Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/02/2025 10:17 am Post subject:
สุริยะ เล็งใช้โมเดลญี่ปุ่น รวมสถานีขนส่ง บขส.ที่กรุงเทพฯ คาดศึกษา 4 เดือน
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, February 19, 2025 09:26
รมว.คมนาคม เล็งย้ายสถานีขนส่ง บขส. 3 แห่ง 'หมอชิต 2 - เอกมัย - สายใต้' มาที่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สั่ง สนข.เร่งศึกษาคาดเสร็จภายใน 3 - 4 เดือน เล็งใช้โมเดลญี่ปุ่น เชื่อมการเดินทางระบบรางอย่างไร้รอยต่อ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบาย ครั้งที่ 1/2568 ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการพิจารณาและศึกษาแนวทาง การย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งสายใต้
ภายใต้การรับผิดชอบของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบการดำเนินการ งบประมาณในการก่อสร้าง และการบริหารการจราจรภายใน - โดยรอบสถานีให้มีความคล่องตัวด้วย
ทั้งนี้ การย้ายสถานีขนส่งฯ นั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ และนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟไทย รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน ที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีอื่น ๆ
ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสาย (ปัจจุบันให้บริการในรถไฟฟ้าสายสีแดงและสีม่วง) และจะครอบคลุมทุกสี ทุกสายภายในเดือนกันยายน 2568 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมในการเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ
สำหรับรูปแบบแนวคิดที่จะดำเนินการ จะศึกษาโดยใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อาทิ สถานีฮากาตะ ซึ่งเป็นสถานีโดยสารอาคารสูง ภายในอาคารมีศูนย์อาหาร และแหล่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการอย่างครบถ้วน
ซึ่งในแต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง ตามภูมิภาค และจังหวัดอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเป้าหมายในการย้ายสถานีขนส่ง บขส. ในครั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ยกระดับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า จากข้อสั่งการดังกล่าว สนข. ได้กำหนดแนวคิดรูปแบบการพัฒนาเบื้องต้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน
และในระหว่างนี้ สนข. จะเสนอขอตั้งงบประมาณ เพื่อจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ พร้อมออกแบบเบื้องต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ในรูปแบบอาคารสูง จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเดินทาง และไม่ทำให้เกิดปัญหาจราจรในพื้นที่
ทั้งนี้ การย้ายสถานีขนส่ง (บขส.) มาในพื้นที่บริเวณใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีแนวคิดในการรวมสถานีขนส่งทุกแห่งให้มาอยู่ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งหมอชิต 2
โดยจะออกแบบเป็นสถานีขนส่งในรูปแบบอาคารสูง และกำหนดตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วน โดยการพัฒนาอาคารสูงจะแบ่งชั้นการให้บริการอย่างชัดเจน เช่น ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินไปทางภาคใต้ และภาคตะวันตก ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคเหนือ ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออก และพื้นที่โดยรอบกรุงเทพมหานคร (กทม.)
นอกจากนี้ ตัวอาคารผู้โดยสารจะมีการพิจารณาออกแบบเป็นชั้นใต้ดินสำหรับให้รถเมล์ ขสมก. รวมถึงสำหรับรถแท็กซี่ เพื่อให้เข้ามารับส่งผู้โดยสาร ขณะที่ในส่วนของชั้นที่สูงขึ้นไป จะออกแบบเพื่อทำเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของฝาก เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถมีที่พักคอยก่อนจะถึงเวลารถออก และรายได้จากการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ และซ่อมบำรุงรักษาตัวอาคารผู้โดยสารได้อีกด้วย
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
Suriya aims to use Japanese model to consolidate Bangkok's bus terminals, expects study to take 4 months
Transport Minister aims to relocate 3 bus terminals, 'Morchit 2 - Ekkamai - Sai Tai', to Krung Thep Aphiwat Central Terminal, orders Office of Transport and Traffic Policy and Planning to expedite study expected to be completed within 3-4 months, intends to use Japanese model, believes in seamless rail transport connection.
Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, revealed that in the 1st/2025 meeting of the Committee for Driving and Monitoring the Implementation of Important Projects according to Policies, he assigned the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) to consider and study ways to relocate the Morchit 2 Bus Terminal, Ekkamai Bus Terminal, and Sai Tai Bus Terminal, under the responsibility of the Transport Company Limited (Bor Kor Sor), to Krung Thep Aphiwat Central Terminal, along with studying the impact of the operation, construction budget, and traffic management in and around the station to be smooth as well.
The relocation of the bus terminals is to facilitate travel for service users and tourists, who can connect to public transport systems by Thai trains, including the Red Line and Blue Line electric trains, which can connect to the Purple Line and other lines.
Service users can travel at a rate of 20 baht throughout the line (currently available on the Red and Purple Line electric trains) and will cover all colors, all lines by September 2025, which is in line with the government's and Ministry of Transport's policy to link travel seamlessly.
The model concept to be implemented will be studied using a model from Japan to develop and apply in Thailand, such as Hakata Station, which is a high-rise passenger terminal with a food center and comprehensive facilities for service users within the building.
Each floor will clearly divide bus routes by region and province. However, it is confirmed that the goal of relocating the Bor Kor Sor bus terminals this time is to solve traffic congestion problems, upgrade public transport services to be convenient, fast, and safe.
Mr. Panya Chuphanich, Director of the OTP, said that from the aforementioned order, the OTP has set an initial development concept, which is expected to take about 3-4 months.
In the meantime, the OTP will propose to set a budget to hire consultants to conduct a feasibility study of the project and conduct a preliminary design, which will take at least 12 months of study to ensure that the development of a new bus terminal in the form of a high-rise building will benefit the public in traveling and will not cause traffic problems in the area.
The relocation of the bus terminals (Bor Kor Sor) to the area near Krung Thep Aphiwat Central Terminal has a concept of consolidating all bus terminals to be in the same place, whether it is the Southern Bus Terminal, Ekkamai Bus Terminal, and Morchit 2 Bus Terminal.
It will be designed as a high-rise bus terminal and the location will be determined near Krung Thep Aphiwat Central Terminal and close to the expressway ramps. The development of the high-rise building will clearly divide the service floors, such as a floor for passengers traveling to the South and West, a floor for passengers traveling to the North, a floor for passengers traveling to the Northeast (Isan), and a floor for passengers traveling to the East and surrounding areas of Bangkok.
In addition, the passenger building will be considered to be designed with a basement floor for BMTA buses, including for taxis, to pick up and drop off passengers, while the upper floors will be designed to be commercial areas such as restaurants, coffee shops, souvenir shops, so that passengers can have a waiting area before the departure time, and income from renting commercial space can be used for managing and maintaining the passenger building as well.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 20/02/2025 1:11 pm Post subject:
สุริยะ เร่งย้ายทุก บขส.รวมศูนย์ติด กรุงเทพอภิวัฒน์ เล็งขาย เอกมัย ระดมทุนผุดตึกสูง-พัฒนาเชิงพาณิชย์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 10:25 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 16:30 น.
สุริยะ เร่งเครื่องแผนย้ายสถานีขนส่ง บขส. 3 แห่งในกรุงเทพฯ หมอชิต 2-เอกมัย-สายใต้ มารวมที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สนข.คาดศึกษาเสร็จใน 3-4 เดือน เล็งใช้โมเดลญี่ปุ่น สร้างอาคารสูง-ร้านค้า-มีขนส่งสาธารณะรับส่ง หวังอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร เชื่อมการเดินทางระบบรางอย่างไร้รอยต่อ หนุนมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัด
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบาย ครั้งที่ 1/2568 นั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการพิจารณาและศึกษาแนวทางการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2, สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งสายใต้ภายใต้การรับผิดชอบของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบการดำเนินการ งบประมาณในการก่อสร้าง และการบริหารการจราจรภายใน-โดยรอบสถานีให้มีความคล่องตัวด้วย
ad
ทั้งนี้ การย้ายสถานีขนส่งฯ นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนผู้ใช้บริการ และนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟไทย รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน ที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสาย (ปัจจุบันให้บริการในรถไฟฟ้าสายสีแดง และสีม่วง) และจะครอบคลุมทุกสี ทุกสายภายในเดือนกันยายน 2568 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมในการเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ
โดยการศึกษาและรูปแบบการพัฒนานั้น จะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่นมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ เช่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหาร และแหล่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการอย่างครบถ้วน ซึ่งในแต่ละชั้น จะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน
นายสุริยะยืนยันว่า เป้าหมายในการย้ายสถานีขนส่ง บขส.ในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ยกระดับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
โดยเมื่อต้นปี 2567 นายสุุริยะชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรถึงโครงการพัฒนาสถานีขนส่งรถโดยสารสาธารณะแห่งใหม่ บริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ว่าจะไม่ใช้งบประมาณ เนื่องจาก บขส.สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ของตนเองได้ โดยจะนำที่ดินที่สถานีขนส่งโดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาท ให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่
@สนข.เร่งสรุปแนวคิด จ้างศึกษาออกแบบ 12 เดือน
ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ขณะนี้ สนข.ได้กำหนดแนวคิดรูปแบบการพัฒนาเบื้องต้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน และในระหว่างนี้ สนข.จะเสนอขอตั้งงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ พร้อมออกแบบเบื้องต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ในรูปแบบอาคารสูงจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเดินทาง และไม่ทำให้เกิดปัญหาจราจรในพื้นที่
แนวคิดการย้ายสถานีขนส่ง (บขส.) มาในพื้นที่บริเวณใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะเป็นการรวมสถานีขนส่งทุกแห่งให้มาอยู่ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งหมอชิต 2 โดยจะทำการออกแบบเป็นสถานีขนส่งในรูปแบบอาคารสูง และกำหนดตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วน โดยการพัฒนาอาคารสูงนั้น จะแบ่งชั้นการให้บริการอย่างชัดเจน เช่น ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินไปทางภาคใต้ และภาคตะวันตก, ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคเหนือ, ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออก และพื้นที่โดยรอบกรุงเทพมหานคร (กทม.)
นอกจากนี้ ตัวอาคารผู้โดยสารจะมีการพิจารณาออกเป็นชั้นใต้ดินสำหรับให้รถเมล์ ขสมก. รวมถึงสำหรับรถแท็กซี่ เพื่อให้เข้ามารับส่งผู้โดยสาร ขณะที่ในส่วนของชั้นที่สูงขึ้นไป จะมีการออกแบบ เพื่อทำเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของฝาก เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถมีที่พักคอยก่อนจะถึงเวลารถออก และรายได้จากการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้น สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ และซ่อมบำรุงรักษาตัวอาคารผู้โดยสารได้อีกด้วย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 23/02/2025 3:50 am Post subject:
ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กำลังมีการปรับปรุงป้ายบอกทางครั้งใหญ่ วันนี้บินกลับจากภูเก็ตเลยได้แวะเดินดูก่อนกลับบ้านครับ 🛬
เท่าที่เห็นมีการเปลี่ยนหน้าป้ายไปหลายจุดเลย ถึงแม้จะยังไม่ทั้งหมด แต่ก็พอจะเห็นภาพว่าป้ายที่ออกแบบใหม่ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการให้ข้อมูลตาม journey ของผู้ใช้งานทีละ step ไม่ใช่ยัดทะนานข้อมูลแล้วก๊อปวางไปเรื่อยๆ งงๆ แบบเดิมแล้ว
ตัวแบบอักษร (typeface) ที่เลือกใช้ก็อ่านง่าย เส้นหนา หัวกลม มีการใช้สัญลักษณ์บอกทางไปจุดเชื่อมต่อรถไฟสายต่างๆ ทั้งรถไฟทางไกล สายสีแดง สายสีน้ำเงินที่ถูกต้อง
โดยเฉพาะในส่วนของรถไฟทางไกลที่มีคนใช้งานเยอะ ก็มีการใช้สีเส้นทางในการแบ่งหมวดหมู่ เช่น สายเหนือสีน้ำเงิน สายอีสานสีเขียว สายใต้สีเหลือง ที่ไปในทางเดียวกันกับตารางรถไฟบนหน้าจอ คือดูจอว่าขบวนที่จะไปสีอะไร ขึ้นรถไฟที่ Gate ไหน แล้วเดินตามป้ายไปได้เลย
หวังว่าพอติดป้ายใหม่สมบูรณ์แล้ว จะมีการรื้อพวกป้ายเก่าๆ ออกให้หมดด้วยครับ พื้นที่สถานีจะได้สะอาดตา เห็นป้ายแล้วดูทิศทางเดินตามได้ ไม่ต้องหลงทางกับป้ายชุดเก่า เพราะตอนนี้ป้ายมีหลาย generation มาก ดูรกสุดๆ โดยเฉพาะพวกป้ายผ้าใบตั้งพื้นทั้งหลาย 😂
----------
รอวันที่สถานีกลางจะเป็นจุดศูนย์รวมการเดินทางของประเทศแบบแท้จริงครับ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เปิดประมูลให้เอกชนที่เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารอาคาร การพัฒนาพื้นที่พาณิชย์ เข้ามาบริหารจริงๆ จังๆ ไปเลย
เราจะได้มีพวก shop ที่เป็นเรื่องเป็นราวสักทีครับ เปิดมาก็หลายปีแต่ยังมีแต่ร้านซุ้มเหมือนงานอีเวนต์ กับโรงอาหารฟีลโรงเรียนมัธยม 🤪
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1235032331317172
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 26/02/2025 10:02 pm Post subject:
ป้ายสถานีกลางฯ เปลี่ยนไปแล้ว !!
.
คำที่อยากตะโกนด้วยความดีใจ และรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้ออกแบบระบบการนำทาง ภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความฝันมานานแล้ว ว่าอยากจะปรับแก้ไขให้ระบบป้ายภายในสถานีนั้นดียิ่งขึ้น เนื่องจากสถานีนี้เป็นสถานีหลักของประเทศ มีผู้ใช้งานจำนวนมากต่อวัน และมีความเข้าใจในการเดินทางที่ต่างกัน
.
#โจทย์หลักในการออกแบบ ครั้งนี้ คือ
การที่ต้องออกแบบภายใต้ข้อจำกัดขนาดป้ายเดิม ที่ส่วนตัวมองว่ามันมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับเนื้อหาที่ต้องเล่าทั้งหมดภายในสถานี ที่เป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศ ทีมจึงได้มีการพูดคุยกัน และตกลงกันว่า เราจะไม่ยัดเนื้อหาทุกอย่างลงไปแบบเดิม ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่ชัด และทำให้เสียเวลาอ่านค่อนข้างมาก กว่าจะเจอสิ่งที่ต้องการ เราจึงออกแบบให้ป้ายมีการเล่าตามความต้องการของผู้โดยสาร ณ ขณะนั้น โดยใช้ผลจากการศึกษา User Journey (เส้นทางการใช้งานของผู้ใช้) ตั้งแต่เข้าสถานีมาจนถึงชานชาลา เป็นหลัก
.
เช่น ผู้โดยสารที่เดินทางจาก MRT จะเห็นแค่ข้อมูลประเภทของรถไฟ คือ สายสีแดง และรถไฟทางไกล ซึ่งช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องคิดอะไร และเดินตามไปได้เรื่อยๆ จนเมื่อถึงจุดที่ต้องแยกระหว่าง จุดรอรถไฟขาเข้า และจุดขึ้นรถไฟขาออก ซึ่งผู้โดยสารถึงจะเห็นข้อความ ทางขึ้นรถไฟ และ จุดรอรับผู้โดยสารขาเข้า (สำหรับรอญาติที่ลงมาจากรถไฟ) และเมื่อผู้โดยสารเดินมาจนใกล้ทางขึ้นรถไฟ ถึงค่อยเห็นคำว่า สายเหนือ/สายอีสาน และ สายใต้ สำหรับการตัดสินใจเลือกไปจุดที่เป็นทางขึ้นรถไฟ
.
สำหรับระบบทางขึ้นรถไฟ B และ E เป็นระบบที่มีการใช้งานอยู่แล้วตั้งแต่สถานีเปิดให้บริการไม่นาน เราจึงหยิบสิ่งนี้มาสื่อสารให้ชัดเจนบนป้ายมากขึ้น และจะแสดงให้เห็นต่อเมื่อผู้โดยสารเห็นจอตารางเวลาขึ้นรถไฟแล้วเท่านั้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าคนจะไม่เข้าใจว่า B กับ E คืออะไร หากผู้โดยสารนั้นได้มีการดูจอ และติดต่อซื้อตั๋วมาแล้วจะเข้าใจ เนื่องจากมีการสื่อสารรูปแบบเดียวกัน (รูปแบบคล้ายกับสนามบินที่เมื่อมาถึง เราต้องดูจอเพื่อหาเคาเตอร์บริการเช็คอินขึ้นเครื่อง)
นอกจากนั้นมีการหยิบสีประจำสายมาใส่เป็นกิมมิกเล็ก ๆ แบบไม่ได้ตั้งใจให้ต้องจำสี แต่ใส่เพื่อให้ตัวอักษร B และ E มีความแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
.
#สี
ได้มีการใช้สีในการแบ่งน้ำหนักของเนื้อหาบนป้าย เพื่อลดเวลาในการกวาดสายตาอ่าน และง่ายในการแยกประเภท โดยได้ออกแบบให้ใช้หลัก (สีน้ำเงิน) ในการบอกข้อมูลหลักของป้าย เช่น การเดินทาง และการเชื่อมต่อต่างๆ และใช้สีที่เข้มกว่าแต่ใช้พื้นที่น้อยกว่าในการเล่าข้อมูลรอง เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในสถานี
ส่วนทางออก เราได้เลือกใช้สีเหลืองมาเป็นพื้น เนื่องจากเป็นสีที่เด่น เห็นชัด ผู้โดยสารที่ต้องการออก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และออกจากสถานีได้เร็วที่สุด นอกจากนั้นสีเหลืองยังค่อนข้างเป็นสีสากลที่หลายประเทศเลือกใช้เป็นสีของทางออกอีกด้วย
สำหรับสีหลักที่เป็นสีน้ำเงิน เกิดมาจากโจทย์ของสถานีที่อยากให้สีมีความคล้ายกับสีเดิมที่สุด และเราอยากให้สถานีมีสีสรร ไม่หม่นเกินไป เราจึงเลือกใช้สีน้ำเงินที่มีความม่วงน้อยลง ดูทันสมัยมากขึ้น และยังคงตัดกับสีขาวของตัวอักษรและไอคอนได้ชัดเจน ถึงแม้ว่าจะถูกทำให้สว่างขึ้นจากการเป็นกล่องไฟ
ทำไมไม่ใช้พื้นหลังสีขาว เนื่องจากตัวป้ายเป็นรูปแบบกล่องไฟ แสงไฟจากด้านหลังจะยิ่งทำให้พื้นหลังสว่างขึ้น จนทำให้ตัวหนังสือตัวบางลงและอ่านยากมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากป้าย จุดรอขึ้นรถไฟ (ที่จำเป็นต้องใช้พื้นหลังแยกอีกสีเพื่อให้แยกระหว่างป้ายบอกทางและป้ายโซนพื้นที่ ออกจากกัน) โดยเราได้เลือกขนาดความหนาของตัวหนังสือให้หนากว่าปกติบนพื้นสีขาวแล้วนะ แต่เมื่อเรามองภาพรวมกลับพบว่า ความหนาของตัวหนังสือบนพื้นน้ำเงิน / ดำ และขาวนั้นพอๆกัน นั้นเป็นเพราะเอฟเฟ็กต์ของการเป็นพื้นขาวของกล่องไฟนั้นเอง
.
#การใช้คำ
เราได้มีการพยายามให้ข้อความบนป้ายเข้าใจง่ายที่สุด ให้เป็นภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย ไม่ทางการเกินไป แต่ยังคงมีความน่าเชื่อถือ เช่น เปลี่ยนจาก ประตูผู้โดยสารขาออก เป็น ทางขึ้นรถไฟ หรือการเลือกใช้คำง่าย ๆ เช่น ตั๋ว จุดรอขึ้นรถไฟ เป็นต้น
#ไอคอน / พิกโตแกรม
เนื่องจากพื้นที่จำกัดของป้าย เราจำเป็นต้องออกแบบไอคอนที่เข้าใจง่ายสื่อสารได้ในตัวมันเองแม้ไม่มีข้อความประกอบ และรูปแบบไอคอนต้องสอดคล้องกับประกาศของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่ได้มีการกำหนดรูปแบบไอคอนเบื้องต้นไว้แล้ว (ซึ่งค่อนข้างไม่เป็นมาตราฐานเดียวกันเลย #เศร้าใจ) นอกจากนั้นหากผู้โดยสารมีความคุ้นเคยแล้ว การใช้ไอคอนยังจะช่วยลดระยะเวลาในการอ่านป้ายลงได้อีกด้วย
.
#ตัวอักษร
ได้มีการคุยกันว่าอยากได้ Typeface หรือรูปแบบตัวอักษรที่มีหัวที่ให้ทุกคนอ่านได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ดูผ่านการออกแบบมา และไม่ดูทางการเกินไป จึงตัดสินใจเลือก ประชารัฐ ของคัดสรร ดีมาก ซึ่งตอบโจทย์มาก และรูปแบบตัวอักษรนี่ ก็เคยได้ใช้ในการออกแบบป้ายรถเมล์ของกรุงเทพมหานครมาแล้ว ซึ่งค่อนข้างได้รับผลตอบรับที่ดีมาแล้ว
.
#สุดท้ายนี้
ต้องขอขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทย และสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่ได้ตัดสินใจในการพัฒนาระบบป้ายให้ดียิ่งขึ้น และได้เปิดโอกาสให้นักออกแบบตัวน้อย ได้ออกแบบป้ายในสถานีขนาดใหญ่ในครั้งนี้ เราหวังว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการออกแบบบริการที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักต่อไป
ขอบคุณทีม ที่ช่วยกันออกแบบ แลกเปลี่ยน หาทางออก และฝ่าฟันทุกอุปสรรคจนป้ายได้ถูกติดตั้งจริง
.
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ และรู้สึกว่าอยากไปดูป้ายของจริง ต้องขอบอกก่อนเลยว่า ตอนนี้ป้ายยังติดตั้งไม่ครบทุกจุด และกำลังทยอยปรับเปลี่ยนไปทีละส่วนของสถานี ซึ่งถ้าเสร็จแล้วจะขอมาอัปเดตทุกคนอีกทีนะครับ
https://www.facebook.com/naiwit/posts/23983196061268915
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 10/03/2025 8:52 pm Post subject:
ปีหน้าสร้างกระทรวงคมนาคมใหม่4,500ล้านย้ายไปอยู่ใกล้สถานีกลางฯและสถานีบขส.-สำนักงานรฟท.
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันจันทร์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 08:21 น.
แผนล่าสุดพัฒนาที่ดินบางซื่อ 2,325 ไร่ ประเดิมสร้างปีหน้า อาคารกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ 23 ไร่ 4,500 ล้าน ย้ายมาอยู่ปี 71 พร้อมรองรับสถานีขนส่ง บขส.+ที่ทำการรถไฟฯ
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ได้ปรับแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์รวม 2,325 ไร่ ตามนโยบายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ที่ให้ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร (Bus Terminal) มาไว้ที่เดียวกัน เบื้องต้นจะนำพื้นที่แปลง A มาใช้ก่อสร้าง โดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (อทส.) บริษัทลูกของ รฟท. ร่วมกับบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กำลังออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง โดยใช้พื้นที่ประมาณสิบไร่เพื่อจัดทำสถานีขนส่งผู้โดยสาร ลักษณะเดียวกับการนำพื้นที่แปลง G ไปใช้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นอาคารบ้านพักอาศัย โครงการบ้านเพื่อคนไทย อทส. ต้องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เพื่อขอเช่าทรัพย์สินของ รฟท. ก่อนดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ มีแผนจะนำพื้นที่ส่วนหนึ่งของแปลง E ประมาณหลักสิบไร่ มาใช้ก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ด้วย โดย อทส. ต้องเสนอขออนุมัติเช่าพื้นที่จากบอร์ด รฟท. เช่นกัน ส่วนพื้นที่แปลงอื่นๆ อทส. อยู่ระหว่างวางแนวทางนำที่ดินไปพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ รฟท. ต่อไป ซึ่งการจัดทำโครงการบ้านเพื่อคนไทย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้พื้นที่ของ รฟท. ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความสนใจจากเอกชนที่จะมาลงทุนพัฒนามากขึ้นด้วย
สำหรับแปลง A มีพื้นที่ประมาณ 51 ไร่ มีแผนพัฒนา แบ่งเป็น
1.พื้นที่ A1 ประมาณ 13 ไร่ประกอบด้วย A1.1 จะพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน รฟท. สูงจากพื้นดิน 35 ชั้น มีทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) เชื่อมอาคารด้านบน มีองค์ประกอบอาคาร อาทิ สำนักงาน ที่จอดรถ ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดห้องอาหาร ทางเดินใต้ดินเชื่อมอุโมงค์ใต้ดินของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินสถานีบางซื่อ และพื้นที่สันทนาการ และ A1.2 จะพัฒนาเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว สูงจากพื้นดิน 25 ชั้น ประมาณ 300 ห้อง มีองค์ประกอบอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนโรงแรม และส่วน Retail อาทิ ร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น
2.พื้นที่ A2 ประมาณ 11 ไร่ จะพัฒนาเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสาร เชื่อมต่อสถานีกลางฯ สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีแดง แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานีขนส่งผู้โดยสาร ส่วนที่ 2 Lifestyle Commercial และส่วนที่ 3 Restaurant & Food Hall
3.พื้นที่ A3 ประมาณ 8 ไร่ เป็นพื้นที่ใต้โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ, พื้นที่ A4 ประมาณ 9 ไร่ ที่จอดรถบัส และพื้นที่ A5 ประมาณ 10 ไร่ ถนนและพื้นที่อื่นๆ ในระยะแรกนี้ พื้นที่แปลง A จะเริ่มพัฒนาพื้นที่ A2 เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารก่อน ส่วนพื้นที่แปลง E ประมาณ 141 ไร่ จะนำพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 23.35 ไร่ มาเริ่มก่อสร้างอาคารกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ก่อน
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569 วงเงิน 4,500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2569-2571 เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่แล้ว
สำหรับแนวคิดนโยบายนายสุริยะ จะย้ายสถานีขนส่ง บขส.หมอชิต-เอกชัยและสายใต้ ไปรวมที่บริเวณสถานีกลางฯ เกิดขึ้นหลังจากนายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.เขตจตุจักร ออกมาเรียกร้องให้จัดระเบียบหมอชิต 2 เมื่อปี 66-67...
https://www.dailynews.co.th/news/4478203/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1183991053178127
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/03/2025 11:56 am Post subject:
สามปีผ่านไป มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?! | สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ [SHORT]
BANGKOK ON SITE
Mar 26, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=pGV7GxknQdY
SHORT ON SITE คลิปสั้นออนไซต์
ย้อนกลับไปชมภาพบรรยากาศล่าสุดของสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนใจกลางกรุงเทพฯ หลังเปิดให้บริการมาแล้วร่วม 3 ปี มีหลายอย่างพัฒนาขึ้น แต่อีกหลายอย่างอาจต้องปรับปรุงแก้ไขอีก เพื่อให้สมบูรณ์แบบตามเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางที่ดีที่สุดในภูมิภาค
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group