima - Nong Khai section, spanning 357.12 kilometers with a construction budget of 341,351.42 million baht, the Cabinet approved its construction on February 4, 2025. The State Railway of Thailand (SRT) will immediately begin preparing bidding documents to find contractors. It is expected that bidding can be opened in June 2025 to start construction and expedite the project's completion and service launch in 2031.
However, under the aforementioned operations, it was found that there are still two obstacles that will affect the service launch target as the government expects. Currently, the Thai-Chinese high-speed rail project, Phase 1, Bangkok - Nakhon Ratchasima section, still has two contracts that cannot start construction out of a total of 14 contracts. These obstacles are still the result of external factors that cannot be controlled, including:
Contract 4-1, Bang Sue - Don Mueang section, 15.21 kilometers long, with a budget of 9,207 million baht. Due to the construction in this section sharing structural space with the high-speed train project connecting three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, U-Tapao), the private sector partner for the project, namely the CP Group, will undertake the joint structure construction. However, as they are currently awaiting the amendment of the new joint venture contract, the construction of this section cannot yet proceed.
Contract 4-5, Ban Pho - Phra Kaeo section, 13.30 kilometers long, with a budget of 9,913 million baht. The construction of this contract is currently facing issues regarding the impact assessment of the World Heritage site of the Historic City of Ayutthaya, which is linked to the Ayutthaya high-speed rail station. Most recently, in January, experts from the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization or UNESCO conducted an area survey of the impact. Therefore, they have to wait for the results of the consideration from UNESCO.
"Suriya Jungrungreangkit," Deputy Prime Minister and Minister of Transport, revealed that the ministry remains confident that the Thai-Chinese high-speed train will begin service as targeted in 2028, even though the Phase 1 construction work has not yet been able to start construction on two contracts, namely Contract 4-1, Bang Sue - Don Mueang section, and Contract 4-5, Ban Pho - Phra Kaeo section. But it is believed that they will be able to resolve the problems and start construction soon.
"Currently, the ministry remains confident that the Thai-Chinese high-speed rail Phase 1 will open service in 2028 as planned. As for the construction contracts that are still facing problems, it is understood that for Contract 4-1, CP, which is a private joint venture partner for the high-speed rail linking three airports, still confirms that they will construct the overlapping civil works area. It is expected that the proposal to amend the joint venture contract will be submitted to the Cabinet for consideration in April. As for Contract 4-5, it is currently awaiting consideration from UNESCO," he said.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/02/2025 9:03 am Post subject:
ไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 ดันหนี้สาธารณะพุ่ง คลัง แนะเร่ง PPP ทำแผนบริหารความเสี่ยง
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sunday, February 09, 2025 07:25
โครงการรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 2 วงเงินก่อสร้าง 341,351.42 ล้านบาท ผ่าน ครม. การจัดสรรงบประมาณและแหล่งเงินทุนกระทรวงการคลังจะจัดหาแหล่งเงินกู้ให้การรถไฟฯ (รฟท.) กู้เงินและค้ำประกัน กระทรวงการคลังกังวลว่าหนี้จะทะลุเพดาน 70% แนะเร่งทำแผน PPP
โครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพ - หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 341,351.42 ล้านบาท ถือเป็นโครงการสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างไทยและจีน โดยโครงการนี้เริ่มต้นในระยะที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2560 โดยประเทศไทยตัดสินใจที่จะดำเนินการก่อสร้างโดยใช้งบประมาณและเงินกู้ของไทยเอง แต่ในส่วนของเทคโนโลยีเราจะใช้จากจีน โดยจีนซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศที่มีการสร้างรถไฟความเร็วสูงลำดับต้นๆของโลกมีข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทย
ในการอนุมัติโครงการของ ครม.วงเงินในการลงทุนในโครงการนี้ในส่วนของภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้นให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และหรือกระทรวงการคลัง จัดหาแหล่งเงินกู้และค้าประกันเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม โดยให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับการชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินให้กับ รฟท.เพื่อดำเนินโครงการนี้ต่อไป
### รัฐรับภาระค่างานโยธา-ค่าเวนคืน
ทั้งนี้สำนักงบประมาณได้แจกแจงรายละเอียดของโครงการดังกล่าวแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการด้านต่างๆได้แก่
1.ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าชดเชยทรัพย์สิน จำนวน 12,418.61 ล้านบาท โดยให้ในส่วนนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระโดยให้ รฟท.ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความเหมาะสม
2.ค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจ้างที่ปรึกษาในการควบคุมงาน และรับรองระบบ ค่าลงทุนระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และค่าลงทุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ และรถจักร ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงินรวม 328,932.81 ล้านบาท ให้ รฟท.เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรานจ่ายประจำปีสำหรับการชำระคืนเงินต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน เฉพาะในส่วนของค่าโครงสร้างพื้นฐาน ที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระ ได้แก่ค่าก่อสร้างงานโยธา และค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุม และรับรองระบบ วงเงิน 247,619.76 ล้านบาท
3.ส่วนที่เหลือจากข้อที่ 2 ที่เป็นค่าลงทุนระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล และค่าลงทุนเครื่องมือ /อุปกรณ์ และรถจักรศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย วงเงิน 81,313.05 ล้านบาท ให้ รฟท.เป็นผู้รับภาระโครงการและเป็นผู้กู้เงินในส่วนนี้
### ผลตอบแทนเศรษฐกิจสูงแต่ผลตอบแทนการเงินต่ำ
ทั้งนี้จากภาระการจัดหาแหล่งเงินกู้และการค้ำประกันเงินกู้ที่ ครม.มอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการ ทำให้กระทรวงการคลังได้มีความเห็นเสนอต่อที่ประชุม ครม.ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 กทม.-หนองคาย ช่วงโคราช หนองคาย นั้นจากผลการศึกษากระทรวงการคลังพบว่าโครงการฯระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานเพื่อประสาธารณะที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงคืออยู่ที่ประมาณ 12% เมื่อสามารถเปิดให้บริการเชื่อมโยงจาก กทม.ไปถึงหนองคาย และไปยัง สปป.ลาว แต่โครงการนี้มีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ต่ำ จึงเห็นควรให้รัฐบาลรับภาระการลงทุนค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมให้ รฟท. กู้ต่อและ รฟท. รับภาระการลงทุนค่างานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล และงานจัดหาตู้รถไฟฟ้า โดย รฟท. กู้เงินและกระทรวงการคลังค้ำประกัน
อย่างไรก็ดี โครงการฯ ระยะที่ 2 จำเป็นต้องใช้เงินกู้ ในการดำเนินโครงการเป็นจำนวนมากประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในช่วงเวลาเดียวกันหลายโครงการ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2จำนวน 6 สายทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่จะใช้ในการดำเนินโครงการอื่น ๆ มีจำกัดและอาจทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเข้าใกล้กรอบ 70% ซึ่งเกินกว่าที่พระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 กำหนด
ดังนั้น จึงเห็นควรให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาลงทุนในโครงการที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนเป็นลำดับแรก รวมถึงกำกับให้ รฟท. ดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของ รฟท. ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฯ ระยะที่ 1 ที่มีผลการดำเนินงานที่ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เป็นอย่างมากเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ สามารถเปิดให้บริการได้ตามเป้าหมายและเป็นไปตามสมมติฐานของอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ในการพัฒนาโครงการฯ และป้องกันความเสี่ยงของต้นทุนโครงการฯที่รัฐต้องรับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นด้วย ตลอดจนเห็นควรให้ รฟท. เร่งศึกษารูปแบบการให้เอกขนเดินรถช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา - หนองคายตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกขนพ.ศ.2562 ให้แล้วเสร็จทันแผนการให้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ระยะที่ 1 และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงสำหรับการจัดหาผู้เดินรถกรณีที่ผลศึกษารูปแบบการให้เอกขนร่วมลงทุนยังไม่แล้วเสร็จ
### แนะคาดการณ์ผู้โดยสารคิดถึงปัจจัยประชากร
นอจากนั้นเนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ระยะที่ 2 มีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการเพื่อช่วยส่งเสริมมูลค่าทางการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกับโครงการฯ ระยะที่ 1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลโครงการฯ ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอในครั้งนี้ ยังไม่ปรากฏข้อมูลสมมติฐานที่สำคัญเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเช่น สมมติฐานการประมาณการปริมาณผู้โดยสารรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการบำรุงรักษาเป็นต้น
โดย รฟท. ควรพิจารณาถึงแนวโน้มประชากรที่ลดลงในอนาคตมาพิจารณาประกอบการประมาณการจำนวนผู้โดยสารและพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการภายใต้กรอบวงเงินโครงการให้เหมาะสม สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารและความต้องการใช้จริง รวมทั้งคมนาคมควรกำกับและติดตามให้ รฟท. จัดทำรายละเอียดข้อมูลโครงการให้ครบถ้วน และทบทวนประมาณการและสมติฐานปริมาณผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้าให้มีความสอดคล้องกับแผนการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 2570 และสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ตลอดจนกำหนดแผนการบริหารความเสียงในกรณีที่ผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ประมาณการไว้
### เร่งสะพานไทย-ลาว-เวียงจันท์แห่งที่ 2
รวมทั้งการก่อสร้างและการเปิดให้บริการของโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว หนองคาย - เวียงจันท์แห่งที่ 2 จังหวัดหนองคาย และโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทานับเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งกำหนดความสำเร็จของโครงการฯ ระยะที่ 2 และเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงกว้าง ตลอดจนลดความเสี่ยงที่ระดับหนี้สาธารณะเกินกว่ากรอบที่ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 กำหนด จึงเห็นควรให้ คมนาคม และ รฟท. เร่งรัดแผนก่อสร้างโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว หนองคาย - เวียงจันทน์แห่งที่ 2 และโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ให้สอดล้องกับแผนการเปิดให้บริการโครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อให้การเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีนสามารถเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์และรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลเร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 เส้นทางกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Feb 9, 2025 ข่าวเด่นประจำวัน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
รัฐบาลเร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 เส้นทางกรุงเทพมหานคร-หนองคาย พร้อมเตรียมขยายเส้นทางสู่ลาวและจีน รองรับการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวในอนาคต
https://www.youtube.com/watch?v=hQUo63bj16Q
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/02/2025 8:56 am Post subject:
R-Mapรถไฟ-ไฮสปีด1.3ล้านล้าน โรดแม็ปฉบับใหม่ประเทศไทย | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Tuesday, February 11, 2025 08:27
โรดแม็ปฉบับใหม่ของประเทศไทย ชื่อ R-Mapรถไฟ+ไฮสปีด อายุ 10 ปี งบลงทุน 1.38ล้านล้านบาท ด้วยเป้าหมายเพิ่มโครงข่าย 3,427กม. เป็น 7,471 กม...จะเป็นได้แค่แผนที่..หรือพลังขับเคลื่อน...คำถามที่ไร้คำตอบ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/4381452/
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/02/2025 10:19 am Post subject:
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-3 งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ
11 ก.พ. 68
ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ เดือนมกราคม 2568
https://fb.watch/xGuPyPH3Br/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Posted: 11/02/2025 1:53 pm Post subject:
ขอแบบรถไฟความเร็วสูงสร้างถนนคู่ขนาน
Bykazzy
7 กุมภาพันธ์ 2568
รองผู้ว่าอุดรฯนำจับเข่าคุย รฟท. ขอสร้างถนนคู่ขนานทางรถไฟ 1.89 กม. เชื่อมกับถนน ทต.หนองขอนกว้าง 0.48 กม.ให้ชาวบ้านอ้อมนิคมอุตสาหกรรม แต่ต้องพบร่างแบบรถไฟความเร็วสูง ทางรถไฟยกระดับลดถึงพื้นพอดี เร่งเดินหน้าหาทางออก ยื่นยันสร้างถนนคู่ขนานทางรถไฟ หนองตะไก้-ทล.216 ขอแบบรายละเอียดทางรถไฟยกระดับ เมื่อได้ผู้รับเหมานัดคุย
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 นายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมและลงพื้นที่ หารือแนวทางโครงการก่อสร้างถนนคู่ขนานทางรถไฟ (Local Road) ช่วงสถานีรถไฟหนองตะไก้-ทางหลวง 216 (ถนนวงแหวน) อ.เมือง จ.อุดรธานี ที่ห้องประชุม และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ต.โนนสูง อ.เมือง มีหน่วยงานราชการ-องค์กรปกครองท้องถิ่นเกี่ยวข้อง , ตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย , ประธานหอการค้าภาคอีสาน , ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี และประธานกรรมการ บ.เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรายงานว่า โครงการถนนคู่ขนานทางรถไฟ (Local Road) ช่วงสถานีรถไฟหนองตะไก้-ทางหลวง 216 (ถนนวงแหวน) เดิมเสนอผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) อุดรธานี จะมีต่อไปในช่วง ทน.อุดรธานี เข้าสูงการประชุม ครม.สัญจรที่ จ.หนองคาย แต่จากการประชุมในเขต ทน.อุดรธานี ติดปัญหาพื้นที่บริเวณโรงปูน TPI จึงตัดส่วนในเขต ทน.อุดรธานี ออกไปก่อน และจากการประชุมร่วมหลายครั้ง ได้สรุปให้เสนอเรื่องเข้าไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตอบว่า ทั้งโครงการรถไฟทางคู่ ที่กำลังจะก่อสร้างเร็วๆนี้ และรถไฟความเร็วสูง ที่จะได้ผู้รับจ้างป ลายปีนี้ ไม่มีแผนงานการสร้าง Local Road
การประชุมรายงานด้วยว่า ระหว่างนั้นอุดรธานีได้ใช้งบยุทธศาสตร์ ก่อสร้างถนนคอนกรีต 2 ช่องจราจร จากทางพาดรถไฟทิศเหนือสถานีรถไฟหนองตะไก้ ระยะทาง 1 กม. ผ่านพื้นที่ชาวบ้านไปจนถึงทางเข้าของ อาคารแวร์เฮ้าส์ ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นการนำร่องแต่ไม่ได้สร้างต่อ ทำให้มีการประชุมครั้งนี้เพื่อสานต่อ โดยเป็นข้อเสนอของ ทต.หนองขอนกว้าง และนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เพื่อลดความเดือดร้อนประชาชน ที่ต้องเดินทางผ่านข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ด้วยการสร้างถนนใหม่อ้อมนิคมอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ถนนจากประตูนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี-ทางรถไฟ ระยะทาง 484 ม. (ที่ดินอุทิศ) ส่วนที่สอง สร้างถนน Local Road ต่อไปถึงถนน Local Road ที่สร้างไว้แล้ว ระยะทาง 1,892 ม. เมื่อสร้างเสร็จจะทำให้ประชาชนเดินทางระหว่าง สถานีรถไฟหนองตะไก้ กับบ้านโคกนาคลอง โดยไม่ผ่านนิคมฯ
ผู้แทนและที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย รายงานว่า รถไฟทางคู่จะอยู่ด้านตะวันตก ผู้รับเหมาจะเข้าทำงานราว เม.ย.68 ไม่มีผลกระทบกับโครงการนี้ สำหรับรถไฟความเร็วสูงอยู่ด้านตะวันออก จะได้ผู้รับจ้างปลายปี 2568 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับโครงการชัดเจน โดยจะเป็นทางยกระดับข้ามสถานีรถไฟหนองตะไก้ แล้วมาลงบริเวณปลายโครงการพอดี ตอนยกขึ้นสูงไม่มีปัญหาถนนอยู่ข้างล่างได้ แต่ช่วงทางยกระดับลดต่ำลง จะบีบให้เหลือพื้นที่ถนนน้อยมาก นอกจากนี้ระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องใช้พื้นที่ทั้งหมด รวมทั้งถนน Local Road 1 กม.ที่สร้างไว้แล้ว ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอแนวทางทำงาน ตามรูปแบบของพื้นที่ศาลเจ้าปู่-ย่า และตามรูปแบบของทางพาดรถไฟ สถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี ที่จะนำเอาแบบแปลนมาพิจารณา ว่าจุดก่อสร้างตอม่ออยู่ตรงไหน แล้วจะสามารถสร้างถนนลอดได้จุดไหนบ้าง โครงการที่ประชุมในวันนี้ก็น่าจะใช้รูปแบบนั้นได้ แต่ที่ประชุมไม่สามารถนำแบบแปลนละเอียดมานำเสนอได้
นายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวสรุปว่า
1.ให้สำนักงาน จ.อุดรธานี แจ้งการขับเคลื่อนโครงการถนน Local Road ช่วงสถานีรถไฟหนองตะไก้-ทางหลวง 216 (ถนนวงแหวน) ไปยังผู้รับผิดชอบว่าทำอะไรไปบ้าง เราจะได้ขับเคลื่อนต่อไปในส่วนนั้น ,
2. ให้สำนักงานจังหวัดฯ ทำเรื่องขอแบบแปลนทางรถไฟความเร็วสูงจาก รฟท. เหมือนที่เคยขอกรณีหนองแด เพื่อเราจะได้มาวางแผนเบื้องต้น ,
3.ให้ที่ประชุม กรอ.อุดรธานี ยืนยันเสนอโครงการถนน Local Road ,
4.เมื่อได้ผู้รับจ้างรถไฟความเร็วสูง ให้นัดหมายมาพูดคุยกันเพื่อหาทาง ,
5.ให้ ทต.หนองขอนกว้าง ประมาณการออกแบบถนน 484 เมตร ให้พร้อมในการบรรจุแผนจัดงบประมาณ
https://udontoday.co/070268/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/02/2025 9:49 pm Post subject:
คืบหน้ามากแล้ว จุดเริ่มต้นงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในสัญญาที่ 3-4 ลำตะคอง-สีคิ้ว กุดจิก-โคกรวด
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Feb 11, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=f-k32_CdCTo
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48223
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/02/2025 8:23 pm Post subject:
ส่องชัดๆ รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง?
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
Wednesday, February 12, 2025 14:57
## รถไฟเชื่อมสามสนามบินเป็นรถไฟความเร็วสูงที่ตั้งเป้าเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2572 เชื่อมต่อ 3 สนามบินคือท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ผ่าน 9 สถานี ใน 5 จังหวัด มีที่ไหนบ้างไปดูกันชัดๆ
ส่อง 9 สถานีใน 3 สนามบินมีที่ไหนบ้าง
"รถไฟฟ้าความเร็วสูง" หรือ "ไฮสปีดเทรน" (ที่จะเริ่มต้นการก่อสร้างในเดือนเมษายน 2568 นี้) จะวิ่งเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านสถานีหลักๆ บนเส้นทางรวมทั้งหมด 9 สถานีรถไฟความเร็วสูงใน 5 จังหวัด เริ่มต้นจากสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สิ้นสุดที่สนามบินอู่ตะเภา รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร และหากวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะเวลาเดินทางทั้งหมดราว 60 นาที
> ผ่าน 5 จังหวัด กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
เป็นเส้นทางรถไฟทางคู่ (เชื่อม 3 ท่าเรือ) และรถไฟฟ้าความเร็วสูง เริ่มต้นจาก 1. สถานีดอนเมืองเป็นสถานีแรกต่อด้วย 2. สถานีบางซื่อ และ 3. สถานีมักกะสัน จุดเชื่อมต่อสำคัญกับเส้นทางรถไฟฟ้าในเมือง (พญาไท และราชปรารภ และช่วงรามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้างและลาดกระบัง) ก่อนข้ามกรุงเทพฯ เลี้ยวขวาเข้าสู่ 4. สถานีสุวรรณภูมิ (สมุทรปราการ) เป็นอันผ่านไปแล้วสองสนามบิน ก่อนข้ามไปยัง 5. สถานีฉะเชิงเทรา ผ่านแม่น้ำบางปะกงต่อเนื่องไปจนถึง 6. สถานีชลบุรี ต่อด้วย 7. สถานีศรีราชา ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้จากสถานีนี้
ก่อนเดินทางต่อไปยัง 8. สถานีพัทยา จากนั้นรถไฟจะลอดอุโมงค์ช่วงเขาชีจรรย์ ก่อนจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ปลายทางสุดท้ายสถานีที่ 9. สถานีอู่ตะเภา ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังท่าเรือสัตหีบและสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (ตั้งเป้าเปิดให้บริการในปี 2571) และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระยะ 3 เปิดให้บริการปี 2569) เป็นอันครบจบ 3 สนามบินในระยะเวลา 60 นาที
สรุป
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง
ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่
รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี (รวม 9 สถานี) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด (ตามภาพ) โดยใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)
แนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ
โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง
โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ
ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร
โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1 ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร
2 ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
3 ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
ขอบคุณข้อมูลจาก EEC และ การรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.posttoday.com/smart-city/719493
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group