Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Posted: 21/02/2025 9:43 am Post subject:
20 กุมภาพันธ์ 2568
ความคืบหน้าสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี
บริเวณทางเลี่ยงเมืองสระบุรี มี 4 ชั้น เป็นส่วนหนึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร -นครราชสีมา สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย และรองรับการเชื่อมต่อรถไฟทางไกลที่ชั้นล่าง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=477493885435106&id=100095234953794&locale=th_TH
ภาพแสดงโครสร้างอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูง สระบุรี บริเวณด้านหน้าอาคาร
มีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ทางเข้าสถานีรถไฟความเร็วสูง และชานชาลารถไฟทางไกล
ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตัว และเปลี่ยนถ่าย ผู้โดยสาร
ชั้นที่ 3 พื้นที่พักคอย ผู้โดยสารรถไฟ ความเร็วสูง
ชั้นที่ 4 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/groups/164027930945387/posts/1529385787742921/?locale=th_TH
Mongwin wrote: งานช้างอีกแล้ว
งานก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรีและสถานีรถไฟสระบุรีแห่งใหม่สุดยิ่งใหญ่อลังการ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Feb 15, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=WcANJbO4hBE
การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรีและสถานีรถไฟห่างไกลสระบุรีแห่งใหม่
เป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 12.99 กิโลเมตร ยกข้ามเมืองสระบุรีนี้ก็็เพื่อลดปัญหาการจราจรในเมืองสระบุรี
และการระบายน้ำ ในอนาคตที่สถานีรถไฟสระบุรีแห่งใหม่นี้ จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางได้เป็นอย่างดี 
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 21/02/2025 11:49 am Post subject:
สปีดเทรน-อู่ตะเภาคืบ
Source - เดลินิวส์
Friday, February 21, 2025 08:05
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเมืองการบินที่อู่ตะเภา ว่า ภายในกลางปี 68 นี้ การก่อสร้างโครงสร้างสนามบินอู่ตะเภา ในส่วนของรันเวย์ที่ 2 และการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน จะสามารถเริ่มดำเนินการได้เป็นรูปธรรม โดยจะสามารถออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานหรือเอ็นทีพี ได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยโครงการสนามบินอู่ตะเภาสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องรอ โครงการไฮสปีดเทรน แต่อย่างใด
ขณะเดียวกันในเรื่องของการลงทุนในอีอีซี นั้น ยังเชื่อว่าไทยจะได้อานิสงส์อย่างมากจากการย้ายฐานการผลิตของจีน ซึ่งไทยจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือสำคัญในการดึงการลงทุนเข้ามาและรักษานักลงทุนรายเก่าเอาไว้ ไม่ให้หนีไทยไปลงทุนที่อื่น ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้สิงคโปร์และเวียดนามถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ดังนั้นไทยจึงต้องมีแต้มต่อเครื่องมือสำคัญ ทั้งพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน แรงงานที่พร้อมในอุตสาหกรรมไฮเทค เช่น วิศวกรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และแรงงานด้านบริการ ระบบการขนส่งซึ่งรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค นอกจากนี้ ไทยจะต้องปรับกฎระเบียบ ขั้นตอนการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น หรือการใช้ Ease of
อย่างไรก็ตามยังเน้นไปที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้ง 12 อุตสาหกรรม คาดได้เห็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ยานยนต์ การแพทย์ เป็นต้น.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 ก.พ. 2568 (กรอบบ่าย)
High-Speed Train U-Tapao Progressing
Source: Daily News
Friday, February 21, 2025, 08:05
Mr. Chula Sukmanop, Secretary-General of the Eastern Economic Corridor (EEC) Policy Committee, provided an update on the progress of the Aviation City project at U-Tapao. He stated that by mid-2025, the construction of U-Tapao Airports infrastructure, including the second runway and the high-speed train project connecting the three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, and U-Tapao), will take concrete steps forward. The Notice to Proceed (NTP) is expected to be issued in April. The U-Tapao Airport project can proceed independently without waiting for the high-speed train project.
Regarding investment in the EEC, Thailand is expected to benefit significantly from the relocation of Chinese manufacturing bases. To attract new investments and retain existing investors, Thailand must develop key competitive advantages. Currently, Singapore and Vietnam are strong competitors, making it essential for Thailand to enhance its strategic position. This includes clearly defined target areas, a skilled workforce in high-tech industries (such as electrical and electronics engineers and service sector workers), and a well-developed transportation system, including infrastructure and utilities. Additionally, regulatory processes, such as permit applications, must be simplified to improve ease of doing business.
The focus remains on 12 target industries, with expected growth in sectors such as electronics, semiconductors, data centers, automotive, and medical industries.
Source: Daily News, February 22, 2025 (Afternoon Edition)
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 22/02/2025 11:12 am Post subject:
EECมั่นใจกลางปีขึ้น2โปรเจ็กต์ ลุยรันเวย์2อู่ตะเภา-รถไฟเชื่อม3สนามบิน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, February 22, 2025 06:15
เลขาฯ EEC ฉายภาพอาเซียนแข่งกัน ดึงต่างชาติเข้าลงทุน ชี้ไทยเจอเวียดนาม อินโดฯ ฟิลิปปินส์บี้หนัก งัดกลยุทธ์จีบรายตัว ให้สิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน โชว์ผลงาน 7 ปีกวาดเงินแล้ว 1.8 ล้านล้าน มั่นใจกลางปีนี้ได้ขึ้นแน่โครงการสร้างรันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC กล่าวภายในงานสัมมนา Matichon Leadership Forum 2025 : Trust Thailand เชื่อมั่นประเทศไทย หัวข้อ "เชื่อมั่น ลงทุนไทย" ว่า แนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าการเติบโตการลงทุนมีมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังโควิดเป็นต้นมา ขณะนี้แต่ละประเทศต่างเร่งมือที่จะนำเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ดึงดูดการลงทุนเพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มอาเซียนนั้น สิงคโปร์เป็นประเทศที่ใช้กลยุทธ์ดึงดูดการลงทุนได้เก่งและดีที่สุด รองลงมาคือ อินโดนีเซีย และเวียดนามกับฟิลิปปินส์ เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวและพยายามจะชนะไทย
เล็งคุยให้สิทธิประโยชน์รายตัว
ดังนั้น ไทยจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยเช่นกัน คือ การเจรจากับนักลงทุนเป็นรายบริษัท รายโครงการ และต้องผ่านการตอบคำถาม 13 ข้อหลัก เพื่อที่จะให้รู้ถึงเป้าหมายการลงทุน การใช้ทรัพยากรในประเทศ วัตถุดิบจากแหล่งใด ซัพพลายเชนคือใคร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงทำให้แผนการลงทุนมีความชัดเจน แต่ยังทำให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงหรือหาพาร์ตเนอร์ ซัพพลายเออร์รายเล็ก เพื่อเข้าไปสู่การเป็นซัพพลายเชนของโครงการนั้น ๆ ได้ด้วย เมื่อเห็นความชัดเจนจะนำมาด้วยการแลกกับเงื่อนไขที่จะได้ตามที่สิทธิประโยชน์ของ EEC กำหนดไว้ ดังนั้น นักลงทุนแต่ละรายแม้ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ได้สิทธิประโยชน์ไม่เหมือนกัน
"เราดูจากประเทศที่เก่ง ๆ ส่วนใหญ่มีรัฐบาลกลางดูแลการลงทุนทั้งประเทศ และจะเป็นหน่วยเฉพาะไว้เจรจากับนักลงทุนแต่ละรายคล้ายกับ EEC และรัฐบาลประกาศโซนพิเศษ เตรียมปัจจัยเพื่อดึงดูดนักลงทุน ตอนนี้มีนักลงทุนที่คุยและรอสิทธิประโยชน์จากเราเหลือ 11 ราย จาก 12 ราย เงินลงทุน 135,000 ล้านบาท หายไป 1 ราย มูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท เป็นอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน เขารอไม่ไหวจึงต้องไปขอรับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แทน"
นอกจากสิทธิประโยชน์ที่ดึงการลงทุนใหม่แล้ว EEC ยังเตรียมแพ็กเกจที่เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนรายเก่าที่ตั้งฐานการผลิตในไทยมานาน 20-30 ปี ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้จำเป็นต้องลงทุนซ้ำครั้งใหญ่เพื่อให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ เช่น ความยั่งยืน และ Green ซึ่งแพ็กเกจดังกล่าวจะเป็นการดึงให้รายเก่ายังคงปักหลักลงทุนไทยต่อรีบตัดสินใจลงทุนใหม่ และย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น
รถไฟเชื่อม 3 สนามบินเริ่ม เม.ย.
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายปี 2568 จะยังคงมุ่งที่ 12 อุตสาหกรรม (S-Curve) ซึ่งก็อาจจะเห็นมากที่สุดตามเทรนด์ของปี 2567 ที่ผ่านมา คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ยานยนต์ สมัยใหม่ โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้มียอดขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอมากที่สุด ในอนาคตจะมีกลุ่มการแพทย์และสุขภาพ โดยเฉพาะการบริการเกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงวัย BCG รีโซเคิล และพลังงานสะอาดจะเข้ามามากขึ้น นอกจากอุตสาหกรรมที่พร้อมจะเห็นการลงทุนแล้ว สำหรับโครงการใหญ่ที่จะเริ่มก่อสร้างใน EEC ช่วงกลางปี 2568 จำนวน 2 โครงการคือ 1.การก่อสร้างโครงการสนามบินอู่ตะเภา ในส่วนของรันเวย์ที่ 2 และ 2.การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 โครงการนี้จะสามารถออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ในช่วงเดือนเมษายน 2568
โชว์ 7 ปีดึงเม็ดเงิน 1.8 ล้าน ล.
ทั้งนี้ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา (2561-2568) EEC สามารถดึงเงินลงทุนเข้ามาในพื้นที่ได้สูงถึง 1,823,805 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของการลงทุนทั้งประเทศ โดยจีนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ตามด้วยญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐ
"สิ่งที่เราต้องเตรียมตอนนี้คือ สิทธิประโยชน์ คนที่ใช้ในอุตสาหกรรมขั้นสูง โดยเฉพาะวิศวกรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คนที่ใช้สกิลมาบังคับหุ่นยนต์ คนด้านบริการ เตรียมพื้นที่ที่เป็นเขตส่งเสริม เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่น การแปลงสนามกอล์ฟทำเวลเนส เตรียมเรื่องน้ำและพลังงานสะอาด ช่วง 1-2 ปีนี้ เราจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์หนักเพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ เพราะหมดรอบ 1-2 ปีนี้ แล้ว การลงทุนเราจะหายไป 20 ปี เพราะในแง่ของการลงทุนเมื่อใครตัดสินใจลงทุนในที่ใดที่หนึ่งแล้วจะอยู่ยาว หากรอบนี้เราไม่เร่งดึงเขาเข้ามา เราก็จะไม่ทัน"
บรรยายใต้ภาพ
รอลุ้น เม.ย.นี้ - โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224,000 ล้านบาท ซึ่ง บริษัท เอเซีย เอรา วัน จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 26 ก.พ. 2568
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/02/2025 5:25 pm Post subject:
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และ ช่วงกุดจิก-โคกกรวด
·
วิดีทัศน์ความก้าวหน้างาน ประจำเดือน มกราคม 2568
https://fb.watch/x_FoWYVyEZ/
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/02/2025 7:18 pm Post subject:
ปัญหา-อุปสรรค ความล่าช้ารถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย
ไทยโพสต์ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14:53 น.
เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง หลังจากเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ด้วยกรอบวงเงินลงทุนกว่า 341,351.42 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 2575 โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมในภูมิภาคอาเซียนและจีน ซึ่งจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ร่วมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการฯ ที่จะได้รับการยกระดับและพัฒนาด้วย
แต่ความท้าทายคงต้องถอดบทเรียนจากโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร ซึ่งมีวงเงินลงทุนกว่า 179,000 ล้านบาท ยังคงเผชิญกับปัญหาความล่าช้า แม้จะเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2560 แต่จนถึงปัจจุบันกลับคืบหน้าเพียง 40% ล่าช้าจากแผนงานถึง 42% หรือรวมเวลากว่า 7 ปี ปัญหานี้สะท้อนถึงความซับซ้อนในการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น
อีกประเด็นสำคัญ คือการจัดการชุมชนริมทางรถไฟให้ได้รับที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับนักวิจัยกลุ่มประเทศแม่โขง-ล้านช้าง ประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีการวิจัยภายใต้ โครงการ ผลกระทบของรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย ตามยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่มุ่งเน้นการศึกษาด้านความร่วมมือทางสังคมและการดำรงชีพของประชาชนในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็งสูง
รศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ม.ขอนแก่น กล่าวว่าโครงการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสามประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกัน โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ในปีที่ 1 2567 มุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูง ปีที่ 2 2568 ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมเส้นทางรถไฟความเร็วสูง และปีที่ 3 2569 เน้นการศึกษาการพัฒนาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนและความร่วมมือทางสังคม การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนผลการวิจัยในปีที่ 2 โดยเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบต่อประชาชนริมเส้นทางรถไฟเดิมที่เกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างประเทศไทยกับจีน-ลาว
รศ.ดร.ธนพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ในกรณีของจีน-ลาว ซึ่งได้เปิดใช้งานเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนครเวียงจันทน์คุนหมิงแล้ว พบว่ามีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างชัดเจน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการในทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จ คือ ความคล้ายคลึงกันของระบอบการปกครองที่เอื้อต่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมให้กับประชาชน จากการลงพื้นที่ในจีนพบว่าการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟมีการย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ริมเส้นทางระหว่างการก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนจะถูกย้ายกลับมาโดยมีที่อยู่อาศัยและตำแหน่งงานรองรับเป็นการชดเชยที่เหมาะสมและประชาชนพึงพอใจ จึงไม่เกิดการต่อต้าน รวมถึงในลาวที่ประชาชนมีความเห็นในเชิงบวก เพราะการมีรถไฟความเร็วสูง ช่วยให้เกิดโอกาสในการเข้าถึงตำแหน่งงานในภาคการท่องเที่ยว และกระจายผลผลิตได้มากขึ้น
ผลวิจัยรถไฟความเร็วสูงของจีน
ในกรณีของประเทศไทย รศ.ดร.ธนพฤกษ์ มีมุมมองว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงยังคงเป็นเพียงจินตนาการ เนื่องจากอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยระยะที่ 1 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2571 ตามแผนที่กรมการขนส่งทางรางระบุไว้ และในระยะที่ 2 อยู่ในระหว่างการก่อสร้างควบคู่ไปกับระยะที่ 1 อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของโครงการยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน หนึ่งในปัญหาสำคัญที่อาจทำให้การก่อสร้างล่าช้าคือประเด็นเกี่ยวกับประชาชนริมทางรถไฟ แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่คัดค้านโครงการ แต่ประชาชนบางส่วนที่เช่าพื้นที่ของการรถไฟฯ ในรัศมี 40 เมตรจากแนวเส้นทาง ซึ่งเป็นเขตที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้าง จำเป็นต้องย้ายออกจากพื้นที่ ดังนั้นภาครัฐจะต้องจัดสรรทางเลือกที่เหมาะสมในการรองรับประชาชนกลุ่มนี้
จากการวิจัยในพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟ จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมกว่า 10 ชุมชน จำนวนประมาณ 400-500 ครัวเรือน พบว่า ในจังหวัดนครราชสีมา ชุมชนริมทางรถไฟส่วนใหญ่ได้ถูกย้ายออกไปเกือบหมดแล้ว ขณะที่ในจังหวัดขอนแก่น ยังคงมีชุมชนกว่า 100 ครัวเรือนอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาพื้นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เนื่องจากบางครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย หากย้ายไปอยู่ไกลจากตัวเมืองมากเกินไป อาจไม่สะดวกต่อการเดินทาง ดังนั้นภาครัฐจึงต้องหาแนวทางในการจัดสรรพื้นที่อย่างเหมาะสม ค่าชดเชย เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมถึงไม่เกิดสถานการณ์คนไร้บ้านหรือรายได้ของชาวบ้าน รวมถึงในเมืองเล็กๆ อย่าง ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อาจจะเป็นเพียงจุดผ่านที่ต้องหาแนวทางในการเติบโตไปพร้อมกับเมืองใหญ่ด้วย อย่างไรก็ตามการมีรถไฟความเร็วสูงจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่จะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และสนับสนุนการขยายตัวของเมืองต่อไป รศ.ดร.ธนพฤกษ์ กล่าว
Prof. Tian Qian, PhD Yunnan Minzu University นักวิจัยจีน กล่าวว่า โครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายรถไฟแห่งเอเชีย ถือเป็นโครงการหลักภายใต้ยุทธศาสตร์ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โครงการนี้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานระหว่างจีนกับคาบสมุทรอินโดจีนอย่างมีประสิทธิภาพ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไม่เพียงแสดงถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงสังคมอย่างยั่งยืน
Prof. Tian Qian กล่าวต่อว่า โมเดลความร่วมมือระหว่างรัฐบาล วิสาหกิจ และประชาชนที่นำมาใช้ในโครงการนี้ ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จให้กับโครงการขนาดใหญ่ในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้พื้นที่การวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงการประกอบด้วย เขตหยวนเจียง เมืองหยูซี, เทศมณฑลหนิงเออร์ เมืองปูเออร์, เทศมณฑลเม็งลา และเขตโมฮัน-โบเตน ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาได ซึ่งทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน นับตั้งแต่เปิดใช้งานเมื่อสามปีก่อน โครงการนี้ได้ขนส่งผู้โดยสารไปแล้วกว่า 43 ล้านคน และสินค้าทางรถไฟกว่า 48 ล้านตัน รวมถึงสินค้าข้ามพรมแดนกว่า 1.5 ล้านตัน
Prof. Tian Qian กล่าวถึงภาพร่วมของการมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนของรัฐบาล โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทยถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการวางแผนและดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศในระดับนานาชาติ บริษัทและองค์กร คาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยปัจจุบันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านการก่อสร้าง การผลิต โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่นๆ หลายแห่งประสบความสำเร็จในการเติบโตและพัฒนาธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งกำลังมองหาโอกาสในการร่วมมือใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเริ่มได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ นอกจากการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็วขึ้นแล้ว โครงสร้างพื้นฐานภายในชุมชนยังได้รับการพัฒนา ส่งผลให้พวกเขามีความคาดหวังในการยกระดับคุณภาพชีวิตและมีโอกาสในการพัฒนามากขึ้นในอนาคต
Lumngeune Souliyavong, PhD National University of Laos นักวิจัยลาว กล่าวว่า พื้นที่วิจัยและผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูง การวิจัยครอบคลุมพื้นที่ 3 แห่ง ตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ แขวงหลวงน้ำทา แขวงหลวงพระบาง และนครเวียงจันทน์ โดยแต่ละพื้นที่มีบทบาทและผลกระทบที่แตกต่างกัน โดยที่แขวงหลวงน้ำทา โครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยเสริมบทบาทในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เชื่อมโยงการค้าระหว่างไทย ลาว และจีน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าหลัก เช่น ยางพาราและมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ทางรถไฟยังเป็นตัวเร่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการขนส่งสินค้าและส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสามประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและค่าครองชีพที่อาจสูงขึ้น
Lumngeune กล่าวต่อว่า แขวงหลวงพระบาง รถไฟความเร็วสูงเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยธุรกิจท้องถิ่น เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และบริการขนส่ง จะเติบโตอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของการท่องเที่ยว ระบบคมนาคมที่ดีขึ้นจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัย และส่งเสริมโอกาสในการจ้างงาน ทำให้ชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และที่นครเวียงจันทน์ หากเส้นทางทั้ง 3 ประเทศเสร็จเรียบร้อย คาดว่ากลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์หลักที่เชื่อมโยงภูมิภาค ส่งเสริมศักยภาพทางการค้าและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญคือปัญหาสังคมและโครงสร้างพื้นฐานจากการเวนคืนที่ดิน ซึ่งผู้อยู่อาศัยบางส่วนคัดค้านการย้ายถิ่นฐานเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องค่าชดเชย ซึ่งได้มีการเจรจาหาข้อตกลงที่เหมาะสมให้กับประชาชน ทั้งนี้ระบบรถไฟจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระหว่างจังหวัดและการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/02/2025 7:37 pm Post subject:
'วีริศ'ผู้ว่าการรถไฟฯ เผยไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 คืบหน้าตามขั้นตอน
โพสต์ทูเดย์ 26 กุมภาพันธ์ 2568
"วีริศ อัมระปาล" ผู้ว่าการรถไฟฯ เผย รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ดำเนินตามขั้นตอน ตั้งคณะทำงานผสมผสานนักกฎหมาย-คนรถไฟ ร่วมรักษาผลประโยชน์องค์กร มุ่งเปลี่ยนภาพลักษณ์ รฟท.โปร่งใส เชื่อมั่นการจัดซื้อจัดจ้างรอบคอบ แม้ใช้เวลาเพิ่มแต่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ระยะที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ให้การรถไฟฯ ศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และเสนอขออนุมัติพร้อมกันกับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ทบทวนและปรับปรุงสมมติฐานที่ใช้ในการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไปตามขั้นตอน ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่ล่าช้านั้น ก็ได้สั่งการให้เร่งรัดดำเนินการแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสาเหตุเกิดจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เพราะติดปัญหาเวนคืนที่ดิน รวมถึงการรื้อย้ายท่อน้ำมัน
ที่ผ่านมา การรถไฟพยายามเร่งผลักดันโครงการสำคัญต่างๆ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยโครงการที่ผ่านบอร์ดการรถไฟฯ และได้รับอนุมัติโครงการแล้ว เช่น โครงการจัดหารถโดยสาร พร้อมอะไหล่ 182 คัน ทดแทนรถเดิมที่ใช้งานมากว่า 50 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ พร้อมอะไหล่ 184 คัน ทดแทนรถเดิมที่ใช้งานมากว่า 30 ปี เพื่อรองรับการขยายเส้นทางในโครงการก่อสร้างทางคู่ และทางรถไฟสายใหม่
นอกจากนี้ ยังมีการลงนาม บันทึกการดำเนินการด้านเทคนิคสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ระหว่างการรถไฟฯ และรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาวอีกด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียน
นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบแนวนโยบายว่า ขอให้ทุกกระทรวงควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความโปร่งใส สุจริต ยึดหลักกฎหมาย ไม่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด และขอให้ยึดผลประโยชน์ประเทศเป็นหลัก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงกำชับให้การรถไฟฯ ปฏิบัติตามแนวนโยบายของนายกฯ อย่างเคร่งครัด
ดังนั้น ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ จึงให้ฝ่ายอาณาบาลนำโครงการสำคัญๆ มาเล่ารายละเอียดให้ฟังอย่างต่อเนื่อง โครงการไหนที่เอกสารต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องมาชี้แจงอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของการรถไฟฯ ให้เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสมากขึ้นในสายตาของประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ด้วยความรอบคอบนั้น แม้จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ต้องอยู่บนหลักการที่การรถไฟฯ ต้องได้ประโยชน์สูงสุด
การใช้วิธีประกวดราคาแบบ e-Bidding ในโครงการต่างๆ ของการรถไฟฯ อาจจะเป็นขั้นตอนที่มองว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ผู้ที่เคยประมูลงานกับการรถไฟฯ โดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจงก็ดี หรือวิธีการคัดเลือกอย่างที่ผ่านมาก็ดี อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยอยู่บ้าง อาจจะรู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไปบ้าง ไม่รวดเร็วทันใจเหมือนที่เคยทำมาบ้าง แต่วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ ดังนั้น หากต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย แต่สามารถรักษาผลประโยชน์ให้กับการรถไฟฯ เอาไว้ได้ ผมเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว นายวีริศ กล่าว
ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวด้วยว่า การรถไฟฯ ได้แต่งตั้งนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นประธานคณะทำงาน ก็เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ของท่านจะช่วยเสริมความรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และการพัสดุให้กับคนรถไฟได้เป็นอย่างดี มีหน้าที่ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการคำสั่งและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของการรถไฟฯและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีความถูกต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ตั้งขึ้นนั้น มีทั้งผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก และอดีตพนักงานการรถไฟฯ เองผสมผสานกัน เพราะที่ผ่านมาการรถไฟฯ มักถูกกล่าวหาอยู่หลายครั้งในเรื่องของความไม่โปร่งใส ดังนั้น หากมีคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญ หรือเป็นนักกฎหมาย มาช่วยกันทำงานกับคนรถไฟที่มีความชำนาญในงานนั้นๆ อยู่แล้ว ย่อมเป็นการรักษาประโยชน์ให้กับการรถไฟฯ ได้เป็นอย่างดี
ผมเน้นย้ำเสมอในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ดังนั้น เมื่อมีบางเรื่อง บางโครงการ ที่เสนอมาแล้วพบว่ามีความผิดพลาดในเรื่องของตัวเลข หรือเนื้อหาบ้าง ก็จำเป็นต้องให้กลับไปดำเนินการแก้ไขกลับมาใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ว่าเรื่องหายเงียบไป แต่ขอให้กลับไปดำเนินการมาใหม่ให้ถูกต้องตามขั้นตอน นายวีริศ กล่าว
"Wiris," Governor of the State Railway of Thailand, Reveals Progress of Thai-Chinese High-Speed Rail Phase 2, Proceeding According to Schedule
Post Today, February 26, 2025
"Wiris Ammaprapal," Governor of the State Railway of Thailand (SRT), revealed that the Thai-Chinese High-Speed Rail project Phase 2 is proceeding according to schedule. A joint working group, comprising legal experts and SRT personnel, has been established to safeguard organizational benefits and enhance SRTs image of transparency. He expressed confidence in thorough procurement processes, acknowledging that while they may take more time, they represent the correct approach.
Mr. Wiris Ammaprapal, the Governor of the State Railway of Thailand, disclosed that the progress of the Thai-Chinese High-Speed Rail project Phase 2 is currently underway, following the recommendations of the National Economic and Social Development Council (NESDC). The SRT is studying public-private partnership (PPP) investment models for the project and preparing to seek simultaneous approvals for both the PPP and infrastructure construction investments, as per legal procedures. This involves reviewing and adjusting the assumptions used in the feasibility study to align with current factual circumstances, which is considered progress according to the planned steps. Regarding the delayed Thai-Chinese High-Speed Rail project Phase 1, Bangkok-Nakhon Ratchasima section, he stated that he has instructed expedited action. The past delays were attributed to delayed land handover due to land expropriation issues and the relocation of oil pipelines.
The SRT has been actively striving to push forward significant projects to tangible outcomes. Projects that have been approved by the SRT board include the procurement of 182 passenger coaches and spare parts to replace the existing fleet that has been in service for over 50 years. This aims to enhance service efficiency in line with Thailand's transportation infrastructure development strategic plan. Another approved project is the procurement of 184 air-conditioned diesel railcars and spare parts to replace the existing fleet that has been in service for over 30 years, supporting route expansion in the double-track and new railway line construction projects.
Furthermore, a Record of Technical Operation for Rail Freight Transport was signed between the SRT and the Lao National Railway State Enterprise. This agreement aims to promote Thailand as a regional rail transport hub in ASEAN.
Mr. Wiris further stated that Ms. Paetongtarn Shinawatra, the Prime Minister, has provided a policy directive for all ministries to manage public administration with transparency, integrity, adherence to the law, and without favoring any particular group, prioritizing national interests above all. Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, has accordingly instructed the SRT to strictly comply with the Prime Ministers policy.
Therefore, since assuming the position of SRT Governor, Mr. Wiris has directed the relevant departments to provide continuous detailed briefings on major projects. For any projects with unclear documentation, the responsible units are required to provide further clarification. This is intended to transform the public perception of the SRT into a more transparent organization. He emphasized that while conducting all procedures with thoroughness may require additional time, it is based on the principle that the SRT must secure maximum benefits.
The implementation of e-Bidding in SRT projects may be perceived as a process that requires more time compared to previous methods. Entities that were accustomed to bidding with the SRT using specific selection or selective methods may feel unfamiliar, possibly considering it time-consuming and not as swift as before. However, the objective of this policy is to foster fair, transparent, and auditable competition at every stage of the process. Therefore, if a slight increase in time allows us to safeguard the best interests of the SRT, I believe it is the right direction, Mr. Wiris stated.
The SRT Governor also mentioned that the SRT has appointed Mr. Phisit Leelawachiropas, former Auditor-General of Thailand, as chairman of a working group. This appointment is based on the belief that Mr. Phisit's experience will significantly enhance the knowledge of SRT personnel regarding procurement and supplies management. The working group is tasked with studying, compiling, and analyzing information, orders, and procedures related to SRT's procurement and supplies management, as well as the Ministry of Finance regulations on government procurement and supplies management of 2017 and other relevant laws, to ensure accuracy, transparency, efficiency, and maximum benefit to the SRT.
He elaborated that the established working group comprises a blend of external experts and former SRT employees. This is because the SRT has frequently faced allegations of lacking transparency. Therefore, having a working group composed of both external experts or legal professionals collaborating with SRT personnel who possess expertise in specific tasks is considered an effective way to protect the SRTs interests.
I consistently emphasize the importance of performing duties correctly, transparently, and fairly. Consequently, when certain matters or projects are submitted and errors are found in figures or content, it is necessary to return them for revision and correction. This does not mean the matter is shelved, but rather it must be resubmitted after proper rectification in accordance with the procedures, Mr. Wiris concluded.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Posted: 26/02/2025 7:44 pm Post subject:
วีริศแจงตั้งคณะทำงาน กลั่นกรองงานเพื่อความโปร่งใส เร่งศึกษาร่วมลงทุนเอกชน รถไฟไทย-จีน เฟส 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 18:52 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 18:52 น.
วีริศเร่งศึกษารูปแบบร่วมลงทุนเอกชน รถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2ตามความเห็นสภาพัฒน์ แจง ตั้งคณะทำงาน กลั่นกรองร่วมนักกฎหมายและคนรถไฟ เพื่อรักษาประโยชน์ขององค์กร ตั้งเป้าเปลี่ยนภาพลักษณ์ เป็นองค์กรที่โปร่งใส ในสายตาประชาชน ยอมรับวิธีจัดซื้อจัดจ้าง ใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ระยะที่ 2 ที่ให้การรถไฟฯ ศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และเสนอขออนุมัติพร้อมกันกับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ทบทวนและปรับปรุงสมมติฐานที่ใช้ในการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไปตามขั้นตอน
ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่ล่าช้านั้น ได้สั่งการให้เร่งรัดดำเนินการแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสาเหตุเกิดจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เพราะติดปัญหาเวนคืนที่ดิน รวมถึงการรื้อย้ายท่อน้ำมัน
ที่ผ่านมา การรถไฟฯ พยายามเร่งผลักดันโครงการสำคัญต่างๆ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยโครงการที่ผ่านบอร์ดการรถไฟฯ และได้รับอนุมัติโครงการแล้ว เช่น โครงการจัดหารถโดยสาร พร้อมอะไหล่ 182 คัน ทดแทนรถเดิมที่ใช้งานมากว่า 50 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ พร้อมอะไหล่ 184 คัน ทดแทนรถเดิมที่ใช้งานมากว่า 30 ปี เพื่อรองรับการขยายเส้นทางในโครงการก่อสร้างทางคู่ และทางรถไฟสายใหม่
นอกจากนี้ ยังมีการลงนาม บันทึกการดำเนินการด้านเทคนิคสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ระหว่างการรถไฟฯ และรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาวอีกด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียน
นายวีริศ กล่าวว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบแนวนโยบายว่า ขอให้ทุกกระทรวงควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความโปร่งใส สุจริต ยึดหลักกฎหมาย ไม่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด และขอให้ยึดผลประโยชน์ประเทศเป็นหลัก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงกำชับให้การรถไฟฯ ปฏิบัติตามแนวนโยบายของนายกฯ อย่างเคร่งครัด ดังนั้น ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ จึงให้ฝ่ายอาณาบาลนำโครงการสำคัญๆ มาเล่ารายละเอียดให้ฟังอย่างต่อเนื่อง โครงการไหนที่เอกสารต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องมาชี้แจงอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของการรถไฟฯ ให้เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสมากขึ้นในสายตาของประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ด้วยความรอบคอบนั้น แม้จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ต้องอยู่บนหลักการที่การรถไฟฯ ต้องได้ประโยชน์สูงสุด
การใช้วิธีประกวดราคาแบบ e-Bidding ในโครงการต่างๆ ของการรถไฟฯ อาจจะเป็นขั้นตอนที่มองว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ผู้ที่เคยประมูลงานกับการรถไฟฯ โดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจงก็ดี หรือวิธีการคัดเลือกอย่างที่ผ่านมาก็ดี อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยอยู่บ้าง อาจจะรู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไปบ้าง ไม่รวดเร็วทันใจเหมือนที่เคยทำมาบ้าง แต่วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ ดังนั้น หากต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย แต่สามารถรักษาผลประโยชน์ให้กับการรถไฟฯ เอาไว้ได้ ผมเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว นายวีริศ กล่าว
ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้แต่งตั้งนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นประธานคณะทำงาน ก็เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ของท่านจะช่วยเสริมความรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และการพัสดุให้กับคนรถไฟได้เป็นอย่างดี มีหน้าที่ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการคำสั่งและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของการรถไฟฯและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีความถูกต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ตั้งขึ้นนั้น มีทั้งผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก และอดีตพนักงานการรถไฟฯ เองผสมผสานกัน เพราะที่ผ่านมาการรถไฟฯ มักถูกกล่าวหาอยู่หลายครั้งในเรื่องของความไม่โปร่งใส ดังนั้น หากมีคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญ หรือเป็นนักกฎหมาย มาช่วยกันทำงานกับคนรถไฟที่มีความชำนาญในงานนั้นๆ อยู่แล้ว ย่อมเป็นการรักษาประโยชน์ให้กับการรถไฟฯ ได้เป็นอย่างดี
ผมเน้นย้ำเสมอในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ดังนั้น เมื่อมีบางเรื่อง บางโครงการ ที่เสนอมาแล้วพบว่ามีความผิดพลาดในเรื่องของตัวเลข หรือเนื้อหาบ้าง ก็จำเป็นต้องให้กลับไปดำเนินการแก้ไขกลับมาใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ว่าเรื่องหายเงียบไป แต่ขอให้กลับไปดำเนินการมาใหม่ให้ถูกต้องตามขั้นตอน นายวีริศ กล่าว
วีริศ ผู้ว่าการรถไฟฯ เผย โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ระยะที่ 2 คืบหน้าไปตามขั้นตอน แจง ตั้งคณะทำงานผสมผสานระหว่างนักกฎหมายและคนรถไฟ เพื่อร่วมกันรักษาประโยชน์ขององค์กร ตั้งเป้าเปลี่ยนภาพลักษณ์ รฟท. เป็นองค์กรที่โปร่งใสมากขึ้นในสายตาประชาชน เชื่อวิธีจัดซื้อจัดจ้าง หากต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่รักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ได้ ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1066367678854556
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48224
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 27/02/2025 9:54 pm Post subject:
EEC เตรียมเซ็น UTA เริ่มสร้าง 'สนามบินอู่ตะเภา' เม.ย. นี้ ดึง รฟท.ทำอุโมงค์
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Thursday, February 27, 2025 16:18
สกพอ.จ่อเซ็นสัญญา UTA เริ่มก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาในเดือนเม.ย.- พ.ค.นี้ จี้ "ไฮสปีด" เร่งเจรจาสัญญาใหม่ให้เสร็จภายในเม.ย. เช่นกัน ระบุอีอีซี ยังมีข้อได้เปรียบ และแข่งขันได้ ดึงลงทุน FDI ปี 67 สูงสุดเป็นประวัติการณ์
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สกพอ. พร้อมหารือร่วมกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (UTA) เอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ภายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กว่า 6,500 ไร่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมกว่า 2.9 แสนล้านบาท หลังจากบริษัทประกาศออกมาว่าจะไม่รอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
การดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ และรถไฟความเร็วสูงฯ น่าจะเริ่มต้นได้ภายในครึ่งปี 2568 นี้ โดยในส่วนของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ คงไม่ได้แก้ไขสัญญาอะไร สามารถบริหารสัญญาได้ หากเอกชนจะปรับลดขนาดโครงการลงในระยะแรก
นายจุฬา กล่าวว่า สกพอ.เห็นใจเอกชน เพราะยังไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้อย่างเต็มที่ เพราะหากโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ยังก่อสร้างไม่ได้ ปริมาณผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้ามาใช้สนามบินก็อาจยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นจึงต้องหาทางใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้ดีที่สุด ซึ่งการปรับขนาดของอาคารผู้โดยสารลงนั้น สามารถทำได้ แต่เมื่อจำนวนผู้โดยสารเข้ามาใช้ถึง 80% เอกชนก็ต้องขยายความสามารถในการรองรับเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ในกรณีการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงภายใต้อาคารผู้โดยสารของสนามบินอู่ตะเภานั้น ที่ผ่านมาภาคเอกชนขอให้รัฐตัดสินใจว่าจะเดินหน้ายังไงต่อหากโครงการรถไฟความเร็วสูงล่าช้า และไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาทางออก โดยอาจให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมพร้อมการลงทุนเรื่องของอุโมงค์
ในตัวสนามบินอู่ตะเภาจะต้องมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ หากกรณีของเอกชนยังไม่มา ทางการรถไฟฯ จะทำอุโมงค์รอไว้ให้ เพราะถ้าเกิดโครงการพัฒนาอู่ตะเภาฯ เริ่มไปแล้ว และมีการสร้างรันเวย์ที่สอง และจะขุดอุโมงค์ใต้รันเวย์ไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องมาหารือกันอีกครั้ง โดยหลักๆ แล้วก็ได้คุยกันในประเด็นนี้ไปแล้วทั้งรัฐ และรฟท.
ขณะที่สิทธิประโยชน์ต่างๆ จะต้องปรับปรุงด้วยหรือไม่ เมื่อ UTA จะเร่งเดินหน้าโครงการต่อโดยไม่รอรถไฟความเร็วสูง ประเด็นนี้ นายจุฬา ยอมรับว่า กรณีนี้จะต้องเจรจากันอีกครั้ง หากเอกชนจะขอสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม แต่ในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภายังมีกิจการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง หากมีเอกชนรายใดสนใจเข้ามาลงทุนก็สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้กับ EEC โดยตรง แม้ว่าตอนนี้สิทธิประโยชน์จะรอเสนอเข้า ครม. แต่ก็สามารถเข้ามาเจรจาก่อนได้
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฯ ล่าสุด รฟท.กำลังหารือรายละเอียดของสัญญา และเตรียมเสนอเข้าไปยังคณะกรรมการการรถไฟฯ เพื่อเห็นชอบภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ก่อนจะส่งให้อัยการตรวจสอบสัญญา และเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป โดยไทม์ไลน์ของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.2568
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44572
Location: NECTEC
Posted: 28/02/2025 9:08 am Post subject:
EEC พร้อมถก UTA ดัน สนามบินอู่ตะเภา สร้างครึ่งปีแรก ดึงรฟท.ทำอุโมงค์
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 14:01 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพฤหัสบดี ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา14:11 น.
เลขาธิการ EEC พร้อมหารือ UTA เดินหน้าโครงการพัฒนา สนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินภาคตะวันออก คาดเริ่มสร้างในครึ่งปีแรก 2568 ไม่ต้องแก้สัญญา พร้อมดึง รฟท.สร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงก่อน
วันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2568) นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า สำนักงาน EEC พร้อมหารือร่วมกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (UTA) เอกชนผู้ร่วมลงทุนใน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ภายในพื้นที่ของ EEC กว่า 6,500 ไร่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมกว่า 2.9 แสนล้านบาท หลังจากบริษัทประกาศออกมาว่าจะไม่รอ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
การดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ และรถไฟความเร็วสูงฯ น่าจะเริ่มต้นได้ภายในครึ่งปี 2568 นี้ โดยในส่วนของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ คงไม่ได้แก้ไขสัญญาอะไร สามารถบริหารสัญญาได้ หากเอกชนจะปรับลดขนาดโครงการลงในระยะแรก นายจุฬา ระบุ
นายจุฬา ยอมรับว่า สำนักงาน EEC ก็เห็นใจเอกชน เพราะยังไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้อย่างเต็มที่ เพราะหากโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ยังก่อสร้างไม่ได้ ปริมาณผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้ามาใช้สนามบินก็อาจยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้นจึงต้องหาทางใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้ดีที่สุด ซึ่งการปรับขนาดของอาคารผู้โดสารลงนั้น สามารถทำได้ แต่เมื่อจำนวนผู้โดยสารเข้ามาใช้ถึง 80% เอกชนก็ต้องขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามในกรณีการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงภายใต้อาคารผู้โดยสารของสนามบินอู่ตะเภานั้น ที่ผ่านมาภาคเอกชนขอให้รัฐตัดสินใจว่าจะเดินหน้ายังไงต่อหากโครงการรถไฟความเร็วสูงล่าช้า และไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ เลขาธิการ EEC กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาทางออก โดยอาจให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมพร้อมการลงทุนเรื่องของอุโมงค์
ในตัวสนามบินอู่ตะเภาจะต้องมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ หากกรณีของเอกชนยังไม่มา ทางการรถไฟฯ จะทำอุโมงค์รอไว้ให้ เพราะถ้าเกิดโครงการพัฒนาอู่ตะเภาฯ เริ่มไปแล้ว และมีการสร้างรันเวย์ที่สองและจะขุดอุโมงค์ใต้รันเวย์ไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องมาหารือกันอีกครั้ง โดยหลัก ๆ แล้วก็ได้คุยกันในประเด็นนี้ไปแล้วทั้งรัฐ และรฟท. เลขาธิการ EEC ระบุ
ขณะที่สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จะต้องปรับปรุงด้วยหรือไม่ เมื่อ UTA จะเร่งเดินหน้าโครงการต่อโดยไม่รอรถไฟความเร็วสูง ประเด็นนี้ นายจุฬา ยอมรับว่า กรณีนี้จะต้องเจรจากันอีกครั้ง หากเอกชนจะขอสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม แต่ในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภายังมีกิจการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง หากมีเอกชนรายใดสนใจเข้ามาลงทุนก็สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้กับ EEC โดยตรง แม้ว่าตอนนี้สิทธิประโยชน์จะรอเสนอเข้าครม. แต่ก็สามารถเข้ามาเจรจาก่อนได้
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฯ ล่าสุด รฟท.กำลังหารือรายละเอียดของสัญญา และเตรียมเสนอเข้าไปยังคณะกรรมการการรถไฟฯ เพื่อเห็นชอบภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ก่อนจะส่งให้อัยการตรวจสอบสัญญา และเสนอให้ครม.เห็นชอบต่อไป โดยไทม์ไลน์ของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2568 นี้
จับมือเอชเอสบีซี ดึงเอกชนลงทุน 5 แสนล้าน
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2568) สำนักงาน EEC ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนสู่พื้นที่ EEC ผ่านเครือข่ายระดับนานาชาติของธนาคารเอชเอสบีซีใน 58 ประเทศและเขตดินแดน สร้างโอกาสการลงทุนจากตลาดสำคัญ ทั้ง จีน ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง อินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กร มีเป้าหมายที่จะสนับสนุน EEC ในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจริงใน พื้นที่รวม 500,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ 5 คลัสเตอร์ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมสีเขียว BCG และ อุตสาหกรรมบริการ
โดยในปี 2568 ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย [ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงค์คอร์ปอเรชั่น] จะให้การสนับสนุนในกิจกรรมโรดโชว์เพื่อส่งเสริมการลงทุนสู่พื้นที่อีอีซีในระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้ง จีน สิงคโปร์ ยุโรป ไต้หวัน และญี่ปุ่น
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group