Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312349
ทั่วไป:14074805
ทั้งหมด:14387154
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 22, 23, 24  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2024 10:09 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จับตา 'ดูไบ พอร์ต เวิลด์' มาแรง ร่วมทุน “แลนด์บริดจ์” ‘สุริยะ’ ยันเปิดกว้างตั้งคณะทำงานร่วมแค่ศึกษาไม่ผูกมัด
ผู้จัดการออนไลน์
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 08:48 น.



DP World ตั้งคณะทำงานร่วมไทย หนุนลงทุน 'แลนด์บริดจ์'
เศรษฐกิจ
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 9:51 น.


“สุริยะ” ยันเดินหน้าบิ๊กโปรเจกต์ “แลนด์บริดจ์” เกิดในรัฐบาลยุคนี้ เปิดไทม์ไลน์เตรียมเสนอ ครม. อนุมัติร่าง พ.ร.บ. SEC ปีนี้ เผย DP World ทุนดูไบ ขอจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาโครงการอย่างละเอียด ตอกย้ำสัญญาณเอกชนสนใจร่วมทุน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย - อันดามัน (ชุมพร - ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ โดยระบุว่า กระทรวงฯ ยังคงมีเป้าหมายเดินหน้าผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรัฐบาลนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ รวมถึงผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

โดยแผนการดำเนินงานในขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการทำหนังสือบรรจุวาระการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ พ.ศ. .... หรือ พ.ร.บ. SEC เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน ก.ย.2568

อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. SEC มีผลบังคับใช้แล้ว จะมีการจัดตั้งสำนักงาน SEC และเข้าสู่แผนงานอื่นๆ โดยในส่วนการออกแบบทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) รวมถึงการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และคาดว่าสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา EIA แล้วเสร็จในปี 2568 สอดคล้องกับการออกแบบท่าเรือ และการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และส่งให้ สผ. พิจารณาแล้วเสร็จในปี 2568

ในส่วนของกระบวนการคัดเลือกเอกชน การจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนผู้ลงทุนในการร่วมลงทุนโครงการ (RFP) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2569 ก่อนที่จะคัดเลือกผู้ลงทุนแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2569 จากนั้นจะออก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน ก่อนเสนอ ครม. อนุมัติโครงการภายในไตรมาส 2/2569 จากนั้นจะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประกวดราคา และเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 1 ในไตรมาส 3/2569 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2573


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทางบริษัท Dubai Port World (DP World) ประสานต้องการที่จะให้ สนข.ช่วยให้ข้อมูลในเรื่องต่างๆ ของโครงการอย่างละเอียด จึงมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง สนข.และ DP World ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีเอกชนพร้อมลงทุน อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการเอกชนรายใด ต้องการจะตั้งคณะทำงานร่วมกับประเทศไทย ก็สามารถแสดงความประสงค์มาได้ทันที โดยยืนยันว่ากระทรวงคมนาคม และรัฐบาลไทย มีความยินดีต้อนรับนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก และไม่ได้ผูกมัด หรือกีดกันรายใดรายหนึ่ง
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1142821
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48665
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/09/2024 11:11 am    Post subject: Reply with quote

กสม.เขย่าแลนด์บริดจ์ ปิดกั้นไม่ให้ปชช.รับรู้ กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Friday, September 27, 2024 06:23

เมื่อวันที่ 26กันยายน2567 นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและเกษตรกรในจังหวัดชุมพรและระนอง ขอให้ตรวจสอบกรณีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ท่าเรือ เส้นทางรถไฟทางคู่ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (motorway) ขาดการมีส่วนร่วม และจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เมื่อวันที่ 29-31พฤษภาคม2567

กสม.จึงได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการในพื้นที่ รวมทั้งได้ประมวลรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องและความเห็นของนักวิชาการ และได้รับทราบข้อเท็จจริงรวมทั้งข้อห่วงกังวลหลายประการ สรุปได้ดังนี้ (1) กระบวนการชี้แจงข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) มีประเด็นว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จัดการประชุมชี้แจงข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นแยกเป็นรายโครงการเฉพาะในส่วนที่หน่วยงานของตนรับผิดชอบ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลในภาพรวม นอกจากนี้การชี้แจงข้อมูลยังไม่ชัดเจน ไม่ลงลึกในรายละเอียด และยังไม่มีข้อมูลของโครงการอื่นที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายส่วน เช่น ขอบเขตที่ชัดเจนของแนวถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่า โรงไฟฟ้า เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของโครงการ

นอกจากนี้ ขอบเขตการศึกษายังไม่ให้น้ำหนักที่มากพอในประเด็นผลกระทบของโครงการต่อประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และไม่มีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเท่าที่ควร ขณะที่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการรับฟังความคิดเห็นยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ คนไทยพลัดถิ่น และมีการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนกลุ่มคัดค้านโครงการเข้าร่วมรับฟังข้อมูลและแสดงความคิดเห็นด้วย

(2) โครงการแลนด์บริดจ์จะส่งกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ พันธุ์พืช สัตว์ป่า สัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งการก่อสร้างโครงการอาจก่อให้เกิดมลพิษ และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหาโรคระบาดและอาชญากรรม รวมถึงส่งผลกระทบต่อการขนส่ง และการคมนาคม

(3) รายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องพบว่าโครงการแลนด์บริดจ์มีความไม่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าและผลกระทบในมิติต่าง ๆ กล่าวคือ รายงานการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ของ สนข. เมื่อปี 2559 สรุปว่า จังหวัดระนองมีความเหมาะสมเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในระดับสูง มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) ขณะที่จังหวัดชุมพรมีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตรในระดับสูง และเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีคุณค่าในระดับภาค และระบุว่าสะพานเศรษฐกิจไม่สามารถย่นระยะทาง ไม่สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงของเรือขนส่งสินค้า และเมื่อพิจารณาค่าธรรมเนียมที่จะสามารถเรียกเก็บได้จากการให้บริการขนส่งตู้สินค้าของสะพานเศรษฐกิจพบว่าไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการบำรุงรักษา จึงควรชะลอการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจออกไปก่อน

ส่วนรายงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทย ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อปี 2525 ระบุว่า การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจทางบกเส้นทางใหม่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งประกอบไปด้วยอุโมงค์ ทางยกระดับ และรถไฟรางคู่ จะกระทบต่อพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ศาสนสถานสำคัญวัดนกงาง จังหวัดระนอง การเดินเรือจะส่งผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติแหลมสน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน การกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศปะการังบริเวณเกาะพยาม จังหวัดระนอง เกาะครามและเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร

นอกจากนี้ โครงการมีข้อจำกัดเรื่องความเหมาะสม เมื่อพิจารณาจากผลกระทบในมิติต่าง ๆ เช่น ความคุ้มค่าทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย การกระจายรายได้ และความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (4) ความเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางทะเลและเศรษฐศาสตร์ เห็นว่า ที่ตั้งท่าเรือฝั่งอันดามัน อยู่ใกล้กับพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันของศูนย์มรดกโลก เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ ท่าเรือ เส้นทางเดินเรือ รวมถึงการขยายพื้นที่ชายฝั่งเพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ยังอาจกระทบต่อเขตอนุรักษ์ การไหลของกระแสน้ำในทะเล การเดินทางของธาตุอาหาร และการวางไข่ของปลาทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งทำประมงหลักของกลุ่มประมงพื้นบ้าน รวมทั้งโครงการอาจไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่อาจดึงดูดการขนส่งสินค้าทางทะเลจากเส้นทางเดินเรือหลักทางช่องแคบมะละกาได้และไม่อาจย่นระยะทางขนส่งอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีราคาแพง


NHRCT Criticizes the Land Bridge Project for Lack of Public Awareness and Environmental Impact

Source: Naewna Website
Friday, September 27, 2024, 06:23


On September 26, 2024, Ms. Sayamon Kaiyurawong, a member of the National Human Rights Commission of Thailand (NHRCT), revealed that the commission had received complaints from residents and farmers in Chumphon and Ranong provinces. They requested an investigation into the Southern Economic Corridor transport infrastructure development project, also known as the Land Bridge project, which aims to connect transportation between the Gulf of Thailand and the Andaman Sea. The project, comprising ports, a dual-track railway, and a motorway, has been criticized for lacking public participation and potentially impacting the environment and local livelihoods.

In response, the NHRCT held a public forum from May 29-31, 2024, to gather input from government agencies, local administrations, businesses, civil society, and residents potentially affected by the project. The commission also reviewed related studies and expert opinions. Key concerns identified include:

1. Lack of comprehensive information: The process of informing the public and collecting feedback, including the Environmental Impact Assessment (EIA), was criticized. The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) and other relevant agencies held separate meetings for different parts of the project, preventing the public from gaining a full understanding. The information presented was vague and did not cover related infrastructure projects, such as the precise locations of roads, railways, industrial zones, power plants, and reservoirs.

2. Environmental and social impacts: The Land Bridge project is expected to affect natural resources, wildlife, aquatic life, and traditional ways of life. The construction may lead to pollution and the movement of labor, potentially causing disease outbreaks and crime. Transportation and logistics could also be disrupted.

3. Inadequate cost-benefit analysis: Several studies found the project to be economically unfeasible when compared to its potential environmental impacts. For example, a 2016 Strategic Environmental Assessment (SEA) concluded that Ranong is a high-priority conservation area due to its international wetlands (Ramsar sites), and Chumphon has significant agricultural potential with a relatively intact ecosystem. The project does not significantly shorten shipping routes or save fuel costs, and fees from logistics services would not cover the costs of construction and maintenance.

4. Expert concerns: Marine and economic experts expressed concerns about the project's proximity to the Andaman Sea conservation area, which is under consideration for World Heritage status. The development of ports and expanded logistics infrastructure could affect coastal ecosystems, mangroves, and local fisheries. The project might not attract significant maritime shipping away from the Malacca Strait, and the high costs of logistics could undermine its economic viability.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2024 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เร่งคลอด พ.ร.บ.SEC ขับเคลื่อน ”แลนด์บริดจ์” เผยปี 68 ลุยทำ RFP ตั้งหน่วยงานเตรียมประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:50 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:50 น

KEY POINTS
• สนข. เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เพิ่มฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟฟ้าและระบบรางในภูมิภาค
• ดัน พ.ร.บ.SEC ขับเคลื่อนโครงการ "แลนด์บริดจ์" (เชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างไทย-จีน)
• ตั้งเป้าเปิดประมูลโครงการ "มนพร" (โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน) ในปี 68
• เตรียมร่าง RFP (เอกสารประกาศเชิญชวนเสนอราคา) และตั้งหน่วยงานใหม่ สำหรับโครงการ "มนพร"
• มั่นใจ ครม.จะอนุมัติ พ.ร.บ.SEC ได้ในปี 67




สนข.ครบ 22 ปี เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเพิ่มฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟฟ้า และระบบรางในภูมิภาค ดันคลอด พ.ร.บ.SEC ขับเคลื่อน”แลนด์บริดจ์” ปักธงปี 68 ร่าง RFP ตั้งหน่วยงานใหม่ เตรียมพร้อมเปิดประมูล“มนพร”มั่นใจไทม์ไลน์ครม.เคาะกฎหมายได้ในปี 67

วันที่ 9 ต.ค. 2567 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ครบรอบ 22 ปี ว่า สนข. เปรียบเสมือน "คลังสมอง"ให้กับกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติภารกิจหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนแม่บท แผนงานต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ทั้งมิติทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งผลักดันขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค"

ด้านคมนาคมทางบกนั้นให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลัก ผ่านกลไกของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบริหารจัดการการแก้ไขปัญหารจราจร และในระยะกลาง ให้พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เช่น จัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงรถเมล์ กับรถไฟฟ้า

ส่วนระบบรางให้เร่ง จัดระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในภูมิภาค และ ให้ สนข. เป็นหน่วยงานร่วมในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหาข้อสรุปในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมโยงถนนกับระบบราง ส่วนในระยะกลางให้หาข้อสรูปแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระบบรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค และ คมนาคมทางอากาศ ให้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก



นางมนพรกล่าวถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ให้ สนข. เร่งเดินหน้าให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดโดยจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (PPP)

ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อรอเสนอที่ประชุม กพศ.พิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ก่อน เสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป



@ลุ้นคณะกก.เขตศก.พิเศษ มอบอำนาจ เร่งคลอดพ.ร.บ.SEC ขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งแลงและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลังจากสนข.ได้รับมอบอำนาจในการจัดทำร่างพ.ร.บ. SEC แล้วจะนำร่างพ.ร.บ.SEC รับฟังความคิดเห็นฯ มีระยะเวลา 7 วัน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะสรุปความเห็นมาปรับปรุงประกอบ และ นำเสนอ กระทรวงคมนาคม และครม. ได้ภายในปี 2567 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อไป

นายปัญญากล่าวว่า ในปี 2568 สนข. จะดำเนินการคู่ขนาน เช่น การจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ (RFP) และศึกษา EHIA รวมถึงเตรียมการจัดตั้งหน่วยงาน SEC ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

สำหรับพ.ร.บ. SEC จะใช้เป็นกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ จะมีการกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด คือสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เหมือนอีอีซี



@มอบทุนการศึกษาบุตร เจ้าหน้าที่สนข.

และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสนช.ครบรอบ 22ปีนางมนพรเจริญศรีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้กล่าวอวยพรและชื่นชมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สนข.ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการเร่งรัดผลักดันการดำเนินงานตามตามนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคมจนประสบความสำเร็จในหลายๆเรื่องสมกับที่เป็น"องค์กรนำในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคมนาคมของไทย"นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติมอบทุนการศึกษา"คำรบลักขิ์สุรัสวดี"ให้แก่บุตรข้าราชการและเจ้าหน้าที่สนข.ที่มีผลการเรียนดีจำนวน 3ทุนในระดับประถมศึกษาจำนวน 1ทุนและ
ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 2ทุนรวมทั้งได้มอบรางวัลให้กับนักกีฬาสนข.เพื่อเป็นขวัญกำลังใจจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสีกระทรวงคมนาคม "MOT GAMES 2024"ระหว่างวันที่ 2-6กันยายน 2567ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48665
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2024 6:14 am    Post subject: Reply with quote

หวิดล่ม! กรมทางหลวงประชุมชี้แจงโครงการแลนด์บริดจ์ หลังชาวชุมพรระนองบุกยื่นหนังสือคัดค้าน
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 18.19 น.

กรมทางหลวงร่วมกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษสาย ชุมพร-ระนอง (โครงการแลนด์บริดจ์เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยอันดามัน) หวิดล่มหลังเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะและเครือข่ายรักษ์ระนอง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวประมาณ 300 คน พร้อมชูป้ายคัดค้านการจัดประชุมไม่เป็นไปตามขั้นตอนพร้อมขอให้ยุติการประชุมดังกล่าวและยื่นหนังสือคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ และคัดค้านร่างพ.ร.บ.SEC

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 22 ต.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมใหญ่บริเวณภายในศูนย์ราชการสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร นายกีฑา เดชพิน ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชุมพร กรมทางหลวงและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย นายฤทธิชัย วุ้นศิริ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม นายมนูญ แสงเพลิง ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม นายเด่นศักดิ์ สุขกูล จัดการโครงการ นายมรรครินทร์ จันโทภาส วิศวกรงามทาง จัดการประชุมภายใต้ชื่อ “ปฐมนิเทศโครงการ(สัมมนา ครั้งที่ 1 ) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชุมพร-ระนอง” หรือ “โครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยอันดามัน ชุมพร-ระนอง โดยมีนายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม

แต่ปรากฏว่าขณะเดียวกันได้มีกลุ่มเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะและรักษ์ระนอง ประมาณ 300 คน เดินทางเข้าห้องประชุมพร้อมชูป้ายคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ฯ ทั้งนี้นายสมโชค จุงจารันต์ คณะทำงานเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะและตัวแทนชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้ระงับการประชุมในครั้งนี้ไว้ก่อนและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร

ระหว่างรอการยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรนายสมโชคฯ กล่าวหน้าเวทีการประชุมโดยมีเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ-รักษ์ระนองและประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมว่า “วันนี้เรามาไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ แต่อยากให้ท่านได้เข้าใจว่าบริบถพะโต๊ะบริบถระนองเราอยู่เย็นเป็นสุข

โครงการนี้เข้ามาตามที่รัฐชี้แจงการสร้างงาน สร้างรายได้กว่า 2.8 แสนตำแหน่ง ดูจากราชบัญญัติ พ.ร.บ.SEC จำนวน 2 ฉบับที่เกิดขึ้นจากนายอนุทินฯหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีมาตราไหนให้สิทธิผลประโยชน์คนไทย ไม่เชื่อกลับไปอ่านดูได้ โดยเฉพาะในส่วนของให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดนโยบายสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงผังเมือง สิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถยอมรับได้ การเปลี่ยนแปลงผันเมืองเป็นขั้นแรกสู่ความเปลี่ยนแปลงเป็นนิคมอุตสาหกรรม แล้วจะมีอัตราการทำงาน

นายสมโชคฯ กล่าวอีกว่า แล้วจะมีอัตราการทำงานอันนี้เป็นเรื่องโกหก เพราะร่างพ.ร.บ.SEC กฎหมายฉบับนี้ 8 หมวด 67 มาตรา ระบุชัดเจนว่า ให้สิทธิผู้ประกอบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว พร้อมที่พักพิง ถามว่าวันนี้ลูกหลานเองทำงานตรงไหน ยกตัวอย่างง่ายๆที่โคราชอุโมงค์ถล่มแรงงานที่ตายเป็นแรงงานชาวพม่า จีน นี่คือข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ”

เวลาต่อมานายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เดินทางมารับหนังสือร้องเรียน โดยนายสมโชค น.ส.วิไลวรรณ ยอดไหม และน.ส.ประพิศ โหยบคาน ร่วมกันอ่านหนังสือร้องเรียนคัดค้านระบุ เรื่อง ขอให้ยุติการดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ และยกเลิกกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษสาย ระนอง - ชุมพร ภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์ ที่ดำเนินการโดยไม่ขอบธรรมและจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างรุนแรง

ตามที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าผลักดันโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ “แลนด์บริดจ์” ในพื้นที่จังหวัดระนองและชุมพร ซึ่งประกอบด้วยโครงการก่อสร้างระบบคมนาคมขนส่งขนาด ใหญ่ อย่างน้อย 4 โครงการ คือ ท่าเรือน้ำลึก 2 ท่าบริเวณชายฝั่งทะเลระนองและชุมพร ทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และรถไฟทางคู่ รวมถึงอยู่ระหว่างการผลักดันนโยบายและร่างกฎหมายระเบียง เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) อย่างเร่งรีบ โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นการลงทุนทางเศรษฐกิจนั้น

ที่ผ่านมา มีการวิพากษ์และมีเสียงทักท้วงทั้งจากประชาชนในพื้นที่ จากเครือข่ายภาคประชาสังคมด้าน สิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน นักวิชาการ และผู้ประกอบการทั้งด้านการขนส่งและการท่องเที่ยว ที่พยายาม ส่งสารและสื่อสารไปยังรัฐบาลให้ทบทวนและใคร่ครวญอย่างรอบคอบต่อโครงการแลนด์บริดจ์และนโยบาย ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ทั้งในมิติความสูญเสียของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย รวมถึงฐานอาชีพของคนในท้องถิ่น สังคมวัฒนธรรม และที่สำคัญคือ ความคุ้มค่า คุ้มทุนของโครงการนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ และทั้งหมดนี้มีข้อมูลงานศึกษาวิจัยของนักวิชาการอ้างอิงได้ แต่รัฐบาลกลับไม่รับฟังและยังเดินหน้าโครงการดังกล่าว ทั้งๆ ที่นโยบายเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนา อุตสาหกรรมอย่างเข้มข้นได้ถูกพิสูจน์ให้เห็นแล้วจากกรณีของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่เป็น แม่พิมพ์ต้นแบบของ SEC ที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ความเสียหายกลับเกิดขึ้นกับ ประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ามีความล้มเหลวหลายประการที่เกิดขึ้นจากการใช้ กฎหมายดังกล่าว ทั้งด้านการจัดการมลพิษ กากสารพิษ หรือของเสียจากโรงงานที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงความเสียหายและการสูญเสียทางด้านระบบสิ่งแวดล้อมที่หนักหนาสาหัสเกินเยียวยา รวมถึงการละเลย ไม่ดำเนินการตามกฎหมายในหลายมาตราที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน รวมถึงการ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เครือข่ายรักษ์พะตะ-รักษ์ระนอง ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนิน โครงการ ขอยืนยันอีกครั้งถึงความไม่ชอบธรรมไม่เหมาะสม ของโครงการแลนด์บริดจ์ มีผลกระทบความเสียหายอย่างร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของชุมชน”เป็นต้น

หลังจากที่ยื่นหนังสือขอให้ยุติการดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ และยกเลิกกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯนั้น นายสมโชคให้เหตุผลว่า “ขอให้การประชุมในครั้งนี้ยกเลิกเนื่องจาก ไม่เป็นไปตามขั้นตอน เพราะว่าก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่ใช้โดรนและกำลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่โครงการฯไปปักหมุดหลักฐานMR 8 002 ของกรมทางหลวง ถึงจะมีการประชุมใช้หัวข้อ การประชุมปฐมนิเทศ(สัมมนาครั้งที่ 1 )นั้น มองว่า แต่สิ่งที่ จนท.ทำคือปักหมุดก่อนแล้วค่อยปฐมนิเทศ นั้นเท่ากับว่าจนท.เอาปืนจ่อหัวผม จ่อด้วยข้อกฎหมาย พูดกันตรงๆฉันจะเอาของคุณ กระบวนการมันผิด ถ้าแจ้งให้ชาวบ้านทราบก่อนเท่ากับว่าเป็นการกระทำเยี่ยงเสรีชนชาวบ้านรับได้ แต่ที่ทำอยู่ชาวบ้านผมรับไม่ได้ มองว่ารัฐกำลังบีบบังคับภาคประชาชนเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยยุคใหม่ ประชาชนไม่อยากที่จะเป็นเมืองขึ้นให้กับต่างชาติถึง 99 ปี อันนี้คือข้อเท็จจริง แล้วผู้พัฒนาโครงการคนไหนเคยออกมาพูดบ้างว่าตัวนี่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.SEC ข้าราชการบางคนยังไม่รู้เลยร่างพ.ร.บ.SEC คืออะไร” นายสมโชค กล่าวต่อหน้านายธนนท์ ภายในห้องประชุม

สุดท้ายมีการ่างหนังสือบันทึกความเข้าใจด้วยลายมือในกระดาษเอ 4 การประชุมในวันนี้ “บริษัทที่ปรึกษาและกรมทางหลวง ไม่นับเป็นการประชุมปฐมนิเทศ”โครงการ เนื่องจากมีการดำเนินสำรวจและปักหมุดที่ดินของโครงการก่อนการประชุม โดยจะถอนหมุดที่ดินในเดือนพฤศจิกายน 2567 วันนี้จึงถือได้ว่าเป็นการประชุมเสนอข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นเนื่องจากมีประชาชนอยู่ในห้องประชุม”

ซึ่งข้อความดังกล่าวได้มีนายธนนท์ฯ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการฯ และนายสุพัฒน์ ชุ่มมุณีรัตน์ ผู้จัดการโครงการฯกรมทางหลวง เซ็นรับทราบ ก่อนที่นายสมโชคฯและกลุ่มเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ-รักษ์ระนอง จะทยอยเดินทางกลับ

ส่วนด้านกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเริ่มจัดประชุมชี้แจงต่อประชามชนที่เข้าร่วมฟังค่อนข้างบางตา


Land Bridge Project Meeting in Thailand Nearly Derailed by Protests

Chumphon, Thailand – A meeting to discuss the proposed Land Bridge project, a major infrastructure development intended to connect the Gulf of Thailand and the Andaman Sea, was almost disrupted by protests from local residents and environmental groups.

Around 300 people from the Rak Pato and Rak Ranong networks gathered at the meeting venue in Chumphon province on Tuesday, October 22, 2024, voicing their opposition to the project. They argued that the project would have detrimental effects on the environment and local communities.

The protesters raised concerns about the lack of transparency in the project's environmental impact assessment process and the potential for the project to facilitate the influx of foreign labor at the expense of local jobs. They also criticized the proposed Special Economic Zone (SEC) legislation, claiming it would grant excessive power to corporations and pave the way for industrial development that could harm the environment and displace communities.

The protesters called for the project to be halted and for the government to reconsider the SEC legislation. They presented a letter to the deputy governor of Chumphon, outlining their concerns and demanding a more thorough and transparent review of the project's potential impacts.

In response to the protest, the meeting organizers, including representatives from the Department of Highways and the consulting firm involved in the project, agreed to invalidate the meeting as an official "first briefing." They acknowledged that preliminary surveys and land demarcation had been conducted before the meeting, which they admitted was a procedural misstep. They committed to removing the land markers in November 2024 and pledged to conduct a more inclusive and transparent consultation process in the future.

Despite the concessions made by the meeting organizers, the protest highlights the significant opposition to the Land Bridge project and the broader concerns about the government's approach to economic development in southern Thailand. The controversy surrounding the project is likely to continue as the government moves forward with its plans.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48665
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2024 9:49 am    Post subject: Reply with quote

บิ๊กเนมจีน”ไชน่าฮาร์เบอร์’สนร่วมชิง”แลนด์บริดจ์” คมนาคมเร่งพ.ร.บ.SEC ดันเปิดประมูลปี 69
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, December 09, 2024 07:24

’แลนด์บริดจ์’ยังเนื้อหอม ล่าสุดยักษ์ใหญ่รับเหมาจีน”ไชน่าฮาร์เบอร์’ เข้าพบ ‘สุริยะ’สนใจลงทุน รวมถึงไฮสปีดไทย-จีนเฟส2 และมอเตอร์เวย์ ด้าน”ดูไบ พอร์ตเวิลด์”ลุยถกข้อมูลร่วมคณะทำงานของสนข.ต่อเนื่อง คาดเร่งคลอดพ.ร.บ.SEC ปี 69 ดันประมูลเฟสแรก 5 แสนล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 67 ผู้แทนจากบริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เข้าพบนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า โดย บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ แสดงความสนใจที่จะลงทุนฯ รวมถึงโครงการอื่นๆที่กระทรวงคมนาคม จะผลักดันทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายใหม่ๆด้วย เพราะมีศักยภาพในการดำเนินโครงการต่างๆ

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายใหญ่หลายประเทศ โดยก่อนหน้านี้บริษัท Dubai Port World (DP World) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์และ Supply Chain ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ได้แสดงความสนใจและมีการตั้งคณะทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุน โดยได้ประชุมร่วมกันมาหลายครั้งแล้ว นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นรวมถึง บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ฯจากประเทศจีนที่สนใจและมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องแลนด์บริดจ์โดยเฉพาะ ซึ่งกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า พร้อมให้ข้อมูลกับนักลงทุนทุกราย และจะเปิดประมูลโครงการแลนด์บริดจ์ ตามขั้นตอนระเบียบกฎหมาของไทย


รายงานข่าวแจ้งถึงความคืบหน้าในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้พ.ศ…. หรือ พ.ร.บ. SEC เพื่อขับเคลื่อนโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ขณะนี้ ยังรอคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ที่มีนาย พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อประชุมพิจารณามอบหมายให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ซึ่งเร็วๆนี้ จะมีการประชุมในส่วนของคณะกรรมการเร่งรัด การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่มีนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆก่อน

สำหรับไทม์ไลน์ การจัดทำร่างพ.ร.บ.SEC ยังอยู่ในแผนงาน ให้มีผลบังคับใช้เดือนก.ย. 2568 จากนั้นจะมีการจัดตั้งสำนักงาน SEC เพื่อเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการแลนด์บริดจ์ โดยในระหว่างนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการคู่ขนาน

ได้แก่ สนข. รับผิดชอบออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ส่วนของท่าเทียบเรือ “ชุมพรและระนอง” คาดแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2568 ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกแบบรายละเอียด และการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) เสร็จแล้ว เข้าสู่ขั้นตอน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา EIA ส่วนรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร(Standard Gauge) จะออกแบบรายละเอียดไตรมาส1 ปี 2568 ด้านกรมทางหลวง (ทล.) กำลังศึกษาออกแบบและจัดทำรายงาน EIA ระบบมอเตอร์เวย์ คาดแล้วเสร็จไตรมาส 4 ปี 2568 ส่วนสข


ในส่วนขั้นตอนของกระบวนการคัดเลือกเอกชนนั้น สนข.ได้จัดทำร่างการเชิญชวนเอกชนเบื้องต้นไว้ และหลังจาก พ.ร.บ. SEC บังคับใช้ จะมีการจัดตั้งสำนักงาน SEC ขึ้นมา เพื่อจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนผู้ลงทุนในการร่วมลงทุนโครงการ (RFP) คาดว่าจะเป็นช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2569 และจะเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกผู้ลงทุนแล้วเสร็จในไตรมาส2 ปี 2569 จากนั้นจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ไตรมาส 3 ปี 2569 ก่อนเสนอ ครม. อนุมัติโครงการภายในไตรมาส 2 ปี 2569 คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาและเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยการก่อสร้างระยะที่ 1 คาดเริ่มก่อสร้างในไตรมาส 3 ปี 2569 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปลายปี2573 ตามแผนที่กำหนดไว้

โดยโครงการระยะที่ 1 มีวงเงินประมาณการลงทุน 522,844.08 ล้านบาท เนื้องานประกอบด้วย งานก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร จำนวน 118,519.50 ล้านบาท, งานก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง จำนวน 141,716.02 ล้านบาท, งานก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ จำนวน 195,504.00 ล้านบาท, งานก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า จำนวน 60,892.56 ล้านบาท และค่าเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 6,212.00 ล้านบาท


Chinese giant 'China Harbor' joins the race for 'Land Bridge' project, Transport Ministry speeds up SEC bill for 2026 bidding

Source - Manager Online
Monday, December 09, 2024 07:24


The 'Land Bridge' project remains attractive. Recently, the Chinese construction giant 'China Harbor' met with Deputy Prime Minister and Transport Minister Suriya Jungrungreangkit to express their interest in investing in the project, along with the Thai-Chinese high-speed rail Phase 2 and new motorway projects. Meanwhile, 'Dubai Port World' continues discussions with the working group of the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP). It is expected that the SEC bill will be expedited in 2026 to push for the bidding of the first phase, worth 500 billion baht.

Sources from the Ministry of Transport revealed that on December 4, 2024, representatives from China Harbor Engineering Co., Ltd. met with Deputy Prime Minister and Transport Minister Suriya Jungrungreangkit to discuss the progress of the 'Land Bridge' project, officially known as the "Development of Transport Infrastructure for the Southern Economic Corridor to Connect Transportation between the Gulf of Thailand and the Andaman Sea (Chumphon-Ranong)". China Harbor expressed interest in investing in this project, as well as other projects promoted by the Ministry of Transport, such as the Thai-Chinese high-speed rail Phase 2 (Nakhon Ratchasima-Nong Khai section) and new motorway projects, due to their potential.

The Land Bridge project has attracted interest from major investors in many countries. Previously, Dubai Port World (DP World), a global logistics and supply chain giant, expressed interest and established a working group with the Ministry of Transport and the OTP to study the feasibility of joint investment. They have held several meetings already. In addition, there are investors from Japan, as well as China Harbor, who are interested and have set up working groups specifically to study the Land Bridge. The Ministry of Transport confirmed that it is ready to provide information to all investors and will open bidding for the Land Bridge project according to Thai regulations.

Regarding the progress of the Southern Economic Corridor Bill (SEC Bill) to drive the Land Bridge project, it is currently awaiting the Special Economic Zone Development Policy Committee, chaired by Deputy Prime Minister Pichai Chunhavajira, to consider assigning the OTP to draft the SEC bill. Soon, there will be a meeting of the committee to expedite the bill, chaired by Somkid Chuekong, Deputy Secretary-General to the Prime Minister, to discuss various issues with relevant agencies.

The timeline for the SEC bill remains on track to be enforced in September 2025. After that, the SEC Office will be established to drive the Land Bridge project. In the meantime, relevant agencies are working in parallel.

These include the OTP, which is responsible for the detailed design and Environmental and Health Impact Assessment (EHIA) report for the Chumphon and Ranong piers, expected to be completed in the fourth quarter of 2025. The State Railway of Thailand (SRT) has completed the detailed design and Environmental Impact Assessment (EIA) report for the 1-meter gauge railway, which is now under consideration by the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). The design details for the 1.435-meter gauge railway will be completed in the first quarter of 2025. The Department of Highways (DOH) is studying the design and preparing the EIA report for the motorway system, expected to be completed in the fourth quarter of 2025.

For the private sector selection process, the OTP has prepared a draft invitation for private entities. After the SEC bill comes into effect, the SEC Office will be established to prepare the Request for Proposal (RFP) documents, which is expected to be completed in the second quarter of 2025 and finalized in the first quarter of 2026. The investor selection process will be completed in the second quarter of 2026, followed by the issuance of a Royal Decree for land expropriation in the third quarter of 2026, before submitting the project for Cabinet approval in the second quarter of 2026. It is expected that the contract can be signed and construction can begin in the third quarter of 2026. The first phase of construction is expected to be completed and operational by the end of 2030, according to the plan.

The first phase of the project has an estimated investment of 522,844.08 million baht, consisting of the construction of a deep-sea port in Chumphon (118,519.50 million baht), a deep-sea port in Ranong (141,716.02 million baht), a route connecting the two ports (195,504.00 million baht), cargo transshipment areas (60,892.56 million baht), and land expropriation and ownership transfer (6,212.00 million baht).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2025 10:57 am    Post subject: Reply with quote

“อิ๊งค์” ถก DP World ยันเดินหน้าศึกษาลงทุนแลนด์บริดจ์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน ดันสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 19:10 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 06:28 น.



นายกรัฐมนตรี หารือประธานผู้บริหาร DP World พร้อมเดินหน้าศึกษาลงทุนแลนด์บริดจ์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน

วันนี้ (21 ม.ค.) เวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นเมืองดาวอส) ณ DP World House เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือกับ สุลต่าน อะห์เหม็ด บิน สุลาเย็ม (H.E. Sultan Ahmed bin Sulayem) ประธานกลุ่มบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท DP World (UAE) โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้พบกับประธานกลุ่มบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท DP World (UAE) ระหว่างการประชุม WEF ซึ่งเป็นการหารือต่อเนื่องจาก นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่ผ่านมา และยินดีที่บริษัท DP World เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทย และมีความพร้อมในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เพราะตั้งอยู่ในจุดที่ได้เปรียบพร้อมใช้ประโยชน์จากที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ รัฐบาลยังดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ โครงการ Landbridge, โครงการรถไฟทางคู่ และโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น เพื่อผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค


ประธานกลุ่มบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DP World ยินดีที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทสนับสนุนไทยในการพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง ให้เป็นศูนย์โลจิสติกส์ระดับภูมิภาคแบบหลายรูปแบบ (Multi-modal) สำหรับการค้าข้ามพรมแดนระหว่างจีน อินโดจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายทางรถไฟ รวมทั้งโครงการท่าเทียบเรือชุด B ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถรองรับเรือและตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ รองรับการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก นอกจากนี้ DP World พร้อมจะเดินหน้าศึกษาการลงทุนโครงการ Land Bridge เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและเชื่อมโยงไปมหาสมุทรอินเดีย และกลุ่มประเทศ BIMSTEC
https://mgronline.com/politics/detail/9680000006549
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48665
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2025 7:05 am    Post subject: Reply with quote

เปิดงานวิจัย “ผลกระทบเมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง”
26/02/2025 กองบรรณาธิการ GREENNEWS UPDATE

เครือข่ายสิ่งแวดล้อม-ประชาสังคมเปิดตัวรายงานวิชาการชิ้นแรก ว่าด้วย “ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม-สังคม-เศรษฐกิจ หากมีโครงการฯ”

นำเสนอ 3 ประเด็นสำคัญ “ต้นทุนและศักยภาพชายฝั่งทะเลชุมพร-ระนอง ที่จะสูญเสียไป – ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งเเละสมุทรศาสตร์ – ปัญหาของร่างกฎหมาย SEC เครื่องมือผลักดันแลนด์บริดจ์”

พร้อมจัดเวทีเสวนากลางกรุง “Land bridge Effect : เสียงสะท้อน ผลกระทบท่าเรือน้ำลึก โครงการเเลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง”

นราวิชญ์ เชาวน์ดี รายงาน

(ภาพ : GreenNews)
เปิดตัวรายงาน
วันนี้ (26 ก.พ. 2568) กลุ่ม Beach for life ร่วมกับ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิภาคใต้สีเขียว เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ และแลต๊ะแลใต้ Thai PBS จัดงานงานเสวนาเเละเปิดตัวรายงาน “Land bridge Effect : เสียงสะท้อน ผลกระทบท่าเรือน้ำลึก โครงการเเลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง” เพื่อเปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ที่จะเกิดขึ้นหากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมอ่าวอ่าง จ.ระนอง (ฝั่งทะเลอันดามัน) และที่แหลมริ่ว จ.ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

อธิวัฒน์ เส้งคุ้ย เครือข่ายนักฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ และหนึ่งในคณะผู้วิจัย กล่าวว่า รายงานชิ้นนี้ตั้งใจเขียนออกมาให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ และถือได้ว่าเป็นรายงานทางวิชาการชิ้นแรก ๆ เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่ง และคาดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้กับรายงานชิ้นอื่น ๆ ต่อไป

“รายงานชิ้นนี้จะเป็นหนึ่งเครื่องมือที่พูดแทนชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่ได้มาในวันนี้ เพื่อสื่อให้ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนี้” อธิวัฒน์ กล่าว

“รายงานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมชายฝั่ง นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักกฎหมาย และองค์กรด้าน สิ่งแวดล้อม และภาคประชาชนที่มีความสนใจ และมีข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ผลกระทบต่อสมุทรศาสตร์ และการกัดเซาะชายฝัง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิชุมชน โดยมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบจากการดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกชุมพรและระนอง

รายงานศึกษาฉบับนี้ประกอบไปด้วย 3 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1. การศึกษาด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม และฐานทรัพยากรธรรมชาติ 2. การศึกษาด้านสมุทรศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง และ 3. การศึกษาด้านวิเคราะห์กฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Econonic Coridor: SEC)” อภิศักดิ์ ทัศนี กลุ่ม Beach for life และหนึ่งในคณะผู้วิจัย กล่าว

อภิศักดิ์ ทัศนี (ภาพ : Beach for life)
ศักยภาพชายฝั่งทะเลชุมพร – ระนอง
อภิศักดิ์ กล่าวถึงภาพรวมของ “โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน” หรือ “โครงการแลนด์บริดจ์” ว่าเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มุ่งเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ผ่านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเล ได้แก่ แหลมอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง และแหลมริ่ว จังหวัดชุมพร และจะมีการสร้างทางเชื่อมท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งเข้าด้วยกัน โดยมีรถไฟทางคู่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (motorway) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์และกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคใต้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการขนาดใหญ่นี้อาจนำมาซึ่งผลกระทบที่สำคัญในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน

“แนวคิดในการเชื่อม 2 ฝั่งทะเลเป็นแนวคิดที่มีมานาน และเปลี่ยนมาเรื่อย ๆ ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์กลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อสาธารณะอีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564

ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมศักดิ์สยาม ชิดชอบ ครั้งนี้เป็นพื้นที่จังหวัดชุมพร – ระนอง และเป็นเหตุให้เรามาพูดกันในวันนี้ว่าชุมพรและระนองมีต้นทุนและศักยภาพชายฝั่งอย่างไรบ้าง” อภิศักดิ์ กล่าว

อภิศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกชุมพร – ระนอง ภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์ ว่า เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีผลกระทบมากจึงเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ Environmental Health impact Assessment : EHIA ปัจจุบันอยู่ในช่วงทบทวนร่างรายงานและจะเกิดการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 ในช่วง ส.ค. 2568 ถ้าผ่านรายงานจะส่งไปที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น ถ้าคณะกรรมการฯ ให้ผ่านก็จะเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

“แต่ว่าโครงการนี้เสนอมาพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่ากระบวนการตามข้างต้นอาจเปลี่ยนไป เพราะว่าในร่างพ.ร.บ. SEC กำหนดไว้ว่าขั้นตอนในการทำ EHIA กำหนดเวลาไว้ 120 วัน ก็อาจทำให้โครงการเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น” อภิศักดิ์ กล่าว

สำหรับผลการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมใน 2 พื้นที่สร้างท่าเรือน้ำลึกชุมพรและระนอง อภิศักดิ์ กล่าวว่า ท่าเรือน้ำลึกชุมพรภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์นั้น ตั้งอยู่บริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร บริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ จำนวน 7,721 คน

“พื้นที่ตั้งโครงการถือได้ว่าตั้งอยู่ในพื้นที่หรือสถานที่ที่มีความอ่อนไหวและอยู่ในเขตชุมชน ทั้งสถานพยาบาล โรงเรียน จำนวน 14 แห่ง และอาจมีถึง 2,510 หลังคาเรือน ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการท่าเรือนี้ นอกจากนี้ข้าง ๆ พื้นที่โครงการก็มีสุสานหอยล้านปีที่อยู่ติดกับสะพานท่าเรือเลย

นอกจากนี้โครงการท่าเรือน้ำลึกชุมพร (แหลมริ่ว) ก็อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองริ่ว และเป็นพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ลักษณะของชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1B และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2

คณะผู้ศึกษาได้ทำการสอบถามสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามประเมินมูลค่าจากประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นกลุ่มที่เราคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้มากที่สุด พบว่า ประมงพื้นบ้านฝั่งชุมพรมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 29,450.75 บาทต่อเดือน รวมทั้งจากการวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจประมงพื้นบ้านในอำเภอหลังสวน จำนวน 224 ครัวเรือน พบว่า มูลค่าจากการทำประมงพื้นบ้านครัวเรือนละกว่า 79,163,616 บาทต่อปี

และจากการสอบถามก็พบว่าทะเลฝั่งชุมพรมีสัตว์น้ำอยู่กว่า 108 ชนิด มีทั้งสัตว์น้ำเศรษฐกิจและสัตว์น้ำที่สำคัญต่อระบบนิเวศอยู่รายล้อมพื้นที่โครงการ และพื้นที่หลังสวนชุมพรก็เป็นแหล่งวางไข่ปลาทู หากมีการขุดลอกร่องน้ำและถมทะเลก็จะกระทบปลาทูด้วย

ต่อมาฝั่งระนองซึ่งหนักกว่าฝั่งชุมพรอีก เพราะว่าระนองมีความอุดมสมบูรณ์มาก โดยท่าเรือน้ำลึกระนองภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์ตั้งอยู่บริเวณแหลมอ่าวอ่าง ต่อเนื่องกับพื้นที่ ต.ราชกรูด ต.เกาะพยาม อ.เมือง ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

เราคาดว่ารอบพื้นที่โครงการจะมีประชากรซึ่งอาจเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกระนอง จำนวน 36,913 คน ซึ่งมีความเป็นอยู่ของสังคมแบบพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทย

มุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น อาทิ ชาวเลมอแกน และไทยพลัดถิ่น เป็นต้น ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมและการประมง ซึ่งพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพเป็นต้นทุนสำคัญในการดำรงชีวิต

โดยชาวเลมอแกนเราคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการมากที่สุด เพราะปัจจุบันชาวเลมอแกนยังทำประมงด้วยวิธีดูหลำ (ดำน้ำฟังเสียงปลา) เพื่อจับปลา หากมีโครงการที่มีการขุดลอก มีเครื่องจักร มีเรือขนาดใหญ่เขาจะไม่สามารถทำการประมงแบบนี้ได้เลย

ขณะเดียวกันพื้นที่ตั้งโครงการท่าเรือน้ำลึกระนอง (แหลมไผ่, อ่าวอ่าง) ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก โดยพื้นที่ดังกล่าวนั้นอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ ซึ่งเป็นแรมซาร์ไซต์ลำดับที่ 8 ของประเทศไทย รวมถึงอยู่ในพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ซึ่งกำลังจะถูกเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

จากการศึกษาของเราพบว่าประมงพื้นบ้านระนองมีรายได้สูงมากคือ มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 31,670.85 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของระนอง 15% และการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ 2 อำเภอ (เมือง และกะเปอร์) ของจังหวัดระนองมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวม 559,805,497 บาทต่อปี” อภิศักดิ์ กล่าว

อภิศักดิ์ กล่าวต่อถึงพื้นที่ที่น่าสนใจคือ ดอนตาแพ้ว ซึ่งถือว่าเป็นขุมทรัพย์กลางอ่าวระนอง เนื่องจากเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด บริเวณดังกล่าวพบสัตว์น้ำกว่า 160 ชนิด และเป็นที่ที่พบปลาที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาเมี้ยน ซึ่งขายได้กิโลกรัมละ 1,500 บาท

“เราทำการศึกษาโดยให้ชาวประมงติด GPS ตอนไปล่องเรือหาปลา พบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านไปหาปลาที่แถวดอนตาแพ้ว และเส้นทางที่ไปชาวบ้านต้องขับเรือผ่านบริเวณที่จะสร้างท่าเรือเลย ดังนั้นหากมีท่าเรือชาวบ้านก็ต้องอ้อมหรือไม่ก็ต้องไปหากินบริเวณอื่นซึ่งไม่มีความหลากหลายของสัตว์น้ำเท่าท่ีนี่” ผู้วิจัย กล่าว

รศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (ภาพ : Beach for life)
ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
รศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผย ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งเเละสมุทรศาสตร์โดยใช้เเบบจำลองคณิตศาสตร์ในกรณที่มีโครงการเเละไม่มีโครงการท่าเรือน้ำลึก กล่าวว่า การสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์จะต้องถมทะเลเป็นจำนวนมาก คือ ฝั่งทะเลบริเวณแหลมริ่ว จังหวัดชุมพร ต้องถมทะเล 5,808 ไร่ และอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง จะต้องถมทะเล 6,975 ไร่ มากกว่า โครงการถมทะเลขนาดใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตอย่างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (5,257 ไร่ รวมระยะที่ 3 ที่กำลังดำเนินการ) และท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด จังหวัดระยอง (3,362 ไร่ รวมระยะที่ 3 ที่กำลังดำเนินการ)

“งานศึกษาผลกระทบเบื้องต้นของการเกิดขึ้นของท่าเรือแหลมริ่ว ชุมพร ได้ใช้โปรแกรม DSAS และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ GENESIS เพื่อจำลองว่าหากมีโครงสร้างสะพานเข้าท่าเรือและท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่เกิดขึ้นจริงจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลหาดบางน้ำจืดและอ่าวทองโข โดยการพยากรณ์แนวชายฝั่งจากปีปัจจุบัน (2567) ที่ยังไม่เกิดโครงการไปยังปีอนาคตที่โครงการระยะที่ 1 แล้วเสร็จ (2583) และเมื่อโครงการดำเนินโครงการไปแล้ว 5 ปี (2588) และ 10 ปี (2593)

เบื้องต้นกรณีหาดทองโขและหาดบางน้ำจืด มีแนวโน้มทับถมมากกว่ากัดเซาะอยู่แล้วจากอดีตถึงปัจจุบัน และเมื่อคาดการณ์ไปในอนาคตหากมีโครงการท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้นพบว่าการทับถมและกัดเซาะที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตนั้นยังคงเกิดขึ้นต่อไป แต่ในระดับหรือปริมาณที่ลดลงอย่างมาก

ขณะที่งานศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดจากท่าเทียบเรือน้ำลึกขนาดใหญ่บริเวณอ่าวอ่าง ระนอง วิเคราะห์โดยการจำลองลักษณะทางกายภาพปัจจุบันของพื้นที่รอบ ๆ ตำาแหน่งที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งของท่าเรือและสะพานเชื่อมท่าเรือลงไปในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สองมิติ (MIKE21) เพื่อศึกษาลักษณะของพลศาสตร์ชายฝั่งทะเล หรือการไหลเวียนของน้ำทะเลอันเกิดจากการขึ้นลงของน้ำทะเลตามธรรมชาติ ความเร็วและทิศทางลม และความลึกของท้องทะเล โดยจำลองในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม-ตุลาคม) และช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูกาล (มีนาคม-เมษายน) ในช่วงน้ำเกิดน้ำตาย และน้ำขึ้นน้ำลง รวมทั้งหมด 12 กรณีศึกษา

ผลการศึกษาที่สำคัญค้นพบว่า แม้ว่าระดับน้ำทะเลก่อนและหลังการดำเนินโครงการจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่กระแสน้ำและทิศทางการไหลของน้ำในบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงมีทั้งบริเวณที่กระแสน้ำไหลแรงขึ้นและบริเวณที่กระแสน้ำไหลช้าลง” รศ.ดร.สมปรารถนา กล่าว

“โครงการถมทะเลเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกส่งผลโดยตรงต่อกระแสน้ำ ตะกอน และระบบนิเวศทางทะเล จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่าการถมทะเลจะส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งมีรูปแบบผิดไปจากธรรมชาติเดิม หากท่าเรือและสะพานมีผลทำให้กระแสน้ำไหลแรงขึ้น อาจทำให้ชาวประมงจับปลาได้ยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุของเรือเล็ก เพราะเครื่องมือประมงอาจถูกผัดพาออกไปจากจุดที่วางไว้

ในบางพื้นที่กระแสน้ำกลับไหลช้าลง อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของตะกอนและของเสียจากเรือ ทำให้คุณภาพน้ำลดลงและส่งผลกระทบต่อแหล่งวางไข่ของสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นหัวใจของระบบนิเวศทางทะเล กระแสน้ำที่นิ่งขึ้นยังอาจก่อให้เกิดมลพิษสะสม ซึ่งกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศในระยะยาว

พื้นที่ที่ถูกถมทะเลเพื่อสร้างท่าเรือ อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อเส้นทางเดินเรือของชาวประมง พื้นบ้าน ทำให้ต้องอ้อมไกลขึ้นเสียทั้งเวลาและต้นทุนค่าน้ำมัน หากไม่มีการออกแบบร่องน้ำให้เหมาะสมอาจเกิดปัญหาร่องน้ำตื้นเขินจากตะกอนที่สะสม ทำให้เรือประมงติดโคลนในช่วงน้ำลง และต้องรอเวลา น้ำขึ้นเพื่อออกเรือได้” รศ.ดร.สมปรารถนา กล่าวสรุป

“การเปิดเผยข้อมูลชุดนี้ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรก และถ้าเราทำได้เหตุใดรัฐจึงทำไม่ได้ สุดท้ายนี้อยากจะถามกลับไปทางรัฐบาลบ้าง ว่าทั้ง ๆ ที่รัฐบาลก็มีทรัพยากรมากมายแต่ทำไมถึงไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับชายฝั่งทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปออกมาเลย” ข้อสรุปจากรายงานระบุ

อธิวัฒน์ เส้งคุ้ย (ภาพ : Beach for life)
ปัญหา ร่างพ.ร.บ. SEC เครื่องมือผลักดันเเลนด์บริจด์ชุมพร-ระนอง
อธิวัฒน์ เส้งคุ้ย เครือข่ายนักฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ กล่าวว่า ขณะที่โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง กำลังเดินหน้าอยู่นั้น ทางสภาผู้แทนราษฎรก็มีการเสนอกฎหมายเพื่อที่จะกำหนดให้ภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปัจจุบันมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. …. จำนวน 3 ฉบับ 1. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ 2. อนุทิน ชาญวีรกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ และ 3. อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ

“ทั้ง 3 ฉบับมีเป้าหมายเดียวกันคือกำหนดให้ภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้การดำเนินโครงการอย่างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งให้เกิดขึ้นได้ และยังมีโครงการอื่นอีก เช่น รถไฟรางคู่เพื่อขนถ่ายสินค้า โครงการมอเตอร์เวย์ โดยเริ่มแรกกำหนดพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และอนาคตอาจขยายได้อีก 10 จังหวัด

ร่างกฎหมายดังกล่าวมีประเด็นสำคัญที่มีปัญหา 3 ประเด็นคือ

1. การรวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และการสร้างระบบยกเว้นในทางกฎหมาย

คือ การรวบอำนาจในการตัดสินใจไปที่คณะกรรมการนโยบาย ตามมาตรา 32 ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเขียนไว้กว้างมาก ซึ่งจากการกำหนดดังกล่าวจะทำให้อำนาจตามกฎหมายเฉพาะทั้งหลายจะมาอยู่ที่คณะกรรมการนโยบายทั้งหมด และคณะกรรมการนโยบายที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คือองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี สะท้อนให้เห็นถึงความเบ็ดเสร็จในการใช้อำนาจทางกฎหมายนอกจากนี้ยังมีการให้อำนาจกับคณะกรรมการนโยบายมีอำนาจอนุมัติ อนุญาต และให้ความเห็นชอบตามกฎหมายฉบับอื่นอีกด้วย ซึ่งอยู่ในมาตรา 36 เช่น กฎหมายการเดินเรือ กฎหมายชลประทาน กฎหมายประกอบกิจการพลังงาน เป็นต้น

ส่วนการสร้างข้อระบบยกเว้นในทางกฎหมาย คือ กฎหมายปกติที่มีการใช้ในพื้นที่อื่นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องใช้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งที่ถูกพูดถึงมาก ๆ คือการยกเว้นให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ยาว 99 ปี

ดังนั้น การรวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และการสร้างระบบยกเว้นในทางกฎหมายทำให้กฎหมายอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนหรือผลักดันระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้จะถูกยกเว้นการใช้บังคับไป

อาจเรียกได้ว่าลักษณะเช่นนี้ เป็นเสมือน Super law ที่สามารถลบล้าง หรือยกเว้นกฎหมายอื่นและแก้รายละเอียดกฎหมายฉบับอื่นได้ด้วย ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจดังกล่าวก็มีความยากยิ่งขึ้น

2. ปัญหาในทางรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ให้อำนาจฝ่ายบริหารแบบค่อนข้างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลนั้นทำได้ยากขึ้น ย่อมทำให้กระทบต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจอันเป็นหลักการสำคัญทางรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบการใช้อำนาจก็จะกระทำได้ยากขึ้น ยิ่งเมื่อตรากฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรแบบนี้แล้วโอกาสที่จะตรวจสอบก็ยิ่งยากขึ้นไปด้วย

นอกจากนี้ร่างกฎหมายฉบับนี้เอียงกะเท่เร่ในด้านเดียว คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลักและขัดกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ ขัดกับหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน

เมื่อเป็นเช่นว่านี้ ร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ย่อมมีปัญหาในทางรัฐธรรมนูญ เพราะว่าฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถหาจุดสมดุลระหว่างคุณค่าทั้งหลายที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ได้

3. กลไกทางกฎหมายในการตรวจสอบ เมื่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีปัญหาในทางรัฐธรรมนูญ คำถามจึงมีว่า เราจะมีช่องทางในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายนี้หรือไม่

สรุปได้ว่า ร่างพ.ร.บ. SEC ที่ถ้าเกิดขึ้น ก็จะเป็นทางลัดในการละเว้นกฎหมายปกติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายสำคัญในการนำมาเพื่อใช้ผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง ทำให้เอื้อและเร่งให้เกิดการอนุมัติและอนุญาตต่อโครงการต่าง ๆ ได้ไวขึ้น” อธิวัฒน์ กล่าว

อ่านรายงานฉบับเต็ม : https://bfldata.beachtest.site/uploads/ebook17_37933b0c67.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2025 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บิ๊กเนมจีน”ไชน่าฮาร์เบอร์’สนร่วมชิง”แลนด์บริดจ์” คมนาคมเร่งพ.ร.บ.SEC ดันเปิดประมูลปี 69
Source - ผู้จัดการออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:24


ชง ครม.11 มี.ค.เคาะ พ.ร.บ. SEC “แลนด์บริดจ์” “ไชน่า ฮาร์เบอร์-ดูไบเวิล์ด” รุกขอข้อมูลหารือต่อเนื่อง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 08:42 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 15:02 น.

KEY POINTS
• โครงการแลนด์บริดจ์ เฟส 1: วงเงิน 5 แสนล้านบาท พร้อมประมูลปี 2569
• ความสนใจจากต่างชาติ: บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ส่วน ดูไบเวิลด์ ยังหารือต่อเนื่อง

“มนพร” เผยร่าง พ.ร.บ. SEC พร้อมแล้ว เตรียมชง ครม.11 มี.ค.นี้ ให้อำนาจ สนข.ดำเนินการ ดันบังคับใช้ปลายปี 68 ดัน “แลนด์บริดจ์” เฟส 1 วงเงิน 5 แสนล้านประมูลปี 69 ด้าน ’ไชน่า ฮาร์เบอร์' รุกขอข้อมูลเพิ่ม ส่วน ”ดูไบเวิลด์” หารือต่อเนื่อง

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ ในส่วนของการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อขอให้มอบอำนาจในการดำเนินโครงการและผลักดัน พ.ร.บ. SEC นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า เนื่องจาก สนข.ไม่ใช่หน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอำนาจเสนอกฎหมาย โดยให้ใช้ช่องทางที่กระทรวงคมนาคมเป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบในการมอบอำนาจให้ สนข.ในการดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ได้

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจะเสนอที่ประชุม ครม.ในวันที่ 11 มี.ค. 2568 เพื่อขอความเห็นชอบการมอบอำนาจให้สนข. ซึ่งกำลังพิจารณาว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. SEC แล้ว ก็อาจจะเป็นการเวียนขอความเห็นซึ่งจะใช้เวลาไม่มาก ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะส่งเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอบรรจุวาระ ซึ่งวิปรัฐบาลจะกำหนดการบรรจุพิจารณาวาระที่ 1 ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะผลักดัน กฎหมายนี้ให้แล้วเสร็จในปี 2568

ทั้งนี้ การเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาและมีมติมอบหมายให้ สนข.เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC และจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและสำนักงานนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

รายงานข่าวระบุว่า หลัง ครม.มีมติ สนข.จะต้องนำร่างกฎหมายดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน หลังจากนั้นจะต้องนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาเสนอให้ ครม.มีมติเห็นชอบ เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาต่อไป ซึ่งเป้าหมายของรัฐบาลต้องการให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ได้ภายในปลายปี 2568 นี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์คล่องตัวขึ้น


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า หลังจากที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ณ กรุงปักกิ่ง และเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว ครั้งที่ 9 ณนครฮาร์บิน เมื่อวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2568 และทางนายกรัฐมนตรีมีการกล่าวผ่านรายการ “โอกาสไทยกับนายกฯ แพทองธาร” เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า จีนยังให้ความสนใจโครงการแลนด์บริดจ์มาก และต้องการให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้น หากโครงการเกิดขึ้นจะมีการเชื่อมกันและจีนได้ขอข้อมูลผลการศึกษาโครงการ เนื่องจากจีนเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการดังกล่าว ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งจีนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะมอบหมายให้ทีมที่ทำการศึกษาโครงการดังกล่าวส่งข้อมูลเพิ่มเติมไปให้ รวมทั้งการเชิญชวนมาลงทุนด้วย

@’ไชน่า ฮาร์เบอร์' รุกขอข้อมูลเพิ่ม ส่วน ”ดูไบเวิลด์” หารือต่อเนื่อง

แหล่งข่าวระบุว่า บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมรายละเอียดด้านการลงทุน และรายละเอียดเนื้องาน ซึ่งทาง สนข.ได้ส่งไปให้แล้ว ทั้งนี้ โครงการมีการแบ่งเฟสลงทุนเอาไว้เป็น 4 ระยะ ซึ่งไชน่า ฮาร์เบอร์ มีท่าทีแสดงถึงความพร้อมในการลงทุนทั้ง 4 เฟส แต่อาจจะมีความเห็นที่แตกต่างไปในเรื่องเนื้องานที่ทางการไทยได้ศึกษาไว้ ทางไชน่า ฮาร์เบอร์ จึงขอเอาข้อมูลทั้งหมดไปศึกษาในรายละเอียดก่อน


ขณะที่บริษัท Dubai Port World ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หลังจากที่ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับไทยไปเมื่อกลางปี 2567 ล่าสุดคณะทำงานที่มียังอยู่ระหว่างหารือกันอยู่ โดยทาง Dubai Port World แสดงความจำนง พร้อมจะลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์แน่นอน

@ดันเฟส 1 วงเงิน 5 แสนล้านประมูลปี 69

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เร่งรัดโครงการต่อเนื่อง โดยในส่วนของการเปิดประมูลงานก่อสร้างระะยะที่ 1 วงเงินรวม 522,844.08 ล้านบาทที่เนื้องานประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร จำนวน 118,519.50 ล้านบาท, งานก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง จำนวน 141,716.02 ล้านบาท, งานก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ จำนวน 195,504.00 ล้านบาท, งานก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า จำนวน 60,892.56 ล้านบาท และค่าเวนคืนและจัดานกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 6,212.00 ล้านบาทพร้อมกำชับให้ สนข. เร่งรัดการจัดทำร่างข้อกำหนดขอบเขตของงาน (TERM OF REFERENCE: TOR) ให้ได้ภายในปลายปี 2569

สำหรับรูปแบบการลงทุนจะเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งเป็นการให้สิทธิแก่เอกชนลงทุนในการก่อสร้างและการบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 50 ปี และจะเปิดให้ประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2025 11:46 am    Post subject: Reply with quote

'มนพร' เร่งเครื่องแลนด์บริดจ์ปักหมุดชง พรบ.SEC เข้า ครม. ภายใน พ.ค. นี้
25 เมษายน 2568 เวลา 10:24 น.

‘มนพร’ ลงพื้นที่ตรวจงานโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ เตรียมเสนอ พรบ.SEC เข้า ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้ ก่อนเสนอบรรจุวาระแรก ถกเปิดประชุมสภา 3 ก.ค.2568 มั่นใจผ่านฉลุย พร้อมลุยขั้นตอนประกวดราคาปลายปีนี้

25 เม.ย.2568 – นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) โดยระบุว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะขับเคลื่อนได้จำเป็นต้องมีกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลอยู่ผลักดันร่างพระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ พ.ศ….. (พรบ. SEC) สถานะปัจจุบันอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นประชาชน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมซึ่งได้รับมติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดำเนินการจัดทำ พรบ.SEC คาดการณ์ว่าจะสามารถดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและร่าง พรบ.SEC ให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอไปยัง ครม.พิจารณาภายในเดือน พ.ค.นี้ หลังจากนั้นจะบรรจุวาระเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่กำลังจะเริ่มเปิดประชุมสามัญในวันที่ 3 ก.ค.นี้ และคาดว่ากระบวนการพิจารณาเหล่านี้จะแล้วเสร็จตามเป้าหมาย ผลักดันให้สามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคา โดยร่างเอกสารเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (RFP) ในเดือน ธ.ค.2568

“เนื่องด้วย พรบ.SEC เป็นเรื่องของกฎหมายใหม่ จึงคาดว่าจะไม่ได้มีการแตกประเด็นที่กว้างมาก และอาจไม่ได้ใช้เวลาในกระบวนการพิจารณามากนัก อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ จึงคาดว่า พรบ.SEC จะได้รับการพิจารณาเห็นชอบ และทำให้โครงการเดินหน้าประกวดราคา เพื่อเริ่มก่อสร้างได้ตามเป้าหมายกำหนด”นางมนพร กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยังกำหนดกรอบการดำเนินงานของโครงการแลนด์บริดจ์ โดยประเมินว่าการร่างเอกสารเชิญชวนผู้ลงทุนในการร่วมลงทุนโครงการ จะเสร็จไตรมาส 1 ปี 2569 และคัดเลือกผู้ลงทุนเสร็จไตรมาส 2 ปี 2569 จากนั้นจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน และเสนอ ครม.อนุมัติโครงการในไตรมาส 2 ปี 2569 พร้อมลงนามสัญญากับเอกชนร่วมลงทุน โดยคาดการณ์ว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะเริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 ในไตรมาส 3 ปี 2569 เสร็จพร้อมเปิดให้บริการปลายปี 2573

ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นส่วนของร่าง พรบ.SEC ผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงคมนาคมและ สนข. ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยพบว่ามีประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นราว 9,000 คน ซึ่งพบว่ากว่า 8,000 คนเห็นด้วยกับการพัฒนา พรบ.SEC และแลนด์บริดจ์ โดยมีประชาชนราว 700 คนที่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อาทิ ข้อกังวลเกี่ยวกับการจ้างงานในพื้นที่ ข้อกังวลเกี่ยวกับการชดเชยผลกระทบ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ สนข.มีการศึกษารองรับแล้ว

สำหรับปัจจุบันความก้าวหน้าของโครงการแลนด์บริดจ์ ได้ออกแบบสิ่งแวดล้อมเกือบแล้วเสร็จ อยู่ในช่วงการออก พรบ.SEC เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทั้ง 4 จังหวัดและแลนด์บริดจ์ ซึ่งดำเนินการคู่ขนานไปกับการทำเอกสารประกวดราคา โดยคาดว่าจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอได้ในปีหน้า และได้ตัวเอกชนในปี 2569 แล้วเสร็จปี 2573 ซึ่งโครงการนี้จะประกวดราคาเป็นสัญญาเดียว ได้สิทธิดำเนินโครงการ 3 ส่วนทั้งท่าเรือน้ำลึก มอเตอร์เวย์ และรถไฟ

โดยเอกชนสามารถร่วมกลุ่มพันธมิตรกิจการร่วมค้าเข้าร่วมประมูล เบื้องต้นคาดว่าการลงทุนระยะที่ 1 จะมีมูลค่าราว 5 แสนล้านบาท จากผลการศึกษาของโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนรวม 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการท่าเรือฝั่งชุมพร 3 แสนล้านบาท , โครงการท่าเรือฝั่งระนอง 3.3 แสนล้านบาท , โครงการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO) 1.4 แสนล้านบาท และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท

สำหรับสาเหตุที่จะประกวดราคาครั้งเดียวเพราะต้องการให้เกิดการบูรณาการ เนื่องจากต้องการให้ทุกโครงการโครวงสร้างพื้นฐานสามารถเชื่อมโยงกันได้ ผู้ประกอบการรายเดียวเข้ามาบริหาร ก็จะสามารถจัดการท่าเรือ เชื่อมต่อสินค้าไปที่รถไฟ หรือมอเตอร์เวย์ได้ทันที เป็นการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว ซึ่งโครงการนี้จะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติร่วมทุนไทย และเข้ามาลงทุนได้ โดยไม่จำกัดสัดส่วนการร่วมลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

“กระแสขายชาติ ขอชี้แจงว่าการเวนคืนที่ดินพัฒนาโครงการจะทำโดยรัฐบาล ที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐทั้งหมด เป็นของคนไทย ไม่ได้ยกให้ใคร เพียงแต่ประมูลให้ต่างชาติมาลงทุน ก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้ และพื้นที่ที่เหลือก็จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนกลุ่มอื่นมาตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ซึ่งมองโอกาสเป็นประเภทสินค้าเกษตร สินค้าประมง สิ่งเหล่านี้จะต่อยอดอุตสาหกรรมและส่งออกให้มีมูลค่าเพิ่ม โดยการลงทุนนี้ก้จะไม่จำกัดนักลงทุนเป็นไทยหรือต่างชาติ แต่ต้องให้เกิดการจ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้น”นายปัญญา กล่าว

นายตริน พงษ์เภตรา ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จุดยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันอยู่เชื่อมสองฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน และขณะนี้ในพื้นที่ภาคใต้ก็ยังมีการค้าน้ำมันระหว่างอ่าวมะละกา ทั้งส่วนของน้ำมันสุกและน้ำมันดิบ แต่จะมีการค้าขายได้ต้องผ่านทางสิงคโปร์ ดังนั้นถ้าจะมีแลนด์บริดจ์ขึ้นมา ในฐานะภาคเอกชนอยากให้มีการพัฒนาเพื่อรองรับค้าขายน้ำมันทั้งสองฝั่งด้วย เพื่อรับดีมานด์ส่วนนี้ รวมทั้งอยากให้เรียนรู้จากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน และให้ทำงานร่วมกันคนไทย ธุรกิจของคนไทยได้ด้วย

นายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชุมพร กล่าวว่า เห็นด้วยกับการพัฒนา พรบ.SEC และเห็นด้วยที่ต้องพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ ส่วนปัญหาเขตอำเภอพะโต๊ะที่มีข้อกังวลเรื่องเขตอุตสาหกรรม ก็มองว่าเรื่องนี้ต้องชี้แจงและชดเชยชาวบ้าน โดยเฉพาะเขตป้าไม้ที่ประชาชนได้ปลูกแล้วก็ควรให้สิทธิชดเชยเจรจาให้เหมาะสม ส่วนเขตนิคมอุตสาหกรรมที่อาจจะพัฒนาในอนาคตก็ให้จัดพื้นที่อย่างชัดเจน ส่วนปัญหาเรื่องน้ำก็ขอเสนอแนะให้สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เชื่อว่าหากแก้ปัญหาเหล่านี้จะตอบโจทย์ประชาชน
https://www.thaipost.net/economy-news/778853/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44973
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2025 1:47 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ดันร่าง พ.ร.บ.SEC ประมูล ”แลนด์บริดจ์” ปี69 ยันดูแลผลกระทบทุกมิติ-มั่นใจสงครามการค้าไม่กระทบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤศจิกายน ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 17:19 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 15:24 น.


“มนพร” ลงพื้นที่ชุมพร – สุราษฎร์ฯ รับฟังความเห็น”เอกชน-ประชาชน”ผลักดัน พ.ร.บ.SEC “แลนด์บริดจ์”ประกาศในปีนี้ตั้งสนง.และเปิด PPP ปี69 เฟสแรก เปืดปี 73 ยันดูแลผลกระทบทุกมิติ สร้างอาชีพในพื้นที่ ช่วยเศรษฐกิจประเทศ หลังชาวบ้านห่วงเวนคืน ประมง สิ่งแวดล้อม

วันนี้ (24 เมษายน 2568) นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร และนครศรีธรรมราช ว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) เพื่อเชื่อมการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) และการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... ซึ่งทุกหน่วยงานที่เป็นองค์กรหลักร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดของภาคใต้
นางมนพร กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างสองฝั่งทะเลที่สามารถเชื่อมโยงไทยไปสู่ภูมิภาคเอเชีย และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศในการพลิกโฉมการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม กระทรวงคมนาคม ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์ จะเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการศึกษาการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ และจัดทำร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะนำความคิดเห็นที่ได้รับฟังเสียงจากเจ้าของพื้นที่ทั้งในด้านมุมมองของการพัฒนาพื้นที่ ประเด็นข้อห่วงใยต่าง ๆ จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมและเป็นการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ ในช่วงบ่าย รมช.คมนาคมได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดการสัมมนาประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... และการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการ และเอกชนเข้าร่วมกว่า 150 คน


นางมนพร กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดที่ผ่านมา สนข.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.SEC มาแล้ว 3 จังหวัด คือ ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช โดยสุราษฏร์ธานี เป็นเวทีสุดท้าย หลังจากรับฟังความเห็นตามขั้นตอน สนข.จะสรุปร่างพ.ร.บ. SEC โดยประมวลความเห็นต่าง มาปรับปรุงให้เหมาะสม จากนั้นจะมีการ ประชุมสรุปอีกครั้ง ที่กรุงเทพฯ และนำเสนอครม.ได้ภายในเดือนพ.ค. 2568 และตามขั้นตอน คาดว่า จะเสนอร่างพ.ร.บ. SEC ต่อสภาผู้แทนราษฎร ได้ในการประชุมสามัญ ที่จะเปิดสมัยประชุมวันที่ 3 ก.ค. 2568 ซึ่งจากที่ประเมินเวลา ผ่านเข้าสภาวาระ 1, 2 , 3 ประมาณเดือนก.ย. 2568 จากนั้นจะเสนอวุฒิสภา ใช้เวลาประมาณ อีกประมาณ 2 เดือน หรือในเดือนต.ค.-พ.ย. 2568 จะแล้วเสร็จและนำร่างทูลเกล้าฯ เพื่อจัดตั้งสำนักงาน SEC และคณะกรรมการ SEC ภายในปลายปี 2568 เพื่อให้ดำเนินการประกาศ ประมูล PPP โครงการแลนด์บริดจ์ในปี 2569

“ร่างพ.ร.บ.SEC มีทั้งสิ้น 71 มาตรา และเป็นกฎหมายใหม่ เป็นโปรเจ็กต์เรือธงของรัฐบาล จะหารือประธานสภาฯเพื่อขอเร่งบรรจุ หรือเลื่อนลำดับร่างพ.ร.บ.SEC ขึ้นมา พิจารณาเร็วขึ้น คาดว่าจะสามารถผลักดันผ่านการพิจารณาของสภาฯได้ตามแผนงาน “

นางมนพรกล่าวว่ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ได้เห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ประกอบกับผลการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ได้เร่งรัดให้ออกแบบและก่อสร้างระบบโลจิสติกส์เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย

ทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิตและการคมนาคมขนส่งของเอเชีย รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศที่ตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ได้กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ


@ลงพื้นที่จุดก่อสร้าง”ท่าเรือแหลมริ่ว”

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2568 นางมนพร ได้ลงพื้นที่ บริเวณ ท่าเรือแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ของโครงการพัฒนาแลนด์บริดจ์ ซึ่งขณะนี้ สนข. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) และจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน

นางมนพรกล่าวว่า ในการร่างพ.ร.บ. SEC มีการลงพื้นที่ และหน่วยงานฝ่ายปกครองทั้งนายอำเภอผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาร่วม รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในทุกจุดทุกมิติ โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบพื้นที่ทำมาหากินได้ลงสำรวจและร่วมกันหาวิธีการแก้ไข และเยียวยา ยืนยันว่าโครงการจะช่วยสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่และเศรษฐกิจของประเทศ


@เผยข้อห่วงใย”ปัญหาแหล่งน้ำ-มลพิษโรงกลั่นน้ำมัน

นางมนพรกล่าวว่า จากการรับฟังความคิดเห็นทั้งภาคราชการตัวแทนของภาคเอกชน สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว และ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการแลนด์บริดจ์ และร่างพ.ร.บ.SEC เพื่อเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น เรื่องการบริหารจัดการที่จะมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก คล้ายกับ EEC จึงเป็นห่วง เรื่องระบบบริหารจัดการน้ำที่อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งขณะนี้ที่จังหวัดชุมพรเอง จะต้องมีการหาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงเรื่องของการพัฒนาศักยภาพ และทักษะการทำงานของบุคลากร เป็นแรงงานฝีมือ เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ทั้ง อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่

รวมถึงห่วงใยการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากการบริหารงานจะเป็นรูปแบบองค์คณะที่มีผู้แทนมาจากหลายกระทรวง เพื่อพิจารณาอนุญาตแบบ One Stop Service ที่แท้จริง เพราะ เดิมหากจะขอตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีองค์ประกอบการขออนุญาตจากหลายกระทรวง ที่มีความยุ่งยาก โดยเฉพาะชุมพร และระนองส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ การขออนุญาตใดๆก็จะต้องมี หลายกระทรวงเกี่ยวข้อง จะสร้างความยุ่งยาก ให้นักลงทุน

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเรื่องของการขนส่งสินค้าที่มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีพื้นที่หลังท่าให้พร้อมสำหรับการทำธุรกิจ และเน้นธุรกิจสีเขียวหรือ Eco System นอกจากนี้มีความห่วงใย การตั้งโรงกลั่นน้ำมันและการส่งพลังงานที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมั่นว่าการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้จะไม่สร้างมลพิษในพื้นที่ ซึ่งข้อเสนอแนะทุกเรื่องจะคุยรายละเอียดกันในการร่างพ.ร.บ.SEC อยู่แล้ว เพื่อร่วมกันการวางแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว


@สงครามการค้าไม่กระทบ เชื่อ”แลนด์บริดจ์”ช่วยลดต้นทุนขนส่ง

สำหรับกรณีสงครามการค้าของสหรัฐอเมริกา จะมีผลต่อโครงการแลนด์บริดจ์หรือไม่ นางมนพรท กล่าวว่า มองว่าสถานการณ์นี้ มีความต้องการในเรื่องของการขนส่งที่ลดต้นทุนดังนั้นจึงมองว่าสถานการณ์ขณะนี้ยิ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้โครงการ เนื่องจากสายการเดินเรือและภาคการลงทุนทั้งหมดก็อยากมาลงทุน ที่ประเทศไทย ที่มี ทำเลที่ช่วยในเรื่องของการประหยัดต้นทุน และ มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้โดยกระบวนการออกกฎหมายตั้งสำนักงานและเชิญชวนเอกชนมาลงทุน PPP โดยจะเริ่มต้นก่อสร้างในปี 2570 และใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จเปิดให้บริการปี 2573

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ผลการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.SECผ่านเว็บไซต์กระทรวงคมนาคมและสนข. สิ้นสุดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 ที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ 9,000 คน โดยเห็นด้วยกับการพัฒนา พ.ร.บ.SECและโครงการแลนด์บริดจ์กว่า 8,000 คน มีประมาณ 700 คน ที่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเช่น ข้อกังวลเรื่องการจ้างงานและการชดเชยผลกระทบนั้น สนข.ได้นำมาปรับปรุงในการศึกษา

ยืนยันร่างพ.ร.บ.SEC มีความจำเป็น ไม่ได้รวบอำนาจใดๆ แต่จะเป็นการรวมศูนย์หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่อนุมัติการลงทุน หรือออกใบอนุญาตต่างๆ ไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการดำเนินการของนักลงทุน และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการการออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้มีคณะกรรมการฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติหรืออนุญาต เฉพาะพื้นที่ 4 จังหวัด ภาคใต้

โครงการแลนด์บริดจ์ จะทำให้ประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้าระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ประมาณ 3 วัน เทียบกับการเดินเรืออ้อมผ่านช่องแคบมะละกา และประหยัดค่าใช้จ่ายต้นทุนในการขนส่งประมาณ 15% ซึ่งค่าขนส่งถูกลงก็จะทำให้ต้นทุนการลิตและราคาสินค้าถูกลง ไปด้วย


นายปัญญากล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีท่าเรือขนส่งสินค้าไปฝั่งตะวันตกดังนั้นแลนด์บริดจ์จะเป็นท่าเรือสำหรับรองรับสินค้าที่ผลิตจากพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรที่มีค่อนข้างมากนำมาแปรรูปภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนที่จะส่งออกวัตถุดิบไปผลิตหรือแปรรูปที่ประเทศเพื่อนบ้าน

ส่วนการเปิดประมูล จะเป็นแพคเกจเดียว โดยระบุการพัฒนาเป็น4 ระยะ โดย ระยะแรกลงทุน 5 แสนล้านบาท ทั้งท่าเรือ มอเตอร์เวย์ รถไฟ ดังนั้น นักลงทุนหลายราย น่าจะร่วมกันแบบจอยเวนเจอร์ เพราะหากให้แต่ละโครงการต่างคนต่างทำ และเสร็จไม่พร้อมกัน ก็จะไม่เป็นแลนด์บริดจ์ โดยที่ผ่านมา มีนักลงทุนที่สนใจหลายประเทศ เช่น ดูไบ เวิล์ด พอร์ต ,ประเทศจีน ,ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ,ออสเตรเลีย เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 22, 23, 24  Next
Page 23 of 24

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©